การค้าระหว่างไทยกับญี่ปุ่น

นายสินิตย์ เลิศไกร รมช.พาณิชย์ เปิดเผยว่า ได้รับมอบหมายจากนายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รองนายกรัฐมนตรีและรมว.พาณิชย์ ให้เป็นประธานเปิดงานสัมมนาเชิงนโยบาย “ความร่วมมือทางเศรษฐกิจการค้ามิติใหม่ ไทย-ญี่ปุ่น” (High-Level Policy Dialogue Forum on Thailand-Japan’s New Dimension of Economic Cooperation)

ทั้งนี้ เนื่องในโอกาสฉลองครบรอบ 135 ปี ความสัมพันธ์ทางการทูตไทย-ญี่ปุ่น ซึ่งเป็นความร่วมมือระหว่างกระทรวงพาณิชย์ กระทรวงเศรษฐกิจ การค้า และอุตสาหกรรมของญี่ปุ่น (กระทรวงเมติ) สถานเอกอัครราชทูตญี่ปุ่นประจำประเทศไทย และเจโทร กรุงเทพฯ โดยมีการเสวนาแลกเปลี่ยนแนวคิดเรื่องนโยบายและความร่วมมือทางเศรษฐกิจ การค้า และการลงทุนระหว่างกัน ในมิติใหม่ที่สอดรับกับสถานการณ์โลก เพื่อส่งเสริมความสัมพันธ์ระหว่างไทย-ญี่ปุ่น ให้แน่นแฟ้นยิ่งขึ้น

นายสินิตย์ กล่าวว่า งานสัมมนาครั้งนี้ มีผู้ร่วมเสวนาทั้งจากภาครัฐและเอกชนของไทย และญี่ปุ่นที่มากประสบการณ์ ร่วมนำเสนอแนวทางการสร้างความร่วมมือเศรษฐกิจการค้าระหว่างไทย-ญี่ปุ่น ในรูปแบบใหม่หลังวิกฤตโควิด-19 ซึ่งมีประเด็นที่น่าสนใจ อาทิ การส่งเสริมผู้ประกอบการใช้ประโยชน์จากความตกลงการค้าเสรี (FTA) ข้อริเริ่มการลงทุนเอเชีย-ญี่ปุ่นสำหรับอนาคต ซึ่งเป็นนโยบายการลงทุนใหม่ของญี่ปุ่น โดยเน้นการเป็นหุ้นส่วนร่วมสร้างสรรค์ เพื่อนำไปสู่การเติบโตทางเศรษฐกิจและสังคมที่ยั่งยืน ด้วยนวัตกรรมของทั้งสองประเทศและภูมิภาคเอเชีย ซึ่งสอดรับกับนโยบายการส่งเสริมการลงทุนของไทย โดยมีเป้าหมายส่งเสริมอุตสาหกรรมของกลุ่มเศรษฐกิจชีวภาพ เศรษฐกิจหมุนเวียน และเศรษฐกิจสีเขียว (BCG) อาทิ อุตสาหกรรมยานยนต์ไฟฟ้า อิเล็กทรอนิกส์อัจฉริยะ พลังงานสะอาด สุขภาพและการแพทย์

นอกจากนี้ ยังได้แลกเปลี่ยนประสบการณ์เกี่ยวกับการใช้ประโยชน์จากความตกลงการค้าเสรี (FTA) ที่มีอยู่ร่วมกัน โดยเฉพาะประโยชน์จากการเชื่อมโยงห่วงโซ่อุปทานของภูมิภาค จากความตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจระดับภูมิภาค (RCEP) และเสนอแนวทางการกระชับความร่วมมือเศรษฐกิจการค้าระหว่างไทย-ญี่ปุ่น ในรูปแบบใหม่

“กระทรวงพาณิชย์ เชื่อมั่นว่างานสัมมนาครั้งนี้ จะเป็นประโยชน์ต่อหน่วยงานภาครัฐและเอกชนไทยเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะผู้ประกอบการไทยที่จะส่งออกสินค้าไปยังญี่ปุ่น และหน่วยงานภาครัฐของไทยที่จะวางกลยุทธ์ขยายการค้าและดึงดูดการลงทุนใหม่ๆ จากนักลงทุนญี่ปุ่น ซึ่งจะสามารถนำข้อมูลไปต่อยอดและใช้ประโยชน์ได้อย่างแน่นอน”

นายสินิตย์ กล่าว

ทั้งนี้ ไทยมีความตกลงการค้าเสรีกับญี่ปุ่น ได้แก่ ความตกลงหุ้นส่วนเศรษฐกิจไทย-ญี่ปุ่น (JTEPA) ความตกลงหุ้นส่วนเศรษฐกิจอาเซียน-ญี่ปุ่น (AJCEP) และ RCEP ซึ่งเป็นส่วนสำคัญที่ทำให้การค้าระหว่างไทยและญี่ปุ่นเติบโตอย่างมาก โดยในปีที่ผ่านมา ผู้ส่งออกไทยใช้สิทธิประโยชน์จากความตกลง JTEPA และ AJCEP กว่า 80% ของมูลค่าการส่งออก สำหรับสินค้าที่ได้รับสิทธิประโยชน์ทั้งหมด ส่วนใหญ่เป็นสินค้าเกษตรแปรรูป อาทิ เนื้อไก่ กุ้งปรุงแต่ง ปลาทะเลปรุงแต่ง และแป้งมันสำปะหลัง

สำหรับความตกลง RCEP จะลดและยกเลิกภาษีเพิ่มเติมจากข้อตกลงการค้าเสรีที่มีอยู่เดิมแล้ว รวมถึงยังทำให้พิธีการศุลกากรยืดหยุ่นขึ้น และช่วยอำนวยความสะดวกทางการค้าระหว่างกันมากยิ่งขึ้น นอกจากนี้ ไทยและญี่ปุ่นยังมีความร่วมมือด้านการค้าในหลากหลายรูปแบบ ทั้งแบบออนไลน์และออฟไลน์ อาทิ การลงนามความร่วมมือ (MOU) ระหว่างกรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ กับเมืองโคฟุ จังหวัดยามานาชิ ความร่วมมือของผู้เชี่ยวชาญญี่ปุ่นในการพัฒนาสินค้าเกษตรไทย และการจัดกิจกรรมจับคู่ธุรกิจผ่านทางออนไลน์

ทั้งนี้ ญี่ปุ่นเป็นประเทศที่มีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับไทยยาวนานกว่า 600 ปี ทั้งในระดับรัฐบาล ภาคเอกชน และประชาชน โดยเป็นนักลงทุนอันดับหนึ่งของไทยมาอย่างยาวนาน ปัจจุบันมีบริษัทญี่ปุ่นลงทุนในไทยกว่า 6,000 บริษัท โดยในปี 64 ญี่ปุ่นเป็นคู่ค้าอันดับ 2 ของไทย การค้าระหว่างกันมีมูลค่า 60,670.63 ล้านเหรียญสหรัฐ คิดเป็น 11.26% ของการค้าไทยกับโลก โดยไทยส่งออกไปญี่ปุ่นอันดับ 3 มูลค่า 24,985.35 ล้านเหรียญสหรัฐ

สำหรับสินค้าส่งออกสำคัญของไทย อาทิ รถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ ไก่แปรรูป เคมีภัณฑ์ และเครื่องจักรกลและส่วนประกอบของเครื่องจักรกล ส่วนไทยนำเข้าจากญี่ปุ่นอันดับ 2 มีมูลค่า 35,685.28 ล้านเหรียญสหรัฐ ส่วนสินค้านำเข้าสำคัญจากญี่ปุ่น อาทิ เครื่องจักรกลและส่วนประกอบ เหล็ก เหล็กกล้าและผลิตภัณฑ์ และเครื่องจักรไฟฟ้าและส่วนประกอบ

ไทย-ญี่ปุ่น ฉลองความสัมพันธ์135ปี  เดินหน้าติดอาวุธการค้าเชิงลึกให้ผู้ประกอบการ MSMEs หนุนใช้สิทธิประโยชน์จาก RCEP เพิ่มโอกาสทางการค้าและการลงทุนอย่างเต็มที่

นางอรมน ทรัพย์ทวีธรรม อธิบดีกรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ เปิดเผยว่ากรมเล็งเห็นถึงความสำคัญของการใช้ประโยชน์จากความตกลง RCEP เพื่อช่วยสร้างโอกาสในการขยายตลาดการค้าและการลงทุนที่ใหญ่ขึ้นให้กับผู้ประกอบการ โดยเฉพาะกลุ่มธุรกิจขนาดกลาง ขนาดย่อม และรายย่อย (MSMEs) ซึ่งเป็นกลุ่มธุรกิจส่วนใหญ่ของประเทศ ดังนั้น กรมจึงได้ร่วมกับสำนักงานเจโทร ประจำกรุงเทพฯ เพื่อเร่งส่งเสริมการใช้สิทธิประโยชน์จากความตกลง RCEP


โดยติดอาวุธความรู้ด้านการค้าเชิงลึกให้กับผู้ประกอบการ MSMEs เกี่ยวกับเกณฑ์การขอใช้สิทธิประโยชน์ทางการค้า ขั้นตอนการออกหลักฐานการรับรองถิ่นกำเนิดสินค้าภายใต้ RCEP และระบบการรับรองถิ่นกำเนิดสินค้าด้วยตนเอง (Self-Certification) การจัด Workshop ครั้งนี้ สอดรับกับผลการสำรวจความเห็นภาคเอกชน ประจำปี 2565 ของสภาธุรกิจเอเชียตะวันออก (EABC)

ซึ่งภาคเอกชนต้องการให้ภาครัฐถ่ายทอดความรู้เกี่ยวกับพิกัดศุลกากรและกฎว่าด้วยถิ่นกำเนิดสินค้าภายใต้ความตกลง RCEP เพื่อนำองค์ความรู้ดังกล่าวไปใช้ประโยชน์กับธุรกิจอย่างเต็มที่ โดยกรมได้รับเสียงตอบรับเป็นอย่างดี มีผู้ประกอบการไทยและชาวญี่ปุ่นที่ดำเนินธุรกิจในไทย เข้าร่วมงานกว่า 100 คน ซึ่งถือเป็นกิจกรรมสำคัญในปีนี้ เพื่อร่วมเฉลิมฉลองในโอกาสครบรอบ 135 ปี ความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างไทยกับญี่ปุ่น

ด้านนายคุโรดะ จุน ประธานเจโทร กรุงเทพฯ กล่าวเพิ่มเติมว่า ความตกลง RCEP สร้างโอกาสและเป็นประโยชน์ให้กับภาคธุรกิจหลายประการ คือ 1) ช่วยเสริมสร้างซัพพลายเชนที่หลากหลาย ทำให้เกิดความยืดหยุ่นกับห่วงโซ่อุปทานการผลิตในภูมิภาคมากขึ้น 2) ความตกลง RCEP มีกฎถิ่นกำเนิดสินค้าที่เอื้อต่อผู้ประกอบการให้ใช้ประโยชน์จากกฎเกณฑ์ที่ง่ายขึ้น

3) ช่วยให้การค้าราบรื่นยิ่งขึ้นจากการที่มีข้อกำหนดให้ประเทศสมาชิก RCEP ทุกประเทศ ใช้แบบฟอร์มหนังสือรับรองถิ่นกำเนิดสินค้าในรูปแบบเดียวกัน 4) มีระบบรับรองถิ่นกำเนิดสินค้าด้วยตนเอง และ 5) มีข้อกำหนดด้านพิธีการศุลกากรในการตรวจปล่อยสินค้าที่ช่วยอำนวยความสะดวกทางการค้า เช่น สินค้าเน่าเสียง่ายต้องตรวจปล่อยภายใน 6 ชั่วโมง เป็นต้น

“ญี่ปุ่นและไทยมีความตกลงการค้าเสรีที่เป็นภาคีร่วมกัน ได้แก่ ความตกลงหุ้นส่วนเศรษฐกิจไทย - ญี่ปุ่น (JTEPA) ความตกลงหุ้นส่วนเศรษฐกิจอาเซียน - ญี่ปุ่น (AJCEP) และความตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจระดับภูมิภาค (RCEP) โดยในช่วงเดือน ม.ค. - พ.ค. 2565 ไทยมีการขอใช้สิทธิประโยชน์ภายใต้ RCEP ส่งออกไปญี่ปุ่น มูลค่า 46.47 ล้านดอลลาร์สหรัฐ สินค้าส่งออกสำคัญ อาทิ ปลาทูน่ากระป๋อง ปลาแมคเคอเรลกระป๋อง เสื้อคาร์ดิแกน เสื้อกั๊ก และปลาปรุงแต่ง ขณะที่ไทยขอใช้สิทธิ์ RCEP นำเข้าสินค้าจากญี่ปุ่น มูลค่า 5.9 ล้านดอลลาร์สหรัฐ สินค้านำเข้าสำคัญ อาทิ ไฮโดรควีโนน เชื้อประทุไฟฟ้าสำหรับจุดระเบิด ปลาหมึกยักษ์ ด้ายโพลิยูรีเทน และลูกชิ้นปลา”

ทั้งนี้ ญี่ปุ่นเป็นผู้ลงทุนอันดับหนึ่ง และเป็นคู่ค้าอันดับ 2 ของไทย โดยในครึ่งปีแรก (ม.ค. - มิ.ย. 2565) การค้าระหว่างไทยกับญี่ปุ่น มีมูลค่า 30,478.25 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ไทยส่งออกไปญี่ปุ่น มูลค่า 12,714.89 ล้านดอลลาร์สหรัฐ และนำเข้าจากญี่ปุ่น มูลค่า 17,763.36 ล้านดอลลาร์สหรัฐ สินค้าส่งออกสำคัญ อาทิ รถยนต์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ ไก่แปรรูป เคมีภัณฑ์ เครื่องจักรกลและส่วนประกอบของเครื่องจักรกล เครื่องคอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ สินค้านำเข้าสำคัญ อาทิ เครื่องจักรกลและส่วนประกอบ เหล็ก เหล็กกล้าและผลิตภัณฑ์ เครื่องจักรไฟฟ้าและส่วนประกอบ ส่วนประกอบและอุปกรณ์ยานยนต์

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

แปลภาษาไทย ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน อาจารย์ ตจต ศัพท์ทหาร ภาษาอังกฤษ pdf lmyour แปลภาษา ชขภใ ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมฟรี 2566 ขขขขบบบยข ่ส ศัพท์ทางทหาร military words หนังสือราชการ ตัวอย่าง หยน แปลบาลีเป็นไทย ไทยแปลอังกฤษ ประโยค การไฟฟ้านครหลวง การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ข้อสอบโอเน็ต ม.3 ออกเรื่องอะไรบ้าง พจนานุกรมศัพท์ทหาร เมอร์ซี่ อาร์สยาม ล่าสุด แปลภาษามลายู ยาวี Bahasa Thailand กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมออนไลน์ การ์ดจอมือสอง ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย คะแนน o-net โรงเรียน ค้นหา ประวัติ นามสกุล บทที่ 1 ที่มาและความสําคัญของปัญหา ร. ต จ แบบฝึกหัดเคมี ม.5 พร้อมเฉลย แปลภาษาอาหรับ-ไทย ใบรับรอง กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน PEA Life login Terjemahan บบบย มือปราบผีพันธุ์ซาตาน ภาค2 สรุปการบริหารทรัพยากรมนุษย์ pdf สอบโอเน็ต ม.3 จําเป็นไหม เช็คยอดค่าไฟฟ้า แจ้งไฟฟ้าดับ แปลภาษา มาเลเซีย ไทย แผนที่ทวีปอเมริกาเหนือ ่้แปลภาษา Google Translate กระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ 8 ขั้นตอน ก่อนจะนิ่งก็ต้องกลิ้งมาก่อน เนื้อเพลง ข้อสอบโอเน็ตม.3 มีกี่ข้อ คะแนนโอเน็ต 65 ตม กรุงเทพ มีที่ไหนบ้าง