ผ่าตัดไทรอยด์ เสียงแหบ pantip

ตือ อาการที่เสียงเกิดความเปลี่ยนแปลงหรือมีความผิดปกติ มีระดับสูง-ต่ำหรือความดังของเสียงที่เปลี่ยนแปลงไป มีเสียงหายใจแทรก หรือต้องออกแรงในการเปล่งเสียง  ความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นส่วนใหญ่ มักเกิดจากความผิดปกติที่เกี่ยวข้องกับเส้นเสียงในกล่องเสียง (Larynx)

เสียงแหบเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ ส่วนใหญ่จะไม่รุนแรงและอาการจะหายเองได้ในไม่ช้า แต่หากอาการยังคงอยู่เป็นเวลานานกว่า 2 สัปดาห์ ควรไปพบแพทย์เพื่อรับการวินิจฉัยและหาทางรักษาต่อไป

อาการของเสียงแหบ

อาการเสียงแหบ อาจมีอาการที่แตกต่างกันออกไปขึ้นอยู่กับสาเหตุ เช่น เสียงพูดมีลมหายใจแทรก เสียงแห้งแหบ เสียงสั่น เสียงที่ไม่เป็นธรรมชาติต้องออกแรงมากกว่าปกติ หรือเกิดความเปลี่ยนแปลงกับระดับสูง-ต่ำ หรือความดังของเสียง ทำให้ไม่สามารถออกเสียงหรือเปล่งเสียงได้ราบรื่นเหมือนปกติ

นอกจากความผิดปกติที่เกิดขึ้นกับเสียงดังกล่าว อาจเกิดอาการร่วมอย่างอื่นที่แตกต่างกันไปตามสาเหตุของโรค

หากมีอาการต่อไปนี้ ควรพบแพทย์

  • พบว่ามีปัญหาเกี่ยวกับการหายใจหรือการกลืนอาหาร
  • อาการเสียงแหบและมีน้ำลายไหลยืด เป็นอาการที่เกิดขึ้นกับเด็กเล็ก
  • อาการเสียงแหบที่เกิดขึ้นในเด็กอายุน้อยกว่า 3 เดือน
  • อาการเสียงแหบที่เกิดกับเด็กเป็นเวลานานกว่า 1 สัปดาห์ หรือ 2-3 สัปดาห์ในผู้ใหญ่

สาเหตุของเสียงแหบ

เสียงแหบเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ โดยมากจะไม่ใช่โรคที่ร้ายแรงและสามารถหายได้เองในไม่ช้า มีสาเหตุที่พบบ่อย คือ กล่องเสียงอักเสบหรือการอักเสบที่เส้นเสียง ซึ่งเกิดจากการติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจส่วนบน นอกจากนี้ ยังมีสาเหตุอื่น ๆ ได้แก่  

  • เนื้องอกที่เส้นเสียง เกิดเป็นตุ่ม ซีสต์หรือถุงน้ำ ติ่งเนื้อ
  • ไข้หวัด
  • การติดเชื้อที่ทางเดินหายใจส่วนบน
  • โรคกรดไหลย้อน
  • โรคภูมิแพ้
  • ภาวะที่เกี่ยวกับระบบประสาท เช่น โรคหลอดเลือดในสมอง และโรคพาร์กินสัน
  • ต่อมไทรอยด์ทำงานผิดปกติ
  • โรคข้ออักเสบรูมาตอยด์
  • หลอดเลือดแดงใหญ่โป่งโพง
  • มะเร็งกล่องเสียง ไทรอยด์ หรือปอด
  • เกิดการบาดเจ็บที่กล่องเสียงหรือเส้นเสียง
  • เกิดจากการใช้เสียงมากเกินไปหรือใช้เสียงในทางที่ผิด เช่น ตะโกนดัง ๆ หรือร้องเพลงเป็นเวลานาน
  • มีอาการไอมากเกินไปหรือไอเป็นเวลายาวนาน
  • ใช้ยาพ่นสเตียรอยด์
  • สูดดมสารพิษ
  • ระคายเคืองจากการสูบบุหรี่
  • ดื่มเครื่องดื่มคาเฟอีนหรือเครื่องดื่มแอลกอฮอล์

การวินิจฉัยเสียงแหบ
แพทย์จะเริ่มวินิจฉัยด้วยการสอบถามถึงอาการต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น รวมไปถึงโรคประจำตัว สุขภาพโดยรวมและรูปแบบการดำเนินชีวิตของผู้ป่วย จากนั้นแพทย์จะตรวจดูกล่องเสียงและบริเวณใกล้เคียงด้วยกระจกส่องหรือเครื่องส่องตรวจกล่องเสียง (Laryngoscope) และประเมินคุณภาพเสียง เช่น

  • เสียงพูดที่มีเสียงเหมือนลมหายใจแทรก อาจหมายถึง ปัญหาที่เกิดขึ้นกับกล่องเสียง ซึ่งอาจมีสาเหตุมาจากเนื้องอก ติ่งเนื้อ หรือมะเร็งกล่องเสียง
  • เสียงแหบแห้ง อาจหมายถึง เส้นเสียงหนาขึ้นจากอาการบวม การอักเสบจากการติดเชื้อ การระคายเคืองจากสารเคมี การใช้เสียงในทางที่ผิด หรืออัมพาตที่เส้นเสียง
  • เสียงแหบแหลม เสียงสั่น หรือเสียงเบา อาจหมายถึง ปัญหาที่เกี่ยวกับการหายใจ

รวมไปถึงการตรวจเพิ่มเติมด้วยการทดสอบในห้องปฏิบัติการ เช่น การตัดเนื้อเยื้อไปตรวจ (Biopsy) การเอกซเรย์ปอด ตรวจสอบการทำงานของต่อมไทรอยด์ หรือการตรวจเลือด เช่น ตรวจความสมบูรณ์ของเม็ดเลือด (Complete Blood Count: CBC)

การรักษาเสียงแหบ

การรักษาเสียงแหบมีหลากหลายวิธี แต่การรักษาจะขึ้นอยู่กับปัจจัยที่เป็นสาเหตุ โดยปกติเมื่อสาเหตุของอาการเสียงแหบได้รับการรักษาจนหายแล้ว เสียงที่แหบก็จะค่อย ๆ กลับมาเป็นปกติได้

  • ในขณะที่มีอาการเสียงแหบ ควรงดใช้เสียงหรือพูดเฉพาะที่จำเป็นจนกว่าอาการจะหายเป็นปกติ
  • หากอาการเสียงแหบมาจากการสูบบุหรี่ ผู้ป่วยควรเลิกบุหรี่ โดยอาจขอคำแนะนำจากผู้ให้คำปรึกษาเพื่อการเลิกบุหรี่
  • กล่องเสียงอักเสบที่มีสาเหตุจากการติดเชื้อทางเดินหายใจส่วนบน อาการมักจะดีขึ้นได้เอง หรือทำการรักษาแบบประคับประคองอาการด้วยการรับประทานยาแก้ไอ และใช้เครื่องทำความชื้นในอากาศเพื่อช่วยให้หายใจได้สะดวกยิ่งขึ้น
  • หากอาการเสียงแหบมาจากโรคกรดไหลย้อน รักษาได้ด้วยการรับประทานยาหรือควบคุมการรับประทานอาหารตามที่แพทย์แนะนำ
  • หากอาการเสียงแหบที่มีสาเหตุจากปุ่มหรือติ่งเนื้อที่เส้นเสียง การบาดเจ็บที่กล่องเสียงหรือเส้นเสียง รวมไปถึงมะเร็งกล่องเสียง อาจมีความจำเป็นที่แพทย์ต้องผ่าตัด

นอกจากนั้น หากพบว่าอาการเสียงแหบที่เป็นต่อเนื่องนานกว่า 2 สัปดาห์ โดยไม่ได้รับการรักษา ควรได้รับการวินิฉัยตรวจหาสาเหตุเพิ่ม

ภาวะแทรกซ้อนของเสียงแหบ

สาเหตุของอาการเสียงแหบที่พบบ่อยคือ เกิดจากโรคกล่องเสียงอักเสบ ซึ่งโรคกล่องเสียงอักเสบมีสาเหตุมาจากการติดเชื้อ อาจเกิดภาวะแทรกซ้อนได้ โดยเกิดการแพร่กระจายเชื้อไปยังส่วนต่าง ๆ ของระบบทางเดินหายใจ

การป้องกันเสียงแหบ

อาการเสียงแหบป้องกันได้ในบางกรณี ตัวอย่างเช่น

  • หลีกเลี่ยงสถานการณ์ที่ต้องใช้เสียงมากเกินไปหรือใช้เสียงผิดวิธี หากมีความจำเป็นที่ต้องใช้เสียงดังควรใช้ไมโครโฟนช่วยขยายเสียง
  • ขอคำแนะนำหรือฝึกการใช้เสียงที่ถูกต้องจากนักบำบัดการใช้เสียงหรือการพูด และครูสอนร้องเพลงได้
  • เลิกสูบบุหรี่หรือหลีกเลี่ยงการสัมผัสกับควันบุหรี่ เนื่องจากการสูดควันบุหรี่เข้าไปจะทำให้เกิดการระคายเคืองต่อเส้นเสียงหรือกล่องเสียง และทำให้คอแห้ง นอกจากนั้น การเลิกบุหรี่ยังช่วยป้องกันความเสี่ยงในการเกิดมะเร็งกล่องเสียงได้อีกด้วย
  • ล้างมือบ่อย ๆ เพื่อป้องกันเชื้อโรค ซึ่งเป็นสาเหตุของการติดเชื้อระบบทางเดินหายใจ
  • ดื่มน้ำให้มาก ๆ วันละประมาณ 8 แก้ว ซึ่งช่วยเจือจางเมือกที่อยู่ในลำคอและช่วยให้คอมีความชุ่มชื้นขึ้น
  • หลีกเลี่ยงเครื่องดื่มที่ทำให้ร่างกายสูญเสียน้ำ เช่น เครื่องดื่มคาเฟอีนและเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ซึ่งเสมือนเป็นยาขับปัสสาวะทำให้

กระทู้ที่เกี่ยวข้อง

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

แปลภาษาไทย ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน อาจารย์ ตจต ศัพท์ทหาร ภาษาอังกฤษ pdf lmyour แปลภาษา ชขภใ ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมฟรี 2566 ขขขขบบบยข ่ส ศัพท์ทางทหาร military words หนังสือราชการ ตัวอย่าง หยน แปลบาลีเป็นไทย ไทยแปลอังกฤษ ประโยค การไฟฟ้านครหลวง การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ข้อสอบโอเน็ต ม.3 ออกเรื่องอะไรบ้าง พจนานุกรมศัพท์ทหาร เมอร์ซี่ อาร์สยาม ล่าสุด แปลภาษามลายู ยาวี Bahasa Thailand กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมออนไลน์ การ์ดจอมือสอง ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย คะแนน o-net โรงเรียน ค้นหา ประวัติ นามสกุล บทที่ 1 ที่มาและความสําคัญของปัญหา ร. ต จ แบบฝึกหัดเคมี ม.5 พร้อมเฉลย แปลภาษาอาหรับ-ไทย ใบรับรอง กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน PEA Life login Terjemahan บบบย มือปราบผีพันธุ์ซาตาน ภาค2 สรุปการบริหารทรัพยากรมนุษย์ pdf สอบโอเน็ต ม.3 จําเป็นไหม เช็คยอดค่าไฟฟ้า แจ้งไฟฟ้าดับ แปลภาษา มาเลเซีย ไทย แผนที่ทวีปอเมริกาเหนือ ่้แปลภาษา Google Translate กระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ 8 ขั้นตอน ก่อนจะนิ่งก็ต้องกลิ้งมาก่อน เนื้อเพลง ข้อสอบโอเน็ตม.3 มีกี่ข้อ คะแนนโอเน็ต 65 ตม กรุงเทพ มีที่ไหนบ้าง