อนุสัญญาเวียนนาประกอบด้วยคำปฎิญาณในอันที่จะร่วมมือกันในเรื่องใด

ความร่วมมือด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม

การดูแลรักษาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเป็นหน้าที่ของประชากรในโลกนี้ทุกคน รวมทั้งหน่วยงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐและภาคเอกชน เนื่องจากเราทุกคนล้วนใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ดังนั้นปัญหาที่เกิดกับทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจึงส่งผลกระทบมายังมนุษย์และสิ่งมีชีวิตอื่น ๆ ที่อาศัยอยู่บนโลก การแก้ไขปัญหาจึงต้องใช้ความร่วมมือกันในหลากหลายรูปแบบ โดยเฉพาะการสร้างความสำนึกรับผิดชอบร่วมกันในการดูแลรักษาคุณค่าของสิ่งแวดล้อมเพื่อช่วยให้สิ่งแวดล้อมนั้นกลับคืนสู่สภาพที่ดี ความร่วมมือด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม แบ่งได้ดังนี้

1. หน่วยงานทางสิ่งแวดล้อมของรัฐในประเทศไทย

หน่วยงานของรัฐที่มีบทบาทสำคัญในการดูแลรักษา ฟื้นฟูสิ่งแวดล้อม ได้แก่ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงมหาดไทย และกระทรวงศึกษาธิการ โดยแต่ละกระทรวงมีบทบาทสำคัญ ดังนี้

1.1 กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม จะดำเนินนโยบายด้านทรัพยากรธรรมชาติ ด้านสิ่งแวดล้อม ในรูปแบบการสงวน อนุรักษ์ ฟื้นฟู จัดทำระเบียบ กฎเกณฑ์การเข้าถึงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมของชุมชน ท้องถิ่น รวมถึงการป้องกัน รักษา สร้างกระบวนการเรียนรู้ รณรงค์และสร้างจิตสำนึกของประชาชนทุกฝ่าย ในการร่วมมือกัน

1.2 กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ดำเนินนโยบายในเรื่องการปรับโครงสร้างการเกษตร โครงการฟื้นฟูอนุรักษ์สถานที่ท่องเที่ยว โครงการเกษตรทฤษฎีใหม่ ฟื้นฟูสภาพแวดล้อมที่เสื่อมโทรมในเขตปฏิรูปที่ดิน จัดสรรที่ดินทำกินให้กับประชาชนเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการใช้น้ำเพื่อการเกษตร และจัดสรรแหล่งน้ำเพื่ออุปโภคบริโภค

1.3 กระทรวงมหาดไทย โดยกรมที่ดิน ดำเนินการสำรวจที่ดิน จัดเก็บข้อมูล ดูแลรักษา วางนโยบายการจัดการที่ดินและการถือครองที่ดิน การสงวนหรือหวงห้ามที่ดินของรัฐเพื่อให้ประชาชนได้ใช้ประโยชน์ร่วมกัน

องค์กรพัฒนาเอกชน (อพช.) หรือ NGO ได้แก่ มูลนิธิโลกสีเขียว สมาคมธิงค์เอิร์ธ คิดห่วงใยในผืนโลก มูลนิธิสืบ นาคะเสถียร เป็นต้น ด้วยปัจจุบันสังคมเกิดการเปลี่ยนแปลงมากขึ้น ปัญหาทางสังคมมีความหลากหลายภาครัฐไม่อาจแก้ไขปัญหาหรือพัฒนาได้อย่างมีประสิทธิภาพ จำเป็นที่กลุ่มบุคคลระดับชาวบ้านต้องรวมตัวกันเพื่อช่วยเหลือในรูปแบบต่าง ๆ หลักการสำคัญขององค์กรพัฒนาเอกชน คือประชาชนมีส่วนร่วมกับรัฐบาลในการพัฒนาสังคม สำหรับประเทศไทยรัฐธรรมนูญได้บัญญัติให้รัฐบาลต้องส่งเสริมและคุ้มครองให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการดูแลสิ่งแวดล้อมทั้งในส่วนกลางและส่วนท้องถิ่น โดยมีบทบาทหน้าที่ดังนี้

2.1 บทบาททางตรง เช่น จัดอาสาเข้ามาดูแล อนุรักษ์ และพัฒนาสิ่งแวดล้อม ประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนรับรู้ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม ตลอดจนปลูกจิตสำนึกเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมให้แก่ประชาชน และช่วยเหลือประชาชนที่ประสบภัยจากมลภาวะสิ่งแวดล้อม

2.2 บทบาททางอ้อม เช่น ทำงานร่วมกับคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งขาติในลักษณะต่าง ๆ เช่น เสนอนโยบายสิ่งแวดล้อมของชาติ ร่วมพิจารณาแผนปฏิบัติการสิ่งแวดล้อม และเสนอแนวทางปฏิบัติที่เกี่ยวกับกฎหมายสิ่งแวดล้อม

องค์กรสิ่งแวดล้อมที่มีเครือข่ายในการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมทั่วโลกที่สำคัญ เช่น

3.1 กรีนพืช (Greenpeace) เป็นองค์กรสิ่งแวดล้อมระดับโลก ก่อตั้งเมื่อ พ.ศ. 2514 โดยกลุ่มนักกิจกรรมจากเมืองแวนคูเวอร์ ประเทศแคนาดา มีสำนักงานใหญ่อยู่ที่ กรุงอัมสเตอร์ดัม ประเทศเนเธอร์แลนด์ มีสำนักงานประจำประเทศต่าง ๆ ทั่วโลกกว่า 41 ประเทศ รวมทั้งประเทศไทย กิจกรรมหลักของกรีนพืช คือ หยุดภาวะโลกร้อน ปฏิเสธการตัดต่อพันธุกรรม และยุตินิวเคลียร์

3.2 มูลนิธิคุ้มครองสัตว์ป่า (World Wildlife Fin –WWF) เป็นองค์กรนานาชาติที่ดำเนินการด้านอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ด้านทรัพยากรป่าไม้ ทรัพยากรน้ำจืด และทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง รวมทั้งการปกป้องดูแลสายพันธุ์พืชและสัตว์

4. กฎหมายการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมของไทย

4.1 กฎหมายเกี่ยวกับป่าสงวนแห่งชาติ

ได้แก่ พระราชบัญญัติป่าสงวนแห่งชาติ พ.ศ. 2507และที่แก้ไขเพิ่มเติม ได้กำหนดหลักเกณฑ์และวิธีควบคุมรักษาพื้นที่ป่าสงวน ดังต่อไปนี้

1. ห้ามบุคคลเข้ายึด ครอบครอง ทำประโยชน์ อยู่อาศัยในที่ดิน ก่อสร้าง แผ้วถาง เผาป่า ทำไม้ เก็บหาของป่าในพื้นที่อันเป็นเขตป่าสงวนแห่งชาติ ตลอดจนห้ามกระทำการใด ๆ ที่ก่อให้เกิดความเสื่อมแก่สภาพป่าสงวนแห่งชาติ ยกเว้นได้รับอนุญาตจากเจ้าหน้าที่

2. ในกรณีที่ป่าสงวนแห่งชาติทั้งหมดหรือบางส่วนมีสภาพเป็นป่าไม้ร้างเก่าหรือทุ่งหญ้าหรือเป็นป่าไม่มีค่าเลย หรือมีไม้มีค่าที่มีลักษณะสมบูรณ์เหลือน้อยและป่านั้นยากที่จะกลับฟื้นตามธรรมชาติทั้งนี้โดยาภาพหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่รัฐมนตรีกำหนดโดยอนุมัติคณะรัฐมนตรีให้ถือว่าป่าสงวนแห่งชาติในบริเวณดังกล่าวเป็นป่าเสื่อมโทรม

3. เพื่อประโยชน์ในการควบคุมดูแลรักษา หรือบำรุงป่าสงวนแห่งชาติ อธิบดีมีอำนาจสั่งการเป็นหนังสือให้พนักงานหรือเจ้าหน้าที่ของกรมป่าไม้กระทำการเพื่อควบคุมดูแลรักษาหรือบำรุงรักษาป่าสงวนแห่งชาติได้

4. เพื่อประโยชน์ในการศึกษาวิจัยทางวิชาการ อธิบดีกรมมีอำนาจอนุญาตเป็นหนังสือแก่กระทรวง ทบวง กรม หรือบุคคลให้สามารถกระทำการได้ตามระเบียบที่อธิบดีกำหนด โดยได้รับอนุมัติจากรัฐมนตรี

5. ในกรณีป่าสงวนแห่งชาติมีสภาพเป็นป่าเสื่อมโทรม ให้อธิบดีโดยได้รับอนุมัติจากรัฐมนตรีมีอำนาจอนุญาตเป็นหนังสือให้บุคคลหนึ่งบุคคลใดทำการบำรุงป่าหรือปลูกสร้างสวนป่าหรือไม้ยืนต้นในเขตป่าเสื่อมโทรมได้ภายในระยะเวลาและเงื่อนไขที่กำหนด แต่ในกรณีที่จะอนุญาตให้เกิน 2,000 ไร่ ต้องได้รับอนุมัติจากรัฐมนตรี

6. ผู้ใดยึดถือครอบครองที่ดิน ก่อสร้าง แผ้วถาง เผา ทำไม้ เก็บหาของป่าหรือทำด้วยประการใด ๆ อันเป็นการเสื่อมแก่ป่าสงวนแห่งชาติ ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่ 6 เดือน ถึง 5 ปี และปรับตั้งแต่ 5,000 บาท ถึง 50,000 บาท

4.2 กฎหมายเกี่ยวกับการสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า

ตามพระราชบัญญัติสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ. 2535 “สัตว์ป่า” หมายความว่า สัตว์ทุกชนิดไม่ว่าสัตว์บก สัตว์น้ำ สัตว์ปีก แมลงหรือแมง ซึ่งโดยสภาพธรรมชาติย่อมเกิดและดำรงชีวิตอยู่ในป่าหรือในน้ำ และให้หมายความรวมถึงไข่ของสัตว์ป่าเหล่านั้นทุกชนิดด้วย แต่ไม่หมายความรวมถึงสัตว์พาหนะที่ได้จดทะเบียนทำตั๋วรูปพรรณตามกฎหมายว่าด้วยสัตว์พาหนะแล้ว และสัตว์พาหนะที่ได้มาจากการสืบพันธุ์ของสัตว์พาหนะดังกล่าว ตัวอย่าง ช้าง ซึ่งชาวบ้านเลี้ยงไว้

1) สัตว์ป่าสงวน หมายถึง สัตว์ป่าที่หายากตามบัญชีพระราชบัญญัติและตามกำหนดโดยตราเป็นพระราชกฤษฎีกา ปัจจุบัน มี 15 ชนิด ได้แก่ แมวลายหินอ่อน พะยูน เก้งหม้อ นกกระเรียน เลียงผา กวางผา ละองหรือละมั่ง สมัน กูปรี ควายป่า แรด กระซู่ สมเสร็จ นกแต้วแล้วท้องดำ และนกเจ้าฟ้าหญิงสิรินธร

2) สัตว์ป่าคุ้มครอง หมายถึง สัตว์ป่าที่กฎกระทรวงกำหนดให้เป็นสัตว์ป่าคุ้มครองเพื่อเป็นการป้องกันมิให้สัตว์ป่าบางชนิดต้องสูญพันธุ์ เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม 201 ชนิด นก 952 ชนิด สัตว์เลื้อยคลาน 91 ชนิด สัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก 12 ชนิด ปลา 14 ชนิด แมลง 20 ชนิด และ สัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง 12 ชนิด

4.3 กฎหมายเกี่ยวกับอุทยานแห่งชาติ

พระราชบัญญัติอุทยานแห่งชาติ พ.ศ. 2504 ได้กำหนดไว้ว่า ที่ดินที่จะกำหนดให้เป็นอุทยานแห่งชาติต้องเป็นที่ดินที่ไม่ได้อยู่ในการครอบครองโดยบุคคลใด กล่าวคือ พื้นที่อุทยานแห่งชาติอาจเป็นที่รกร้างว่างเปล่า ที่ราชพัสดุ หรือที่ป่าสงวน

การปฏิบัติในเขตอุทยานแห่งชาติที่สำคัญ มีดังนี้

1) ห้ามครอบครองที่ดิน รวมถึงก่อสร้าง แผ้วถาง หรือเผาป่า

2) ห้ามนำสัตว์ออกจากอุทยานแห่งชาติ

3) ห้ามนำเครื่องมือสำหรับล่าสัตว์หรือจับสัตว์ หรืออาวุธเข้าไป เว้นแต่ได้รับอนุญาตจากเจ้าหน้าที่และปฏิบัติตามเงื่อนไขที่กำหนด

4) ห้ามเก็บ นำออกไป หรือทำให้เป็นอันตราย หรือทำให้เสื่อมสภาพแก่กล้วยไม้ น้ำผึ้ง ครั่ง ถ่านไม้ เปลือกไม้ หรือมูลค้างคาว

5) ห้ามเปลี่ยนแปลงทางน้ำ หรือทำให้ลำน้ำ ลำห้วย บึง ท่วมหรือแห้ง

4.4 กฎหมายส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ

พระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ. 2535 ตามพระราชบัญญัติฉบับนี้ สิ่งแวดล้อม หมายถึง สิ่งต่างๆ ที่มีลักษณะทางกายภาพและชีวภาพที่อยู่รอบตัวมนุษย์ ซึ่งเกิดขึ้นโดยธรรมชาติและสิ่งที่มนุษย์ได้ทำขึ้น ส่วนคุณภาพสิ่งแวดล้อม หมายถึง ดุลยภาพของธรรมชาติ ซึ่งได้แก่สัตว์ พืช และทรัพยากรธรรมชาติต่างๆ และสิ่งที่มนุษย์ได้ทำขึ้น โดยประโยชน์ที่ประชาชนจะได้รับในการร่วมมือกันส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมของชาติมีดังนี้

1) ได้รับทราบข้อมูลและข่าวสารของทางราชการในเรื่องที่เกี่ยวกับการส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ ยกเว้นข้อมูลทางราชการที่ถือว่าเป็นความลับ

2) ได้รับชดเชยค่าเสียหายหรือค่าทดแทนจากรัฐ ในกรณีที่ได้รับความเสียหายจากอันตรายที่เกิดจากการแพร่กระจายของมลพิษ จากกิจการหรือโครงงานมที่ราชการหรือรัฐวิสาหกิจริเริ่มจากสนับสนุนหรือดำเนินการ

3) มีสิทธิร้องเรียนกล่าวโทษผู้กระทำผิดที่ละเมิดหรือฝ่าฝืนกฎหมายเกี่ยวกับการควบคุมมลพิษหรือการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติต่อพนักงานเจ้าหน้าที่

4) ให้ความร่วมมือและช่วยเหลือเจ้าพนักงานในการปฏิบัติหน้าที่ที่เกี่ยวข้องกับการส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อม

5) ปฏิบัติตามพระราชบัญญัตินี้หรือกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้องกับการส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมโดยเคร่งครัด

5. การประสานความร่วมมือทางด้านสิ่งแวดล้อมระหว่างประเทศ

เนื่องจากปัญหาทางด้านสิ่งแวดล้อมเป็นปัญหาที่มีลักษณะข้ามพรมแดนและเป็นประโยชน์ร่วมกันของมวลมนุษยชาติ ดังนั้น ในช่วงศตวรรษที่ผ่านมาได้มีการออกกฎหมายระหว่างประเทศที่เกี่ยวข้องกับสิ่งแวดล้อมเป็นจำนวนมาก เพื่อเป็นแนวทางในการร่วมมือแก้ไขปัญหาและพัฒนาสิ่งแวดล้อมของโลก ซึ่งประกอบด้วยกฎหมายระหว่างประเทศ ดังนี้

5.1 อนุสัญญาว่าด้วยการค้าระหว่างประเทศซึ่งชนิดของสัตว์ป่า และพืชป่า ที่ใกล้สูญพันธุ์(Convention on International Trade in Endangered Species of. Wild Fauna and Flora, 1973-CITES)

ตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2516 โดยสหภาพนานาชาติเพื่อการอนุรักษ์ จัดให้มีกระประชุมนานาชาติขึ้น ที่กรุงวอชิงต้น ดี.ซี. และร่างอนุสัญญาไซเตสขึ้น มีประเทศที่เข้าร่วมประชุมถึง 88 ประเทศและมีประเทศที่ลง นามรับรองและเห็นด้วยกับอนุสัญญาฉบับนี้ทันทีถึง 21 ประเทศ ประเทศไทยได้ส่งตัวแทนเข้าร่วมในการประชุมครั้งนั้นด้วย แต่ได้ลงนามรับรองอนุสัญญาฉบับนี้ เมื่อปี พ.ศ.2518 และให้สัตยาบันในวันที่ 21 มกราคม พ.ศ. 2526 นับเป็นสมาชิกลำดับที่ 80 เป้าหมายสำคัญของอนุสัญญาฉบับนี้คือ การอนุรักษ์ทรัพยากรสัตว์ป่าและพืชป่าในโลก เพื่อประโยชน์ แห่งมวลมนุษยชาติ โดยเน้นทรัพยากรสัตว์ป่าและพืชป่าที่ใกล้สูญพันธุ์ หรือที่มีการคุกคาม ทำให้ประมาณลดลงจนอาจจะสูญพันธุ์ไป วิธีการของการอนุรักษ์ที่ได้กล่าวไว้ในอนุสัญญาไซเตสนั้น ทำโดยสร้างเครือข่ายขึ้นทั่วโลกเพื่อควบคุมการค้าระหว่างประเทศ ทั้งสัตว์ป่าพืชป่าและผลิตภัณฑ์ แต่ไซเตสจะไม่ควบคุมการค้าภายในประเทศสำหรับชนิดพันธุ์ท้องถิ่น

5.2 อนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (United Nations Framework Convention on Climate Change หรือ UNFCCC) ค.ศ. 1992

จากปัญหาแก๊สเรือนกระจกที่ส่งผลให้อุณหภูมิสูงขึ้น จึงได้มีการประชุมเนื้อหาแนวทางแก้ไขและป้องกันขึ้นใน พ.ศ. 2535 เรียกว่า “การประชุมสหประชาชาติว่าด้วยสิ่งแวดล้อมและการพัฒนา” ที่เมืองรีอูดีจาเนรู ประเทศบราซิล โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อปกป้องชั้นบรรยากาศของโลก โดยรัฐบาลของรัฐสมาชิดจะต้องดูแลควบคุมให้การเกิดแก๊สเรือนกระจกในประเทศของตนอยู่ในระดับที่ไม่ก่อให้เกิดอันตรายต่อชั้นบรรยากาศของโลก นอกจากนี้ ในการประชุมสหประชาชาติว่าด้วยสิ่งแวดล้อมและการพัฒนาครั้งนี้ก่อให้เกิดอนุสัญญาว่าด้วยความหลากหลายทางชีวภาพอีกด้วย

5.3 อนุสัญญาแรมซาร์ (Ramsar Convention)

หรืออนุสัญญาว่าด้วยพื้นที่ชุ่มน้ำที่มีความสำคัญระหว่างประเทศ ได้ถูกกำหนดและตั้งชื่อตามชื่อสถานที่จัดให้มีการประชุมเพื่อรับรองอนุสัญญาเมื่อวันที่ 2 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2514 ณ เมืองแรมซาร์ ประเทศอิหร่าน อนุสัญญาดังกล่าวเป็นข้อตกลงระหว่างรัฐบาล ซึ่งกำหนดกรอบการทำงานสำหรับความร่วมมือระหว่างประเทศเพื่อการอนุรักษ์แหล่งที่อยู่อาศัยที่เป็นพื้นที่ชุ่มน้ำ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อการอนุรักษ์และการใช้ประโยชน์พื้นที่ชุ่มน้ำอันเป็นการอนุรักษ์ถิ่นที่อยู่อาศัยของนกน้ำ ต่อมาขอบเขตการดำเนินการของอนุสัญญาฯ ได้ขยายครอบคลุมกว้างขึ้นโดยเน้นการอนุรักษ์และการใช้ประโยชน์ของพื้นที่ชุ่มน้ำอย่างชาญฉลาดในทุกๆ ด้าน ตลอดจนเพื่อยับยั้งการสูญหายของพื้นที่ชุ่มน้ำในโลก โดยมีพันธกิจที่สำคัญในการดำเนินงานระดับชาติโดยความร่วมมือระดับนานาชาติเพื่อก่อให้เกิดการพัฒนาอย่างยั่งยืนในทุกภูมิภาคของโลก อนุสัญญาฯ มีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 21 ธันวาคม พ.ศ. 2514 และเพื่อให้เกิดความตระหนักถึงคุณค่าและความสำคัญของพื้นที่ชุ่มน้ำ จึงได้กำหนดให้ทุกวันที่ 2 กุมภาพันธ์ของทุกปีเป็นวันพื้นที่ชุ่มน้ำโลก (World Wetlands Day)

สำหรับประเทศไทยได้เข้าร่วมเป็นภาคีอนุสัญญาในวันที่ 13 พฤษภาคม 2541 พื้นที่ชุ่มน้ำแห่งแรกของประเทศไทยที่ได้รับการประกาศให้เข้าเป็นทำเนียบของอนุสัญญา คือ พรุควนขี้เสี้ยน เขตห้ามล่าสัตว์ป่าทะเลน้อย จังหวัดพัทลุง

เพื่อการป้องชั้นบรรยากาศโอโซน (The Vienna Convention for the Protection of the Ozone Layer) ในปี พ.ศ. 2524 โครงการสิ่งแวดล้อมแห่งสหประชาชาติ (United Nations Environment Programme :UNEP) ได้จัดตั้งคณะทํางานดงานกฎหมายและวิชาการเพื่อวางโครงร่างสําหรับการปกป้องชั้นบรรยากาศโอโซน โดยมีจุดประสงค์เพื่อใหเกิดความตกลงในรปสนธิสิญญาระหว่างประเทศเพื่อแก้ไขปัญหาการทำลายชั้นบรรยากาศโอโซน เรียกว่าอนุสัญญาเวียนนาเพื่อการปกป้องชั้นบรรยากาศโอโซน อนุสัญญาเวียนนาประกอบด้วยคําปฏิญาณในอันที่จะร่วมมือกันในการศึกษาค้นคว้า เฝ้าระวังและการแลกเปลี่ยนข้อมูลปริมาณการผลิตและการปล่อยสารทําลายชั้นบรรยากาศโอโซน รวมถึงการดําเนินการควบคุมตามอนุสัญญาที่จะกําหนดขึ้นในอนาคต ด้วย

แม้ว่าอนุสัญญาเวียนนาจะไม่ได้มีข้อกําหนดที่ต้องปฏิบัติเพื่อลดการผลิตและการใช้สารทําลายชั้นบรรยากาศโอโซน แต่อนุสัญญาเวียนนาก็จัดเป็นอนุสัญญาที่สําคัญในประวัติศาสตร์ฉบับหนึ่งที่ประเทศต่าง ๆ ยอมรับมาตรการ ป้องกันในการเจรจาระหว่างประเทศและเห็นพ้องกันในการที่จะแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นต่อสิ่งแวดล้อมโลกก่อนที่จะมีผลการพิสูจน์ทางวิทยาศาสตร์และเกิดความเสียหายอย่างใหญ่หลวงขึ้น โดยได้มีประเทศต่าง ๆ จํานวน 28 ประเทศร่วมกันให้สัตยาบันต่ชออนุสัญญาดังกล่าวครั้งแรกในเดือนมีนาคม พ.ศ. 2528

5.5 พิธีสารเกียวโต (Kyoto Protocol)

เป็นข้อตกลงระหว่างประเทศที่เชื่อมโยงกับอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศซึ่งกำหนดให้ประเทศภาคีลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกตามเป้าหมายโดยมีผลผูกพันตามกฎหมายเนื่องจากประเทศพัฒนาแล้วเป็นสาเหตุสำคัญของการปล่อยก๊าซเรือนกระจกปริมาณสูงสู่ชั้นบรรยากาศ ซึ่งเป็นผลมาจากการทำอุตสาหกรรมกว่า 150 ปี พิธีสารเกียวโตจึงได้เพิ่มเป้าหมายลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกให้กับกลุ่มประเทศพัฒนาแล้ว ภายใต้หลักการ “ความรับผิดชอบร่วมกันในระดับที่แตกต่างกัน” พิธีสารเกียวโตได้รับการลงนามรับรองที่เมืองเกียวโต ประเทศญี่ปุ่น เมื่อวันที่ 11 ธันวาคม 2540 และมีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 16 กุมภาพันธ์ 2548 ส่วนความตกลงมาร์ราเกชหรือรายละเอียดข้อบังคับในการปฏิบัติตามพิธีสารเกียวโตได้รับการลงนามรับรองในที่ประชุมสมัชชาประเทศภาคีอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศครั้งที่ 7 (COP7) ที่เมืองมาร์ราเกช ประเทศโมรอกโก ในปี 2544 ระยะผูกพันช่วงแรกเริ่มขึ้นในปี 2551 และสิ้นสุดลงในปี 2555 ข้อตกลงแก้ไขพิธีสารเกียวโตได้รับการลงนามรับรองที่กรุงโดฮา ประเทศกาตาร์ เมื่อวันที่ 8 ธันวาคม 2555

5.6 อนุสัญญาว่าด้วยการควบคุมการเคลื่อนย้ายข้ามแดนของของเสียอันตรายและการกำจัด(Basel Convention on the Control of Transboundary Movements of Hazardous Wastes and their Disposal)

เป็นข้อตกลงระหว่างประเทศเกี่ยวกับการควบคุมการเคลื่อนย้ายข้ามแดนของเสียอันตรายและการกำจัดปัญหาการลักลอบนำของเสียอันตรายไปทิ้ง หรือกำจัดทำลายในประเทศด้อยพัฒนา ซึ่งก่อให้เกิดผลกระทบต่อสุขภาพอนามัยของมนุษย์และสิ่งแวดล้อม โดยมีประเทศต่าง ๆ ลงนามเข้าร่วมเป็นภาคีได้ ตั้งแต่วันที่ 22 มีนาคม 2533 อนุสัญญาบาเซล มีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 5 พฤษภาคม 2535 เพื่อกำหนดข้อตกลงระหว่างประเทศในการควบคุมการนำเข้า การส่งออก การนำผ่าน พร้อมทั้งการจัดการของเสียอันตรายให้มีความปลอดภัย ไม่ก่อให้เกิดผลกระทบต่อสุขภาพอนามัยของมนุษย์ และสิ่งแวดล้อม อีกทั้งเป็นการป้องกันการขนส่งที่ผิดกฎหมาย

5.7 พิธีสารมอนทรีออล (Montreal Convention)

ว่าด้วยสารทำลายชั้นบรรยากาศโอโซน คือสนธิสัญญาสากลที่ถูกกำหนดขึ้นเพื่อควบคุม ยับยั้ง และรณรงค์ให้ลดการผลิตและการใช้สารทำลายชั้นบรรยากาศโอโซน เพื่อรักษาชั้นบรรยากาศโอโซนที่เริ่มจะสูญสลายไปเนื่องจากสารเหล่านี้ โดยพิธีสารได้เปิดให้ประเทศต่างๆ ลงนามเป็นประเทศภาคีสมาชิกในวันที่ 16 กันยายน พ.ศ. 2530 (1987) และเริ่มใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2532 (1989) เป็นต้นมา พิธีสารมอนทรีออลได้รับการยกย่องให้เป็นตัวอย่างการร่วมมือกันระหว่างประเทศในการแก้ไขปัญหาในระดับนานาชาติ

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

แปลภาษาไทย ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน อาจารย์ ตจต ศัพท์ทหาร ภาษาอังกฤษ pdf lmyour แปลภาษา ชขภใ ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมฟรี 2566 ขขขขบบบยข ่ส ศัพท์ทางทหาร military words หนังสือราชการ ตัวอย่าง หยน แปลบาลีเป็นไทย ไทยแปลอังกฤษ ประโยค การไฟฟ้านครหลวง การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ข้อสอบโอเน็ต ม.3 ออกเรื่องอะไรบ้าง พจนานุกรมศัพท์ทหาร เมอร์ซี่ อาร์สยาม ล่าสุด แปลภาษามลายู ยาวี Bahasa Thailand กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมออนไลน์ การ์ดจอมือสอง ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย คะแนน o-net โรงเรียน ค้นหา ประวัติ นามสกุล บทที่ 1 ที่มาและความสําคัญของปัญหา ร. ต จ แบบฝึกหัดเคมี ม.5 พร้อมเฉลย แปลภาษาอาหรับ-ไทย ใบรับรอง กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน PEA Life login Terjemahan บบบย มือปราบผีพันธุ์ซาตาน ภาค2 สรุปการบริหารทรัพยากรมนุษย์ pdf สอบโอเน็ต ม.3 จําเป็นไหม เช็คยอดค่าไฟฟ้า แจ้งไฟฟ้าดับ แปลภาษา มาเลเซีย ไทย แผนที่ทวีปอเมริกาเหนือ ่้แปลภาษา Google Translate กระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ 8 ขั้นตอน ก่อนจะนิ่งก็ต้องกลิ้งมาก่อน เนื้อเพลง ข้อสอบโอเน็ตม.3 มีกี่ข้อ คะแนนโอเน็ต 65 ตม กรุงเทพ มีที่ไหนบ้าง