ข้อแนะนำสำหรับการเลือกแพลตฟอร์ม marketplace

หน้าแรก > Articles 2020 > Website Marketplace Social Media

เปรียบเทียบชัด ๆ เปิดร้านค้าออนไลน์ผ่านช่องทางไหน ใช้อย่างไรให้สำเร็จ!

ไม่ว่าธุรกิจไหนในยุคนี้ก็ทำออนไลน์ แต่ก็ใช่ว่าทุกธุรกิจที่จะประสบความสำเร็จกันได้ง่าย ๆ แม้ว่าทุกวันนี้จะมีเครื่องมือทางการตลาดออนไลน์ (Marketing Tech) เพื่อเป็นตัวช่วยของธุรกิจคุณได้มากมายผ่านช่องทางการขายสินค้าออนไลน์ต่าง ๆ

คำถามที่น่าสนใจก็คือ “นอกจากขายของออนไลน์อะไรดีแล้ว ขายผ่านช่องทางไหนดีที่สุด?”

วันนี้ Readyplanet จึงนำ 3 ช่องทางหลัก ทั้งการขายผ่านเว็บไซต์ขายของออนไลน์, ขายสินค้าออนไลน์ผ่าน Social Media ต่าง ๆ และการเปิดร้านค้าออนไลน์บน E-Marketplace ว่าธุรกิจแบบไหน ใช้อย่างไรให้สำเร็จ มาเปรียบเทียบแบบชัด ๆ หมัดต่อหมัด ทั้งข้อดี-ข้อเสีย ความท้าทายแต่ละช่องทาง ให้เจ้าของธุรกิจนำไปใช้ประโยชน์กันแบบไม่มีกั๊ก

ข้อดีของการขายสินค้าออนไลน์บนเว็บไซต์

1. มีความน่าเชื่อถือ เพราะสามารถใส่ข้อม฿ลที่เป็นทางการของธุรกิจในหน้าเว็บไซต์ได้

2. สร้าง Brand Loyalty ให้ลูกค้าหรือผู้ที่สนใจกลับมาซื้อซ้ำได้ง่าย ยิ่งถ้าคุณสามารถตั้งชื่อเว็บไซต์ของคุณเป็นชื่อเดียวกับแบรนด์ได้ ก็จะยิ่งสร้างการจดจำแบรนด์ของคุณได้ง่ายขึ้น แถมการมีโดเมนเนมนั้นยังสามารถลอกเลียนได้ยากอีกด้วย

3. ลูกค้าสามารถค้นหาข้อมูลธุรกิจ หรือสินค้าของคุณผ่าน Google ที่เป็น Search Engine ได้ง่ายขึ้น และ Google นั้นยังสามารถทำงานได้ดีกับเว็บไซต์ เพราะเว็บไซต์ขายของออนไลน์สามารถทำ SEO ให้มี Keywords ที่ทำให้เว็บไซต์ของคุณเสิร์ช Google ติดในหน้าแรกได้

4. มี Shopping Cart (ตะกร้าสินค้า) หรือ ฟังก์ชั่นสำหรับการติดต่อช่องทางอื่น ๆ เพื่อให้ลูกค้าสอบถามสินค้าและบริการของคุณเพิ่มเติมได้

5. ทำ Remarketing / Custom Audience / Lookalike ซึ่งเป็นการทำโฆษณาขั้น Advance เพื่อให้มีประสิทธิภาพได้มากขึ้น โดยใช้ข้อมูลของคนที่เคยมาเยี่ยมเว็บไซต์ของคุณในการทำโฆษณาเป็นหลัก 

6. สามารถติดตั้งระบบวิเคราะห์ข้อมูลที่ดีได้ เช่น ระบบ CRM, ระบบ Dynamic Retargeting อ่านข้อมูลของการทำ  R-Dynamic ระบบโฆษณา Dynamic Retargeting ได้โดย คลิกที่นี่ หรือ Google Analytics เพื่อวิเคราห์พฤติกรรมลูกค้าของคุณได้

7. ไม่เสียส่วนแบ่งจากการขาย

ความท้าทายในการทำเว็บไซต์

1. Content มักไม่อัปเดต เพราะการทำงาน Content ผ่านเว็บไซต์อาจมีความยุ่งยากมากกว่าการทำ Content บน Social ต่าง ๆ

2. การออกแบบมักไม่ค่อยสวย ยิ่งถ้าต้องการให้เว็บไซต์มีคุณสมบัติ User Friendly คือง่ายต่อการใช้งานหรือช่วยกระตุ้นให้ลูกค้าเกิดการสั่งซื้อได้ง่ายแล้ว อาจจะต้องจ้าง UX UI Design ซึ่งมีค่าใช้จ่ายค่อนข้างสูง

3. Visitor หรือคนเข้าเว็บไซต์มีจำนวนน้อย จนไม่ก่อให้เกิดผลในการเพิ่มยอดขายของร้านค้าออนไลน์ของคุณ จนหลายธุรกิจอาจถอดใจกับการทำเว็บไซต์ได้

4. ต้องการ Technical Support เช่น เว็บไซต์ขายของออนไลน์ ต้องไม่ล่มบ่อย ประมวลผลการทำงานเร็ว ฯลฯ

5. ไม่สามารถเข้าถึงลูกค้าได้เอง ใช้ตั้งรับผู้มาเข้าเยี่ยมชม

ข้อดีของการขายสินค้าออนไลน์ใน E-Marketplace

1. หาลูกค้าใหม่ได้ง่ายและมากกว่า เพราะ Traffic ของลูกค้าที่เข้ามาใน E-Marketplace มีจำนวนมากต่อวัน เพราะแต่ละที่มีการโปรโมตเพื่อแข่งขันกับคู่แข่งเจ้าอื่น ๆ 

2. เริ่มต้นสมัครใช้งานได้ง่าย

3. มีโอกาสทำการตลาดกับ Traffic จำนวนมากที่เข้ามาใน E-Marketplace ได้ เช่น การซื้อ Banner Ad, การอยู่ในหน้าแรกหรือการเป็นร้านค้าแนะนำของ E-Marketplace เป็นต้น

4. มี E-Marketplace ให้เลือกใช้บริการหลากหลาย ซึ่งคุณสามารถไปเปิดร้านค้าออนไลน์ได้ทุก E-Marketplace เพื่อเพิ่มโอกาสการขายได้มากขึ้น

ความท้าทายของการทำ E-Marketplace

1. เสียค่า Commission ในการขายสินค้า (บางแห่งอาจจะฟรีหรือคิดน้อยมากในช่วงแรก) 

2. ต้องทำการตลาดควบคู่ เพราะหากเปิดร้านไว้เฉย ๆ มักไม่ได้ผล เพราะมีการแข่งขันสูง

3. ลูกค้าเห็นสินค้าคู่แข่งด้วย ถ้าราคาสินค้าของคุณแพงกว่าอาจจะทำให้เสียโอกาสการขายได้

4. สร้าง Brand Loyalty ยาก เพราะส่วนใหญ่ลูกค้าจะจดจำแค่ชื่อของ E-Marketplace มากกว่าการจดจำชื่อร้านของคุณ

5. ร้านค้าออนไลน์มีอำนาจการต่อรองกับ E-Marketplace ได้น้อย

ข้อดีของการขายสินค้าออนไลน์ใน Social Media

1. ใช้งานง่าย โพสต์ง่าย ติดต่อกับลูกค้าง่าย

2. สามารถสร้างสรรค์รูปแบบของ Content ได้หลายรูปแบบ ทั้ง VDO แนวตั้ง แนวนอน, ภาพเดี่ยว, อัลบั้มภาพ Content หลากหลายรูปแบบ

3. หาลูกค้าใหม่ ๆ ได้ไม่จำกัด โดยการทำโฆษณาออนไลน์

4. กระตุ้นความต้องการการซื้อได้ดี (สำหรับสินค้ากลุ่มที่ซื้อสินค้าด้วยอารมณ์ เช่น เสื้อผ้าแฟชั่น หรือเครื่องสำอางต่าง ๆ) 

5. มีโอกาสเกิด Viral (แต่ค่อนข้างยาก)

ความท้าทายของการขายสินค้าออนไลน์ใน Social Media

1. โพสต์ Content แล้ว ไม่ได้ Organic Reach เพราะการปรับเปลี่ยนอัลกอริทึ่มของ Social Media ต่าง ๆ ทำให้ร้านค้าออนไลน์ ไม่สามารถเข้าถึง Fan Page ได้ทุกคน (ปัจจุบัน Facebook ให้เพจต่าง ๆ เข้าถึงคนที่เป็นแฟนเพจได้ไม่เกิน 1% ที่เป็น Organic แบบไม่เสียค่าโฆษณา)

2. ค่าใช้จ่ายในการทำโฆษณาสูงขึ้น เพราะการแข่งขันของการขายสินค้าออนไลน์สูงขึ้น

3. อัลกอริทั่มของการโฆษณา (Ad Algorithm) เปลี่ยนแปลงบ่อย ทำให้ร้านค้าออนไลน์ตามไม่ทัน

4. ต้องเรียนรู้และทำความเข้าใจเกี่ยวกับการทำ Creative Content สำหรับการโฆษณาออนไลน์ เพื่อให้ดึงดูดและโดนใจกับกลุ่มเป้าหมาย

5. การหา Admin ที่เก่ง มีใจรักบริการ ให้ข้อมูลถูกต้องและเร็ว หาได้ยาก

ฉะนั้น ถ้ามีข้อดี-ข้อเสียของแต่ละช่องทางแบบนี้ คำถามต่อไปก็คือ “แล้วขายของออนไลน์อะไรดีที่สุดสำหรับธุรกิจคุณ ​และต่อไปนี้ Readyplanet กำลังจะบอก วิธีการเลือกช่องทางการขายสินค้าออนไลน์ให้ได้ผลลัพธ์ที่ดีที่สุด สำหรับร้านค้าออนไลน์ของคุณ!


3 ขั้นตอนก่อนเลือกช่องทางการขาย มีดังนี้

1. เข้าใจธุรกิจและลูกค้าของท่านก่อน ว่าอยู่ในกลุ่มธุรกิจประเภทใด B2B หรือ B2C เพราะประเภทธุรกิจ 2 แบบนี้มีความแตกต่างการ ฉะนั้นการเลือกใช้ช่องทางการขายสินค้าออนไลน์ก็ต่างกัน ดังเช่นข้อมูลในตาราง 

  (ตารางเปรียบเทียบธุรกิจ B2B และ B2C)

จากตางรางเปรียบเทียบ เราลองมาคิดเล่น ๆ ตามตัวอย่างธุรกิจ A ที่เป็น B2B และธุรกิจ B ที่เป็น B2C เมื่อเห็นข้อมูลในตารางแล้ว ควรจะเลือกช่องทางไหนให้ธุรกิจของตัวเองกันดีกว่า

ตัวอย่างธุรกิจ A ที่เป็น B2B : ขายกล่องกระดาษใส่สินค้าสำหรับธุรกิจหรือร้านค้าออนไลน์ต่าง ๆ ซึ่งในกระบวนการตัดสินใจซื้อ ต้องผ่านหลายฝ่าย เช่น ฝ่ายจัดซื้อ ฝ่ายบัญชี แน่นอนว่า ตัวตนและความน่าเชื่อถือของธุรกิจหรือร้านค้าออนไลน์ของคุณเป็นสิ่งสำคัญ ฉะนั้นสิ่งที่คนควรเลือกช่องแรกก็คือ “เว็บไซต์” ซึ่งคุณอาจจะมีช่องทาง Social Media ต่าง ๆ ไว้เป็นทางเลือกในการให้ลูกค้าติดต่อสอบถาม, หรือทำ Content ที่มีประโยชน์กับลูกค้า เพื่อสร้างสัมพันธ์หรือการจดจำแบรนด์เพิ่มเติมก็ได้

แต่ถ้าคุณอยากได้ Traffic จำนวนเยอะ ๆ จาก E-Marketplace ล่ะ! สามารถทำได้ไหม? เราก็ต้องบอกว่า สามารถทำได้ แต่อาจจะต้องขายในจำนวนที่น้อยลง แล้วโฟกัสกลุ่ม SMEs ขนาดเล็กหรือพ่อค้าแม่ค้าที่ขายสินค้าออนไลน์เจ้าเล็ก ๆ แทนกลุ่มลูกค้าองค์กรขนาดใหญ่

ตัวอย่างธุรกิจ B ที่เป็น B2C : ขายเสื้อผ้าแฟชั่นผู้หญิง ใช้อารมณ์ในการซื้อ สามารถปิดการขายได้กับลูกค้าเพียงคนเดียว ราคาสินค้าไม่แพงมาก ใช้ระยะเวลาการตัดสินใจซื้อไม่นานมาก ฉะนั้น 2 ช่องทางหลักที่น่าจะสนใจก็คือ “E-Marketplace และ Social Media”

ทีนี้อาจจะต้องพิจารณาปัจจัยของร้านค้าออนไลน์ของคุณเพิ่มเติม เช่น งบโฆษณาหรือมีงบโปรโมตการขายสินค้าออนไลน์ต่อเดือนเท่าไหร่? แล้วลองเปรียบเทียบระหว่าการทำโฆษณาออนไน์ไปที่ Social Media หรือลงทุนกับการโปรโมตร้านค้าของคุณกับ Banner Ad บน E-Marketplace ดีกว่า… หรือคุณมีความพร้อมสำหรับการทำ Content ลงบน Social Media มากน้อยแค่ไหน? ถ้ายังไม่มี เราก็ขอแนะนำให้คุณเลือกเปิดร้านค้าออนไลน์บน E-Marketplace ก่อน

2. เข้าใจหลักการของการสร้างยอดขายจากการทำการตลาดแบบดิจิตอล ซึ่งหัวใจของการขายสินค้าออนไลน์ผ่านช่องทางต่าง ๆ นั้น มี 3 ขั้นตอน ดังนี้

  • เราสามารถ Reach (เข้าถึง) คนให้ได้มากที่สุดด้วยวิธีใด ๆ ก็ตาม ไม่ว่าจะเป็นการซื้อโฆษณาออนไลน์ เพื่อเข้าไปถึงกลุ่มเป้าหมายให้มากที่สุด, การซื้อ Banner Ad ใน E-Marketplace นั้น
  • แล้วทำให้จำนวน Reach ที่ได้มากลายเป็น Conversion ให้ได้มากที่สุด
  • จากนั้นพยายามสร้างแรงจูงใจให้ลูกค้ากลับมาซื้อซ้ำในเว็บไซต์ เพราะการซื้อขายผ่านเว็บไซต์จะช่วยให้คุณไม่ต้องไปเสียค่าคอมมิชชั่นให้ใคร นอกจากนั้นยังช่วยให้ลูกค้าสามารถจดจำแบรนด์ของคุณผ่านชื่อของเว็บไซต์ (Domain Name) อีกด้วย

Revenue (จำนวน) = Reach x Conversion Rate x Repeat Purchase

ซึ่งหลักการทั้ง 3 ขั้นตอนที่กล่าวมา คุณสามารถนำไปปรับใช้สำหรับช่องทางออนไลน์ ทั้งเว็บขายของออนไลน์, E-Marketplace หรือการขายของออนไลน์ผ่าน Social Media เป็นต้น

3. ประยุกต์ใช้เครื่องมือการตลาดดิจิตอลกับธุรกิจของคุณ ซึ่งเครื่องมือต่าง ๆ นั้น เราก็เลือกใช้ตามหลักสร้างยอดขายของ (ข้อ2) คือ Reach > Convert > Retain

จากเครื่องมือทางการตลาดดิจิตอลที่เรากล่าวมานั้น ไม่ว่าจะธุรกิจประเภท B2B หรือ B2C การมีเว็บไซต์ขายของออนไลน์ของคุณเอง ย่อมเป็นเรื่องดีสำหรับธุรกิจคุณในระยะยาว 

แน่นอนว่าสำหรับ ธุรกิจประเภท B2B เว็บไซต์ช่วยในเรื่องของความน่าเชื่อถือ การมีตัวตนบนโลกออนไลน์ของคุณ ส่วน ธุรกิจประเภท B2C นั้น ช่วยให้คุณสามารถติดตั้งเครื่องมือทางการตลาดอื่น ๆ เพื่อเพิ่มยอดขายได้ เช่น ระบบสะสมแต้ม, การทำ CRM เพื่อสานสัมพันธ์ที่ดีกับลูกค้า รวมไปถึงการทำ Retargeting เพื่อส่งโฆษณาของคุณไปยังลูกค้าที่เคยเข้ามาเยี่ยมชมเว็บขายของออนไลน์ของคุณให้กลับมาซื้อสินค้าบนเว็บไซต์ โดยไม่ต้องไปเสียค่าคอมมิชชั่นให้กับ E-Marketplace ใด ๆ อีกด้วย 

และมันยิ่งจะดีกว่า หากเว็บไซต์ของคุณสามารถมีระบบที่รองรับการทำ E-Commerce อย่างเต็มรูปแบบ นั่นก็คือ การทำให้เว็บไซต์ของคุณมีระบบร้านค้าที่พร้อมขายของเองได้เลย!

ด้วย R-Shop แพลตฟอร์มสร้างร้านค้าออนไลน์ ที่จะช่วยสร้างเว็บไซต์ขายสินค้าออนไลน์สำเร็จรูป ทำเว็บไซต์ เพิ่มช่องทางการขายใหม่ ออนไลน์ได้ 24 ชั่วโมง สามารถเชื่อมต่อกับระบบสะสมแต้ม PointSpot ได้ และยังมาพร้อมเครื่องมือการตลาดแบบ ALL-IN-ONE อาทิ Order Management, R-Widget, R-CRM, Chatday และอีกมากมาย ที่จะช่วยเสริมประสิทธิภาพให้ธุรกิจสามารถรองรับลูกค้าได้ทันทีตั้งแต่วันแรกที่เริ่มออนไลน์



พร้อมหรือยัง? ที่จะเริ่มสร้างเว็บไซต์ในแบรนด์ของคุณ

สร้างเว็บไซต์ขายสินค้าออนไลน์ของคุณวันนี้ เริ่มต้นง่ายด้วย R-Shop แพลตฟอร์มสร้างร้านค้าออนไลน์ ทำเว็บไซต์ง่าย ได้เว็บสวย มาพร้อมระบบแชทบนเว็บไซต์ และเครื่องมือการตลาดดิจิทัลแบบครบครัน รองรับทุกสิ่งที่จำเป็นเพื่อขับเคลื่อนธุรกิจของคุณ ช่วยให้คุณเริ่ม Go Online ได้อย่างครบครัน และไร้กังวล

                                                                                                                                               Updated: 3 September 2020 | Produced by: Dujnapa Chauthamcharoen

ข้อใดคือข้อแนะนำสำหรับการเลือกแพลตฟอร์ม

เลือกใช้แพลตฟอร์มอย่างไรให้เหมาะสม ?.
ประเภทธุรกิจของคุณตรงกับคุณสมบัติของแพลตฟอร์มไหนมากที่สุด.
เป้าหมายในการดำเนินธุรกิจครอบคลุมถึงระดับประเทศและทั่วโลก หรือไม่.
ธุรกิจของคุณรองรับปริมาณการขายเพียงพอในปัจจุบัน และสามารถเติบโตได้มากขึ้นอีกหรือไม่.
งบประมาณในการลงทุนธุรกิจในส่วนของ E-Commerce มีมากน้อยแค่ไหน.

แพลตฟอร์มแบบ E

E-marketplace คือ เว็บไซต์หรือแอพลิเคชั่น ที่เป็นสื่อกลาง ตัวกลางหรือเป็นตลาดซื้อขายสินค้า ผ่านเว็บไซต์หรือแอพลิเคชั่น ที่มีระบบจัดการสินค้าสำหรับผู้ขายและระบบตะกร้าการชำระเงินสำหรับผู้ซื้อโดย E-marketplace จะรวบรวมร้านค้า และสินค้าในหลากหลายประเภทไว้ในที่เดียวกัน อาจจะแบ่งเป็นหมวดหมู่ประเภทสินค้าเอาไว้อย่างชัดเจน ...

Marketplace Platform มีอะไรบ้าง

Online Marketplace คืออะไร อยากขายของออนไลน์ได้ต้องอ่าน มีจุดเด่นที่ช่วยเพิ่มยอดขายได้อย่างไรบ้าง ?.
Facebook Marketplace..
Lazada..
Shopee..
4.Zilingo..

Marketplace คือรูปแบบการทําธุรกิจแบบใด

2. Marketplace (ตลาดกลาง) เป็นรูปแบบธุรกิจที่เปรียบเสมือนเป็นตลาดนัดขนาดใหญ่ที่รวบรวมสินค้าจากร้านค้าต่างๆมากมาย ให้ลูกค้าสามารถเลือกซื้อสินค้าได้สะดวก ตัวอย่างเว็บไซต์ที่เป็น Marketplace ได้แก่ Lazada.com Kaidee.com ฉะนั้นหากท่านใดสนใจอยากจะเป็นเจ้าของตลาดให้ร้านค้าต่างๆมาขายสินค้าในพื้นที่ของตนเองก็สามารถทำได้ แต่ ...

กระทู้ที่เกี่ยวข้อง

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

แปลภาษาไทย ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน อาจารย์ ตจต ศัพท์ทหาร ภาษาอังกฤษ pdf lmyour แปลภาษา ชขภใ ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมฟรี 2566 ขขขขบบบยข ่ส ศัพท์ทางทหาร military words หนังสือราชการ ตัวอย่าง หยน แปลบาลีเป็นไทย ไทยแปลอังกฤษ ประโยค การไฟฟ้านครหลวง การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ข้อสอบโอเน็ต ม.3 ออกเรื่องอะไรบ้าง พจนานุกรมศัพท์ทหาร เมอร์ซี่ อาร์สยาม ล่าสุด แปลภาษามลายู ยาวี Bahasa Thailand กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมออนไลน์ การ์ดจอมือสอง ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย คะแนน o-net โรงเรียน ค้นหา ประวัติ นามสกุล บทที่ 1 ที่มาและความสําคัญของปัญหา ร. ต จ แบบฝึกหัดเคมี ม.5 พร้อมเฉลย แปลภาษาอาหรับ-ไทย ใบรับรอง กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน PEA Life login Terjemahan บบบย มือปราบผีพันธุ์ซาตาน ภาค2 สรุปการบริหารทรัพยากรมนุษย์ pdf สอบโอเน็ต ม.3 จําเป็นไหม เช็คยอดค่าไฟฟ้า แจ้งไฟฟ้าดับ แปลภาษา มาเลเซีย ไทย แผนที่ทวีปอเมริกาเหนือ ่้แปลภาษา Google Translate กระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ 8 ขั้นตอน ก่อนจะนิ่งก็ต้องกลิ้งมาก่อน เนื้อเพลง ข้อสอบโอเน็ตม.3 มีกี่ข้อ คะแนนโอเน็ต 65 ตม กรุงเทพ มีที่ไหนบ้าง