ราคาปาล์มวันนี้ สุขสมบูรณ์

บริษัท สุขสมบูรณ์น้ำมันปาล์มสกล จำกัด

รายละเอียดของบริษัท
กลุ่มบริษัทสุขสมบูรณ์ เป็นบริษัท ผลิตน้ำมันปาล์มที่ใหญ่ที่สุดในภาคตะวันออกโดยมุ่งเน้นผลิตน้ำมันปาล์มดิบ และ น้ำมันพืชที่ดีที่สุดเริ่มตั้งแต่การคัดสรรเมล็ดพันธุ์ที่ดีให้ผลผลิตสูงสุด นำมาผ่านกระบวนการสกัด กระบวนการกลั่นและกรองเพื่อให้ได้ผลิตภัณฑ์ที่มีคุณภาพปลอดภัยสู่ผู้บริโภค และมุ่งเน้นตามนโยบายของบริษัทเป็นสำคัญ ซึ่งปัจจุบันได้ขยายฐานการผลิตน้ำมันปาล์มดิบในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ(สกลนคร) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อรองรับผลผลิตปาล์มน้ำมันของเกษตรกร ที่มีอยู่ในปัจจุบันและที่เพิ่มขึ้นในอนาคต

ที่อยู่
เลขที่ 123,123/1-2 หมู่ที่ 2 ตำบลโนนสะอาด อำเภอบ้านม่วง

เขตพื้นที่
(บ้านม่วง ) สกลนคร 47140

โทรศัพท์
0912292853 , 042707888

Fax
042707808

สวัสดิการ
-ปรับเงินเดือนประจำปี
-ชุดแบบฟอร์มพนักงาน
-โอที
-เบี้ยขยัน
-ค่าเดินทาง
-กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ
-โบนัส
-งานเลี้ยงประจำปี
-สิทธิการลาประเภทต่างๆ
-อื่นๆ ฯลฯ

-รับผิดชอบงานกลึง อะไหล่ ชิ้นส่วนเครื่องจักร -ประกอบ ติดตั้ง เครื่องจักร -งานอื่นๆที่ได้รับมอบหมาย

ตรวจสอบระบบทั้งหมดพบ 1 งาน


Copyright 2008-2022, All Rights Reserved.

ศัตรูปาล์มน้ำมันมีอยู่มากมายหลายชนิด ซึ่งส่งผลเสียต่อผลผลิตปาล์มน้ำมันเป็นอย่างมาก ดังนั้นผู้ปลูกปาล์มน้ำมันควรทราบถึงเรื่องนี้ เพื่อที่จะสามารถป้องกัน หรือกำจัดศัตรูปาล์มน้ำมันได้อย่างถูกต้อง อาร์ดี เกษตรพัฒนา จึงนำข้อมูลควรรู้เรื่องนี้มาให้ศึกษากันครับ

ด้วงกุหลาบ

cr.photo: invasive.org

          เป็นแมลงปีกแข็งขนาดเล็ก สีน้ำตาล ตัวเต็มวัยจะเข้ากัดทำลายใบของต้นปาล์มน้ำมันในอายุแรกปลูก-1ปี โดยเฉพาะในพื้นที่ที่มีการบุกเบิกใหม่ ถ้ารุนแรงทางใบจะถูกทำลายจนหมดเหลือแต่ก้านใบ ทำให้ต้นชะงักการเจริญเติบโต (ระบาดในช่วงแล้งก.พ.-เม.ย.)

ลักษณะการทำลาย : กัดเจาะใบ 

วิธีป้องกัน  : เซฟวิน 85% (Sevin85) 10 กรัม ต่อ น้ำ 20 ลิตร (ฉีดช่วงเย็น)  หรือพอสซ์20%(Posse 20%)

-ฉีดช่วงเย็น ทุก7-10วัน ทั้งใบและโคน

หรือ มาแชล5G (Marshal5G) หยอดกาบใบล่าง1 ช้อนโต๊ะ 
 

ด้วงแรด

มี 2 ชนิด คือ ด้วงแรดชนิดเล็ก และด้วงแรดชนิดใหญ่ ด้วงแรดชนิดเล็ก พบทั่วทุกภาคของประเทศไทยและพบบ่อยที่สุด สำหรับด้วงแรดชนิดใหญ่ มักพบไม่บ่อยนัก พบได้ตั้งแต่จังหวัดชุมพรลงไปทางภาคใต้ของประเทศ

ลักษณะการทำลาย :  เฉพาะตัวเต็มวัยเท่านั้นที่เป็นศัตรูพืช โดยบินขึ้นไปกัดเจาะโคนทางใบปาล์มน้ำมัน ทำให้ทางใบหักง่าย และยังกัดเจาะทำลายยอดอ่อน ทำให้ทางใบที่เกิดใหม่ไม่สมบูรณ์ มีรอยขาดแหว่งเป็นริ้วๆ คล้ายรูปสามเหลี่ยม ถ้าโดนทำลายมากๆ ทำให้ใบที่เกิดใหม่แคระแกรน รอยแผลที่ถูกด้วงแรดกัดเป็นเนื้อเยื่ออ่อน ทำให้ด้วงงวงมะพร้าวเข้ามาวางไข่ หรือเป็นทางให้เกิดโรคยอดเน่า จนถึงต้นตายได้ในที่สุด

วิธีป้องกัน : ลอร์สแบน 40% (Lursban 40%) EC 80 มล. / น้ำ 20 ลิตร ราดรอบยอดอ่อน

cr.wikipedia

ด้วงงวงมะพร้าว หรือ ด้วงสาคู หรือ ด้วงลาน หรือ แมงหวัง

       จัดว่าเป็นด้วงขนาดกลาง ตัวเต็มวัย ปีกมีสีน้ำตาลออกดำ อกมีสีน้ำตาลและมีจุดสีดำ มีขนาดลำตัวยาวประมาณ 25-28 มม. ตัวหนอนมีสีเหลืองปนน้ำตาล ดักแด้เป็นปลอกทำด้วยเศษชิ้นส่วนจากพืชที่กินเป็นอาหาร

ตัวหนอนจะอาศัยและกัดกินบริเวณยอดอ่อน ตัวเต็มวัยจะเกาะกินเนื้อเยื่อด้านในของลำต้นลึกจนเป็นโพรง ซึ่งอาจทำให้ต้นตายได้ โดยจะบินออกหากินในเวลากลางวัน สามารถบินได้ไกลถึง 900 ม. และอาจซ้ำกินบริเวณที่ด้วงแรดมะพร้าวทำลาย ตัวเมียใช้เวลาวางไข่นาน 5-8 สัปดาห์ ในปริมาณเฉลี่ย 400 ฟอง

หนอนหัวดำมะพร้าว

          หนอนหัวดำมะพร้าว เป็นแมลงศัตรูต่างถิ่นที่ระบาดเข้ามาในไทย ตัวเต็มวัยเป็นผีเสื้อกลางคืน ขนาดลำตัววัดจากหัวถึงปลายท้องยาว 1-1.2 เซนติเมตร ปีกสีเทาอ่อน มีจุดสีเทาเข้มที่ปลายปีก ลำตัวแบน ชอบเกาะนิ่งแนบตัวติดผิวพื้นที่เกาะ ตัวหนอนเมื่อฟักออกจากไข่ระยะแรกจะอยู่รวมกันเป็นกลุ่ม ก่อนที่จะย้ายเข้าไปกัดกินใบ ตัวหนอนที่ฟักใหม่ๆ จะมีหัวสีดำ ลำตัวสีเหลือง สีของส่วนหัวจะเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลเข้มเมื่ออายุมากขึ้น

ตัวหนอนมีสีน้ำตาลอ่อนและมีลายสีน้ำตาลเข้มพาดยาวตามลำตัว เมื่อโตเต็มที่จะมีลำตัวยาว 2–2.5 ซม. การเจริญเติบโตของหนอนหัวดำมะพร้าวพบว่าลอกคราบ 6-10 ครั้ง ระยะหนอน 32-48 วัน ผีเสื้อหนอนหัวดำมะพร้าวเพศเมียสามารถวางไข่ตั้งแต่ 49-490 ฟอง

          หนอนหัวดำมะพร้าวเข้าทำลายใบเฉพาะระยะตัวหนอนเท่านั้น ตัวหนอนจะแทะกินผิวใบบริเวณใต้ทางใบ จากนั้นจะถักใยนำมูลที่ถ่ายออกมาผสมกับเส้นใยที่สร้างขึ้น นำมาสร้างเป็นอุโมงค์คลุมลำตัวยาวตามทางใบบริเวณใต้ทางใบ ตัวหนอนจะอาศัยอยู่ภายในอุโมงค์ที่สร้างขึ้นและแทะกินผิวใบ โดยทั่วไปหนอนหัวดำชอบทำลายใบแก่

ผีเสื้อที่ผสมพันธุ์แล้วจะวางไข่บนเส้นใยที่สร้างเป็นอุโมงค์ หรือซากใบที่ถูกทำลายแล้ว ตัวหนอนเมื่อฟักออกจากไข่จะอยู่รวมกันเป็นกลุ่ม 1-2 วัน ก่อนจะย้ายไปกัดกินใบปาล์ม จึงมักจะพบหนอนหัวดำมะพร้าวหลายขนาดกัดกินอยู่ในใบปาล์มใบเดียวกัน

ลักษณะการทำลาย : กัดแทะผิวใบแก่ ทำให้ใบแห้งและมีสีน้ำตาล ผลผลิตลดลง หากการทำลายรุนแรงอาจทำให้ต้นปาล์มตายได้

วิธีป้องกัน  : พ่นด้วย BT 40-80 กรัม / น้ำ 20 ลิตร พ่น 3 ครั้ง ห่างกัน 7 – 10 วัน


cr.photo: nbair.res.in

เพลี้ยหอย

       เพลี้ยหอย หรือพวก Scale insects เป็นแมลงพวกปากดูด ดูดน้ำเลี้ยงจากภายในต้นปาล์ม และดูดได้ทุกส่วนของปาล์มส่วนมากเจาะดูดที่ลำต้นอ่อน กาบใบอ่อน ใบ ดอก และผลอ่อนด้วย ปาล์มที่โดนพวกเพลี้ยหอยทำลายนั้น ถ้าเกิดแก่ใบก็จะทำให้ใบสีเขียวซีดลง และกลายเป็นสีเหลือง และในที่สุดก็กลายเป็นใบสีน้ำตาล ใบแห้ง แล้วก็ตาย

 ลักษณะการทำลาย : ดูดน้ำเลี้ยงจากผล

วิธีป้องกัน  : คัดแยกไปเผาทำลาย หรือฉีดพ่นด้วย เซฟวิน 85% (Sevin85) ฉีดพ่นตามส่วนต่างๆ ที่อาจจะเกิดเพลี้ยหอยขึ้นได้ 
หรือใช้ไซเปอร์เมทริน

Cr. Photo: thoughtco.com 

Cr. Photo: invasive.org

เพลี้ยแป้ง

       ลักษณะที่เห็นได้ชัดก็คือ มีส่วนที่ถูกเพลี้ยแป้งเกาะจับกินจะมีสีขาวคล้ายแป้ง เป็นแมลงพวกปากดูดเช่นเดียวกับเพลี้ยหอย

ลักษณะการทำลาย : ดูดน้ำเลี้ยงจากผล

วิธีป้องกัน : คัดแยกไปเผาทำลาย ฉีดพ่นด้วยไทอะมีโทแซม (Thiamethoxam) ร่วมกับไวท์ออยล์ (White Oil)

Cr. Photo: agrinfobank.com

Cr. Photo: entnemdept.ufl.edu

หนอนปลอก

         เป็นหนอนกัดกินส่วนต่างๆ ของปาล์ม โดยเฉพาะลำต้นปาล์มขวด ตัวมีปลอกหุ้มอยู่โดยรอบ โดยเฉพาะตัวเมียจะอยู่ในปลอกไปตลอดชีวิต

ลักษณะการทำลาย : กัดแทะผิวใบ 

วิธีป้องกัน : คลอร์ไพริฟอส ไซเพอร์เมทริน 25% (Chlorpyrifos Cypermethrin) 30 ซีซี / น้ำ 20 ลิตร
หรือ ฉีดพ่นด้วยเชื้อบีทีชนิดผง 20-30 กรัม /น้ำ 15 ลิตร ผสมให้เข้ากันฉีดพ่นช่วงเช้าหรือเย็น สัปดาห์ละ2ครั้ง/สัปดาห์
*กรณีระบาดหนัก ฉีดพ่นด้วยเชฟวิน 85 % อัตราส่วน 25-40กรัม/น้ำ20ลิตร พ่น1-2 ครั้ง

หนอนหน้าแมว

       เป็นหนอนกัดทำลายใบปาล์มน้ำมัน ถ้าอาการรุนแรงมากใบจะถูกกัดจนเหลือแต่ก้านใบ ทำให้ผลผลิตลดลง ต้นปาล์มชะงักการเจริญเติบโต 

ลักษณะการทำลาย : กัดแทะใบ

วิธีป้องกัน : คลอร์ไพริฟอส ไซเพอร์เมทริน 25% (Chlorpyrifos Cypermethrin)  30 ซีซี / น้ำ 20 ลิตร
 

Cr. Photo: pestnet.org

แมลงดำหนามมะพร้าว

       พบการระบาดในประเทศในขณะนี้ มีถิ่นกำเนิดในอินโดนีเซีย ปาปัวนิวกีนี และมาเลเซียที่ติดกับเมืองชวา ส่วนชนิดที่มีถิ่นกำเนิดในประเทศไทยคือ พลีสิสป้า ริชเชอราย (Plesispa reicheri) ทั้งสองชนิดนี้มีลักษณะรูปร่างและการทำลายแตกต่างกัน แมลงดำหนามต่างถิ่นมีขนาดใหญ่กว่า และมีส่วนอกด้านบนเป็นรูปสี่เหลี่ยม ลงทำลายต้นมะพร้าวทั้งต้นเล็กและต้นใหญ่ แต่แมลงดำหนามท้องถิ่น มีลำตัวสั้นและป้อมกว่า ส่วนอกด้านบนเป็นรูประฆังคว่ำ ชอบลงทำลายมะพร้าวต้นเล็ก จึงไม่เกิดการระบาดที่รุนแรง 

ลักษณะการทำลาย : กัดแทะยอดอ่อน

วิธีป้องกัน  : ฉีดพ่นเชื้อราขาว ปล่อยแมลงหางหนีบ หรือมัมมี่แตนเบียน

Cr.สำนักงานเกษตรและสหกรณ์ จังหวัดกำแพงเพชร

มวนพิฆาตหรือตัวห้ำ

Cr:ฝ่ายส่งเสริมเกษตร บริษัท ไบโอ-อะกริ จำกัด

มวนพิฆาตเป็นแมลงศัตรูธรรมชาติพวกแมลงห้ำ มีประสิทธิภาพสูงในการทำลายศัตรูพืชได้หลายชนิด

โดยเฉพาะหนอนผีเสื้อต่างๆ ตลอดชีวิตของมวนพิฆาต สามารถทำลายหนอนศัตรูพืชได้ประมาณ 214-258 ตัว

เฉลี่ย 6 ตัว/วัน มวนพิฆาตมีปากคล้ายเข็ม เมื่อพบเหยือจะจู่โจมเหยื่อแทงเข้าไปในตัวหนอน

แล้วปล่อยสารพิษ ทำให้ศัตรูเป็นอัมพาต จากนั้นจึงจะดูดกินของเหลว จนศัตรูแห้งตาย

ลักษณะการทำลาย : มวนพิฆาตไม่สร้างความเสียหายให้กับต้นปาล์มน้ำมัน แต่ยังส่งผลดีในการช่วยกำจัดหนอนหน้าแมว

วิธีป้องกัน  : -

หนู

ลักษณะการทำลาย :

หนูจะทำความเสียหายปาล์มน้ำมัน 2 ระยะ คือ

ระยะที่ 1  (อายุ เริ่มปลูก-4 ปี) สภาพพื้นที่ในสวนปาล์มมักนิยมปลูกพืชคลุมดิน หรือไม่ก็มีวัชพืชขึ้นรกรุงรังแทนที่ ซึ่งเหมาะสำหรับการเป็นที่หลบอาศัยของหนูชนิดต่างๆ โดยหนูจะเข้ามากัดทำลายโคนต้นอ่อน ยอดต้นอ่อนและทางใบปาล์มส่วนที่อยุ่ติดกับพื้นดิน หากร่องรอยการทำลายมีมาก โดยเฉพาะที่โคนต้นอ่อนจะทำให้ต้นปาล์มแห้งตายในที่สุด

ระยะที่ 2  (อายุ 5-25 ปี) หนูจะเป็นปัญหามากที่สุด โดยจะกินทั้งผลปาล์มดิบและสุกเป็นอาหารหลัก นอกจากนี้ช่อดอกเกสรตัวผู้ของปาล์มยังเป็นแหล่งอาศัยของตัวอ่อนของด้วงผสมเกสรในสวนปาล์มน้ำมัน ซึ่งเป็นอาหารของหนูอีกชนิดหนึ่งด้วย ด้วยเหตุนี้เราอาจใช้ร่องรอยการทำลายของหนูบนช่อดอกเกสรตัวผู้ที่บานและแห้งแล้ว เป็นตัวชี้ว่าสวนปาล์มนั้นมีจำนวนประชากรหนูอยู่มากหรือน้อยโดยคร่าวๆได้

ชนิดของหนูศัตรูปาล์มน้ำมัน

1.  หนูพุกใหญ่หรือหนูแผง พบมากในสวนปาล์มน้ำมันที่อายุไม่เกิน 4 ปี โดยเฉพาะที่มีป่าหญ้าคาและหญ้าขนขึ้นในพื้นที่ หนูชนิดนี้มีขนาดใหญ่ มีแผงขนบริเวณหลังและท้องสีเทาเข้ม นิสัยดุร้าย ไม่ชอบปีนป่ายต้นไม้ แต่จะกัดกินโคนต้นอ่อน ทางใบและลูกปาล์มที่ติดอยู่กับพื้นดินเท่านั้น 

2.  หนูฟันขาวใหญ่ พบในสวนปาล์มน้ำมันที่อยู่ริมคูน้ำระหว่างเนินเขาและติดชายป่า หนูชนิดนี้มีขนาดใกล้เคียงกับหนูพุกใหญ่  หนูฟันขาวใหญ่จะไม่มีแผงขนที่หลัง ขนที่ท้องสีครีม และนิสัยเชื่อง ไม่ดุร้าย นิยมทำลายต้นปาล์มอ่อน จะกัดกินโคนต้นอ่อน ทางใบและลูกปาล์มที่ติดอยู่กับพื้นดินเท่านั้น 

3.  หนูฟานเหลือง พบในสภาพป่าทุกประเภท และพบเพียงเล็กน้อยในสวนปาล์มที่มีอายุ 5 ปี บมากใน อำเภอควนกาหลง จังหวัดสตูล หนูฟานเหลืองเป็นหนูขนาดกลาง หน้าขาวด้านหลังสีเหลืองส้มปนขนสีดำประปราย ท้องสีขาวครีมล้วนๆ หางมี 2 สี ด้านบนสีดำ ด้านล่างสีขาวปลายหางยาว อุปนิสัยเชื่องช้า ไม่ดุร้าย อาหารคือ รากไม้ ผลไม้ แมลง หอย พ

4.  หนูนาใหญ่ เป็นศัตรูที่สำคัญในสวนปาล์มที่อายุระหว่าง 4-7 ปี พบมากในภาคกลางและภาคใต้ ชอบอาศัยในดงหญ้ารก ใกล้ที่อยู่อาศัยของมนุษย์ ชอบขุดรูบนพื้นดินที่มีวัชพืชขึ้นปกคลุม รังหนูอยู่ลึกจากระดับพื้นดินไม่เกิน 0.5 เมตร หนูจะอพยพหนีน้ำไปหาแหล่งอาศัยที่น้ำท่วมไม่ถึง เช่น มันจะทำรังในดงหญ้าโดยหักใบหญ้ามาสุมทำรังเหนือระดับน้ำ 

5.  หนูท้องขาว เป็นชนิดพบมากที่สุดในสวนปาล์มน้ำมัน โดยเฉพาะเมื่อปาล์มน้ำมันเริ่มให้ผลผลิตเต็มที่ (อายุ 6 ปีขึ้นไป) เช่นที่ จังหวัดสตูล กระบี่ สุราษฎร์ธานีและชุมพร หนูชนิดนี้มีหลายชนิดและความแตกต่างกันมาก สามารถจำแนกเป็นชนิดย่อยได้ดังนี้

  • หนูป่ามาเลย์ พบมากในสวนป่าละเมาะ ดงหญ้าที่เกิดภายหลังการเปิดป่าใหม่ ป่าโกงกาง พบในภาคใต้ ตั้งแต่จังหวัดชุมพรลงไป จัดว่าเป็นชนิดที่เป็นปัญหาสำคัญที่สุดในสวนปาล์มน้ำมัน หนูชนิดนี้ชอบกินลูกปาล์มทั้งดิบและสุก ตลอดจนดอกตัวเมียและดอกตัวผู้ มีข้อสังเกตว่าหนูชอบขนลูกปาล์มไปกินในกองทางใบระหว่างต้นปาล์ม บ่อยครั้งที่พบซากเมล็ดปาล์มกองอยู่เป็นจำนวนมากในกองทางใบ หนูป่ามาเลย์จะเริ่มเข้าทำลายปาล์มตั้งแต่ปาล์มอายุ 4 ปีขึ้นไป และจะขยายพันธุ์อย่างรวดเร็ว
  • หนูบ้านมาเลย์ พบในทุ่งหญ้าที่อยู่ติดกับหมู่บ้านหรือเมือ พบในภาคใต้ของไทย
  • หนูท้องขาวสิงคโปร์ พบตามป่าละเมาะและป่าหญ้าที่เกิดจากการเปิดป่าใหม่ พบตั้งแต่ภาคใต้ของไทย ลงไปถึงคาบสมุทรมลายาและสุมาตรา หนูชนิดนี้ชอบหากินตามพื้นดินมากกว่าหนูทั้ง 2 ชนิดที่กล่าวมาแล้ว ลักษณะขนนิ่ม ขนด้านหลังสีน้ำตาลปนเทาสีท้องขาวสะอาด บางครั้งจะมีขนสีเหลืองแต้มอยู่ด้วย หนูชนิดนี้จะพบได้ไม่มากนัก

เมื่อใดควรปราบหนู

สามารถนำข้อมูลมาประเมินได้ 4 วิธี ดังนี้

  • หากต้นปาล์มอ่อนในเรือนเพาะชำหรือปาล์มปลูกใหม่ถูกทำลายจนถึงตาย ควรจะทำการป้องกันกำจัดทันที 
  • ในปาล์มน้ำมันที่ให้ผลผลิตแล้ว ถ้าพบว่าผลปาล์มมีร่องรอยการทำลายใหม่มากกว่า 5% เพราะผลการศึกษายืนยันว่าที่ระดับ 5 เปอร์เซ็นต์นี้ จะมีจำนวนหนู่ในพื้นที่นั้นมากกว่า 8 ตัวต่อไร่ หากไม่ทำการป้องกันกำจัดจะเกิดความเสียหายต่อผลปาล์ม
  • ประเมินจำนวนประชากรหนูจากเหยื่อ เช่น กล้วยน้ำว้า หั่นเป็นชิ้นๆหรือปลาช่อนสด หรือปลาเค็มที่ไม่แห้งจนแข็งเป็นชิ้นๆ นำไปวางที่โคนต้นปาล์มต้นละ 1 ชิ้น ในบริเวณใจกลางแปลง หากพบว่าภายหลังการวางเหยื่อแล้ว 4-5 วัน เหยื่อถูกกินไปมากว่า 30 % ก็ควรทำการป้องกันกำจัดได้แล้ว
  • ใช้วิธีการล่าหนู โดยรื้อกองทางใบออกแล้วใช้คนล้อมตีหนูที่วิ่งหนีออกมา ควรจะทำในแปลงที่มีต้นปาล์มอย่างน้อย 21 ต้น (คือต้นปาล์ม 3 แถวๆละ 7 ต้น) หากพบว่าแปลงใดมีหนูมากกว่า 20 ตัว ควรทำการป้องกันกำจัดทันที

วิธีป้องกันกำจัดหนู

  • การป้องกันกำจัดโดยไม่ใช้สารเคมี ได้แก่

1. การล้อมตี วิธีนี้ต้องใช้จำนวนคนค่อนข้างมาก โดยการยกทางใบที่กองอยู่ระหว่างต้นปาล์มออก เนื่องจากใต้กองทางใบปาล์มเป็นแหล่งที่อยู่และขยายพันธุ์ของหนู หรือจะใช้รถไถที่สามารถตีทางใบปาล์มแห้งให้ละเอียด แล้วให้คนคอยดักตีหนูที่วิ่งออกมา หรือใช้ไม้ไผ่ยาวๆ แทงตามซอกทางใบและซอกทะลายปาล์มบนต้น เพื่อไล่หนูที่หลบซ่อนอยู่ให้ตกลงพื้นดินแล้วใช้คนไล่ตี วิธีการนี้ช่วยลดปริมาณหนูลงในช่วงระยะหนึ่ง ซึ่งถ้าจะให้ผลดีก็ต้องกระทำบ่อยๆ ข้อเสียของวิธีการนี้ คือ สิ้นเปลืองแรงงานและเวลามาก และไม่สามารถควบคุมจำนวนประชากรหนูได้ในระยะยาว

2. การดัก การดักโดยใช้เครื่องมือต่าง ๆ เช่น กรงดัก กับดัก หรือเครื่องมือดักที่สามารถประดิษฐ์จากวัสดุที่หาได้ง่าย ส่วนมากจะใช้ได้ผลดีในเนื้อที่จำกัด และไม่กว้างขวางนักหรือเป็นวิธีเสริมหลังจากการใช้สารเคมีกำจัดหนูแล้ว เช่น ในแปลงเพาะปลูกขนาดเล็กที่ปริมาณของหนูศัตรูปาล์มไม่มาก สิ่งสำคัญที่ต้องคำนึงถึง คือ เหยื่อดัก การเลือกเหยื่อชนิดใดควรคำนึงว่าสัตว์ชนิดที่ต้องการดักมีความคุ้นเคยหรือต้องการอาหารชนิดนั้นมากน้อยเพียงใด นอกจากนี้ราคาเหยื่อต้องไม่แพงจนเกินไป

          ตำแหน่งที่วางกรงหรือกับดักหนู คือตามร่องรอยทางเดินหากินของมันบนพื้นดิน ข้างกองทางใบ หรือโคนต้นจะสะดวกและปลอดภัยกว่าการวางบนต้นที่ทะลาย เพราะบ่อยครั้งที่พบงูเห่าขึ้นไปนอนคอยกินหนูบนยอดปาล์ม

3. การเขตกรรม เช่น การหมั่นถางหญ้าบริเวณรอบโคนต้นปาล์มโดยห่างโคนต้นประมาณ 1-1.5 เมตร อย่าให้มีหญ้าขึ้นรก หรือทำลายทางใบปาล์มที่กองไว้ หนูก็จะไม่มีที่หลบซ่อน ทำให้ง่ายต่อการกำจัดโดยวิธีอื่นๆ

4. การอนุรักษ์ศัตรูธรรมชาติ เช่น งูสิง งูแมวเซา งูแสงอาทิตย์ งูเห่า งูทางมะพร้าว พังพอน เหยี่ยว นกเค้าแมว นกแสก นกฮูก สัตว์เหล่านี้ช่วยกำจัดหนูโดยกินเป็นอาหาร จำเป็นต้องสงวนปริมาณไว้ให้สมดุลกับธรรมชาติ เพื่อคอยควบคุมประชากรหนูไว้ไม่ให้มีมากเกินไป เพราะถ้าทำลายสัตว์ศัตรูธรรมชาติเหล่านี้หมดไป จะเป็นเหตุให้หนูขยายพันธุ์อย่างรวดเร็วและทำความเสียหายให้แก่ปาล์มน้ำมันเป็นอย่างมาก

          พื้นที่สวนปาล์มใดถ้ามีศัตรูธรรมชาติ เช่น นกแสก นกฮูก เหยี่ยว หรือนกเค้าแมวมาก ไม่ควรใช้สารเคมีกำจัดหนูชนิดออกฤทธิ์เร็ว เพราะจะเป็นอันตรายต่อนกเหล่านี้ที่กินหนูตัวที่ได้กินเหยื่อพิษชนิดนี้มาก โดยปกติเกษตรกรที่จะกำจัดหนูโดยใช้ศัตรูธรรมชาติและสารกำจัดหนูเข้าช่วย สารกำจัดหนูที่ใช้ควรเป็นชนิดที่ออกฤทธิ์ช้าจะปลอดภัยต่อนกศัตรูธรรมชาติของหนูมากกว่า

  • การป้องกันกำจัดโดยใช้สารเคมี

เป็นวิธีการที่ลดจำนวนประชากรของหนูอย่างมีประสิทธิภาพมากที่สุด และสามารถลดปริมาณได้ในระยะเวลาสั้น นอกจากนี้ยังทำได้ในบริเวณกว้าง ช่วยประหยัดเวลาและแรงงานอีกด้วย

สารกำจัดหนูที่ได้ทำการทดสอบในสวนปาล์มน้ำมันแล้วและได้ผลดีมาก เป็นสารเคมีกำจัดหนูประเภทออกฤทธิ์ช้าชนิดสำเร็จรูปที่หนูกินครั้งเดียวตาย

แต่หนูจะตายหลังกินเหยื่อพิษไปแล้ว 2-10 วัน และมักจะตายในรูหรือรังหนู จึงมักไม่พบซากหนูตาย สารกำจัดหนูุนี้ จะเป็นชนิดชนิดก้อนขี้ผึ้งก้อนละประมาณ 5 กรัม ได้แก่ โฟลคูมาเฟน (สะตอม 0.005%) และโบรไดฟาคูม (คลีแร็ต 0.005%)

ขั้นตอนการวางเหยื่อพิษมีดังนี้

1. นำเหยื่อพิษวางในจุดต่างๆ ได้แก่ โบรไดฟาคูม (คลีแร็ต 0.005%) โฟลคูมาเฟน (สะตอม 0.005%) ชนิดใดชนิดหนึ่ง วางที่โคนต้นปาล์มต้นละ 1 ก้อน ในขณะที่วางเหยื่อพิษ ควรจะวางให้ชิดกับโคนต้นและตรงข้ามกับทางน้ำไหลของน้ำฝน เนื่องจากภาคใต้มีปริมาณฝนมาก อาจจะพัดพาเหยื่อพิษไปได้ 

3. ทุก 7-10 วัน ตรวจนับจำนวนเหยื่อพิษที่ถูกหนูกินไป และเติมเหยื่อทดแทนก้อนที่ถูกกินไป ทำซ้ำเช่นนี้จนกว่าเปอร์เซ็นต์การเติมเหยื่อจะลดลงต่ำลง จากการทดลองพบว่า เมื่อวางเหยื่อพิษแล้ว 4 ครั้ง แต่ละครั้งห่างกันประมาณ 10 วัน เปอร์เซ็นต์การเติมเหยื่อพิษจะลดลงต่ำกว่า 20% จึงหยุดวางเหยื่อพิษ

4. ภายหลังการวางเหยื่อครั้งสุดท้ายผ่านไปแล้ว 6 เดือน ควรตรวจนับเปอร์เซ็นต์ร่องรอยการทำลายใหม่อีก หากพบว่าเกิน 5% ก็ควรเริ่มการกำจัดหนูวิธีการเช่นเดิมอีก

สรุป 

          การป้องกันกำจัดหนูเป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่ง เนื่องจากในประเทศไทยมีจำนวนหลายแสนไร่ ได้ความเสียหายที่เกิดจากหนู นับเป็นมูลค่าะนับพันล้านบาทต่อปี ดังนั้นถ้ามีการป้องกัน กำจัด จะให้ผลคุ้มค่าเมื่อเทียบกับการลงทุน

ข้อมูลจาก //www.thaikasetsart.com

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

แปลภาษาไทย ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน อาจารย์ ตจต ศัพท์ทหาร ภาษาอังกฤษ pdf lmyour แปลภาษา ชขภใ ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมฟรี 2566 ขขขขบบบยข ่ส ศัพท์ทางทหาร military words หนังสือราชการ ตัวอย่าง หยน แปลบาลีเป็นไทย ไทยแปลอังกฤษ ประโยค การไฟฟ้านครหลวง การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ข้อสอบโอเน็ต ม.3 ออกเรื่องอะไรบ้าง พจนานุกรมศัพท์ทหาร เมอร์ซี่ อาร์สยาม ล่าสุด แปลภาษามลายู ยาวี Bahasa Thailand กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมออนไลน์ การ์ดจอมือสอง ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย คะแนน o-net โรงเรียน ค้นหา ประวัติ นามสกุล บทที่ 1 ที่มาและความสําคัญของปัญหา ร. ต จ แบบฝึกหัดเคมี ม.5 พร้อมเฉลย แปลภาษาอาหรับ-ไทย ใบรับรอง กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน PEA Life login Terjemahan บบบย มือปราบผีพันธุ์ซาตาน ภาค2 สรุปการบริหารทรัพยากรมนุษย์ pdf สอบโอเน็ต ม.3 จําเป็นไหม เช็คยอดค่าไฟฟ้า แจ้งไฟฟ้าดับ แปลภาษา มาเลเซีย ไทย แผนที่ทวีปอเมริกาเหนือ ่้แปลภาษา Google Translate กระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ 8 ขั้นตอน ก่อนจะนิ่งก็ต้องกลิ้งมาก่อน เนื้อเพลง ข้อสอบโอเน็ตม.3 มีกี่ข้อ คะแนนโอเน็ต 65 ตม กรุงเทพ มีที่ไหนบ้าง