ความเหลื่อมล้ำทางการศึกษา มีอะไรบ้าง

กสศ.เสนอปรับสูตรจัดสรรงบประมาณ เพื่อลดภาระค่าใช้จ่ายการศึกษาให้ครัวเรือนยากจน เพิ่มทรัพยากรโรงเรียนด้อยโอกาส อุดหนุนสวัสดิการสังคม ยกระดับศูนย์เด็กเล็ก บัตรสวัสดิการนักเรียน เพื่อคุณภาพชีวิตของเด็ก กทม.

ดร.ภูมิศรัณย์ ทองเลี่ยมนาค รักษาการผู้อำนวยการสถาบันวิจัยเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (วสศ.) กล่าวว่า จากการวิเคราะห์ข้อมูลสถานการณ์ความเหลื่อมล้ำทางการศึกษาในกรุงเทพฯ พบว่า กรุงเทพฯ นับเป็นพื้นที่ซึ่งมีช่องว่างความเหลื่อมล้ำระหว่างคนรวยและคนจนสูงที่สุดในประเทศไทย จากข้อมูลการคัดกรองนักเรียนทุนเสมอภาค สังกัด สพฐ. ในกรุงเทพฯ พบว่า ครอบครัวของเด็กยากจนพิเศษของกรุงเทพฯ มีรายได้เพียง 1,964 บาทต่อคนต่อเดือน ต่ำกว่าเส้นความยากจนของสภาพัฒน์ซึ่งอยู่ที่ 2,762 บาทต่อคนต่อเดือน ทั้งนี้ COVID-19 ทำให้รายได้ครัวเรือนยากจนพิเศษทั้งประเทศลดลง คิดเป็น 7% เมื่อเปรียบเทียบกับก่อนมีสถานการณ์ COVID-19

ดร.ภูมิศรัณย์ กล่าวว่า ข้อมูลจากการสำรวจสภาวะเศรษฐกิจและสังคมของครัวเรือนล่าสุดเมื่อ พ.ศ. 2564 โดยสำนักงานสถิติแห่งชาติ พบว่าคนกรุงเทพฯ ต้องจ่ายค่าอุปโภคบริโภคต่อครัวเรือนเฉลี่ย 13,738 บาทต่อเดือน ค่าใช้จ่ายดังกล่าวสูงกว่าค่าเฉลี่ยของทั้งประเทศ 1.5 เท่า นอกจากนี้จากการสำรวจค่าใช้จ่ายทางการศึกษาของเด็กนักเรียนที่มีอายุต่ำกว่า 15 ปี ในพื้นที่กรุงเทพฯ พบว่า เด็กกรุงเทพฯ มีค่าใช้จ่ายทางการศึกษาเฉลี่ย 37,257 บาทต่อคนต่อปี ในจำนวนนี้เป็นค่าเล่าเรียนและค่าธรรมเนียมการศึกษาสูงถึง 26,247 บาท ที่เหลือเป็นค่าเสื้อผ้าและเครื่องแบบ 2,072 บาท ค่าหนังสือ เครื่องเขียน และอุปกรณ์ 2,175 บาท และค่าเดินทาง 6,763 บาท ตัวเลขเฉลี่ยเหล่านี้สูงกว่าทุกพื้นที่ในประเทศไทย สูงกว่าเฉลี่ยของทั้งประเทศซึ่งมีค่าใช้จ่าย 17,832 บาทต่อคนต่อปี ถึง 2 เท่า

ตัวเลขนี้กำลังบอกเราว่า คนกรุงเทพฯ กำลังเผชิญกับปัญหาค่าครองชีพที่สูงกว่าจังหวัดอื่นๆ ในแทบทุกมิติ ทั้งด้านค่าใช้จ่ายครัวเรือน รวมถึงค่าใช้จ่ายทางการศึกษา และแม้ประเทศไทยจะมีนโยบายเรียนฟรี 15 ปี แต่พบว่ายังไม่ครอบคลุมค่าใช้จ่ายทางการศึกษาอย่างเพียงพอ โดยเฉพาะสำหรับครัวเรือนยากจน ยิ่งคำนึงถึงสถานการณ์เงินเฟ้อในช่วงที่ผ่านมา อาจต้องถึงเวลาปรับสูตรการจัดสรรทรัพยากรทางการศึกษาอีกครั้งเพื่อลดความเหลื่อมล้ำ การเพิ่มทรัพยากรทางการศึกษาสำหรับโรงเรียนด้อยโอกาส รวมถึงเพิ่มการจัดสรรสวัสดิการทางสังคมด้านอื่นๆ เพื่อเพิ่มคุณภาพชีวิตเด็ก กทม. เช่น บัตรสวัสดิการนักเรียน นอกจากนี้ เนื่องจากปฐมวัยถือเป็น ช่วงวัยที่สำคัญที่สุดของการพัฒนาคุณภาพชีวิต จึงควรมุ่งพัฒนา ยกระดับคุณภาพศูนย์พัฒนาเด็กก่อนวันเรียนของกรุงเทพมหานคร ซึ่งมีอยู่ 290 แห่ง เพื่อดูแลบุตรหลานครอบครัวยากจน คนหาเช้ากินค่ำในกทม. กลุ่มผู้มีรายได้น้อย โดยเพิ่มมาตรฐานสถานพัฒนาเด็กปฐมวัย เพิ่มสวัสดิการครูพี่เลี้ยง และอาสาสมัคร การเชื่อมฐานข้อมูลเด็กปฐมวัยและส่งต่อไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

นอกจากนี้ กสศ.กำลังร่วมกับสำนักการศึกษา กรุงเทพมหานคร ในการบูรณาการฐานข้อมูลนักเรียน เพื่อเตรียมการจัดสรรเงินอุดหนุนอย่างมีเงื่อนไข หรือทุนเสมอภาค ในปีการศึกษา 2565 เพื่อช่วยลดภาระค่าใช้จ่ายด้านการศึกษา ให้กับครัวเรือนยากจน

รักษาการผู้อำนวยการสถาบันวิจัยเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (วสศ.) กล่าวว่า หากเปรียบเทียบ ค่าใช้จ่ายด้านการศึกษาของเด็กที่มาจากครัวเรือนยากจน 10% ล่างสุดของกรุงเทพฯ จะอยู่ที่ 6,600 บาทต่อคนต่อปี ในขณะที่เด็กที่มาจากครัวเรือนที่รวยที่สุด 10% แรกของกรุงเทพฯ มีค่าใช้จ่ายทางการศึกษาที่สูงถึง 78,200 บาทต่อคนต่อปี ตัวเลขห่างกันถึง 12 เท่า ค่าเล่าเรียนและค่าธรรมเนียมที่แตกต่างกันอย่างมากบ่งบอกถึงคุณภาพการศึกษาที่นักเรียนกลุ่มยากจนและกลุ่มที่มีฐานะดี มีโอกาสได้รับแตกต่างกัน

(การสำรวจสภาวะเศรษฐกิจและสังคมของครัวเรือน พ.ศ. 2564 สำนักงานสถิติแห่งชาติ)

“แม้ว่าค่าใช่จ่ายทางการศึกษาของครอบครัวยากจนจะไม่สูงนัก แต่จากข้อมูลบัญชีรายจ่ายด้านการศึกษาแห่งชาติ( National Education Account : NEA) พบว่า โดยเฉลี่ยครัวเรือนยากจนต้องแบกรับรายจ่ายด้านการศึกษาเมื่อเทียบกับรายได้ สูงกว่าครัวเรือนที่ร่ำรวยถึง 4 เท่า ความเหลื่อมล้ำของการเข้าถึงทรัพยากรทางการศึกษาอาจนำไปสู่การหลุดออกนอกระบบการศึกษาของเด็กยากจน รวมถึงคุณภาพการศึกษาที่พวกเขาได้รับภายใต้ทรัพยากรอันจำกัด ซึ่งทำให้พวกเขามิอาจหลุดพ้นออกจากวงจรของความยากจนแบบข้ามรุ่นได้”

ทองพูล บัวศรี ผู้จัดการโครงการครูข้างถนน (ไซต์ก่อสร้างและริมทางรถไฟ ) กล่าวว่า เราจำเป็นต้องอธิบายถึงภาวะที่ครอบครัวต่าง ๆ ประสบ อันเป็นผลกระทบจากวิกฤตโควิด-19 ประเด็นแรกคือการตกงาน ขาดรายได้ เป็นสภาวะ ‘จนเฉียบพลัน’ ที่เดิมแม้จะมีรายได้น้อย แต่ยังพอประคองชีวิตให้อยู่รอดได้ แต่เมื่อธุรกิจหลายอย่างปิดตัวลง เกิดปัญหาเศรษฐกิจที่กินวงกว้าง งานรับจ้างรายวันที่เคยมีจึงหายไป ทำให้ไม่มีรายได้เข้าสู่ครอบครัวเลย ประเด็นต่อมาคือเหตุ ‘อุบัติ’ ในครอบครัว หมายถึงเคสที่คนหารายได้หลักในบ้านเสียชีวิตจากโควิด-19 ทิ้งให้อีกหลายชีวิตเจอกับความยากลำบากยิ่งขึ้น หรือบางบ้านผู้ปกครองเสียศูนย์จากวิกฤต เด็กจึงต้องออกจากโรงเรียนเพื่อทำงานหารายได้ดูแลน้อง ๆ นอกจากนี้ปัญหารุมเร้ายังนำมาสู่ความเครียด เป็นบ่อเกิดของความรุนแรงในครอบครัวที่มีแนวโน้มสูงขึ้น ประเด็นที่สามคือการที่เด็ก ๆ ถูกผลักจากครอบครัวให้ลงไปอยู่บนท้องถนนมากขึ้น เราจะเห็นเด็กที่เร่ขายของตามสี่แยก หรือตามแหล่งท่องเที่ยวกลางคืนบริเวณย่านใจกลางเมือง

“เมื่อมองไปที่ปลายทาง มูลเหตุเหล่านี้ล้วนนำความสุ่มเสี่ยงด้านความปลอดภัยและคุณภาพชีวิตมาที่ตัวเด็กโดยตรง เราจะพบผู้ปกครองที่มีปัญหาด้านสุขภาพจิตและการควบคุมอารมณ์มากขึ้น ขณะที่ปัจจัยยังชีพพวกข้าวสาร อาหารแห้ง นับว่าเป็นสิ่งที่สามารถเข้ามาช่วยให้ครอบครัวในชุมชนต่าง ๆ ผ่อนคลายจากสภาวะที่เผชิญได้บ้าง ส่วนภาระที่หัวหน้าครอบครัวต้องเผชิญโดยตรงเกี่ยวกับค่าใช้จ่ายด้านการศึกษา ได้แก่ ค่าธรรมเนียมการศึกษา เครื่องแบบ กระเป๋า รองเท้า หนังสือเรียนอุปกรณ์การเรียน พบว่าในปีการศึกษาใหม่นี้ หลายอย่างได้ปรับราคาสูงขึ้น” ทองพูล กล่าว

ทองพูล กล่าวว่า จากการลงพื้นที่ก่อนเปิดเทอมเพื่อนำสิ่งของบริจาคไปมอบให้เด็ก ๆ ในพื้นที่ชุมชนหลายแห่งในกรุงเทพมหานคร ข้อมูลบ่งชี้ว่า รองเท้านักเรียนมีราคาต่อคู่อยู่ที่ประมาณ 320 บาท เสื้อนักเรียนตัวละประมาณ 200 บาท กระโปรงหรือกางเกงราว 250 บาท กระเป๋านักเรียนราคาเฉลี่ย 200 กว่าบาท ยังไม่รวมว่ามีค่าชุดพละ 250 บาท ชุดลูกเสือซึ่งต้องมีส่วนประกอบของเครื่องแบบเช่น ผ้าพันคอ หมวก วอกเกิ้ล เข็มขัด ฯลฯ รวมแล้วตกราว 650 บาท หรือในส่วนนักเรียนหญิงจำเป็นต้องมีรองเท้าผ้าใบสำหรับชั่วโมงพละร่วมด้วย เมื่อคิดมูลค่าของทั้งหมดรวมเบ็ดเสร็จ ค่าใช้จ่ายจึงมีมากกว่า 2,000 บาท ต่อคน ซึ่งแน่นอนว่าหลายครอบครัวที่ไม่มีรายได้หรือรายได้ลดลง ต้องนับว่าเป็นภาระที่หนักมากในช่วงเวลานี้

“นอกจากนี้เราต้องไม่ลืมว่า แม้เด็กส่วนใหญ่ไม่เสียค่าเทอม แต่ยังมีค่าอุปกรณ์การเรียน ค่าประกันอุบัติเหตุ 500 บาท หรือค่าจ้างพิเศษในส่วนของครูสอนภาษาอังกฤษ ภาษาจีน ค่าเรียนคอมพิวเตอร์ ประมาณ 300 บาทต่อวิชา รวมแล้วค่าธรรมเนียมเหล่านี้จึงมากกว่า 1, 000 – 2,000 บาทต่อคน เหล่านี้คือค่าใช้จ่ายแท้จริงที่ส่งผลต่อโอกาสทางการศึกษาของเด็กเยาวชนคนหนึ่ง ซึ่งพ่อแม่ผู้ปกครองต้องแบกรับ และหมายความไปถึงความมั่นคงทางการศึกษาทั้งในระยะสั้นและระยะยาว ที่เด็กจะอยู่ในระบบการศึกษาต่อไปได้จนถึงปลายทาง” ทองพูล กล่าว

ณัฏฐนาท ปฐมวรชัย เครือข่ายผู้ปกครองในสถานศึกษา กล่าวว่า ตลอดการศึกษาของลูกชายใน 14 ปี พบว่าไม่เคยได้เรียนฟรีเลย ซึ่งขณะนี้ลูกชายของแม่มดกำลังขึ้นชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 แม้เป็นโรงเรียนรัฐบาลแต่ก็ยังต้องเสียค่าใช้ให้สถานศึกษาปีละประมาณ 7,000 บาท ร่วมกับค่าใช้จ่ายอื่น ๆ เช่น เสื้อผ้า อุปกรณ์การเรียน หรือค่าเดินทาง จะตกอยู่ที่ปีละประมาณ 20,000 บาท แต่เมื่อย้อนไปก่อนหน้านั้นในชั้นประถมศึกษาน้องเรียนโรงเรียนเอกชนสอน 3 ภาษา ทำให้ปีนึงค่าใช้จ่ายอยู่ที่ปีละ 100,000 กว่าบาท พอขึ้นมัธยมศึกษาตอนต้นแม้เป็นโรงเรียนรัฐบาลแต่เรียนในห้องอีพี ทำให้เสียค่าใช้มากกว่าห้องเรียนอื่น ๆ อยู่ที่ปีละประมาณ 50,000 บาท ทั้งนี้แม้พ่อมีรายได้พอสมควรจากอาชีพวิศวกรคอมพิวเตอร์ แต่ก็เป็นรายได้ทางเดียวของครอบครัวที่เลี้ยงชีวิตทั้ง 4 คนทั้ง พ่อ แม่ ลูกชาย และคุณย่า

ณัฏฐนาท เล่าต่อว่า ในสถานการณ์โควิด-19 ที่ลูกชายต้องเรียนอยู่ที่บ้านมา 2 ปีแล้ว ภาระค่าใช้จ่ายที่มากขึ้นอย่างเห็นได้ชัดคือค่าอาหาร รวมไปถึงกิจกรรมสันทนาการอื่น ๆที่ปกติน้องจะได้ทำที่โรงเรียนก็ต้องจัดหาอุปกรณ์เหล่านั้นมาไว้ที่บ้าน เช่น อุปกรณ์กีฬา ดนตรี หรืออุปกรณ์ที่ใช้เรียนออนไลน์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

“เราเห็นว่ารัฐมีโครงการชุดนักเรียนราคาถูกเราเลยไปซื้อ แต่พบว่ามีไม่เพียงพอในบางไซส์ ทั้งนี้ได้คุยกับผู้ปกครองที่ไปเจอโดยบังเอิญที่ร้าน ซึ่งมีลูกชายขนาดใกล้เคียงกันและเขากำลังมาซื้อชุดลูกเสือ เราเลยแลกไลน์กันเผื่อนำชุดลูกเสือของลูกเราที่ไม่ได้ใช้แล้วมอบให้ เราเลยคิดว่ามันน่าจะดีถ้ามีโครงการหรือหน่วยงานที่เชื่อมข้อมูลตรงนี้ ให้สามารถนำชุดนักเรียนที่ไม่ได้ใช้แล้วถูกส่งมอบต่อให้ครอบครัวที่จำเป็นต้องใช้ เพื่อลดภาระค่าใช้จ่ายในวันเปิดเทอม” ณัฏฐนาท กล่าว

เช่นเดียวกับ ประกาย ช่างถม เครือข่ายผู้ปกครองในสถานศึกษา กล่าวว่า ก่อนเกิดสถานการณ์โควิด-19 ครอบครัวมีรายได้จากทั้งพ่อที่เป็นพนักงานราชการของกรุงเทพมหานคร โดยมีเงินเดือน 12,000 บาท และยังมีรายได้จากแม่ที่เปิดร้านทำผมเล็ก ๆ ในชุมชนที่ทำให้พออยู่ได้ทั้งครอบครัว แต่เมื่อเกิดสถานการณ์โควิด-19 ทำให้รายได้จากร้านทำผมเป็นศูนย์ ทำให้บ้านที่อยู่กัน 5 คน คือ พ่อ แม่ ลูก 2 คนที่ยังอยู่ในวัยเรียน และย่าที่เป็นผู้สูงอายุจึงแทบไม่พอใช้

ในแต่ละปีครอบครัวนี้จะต้องเสียค่าใช้จ่ายสำหรับการศึกษาให้ลูกทั้ง 2 คนปีละประมาณ 20,000 บาท คนโตกำลังขึ้นชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 ใช้จ่ายมากกว่าน้องคนเล็กที่กำลังขึ้นชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 อยู่พอสมควร อีกทั้งในระหว่างภาคการศึกษายังมีภาระที่ต้องจ่ายเพิ่มเติมตลอดปีการศึกษา เช่น ค่ารายงาน หรือค่าอุปกรณ์ต่าง ๆ และซ้ำเติมด้วยการเรียนออนไลน์อยู่บ้าน ที่ครอบครัวต้องแบกรับทั้งค่าอินเตอร์เนท อุปกรณ์แท็บเล็ตที่ต้องซื้อใหม่ รวมถึงค่าอาหารที่ต้องเผื่อไว้ตลอดทั้งวัน

“แม่ซื้อรองเท้าของทั้ง 2 คนเผื่อไว้ให้หลวม ๆ แต่ไม่เท่าไหร่ก็ต้องซื้อใหม่แล้ว ส่วนที่เขาบอกว่าเรียนฟรีค่าเทอม แต่ไม่รู้มีค่าอะไรบ้างอีกตั้งเยอะที่แต่ละปีโรงเรียนยังเรียกเก็บมา ตอนนี้เงินไม่พอใช้ที่บ้านก็ต้องไปหยิบยืมญาติมาจ่ายไปก่อนก็เกรงใจเขา” ประกาย กล่าว

ความเหลื่อมล้ำการศึกษามีอะไรบ้าง

Highlights.
1. ครอบครัวของนักเรียนยากจนมีรายได้ 15 บาทต่อวัน ... .
2. 44.5% ของเด็กนักเรียนในพื้นที่ห่างไกลไม่ได้กินข้าวเช้า ... .
3. เด็กในพื้นที่ทุรกันดารต้องเดินเท้ากว่า 20 กิโลเมตรเพื่อไปโรงเรียน ... .
4. เด็กนักเรียนราว 200,000 คนกำพร้าและหลุดออกจากระบบการศึกษา ... .
5. สภาพบ้านที่ทรุดโทรมก็มีผลต่อการศึกษา.

ทำไมถึงเกิดความเหลื่อมล้ำทางการศึกษา

ปัญหาความเหลื่อมล้ำทางการศึกษามีสาเหตุหลักจากปัญหาความยากจน และหากจะแก้ ก็ต้องใช้เวลาและเข้าให้ตรงจุด ปัจจุบันประเทศไทยมีเด็กเยาวชนที่ขาดโอกาสทางการศึกษาที่ดีกว่า 4.3 ล้านคน ซึ่งการให้เงินอุดหนุนเป็นหนึ่งในวิธีแก้เบื้องต้นของ กองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (กสศ.) ก่อนที่จะขยับขยายแผนการเพื่อแก้ปัญหาไม่ให้ความยากจน ...

การศึกษาที่เท่าเทียม คือ อะไร

จากคำอธิบายเหล่านี้ประกอบกัน การศึกษาที่เท่าเทียม จึงหมายถึงการที่ 'ทุกคน' สามารถ 'เข้าถึง' การศึกษาที่มีคุณภาพได้อย่างเท่าเทียม/เสมอภาค' (equitable participation in quality education) และฟรี/สามารถจ่ายได้ ซึ่งเป็นหัวใจสำคัญของ #SDG4.

ความเหลื่อมล้ําทางสังคม มีอะไรบ้าง

เหลื่อมล้ำทางชาติพันธุ์ ความเหลื่อมล้ำทางผิวสี ความเหลื่อมล้ำทางเพศสภาพ ความเหลื่อมล้ำเพราะถิ่นที่อยู่ อาศัย ความเหลื่อมล้ำด้านอายุ สังคม โอกาส และรวมถึงความเหลื่อมล้ำในศักดิ์ศรีของความเป็นมนุษย์ (การดู ถูกหรือรังเกลียดคนจน) ปัญหาทั้งหมดนี้เป็นสิ่งที่ส่งผลให้เกิดความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจตามมา และถ้าหาก

กระทู้ที่เกี่ยวข้อง

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

แปลภาษาไทย ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน อาจารย์ ตจต ศัพท์ทหาร ภาษาอังกฤษ pdf lmyour แปลภาษา ชขภใ ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมฟรี 2566 ขขขขบบบยข ่ส ศัพท์ทางทหาร military words หนังสือราชการ ตัวอย่าง หยน แปลบาลีเป็นไทย ไทยแปลอังกฤษ ประโยค การไฟฟ้านครหลวง การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ข้อสอบโอเน็ต ม.3 ออกเรื่องอะไรบ้าง พจนานุกรมศัพท์ทหาร เมอร์ซี่ อาร์สยาม ล่าสุด แปลภาษามลายู ยาวี Bahasa Thailand กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมออนไลน์ การ์ดจอมือสอง ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย คะแนน o-net โรงเรียน ค้นหา ประวัติ นามสกุล บทที่ 1 ที่มาและความสําคัญของปัญหา ร. ต จ แบบฝึกหัดเคมี ม.5 พร้อมเฉลย แปลภาษาอาหรับ-ไทย ใบรับรอง กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน PEA Life login Terjemahan บบบย มือปราบผีพันธุ์ซาตาน ภาค2 สรุปการบริหารทรัพยากรมนุษย์ pdf สอบโอเน็ต ม.3 จําเป็นไหม เช็คยอดค่าไฟฟ้า แจ้งไฟฟ้าดับ แปลภาษา มาเลเซีย ไทย แผนที่ทวีปอเมริกาเหนือ ่้แปลภาษา Google Translate กระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ 8 ขั้นตอน ก่อนจะนิ่งก็ต้องกลิ้งมาก่อน เนื้อเพลง ข้อสอบโอเน็ตม.3 มีกี่ข้อ คะแนนโอเน็ต 65 ตม กรุงเทพ มีที่ไหนบ้าง