การใช้สกุลเงินดิจิทัลในประเทศไทย

เงินดิจิทัลกับเสรีภาพทางการเงินสู่ระบบเศรษฐกิจประเทศไทย

ผู้แต่ง

คำสำคัญ:

เงินดิจิทัล, นวัตกรรมทางเทคโนโลยี, ความผันผวนของราคา, ความปลอดภัยของระบบ

บทคัดย่อ

การวิจัยในเชิงคุณภาพครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ ศึกษาแนวโน้มความเป็นไปได้ของเงินดิจิทัล และปัจจัยที่มีผลต่อการยอมรับการใช้เงินดิจิทัลในประเทศไทย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้เป็นแบบกึ่งโครงสร้าง ทำการสัมภาษณ์เชิงลึกกับผู้บริหารทั้งหมด 20 คน ผู้วิจัยใช้วิธีการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงเนื้อหา และสรุปผลการวิจัยเป็นเชิงพรรณนา ผลการวิจัย พบว่า แนวโน้มของเงินดิจิทัล ในประเทศไทยจะได้รับการยอมรับมากขึ้นเรื่อย ๆ ในอนาคต ผู้บริหารให้ความเห็นตรงกันมากที่สุดร้อยละ 85 และไม่เห็นด้วย เพียงร้อยละ 15 โดยมีสาเหตุดังนี้ ประการแรก เกิดจากนวัตกรรมทางเทคโนโลยี ที่เรียกว่า Blockchain ที่มีความล้ำสมัยมากที่นำไปสู่นวัตกรรมทางการบริหารจัดการทางการเงินในแนวใหม่ ประการที่สอง เพราะระบบธนาคารไม่สามารถที่จะตอบสนองความต้องการทางการเงินในยุคปัจจุบันได้อย่างมีประสิทธิภาพ ประการที่สาม ระบบการดำเนินงานของธนาคารมีการบริหารแบบรวมศูนย์ ประการที่สี่ เพราะค่าความผันผวนของค่าเงินแต่ละสกุล ประการที่ห้า เพราะความต้องการที่จะเพิ่มประสิทธิภาพทางการเงิน ให้สามารถทำธุรกรรมทางการเงินให้สะดวกรวดเร็วมากยิ่งขึ้น นอกจากนี้ ปัจจัยที่มีผลต่อการยอมรับที่จะใช้เงินดิจิทัลในประเทศไทย คือ ความน่าเชื่อถือของบริษัทผู้ออกเหรียญ ความผันผวนของราคา ผลตอบแทนของการถือครอง และความปลอดภัยของระบบ

Downloads

Download data is not yet available.

References

กองบรรณาธิการฮอตนิวส์. (2561). “คริปโตเคอเรนซี” คืออะไร. ฮอตนิวส์. สืบค้นจาก //www.siambusinessnews.com/7708

ทีมข่าวเศรษฐกิจ. (2558). ธปท.เตือนระวังเงินบิทคอยน์ ชี้ไร้กฎหมายคุ้มครอง-รองรับมีสิทธิ์สูญเอาง่าย ๆ สืบค้นจาก //www.thairath.co.th/content/410838

ไพฑูรย์ ไพรรอ. (2560). ทำไมแนวโน้มในระยะกลางของราคา Bitcoin จึงขึ้นอยู่กับญี่ปุ่นและเกาหลีใต้ สืบค้นจาก //www.gawao.com/แนวโน้ม-bitcoin/

ภาสกร ใหลสกุล. (2016). Bitcoin: Digital Currency สกุลเงินพลิกโลก. สืบค้นจาก //tednet.wordpress.com/2016/07/02/bitcoin-digital-currency-สกุลเงินพลิกโลก/)

อธิญชัย วีรดุษฎีนนท์. (2561). ‘สกุลเงินดิจิทัล’ มูลค่าแท้จริงอยู่ที่ความเชื่อมั่น. สืบค้นจาก //themomentum.co/cryptocurrency-bitcoin-feature/)

Armendariz, B., & Murdoch, J. (2010). The Economics of Microfinance, Second Edition. Cambridge, Massachusetts: MIT Press.

Banerjee, A., & Esther, D. (2005). Growth Theory through the Lens of Development Economics. Handbook of Economic Growth, 1A.

Beam. (2018). Crypto currency คืออะไร. Retrieved from //siamblockchain.com/2018/03/11/cryptocurrency-คืออะไร/

Beam. (2017). Bitcoin และเครือข่ายแบบกระจายคืออนาคตของโลก กล่าวโดยศาสตราจารย์มหาวิทยาลัย. Retrieved from //siamBlockchain.com/2017/07/06/university-professor-money-systems-are-in-the-phase-of-decentralization/)

Coinmarketcap. (2020). Coinmarketcap. Retrieved from www.coinmarketcap.com/

Cryptothailand. (2020). อีเธอเรียมและสกุลเงินอีเธอร์. Retrieved from //www.youtube.com/channel/UCDy6viWzKedPB9_oPIn0RsQ

King, R. G., & Levine, R. (1993). Finance, Entrepreneurship and Growth: Theory and Evidence. Journal of Monetary Economics, 32, 513–542.

Ledgerwood, J. (2000). Microfinance Handbook: Am Institutional and Financial Perspective. The Worldbank: Washington, D. C.

Morduch, J. (1998). Poverty, growth, and average exit time. Economics Letters, 59, 385-390.

Ruthven, Orlanda. (2001). Money Mosaics: Financial Choice and Strategy in a West Delhi Squatter Settlement. University of Manchester Institute for Development Policy and Management, Finance and Development Research Programme Paper 32.

Yessi Bello. (2018). Only 2.3% of Americans in survey trust Bitcoin Transfer Overseas. Retrieved from //www.coindesk.com/only-2-3-of-americans-in-survey-trust-bitcoin-transfers-overseas/

How to Cite

License

บทความที่ได้รับการตีพิมพ์เป็นลิขสิทธิ์ของ ผู้เขียน

ทัศนะและความคิดเห็นที่ปรากฏในบทความในวารสารเครือข่ายส่งเสริมการวิจัยทางมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์จะถือเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความนั้น และไม่ถือเป็นทัศนะและความรับผิดชอบของกองบรรณาธิการ

ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีได้ขับเคลื่อนการพัฒนาในหลายด้าน โดยเฉพาะด้านการเงิน ที่นอกจากจะช่วยให้ธุรกรรมการเงิน บริการทางการเงิน การจ่าย หรือการรับชำระเงินมีความสะดวกสบาย รวดเร็วแล้ว ยังได้พัฒนาสกุลเงินดิจิทัลขึ้นอีกด้วย

เงินดิจิทัล เป็นเงินที่ถูกสร้างขึ้นในโลกออนไลน์ โดยมีการบันทึกข้อมูลในระบบคอมพิวเตอร์ ซึ่งต้องใช้การเข้ารหัส จึงมีชื่อเรียกว่า Cryptocurrency ซึ่งเป้าหมายของการสร้าง Cryptocurrency อยู่ที่การพัฒนาเงินสกุลใหม่ขึ้นมาเป็นตัวกลางในการแลกเปลี่ยนสินค้าและบริการแทนเงินตราสกุลต่างๆที่ใช้กันในปัจจุบัน

ปัจจุบันมีเงินสกุลดิจิทัลมากกว่า 2,000 สกุลในโลกออนไลน์ เช่น BitCoin, Etherreum, Litecoin แต่ BitCoin เป็นที่รู้จักกันมากกว่าเงินดิจทัลสกุลอื่น เนื่องจากเป็นเงินดิจิทัลสกุลแรกที่มีการพัฒนาขึ้น

อย่างไรก็ตาม เนื่องจาก การยอมรับ cryptocurrency ในการซื้อสินค้าและบริการแทนเงินตราของแต่ละประเทศที่ใช้กันในปัจจุบันนี้ ยังมีเพียงบางประเทศเท่านั้น cryptocurrency จึงมีบทบาทในด้านการลงทุนมากกว่า โดยถูกจัดเป็นสินทรัพย์เพื่อการลงทุนประเภทหนึ่ง เช่นเดียวกับ หุ้น ทองคำ และมีแหล่งแลกเปลี่ยนซื้อขาย cryptocurrency ที่จัดตั้งขึ้นในรูปแบบเดียวกับตลาดหลักทรัพย์(Exchange) ทั่วไป และตลาดบางแห่งเปิดนักลงทุนใช้เงินดอลลาร์ซื้อ cryptocurrency ได้โดยตรง

กระบวนการผลิต BitCoin

BitCoin เป็น Cryptocurrency หรือเงินดิจิทัลสกุลหนึ่ง สร้างขึ้นบนเทคโนโลยี Blockchain จึงทำให้เมื่อพูดถึง Bitcoin ก็มักจะนึกถึง Blockchain คู่กันไป จึงดูหมือนกับว่า Bitcoin กับ Blockchain คือเรื่องเดียวกัน แต่ Bitcoin และ Blockchain มีความสัมพันธ์กัน ดังนั้นเพื่อให้เข้าใจ Bitcoin ดีขึ้น ต้องเริ่มจากทำความรู้จักกับ Blockchain ก่อน เพราะ Blockchain เป็นเทคโนโลยีที่ใช้สร้าง Bitcoin

Blockchain คือ เทคโนโลยีระบบหนึ่งที่มีการบันทึกข้อมูลโดยไม่ต้องผ่านศูนย์กลาง(Decentralized ledger) แต่เป็นระบบ Peer to Peer ซึ่งหมายถึง ทุกคน(หรือคอมพิวเตอร์ทุกเครื่อง) จะร่วมกันบันทึกข้อมูล ตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูล และเก็บไฟล์ข้อมูล ที่เป็นข้อมูลเดียวกัน และทุกคนสามารถเข้าถึงข้อมูลนี้ได้ เพราะต่างก็มีสำเนาอยู่กับตัว ทุกครั้งที่มีการทำธุรกรรมใหม่ทุกคนก็จะจัดการกับข้อมูลร่วมกัน คือบันทึก ยืนยันความถูกต้องของข้อมูลแล้ว เก็บไฟล์ข้อมูลทำสำเนาเก็บ

ข้อมูลธุรกรรมที่ถูกบันทึกไว้แล้ว ไม่มีใครคนใดคนหนึ่งสามารถเปลี่ยนแปลงหรือปลอมแปลงได้ เพราะการเปลี่ยนแปลงข้อมูล ต้องได้รับการตรวจสอบและยืนยันจากทุกคน วิธีการทำงานของ Blockchain นี้เองที่ได้นำมาผลิต Bitcoin ที่เรียกว่าการขุดเหมือง โดยทุกคนต้องแก้โจทย์คณิตศาสตร์ ร่วมกับกระบวนการบันทึก ยืนยันข้อมูล แต่โดยเหตุที่ต้องให้ทุกคนหรือคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องมายืนยันรายการ จึงจำเป็นต้องใช้ทรัพยากรในการประมวลผลมหาศาล ระบบ Bitcoin จึงออกแบบมาให้ให้รางวัลกับคนที่ทำหน้าที่ช่วยระบบประมวลผล ในรูปแบบของ Coin ใหม่ ซึ่งปกติจะเกิดขึ้นในระบบจำนวน 10-12.5 BitCoin ทุกๆ 10 นาที โดย BitCoin ถูกจำกัดจำนวนไว้ที่ 21 ล้านเหรียญ และตั้งแต่พัฒนามา BitCoin ได้ถูกขุดไปแล้ว 16 ล้านเหรียญ ด้วยเหตุนี้ ระยะหลังจึงมีการตั้งระบบให้คำนวณโจทย์นานขึ้น เวลาที่ทำธุรกรรมนานขึ้น เพื่อไม่ให้ BitCoin ออกมามากเกินไป จึงส่งผลให้ BitCoin ที่ซื้อขายแลกเปลี่ยนปรับตัวสูงขึ้นต่อเนื่อง

การซื้อขาย

BitCoin พัฒนาขึ้นในปี 2009 มีค่า 0.0001 ดอลลาร์ต่อ 1 BitCoin หรือ BTC และในช่วงปีแรกมูลค่าเพิ่มขึ้นเป็น 0.07 ดอลลาร์ต่อ 1 BitCoin และประมาณกันว่ามีการขุด Bitcoin ไปแล้ว 1.6 ล้านBTC ต่อมาในเดือนธันวาคม 2013 อัตราแลกเปลี่ยนอยู่ที่กว่า 1,000 ดอลลาร์ต่อ 1 BTC แต่ในปี 2014 หลายบริษัทที่รับแลกเปลี่ยน BitCoin ปิดตัวลง เช่น Mt.Gox บริษัทรับแลกเปลี่ยน BitCoin รายแรก เพราะถูกโจมตีจากแฮกเกอร์ มูลค่า BitCoin จึงร่วงลงไป

BitCoin กลับมาได้รับความนิยมอีกครั้งในช่วง 1-2 ปีที่ผ่านมา เพราะ ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ ฮ่องกง ออสเตรเลีย เริ่มเปิดกว้างยอมรับสกุลเงินดิจิทัล โดยแหล่งซื้อขายแลกเปลี่ยน BitCoin ปัจจุบันได้แก่ Coinbase, Gemini Exchange,Changelly,Cryptopia ในประเทศไทยมีหลายบริษัทที่ให้เปิดบัญชีซื้อขายBitcoin

แม้ Bitcoin จะบันทึกแบบ Decentralized ledger แต่ไม่มีการเปิดเผย ชื่อผู้ซื้อและผู้ขาย จึงเป็นสาเหตุหนึ่งที่ธนาคารแห่งประเทศไทย ขอความร่วมมือสถาบันการเงินไม่ให้ทำธุรกรรมที่เกี่ยวข้องกับ Cryptocurrency โดยให้เหตุผลว่า Cryptocurrency บางประเภทไม่มีชื่อผู้ออกที่ชัดเจน

BitCoin แทนเงินตราปัจจุบันได้หรือไม่

แม้มีร้านค้าจำนวนหนึ่งในหลายประเทศ ยอมรับ ให้ใช้ BitCoin ซื้อสินค้าได้ แต่ BitCoin ยังขาดคุณสมบัติที่เหมาะสมที่จะเป็นสื่อกลางแลกเปลี่ยนหรือเป็นเงินตราที่ชำระหนี้ได้ตามกฎหมาย เนื่องจาก

หนึ่ง Bitcoin เป็นเงินดิจิทัลสกุลหนึ่งที่พัฒนาขึ้นเพื่อการซื้อขายแลกเปลี่ยนในโลกออนไลน์ จึงเป็นเพียงตัวเลขในบัญชี เจ้าของเงินไม่ได้เห็นเงิน จับต้องไม่ได้ต่างจากเงินที่ใช้กันทั่วไป

สอง ไม่มีสินทรัพย์หนุนหลังเหมือนเงินตราทั่วไป ทำให้สกุล เงิน Bitcoin ไม่มีการรักษามูลค่าและไม่รู้ใครเป็นผู้กำหนดมูลค่า รวมทั้งยังไม่มีการควบคุมปริมาณเงิน ราคา BitCoin จึงมีความผันผวนสูง ขึ้นอยู่กับความต้องการของตลาด

สาม BitCoin ยังไม่มีการกำกับดูแลและยอมรับอย่างเป็นทางการจากรัฐบาลใดที่ชัดเจน แม้จะเปิดให้มีการซื้อขาย ดังนั้นผู้ทำธุรกรรมอาจไม่ได้รับความคุ้มครองตามสิทธิพื้นฐานของผู้ใช้บริการทางการเงินในกรณีกูกหลอกลวงหรือเกิดปัญหา และขณะนี้มีหลายประเทศกำลังพิจาณาแนวทางในการควบคุม

สี่ โดยที่ BitCoin อยู่ในระบบออนไลน์ จึงมีความเสี่ยงในด้านความปลอดภัยและอาจสูญหายได้หากถูกไวรัสเข้าระบบคอมพิวเตอร์ หรือมีการเจาะเข้าระบบ(Hack) คอมพิวเตอร์

ห้า สถานะของ BitCoin เมื่ออยู่ในบัญชีของเจ้าของ BitCoin มีสถานะเป็นเงินดิจิทัล เมื่อมีการลงทุนซื้อขายก็จะแปรแปรสภาพจากเงินแลกเปลี่ยนเป็นสิทธิเรียกร้อง และโดยที่ Bitcoin อยู่ในระบบเก็บข้อมูลแบบกระจาย Distributed Ledger ไม่มีศูนย์กลาง หากการลงทุนเกิดความเสียหาย ไม่รู้จะเรียกร้องความเสียหายจากใคร ซึ่งต่างจากระบบธนาคารที่มีการเก็บข้อมูลการฝากเงินแบบ Centralized Trust ซึ่งหากเกิดปัญหากับเงินฝาก เจ้าของบัญชีเงินฝากสามารถเรียกร้องความรับผิดชอบจากธนาคารได้

สุดท้ายนี้ แม้ BitCoin จะมีการแลกเปลี่ยนแต่ไม่ได้สร้างประโยชน์ให้กับระบบเศรษฐกิจอย่างแท้จริง เพราะเป็นการย้ายเงินจากบัญชีหนึ่งไปอีกบัญชีหนึ่ง ไม่ได้สร้างปริมาณเงินในระบบ ที่จะนำไปสู่การเกิดกิจกรรมทางเศรษฐกิจที่มีผลให้เศรษฐกิจเติบโต อีกทั้งยังมีความเสี่ยงจากการที่ธุรกรรมเกี่ยวข้องกับ BitCoin ต้องทำผ่านระบบเทคโนโลยีทั้งในและต่างประเทศ จนกล่าวได้ว่า ณ ขณะนี้ BitCoin ยังขาดความเหมาะสมที่จะเป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยนอย่างแท้จริง

กระทู้ที่เกี่ยวข้อง

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

แปลภาษาไทย ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน อาจารย์ ตจต ศัพท์ทหาร ภาษาอังกฤษ pdf lmyour แปลภาษา ชขภใ ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมฟรี 2566 ขขขขบบบยข ่ส ศัพท์ทางทหาร military words หนังสือราชการ ตัวอย่าง หยน แปลบาลีเป็นไทย ไทยแปลอังกฤษ ประโยค การไฟฟ้านครหลวง การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ข้อสอบโอเน็ต ม.3 ออกเรื่องอะไรบ้าง พจนานุกรมศัพท์ทหาร เมอร์ซี่ อาร์สยาม ล่าสุด แปลภาษามลายู ยาวี Bahasa Thailand กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมออนไลน์ การ์ดจอมือสอง ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย คะแนน o-net โรงเรียน ค้นหา ประวัติ นามสกุล บทที่ 1 ที่มาและความสําคัญของปัญหา ร. ต จ แบบฝึกหัดเคมี ม.5 พร้อมเฉลย แปลภาษาอาหรับ-ไทย ใบรับรอง กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน PEA Life login Terjemahan บบบย มือปราบผีพันธุ์ซาตาน ภาค2 สรุปการบริหารทรัพยากรมนุษย์ pdf สอบโอเน็ต ม.3 จําเป็นไหม เช็คยอดค่าไฟฟ้า แจ้งไฟฟ้าดับ แปลภาษา มาเลเซีย ไทย แผนที่ทวีปอเมริกาเหนือ ่้แปลภาษา Google Translate กระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ 8 ขั้นตอน ก่อนจะนิ่งก็ต้องกลิ้งมาก่อน เนื้อเพลง ข้อสอบโอเน็ตม.3 มีกี่ข้อ คะแนนโอเน็ต 65 ตม กรุงเทพ มีที่ไหนบ้าง