องค์การสหประชาชาติ ผลดี ผลเสีย

สมัชชาสหประชาชาติ (United Nations General Assembly - UNGA): ที่ประชุมของประเทศสมาชิกทั้งหมด เพื่อปรึกษาหารือและตัดสินใจประเด็นต่าง ๆ ที่เป็นปัญหาระดับโลกร่วมกัน โดยฉันทามติหรือการลงคะแนนเสียง

หน้าที่ของสมัชชาสหประชาชาติ

อภิปรายปัญหาเพื่อกำหนดทิศทางการดำเนินงาน

ศึกษาและจัดทำคำแนะนำเพื่อส่งเสริมความร่วมมือในด้านการเมือง กฎหมายระหว่างประเทศ เศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม การศึกษาและอนามัย

พิจารณาให้ความเห็นชอบงบประมาณขององค์การและกำหนดส่วนเฉลี่ยค่าบำรุงของสมาชิก

เลือกตั้งสมาชิกองค์กรหลักอื่นๆ องค์กรย่อย โครงการหรือกองทุนของสหประชาชาติ

ข้อมติสมัชชาสหประชาชาติ (Resolution): คำแนะนำแก่ประเทศสมาชิก มิใช่การบังคับทางกฎหมาย แต่ก็มีน้ำหนักทางการเมือง เพราะถือเป็นความเห็นโดยทั่วไปของประเทศส่วนใหญ่ในโลก หรือประชาคมระหว่างประเทศที่สมัชชาเป็นตัวแทน

การลงมติในสมัชชาสหประชาชาติ

แบบชูมือ: นิยมใช้ในการประชุมของคณะกรรมการใหญ่ในเรื่องที่ไม่ยุ่งยากนัก หรือในห้องประชุมที่ไม่มีอุปกรณ์กดลงคะแนนเสียง การออกเสียงแบบนี้ไม่มีการบันทึกเป็นหลักฐาน

แบบ Record Vote: คณะผู้แทนกดปุ่มออกเสียง และ เจ้าหน้าที่บันทึกไว้เป็น หลักฐาน โดยมีปุ่ม 3 ปุ่ม ได้แก่ ปุ่มสีเขียว (เห็นด้วย) ปุ่มสีเหลือง (งดออกเสียง) และปุ่มสีแดง (ไม่เห็นด้วย)

แบบเรียกชื่อ (Roll call vote): จะมีการจับฉลากชื่อประเทศเพื่อเป็นประเทศแรกใน การกล่าวออกเสียงเห็นด้วย ไม่เห็นด้วย หรืองดออกเสียง จากนั้นจะเป็นประเทศต่อไปตาม ลำดับตัวอักษร ผู้แทนประเทศที่กล่าวออกเสียงจะต้องกดปุ่มออกเสียงไปด้วย

แบบลับ (Secret Ballot): ปกติใช้ในการออกสียงลงคะเเนนเลือกตั้งสำคัญต่างๆ ซึ่งใช้หลักการออกเสียง 2 ใน 3 (Two-thirds Majority)

* การลงคะเเนนเสียง โดยปกติใช้หลักเสียงข้างมากธรรมดา (Simple Majority) ของสมาชิก ซึ่งเข้าประชุมออกเสียง เว้นแต่ปัญหาสำคัญตามที่ระบุไว้ในข้อบังคับข้อ 85 ของสมัชชาฯ

** สมาชิกอาจอธิบายท่าทีของตน หรือมีข้อสงวนใดๆ ก่อนลงมติหรือหลังลงมติได้

การผ่านข้อมติโดยไม่ออกเสียงหรือฉันทามติ (Consensus) ในกรณีที่ร่างข้อมติไม่มีปัญหาขัดแย้งระหว่างสมาชิก

องค์การสหประชาชาติ (United Nations)

16 ม.ค. 66    Blog   



องค์การสหประชาชาติ (United Nations) ตัวย่อ UN หรือที่เรารู้จักกันดีในนาม "ยูเอ็น" เป็นสถานที่อีกแห่งหนึ่งที่ไม่ควรพลาดเมื่อมาทัวร์สวิตเซอร์แลนด์ เพราะถือว่ามีโอกาสได้มาเยือนประวัติศาสตร์ของโลก และน่าเป็นที่ที่เก็บภาพไว้เป็นที่ระลึกอีกด้วย องค์การสหประชาชาติ  เป็นองค์การระหว่างประเทศซึ่งมีความมุ่งหมายที่แถลงไว้เพื่ออำนวยความสะดวกแก่ความร่วมมือในกฎหมายระหว่างประเทศ ความมั่นคงระหว่างประเทศ การพัฒนาเศรษฐกิจ กระบวนการทางสังคม สิทธิมนุษยชน และการบรรลุสันติภาพโลก สหประชาชาติก่อตั้งขึ้นใน ค.ศ. 1945 หลังสงครามโลกครั้งที่สอง เพื่อแทนที่สันนิบาตชาติ เพื่อยุติสงครามระหว่างประเทศ เพื่อเป็นเวทีสำหรับการเจรจา สหประชาชาติมีองค์กรจำนวนมากเพื่อนำภารกิจไปปฏิบัติ

องค์การสหประชาชาตินั้นมีสมาชิกทั้งหมดถึง 193 ประเทศ ระบบสหประชาชาติอยู่บนพื้นฐานของ 6 เสาหลัก ได้แก่ สมัชชาใหญ่ คณะมนตรีความมั่นคง คณะมนตรีเศรษฐกิจและสังคม สำนักเลขาธิการ และ ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ รวมถึงคณะมนตรีภาวะทรัสตี (ปัจจุบันยุติการทำงานแล้ว) นอกจากนี้ยังมีองค์กรอื่น ๆ อีกเช่น องค์การอนามัยโลก ยูเนสโก และยูนิเซฟ ตำแหน่งที่โดดเด่นที่สุดของสหประชาชาติ คือ เลขาธิการสหประชาชาติ ผู้ดำรงตำแหน่งคนปัจจุบัน คือ อังตอนีอู กูแตรึช ชาวโปรตุเกส ซึ่งเข้ารับตำแหน่งเมื่อวันที่ 1 มกราคม ค.ศ. 2017 ต่อจาก พัน กี-มุน ชาวเกาหลีใต้

องค์การสหประชาชาติ (United Nations)  มีบทบาทสำคัญอย่างมากในเจนีวาสวิตเซอร์แลนด์ เพราะหลังสงครามโลกครั้งที่ 1 ก็ได้มีการตั้งองค์การสันนิบาตแห่งชาติ (League of Nations) เมื่อปี ค.ศ.1920 หลังจากนั้นก็เปลี่ยนเป็นองค์การสหประชาชาติ (United Nations) และก็ย้ายสำนักงานใหญ่ไปที่ประเทศสหรัฐอเมริกา แต่ยังคงใช้สำนักงานเป็นสำนักงานใหญ่ประจำยุโรป และใช้เป็นที่ตั้งของสำนักงานใหญ่ของหน่วยย่อยต่างๆขององค์การสหประชาชาติ อาทิเช่น องค์การอนามัยโลก (WTO) องค์การการค้าโลก (WTO) และอีกต่างๆมากมาย ทำให้เวลามีการจัดงานประชุม หรือจัดเลี้ยงต่างๆ ก็มีผลทำให้เศรษฐกิจของเมืองเจนีวานั้นคึกคักขึ้นอีกด้วย

เราสามารถเข้าเยี่ยมชมองค์การสหประชาชาติ (United Nations) ได้ด้วย โดยเสียค่าเข้าประมาณ 12 ฟรังก์สวิส (ประมาณ 400 บาท) โดยเปิดให้ชมทั้งปี เป็นรอบๆไป ก็จะมีการพาชมห้องต่างๆพร้อมกับอธิบายประวัติอีกด้วย

รวมข้อวิจารณ์ต่อเครือข่ายองค์กรเอ็นจีโอที่ใหญ่ที่สุดอย่าง ‘สหประชาชาติ’ หลายฝ่ายชี้ทำงานภายใต้ ‘ระบบข้าราชการ’ มากเกินไป ทบทวนเงินเดือนพนักงานแต่กลับไม่มีกระบวนการปรึกษาหารือที่เหมาะสม กองกำลังรักษาสันติภาพมีประสิทธิภาพแค่ไหน? พบในช่วง 12 ปีมีข้อร้องเรียนการ ‘ล่วงละเมิดทางเพศ’ จากกองกำลังรักษาสันติภาพรวมถึงบุคลากรอื่น ๆ ของสหประชาชาติทั่วโลกเกือบ 2,000 กรณี ที่มาภาพประกอบดัดแปลงจาก: flickr.com/sanjitbakshi (CC BY 2.0) 

ข้อวิจารณ์ด้านประสิทธิภาพ

ไม่ใช่แค่ผู้นำสหรัฐอเมริกาอย่างนายโดนัลด์ ทรัมป์ (Donald Trump) เท่านั้นที่เคยระบุว่าองค์การสหประชาชาติ (United Nations หรือ UN) ยังทำงานไม่เต็มศักยภาพ เพราะมีระบบแบบราชการ (bureaucracy) รวมทั้งมีการจัดการที่ผิดพลาด นับตั้งแต่ปี 2000  งบประมาณของสหประชาชาติได้เพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 140 และเจ้าหน้าที่ก็เพิ่มขึ้นเกินสองเท่า [1]

ในด้านค่าใช้จ่าย ข้อมูลทางการเท่าที่ปรากฏใน UN System TOTAL EXPENDITURE (เข้าถึงข้อมูลเมื่อวันที่ 17/4/2018) จากปี 2010 สหประชาชาติมีค่าใช้จ่ายรวม 39,847,028,907 ดอลลาร์สหรัฐฯ ตัวเลขนี้เพิ่มขึ้นเป็น 48,764,755,110 ดอลลาร์สหรัฐฯ ในปี 2016

ย้อนกลับไปไกลกว่านั้น เมื่อลองเทียบปี 2015 กับช่วงต้นทศวรรษ 1950 พบว่าค่าใช้จ่ายของสหประชาชาติได้เพิ่มขึ้นประมาณ 40 เท่าตัวเลยทีเดียว วาเลรี เอมอส (Valerie Amos) อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาระหว่างประเทศของสหราชอาณาจักรได้เคยกล่าวว่า ถึงแม้สหประชาชาติเป็นพันธมิตรที่ดีในการช่วยเหลือในสหราชอาณาจักร แต่เธอกลับผิดหวังในความไร้ประสิทธิภาพ

"มีความกังวลว่าสหประชาชาติเป็นองค์กรที่มีขั้นตอนมากเกินไป และทำงานที่เกี่ยวกับประเด็นการพัฒนาช้าเกินไป ฉันคิดว่านั่นคือคำวิพากษ์วิจารณ์สหประชาชาติที่ยังคงอยู่ถึงทุกวันนี้ ตั้งแต่สหประชาชาติก่อตั้งขึ้นมาก็ได้กลายเป็นองค์กรที่ใหญ่ขึ้นและใหญ่ขึ้น หลายหน่วยงานมีหน้าที่ทับซ้อนกัน เป็นองค์กรที่ค่อนข้างเทอะทะในหลายแง่มุม" เอมอสระบุ

ส่วน เฮเลน คลาร์ก (Helen Clark) อดีตนายกรัฐมนตรีนิวซีแลนด์ ผู้เคยทำงานที่องค์กรด้านการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ (UNDP) เมื่อปี 2009 ก็เล่าว่า รู้สึกไม่ค่อยประทับใจกับหน่วยงานนี้นัก

"เมื่อฉันเข้าไป องค์กรต้องใช้เวลากว่าหนึ่งปีสำหรับแผนยุทธศาสตร์แรก สิ่งที่บอกคุณได้คือความรู้ด้านการจัดการสมัยใหม่และการวางแผนเชิงกลยุทธ์สมัยใหม่มาถึงสหประชาชาติช้าเกินไป" คลาร์ก ระบุ [2]

ทบทวนเงินเดือนพนักงาน แต่กลับไม่มีกระบวนการปรึกษาหารือ

นับตั้งแต่ปี 2000 เป็นต้นมา จำนวนเจ้าหน้าที่ของสหประชาชาติได้เพิ่มขึ้นเกินสองเท่า ในขณะเดียวกันก็มีความพยายามที่จะประหยัดงบด้านบุคคลากร ล่าสุดจึงมีการดำเนินการทบทวนเงินเดือนของพนักงาน แต่กลับไม่มีกระบวนการปรึกษาหารือที่เหมาะสมกับพนักงานและสหภาพแรงงาน โดยกระบวนการดังกล่าวจะส่งผลกระทบกับเจ้าหน้าที่สหประชาชาติระดับท้องถิ่น เพราะการจัดประเภทพนักงานรูปแบบใหม่ที่จ่ายค่าตอบแทนน้อยลงจะถูกนำไปใช้กับเจ้าหน้าที่ท้องถิ่น ซึ่งจะอยู่ในหมวดที่สามของบัญชีเงินเดือนและลำดับของพนักงาน

‘หมวดที่สาม’ หมายถึงพนักงาน ‘ทั่วไป’ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นพนักงานท้องถิ่นที่เป็นผู้หญิงอีกด้วย การตัดสินใจดังกล่าวส่งผลทำให้ช่องว่างรายได้ระหว่างเพศในองค์กรห่างยิ่งขึ้น นอกจากนี้ยังทำให้เกิดแนวโน้มของสภาพการทำงานที่ย่ำแย่ในหมู่เจ้าหน้าที่สหประชาชาติ ซึ่งรวมถึงพนักงานประเภททำสัญญาจ้างงานแบบไม่มีกำหนดและพนักงานฝึกงานที่ไม่ได้รับค่าตอบแทนซึ่งมีจำนวนมากกว่าร้อยละ 40 [3]

ตัวอย่างเรื่องฉาวของหน่วยงานต่างๆ

การเลือกประธานาธิบดีโรเบิร์ต มูกาเบ (Robert Mugabe) ของซิมบับเวเป็นทูตสันถวไมตรีขององค์การอนามัยโลก (ก่อนที่จะถูกยกเลิกตำแหน่งนี้ภายหลัง) เป็นกรณีที่ทำให้องค์กรของสหประชาชาติถูกวิพากษ์วิจารณ์เป็นอย่างมาก ที่มาภาพ: UN News

ช่วงหลังพบว่าหน่วยงานต่างๆ ของสหประชาชาติมักมีข่าวฉาวเสมอมา เช่นในปี 2015 กระบวนการคัดเลือกเจ้าหน้าที่องค์กรกองทุนเพื่อเด็กแห่งสหประชาชาติหรือยูนิเซฟ (UNICEF) ถูกวิจารณ์ว่าขาดความโปร่งใส พอล ฟาน เอสเช (Paul van Essche) หัวหน้าเจ้าหน้าที่ฝ่ายข้อมูลที่เพิ่งได้รับการแต่งตั้งใหม่จากยูนิเซฟได้ลาออกในเดือน ม.ค. 2015  หลังจากได้รับตำแหน่งในเดือน ธ.ค. 2014 การลาออกของเขาเกิดขึ้นหลังจากที่สำนักข่าว FOX News ได้ตั้งคำถามถึงกระบวนการคัดเลือกตำแหน่งดังกล่าว โฆษกยูนิเซฟกล่าวว่าฟาน เอสเช ลาออกด้วยเหตุผลส่วนตัว ทั้งนี้ยูนิเซฟไม่ได้เปิดเผยว่ามีจำนวนผู้สมัครเข้ารับการพิจารณาในรอบสุดท้ายของตำแหน่งนี้กี่คน [4]

ปี 2016 เจ้าหน้าที่จากหน่วยงานวิจัยด้านสุขภาพของรัฐบาลสหรัฐฯ อย่างสถาบันสุขภาพแห่งชาติ (NIH) ถูกสอบสวนโดยรัฐสภาด้วยเหตุที่ให้ทุนแก่สถาบันวิจัยด้านมะเร็งขององค์การอนามัยโลก (IARC) แม้จะมีคำวิพากษ์วิจารณ์เกี่ยวกับการจำแนกประเภทสารก่อมะเร็งของสถาบันแห่งนี้เมื่อไม่กี่ปีที่ผ่านมา ซึ่งทำให้เกิดข้อถกเถียงกันว่าตกลงแล้ว กาแฟ โทรศัพท์มือถือ เนื้อสัตว์แปรรูป และสารกำจัดวัชพืช glyphosate ทำให้เกิดมะเร็งหรือไม่ เนื่องจากมีงานวิจัยทางวิทยาศาสตร์อื่นที่ได้ข้อสรุปแตกต่างไป นี่เป็นที่มาของคำถามว่าเหตุใดสถาบันสุขภาพแห่งชาติที่มีงบประมาณรายปีถึง 33,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ จึงตัดสินใจให้เงินทุนกับสถาบันวิจัยด้านมะเร็งขององค์การอนามัยโลก [5]

ปี 2016 กาย ไรเดอร์ (Guy Ryder) ชาวอังกฤษวัย 60 ปี ชนะเลือกตั้งได้ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการใหญ่องค์การแรงงานระหว่างประเทศ (ILO) เป็นสมัยที่ 2 มีวาระ 5 ปี เขาเป็นผู้สมัครเพียงหนึ่งเดียวและได้รับเลือกด้วยคะแนนเสียง 54 เสียง จากทั้งหมด 56 เสียง [6]

การระบาดของโรคอีโบลาครั้งล่าสุดได้ส่งผลต่อสามประเทศที่ยากจนที่สุดในโลกเป็นอย่างมาก มีผู้เสียชีวิตมากกว่า 10,000 ราย แม้องค์การอนามัยโลก (WHO) พยายามจะตอบสนองต่อวิกฤตและระดมทุนอย่างรวดเร็ว แต่ความสูญเสียที่เกิดขึ้นก็ได้ทำให้ความเชื่อมั่นต่อองค์กรนี้ลดลงอย่างมาก

"เหตุการณ์อีโบลาระบาดทำให้เห็นจุดอ่อนขององค์การอนามัยโลก ไม่ว่าจะเป็นความสามารถในการหาแหล่งทรัพยากรที่จำเป็น  การประสานงานที่ไม่ดีนัก รวมถึงการสื่อสารกับสำนักงานส่วนภูมิภาคและการขาดแนวทางทางทางสังคมที่เปิดกว้าง แม้จะมีผู้เสียชีวิตหลักหมื่นคนแต่กลับไม่มีใครสักคนเดียวที่ต้องรับผิดชอบ เรื่องแบบนี้จะไม่เกิดขึ้นกับองค์กรที่มีประสิทธิภาพ" ลอว์เรนซ์ กอสติน (Lawrence Gostin) ผู้เชี่ยวชาญด้านกฎหมายสุขภาพสากลที่มหาวิทยาลัยจอร์จทาวน์ กล่าว

“ถ้าคุณให้เงินกับองค์กรที่ขาดความโปร่งใสและขาดความรับผิดชอบ คุณเองก็จะเจอปัญหา” กอสตินระบุ [7]

ปี 2017 การเลือกประธานาธิบดีโรเบิร์ต มูกาเบ (Robert Mugabe) ของประเทศซิมบับเวเป็นทูตสันถวไมตรีขององค์การอนามัยโลก ถูกวิพากษ์วิจารณ์ว่าเป็นสิ่งที่น่าประหลาดใจและน่าผิดหวังจากหลายองค์กรด้านสาธารณสุขรวมถึงรัฐบาลต่าง ๆ เนื่องจากภายใต้รัฐบาลของ  มูกาเบ ประชาชนชาวซิมบับเวถูกละเมิดสิทธิมนุษยชนมากมาย มีการเตือนว่าเรื่องนี้จะบดบังผลงานขององค์การอนามัยโลก แต่องค์การอนามัยโลกกลับระบุว่าซิมบับเวมีระบบประกันสุขภาพถ้วนหน้าและมีนโยบายการส่งเสริมสุขภาพที่ดี

ด้านรัฐบาลอังกฤษเห็นว่า สิ่งที่น่าแปลกใจมากคือมูกาเบนั้นถูกคว่ำบาตรจากทั้งสหรัฐฯ และสหภาพยุโรป ขณะที่ผู้อำนวยการใหญ่องค์การอนามัยโลกระบุว่า คิดจะตั้งมูกาเบเป็นทูตสันถวไมตรีเพราะหวังว่าเขาจะใช้ตำแหน่งนี้ผลักดันให้พันธมิตรในภูมิภาคเดียวกันหันมาสนใจพัฒนางานด้านสาธารณสุข [8] ต่อมาองค์การอนามัยโลกตัดสินใจยกเลิกการแต่งตั้งนี้ โดยผู้อำนวยการคนเดิมแถลงว่าได้รับฟังความเห็นจากบรรดาผู้แสดงความกังวลในเรื่องดังกล่าวอย่างถี่ถ้วนและได้ปรึกษาหารือกับรัฐบาลซิมบับเวอีกครั้ง ก่อนตัดสินใจยกเลิกการแต่งตั้ง ซึ่งเป็นทางเลือกที่มีผลดีต่อองค์การอนามัยโลกมากที่สุด ก่อนหน้านี้องค์การอนามัยโลกได้ชื่นชมรัฐบาลซิมบับเวภายใต้การนำของมูกาเบว่ามีความมุ่งมั่นในการพัฒนาระบบบริการสาธารณสุขของประเทศ แต่หลายฝ่ายได้ชี้ให้เห็นว่าระบบดังกล่าวประสบความล้มเหลวอย่างร้ายแรงในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา แม้ว่าตลอด 20 ปีแรกของการครองอำนาจยาวนานถึง 37 ปี มูกาเบจะมีการขยายบริการสาธารณสุขออกไปทั่วประเทศ แต่ระบบนี้ได้รับผลกระทบอย่างมากจากภาวะเศรษฐกิจของประเทศที่ล่มสลายนับตั้งแต่ปี 2000 ยาและเวชภัณฑ์ในประเทศมีไม่เพียงพอ แพทย์ พยาบาล และบุคลากรสาธารณสุขต่างไม่ได้รับเงินเดือน ส่วนมูกาเบวัย 93 ปีกลับมีอายุยืนกว่าอายุขัยเฉลี่ยของประชากรในประเทศถึง 30 ปี นั่นก็เพราะเขาเดินทางไปรับการรักษาพยาบาลที่ทันสมัยกว่าในต่างประเทศเป็นประจำ [9]

ข้อวิจารณ์ต่อ ‘กองกำลังรักษาสันติภาพ’

การปฏิบัติภารกิจของ ‘กองกำลังรักษาสันติภาพ’ (United Nations Peacekeeping) หลายครั้งถูกวิพากษ์วิจารณ์ถึงประสิทธิภาพ ที่มาภาพประกอบ: peacekeeping.un.org

สหประชาชาติระบุว่ากำลังพลของ ‘กองกำลังรักษาสันติภาพ’ (United Nations Peacekeeping) ถูกสังหารในปี 2017 จำนวน 56 ราย ซึ่งเป็นจำนวนผู้เสียชีวิตสูงสุดนับตั้งแต่ปี 1994 ทั้งนี้ภารกิจรักษาสันติภาพของสหประชาชาติเริ่มขึ้นครั้งแรกในปี 1948 และกำลังจะครบรอบ 70 ปี  เจ้าหน้าที่ของกองกำลังรักษาสันติภาพมีสถิติเสียชีวิตเนื่องจากความรุนแรงทั้งหมด 943 ราย หรือเฉลี่ย 13.7 รายต่อปี [10]

ปี 1994 ที่ประเทศรวันดา เมื่อชาวทุตซี่ (Tutsis) หลายร้อยคนได้แสวงหาสถานที่ปลอดภัยในวันแรกของการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ที่โรงเรียนแห่งหนึ่งซึ่งมีกองกำลังรักษาสันติภาพ 90 นายประจำการอยู่ ภายใต้การบังคับบัญชาของกัปตัน ลุค เลอแมร์ (Luc Lemaire) ดูเหมือนว่าที่นี่ชาวทุตซี่ จะปลอดภัยจากชาวฮูตู (Hutus) ที่จ้องทำลายล้างพวกเขา ขณะที่ธงของสหประชาชาติปลิวไสวอยู่เหนือโรงเรียน กองกำลังจากเบลเยี่ยมพร้อมปืนกลประจำการอยู่ที่ประตู ทหารเหล่านี้คือกองทัพของโลก ทว่าสำนักงานใหญ่สหประชาชาติที่กรุงนิวยอร์กกลับเพิกเฉยต่อคำเตือนว่ามีการวางแผนฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ และคณะมนตรีความมั่นคงตอบสนองต่อการสังหารหมู่ด้วยการเพิกถอนกองกำลังรักษาสันติภาพออกจากพื้นที่

หลังจากกองกำลังรักษาสันติภาพได้รับคำสั่งให้ออกจากโรงเรียนแห่งนั้น เพื่อไปสมทบกับชาวต่างชาติที่สนามบินและออกจากประเทศรวันดา ภายในไม่กี่ชั่วโมงชาวทุตซี่ประมาณ 2,000 คนก็ถูกยิงแทนที่จะได้รับความคุ้มกัน วิดีโอที่บันทึกเหตุการณ์นั้นไว้มีอยู่ช่วงหนึ่งที่มีภาพปืนกลบนรถกระบะของชาวฮูตูกำลังกราดยิงผู้คน และมีข้อความตอนหนึ่งในวิดีโอระบุว่า "นิวยอร์กไม่เห็นด้วยที่จะเปลี่ยนกฎของภารกิจ" (“New York didn’t agree to change the rules of engagement.”) กองกำลังรักษาสันติภาพไม่ได้รับอนุญาตให้ช่วยชีวิตชาวทุตซี่ และมีอีกข้อความหนึ่งจากบุคคลนิรนามว่า "มีการสังหารหมู่และนิวยอร์กไม่ทำอะไรเลย" (“There are killings and New York doesn’t give a damn.”)

ความล้มเหลวของกองกำลังรักษาสันติภาพที่ทำให้เกิดโศกนาฏกรรมในรวันดามิใช่เพียงกรณีเดียว อีก 1 ปีต่อมา กองกำลังรักษาสันติภาพจากเนเธอร์แลนด์ก็ล้มเหลวที่จะหยุดยั้งการสังหารหมู่ชาวมุสลิมประมาณ 8,000 คนที่เมือง Srebrenica ซึ่งควรจะเป็นพื้นที่ปลอดภัยของสหประชาชาติ โดยเหตุการณ์นี้มีชื่อเสียงว่าเป็นการฆาตกรรมหมู่โดยชาวเซิร์บที่ประเทศบอสเนีย [11]

ข้อมูลเท่าที่ปรากฏระหว่างปี 2010-2016 จาก UN System Chief Executives Board for Coordination ระบุว่าเมื่อเทียบกับหน่วยงานอื่นๆ  ค่าใช้จ่ายของปฏิบัติการรักษาสันติภาพสูงกว่าภารกิจอื่นเสมอมา รายงานฉบับหนึ่งโดยนักวิจัยขององค์กร Small Arms Survey ระบุด้วยว่าภารกิจของสหประชาชาติในประเทศซูดานใต้ขาดความเป็นกลาง ในปี 2013 กองกำลังรักษาสันติภาพได้มอบอาวุธให้กับกบฏในเมือง Bentiu และหลังจากที่มีการถ่ายโอนอาวุธเหล่านี้ กลุ่มกบฏได้ดำเนินการสังหารหมู่พลเรือน นอกจากนั้นยังมีพยานหลายคนบอกว่าผู้หญิงและเด็กถูกข่มขืนใกล้กับค่ายคุ้มกันพลเรือนของสหประชาชาติโดยไม่มีการดำเนินการใดๆ จากผู้รักษาสันติภาพ ในเดือนกุมภาพันธ์ 2016 มือปืนได้สังหารผู้หนีภัยความรุนแรงที่ยังคงอยู่ภายในประเทศ 30 คน และยังมีผู้บาดเจ็บอีกกว่า 120 คน สถานที่เกิดเหตุเป็นหนึ่งในค่ายคุ้มกันพลเรือนของสหประชาชาติที่สร้างไว้ในเมือง Malakal ทางตะวันตกเฉียงเหนือของประเทศซูดานใต้

ในสาธารณรัฐแอฟริกากลางก็ปรากฏข้อกล่าวหาต่อภารกิจขององค์การสหประชาชาติว่าละเลยการปฏิบัติหน้าที่ จากเหตุการณ์ที่มีผู้เสียชีวิตมากกว่า 75 ราย เมื่อเดือนกันยายน 2016 และจากการสอบสวนของสหประชาชาติเองยังพบอีกว่ามีผู้รักษาสันติภาพ 41 คน เกี่ยวข้องกับข้อร้องเรียนเรื่องการละเมิดทางเพศและการแสวงประโยชน์ทางเพศกับผู้ที่ประสบความลำบากในช่วงปี 2014 และ 2015 ผู้หญิงและเด็กถูกละเมิดเพื่อแลกกับอาหารและเสื้อผ้า ซึ่งท้ายที่สุดสหประชาชาติดำเนินการเพียงเล็กน้อยกับทหารเหล่านั้น [12]

ปฏิบัติการรักษาสันติภาพที่ใหญ่ที่สุดในโลกดำเนินการในคองโกมาแล้วว่า 17 ปี โดยมีเจ้าหน้าที่ในเครื่องแบบเกือบ 20,000 คน ที่มาภาพ: UN News

เป็นเรื่องธรรมดาของชาวคองโก ที่มีมุมมองว่ากองกำลังรักษาสันติภาพไม่ค่อยได้ทำอะไรมากนัก คล้ายกับว่าพวกเขาอยู่ในฐานะ ‘นักท่องเที่ยวบนเฮลิคอปเตอร์’ เพราะที่นี่มีปฏิบัติการรักษาสันติภาพมาแล้ว 17 ปี มีเจ้าหน้าที่ในเครื่องแบบเกือบ 20,000 คน ประจำการอยู่ โดยในปี 2014 หลังจากเกิดเหตุโจมตีที่ทำให้มีผู้เสียชีวิต 30 ราย มีผู้ออกมาประท้วงบนท้องถนนเพื่อแสดงความไม่พอใจต่อกองกำลังรักษาสันติภาพ ในรายงานของ Human Rights Watch ชี้ให้เห็นว่ากองกำลังรักษาสันติภาพไม่สามารถตอบสนองต่อการเรียกร้องความช่วยเหลือซ้ำแล้วซ้ำเล่าระหว่างการสังหารหมู่ แม้ว่ากองกำลังรักษาสันติภาพอยู่ห่างออกไปแค่ 9 กิโลเมตร แต่ต้องใช้เวลาถึง 2 วันกว่าจะเดินทางมาถึงที่เกิดเหตุ [13]

อาชญากรรมทางเพศ

ในช่วง 12 ปีที่ผ่านมาปรากฏเกือบ 2,000 ข้อร้องเรียนเกี่ยวกับการล่วงละเมิดทางเพศจากกองกำลังรักษาสันติภาพและบุคลากรอื่นๆ ของสหประชาชาติที่ประจำอยู่ทั่วโลก และหากจะมีศูนย์กลางการละเมิดทางเพศของเจ้าหน้าที่สหประชาชาติ ที่นั่นก็คือประเทศคองโก เพราะกว่า 700 กรณีเกิดขึ้นที่นั่นโดยปรากฏปัญหาครั้งแรกตั้งแต่ 13 ปีที่แล้ว ล่าสุดเมื่อต้นปี 2017 มีกรณีเด็กหญิงกำพร้าวัย 14 ปีที่หลบภัยในค่ายคุ้มกันของกองกำลังรักษาสันติภาพถูกข่มขืน แม้เธอไม่ได้ปกปิดเป็นความลับ แต่เธอก็ยังไม่เคยได้รับความช่วยเหลือจากสหประชาชาติเลย และในที่สุดเธอก็ตั้งครรภ์จนคลอดบุตร [14]

นอกจากนี้ ยังมีการร้องเรียนว่าเจ้าหน้าที่กองกำลังรักษาสันติภาพของสหประชาชาติวางยาและข่มขืนหญิงวัย 19 ปีในเดือนกันยายน 2017 ที่สาธารณรัฐแอฟริกากลาง โดยพบหลักฐานที่น่าเชื่อถือว่าเหตุการณ์ดังกล่าวเกิดขึ้นจริง จากการสัมภาษณ์วัยรุ่นหญิงที่คาดว่าเป็นเหยื่อการข่มขืนและพยานบุคคลที่มีข้อมูลเกี่ยวกับเหตุการณ์ดังกล่าวอีก 10 คน ทั้งนี้กองกำลังรักษาสันติภาพมีสิทธิที่จะไม่ถูกฟ้องคดีอาญาในประเทศที่พวกเขาประจำการ แต่ให้ประเทศต้นสังกัดดำเนินการสืบสวนและเอาผิดเอง เหตุข่มขืนโดยกองกำลังรักษาสันติภาพเกิดขึ้นมาแล้วหลายครั้งซึ่งรวมถึงการข่มขืนเด็กหญิงวัย 12 ปีที่เมืองหลวงของแอฟริกากลางในเดือนเดียวกัน แม้ว่าหลายกรณีมีพยานและหลักฐานชัดเจน แต่นอก เหนือจากกรณีข้างต้นแล้ว ยังไม่มีการสืบสวนเพื่อเอาผิดทางอาญาต่อเจ้าหน้าที่ผู้ต้องสงสัยก่อเหตุเลย [15] มีเพียงบางคนเท่านั้นที่ถูกลงโทษทางวินัยเล็กน้อยหลังจากถูกสอบสวนโดยประเทศบ้านเกิดของเจ้าหน้าที่นั้นๆ [16] จากข่าวสืบสวนของสำนักข่าว AP ที่รายงานเมื่อปี 2017 ระบุว่ากองกำลังรักษาสันติภาพได้ล่วงละเมิดทางเพศเด็กในประเทศเฮติในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา เนื่องจากอาหารที่ไม่เพียงพอจึงเกิดการใช้เรื่องเพศเพื่อแลกกับขนมและเงินสด เหยื่อรายหนึ่งระบุว่าตอนอายุ 12-15 ปี เธอถูกล่วงละเมิดโดยกองกำลังรักษาสันติภาพเกินกว่า 40 คน บางคนเป็นระดับผู้บังคับบัญชาซึ่งจ่ายเงินให้เหยื่อ 75 เซนต์ [17] [18] กรณีอื้อฉาวนี้พบว่าเป็นการกระทำของกองกำลังชาวศรีลังกา 134 นาย หลังจากมีรายงานออกมาทำให้กองกำลังส่วนใหญ่ถูกส่งกลับศรีลังกา แต่กลับไม่มีใครต้องติดคุก [19]

นอกจากนี้ ยังมีกรณีล่วงละเมิดโดยเจ้าหน้าที่ระดับสูงของสหประชาชาติ เช่นกรณีของ มาร์ตินา บรอสตรอม (Martina Brostrom) ผู้เคยทำงานกับโครงการเอดส์แห่งสหประชาชาติ (UNAIDS) ตั้งแต่ปี 2006 โดยมีตำแหน่งสุดท้ายเป็นที่ปรึกษาอาวุโส เธอระบุว่าหลุยส์ ลอเรส (Luiz Loures) รองผู้อำนวยการ UNAIDS ดันเธอเข้ามุมภายในลิฟต์ของโรงแรมแห่งหนึ่งที่กรุงเทพฯ ซึ่งเป็นสถานที่จัดประชุมนานาชาติเมื่อปี 2015 จากนั้นก็ใช้กำลังบังคับจูบปาก ลูบคลำและพยายามลากเธอเข้าไปในห้องของเขา โชคดีที่เธอสะบัดเขาจนหลุดและหลบหนีออกไปได้ ลอเรสปฏิเสธคำกล่าวหาประพฤติตัวไม่เหมาะสมและหลังการสืบสวนยาวนาน 14 เดือน มีการสรุปว่าคำกล่าวหาของบรอสตรอมไม่สามารถพิสูจน์ได้ ผลการสืบสวนนี้สร้างความไม่พอใจแก่บรอสตรอม นอกจากนี้ยังมีผู้หญิงคนอื่น ๆ อีก 2 คนที่ระบุว่าลอเรสล่วงละเมิดทางเพศในลักษณะเดียวกัน

ลอเรส วัย 61 ปี แถลงเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2018 ว่าจะไม่ขอดำรงตำแหน่งต่ออีกสมัย เมื่อเขาหมดวาระในปลายเดือนมีนาคม 2018 ที่ผ่านมา โดยโฆษกชี้แจงว่าเหตุผลนั้นไม่เกี่ยวข้องกับคดีล่วงละเมิดทางเพศ แม้เคยมีหลายคนเตือนมิเชล ซิดิเบ (Michel Sidibé) ผู้อำนวยการใหญ่ UNAIDS เกี่ยวกับพฤติกรรมของลอเรสต่อผู้หญิงในช่วง 3 ปีที่ผ่านมา แต่ระหว่างประชุมร่วมกับเจ้าหน้าที่เมื่อปลายเดือนกุมภาพันธ์ 2018 ซิดิเบปฏิเสธว่าไม่เคยได้รับคำเตือนใดๆ โดยซิดิเบได้ยกย่องการตัดสินใจของลอเรสว่า ‘กล้าหาญ’ และเป็นเรื่องดีสำหรับองค์กร  พร้อมบอกว่าพวกเจ้าหน้าที่สหประชาชาติที่ออกมากล่าวอ้างต่อสาธารณะว่าถูกล่วงละเมิดทางเพศนั้น ‘ไม่มีจรรยาบรรณ’

บรอสตรอมระบุว่าระหว่างการสืบสวน ซิดิเบพยายามโน้มน้าวให้เธอถอนฟ้องและยอมรับคำขอโทษจากลอเรส แต่ทั้งซิดิเบและลอเรสปฏิเสธว่าลอเรสไม่เคยต้องการขอโทษบรอสตรอม กระนั้นซิดิเบก็ยอมรับกับคณะกรรมการสืบสวนขององค์การอนามัยโลกว่า เขาได้บอกกับบรอส ตรอมไปว่ามันดีกว่าที่จะหาทางออกเพื่อปกป้องชื่อเสียงขององค์กรและได้พูดคุยเกี่ยวกับการเลื่อนตำแหน่งให้เธอ แต่บรอสตรอมปฏิเสธ หลังจากนั้นคณะกรรมการสืบสวนได้สรุปว่า ไม่มีหลักฐานเพียงพอที่จะยืนยันคำกล่าวอ้างของบรอสตรอม [20] [21]

ล่าสุดสหประชาชาติเผยว่า ได้รับข้อร้องเรียนว่ามีการประพฤติมิชอบทางเพศ 138 ครั้งในปี 2017 เกือบครึ่งหนึ่งเป็นการร้องเรียนกองกำลังรักษาสันติภาพ โดยเป็นการร้องเรียนที่ระบุถึงกองกำลังรักษาสันติภาพ 10 คณะ ทั้งหมด 62 ครั้ง และเจ้าหน้าที่ด้านการเมือง 1 ครั้ง โดยเฉพาะคณะรักษาเสถียรภาพในสาธารณรัฐแอฟริกากลางถูกร้องเรียนลดลงจาก 52 ครั้งในปี 2016 เหลือ 19 ครั้ง ทั้งนี้ประเทศกาบองเพิ่งประกาศถอนกองกำลังออกจากคณะทำงานชุดนี้ เพราะถูกกล่าวหาเรื่องล่วงละเมิดทางเพศและอีกหลายเรื่อง เลขาธิการใหญ่สหประชาชาติรับปากว่าจะตรวจสอบข้อกล่าวหาอย่างเคร่งครัด เพราะบุคคลเหล่านี้มีหน้าที่ปกป้องพลเรือนผู้อ่อนแอในพื้นที่สงคราม ไม่ควรข้องเกี่ยวกับการประพฤติมิชอบทางเพศ ปัจจุบันสหประชาชาติมีกองกำลังรักษาสันติภาพทั้งหมดไม่ต่ำกว่า 90,000 นาย [22]

UN มีความสําคัญอย่างไร

ภารกิจหลักที่องค์การสหประชาชาติทำมาโดยตลอดคือการรักษาสันติภาพและความมั่นคงระหว่าง ประเทศ เมื่อเกิดกรณีพิพาทขึ้น สหประชาชาติจะให้คณะมนตรีความมั่นคงเข้าไปแทรกแซงทันทีโดยเปิด การเจรจาระหว่างคู่กรณีทั้งสองเพื่อหาทางออกอย่างสันติแต่ถ้าหากการเจรจาไม่เป็นผลและมีการใช้อาวุธ เข้าทำสงครามกัน คณะมนตรีความมั่นคงก็จะบีบบังคับด้วย ...

จุดมุ่งมายขององค์การสหประชาชาติคืออะไร

วัตถุประสงค์ เพื่อธำรงไว้ซึ่งสันติภาพและความมั่นคงระหว่างประเทศ เพื่อพัฒนาความสัมพันธ์ฉันมิตรระหว่างประชาชาติทั้งหลาย โดยเคารพหลักการแห่งสิทธิเท่าเทียมกัน และการกำหนดเจตจำนงของตนเอง

องค์การสหประชาชาติ (UN) มีอะไรบ้าง

องค์การสหประชาชาติมีสำนักงานใหญ่อยู่ที่นครนิวยอร์ก ประเทศสหรัฐอเมริกา ปัจจุบันมีสมาชิก 189 ประเทศ ประกอบด้วยองค์กรหลัก 6 องค์กร คือ สมัชชา (General Assembly) คณะมนตรีความมั่นคง (Security Council) คณะมนตรีเศรษฐกิจและสังคม (Economic and Social Council : ECOSOC) คณะมนตรีภาวะทรัสตี (Trusteeship Council) ศาลยุติธรรมระหว่าง ...

ประโยชน์ที่ไทยได้รับมากที่สุดจากการเป็นสมาชิกองค์การสหประชาชาติ คือข้อใด

ประเทศไทยได้รับประโยชน์จากความร่วมมือกับสหประชาชาติในด้านต่าง ๆ ทั้งด้านสันติภาพและความมั่นคง ด้านการพัฒนา และสิทธิมนุษยชน งานทั้งสามด้านนี้มีส่วนเชื่อมโยงและสนับสนุนซึ่งกันและกัน โดยเฉพาะด้านการพัฒนา ประเทศไทยมีตัวอย่างของความสำเร็จในหลาย ๆ เรื่องในอดีต เช่นการลดอัตรา การเกิดของประชากร การขจัดวัณโรค และมาลาเรีย และใน ...

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

แปลภาษาไทย ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน อาจารย์ ตจต ศัพท์ทหาร ภาษาอังกฤษ pdf lmyour แปลภาษา ชขภใ ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมฟรี 2566 ขขขขบบบยข ่ส ศัพท์ทางทหาร military words หนังสือราชการ ตัวอย่าง หยน แปลบาลีเป็นไทย ไทยแปลอังกฤษ ประโยค การไฟฟ้านครหลวง การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ข้อสอบโอเน็ต ม.3 ออกเรื่องอะไรบ้าง พจนานุกรมศัพท์ทหาร เมอร์ซี่ อาร์สยาม ล่าสุด แปลภาษามลายู ยาวี Bahasa Thailand กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมออนไลน์ การ์ดจอมือสอง ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย คะแนน o-net โรงเรียน ค้นหา ประวัติ นามสกุล บทที่ 1 ที่มาและความสําคัญของปัญหา ร. ต จ แบบฝึกหัดเคมี ม.5 พร้อมเฉลย แปลภาษาอาหรับ-ไทย ใบรับรอง กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน PEA Life login Terjemahan บบบย มือปราบผีพันธุ์ซาตาน ภาค2 สรุปการบริหารทรัพยากรมนุษย์ pdf สอบโอเน็ต ม.3 จําเป็นไหม เช็คยอดค่าไฟฟ้า แจ้งไฟฟ้าดับ แปลภาษา มาเลเซีย ไทย แผนที่ทวีปอเมริกาเหนือ ่้แปลภาษา Google Translate กระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ 8 ขั้นตอน ก่อนจะนิ่งก็ต้องกลิ้งมาก่อน เนื้อเพลง ข้อสอบโอเน็ตม.3 มีกี่ข้อ คะแนนโอเน็ต 65 ตม กรุงเทพ มีที่ไหนบ้าง