โรคที่ถ่ายทอดทางพันธุกรรม มีอะไรบ้าง

พันธุกรรม (Heredity) เป็นการถ่ายทอดลักษณะที่เหมือนกันของสิ่งมีชีวิต ที่ส่งต่อกันจากรุ่นหนึ่งไปสู่อีกรุ่นหนึ่ง ลักษณะดังกล่าวเรียกกันว่า “กรรมพันธุ์” โดยการถ่ายทอดพันธุกรรมเป็นได้ทั้งเชิงปริมาณและคุณภาพ ซึ่งหมายรวมถึง ตัวโรคทางพันธุกรรม หรือความผิดปกติทางร่างกายด้วยเช่นกัน

โรคพันธุกรรมเป็นโรคที่เกิดจากยีนหรือโครโมโซมที่อยู่ในเซลล์โดยที่ยีนทำหน้าที่ควบคุมการทำงานของอวัยวะทุกอย่างในร่างกาย เช่น สร้างสีผิว สร้างความแข็งแรงของกระดูก สร้างประสิทธิภาพในการทำงานของสมอง

โครโมโซมหญิงชายล้วนมีความแตกต่างกัน โดยยีนในร่างกายมนุษย์ที่มีไม่ต่ำกว่า 20,000 ยีน และยีนจะรวมตัวกันอยู่บนสายดีเอ็นเอที่ขดรวมกันเป็นโครโมโซม โดยคนปกติจะมีโครโมโซม 23 คู่ หรือ 46 แท่งโดยมีโครโมโซมคู่ที่ 23 ทำหน้าที่แบ่งเพศโดยเพศชายจะมีโครโมโซมเป็น XY และเพศหญิงเป็น XX นั่นเอง

เมื่อโครโมโซมหรือยีนผิดปกติ เมื่อนั้นโรคพันธุกรรมมาเยือน

หลักฐานทางวิทยาศาสตร์อ้างอิงแน่ชัดถึงการเปลี่ยนแปลงของยีนและโครโมโซม โดยหากมีความผิดปกติของโครโมโซมแม้แต่นิดเดียวหรือมีความผิดปกติของยีนแม้แต่อันเดียวก็สามารถก่อให้เกิดโรคพันธุกรรมได้ ดังนั้น โรคพันธุกรรมจึงมีการแสดงออกได้ในทุกอวัยวะของร่างกาย โรคที่เกิดจากโครโมโซมผิดปกติ โดยมากมักเป็นอุบัติเหตุทางพันธุกรรมในขณะเกิดการปฏิสนธิของทารกในครรภ์มารดา โดยที่บิดา มารดาไม่มีความผิดปกติใดๆ เช่น กลุ่มอาการดาวน์ ในทางกลับกัน โรคที่เกิดจากยีนผิดปกติ มักเป็นโรคที่ถ่ายทอดต่อกันมาจากรุ่นสู่รุ่นโดยที่ทั้งพ่อและแม่ทราบมาก่อน จำแนกได้ดังนี้

1.โรคทางพันธุกรรมที่มีการถ่ายทอดแบบพันธุ์เดิม คือ มีคนเป็นโรคทุกรุ่น เช่น มะเร็งเต้านม หรือมะเร็งลำไส้ใหญ่บางชนิด กลุ่มอาการมาร์แฟน (Marfan Syndrome) โรคท้าวแสนปม (Neurofibromatosis)

2.โรคทางพันธุกรรมที่ถ่ายทอดทางกรรมพันธุ์แบบพาหะ โดย บิดา-มารดาไม่มีอาการ แต่มียีนผิดปกติแฝงอยู่ในร่างกายหรือที่เรียกว่า “พาหะ” เป็นโรคธาลัสซีเมีย หูหนวกบางชนิด โรคกล้ามเนื้ออ่อนแรงจากไขสันหลังเสื่อมในทารก (Spinal Muscular Dystrophy) กลุ่มอาการความผิดปกติทางด้านการเผาผลาญพลังงานและสารอาหารในทารกหลายๆ โรค (Inborn Error Metabolism)

3.โรคทางพันธุกรรมที่การถ่ายทอดผ่านยีนในฝ่ายหญิง โดยที่ฝ่ายหญิงเป็นพาหะแบบไม่รู้ตัว แต่เมื่อมีบุตรชาย บุตรชายสามารถเป็นโรคได้ เช่น โรคกล้ามเนื้ออ่อนแรง(Duchenne Muscular Dystrophy) โรคเลือดออกหยุดยาก (Hemophilia A and B)

การป้องกันโรคทางพันธุกรรมทำได้ง่ายกว่าการรักษา

โรคที่ถ่ายทอดทางพันธุกรรม ส่วนมากเกิดจากความผิดปกติของยีนในร่างกาย ซึ่งมีการแสดงออกของอาการหลากหลายในทุกระบบ เช่น สมอง ไขสันหลัง กล้ามเนื้อ ตา หู หัวใจ ไต กระดูก เลือด ฯลฯ หลายโรคมีความรุนแรงสูง จากการศึกษาวิจัยที่ผ่านมาพบว่า คนคนหนึ่งสามารถมียีนแฝงของโรคพันธุกรรม ที่ก่อให้เกิดความทุพพลภาพได้ตั้งแต่ 0-7 โรค การตรวจคัดกรองยีนและทราบว่าตนเองมียีนแฝงหรือไม่ นำมาซึ่งการวางแผนครอบครัวและการเจริญพันธุ์ที่มีประสิทธิภาพ

นวัตกรรมการตรวจคัดกรองโรคพันธุกรรมก่อนมีบุตร

อดีต การคัดกรองโรคพันธุกรรมก่อนมีบุตรจำกัดอยู่ที่โรคโลหิตจางธาลัสซีเมีย ซึ่งจัดว่าเป็นโรคที่มีพาหะมากในประเทศไทยเท่านั้น โรคอื่นๆ ที่ทำให้เกิดความทุพพลภาพจะถูกตรวจต่อเมื่อมีประวัติครอบครัว หรือมีบุตรคนแรกเป็นโรคก่อน แล้วสืบข้อมูลย้อนกลับไป ซึ่งหมายความว่าครอบครัวต้องเผชิญกับโรคที่เกิดขึ้นแล้ว ต้องผ่านช่วงเวลาที่เป็นทุกข์และท้อถอย ในการดูแลเด็กที่เจ็บป่วยหนัก ดังนั้น เทคโนโลยีในปัจจุบันจึงพัฒนาให้มีการตรวจครอบคลุมพาหะของโรคที่ไม่แสดงอาการเพิ่มขึ้น ซึ่งล้วนแต่เป็นโรคที่ก่อให้เกิดความทุพพลภาพในทารก เช่น โรคกล้ามเนื้ออ่อนแรงชนิดต่างๆ โรคเลือดออกหยุดยาก ภาวะบกพร่องทางสติปัญญา และอื่นๆ

โรคทางพันธุกรรม คือจากพ่อและแม่/พ่อหรือแม่สู่ลูกนั้นเกิดจากการถ่ายทอดของสารพันธุกรรมหรือดีเอ็นเอ ซึ่งเรามักจะคุ้นตากับภาพโครโมโซมเรียงตัวเป็นแท่งๆ ภายในจะมีสารพันธุกรรมที่เรียกว่า "ยีน" ซึ่งยีนคือหน่วยย่อยของการถ่ายทอดรหัสพันธุกรรม เพื่อสร้างโปรตีนโดยองค์ประกอบเล็กสุดของยีนคือสายดีเอ็นเอนั่นเอง และโรคที่เกิดจากการถ่ายทอดทางพันธุกรรมสามารถเกิดได้จากความผิดปกติของทั้งโครโมโซมและยีน ในที่นี้เราจะพูดกันถึงโรคที่เกิดจากความผิดปกติของยีน

โรคที่เกิดจากความผิดปกติของยีนที่อยู่บนโครโมโซมชนิดออโตโซม (autosome) และความผิดปกติของยีนที่อยู่บนโครโมโซมเพศ (X หรือ Y) เป็นโรคที่สามารถพบได้บ่อยและการส่งต่อความผิดปกติไปถึงรุ่นลูกหรือหลานได้ ดังนั้นพ่อแม่กลุ่มเสี่ยงจึงต้องมีการซักประวัติว่าในเครือญาติมีคนเป็นโรคที่ถ่ายทอดทางพันธุกรรมหรือไม่ โดยต้องดูประวัติของเครือญาติ 3-4 รุ่น เพื่อตรวจสอบและป้องกันการเกิดโรคก่อนตั้งครรภ์ การสังเกตอาการเป็นเรื่องสำคัญ เพราะพ่อแม่บางคู่ไม่เคยได้รับการตรวจเลือดหรือดีเอ็นเอ เมื่อคลอดลูกแล้วจึงไม่ทราบเลยว่าลูกมีโรคอะไรแฝงมาด้วยหรือไม่จะรู้ตัวอีกทีก็ตอนที่ลูกมีอาการแล้ว โรคที่เกิดจากการถ่ายทอดทางยีนมีมากเป็นพันๆ โรค แต่โรคที่พบได้บ่อย คือ

โรคเลือดจางธาลัสซีเมีย

เป็นโรคที่เรียกได้ว่าเป็นภัยเงียบและดูไม่น่ากลัว เพราะถ้าพ่อแม่คนใดคนหนึ่งเป็นแค่พาหะคนเดียว โอกาสที่ลูกจะเป็นโรคจะไม่มีเลย แต่ถ้าพ่อแม่มียีนแฝงธาลัสซีเมียมาเจอกันโอกาสที่ลูกจะเป็นก็มีมากขึ้น ซึ่งเป็นหนึ่งใน โรคทางพันธุกรรม

เมื่อสมาชิกใหม่ของครอบครัวเป็นโรคธาลัสซีเมีย คุณพ่อคุณแม่อย่าเพิ่งหมดกำลังใจนะครับ เพราะโรคนี้หากผู้ป่วยได้รับการดูแลอย่างใกล้ชิดและถูกวิธี ลูกน้อยของคุณก็สามารถดำรงชีวิตได้อย่างปกติสุขเหมือนคนปกติ  โรคธาลัสซีเมียมีหลายชนิดและรุนแรงแตกต่างกันมาก ทารกที่มีอาการของโรคขั้นรุนแรงมากจะเสียชีวิตตั้งแต่ในครรภ์หรือเมื่อคลอดเพียง 1 - 2 ชั่วโมง แต่นั่นก็เป็นเพียงส่วนน้อยเท่านั้น ส่วนมากพบว่าผู้ป่วยจะมี 2 กลุ่ม คือ

1. ไม่มีอาการเลยหรือมีอาการไม่มาก แต่จะซีดลงเมื่อมีไข้ ไม่สบาย

2. อาการรุนแรงปานกลางจนถึงรุนแรงมาก ผู้ป่วยจะซีด อาจสังเกตหรือตรวจพบตั้งแต่อายุเพียง 2 - 3 เดือนแรก ถ้ารุนแรงมากจะมีตาเหลือง อ่อนเพลีย เจริญเติบโตไม่สมอายุ ม้ามและตับโต ลักษณะกระดูกใบหน้าเปลี่ยนรูป ที่เรียกว่า “หน้าธาลัสซีเมีย” แต่ปัจจุบันถ้าผู้ป่วยได้รับการรักษาอย่างถูกต้องหน้าตาแบบนี้ก็จะไม่มีแล้วนะครับ ในระยะยาวจะมีกระดูกเปราะหักง่าย เจ็บป่วยไม่สบายบ่อยๆ ภาวะแทรกซ้อนที่พบมากขึ้นในวัยผู้ใหญ่ คือ นิ่วในถุงน้ำดี โรคข้อ ธาตุเหล็กเกินทำให้มีตับแข็ง เป็นเบาหวาน หัวใจวาย มีการติดเชื้อบ่อย เป็นต้น

3 วิธี ดูแลรักษาผู้เป็นธาลัสซีเมีย

การรักษาส่วนใหญ่เป็นการรักษาที่วางแผนเฉพาะผู้ป่วยแต่ละรายโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ โดยผู้ปกครองควรได้รับความรู้ คำแนะนำ มีการปรึกษาหารือกับแพทย์เพราะแพทย์จะต้องประเมินระดับความรุนแรงของคนไข้ก่อนจะเลือกการรักษาที่เหมาะสม ซึ่งปัจจุบันมีการรักษาผู้ป่วย 3 แบบ คือ

1. การดูแลทั่วไป ผู้ป่วยต้องมีสุขอนามัยที่ดี สะอาด รับประทานอาหารครบ 5 หมู่ หลีกเลี่ยงอาหารที่มีธาตุเหล็กสูงเพราะผู้ป่วยมีธาตุเหล็กสูงอยู่แล้ว รับประทานยาวิตามินโฟเลทตามแพทย์สั่ง ในเด็กฉีดวัคซีนได้ครบถ้วนเหมือนเด็กปกติ โดยเฉพาะอย่างยิ่งวัคซีนป้องกันตับอักเสบ หลีกเลี่ยงการออกกำลังกายหักโหม หลีกเลี่ยงการกระแทกรุนแรงเพราะกระดูกเปราะอาจหักได้ง่าย

2. รักษาด้วยการให้เลือดในรายที่มีข้อบ่งชี้ แพทย์จะให้เลือดในรายที่มีอาการอ่อนเพลียเนื่องจากซีด ในเด็กมักให้เมื่อระดับฮีโมโกลบินต่ำกว่า 7 กรัม/เดซิลิตร ผู้ป่วยกลุ่มนี้เมื่ออายุมากขึ้นอาจต้องให้เลือดถี่ขึ้นๆ เพราะม้ามโต ซึ่งแพทย์อาจพิจารณาตัดม้ามเฉพาะในรายที่มีความจำเป็นจริงๆ ส่วนเด็กกลุ่มอาการรุนแรงมาก ซึ่งมักมีอาการซีดตั้งแต่ปีแรก และฮีโมโกลบินต่ำมาก ในอดีตส่วนใหญ่จะเสียชีวิตตั้งแต่ 10 ปีแรก แต่ปัจจุบัน หากผู้ป่วยได้รับเลือดอย่างสม่ำเสมอทุก 3 สัปดาห์ จะช่วยให้ระดับเลือดสูงปกติ ส่งผลให้ร่างกายเจริญเติบโตได้ดี อายุยืน ใบหน้าไม่เปลี่ยนรูปและม้ามไม่โต แต่ต้องรับเลือดสม่ำเสมอตลอดไปและต้องรับยาขับธาตุเหล็กร่วมไปด้วยเพื่อขับเหล็กที่เกินออก ปัจจุบันใช้ยาขับเหล็ก Desferal® ฉีดเข้าใต้ผิวหนัง โดยใช้เครื่องขับยา (ทำงานโดยแบตเตอรี่) วันละ 10 ชั่วโมง สัปดาห์ละ 5 - 6 วัน ทำให้ผู้ป่วยแข็งแรงและอายุยืนยาวได้ หรือสามารถใช้ยาขับเหล็กชนิดรับประทานอีก 2 ชนิด คือยา Deferasirox และยา Deferiprone

3. รักษาให้หายขาดโดยการปลูกถ่ายเซลล์ต้นกำเนิดเม็ดเลือด (ไขกระดูก เลือดสายสะดือ เลือดจากเส้นเลือด) ซึ่งได้ผลดี หายขาดถึงร้อยละ 80 – 90 แต่ควรมีผู้บริจาคที่ไม่เป็นโรค (เป็นพาหะก็ได้) และมีลักษณะพันธุกรรมของเนื้อเยื่อ (HLA) ตรงกันกับผู้ป่วย (พี่น้องพ่อแม่เดียวกันมีโอกาสเข้ากันได้ 1 ใน 4) ปัจจุบันอาจขอผู้บริจาคจากศูนย์บริการโลหิต สภากาชาดไทยหรือจากต่างประเทศได้ แต่โอกาสที่จะเข้ากับผู้ป่วยได้น้อยกว่าพี่น้องพ่อแม่เดียวกัน และการรักษาวิธีนี้จะได้ผลดีมากในเด็กเล็ก ค่าใช้จ่ายค่อนข้างสูง มีภาวะแทรกซ้อนจากการรักษาได้ด้วย ดังนั้นแพทย์และผู้ปกครองจึงต้องพิจารณาอย่างรอบคอบในการเลือกรักษาโดยวิธีนี้ ส่วนการรักษาด้วยวิธียีนบำบัดแม้จะประสบผลสำเร็จแล้วก็ตาม การรักษาดังกล่าวจะได้ผลดีเฉพาะในผู้ป่วยบางราย และมีค่าใช้จ่ายในการรักษาสูงในหลักมากกว่า 30 ล้านบาท เมื่อมีลูกเป็นโรคธาลัสซีเมีย พ่อแม่ควรมีส่วนร่วมกับแพทย์ในการดูแลลูกให้ดีที่สุด โดยทำความเข้าใจเกี่ยวกับสาเหตุของโรค อาการของโรค แนวทางการรักษาโรค ปฏิบัติตามคำแนะนำของแพทย์ ร่วมในการดูแลรักษาอย่างใกล้ชิดตั้งแต่เริ่มแรกที่แพทย์วินิจฉัย ศึกษาหาความรู้เมื่อมีโอกาสจากหนังสือ Website ต่างๆ และหากมีข้อสังเกตหรือมีข้อสงสัยใดๆ ควรปรึกษาแพทย์ เพราะแม้มีหลักการในการปฏิบัติตน และการรักษาในโรคนี้ แต่ในรายละเอียดและการปฏิบัติในแต่ละรายอาจมีข้อปลีกย่อยแตกต่างกัน และถ้าจะมีลูกอีกต้องปรึกษาขอคำแนะนำจากแพทย์ก่อนมีครรภ์

โรค G6PD

จี-6-พีดี (G6PD) เป็นชื่อย่อของเอนไซม์กูลโคส-6-ฟอสเฟตดีไฮโดรจีเนส ซึ่งเป็นเอนไซม์ที่มีอยู่ในเม็ดเลือดแดง มีประโยชน์ในการป้องกันการถูกทำลายของเม็ดเลือดแดงจากยา อาหาร หรือสารเคมีบางชนิด

ภาวะพร่องเอนไซม์ G6PD ในเม็ดเลือดแดงนั้นเป็น โรคทางพันธุกรรม เกิดจากความผิดปกติของยีน G6PD ที่อยู่บนโครโมโซมเพศ คือโครโมโซม X ดังนั้นภาวะนี้จะติดตัวไปตลอดชีวิตและอาจถ่ายทอดไปยังลูกหลานได้ โดยส่วนใหญ่ผู้ชายที่มีโครโมโซม X ที่ผิดปกติเพียงแท่งเดียวมักจะมีอาการและมีผลมากกว่าผู้หญิง ซึ่งส่วนใหญ่จะไม่มีอาการ (แฝง) แต่ถ่ายทอดพันธุกรรมดังกล่าวได้ ยา อาหาร หรือสารเคมีบางอย่างอาจกระตุ้นให้ผู้มีภาวะนี้เกิดอาการเม็ดเลือดแดงแตก ซีดลง และมีอาการดีซ่าน ตัวเหลืองตาเหลือง และปัสสาวะเป็นสีดำหรือสีโค้กได้ ดังนั้นผู้มีภาวะนี้ควรทราบรายชื่อยา อาหาร และสารเคมีที่ควรหลีกเลี่ยง ทั้งนี้ภาวะพร่องเอ็นไซม์ G6PD ในแต่ละบุคคล อาจมีอาการแสดงของภาวะเม็ดเลือดแดงแตกรุนแรงมากน้อยแตกต่างกัน ขึ้นกับระดับของภาวะพร่องเอนไซม์ซึ่งแตกต่างกันไปและขึ้นกับขนาดของยา ปริมาณอาหารหรือสารเคมีที่ได้รับด้วย นอกจากนี้การติดเชื้อต่างๆ เช่น ไข้หวัด หลอดลมอักเสบ ก็อาจทำให้เกิดภาวะเม็ดเลือดแดงแตกได้ ดังนั้นจึงจำเป็นต้องแจ้งให้แพทย์ทราบถึงการมีภาวะบกพร่องเอ็นไซม์ G6PD ก่อนการรักษาทุกครั้ง

การปฎิบัติตัว

1. แจ้งให้แพทย์ทราบเสมอว่ามีภาวะนี้

2. เมื่อเกิดอาการไม่สบาย ควรปรึกษาแพทย์ไม่ซื้อยารับประทานเอง

3. เมื่อเกิดภาวะเม็ดเลือดแดงแตก ควรไปพบแพทย์เพื่อรับการรักษาในทันที

4. หลีกเลี่ยงยา อาหาร หรือสารเคมี ที่อาจกระตุ้นให้เกิดอาการ

5. เมื่อจะมีบุตร ควรได้รับคำปรึกษาและคำแนะนำจากแพทย์ เพื่อให้ทราบถึงอัตราเสี่ยงของการที่บุตรจะมีภาวะนี้ แต่โดยส่วนใหญ่การมีพันธุกรรมดังกล่าวไม่เป็นข้อบ่งชี้ในการยุติการตั้งครรภ์ การคัดเลือกตัวอ่อน และการตรวจวินิจฉัยก่อนคลอด

โรคถ่ายทอดทางพันธุกรรม มีอะไรบ้าง

โรคที่ถ่ายทอดทางพันธุกรรม มีอะไรบ้าง.
1. โรคธาลัสซีเมีย ... .
2. โรคฮีโมฟีเลีย ... .
3. ตาบอดสี ... .
4. โรคมะเร็งเม็ดเลือดขาว หรือลูคีเมีย ... .
5. โรคเบาหวาน ... .
เลือกประกันภัยสุขภาพที่ใช่ อุ่นใจเมื่อต้องเข้ารักษาตัวในโรงพยาบาล...คลิก.

โรคใดไม่ถ่ายทอดทางพันธุกรรม เฉลย

ข้อนี้ ตอบโรคหัวใจค่ะ

สาเหตุของโรคถ่ายทอดทางพันธุกรรมเกิดจากสิ่งใด

โรคทางพันธุกรรม คือจากพ่อและแม่/พ่อหรือแม่สู่ลูกนั้นเกิดจากการถ่ายทอดของสารพันธุกรรมหรือดีเอ็นเอ ซึ่งเรามักจะคุ้นตากับภาพโครโมโซมเรียงตัวเป็นแท่งๆ ภายในจะมีสารพันธุกรรมที่เรียกว่า "ยีน" ซึ่งยีนคือหน่วยย่อยของการถ่ายทอดรหัสพันธุกรรม เพื่อสร้างโปรตีนโดยองค์ประกอบเล็กสุดของยีนคือสายดีเอ็นเอนั่นเอง และโรคที่เกิดจากการ ...

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

แปลภาษาไทย ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน อาจารย์ ตจต ศัพท์ทหาร ภาษาอังกฤษ pdf lmyour แปลภาษา ชขภใ ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมฟรี 2566 ขขขขบบบยข ่ส ศัพท์ทางทหาร military words หนังสือราชการ ตัวอย่าง หยน แปลบาลีเป็นไทย ไทยแปลอังกฤษ ประโยค การไฟฟ้านครหลวง การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ข้อสอบโอเน็ต ม.3 ออกเรื่องอะไรบ้าง พจนานุกรมศัพท์ทหาร เมอร์ซี่ อาร์สยาม ล่าสุด แปลภาษามลายู ยาวี Bahasa Thailand กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมออนไลน์ การ์ดจอมือสอง ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย คะแนน o-net โรงเรียน ค้นหา ประวัติ นามสกุล บทที่ 1 ที่มาและความสําคัญของปัญหา ร. ต จ แบบฝึกหัดเคมี ม.5 พร้อมเฉลย แปลภาษาอาหรับ-ไทย ใบรับรอง กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน PEA Life login Terjemahan บบบย มือปราบผีพันธุ์ซาตาน ภาค2 สรุปการบริหารทรัพยากรมนุษย์ pdf สอบโอเน็ต ม.3 จําเป็นไหม เช็คยอดค่าไฟฟ้า แจ้งไฟฟ้าดับ แปลภาษา มาเลเซีย ไทย แผนที่ทวีปอเมริกาเหนือ ่้แปลภาษา Google Translate กระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ 8 ขั้นตอน ก่อนจะนิ่งก็ต้องกลิ้งมาก่อน เนื้อเพลง ข้อสอบโอเน็ตม.3 มีกี่ข้อ คะแนนโอเน็ต 65 ตม กรุงเทพ มีที่ไหนบ้าง