พระวินัยปิฎกในหมวดขันธกะ

ขันธกะ

ัมภีร์ขันธกะ หรือ ขันธกะ เป็นคัมภีร์หนึ่งในพระวินัยปิฎกเถรวาท มีเนื้อหาครอบคลุมพระไตรปิฎกเล่มที่ 4 ถึง 7 ว่าด้วยบทบัญญัติต่าง ๆ เกี่ยวกับความเป็นอยู่ของพระสงฆ์ รวมถึงขนบธรรมเนียม พิธีกรรม สังฆกรรม วัตรปฏิบัติ อาจาระ มารยาท และความประพฤติโดยทั่วไปของพระสงฆ์ เพื่อประโยชน์คือความงามในด้านอาจาระเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันของสงฆ์ ขันธกะ จัดเป็นพระวินัยฝ่าย อภิสมาจาริกาสิกขา ซึ่งไม่ได้เป็นสิกขาบทที่มาในพระปาติโมกข์ การจัดแบ่งดังกล่าวเป็นการแบ่งของสมาคมบาลีปกรณ์ของอังกฤษ ซึ่งแบ่งพระวินัยปิฎกออกเป็นสามหมวดคือ สุตตวิภังค์, ขันธกะ และปริวาร คัมภีร์ขันธกะ มีคัมภีร์อรรถกถาขยายความชื่อ สมันตปาสาทิกา (อรรถกถาพระวินัย ภาค 3) และมีคัมภีร์ฎีกาขยายความอรรถกถาชื่อ ฎีกาสารัตถทีปนี (ฎีกาพระวินัย ภาค 4).

12 ความสัมพันธ์: พระวินัยปิฎกพระไตรปิฎกมหาวรรคสมันตปาสาทิกาสมาคมบาลีปกรณ์สุตตวิภังค์อภิสมาจาริกาสิกขาอรรถกถาจูฬวรรคประเทศอังกฤษปริวารเถรวาท

พระวินัยปิฎก

ระวินัยปิฎก (Vinaya Piṭaka วินะยะปิฏะกะ) ถือเป็นส่วนหนึ่งของพระไตรปิฎก เป็นประมวลกฎข้อบังคับ เกี่ยวกับความประพฤติของเหล่าพระสงฆ์ ทั้งภิกษุและภิกษุณี ทว่า พระวินัยปิฎกนั้นมิได้มีแต่กฎข้อบังคับเท่านั้น หากยังมีเนื้อหาสะท้อนประวัติศาสตร์ของอินเดียในสมัยพุทธกาลด้วย รวมทั้ง ขนบธรรมเนียม ประเพณี และประวัติของบุคคลสำคัญบางคนในยุคนั้น เช่น ชีวกโกมารภัจจ์ เดิมนั้น พระวินัยปิฎกแบ่งได้เป็น 3 หมวดใหญ่ ๆ ได้แก.

ใหม่!!: ขันธกะและพระวินัยปิฎก · ดูเพิ่มเติม »

พระไตรปิฎก

ระไตรปิฎก (Tipiṭaka; त्रिपिटक) เป็นคัมภีร์ที่บันทึกคำสอนของพระโคตมพุทธเจ้า ไตรปิฎก แปลว่า ตะกร้า 3 ใบ เพราะเนื้อหาแบ่งเป็น 3 หมวดใหญ่ ๆ คือ.

ใหม่!!: ขันธกะและพระไตรปิฎก · ดูเพิ่มเติม »

มหาวรรค

ัมภีร์มหาวรรค หรือ มหาวรรค คือหมวดหมู่หนึ่งในคัมภีร์ขันธกะ อันเป็นคัมภีร์ที่สองในพระวินัยปิฎกเถรวาท ตามการจัดแบ่งของสมาคมบาลีปกรณ์ มหาวรรค มีเนื้อหาครอบคลุมพระไตรปิฎกเล่มที่ 4-5 มีเนื้อหาว่าด้วยหลักในการประพฤติในด้านขนบธรรมเนียมเพื่ออาจาระที่เหมาะสมของพระสงฆ์ โดยรวมหลักสิกขาบทในคัมภีร์มหาวรรคเรียกว่า สิกขาบทฝ่ายอภิสมาจาร หรือ สิกขาบทนอกพระปาติโมกข์ คัมภีร์มหาวรรคทั้งหมด จัดอยู่ในหมวดขันธกะ อันเป็นส่วนที่สองในพระวินัยปิฎก คู่กับอาทิพรหมจาริยกาสิกขา ที่เป็นข้อปฏิบัติอันเป็นสิกขาบทหลัก คือพระวินัยบัญญัติ อันเป็นสิกขาบทในพระปาติโมกข์ที่จัดอยู่ในหมวดสุตตวิภังค์ โดยสิกขาบทในคัมภีร์มหาวรรคไม่ได้จัดเป็นข้อห้ามตามสิกขาบทบัญญัติในพระปาติโมกข์ ดังนั้นพระสงฆ์ผู้ล่วงละเมิดข้อห้ามในคัมภีร์มหาวรรคก็ไม่ต้องอาบัติสูงสุดถึงปาราชิก โดยต้องเพียงอาบัติทุกกฎหรือถุลลัจจัย เนื้อหาในคัมภีร์มหาวรรค นอกจากขนบธรรมเนียมของพระสงฆ์แล้ว ยังมีเนื้อหาว่าด้วยเหตุการณ์สำคัญต่าง ๆ ในพระพุทธประวัติจำนวนมาก เช่น ในหมวดมหาขันธกะอันเป็นหมวดย่อยในคัมภีร์มหาวรรค มีเนื้อหากล่าวถึงพระพุทธประวัติตั้งแต่ครั้งปฐมโพธิกาล จนถึงมัชฌิมโพธิกาล จัดเป็นแหล่งข้อมูลทางประวัติศาสตร์ที่สำคัญของพระพุทธศาสนาในยุคแรก ๆ อีกด้วย มหาวรรค มาคู่กับ จูฬวรรค อยู่ในหมวดหมู่คัมภีร์ขันธกะแห่งพระวินัยปิฎกเช่นเดียวกัน.

ใหม่!!: ขันธกะและมหาวรรค · ดูเพิ่มเติม »

สมันตปาสาทิกา

มันตัปปาสาทิกา หรือ สมันตปาสาทิกา คือคัมภีร์อรรถกถาที่อธิบายขยายความพระวินัยปิฎก พระพุทธโฆษจารย์ หรือพระพุทธโฆสะเป็นผู้แต่งคัมภีร์สมันตปาสาทิกานี้ขึ้นในช่วงปีก่อน..

ใหม่!!: ขันธกะและสมันตปาสาทิกา · ดูเพิ่มเติม »

สมาคมบาลีปกรณ์

มาคมบาลีปกรณ์ (The Pali Text Society) ก่อตั้งขึ้นมาในคริสต์ศตวรรษที่ 19.ดร.

ใหม่!!: ขันธกะและสมาคมบาลีปกรณ์ · ดูเพิ่มเติม »

สุตตวิภังค์

ัมภีร์สุตตวิภังค์ หรือ วิภังค์ เป็นคัมภีร์หนึ่งในพระวินัยปิฎกเถรวาท มีเนื้อหาครอบคลุมพระไตรปิฎกเล่มที่ 1 ถึง 3 ว่าด้วยสิกขาบทในพระปาติโมกข์ของพระภิกษุสงฆ์และพระภิกษุณีสงฆ์ ซึ่งเป็นอาทิพรหมจาริยกาสิกขา การจัดแบ่งดังกล่าวเป็นการแบ่งของสมาคมบาลีปกรณ์ของอังกฤษ ซึ่งแบ่งพระวินัยปิฎกออกเป็นสามหมวดคือ สุตตวิภังค์, ขันธกะ และปริวาร คัมภีร์สุตตวิภังค์ มีคัมภีร์อรรถกถาขยายความชื่อ สมันตปาสาทิกา (อรรถกถาพระวินัย ภาค 1 - 2) และมีคัมภีร์ฎีกาขยายความอรรถกถาชื่อ ฎีกาสารัตถทีปนี (ฎีกาพระวินัย ภาค 1 - 3).

ใหม่!!: ขันธกะและสุตตวิภังค์ · ดูเพิ่มเติม »

อภิสมาจาริกาสิกขา

อภิสมาจาริกาสิกขา คือส่วนพระวินัย ที่พระพุทธเจ้าวางขึ้นแก่พระสงฆ์เพื่อเป็นหลักในการประพฤติในด้านขนบธรรมเนียมและเพื่ออาจาระที่เหมาะสมของพระสงฆ์ สิกขาบทหลักในอภิสมาจาริกาสิกขา เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า สิกขาบทนอกพระปาติโมกข์ หรือ สิกขาบทฝ่ายอภิสมาจาร อภิสมาจาริกาสิกขาทั้งหมด จัดอยู่ในหมวดขันธกะ อันเป็นส่วนที่สองในพระวินัยปิฎก คู่กับอาทิพรหมจาริยกาสิกขา ที่เป็นข้อปฏิบัติอันเป็นสิกขาบทหลัก คือพระวินัยบัญญัติ อันเป็นสิกขาบทในพระปาติโมกข์ จัดอยู่ในหมวดสุตตวิภังค์ รวมเรียกว่า พระวินั.

ใหม่!!: ขันธกะและอภิสมาจาริกาสิกขา · ดูเพิ่มเติม »

อรรถกถา

ัมภีร์อรรถกถาบาลีในปัจจุบันเป็นผลงานการแปลของพระพุทธโฆสะ ที่แปลยกจากภาษาสิงหลขึ้นสู่ภาษาบาลี อรรถกถา (Atthakatha; อ่านว่า อัดถะกะถา) คือคัมภีร์ที่รวบรวมคำอธิบายความในพระไตรปิฎกภาษาบาลี เรียกว่า คัมภีร์อรรถกถา บ้าง ปกรณ์อรรถกถา บ้าง อรรถกถา จัดเป็นแหล่งความรู้ทางพระพุทธศาสนาที่มีความสำคัญรองลงมาจากพระไตรปิฎก และใช้เป็นหลักฐานอ้างอิงอย่างแพร่หลายในวงการศึกษาพระพุทธศาสนา คัมภีร์อรรถกถา ไม่ใช่คำสอนของพระพุทธเจ้า แต่เป็นคัมภีร์ที่อธิบายความหรือคำที่ยากในพระไตรปิฎกให้เข้าใจง่ายขึ้น โดยยกศัพท์ออกมาอธิบายเป็นศัพท์ ๆ บ้าง ยกข้อความหรือประโยคยาวๆ มาขยายความให้ชัดเจนขึ้นบ้าง แสดงทัศนะและวินิจฉัยของผู้แต่งสอดแทรกเข้าไว้บ้าง ลักษณะการอธิบายความในพระไตรปิฎกของอรรถกถานั้น ไม่ได้นำทุกเรื่องในพระไตรปิฎกมาอธิบาย แต่นำเฉพาะบางศัพท์ วลี ประโยค หรือบางเรื่องที่อรรถกถาจารย์เห็นว่าควรอธิบายเพิ่มเติมเท่านั้น ดังนั้นบางเรื่องในพระไตรปิฎกจึงไม่มีอรรถกถาขยายความ เพราะอรรถกถาจารย์เห็นว่าเนื้อหาในพระไตรปิฎกส่วนนั้นเข้าใจได้ง่ายนั่นเอง.

ใหม่!!: ขันธกะและอรรถกถา · ดูเพิ่มเติม »

จูฬวรรค

ัมภีร์จูฬวรรค หรือ จูฬวรรค (คัมภีร์จุลวรรค หรือ จุลวรรค) แปลว่า หมวดเล็ก คือหมวดหมู่ที่สองในคัมภีร์ขันธกะ อันเป็นคัมภีร์ที่สองในพระวินัยปิฎกเถรวาท ตามการจัดแบ่งของสมาคมบาลีปกรณ์ จูฬวรรค มีเนื้อหาครอบคลุมพระไตรปิฎกเล่มที่ 6-7 มีเนื้อหาว่าด้วยหลักโดยเบ็ดเตล็ดในการประพฤติในด้านขนบธรรมเนียมเพื่ออาจาระที่เหมาะสมของพระสงฆ์ รวมไปถึงส่วนสังฆกรรมประเภทนิคหกรรมของพระสงฆ์ด้วย โดยรวมหลักสิกขาบทในคัมภีร์จูฬวรรคเรียกว่า สิกขาบทฝ่ายอภิสมาจาร หรือ สิกขาบทนอกพระปาติโมกข์ คัมภีร์จูฬวรรคทั้งหมด จัดอยู่ในหมวดขันธกะ อันเป็นส่วนที่สองในพระวินัยปิฎก คู่กับอาทิพรหมจาริยกาสิกขา ที่เป็นข้อปฏิบัติอันเป็นสิกขาบทหลัก คือพระวินัยบัญญัติ อันเป็นสิกขาบทในพระปาติโมกข์ที่จัดอยู่ในหมวดสุตตวิภังค์ โดยเนื้อหาส่วนใหญ่ในคัมภีร์จูฬวรรคภาคแรกเกี่ยวกับสังฆกรรมวิธีการลงนิคหกรรม, ปริวาสกรรม, และวิธีการระงับอธิกรณ์ มีเนื้อหาเกี่ยวสิกขาบทแต่เพียงเล็กน้อย โดยสิกขาบทในคัมภีร์จูฬวรรคไม่ได้จัดเป็นข้อห้ามตามสิกขาบทบัญญัติในพระปาติโมกข์ ดังนั้นพระสงฆ์ผู้ล่วงละเมิดข้อห้ามในคัมภีร์มหาวรรคก็ไม่ต้องอาบัติสูงสุดถึงปาราชิก โดยต้องเพียงอาบัติทุกกฎหรือถุลลัจจัย เนื้อหาในคัมภีร์จูฬวรรค แสดงถึงกระบวนการในการแก้ปัญหาอย่างมีระบบของคณะสงฆ์ (ญัตติกรรม) บางตอนมีเนื้อหาแสดงถึงขั้นตอนในกระบวนการยุติธรรมที่ผสมผสานกันระหว่างหลักเสียงข้างมาก (Majority rule) กับหลักการในพระธรรมวินัย เช่นใน เยภุยยสิกา เป็นต้น จูฬวรรค มาคู่กับ มหาวรรค อยู่ในหมวดหมู่คัมภีร์ขันธกะแห่งพระวินัยปิฎกเช่นเดียวกัน.

ใหม่!!: ขันธกะและจูฬวรรค · ดูเพิ่มเติม »

ประเทศอังกฤษ

อังกฤษ (England อิง(ก)ลันด์) หรือในอดีตเรียกว่า แคว้นอังกฤษ เป็นประเทศอันเป็นส่วนหนึ่งของสหราชอาณาจักร มีพรมแดนทางบกติดต่อกับสกอตแลนด์ทางเหนือ และเวลส์ทางตะวันตก ทะเลไอร์แลนด์ทางตะวันตกเฉียงเหนือ ทะเลเคลติกทางตะวันตกเฉียงใต้ ทะเลเหนือทางตะวันออก และช่องแคบอังกฤษซึ่งคั่นระหว่างอังกฤษกับยุโรปแผ่นดินใหญ่ พื้นที่ประเทศอังกฤษส่วนใหญ่ตั้งอยู่ทางตอนกลางและตอนใต้ของเกาะบริเตนใหญ่ในมหาสมุทรแอตแลนติกเหนือ ประเทศอังกฤษยังรวมถึงเกาะที่เล็กกว่าอีกกว่า 100 เกาะ เช่น หมู่เกาะซิลลีและเกาะไวต์ ภูมิประเทศของอังกฤษส่วนมากประกอบด้วยเขาเตี้ยๆ และที่ราบ โดยเฉพาะทางตอนกลางและตอนใต้ของอังกฤษ อย่างไรก็ตาม ทางเหนือและทางตะวันตกเฉียงใต้เป็นที่สูง วินเชสเตอร์เป็นเมืองหลวงเก่าของอังกฤษกระทั่งเปลี่ยนมาเป็นลอนดอนใน..

ใหม่!!: ขันธกะและประเทศอังกฤษ · ดูเพิ่มเติม »

ปริวาร

ัมภีร์ปริวาร หรือ ปริวาร เป็นคัมภีร์สุดท้ายในส่วนพระวินัยปิฎกเถรวาท มีเนื้อหาครอบคลุมพระไตรปิฎกเล่มที่ 8 มีเนื้อหาเป็นลักษณะคำถามคำตอบ โดยสรุปความจากเนื้อหาในพระวินัยปิฎก เพื่อประโยชน์ในการศึกษา การสอน รวมไปถึงการซักซ้อมเพื่อให้เกิดความเข้าใจในพระวินัยโดยชัดเจน ปริวาร จัดเป็นคัมภีร์ที่เปรียบเสมือนภาคผนวกของพระวินัยในส่วน อาทิพรหมจาริยกาสิกขา (สุตตวิภังค์) และอภิสมาจาริกาสิกขา (ขันธกะ) โดยคัมภีร์ปริวารแต่งโดยพระธรรมสังคหกาจารย์ในครั้งปฐมสังคายนา โดยได้ยกคัมภีร์ปริวารขึ้นสังคายนาหลังจากได้สังคายนารวบรวมในส่วนสุตตวิภังค์และขันธกะเสร็จแล้ว โดยคัมภีร์ปริวารจัดเป็นคัมภีร์สุดท้ายในพระวินัยปิฎก (การจัดแบ่งดังกล่าวเป็นการแบ่งของสมาคมบาลีปกรณ์ของอังกฤษ ซึ่งแบ่งพระวินัยปิฎกออกเป็นสามหมวดคือ สุตตวิภังค์, ขันธกะ และปริวาร) คัมภีร์ปริวาร มีคัมภีร์อรรถกถาขยายความชื่อ สมันตปาสาทิกา (อรรถกถาพระวินัย ภาค 3) และมีคัมภีร์ฎีกาขยายความอรรถกถาชื่อ ฎีกาสารัตถทีปนี (ฎีกาพระวินัย ภาค 4).

ใหม่!!: ขันธกะและปริวาร · ดูเพิ่มเติม »

เถรวาท

รวาท (อ่านว่า เถ-ระ-วาด) (theravāda เถรวาท, स्थविरवाद sthaviravāda สฺถวิรวาท; Theravada) โดยศัพท์แปลว่า "ตามแนวทางของพระเถระ" เป็นชื่อของนิกายที่เก่าแก่ที่สุดในศาสนาพุทธ ฝ่ายมหายานเรียกนิกายนี้ว่า หีนยาน (บาลี/สันสกฤต: हीनयान) นิกายเถรวาทเป็นนิกายหลักที่ได้รับการนับถือในประเทศศรีลังกา (ประมาณ 70% ของประชากรทั้งหมด) และประเทศในแผ่นดินเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ได้แก่ ไทย กัมพูชา ลาว และพม่า และเป็นส่วนน้อยในประเทศจีนและเวียดนาม โดยเฉพาะในมณฑลยูนนาน เนปาล บังกลาเทศที่เขตจิตตะกอง เวียดนามทางตอนใต้ใกล้ชายแดนกัมพูชา อินโดนีเซีย มาเลเซียมีนับถือทางตอนเหนือของประเทศ มีศาสนิกส่วนใหญ่เป็นชาวไทยและชาวสิงหล ตัวเลขผู้นับถือศาสนาพุทธนิกายเถรวาทอยู่ที่ประมาณ 100 ล้านคน สำหรับประเทศไทยมีผู้นับถือพุทธศาสนานิกายเถรวาทประมาณ 94% ของประชากรทั้งหมด (ข้อมูลจากกรมศาสนา เฉพาะประชากรอิสลามในประเทศไทยมีไม่น้อยกว่า 10 ล้านคน คิดเป็นสัดส่วนไม่น้อยกว่า 15% ของประชากรไทย ไม่นับผู้นับถือศาสนาคริสต์ ฮินดู สิกข์ และไม่มีศาสนา จึงเป็นไปได้ว่าชาวพุทธในประเทศไทย อาจมีไม่ถึง 80% ของจำนวนประชากรทั้งหมด) นิกายเถรวาทได้รับการนับถือคู่กับนิกายอาจริยวาท (คือนิกายมหายาน ในปัจจุบัน).

ใหม่!!: ขันธกะและเถรวาท · ดูเพิ่มเติม »

เปลี่ยนเส้นทางที่นี่:

ขันธกะปกรณ์ขันธกปกรณ์คัมภีร์ขันธกะคัมภีร์ขันธกะปกรณ์คัมภีร์ขันธกปกรณ์

กระทู้ที่เกี่ยวข้อง

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

แปลภาษาไทย ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน อาจารย์ ตจต ศัพท์ทหาร ภาษาอังกฤษ pdf lmyour แปลภาษา ชขภใ ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมฟรี 2566 ขขขขบบบยข ่ส ศัพท์ทางทหาร military words หนังสือราชการ ตัวอย่าง หยน แปลบาลีเป็นไทย ไทยแปลอังกฤษ ประโยค การไฟฟ้านครหลวง การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ข้อสอบโอเน็ต ม.3 ออกเรื่องอะไรบ้าง พจนานุกรมศัพท์ทหาร เมอร์ซี่ อาร์สยาม ล่าสุด แปลภาษามลายู ยาวี Bahasa Thailand กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมออนไลน์ การ์ดจอมือสอง ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย คะแนน o-net โรงเรียน ค้นหา ประวัติ นามสกุล บทที่ 1 ที่มาและความสําคัญของปัญหา ร. ต จ แบบฝึกหัดเคมี ม.5 พร้อมเฉลย แปลภาษาอาหรับ-ไทย ใบรับรอง กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน PEA Life login Terjemahan บบบย มือปราบผีพันธุ์ซาตาน ภาค2 สรุปการบริหารทรัพยากรมนุษย์ pdf สอบโอเน็ต ม.3 จําเป็นไหม เช็คยอดค่าไฟฟ้า แจ้งไฟฟ้าดับ แปลภาษา มาเลเซีย ไทย แผนที่ทวีปอเมริกาเหนือ ่้แปลภาษา Google Translate กระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ 8 ขั้นตอน ก่อนจะนิ่งก็ต้องกลิ้งมาก่อน เนื้อเพลง ข้อสอบโอเน็ตม.3 มีกี่ข้อ คะแนนโอเน็ต 65 ตม กรุงเทพ มีที่ไหนบ้าง