ไตรภูมิพระร่วง การนําไปใช้

                ไตรภูมิร่วงเป็นวรรณกรรมที่โดดเด่นที่สุดเรื่องหนึ่งของสุโขทัย และยังส่งอิทธิพลในแง่ความคิด การดำรงชีวิต ศิลปะ ฯลฯ ต่อคนไทยทุกยุคทุกสมัย หัวใจของเรื่องก็คือ การละชั่ว ทำดี และทำจิตใจให้บริสุทธิ์ ซึ่งเป็นคำสอนที่สำคัญที่สุดของพระพุทธศาสนา

1.6. ฉกามาพจร เป็นแดนของเทวดาที่ยังเกี่ยวข้องในกาม มี 6 ชั้น คือ จาตุมหาราชิก , ดาวดึงส์ , ยามะ , ดุสิต , นิมมานรดี , ปรนิมมิตวสวดี

2. รูปภูมิ มี 1 กัณฑ์ คือ รูปาวจรภูมิ เป็นแดนของพรหมที่มีรูป แบ่งเป็น 16 ชั้น ตามภูมิธรรม เรียกว่า โสฬสพรหม
3. อรูปภูมิ มี 1 กัณฑ์ คือ อรูปาวจรภูมิ เป็นแดนของพรหมไม่มีรูป มีแต่จิต แบ่งเป็น4ชั้นคุณค่า
1. ด้านศาสนา ไตรภูมิพระร่วงเป็นหนังสืออ่านยาก ตั้งแต่สมัยสุโขทัยตลอดมาจนกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้น ผู้ที่นำไตรภูมิไปสู่ชาวบ้านก็คือพระสงฆ์
และนำไปโดยการเทศนา ทำภาษายากให้เป็นภาษาง่ายที่ชาวบ้านเข้าใจได้ โดยเฉพาะเนื้อเรื่องนั้นมีอิทธิพลต่อความรู้สึกนึกคิดเกี่ยวกับบาปบุญคุณโทษ การเกิด
การตาย เกี่ยวกับโลกทั้งสาม (ไตรภูมิ) ซึ่งทำให้คนสมัยกรุงสุโขทัยเข้าใจเรื่องชีวิตของตนเองว่าเกิดมาอย่างไร ตายแล้วไปไหน โลกที่อยู่ปัจจุบันและโลกหน้า
เป็นอย่างไร
2. ด้านภาษา สำนวนโวหารในไตรภูมิ โดยเฉพาะพรรณนาโวหารนั้นประณีตละเอียดลออเป็นอย่างยิ่ง จนทำให้นึกเห็นสมจริง ให้เห็นสภาพอันน่าสยอง
ขวัญของนรก สภาพอันรุ่งเรืองบรมสุขของสวรรค์ จนจิตรกรอาจถ่ายบทพรรณนานั้นลงเป็นภาพได้ เราจะเห็นภาพฝาผนังของวิหารและโบสถ์ตามวัดต่างๆ ไป
(นอกจากนี้ยังแสดงให้เห็นถึงความเปลี่ยนแปลงทางภาษาระหว่างสมัยพ่อขุนรามคำแหงกับสมัยพระมหาธรรมราชาลิไท)
3. ด้านสังคม มุ่งใช้คุณธรรมความดีเป็นพื้นฐานการสร้างสรรค์ความสุขในสังคม
4. ด้านอิทธิพลต่อกวียุคหลังกวียุคหลังได้ใช้ไตรภูมินี้เป็นแนวพรรณนาป่าหิมพานต์ เขาพระสุเมรุ วิมานพระอินทร์ ส่วนจิตรกรได้อาศัยความคิด ความเชื่อใน
ไตรภูมิ เป็นแนวการสร้างสรรค์งานศิลปะ รวมความว่า ไตรภูมิพระร่วงเป็นหนังสือเก่าชั้นวรรณคดีที่มีอิทธิพลต่อความคิดอ่านของคนไทยในเรื่องบาปบุญคุณ
โทษ ในด้านจิตรกรรมฝาผนังโบสถ์ต่างๆ และวรรณคดีตั้งแต่สมัยสุโขทัยจนถึงสมัยปัจจุบัน หนังสือนี้แสดงให้เห็นพระปรีชาสามารถของพระยาลิไทในด้าน
ศาสนา และใช้จริยธรรมในการบริหารบ้านเมือง และยังแสดงให้เห็นพระสติปัญญา ตลอดจนให้แนวคิดในเชิงปรัชญา สังคม และค่านิยมของสังคมเป็นอย่างดี
ยิ่งตัวอย่างในไตรภูมิพระร่วงผลแห่งการทำบาป
“คนผู้ใดกล่าวคำร้ายแก่สมณพราหมณ์ผู้มีศิลและพ่อแม่และผู้เฒ่าผู้แก่ครูปาทยาย คนผู้นั้นตาย ไปเกิดในนรกอันได้ขื่อว่า สุนักขนรกนั้นแล ในสุนักขนรกนั้น
มีหมา 4 สิ่ง หมาจำพวกหนึ่งนั้นขาว หมาจำพวกหนึ่งนั้นแดง หมาจำพวกหนึ่งนั้นดำ หมาจำพวกหนึ่งนั้นเหลือง และตัวหมาผู้นั้นใหญ่เท่าช้างสารทุกตัว ฝูงแร้ง
แลกาอันอยู่ในนรกนั้นใหญ่เท่าเกวียนทุกตัว ปากแร้งแลกาแลตีนนั่น เทียรย่อมเหล็กแดงลุกเป็นเปลวไฟอยู่มิได้เหือดสักคาบ แร้งแลกาหมาฝูงนั้นเทียรย่อมจิกแหก
หัวอกขบตอดคนทั้งหลายในนรกด้วยบาปกรรมของเขานั้น แลมิให้เขาอยู่สบายแลให้เขาเจ็บปวดสาหัส ได้เวทนาพ้นประมาณ ทนอยู่ในนรกอันชื่อสุนักขนรกนั้นแล”

//sanesapthong.wordpress.com/ประวัติ-เรื่องวรรณคดีส/

 

     ไตรภูมิพระร่วงมีอิทธิพลสำคัญต่อแนวคิดของกวีรุ่นหลัง โดยนำความคิดในไตรภูมิพระร่วงสอดแทรกในวรรณคดีต่าง ๆ เช่น ลิลิตโองการแช่งน้ำ มหาเวสสันดรชาดก รามเกียรติ์ กากีคำกลอนขุนช้างขุนแผน ดังตัวอย่างต่อไปนี้

คุณค่าจากไตรภูมิพระร่วง

            ไตรภูมิพระร่วงเป็นเรื่องราวเกี่ยวกับจักรวาลวิทยา ซึ่งประกอบไปด้วยภูมิทั้ง ๓ คือกามภูมิ รูปภูมิ และอรูปภูมิ โดยกล่าวถึงสัตว์โลกในภูมิต่าง ๆ การอุบัติ การดำรงอยู่ และการเสื่อมสลาย การดับสูญของโลกและสัตว์โลก ซึ่งเป็นสภาวะที่เป็นไปตามกฎไตรลักษณ์ที่ไม่มีสิ่งใดเที่ยงแท้แน่นอน นอกจากพระนิพพาน ซึ่งให้คุณค่าในด้านต่างๆคือ

คุณค่าด้านศาสนา

ทำให้ผู้อ่านเข้าใจหลักธรรมของพุทธศาสนาได้ ๓ คือ เรื่องไตรวัฏฏ์  ไตรลักษณ์  ไตรสิกขา และหลักธรรมของพระมหากษัตริย์

๑.หลักธรรมเรื่องไตรวัฎฎ์ หรือวัฎฎะ ๓ คือ กิเลส กรรม และวิบาก หมายถึงกฎแห่งกรรมหรือการเวียนว่ายตายเกิด

กิเลส คือ ความชั่วต่าง ๆที่มีอยู่ในใจ ทั้งรัก โลภ โกรธ หลง ความเศร้าหมอง

กรรม  คือ การกระทำที่เนื่องมาจากกิเลสข้างต้น

วิบาก คือ ผลแห่งกรรม  ทำชั่วทำผิดผลก็คือความเดือดร้อน ทำดีผลก็ คือความสุขกาย สุขใจ เมื่อตายไปก็จะไปเกิดในภพภูมิที่ต่างกันตามวิบากของกรรม

แก่นของเรื่องไตรภูมิคือการเวียนว่ายตายเกิดในภพทั้งสามที่มนุษย์เลือกไม่ได้มนุษย์จะมีความทุกข์ความสุขไปตามกฎแห่งกรรมที่ทำไว้

๒.หลักธรรมเรื่องไตรลักษณ์ ไตรลักษณ์คือกฎของธรรมชาติ หรือกฎแห่งการเปลี่ยนแปลง สิ่งที่ปรากฏในภูมิทั้งสามมี ๓ ลักษณะเหมือนกันหมดคือ อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา

อนิจจัง คือความไม่เที่ยง ไม่แน่นอน

ทุกขัง คือความเป็นเป็นทุกข์คงทนอยู่ในสภาพเดิมไม่ได้

อนัตตา คือ ความไม่มีตัวตน เป็นสภาพหาเจ้าของมิได้

อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา สามประการนี้ล้วนเป็นเหตุผลแก่กัน เกิดขึ้นสืบเนื่องกันไป

๓.หลักธรรมเรื่องไตรสิกขา คือข้อปฏิบัติเพื่อให้ดำเนินชีวิตไปในทางที่ดีงาม ถูกต้องมี ๓ ประการ คือ ศีล สมาธิ ปัญญา

ศีล คือ ความประพฤติทางกาย วาจา ใจ ควรฝึกตนให้เป็นคนมีความสงบระงับทั้งทางกาย วาจา จึงเป็นกายสุจริต วจีสุจริต

สมาธิ คือ ความตั้งมั่นของใจที่อบรมดีแล้ว การมีจิตแจ่มใสปลอดโปร่ง ทำให้คิดหาความจริงได้สะดวก สมาธิจึงเป็นมโนสุจริต

ปัญญา คือความเข้าใจในหลักความจริงทั้ง ๔ คือ อริยสัจสี่ ต้องฝึกตนให้เข้าใจในเหตุผลของความทุกข์และความสุข เข้าใจในการเว้นจากทุจริต ประพฤติแต่สุจริตทั้งกาย วาจา ใจ จึงเป็นปัญญา

ไตรภูมิพระร่วงได้แสดงผลของศีล สมาธิ ปัญญา ให้เป็นรูปธรรมชัดเจน คือ ผลของผู้ไม่มีศีลคืออบายภูมิ ผลของผู้มีศีลคือ มนุสสภูมิและสวรรคภูมิ ผลของสมาธิคือ

รูปภูมิและอรูปภูมิ และผลของปัญญาคือ โลกุตรภูมิหรือนิพพาน ไตรสิกขาจึงเป็นการโน้มน้าวจิตใจให้บุคคลใฝ่ทำความดีในระดับต่าง ๆ คือใครทำความดีระดับใดก็ได้รับผลกรรมในระดับนั้น

คุณค่าด้านการเมืองการปกครอง

ในด้านการปกครองพระมหาธรรมราชาที่ ๑ ลิไทน่าจะมีพระประสงค์ในการพระราชนิพนธ์ไตรภูมิพระร่วงเพื่อใช้ในการปกครองบ้านเมืองและปกครองประชาชนให้ให้อยู่ในศีลธรรมทางอ้อม คือใช้พระพุทธศาสนาเป็นเครื่องมือทางการเมือง ไตรภูมิพระร่วงเน้นหลักของกรรม ใครทำดีทำชั่วย่อมได้รับวิบากตามกรรมที่กระทำไว้ โดยกำหนดโทษในเชิงสัญลักษณ์คือนรกและสวรรค์ โดยได้พรรณนาบาปของผู้ที่ทำชั่วและตกนรกไว้อย่างน่ากลัว พรรณนาบุญของผู้ที่ทำดีได้ไปสวรรค์ไว้อย่างวิจิตร อันเป็นสิ่งจูงใจหรือโน้มน้าวให้กระทำความดี อาจกล่าวได้ว่าไตรภูมิพระร่วงทำหน้าที่แทนกฎหมายก่อนที่จะมีการบัญญัติกฎหมายขึ้นใช้ ซึ่งกฎหมายนี้เป็นบทลงโทษทางใจที่ผ่านความเชื่อทางศาสนา และการพรรณนาด้วยการใช้ถ้อยคำภาษาและภาพพจน์ที่ให้เกิดจินตนาการและความแจ่มชัด ไตรภูมิพระร่วงเป็นเสมือนตำราส่งเสริมและจัดระเบียบความประพฤติและจริยธรรมของสังคมไทย ปลูกฝังอุดมการณ์ทางการเมืองโดยอยู่บนพื้นฐานของศาสนา กล่าวคือ เมื่อประชาชนอยู่ในศีลธรรม ละชั่ว ทำดี ทำบุญให้ทาน จิตใจผ่องใส สังคมและบ้านเมืองก็ดำรงอยู่ได้โดยปกติสุข

คุณค่าด้านความรู้

            ความรู้เรื่องเพศศึกษา

ความรู้เรื่องการกำเนิดมนุษย์ สิ่งมีชีวิตในภูมิต่าง ๆ ในมนุสสภูมินับตั้งสภาพทางกายภาพของสตรีวัยเจริญพันธุ์ การปฏิสนธิ การตั้งครรภ์ วิวัฒนาการของทารกในครรภ์ ทำให้คนสุโขทัยรู้และเข้าใจเรื่องเพศได้แจ่มชัด

ปัญหาเรื่องเพศ ไตรภูมิพระร่วงกล่าวถึงปัญหาที่เกิดจากเรื่องเพศ ๒ ประการคือ การมีชู้และการทำแท้ง

โดยได้กล่าวถึงบทลง โทษของการมีชู้ ไว้ในนรกบ่าว ๓ ขุม ต่อเนื่องกันซึ่งมีความน่ากลัว

ปัญหาการทำแท้ง ซึ่งเกิดต่อเนื่องจากการมีชู้ เมื่อเกิดปัญหาการมีชู้ย่อมเกิดปัญหาการตั้งครรภ์ที่ไม่พึงประสงค์ ไตรภูมิพระร่วงตอนเปรตภูมิ กล่าวถึงผู้หญิงที่มีความผิดยอมรับว่าทำแท้งต้องได้รับโทษเป็นเปรต สะท้อนให้เห็นว่าคนในสมัยสุโขทัยประสบปัญหาเรื่องนี้ โดยกล่าวถึงโทษไว้น่ากลัว เพื่อให้ให้ผู้คนตระหนักไม่มีชู้และไม่ทำแท้งเนื่องจากเป็นบาป

อุดมคติเกี่ยวกับเรื่องเพศ ไตรภูมิพระร่วงกล่าวถึงอุดมคติที่ทุกคนใฝ่ฝันจะไปเกิด ดินแดนนี้กล่าวถึงชีวิตอันอุดมสมบูรณ์ ไม่มีปัญหาเรื่องการมีชู้ และปัญหาการอยู่กินกันเป็นครอบครัว เพราะเขาอยู่กินกันเพียง ๗ วันเท่านั้น ไม่มีปัญหาเรื่องการคลอดลูกและเลี้ยงดูจนกระทั้งเติบใหญ่

ความรู้เรื่องโลกในอุดมคติ ไตรภูมิพระร่วงกล่าวถึงสัตว์โลกที่ต้องเวียนว่ายตายเกิด ต้องทนทุกข์อยู่ในจตุรบายแม้เกิดเป็นมนุษย์อยู่ในสุขคติภูมิก็ตาม ย่อมได้รับวิบากตามระดับของกรรมที่กระทำไว้ จึงมักไม่พอใจในสภาพความเป็นอยู่ของตน ต้องการดิ้นรนให้พ้นความเดือดร้อน ปรารถนาชีวิตที่รื่นรมย์ มีฐานะ มีหน้าตา ผิวพรรณที่งดงาม

ความปรารถนาดังกล่าวไตรภูมิพระร่วงได้เสนอไว้ในตอน อุตรกุรุทวีป ได้กล่าวถึงดินแดนนี้ไว้อย่างงดงาม ทั้งพฤติกรรมของผู้คน ชีวิตความเป็นอยู่ ซึ่งเป็นโลกในอุดมคติ

เราเรียนไตรภูมิพระร่วงเพื่ออะไร

ไตรภูมิพระร่วงมีเนื้อหาที่อธิบายแนวคิดที่ทรงอธิบายภพภูมิต่างๆมีจุดมุ่งหมาย เพื่อให้ประชาชนมีจริยธรรม เกรงกลัวต่อการท าความชั่วเพราะคนท าความชั่วจะได้ไปเกิดใน อบายภูมิส่วนคนท าความดีจะได้ไปเกิดในสุคติภูมิซึ่งท าให้มีผลดีต่อสังคมไม่ต้องบังคับใช้ กฎหมายบังคับโดยอาศัยแนวคิด เรื่องจักรวาลวิทยาอันเป็นแนวคิดเชิงอภิปรัชญาที่ ...

ข้อคิดและคุณธรรมจากเรื่องไตรภูมิพระร่วงที่นักเรียนสามารถนำไปใช้ในชีวิตจริงมีอะไรบ้าง และส่งผลต่อชีวิตและสังคมอย่างไร อธิบาย

ข้อคิด คติคำสอน และความจรรโลงใจ มนุษย์เราควรทำความดีด้วยวิธีต่าง ๆ อาทิเช่น การกตัญญูต่อมารดาผู้ให้กำเนิด การยึดมั่นในศีลธรรม รู้จักพึงพอใจในสิ่งที่ตนเองมี ไม่เบียดเบียนผู้อื่น ไม่โลภ ไม่มีกิเลสตัณหา ไม่เบียดเบียนผู้อื่น ฯลฯ ซึ่งหากเราทำได้เช่นนี้ ตัวเราและสังคมก็ย่อมมีแต่ความสงบสุข

ไตรภูมิพระร่วงมุ่งเน้นให้คุณค่าทางด้านใดแก่ผู้อ่านมากที่สุด

คุณค่าของเรื่อง ๑. คุณค่าด้านวรรณคดี เป็นความเรียงที่มีสัมผัสคล้องจอง มีความเปรียบเทียบที่ให้อารมณ์และเกิดจินตภาพชัดเจน เป็นภาพพจน์เชิงอุปมาและภาษาจินภาพ เห็นความงดงามของภาษา ๒. คุณค่าด้านศาสนา เป็นปรัชญาทางพระพุทธศาสนา ชี้ให้เห็นแก่นแท้ของชีวิตอาจนำมนุษยชาติให้หลุดพ้นจากวัฏสงสาร

ไตรภูมิพระร่วงนำเสนอคำสอนที่เป็นปรัชญาทางพระพุทธศาสนาเรื่องใดบ้าง

ด้านจริยศาสตร์ ไตรภูมิพระร่วงได้เสนอการดำเนินชีวิต 2 ระดับ คือ 1) การดำเนินชีวิตทางโลก อันเป็นไปด้วยอำนาจของกิเลสตัณหา และ 2) การดำเนินชีวิตทางธรรม คือการกระทำความดี ตามความ เชื่อกฎแห่งกรรม และจุดหมายปลายทางที่ผู้ดำเนินชีวิตปรารถนาในทางโลกหวังก็คือ การได้ไปเกิดในภพ ที่ดี มีการพรรณนาถึงความทุกข์ยากของสัตว์ในอบายภูมิและ ...

กระทู้ที่เกี่ยวข้อง

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

แปลภาษาไทย ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน อาจารย์ ตจต ศัพท์ทหาร ภาษาอังกฤษ pdf lmyour แปลภาษา ชขภใ ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมฟรี 2566 ขขขขบบบยข ่ส ศัพท์ทางทหาร military words หนังสือราชการ ตัวอย่าง หยน แปลบาลีเป็นไทย ไทยแปลอังกฤษ ประโยค การไฟฟ้านครหลวง การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ข้อสอบโอเน็ต ม.3 ออกเรื่องอะไรบ้าง พจนานุกรมศัพท์ทหาร เมอร์ซี่ อาร์สยาม ล่าสุด แปลภาษามลายู ยาวี Bahasa Thailand กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมออนไลน์ การ์ดจอมือสอง ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย คะแนน o-net โรงเรียน ค้นหา ประวัติ นามสกุล บทที่ 1 ที่มาและความสําคัญของปัญหา ร. ต จ แบบฝึกหัดเคมี ม.5 พร้อมเฉลย แปลภาษาอาหรับ-ไทย ใบรับรอง กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน PEA Life login Terjemahan บบบย มือปราบผีพันธุ์ซาตาน ภาค2 สรุปการบริหารทรัพยากรมนุษย์ pdf สอบโอเน็ต ม.3 จําเป็นไหม เช็คยอดค่าไฟฟ้า แจ้งไฟฟ้าดับ แปลภาษา มาเลเซีย ไทย แผนที่ทวีปอเมริกาเหนือ ่้แปลภาษา Google Translate กระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ 8 ขั้นตอน ก่อนจะนิ่งก็ต้องกลิ้งมาก่อน เนื้อเพลง ข้อสอบโอเน็ตม.3 มีกี่ข้อ คะแนนโอเน็ต 65 ตม กรุงเทพ มีที่ไหนบ้าง