ศัพท์เรียกพระมหากษัตริย์มีหลายรูปแบบ เช่น

Skip to content

Post Views: 44,677

“รูป” กับราชาศัพท์ที่ถูกต้อง

7 เม.ย. 2560

0

นานาสาระน่ารู้

การใช้ราชาศัพท์กับรูปประเภทต่างๆ นั้นมักสร้างความสับสนให้กับผู้ใช้งาน และก่อให้เกิดการนำมาใช้งานผิดพลาดบ่อยครั้ง ดังนั้น จากการรวบรวมข้อมูลต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง จึงสามารถสรุปการใช้ราชาศัพท์ให้ถูกต้อง ดังนี้

รูปเขียนเหมือนบุคคลจริง

  1. ราชาศัพท์คำว่า “รูปเขียนเหมือนบุคคลจริง” สำหรับพระมหากษัตริย์ ใช้คำว่า พระบรมรูปเขียน พระบรมฉายาสาทิสลักษณ์ พระบรมสาทิสลักษณ์ 
  2. ราชาศัพท์คำว่า “รูปเขียนเหมือนบุคคลจริง” สำหรับสมเด็จพระบรมราชินีนาถ สมเด็จพระบรมราชินี สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช ฯ สยามมกุฎราชกุมาร สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี ใช้คำว่า พระรูปเขียน พระฉายาสาทิสลักษณ์ พระสาทิสลักษณ์
  3. ราชาศัพท์คำว่า “รูปเขียนเหมือนบุคคลจริง” สำหรับพระบรมวงศ์ชั้นสมเด็จเจ้าฟ้า ลงมาจนถึงพระอนุวงศ์ชั้นหม่อมเจ้า ใช้คำว่า พระรูป

รูปถ่าย

  1. ราชาศัพท์คำว่า “รูปถ่าย” สำหรับพระมหากษัตริย์  ใช้คำว่า พระบรมฉายาลักษณ์
  2. ราชาศัพท์คำว่า “รูปถ่าย” สำหรับสมเด็จพระบรมราชินีนาถ สมเด็จพระบรมราชินี  สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช ฯ สยามมกุฎราชกุมาร สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี ใช้คำว่า พระฉายาลักษณ์ พระรูป
  3. ราชาศัพท์คำว่า “รูปถ่าย” สำหรับพระบรมวงศ์ชั้นสมเด็จเจ้าฟ้า ลงมาจนถึงพระอนุวงศ์ชั้นหม่อมเจ้า ใช้คำว่า พระรูป

รูปปั้น

  1. ราชาศัพท์คำว่า “รูปปั้น” สำหรับพระมหากษัตริย์ ใช้คำว่า พระบรมรูปปั้น
  2. ราชาศัพท์คำว่า “รูปปั้น” สำหรับสมเด็จพระบรมราชินีนาถ ลงมาจนถึงพระอนุวงศ์ชั้นหม่อมเจ้า ใช้คำว่า พระรูปปั้น

รูปหล่อ

  1. ราชาศัพท์คำว่า “รูปหล่อ” สำหรับพระมหากษัตริย์ ใช้คำว่า พระบรมรูปหล่อ
  2. ราชาศัพท์คำว่า “รูปหล่อ” สำหรับสมเด็จพระบรมราชินีนาถ ลงมาจนถึงพระอนุวงศ์ชั้นหม่อมเจ้า ใช้คำว่า พระรูปหล่อ

ตารางจำแนกราชศัพท์ตามรายพระนาม

ลำดับ รายพระนาม รูปเขียนเหมือนบุคคลจริง รูปถ่าย รูปปั้น รูปหล่อ
1. พระมหากษัตริย์

พระบรมรูปเขียน

พระบรมฉายาสาทิสลักษณ์

พระบรมสาทิสลักษณ์

พระบรมฉายาลักษณ์ พระบรมรูปปั้น พระบรมรูปหล่อ
2.

สมเด็จพระบรมราชินีนาถ

สมเด็จพระบรมราชินี

พระรูปเขียน

พระฉายาสาทิสลักษณ์

พระสาทิสลักษณ์

พระฉายาลักษณ์

พระรูป

พระรูปปั้น พระรูปหล่อ
3.

สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช ฯ สยามมกุฎราชกุมาร

สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี

พระรูปเขียน

พระฉายาสาทิสลักษณ์

พระสาทิสลักษณ์

พระฉายาลักษณ์

พระรูป

พระรูปปั้น พระรูปหล่อ
4.

พระบรมวงศ์ชั้นสมเด็จเจ้าฟ้า

ลงมาจนถึงพระอนุวงศ์ชั้นหม่อมเจ้า

พระรูป พระรูป พระรูปปั้น พระรูปหล่อ

ข้อพึงระวัง 

  • กรณีที่รูปเขียน รูปปั้น รูปหล่อ ใดก็ตามไม่ได้อธิบายชี้เฉพาะไว้ให้ชัดเจน สามารถใช้คำราชาศัพท์ว่า “พระบรมรูป” หรือ “พระรูป” ได้
  • สำหรับราชศัพท์คำว่า “พระบรมรูป” และ “พระบรมรูปถ่าย” ซึ่งเป็นราชศัพท์ของคำว่า “รูปถ่าย” สำหรับกับพระมหากษัตริย์นั้น ปัจจุบันได้ยกเลิกใช้แล้ว
  • หากจะเลือกใช้ราชาศัพท์ของคำที่เกี่ยวกับ “รูป” นั้น ควรต้องพิจารณาให้เหมาะสมกับประเภทและเนื้อหาที่จะเขียนคำอธิบาย

คำที่มักเขียนผิด

  • พระบรมสาทิศลักษณ์
  • พระสาทิศลักษณ์

ที่มา:

พระบรมรูป พระรูป
//www.royin.go.th/?knowledges=พระบรมรูป-พระรูป

รูปเขียน รูปปั้น รูปหล่อ
//www.royin.go.th/?knowledges=รูปเขียน-รูปปั้น-รูปหล่อ

ราชาศัพท์ของคำว่า “ถ่ายรูป” “รูปถ่าย”
//www.royin.go.th/?knowledges=ราชาศัพท์ของคำว่า-ถ่ายร

สังคมไทยเป็นสังคมที่มีการจัดลำดับชนชั้นในการปกครองอย่างชัดเจน ย้อนกลับไปใน สมัยสุโขทัย เรามีการปกครองแบบพ่อปกครองลูก ต่อมาในสมัยอยุธยาก็มีการรับแนวคิดเทวราชาจากขอมและอินเดียมาใช้ในการปกครอง โครงสร้างสังคมแบบมีลำดับขั้นจึงอยู่เคียงคู่สังคมไทยมาอย่างยาวนาน สะท้อนผ่านมิติต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นวิถีชีวิตความเป็นอยู่ ภาษาที่ผู้คนใช้สื่อสาร รวมถึงการใช้ ‘คำราชาศัพท์’ ซึ่งเป็นการใช้ภาษาให้เหมาะสมกับบุคคลในแต่ละลำดับชั้นของสังคมนี้ด้วย

คำราชาศัพท์คืออะไร

หากแปลตรงตัว ‘ราชาศัพท์’ หมายถึง ถ้อยคำที่ใช้กับพระเจ้าแผ่นดิน แต่โดยทั่วไปแล้ว คำราชาศัพท์นั้นหมายถึงคำสุภาพที่ใช้ให้เหมาะสมกับฐานะของบุคคลต่าง ๆ การใช้คำราชาศัพท์จึงเป็นการใช้คำให้เหมาะสมกับลำดับชั้นของบุคคล ตั้งแต่พระมหากษัตริย์ พระราชินี พระบรมวงศานุวงศ์ พระภิกษุ และสามัญชน ในส่วนของที่มา คำราชาศัพท์แต่ละคำนั้นมีที่มาที่หลากหลาย ทั้งจากคำไทยดั้งเดิม และคำไทยที่รับมาจากภาษาอื่น เช่น ภาษาบาลี ภาษาสันสกฤต และภาษาเขมร โดยคำศัพท์ส่วนใหญ่จะต้องนำมา ปรับแต่ง ใหม่ก่อน จึงจะใช้สื่อสารเป็นคำราชาศัพท์ได้

คำราชาศัพท์ใช้กับใครบ้าง

คำราชาศัพท์จะใช้กับบุคคลกลุ่มต่าง ๆ ตั้งแต่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวจนไปถึงสามัญชน แต่จะมีลำดับขั้นของพระราชวงศ์ลดหลั่นกันลงมา ดังนี้

๑. พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว 

๒. สมเด็จบรมราชินีนาถ, สมเด็จพระบรมราชชนนี, สมเด็จพระยุพราช, สมเด็จพระบรมราชกุมารี

๓. สมเด็จเจ้าฟ้า

๔. พระบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้า, พระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้า, พระวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้า และสมเด็จพระสังฆราช

๕. หม่อมเจ้า*

โดยบทความนี้จะเน้นเฉพาะการใช้คำราชาศัพท์สำหรับพระมหากษัตริย์และพระราชวงศ์ โดยจะแบ่งออกเป็น ๓ หัวข้อใหญ่ ๆ ได้แก่

๑. นามราชาศัพท์

๒. กริยาราชาศัพท์

๓. สรรพนามราชาศัพท์

*หม่อมราชวงศ์ หม่อมหลวงจะใช้คำสุภาพเหมือนสามัญชนทั่วไป ไม่ใช้คำราชาศัพท์ในระดับพระราชวงศ์ 

นามราชาศัพท์

การทำคำนามทั่วไปให้เป็นคำราชาศัพท์จะเติมคำว่า ‘พระ’ เข้าไปเพื่อให้เป็นนามราชาศัพท์ แบ่งออกเป็น ๓ ระดับ คือ พระบรม พระราช และ พระ

๑. พระบรม + นามทั่วไป เช่น พระบรมราโชวาท (คำสอนของพระราชา) พระบรมราชวโรกาส (โอกาสจากพระราชา) ใช้กับพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว 

๒. พระราช + นามทั่วไป เช่น พระราโชวาท (คำสอนของสมเด็จพระราชินี หรือสมเด็จพระบรม) พระราชนิพนธ์ (ผลงานประพันธ์) ใช้กับพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว สมเด็จบรมราชินีนาถ สมเด็จพระยุพราช และสมเด็จพระบรมราชกุมารี

๓. พระ + นามทั่วไป เช่น พระเนตร (ตา) พระชานุ (เข่า) ใช้กับลำดับพระองค์เจ้าขึ้นไป

ข้อยกเว้น: ลำดับชั้นหม่อมเจ้าไม่ต้องมีคำว่า ‘พระ’ นำหน้าคำนาม สามารถใช้คำว่า เนตร ชานุ ได้เลย

กริยาราชาศัพท์

การสร้างคำราชาศัพท์ประเภทกริยาราชาศัพท์จะใช้คำว่า ‘ทรง’ และคำว่า ‘เสด็จ’ ซึ่งมีหลักการดังนี้

การใช้คำว่า ‘ทรง’

๑. ทรง + กริยาธรรมดา เช่น ทรงศึกษา ทรงยินดี

๒. ทรง + นามธรรมดา เช่น ทรงม้า (ขี่ม้า) ทรงเปียโน (เล่นเปียโน) ทรงธรรม (ฟังเทศน์)

๓. ทรง + นามราชาศัพท์ เช่น ทรง + พระอักษร (ตัวหนังสือ) = ทรงพระอักษร (อ่าน เรียน เขียนหนังสือ) ทรง + พระดำริ (ความคิด) = ทรงพระดำริ (มีความคิด)

๔. ทรงมี, ทรงเป็น + นามธรรมดา เช่น ทรงมีทุกข์ ทรงเป็นประธาน ทรงเป็นกรรมการ

ข้อยกเว้น: ห้ามใช้ทรง นำหน้ากริยาราชาศัพท์ เช่น โปรด เสวย ประสูติ ตรัส พระราชทาน ยกเว้นคำว่าผนวช ใช้คำว่าทรงผนวชได้

การใช้คำว่าเสด็จ

๑. เสด็จ + กริยาธรรมดา เช่น เสด็จไป เสด็จเข้า เสด็จออก

๒. เสด็จ + นามราชาศัพท์ เช่น เสด็จพระราชดำเนิน (เดินทาง)

การใช้คำว่าเสด็จมีข้อควรระวังคือต้องมีคำแสดงจุดหมายต่อท้ายเสมอ เช่น เสด็จพระราชดำเนินกลับกรุงเทพฯ และคำว่า ‘เสด็จพระราชดำเนิน’ เป็นคำที่ใช้กับพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว สมเด็จบรมราชินีนาถ และสมเด็จพระบรมเท่านั้น

สรรพนามราชาศัพท์

ในการสนทนาที่มีการใช้คำสรรพนามแทนตัว เราต้องเลือกใช้คำสรรพนามแทนตัวบุรุษที่ ๑ และสรรพนามแทนตัวบุรุษที่ ๒ ให้เหมาะสม เช่น

สรรพนามบุรุษที่ ๑ (แทนตนเอง) ใช้กับ
ข้าพระพุทธเจ้า พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

สมเด็จบรมราชินีนาถ

สมเด็จพระบรม

สมเด็จเจ้าฟ้า

เกล้ากระหม่อม (ผู้ชาย)
เกล้ากระหม่อมฉัน (ผู้หญิง)
พระองค์เจ้า

สรรพนามบุรุษที่ ๒

(แทนพระมหากษัตริย์และพระราชวงศ์)

ใช้กับ
ใต้ฝ่าละอองธุลีพระบาท พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

สมเด็จบรมราชินีนาถ

ใต้ฝ่าละอองพระบาท สมเด็จพระบรม
ใต้ฝ่าพระบาท สมเด็จเจ้าฟ้า
ฝ่าพระบาท พระองค์เจ้า

รู้หรือไม่ ?: ทำไมสรรพนามแทนตัวพระเจ้าแผ่นดินจึงเป็น ‘ใต้ฝ่าละอองธุลีพระบาท’

หลายคนอาจคิดว่า ‘ใต้ฝ่าละอองธุลีพระบาท’ แปลว่าใต้ฝุ่นเท้า และหมายถึงประชาชนผู้จงรักภักดี แต่จริง ๆ แล้ว ‘ใต้ฝ่าละอองธุลีพระบาท’ เป็นสรรพนามบุรุษที่ ๒ ใช้แทนตัวพระมหากษัตริย์ ว่าแต่… ทำไมเราถึงแทนตัวเจ้านายผู้สูงศักดิ์ด้วยคำว่าฝุ่นใต้เท้ากันล่ะ ดูไม่สมเหตุสมผลเลยใช่ไหม ในกรณีนี้ สมศักดิ์ พันธ์ศิริได้เสนอข้อสันนิษฐานเกี่ยวกับการใช้คำว่า ‘ใต้ฝ่าละอองธุลีพระบาท’ ไว้ในคอลัมน์ไขภาษากับวิฬาร์ไว้ว่า 

๑. ไม่พูดกับท่านโดยตรง แต่พูดกับฝุ่นที่อยู่ใต้เท้าของท่านเพื่อแสดงความนอบน้อมอย่างถึงที่สุด หากเราใช้สรรพนามแทนตัวเราว่าผม กระผม ซึ่งมีที่มาจาก  ‘ผม’ อันเป็นส่วนที่สูงที่สุดของร่างกาย แล้วต้องการแสดงความอ่อนน้อมถ่อมตนต่อผู้ที่อยู่สูงกว่า ในกรณีนี้เราจะไม่เรียกชื่อท่านโดยตรง และแทนตัวท่านด้วยสิ่งที่อยู่ต่ำสุดของท่าน เช่น ใต้เท้า ใต้ฝ่าพระบาท ใต้ฝ่าละอองพระบาท และใต้ฝ่าละอองธุลีพระบาท ดังคำกล่าวที่ว่า “ไม่ยกตนเสมอท่าน” 

๒. มาจากพุทธประวัติ ในพุทธประวัติตอนหนึ่งเล่าว่า เมื่อครั้งที่พระพุทธเจ้าเสด็จไปโปรดพระประยูรญาติในกรุงกบิลพัสดุ์ พระประยูรญาติที่อาวุโสกว่ามีทิฐิมานะ ไม่ยอมแสดงคารวะต่อพระผู้มีพระภาคเจ้า พระองค์จึงกระทำอภินิหารด้วยการลอยอยู่เหนือศีรษะของพระประยูรญาติ ฝุ่นละอองจากธุลีพระบาทจึงโปรยปรายตกลงมายังพระเศียรของพระประยูรญาติเหล่านั้น และเป็นที่มาของคำว่า “ใต้ฝ่าละอองธุลีพระบาทปกเกล้าปกกระหม่อม” นั่นเอง

นอกจากเนื้อหาที่เรายกมาให้เพื่อน ๆ ได้ศึกษา บทเรียนเรื่องราชาศัพท์ยังมีรายละเอียดอีกเยอะมาก สามารถแยกออกมาเขียนตำราได้อีกเล่มเลยทีเดียว นอกจากนี้หลักเกณฑ์เกี่ยวกับการใช้คำราชาศัพท์ และการเลื่อนพระยศของพระราชวงศ์ยังมีการเปลี่ยนแปลงอยู่เรื่อย ๆ เพื่อน ๆ ต้องคอยติดตามข่าวสารให้อัปเดตอยู่เสมอเพื่อการใช้คำราชาศัพท์ที่ถูกต้อง และถึงจะเป็นหลักภาษาที่เราไม่ได้พบบ่อย ๆ ในชีวิตประจำวัน แต่การศึกษาเรื่องคำราชาศัพท์ก็ทำให้เรารู้เทคนิคการสร้างคำ ได้เห็นคำยืมจากภาษาอื่น ๆ เช่น บาลี สันสกฤต เขมร ซึ่งจะเป็นประโยชน์ในการศึกษาวรรณคดีของเพื่อน ๆ ด้วย อย่างเช่นบทเรียนวรรณคดีไทยเรื่อง บทพากย์เอราวัณ ก็มีการใช้คำราชาศัพท์อยู่หลายจุดเช่นกัน

ขอบคุณข้อมูลจาก:
สิริพัชร์ ชัยกิตติภรณ์ (ครูดรีม)

References:

เชื้อทอง, ฤ, & โรจนประภายนต์, ร. (2016). ค่านิยม อุดมการณ์ และรูปแบบการสื่อสารที่แสดงถึงลักษณะทางวัฒนธรรมของคนไทย. NIDA Journal of Language and Communication, 21, 110-143. doi://so04.tci-thaijo.org/index.php/NJLC/article/view/94424/73815

ทองใบ, อ., พันธุ์ประเสริฐ, ม. (2012). ราชาศัพท์. หลักภาษาไทย ม.๔-๕-๖ (pp. 77-86). นนทบุรี: Think Beyond Books.

พันธ์ศิริ, ส. (n.d.). ใต้ฝ่าละอองธุลีพระบาท. Retrieved March 25, 2021, from //blog.bru.ac.th/wp-content/uploads/2020/03/ใต้ฝ่าละอองธุลีพระบาท.pdf

สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการ. (2012). ราชาศัพท์. In หลักภาษาและการใช้ภาษาเพื่อการสื่อสาร ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๖ (2nd ed., pp. 58-69). กรุงเทพฯ: สกสค. ลาดพร้าว.

คำว่า “พระมหากษัตริย์” ตามรูปหมายความว่าอย่างไร

monarch. (มอน'เนิร์ค) n. กษัตริย์, พระราชา, พระมหากษัตริย์, พระราชินี, ประมุขของรัฐ ... พระมหากษัตริย์.

พระเรียกพระมหากษัตริย์ว่าอะไร

สาม พระนามที่เรียกเมื่อดำรงพระชนม์อยู่นั้น กรมพระยาดำรงฯ ระบุว่า คนทั่วไปจะเรียกพระมหากษัตริย์ว่า “ขุนหลวง” “พระเปนเจ้า” “พระเจ้าอยู่หัว” หรืออาจเรียกชื่อพระมหากษัตริย์ตามเมืองที่ปกครอง เช่น “พระเจ้าอู่ทอง” “พระเจ้ากรุงศรีอยุธยา” “พระเจ้าหงสาวดี” “พระเจ้าอังวะ” หรืออาจเรียกตามพระนามเดิมของพระมหากษัตริย์เช่น “พระร่วง” “ ...

พระมหากษัตริย์มีคำใดบ้าง

มหาธรรมาราชนรินทร์ พระเจ้าแผ่นดินผู้ทรงธรรมอย่างยิ่งใหญ่ มหิธร พระเจ้าแผ่นดิน มหิบดี พระเจ้าแผ่นดิน มหิบาล พระเจ้าแผ่นดิน

คำใดใช้สำหรับพระมหากษัตริย์เท่านั้น

ใช้คำ “พระบรม” หรือ “พระบรมราช” นำหน้าคำนามที่สำคัญ ซึ่งสมควรจะเชิดชูให้เป็นเกียรติ ... .
ใช้คำ “พระราช” นำหน้าคำนามที่ใช้เฉพาะพระมหากษัตริย์ซึ่งต้องการกล่าวไม่ให้ปนกับพระบรมวงศานุวงศ์ ตัวอย่าง ... .
ใช้คำ “พระ” นำหน้าคำนามทั่วไปเพื่อให้แตกต่างจากสามัญชน ตัวอย่าง ... .
ใช้คำ “พระ” นำหน้าคำนามทั่วไปเพื่อให้แตกต่างจากสามัญชน.

กระทู้ที่เกี่ยวข้อง

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

แปลภาษาไทย ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน อาจารย์ ตจต ศัพท์ทหาร ภาษาอังกฤษ pdf lmyour แปลภาษา ชขภใ ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมฟรี 2566 ขขขขบบบยข ่ส ศัพท์ทางทหาร military words หนังสือราชการ ตัวอย่าง หยน แปลบาลีเป็นไทย ไทยแปลอังกฤษ ประโยค การไฟฟ้านครหลวง การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ข้อสอบโอเน็ต ม.3 ออกเรื่องอะไรบ้าง พจนานุกรมศัพท์ทหาร เมอร์ซี่ อาร์สยาม ล่าสุด แปลภาษามลายู ยาวี Bahasa Thailand กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมออนไลน์ การ์ดจอมือสอง ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย คะแนน o-net โรงเรียน ค้นหา ประวัติ นามสกุล บทที่ 1 ที่มาและความสําคัญของปัญหา ร. ต จ แบบฝึกหัดเคมี ม.5 พร้อมเฉลย แปลภาษาอาหรับ-ไทย ใบรับรอง กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน PEA Life login Terjemahan บบบย มือปราบผีพันธุ์ซาตาน ภาค2 สรุปการบริหารทรัพยากรมนุษย์ pdf สอบโอเน็ต ม.3 จําเป็นไหม เช็คยอดค่าไฟฟ้า แจ้งไฟฟ้าดับ แปลภาษา มาเลเซีย ไทย แผนที่ทวีปอเมริกาเหนือ ่้แปลภาษา Google Translate กระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ 8 ขั้นตอน ก่อนจะนิ่งก็ต้องกลิ้งมาก่อน เนื้อเพลง ข้อสอบโอเน็ตม.3 มีกี่ข้อ คะแนนโอเน็ต 65 ตม กรุงเทพ มีที่ไหนบ้าง