ผัก+ผล+ไม่+อะไร+ไม่ควรปั่นด้วยกัน

ยอดผู้ติดเชื้อโควิดวันพุธที่ 28 กรกฎาคม 2564 ทุบสถิติสูงสุดทุกวันที่ผ่านมา ทะลุ 16,533 ราย ขณะที่ทุกภาคส่วนกำลังพยายามควบคุมการแพร่ระบาดกันอย่างเต็มที่ เราทุกคนก็ต้องช่วยกันรับผิดชอบสังคม อย่าทำพฤติกรรมสุ่มเสี่ยงต่อการติดเชื้อ อย่างน้อยก็ดูแลรักษาสุขภาพส่วนตัวให้แข็งแรงกันเข้าไว้ในสถานการณ์แบบนี้

เมนูสู้โควิดวันนี้ชวนกิน ผัก กันอีกสักครั้ง

ผักมีประโยชน์มากต่อร่างกาย กระทรวงศึกษาธิการเขียนไว้ในหลักสูตรให้คุณครูพร่ำสอนมาตั้งแต่ชั้นประถมศึกษา แต่เท่าที่สังเกตคนรอบตัวเวลาสั่งข้าวแกง ก็จะเน้น หมู ไก่ กุ้ง ทอดมัน กุนเชียง หมูยอ ร้านอาหารดังๆ ส่วนใหญ่ก็โปรโมตเมนูเนื้อสัตว์มากกว่าเมนูผัก

ฝรั่ง คอส เซเลอรี่ มะม่วงเบาสุก แค่นี้ก็ทำน้ำผักปั่นสำหรับดื่มได้แล้ว

เพิ่งจะมาระยะหลังๆ ที่ยุคอาหารมังสวิรัติรุ่งเรือง ตามมาด้วยวีแกน ก้าวต่อไปจนถึง raw food ซึ่งได้รับความนิยมเฉพาะกลุ่ม ทุกวันนี้ภาครัฐยังคงต้องโปรโมตขอให้ประชาชน กินผักมากขึ้นเพื่อสุขภาพของตนเอง

ยิ่งมาถึงยุคโควิด-19 ผัก-ผลไม้ ได้รับการกล่าวถึงอีกครั้ง เพราะเป็นอีกทางรอดสำคัญของการทำให้ร่างกายแข็งแรงจากการ เสริมสร้างภูมิคุ้มกัน ไว้รับมือกับการติดเชื้อ

อ.แววตา เอกชาวนา ผู้เขียน blog "กินดี by แวว"

นักกำหนดอาหารวิชาชีพ อ.แววตา เอกชาวนา โพสต์ไว้ใน blog "กินดี by แวว" เกี่ยวกับการกินผักไว้ว่า “กินผักช่วยเพิ่มภูมิคุ้มกัน เป็นอาหารของ โพรไบโอติกส์ จุลินทรีย์ที่ดีในลำไส้ ลดความเสี่ยงโรคมะเร็งลำไส้ ป้องกันโรค NCDs”

NCDs (Non-Communicable Diseases) คือกลุ่มโรคไม่ติดต่อเรื้อรังและไม่สามารถแพร่กระจายจากคนสู่คน ไม่ได้มีสาเหตุจากการติดเชื้อ แต่เกิดจากการเสื่อมสภาพของร่างกาย และส่วนหนึ่งมาจากพฤติกรรมการใช้ชีวิตของแต่ละคน

เว็บไซต์ สสส. (สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ) ระบุว่า ปัจจุบันกลุ่มโรค NCDs ที่มีอัตราผู้ป่วยและผู้เสียชีวิตสูงสุด มีอยู่ 6 โรค ได้แก่ เบาหวาน หลอดเลือดสมองและหัวใจ ถุงลมโป่งพอง มะเร็ง ความดัน และ อ้วนลงพุง ซึ่งล้วนแล้วแต่อยู่ใน 7 อันดับโรคประจำตัวปัจจัยเสี่ยงสูงเสียชีวิต หากติดโรคโควิด-19

น้ำผัก :ทางเลือกของการกินอาหารให้ครบ 5 หมู่

อ.แววตา กล่าวด้วยว่า ทุกคนรู้ว่าผักนั้นดีและมีประโยชน์ ถ้ากินทุกวันให้ได้อย่างน้อยวันละ 250 กรัม (สองขีดครึ่ง) หรือประมาณมื้อละขีดก็ยังดี

องค์การอนามัยโลกก็แนะนำให้กินผัก-ผลไม้ให้ได้อย่างน้อยวันละ 400 กรัม หรือเกือบครึ่งกิโลกรัมต่อวัน แต่การจะมานั่งเคี้ยวผักวันละ 4-5 ขีดสำหรับคนบางคน โดยเฉพาะคนที่สุขภาพฟันไม่ค่อยดีแล้ว หรือผู้สูงวัย ก็อาจขาดแรงจูงใจ

อ.แววตาจึงแนะนำให้นำ “ผัก” มาปั่นทำ น้ำผักปั่น ดื่มกัน น่าจะคล่องคอดีขึ้นและแก้เครียดจากโควิด วิธีทำง่ายมาก หั่นผักทุกอย่างเป็นชิ้นเล็กๆ แล้วปั่นรวมกัน โดยแนะนำไว้หลายสูตร ดังนี้

น้ำผักปั่น สูตรที่ 1 : สับปะรด ผักคอส เซเลอรี่ มะเขือเทศ

น้ำผักปั่น สูตรที่ 1 : สับปะรด ผักคอส เซเลอรี่ มะเขือเทศ

สับปะรด 250 กรัม, ผักคอส (cos salad) 70 กรัม, เซเลอรี่ 500 กรัม, มะเขือเทศ 150 กรัม

  • สับปะรด มีสารพฤกษเคมีสีเหลือง คือมีสารเบต้าแคโรทีน ช่วยบรรเทาอาการไข้หวัด เสริมภูมิคุ้มกันในร่างกาย ลดอาการท้องผูก ลดเสมหะในลำคอ และอุดมด้วยวิตามซี
  • เซเลอรี่ เป็นผักที่มีสารโพลีฟีนอล ซึ่งเป็นตัวช่วยป้องกัน DNA ถูกทำลาย มีโซเดียมอินทรีย์ช่วยปรับสมดุลกรด-ด่างในเลือด และมีโพแทสเซียมสูง ช่วยขยายหลอดเลือด ป้องกันโรคหัวใจขาดเลือด

อ.แววตาให้ความเห็นเพิ่มเติมว่า “น้ำผักปั่นสูตรนี้ช่วยป้องกันความดันโลหิตสูง สูตรนี้สำหรับ 5-6 แก้ว ได้ปริมาณผักผลไม้แก้วละ 160-190 กรัม วันไหนๆ รีบ ทำสูตรนี้รับรองว่ากินผักผลไม้ได้เพียงพอ” และเพิ่มเติมเคล็ดลับเพื่อสุขภาพดีอีกว่า “เพิ่มวิตามินซีให้น้ำผัก บีบมะนาวผสมลงไปก่อนดื่มนะคะ”

น้ำผักปั่น สูตรที่ 2 : ฝรั่ง คอส เซเลอรี่ มะม่วงเบาสุก

น้ำผักปั่น สูตรที่ 2 : ฝรั่ง คอส เซเลอรี่ มะม่วงเบาสุก

  • ฝรั่ง เป็นผลไม้ที่วิตามินซีสูงมาก ช่วยชะลอวัยและริ้วรอย ที่สำคัญช่วยลดไขมันในเลือด เสริมสร้างภูมิต้านทานให้ร่างกาย
  • มะม่วงเบา รสชาติเปรี้ยวโดดเด่น มีวิตามินซีสูง และยังมีวิตามินเอกับเบต้าแคโรทีน แต่เนื้อกรอบจึงนิยมกินดิบ ถึงสุกแล้วก็ยังมีรสอมเปรี้ยวอยู่มากกว่าหวาน ช่วยให้น้ำผักปั่นมีรสชาติอมเปรี้ยวอมหวานชวนดื่ม  

สำหรับสูตรนี้ อ.แววตา มีคำแนะนำว่า ฝรั่ง คอส เซเลอรี่ มะม่วงเบา กับคุณสมบัติที่เนื้อสัตว์ไม่มี นั่นก็คือ วิตามินซี เบต้าแคโรทีน ใยอาหาร คลอโรฟิลด์ นอกจากแก้เครียดจากโควิด สูตรนี้ช่วยลดความดันโลหิต

น้ำผักปั่น สูตรที่ 3 : ฝรั่ง มะเขือเทศ คอส ตำลึงหวาน

น้ำผักปั่น สูตรที่ 3 : ฝรั่ง มะเขือเทศ คอส ตำลึงหวาน

ผักและผลไม้ เป็นอาหารที่อุดมไปด้วย วิตามิน เกลือแร่ ใยอาหาร และ สารต้านอนุมูลอิสระ หรือสารพฤกษเคมีต่างๆ ซึ่งผักและผลไม้แต่ละชนิดจะมีปริมาณสารอาหารแตกต่างกัน จึงควรเลือกกินให้หลากหลาย และกินให้หลากสี ควบคู่กันไป

เว็บไซต์ สำนักสารนิเทศ สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข ระบุว่า สารพฤกษเคมี (phytonutrients หรือ phytochemicals) เป็นสารที่พบได้ทั่วไปในพืช โดยพืชจะสังเคราะห์ขึ้นมาเพื่อป้องกันตัวเองจากเชื้อโรค แมลง และให้สีสสันกับพืช โดยสารพฤกษเคมีมักพบมากตามเม็ดสีของพืช มีคุณสมบัติต้านอนุมูลอิสระ ส่งเสริมระบบภูมิคุ้มกัน และต้านการอักเสบ ตลอดจนมีฤทธิ์ในการยับยั้งการเจริญของเซลล์มะเร็ง

กินผัก-ผลไม้ เพิ่มสารพฤกษเคมีขับเคลื่อนภูมิคุ้มกันให้ร่างกาย

อ.แววตา ให้ข้อเตือนใจไว้ด้วยว่า “การกินคืออาวุธ โลกอยู่ยาก เพราะโรคมากขึ้น การกินผักและผลไม้ จะเพิ่มสารพฤกษเคมีในร่างกายของเราให้มีปริมาณเพียงพอทุกวัน เป็นการขับเคลื่อนภูมิคุ้มกันให้มีฤทธิ์ทำลายล้างอนุมูลอิสระ สารต่อต้านอนุมูลอิสระ (antioxidant) ที่มีมากในผักและผลไม้จะไปโอบอุ้ม อนุมูลอิสระ (free radicals) ให้ลดพลังทำลายล้างร่างกายลง”

พร้อมกับอธิบายเพิ่มเติมว่า “อิเล็กตรอนที่เดียวดายของอนุมูลอิสระ ซึ่งชอบวิ่งไปจับเซลล์ดีทำลาย จะมีความคงที่ ไม่จุ้นจ้าน หยุดเผือก หยุดแทรกแซง โลกสงบ สยบทุกโรค ถ้าลดอนุมูลอิสระในร่างกายได้” ดีแน่แค่กินผักผลไม้ ไม่ว่าจะกินรูปแบบไหน ผักปั่นหรือผักกับข้าว หรือสลัด

กระทู้ที่เกี่ยวข้อง

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

แปลภาษาไทย ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน อาจารย์ ตจต ศัพท์ทหาร ภาษาอังกฤษ pdf lmyour แปลภาษา ชขภใ ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมฟรี 2566 ขขขขบบบยข ่ส ศัพท์ทางทหาร military words หนังสือราชการ ตัวอย่าง หยน แปลบาลีเป็นไทย ไทยแปลอังกฤษ ประโยค การไฟฟ้านครหลวง การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ข้อสอบโอเน็ต ม.3 ออกเรื่องอะไรบ้าง พจนานุกรมศัพท์ทหาร เมอร์ซี่ อาร์สยาม ล่าสุด แปลภาษามลายู ยาวี Bahasa Thailand กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมออนไลน์ การ์ดจอมือสอง ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย คะแนน o-net โรงเรียน ค้นหา ประวัติ นามสกุล บทที่ 1 ที่มาและความสําคัญของปัญหา ร. ต จ แบบฝึกหัดเคมี ม.5 พร้อมเฉลย แปลภาษาอาหรับ-ไทย ใบรับรอง กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน PEA Life login Terjemahan บบบย มือปราบผีพันธุ์ซาตาน ภาค2 สรุปการบริหารทรัพยากรมนุษย์ pdf สอบโอเน็ต ม.3 จําเป็นไหม เช็คยอดค่าไฟฟ้า แจ้งไฟฟ้าดับ แปลภาษา มาเลเซีย ไทย แผนที่ทวีปอเมริกาเหนือ ่้แปลภาษา Google Translate กระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ 8 ขั้นตอน ก่อนจะนิ่งก็ต้องกลิ้งมาก่อน เนื้อเพลง ข้อสอบโอเน็ตม.3 มีกี่ข้อ คะแนนโอเน็ต 65 ตม กรุงเทพ มีที่ไหนบ้าง