พอลิเมอร์และมอนอเมอร์คืออะไรและแตกต่างกันอย่างไร

พอลิเมอร์ (polymer) คือ สารประกอบโมเลกุลที่มีขนาดใหญ่และมีมวลโมเลกุลมาก เกิดจากมอนอเมอร์ (monomer) ซึ่งเป็นโมเลกุลเดี่ยวอาจเป็นชนิดเดียวกันหรือต่างชนิดกัน จำนวนหลายพันหลายหมื่นโมเลกุลมายึดต่อกันด้วยพันธะโคเวเลนซ์

ประเภทของพอลิเมอร์สามารถจำแนกตามเกณฑ์ได้ดังนี้
1. แหล่งกำเนิดของพอลิเมอร์ แบ่งเป็น 2 ประเภท คือ พอลิเมอร์ธรรมชาติ มีทั้งที่เป็นสารอินทรีย์ (แป้ง ไกลโคเจน เซลลูโลส) และเป็นสารอนินทรีย์ (แร่ซิลิเกตและทรายซิลิกา) และพอลิเมอร์สังเคราะห์ เช่น พลาสติก ยางสังเคราะห์ และเส้นใยสังเคราะห์ เป็นต้น
2. ชนิดของมอนอเมอร์ที่เป็นองค์ประกอบในโมเลกุล แบ่งเป็น 2 ประเภท คือ โฮโมพอลิเมอร์ (homopolymer) คือ พอลิเมอร์ที่ประกอบด้วยมอนอเมอร์ชนิดเดียวกัน เช่น พอลิเอทิลีน เป็นพอลิเมอร์ที่มีมอนอเมอร์คือเอทิลีนเหมือนกันหมด และโคพอลิเมอร์ (copolymer) คือ พอลิเมอร์ที่ประกอบด้วยหน่วยเล็ก ๆ ของมอนอเมอร์ต่างชนิดกัน

เส้นใย เช่น ฝ้าย ขนสัตว์ ไหม และเส้นใยสังเคราะห์ มีลักษณะเป็นเส้นเล็กยาว มีความแข็งแรง และทนต่อแรงดึงตามความยาวของเส้น
สารยืดหยุ่น เช่น ถุงมือยาง และยางรถยนต์ชนิดต่าง ๆ เป็นพอลิเมอร์ที่สามารถปรับเปลี่ยนรูปร่างได้ เมื่อยืดแล้วปล่อยก็จะกลับคืนสู่สภาพเดิมได้ เนื่องจากแรงยึดระหว่างโมเลกุลไม่แข็งแรง เมื่อถูกยืดโมเลกุลจะเรียงตัวเป็นระเบียบ แต่เมื่อปล่อยจากการยืดจะกลับสู่สภาพเดิมที่เป็นก้อนขด ไม่เป็นระเบียบ
พลาสติก เช่น เป็นสารประกอบอินทรีย์ที่สังเคราะห์ขึ้นใช้แทนวัสดุธรรมชาติ บางชนิดเมื่อเย็นก็แข็งตัว เมื่อถูกความร้อนก็อ่อนตัว บางชนิดแข็งตัวถาวรมีหลายชนิด เช่น ไนลอน ยางเทียม ใช้ทำสิ่งต่าง ๆ เช่น เสื้อผ้า ฟิล์ม ภาชนะ ส่วนประกอบเรือ หรือ รถยนต์

สมบัติทางกายภาพของพอลิเมอร์จะมีความสัมพันธ์กับโครงสร้างซึ่งแบ่งเป็น 3 แบบ ดังนี้
1. โครงสร้างแบบสายยาวหรือโซ่ตรง เกิดจากมอนอเมอร์ที่มาสร้างพันธะเรียงต่อกันเป็นเส้นตรง มีสมบัติเหนียว แข็งแรง สามารถยืดตัวและโค้งงอได้ เมื่อได้รับความร้อนจะอ่อนตัวและจะแข็งตัวเมื่ออุณหภูมิลดลง สามารถเปลี่ยนกลับไปกลับมาได้โดยที่สมบัติของพอลิเมอร์ไม่เปลี่ยนแปลง

2. โครงสร้างแบบสาขาหรือแขนง เกิดจากมอนอเมอร์ที่มายึดกันและแตกกิ่งก้านสาขาออกจากโซ่พอลิเมอร์หลัก สมบัติของโครงสร้างนี้มีลักษณะคล้ายโครงสร้างแบบยาว แต่จะมีความหนาแน่นน้อยและโค้งงอได้ดีกว่า เนื่องจากมีกิ่งก้านสาขาขวางกั้นอยู่ระหว่างโมเลกุลของสายพอลิเมอร์

3. โครงสร้างแบบตาข่ายหรือร่างแห เกิดจากมอนอเมอร์ที่มาเชื่อมต่อกันเป็นร่างแห ภายในโมเลกุลมีกิ่งก้านสาขาเชื่อมโยงกัน มีสมบัติแข็งแรง ทนทาน โค้งงอได้น้อย คงรูปร่าง ไม่ยืดหยุ่น และทนความร้อนได้ดี เนื่องจากโมเลกุลยึดกันแน่นใน 3 ทิศทาง

พลาสติก พลาสติกมีสมบัติที่เป็นประโยชน์หลายประการ เช่น มีน้ำหนักเบา มีความเหนียว แข็งแรง ไม่ทำปฏิกิริยากับอากาศ กรด เบส และสารเคมี เป็นฉนวนความร้อนและฉนวนไฟฟ้าที่ดี อีกทั้งส่วนมากมักอ่อนตัวและหลอมเหลวเมื่อได้รับความร้อน จึงนำไปขึ้นเป็นรูปทรงต่าง ๆ ได้ง่าย

ยางธรรมชาติ เกิดจากมอนอเมอร์ที่เรียกว่า "ไอโซพรีน" รวมตัวกันเป็นพอลิไอโซพรีน ยางธรรมชาติจะได้จากพืช เช่น ต้นยางพารา ต้นยางกัตตา มีสมบัติต้านทานต่อแรงดึงดูดสูง ทนแต่ยืดหยุ่นได้ดี ไม่ละลายน้ำ แต่สมบัติบางประการ เช่น แข็งและเปราะที่อุณหภูมิต่ำ เหนียวและอ่อนตัวเมื่อร้อน ไม่ทนตัวทำละลายอินทรีย์ เป็นต้น ซึ่งเป็นข้อจำกัดที่ไม่เหมาะต่อการนำไปใช้ จึงได้ทำการปรับปรุงคุณภาพของยางธรรมชาติด้วยกระบวนการวัลกาไนเซชัน (vulcanization process) โดยเติมกำมะถันลงไปทำปฏิกิริยากับยาง ใช้ตัวเร่งปฏิกิริยาและตัวกระตุ้นที่เหมาะสม เผาที่อุณหภูมิสูงประมาณ 140 °C ทำให้พอลิเมอร์ของสายยางเชื่อมต่อกันด้วยโมเลกุลของกำมะถัน ยางที่ได้เรียกว่า ยางวัลกาไนส์ ซึ่งจะยืดหยุ่นได้ดี มีความคงตัวสูง และไม่ละลายในตัวทำละลายอินทรีย์

เส้นใยสังเคราะห์ เส้นใยเซลลูโลสเป็นเส้นใยธรรมชาติ ที่แต่เมื่อเปียกน้ำจะทำให้ความเหนียวและความแข็งแรงของเส้นใยลดลง และไม่ทนต่อแสงแดด นักวิทยาศาสตร์จึงได้พัฒนาเส้นใยสังเคราะห์ขึ้นจากปฏิกิริยาการรวมตัวระหว่างมอนอเมอร์ 2 ชนิด ที่ไม่มีพันธะคู่ระหว่างอะตอมคาร์บอนกับคาร์บอน แต่มีหมู่อื่นซึ่งไวต่อปฏิกิริยาแทน เช่น หมู่แอมิโน หมู่คาร์บอกซิล หรือหมู่ไฮดรอกซิล เส้นใยที่ผลิตได้จะมีความเหนียว ทนทาน ยับยาก ซักรีดได้ง่าย และทนกว่ากรด—เบสได้ดีกว่าเส้นใยธรรมชาติ

เคมีอินทรีย์ของ พอลิเมอร์ ได้รวบรวมเนื้อหาเกี่ยวกับปฏิกิริยาการพอลิเมอไรเซชันแบบต่างๆ และงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง โดยแบ่งเนื้อหาออกเป็น 7 บท บทที่ 1 จะกล่าวถึงบทนำที่เกี่ยวข้องกับปฏิกิริยาพอลิเมอไรเซชัน ส่วนบทที่ 2 มีเนื้อหาเกี่ยวกับปฏิกิริยาพอลิเมอไรเซชันแบบขั้น โดยจะเน้นปฏิกิริยาการสังเคราะห์พอลิเมอร์ประเภทต่างๆ และได้แทรกเนื้อหาจลนศาสตร์ของปฏิกิริยานี้ ซึ่งจะทำให้เข้าใจว่าทำไมพอลิเมอร์ที่เตรียมด้วยวิธีนี้จึงมีการเพิ่มน้ำหนักโมเลกุลอย่างช้าๆ ในช่วงแรกของปฏิกิริยาและจะเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วในช่วงท้ายของปฏิกิริยา รวมถึงทฤษฎีการเกิดเป็นตาข่ายพอลิเมอร์ ในบทที่ 3 เป็นปฏิกิริยาพอลิเมอไรเซชันแบบลูกโซ่อนุมูลอิสระ

ซื้อหนังสือ

พอลิเมอร์

โดยได้มีการแทรกเนื้อหาเกี่ยวกับจลนศาสตร์ของปฏิกิริยาเพื่อแสดงให้เห็นความสัมพันธ์ของปริมาณของสารริเริ่มปฏิกิริยาและปริมาณของมอนอเมอร์ที่มีผลต่ออัตราการเกิดปฏิกิริยาและต่อน้ำหนักโมเลกุลของพอลิเมอร์ นอกจากนี้ยังมีเนื้อหาเกี่ยวกับปฏิกิริยาโคพอลิเมอไรเซชันด้วย ส่วนเนื้อหาในบทที่ 4 บทที่ 5 และบทที่ 6 จะกล่าวถึงปฏิกิริยาพอลิเมอไรเซชันแบบไอออนิก แบบโคออร์ดิเนชันและแบบเปิดวง ตามลำดับ โดยเน้นรายละเอียดของกลไกการเกิดปฏิกิริยาพร้อมทั้งยกตัวอย่าง พอลิเมอร์ที่สำคัญที่สังเคราะห์ด้วยปฏิกิริยาเหล่านี้ ในบทที่ 7 จะเป็นการประยุกต์ใช้ปฏิกิริยาทางเคมีอินทรีย์เพื่อเพิ่มและดัดแปรหมู่ฟังก์ชันในโซ่พอลิเมอร์ รวมทั้งเทคนิคการสังเคราะห์พอลิเมอร์แบบกลุ่มและพอลิเมอร์แบบต่อกิ่งและมีเนื้อหาเกี่ยวกับปฏิกิริยาทางเคมีอินทรีย์ที่ใช้ในการเชื่อมต่อสารชีวโมเลกุลบนโซ่พอลิเมอร์ นอกจากนี้ยังได้แทรกบทความจากงานวิจัยที่น่าสนใจและที่เกี่ยวข้องกับเนื้อหาในแต่ละส่วนด้วย

สารบัญ

  • 1. บทนำเกี่ยวกับพอลิเมอร์
  • 2. ปฏิกิริยาพอลิเมอไรเซชันแบบขั้น
  • 3. ปฏิกิริยาพอลิเมอไรเซชันแบบลูกโซ่อนุมูลอิสระ
  • 4. ปฏิกิริยาพอลิเมอไรเซชันแบบลูกโซ่ไอออนิก
  • 5. ปฏิกิริยาพอลิเมอไรเซชันแบบลูกโซ่โคออร์ดิเนชัน
  • 6. ปฏิกิริยาพอลิเมอไรเซชันแบบเปิดวง
  • 7. หัวข้อพิเศษทางเคมีอินทรีย์ของพอลิเมอร์
  • เอกสารอ้างอิง

1. บทนำเกี่ยวกับพอลิเมอร์

ในปัจจุบันมนุษย์มีการใช้วัสดุประเภทต่าง ๆ เพื่อการดำรงชีวิตเพิ่มมากขึ้น ทั้งนี้ เพื่อตอบสนองความต้องการขั้นพื้นฐานและเพื่ออำนวยความสะดวกในการดำรงชีวิต รวมทั้งเพื่อเป็นส่วนประกอบร่วมในการรักษาโรคและการดูแลสุขภาพ ซึ่งวัสดุที่มีการนำมาใช้มากที่สุด คือ พลาสติก โดยประชากรของโลกหนึ่งคน มีการใช้พลาสติกส่วนใหญ่ในรูปแบบวัสดุบรรจุภัณฑ์และอุปกรณ์เครื่องใช้ในครัวเรือนมากถึง 35 กิโลกรัมต่อปี [1] ทั้งนี้เนื่องจากพลาสติกเป็นวัสดุที่มีสมบัติหลากหลาย สามารถนำมาประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์ที่ตอบสนองต่อความต้องการของมนุษย์ได้ เช่น สมบัติที่แข็งแรง สมบัติการยืดหด สมบัติด้านความขุ่นและความใส สมบัติการนำไฟฟ้า สมบัติการดูดซับน้ำ สมบัติด้านความร้อนและการขยายตัว เป็นต้น [2] โดยพลาสติกเป็นส่วนหนึ่งของสารในกลุ่ม พอลิเมอร์ ซึ่งมีทั้งพอลิเมอร์ ที่ได้จากธรรมชาติและพอลิเมอร์ที่ได้จากการสังเคราะห์ทางเคมี ตัวอย่างพอลิเมอร์ที่ได้จากธรรมชาติ เช่น พอลิแซ็กคาไรด์ ยางธรรมชาติ เป็นต้น พอลิเมอร์ที่ได้จากการสังเคราะห์ทางเคมี เช่น พอลิเมอร์เพื่อการใช้งานในโรงงานอุตสาหกรรมที่ต้องทนการกัดกร่อนและทนต่อสารเคมี พอลิเมอร์เพื่อใช้ในทางการแพทย์ที่สามารถขึ้นรูปได้ตามต้องการและต้องทนต่ออุณหภูมิสูงได้เพื่อทำการฆ่าเชื้อ [3] ดังนั้น การเข้าใจเกี่ยวกับเคมีอินทรีย์ของพอลิเมอร์จะทำให้เราทราบได้ว่า พอลิเมอร์ที่อยู่รอบตัวเราเกิดขึ้นได้อย่างไร เกี่ยวข้องกับปฏิกิริยาเคมีอินทรีย์ประเภทใด และมีสมบัติแบบใด รวมทั้งการนำไปประยุกต์ใช้ที่แตกต่างกัน

พอลิเมอร์

พอลิเมอร์และมอนอเมอร์แตกต่างกันอย่างไร

พอลิเมอร์และมอนอเมอร์แตกต่างกันอย่างไร โดยทั่วไปนิยามของ พอลิเมอร์ คือ โมเลกุลขนาดใหญ่ที่เกิดจากโมเลกุลขนาดเล็กต่อกันด้วยพันธะโควาเลนต์แบบซ้ำ ๆ จนเกิดเป็นโซ่พอลิเมอร์ โดยโมเลกุลขนาดเล็กที่เกิดปฏิกิริยาต่อกันเป็นโซ่นี้เรียกว่า มอนอเมอร์ การเขียนสูตรทั่วไปของพอลิเมอร์สามารถเขียนได้โดยการเขียนหน่วยซ้ำในวงเล็บ โดยส่วนใหญ่แล้วการอ่านชื่อพอลิเมอร์จะมีคำว่าพอลิ นำหน้าชื่อของมอนอเมอร์ ตาราง 1.1 แสดงตัวอย่างการอ่านชื่อและโครงสร้างทางเคมีของพอลิเมอร์ที่มีความสำคัญในเชิงพาณิชย์

ตัวอย่างพอลิเมอร์และโครงสร้างทางเคมีของมอนอเมอร์

2. ปฏิกิริยาพอลิเมอไรเซชันแบบขั้น

ปฏิกิริยาพอลิเมอไรเซชันแบบขั้น คือ ปฏิกิริยาที่มีการขยายโซ่และเพิ่มน้ำหนักโมเลกุลของพอลิเมอร์เป็นแบบขั้นบันได เกิดจากการเชื่อมต่อกันด้วยพันธะโควาเลนต์ของมอนอเมอร์ ที่มีฟังก์ชันมากกว่าหนึ่งหมู่ขึ้นไป และจะทำให้ได้พอลิเมอร์ที่มีหมู่ฟังก์ชันใหม่ขึ้น ในกรณีที่ปฏิกิริยา มีการใช้มอนอเมอร์แบบสองฟังก์ชัน (difunctional monomer) เท่านั้น จะได้ผลิตภัณฑ์เป็น พอลิเมอร์แบบโซ่ตรง ในกรณีที่มีมอนอเมอร์แบบหลายฟังก์ชัน (multifunctional molecule) ผสมอยู่ในปฏิกิริยาด้วย จะได้ผลิตภัณฑ์เป็นพอลิเมอร์ที่มีโครงสร้างเป็นกิ่งหรือตาข่ายเกิดขึ้น

3. ปฏิกิริยาพอลิเมอไรเซชันแบบลูกโซ่อนุมูลอิสระ

ปฏิกิริยาพอลิเมอไรเซชันแบบลูกโซ่จัดเป็นปฏิกิริยาการเพิ่ม โดยกลไกการเกิดปฏิกิริยานี้ มีหลายประเภทซึ่งขึ้นอยู่กับชนิดของโมเลกุลว่องไว เช่น อนุมูลอิสระ แคทไอออน แอนไอออน และโคออร์ดิเนชัน เป็นต้น โดยในกรณีที่ปฏิกิริยาใช้มอนอเมอร์ชนิดมอนอเมอร์ไวนิล จะสามารถทำนายแนวโน้มของกลไกการเกิดปฏิกิริยาโดยการพิจารณาหมู่แทนที่ว่ามีสมบัติการเป็นหมู่ ให้อิเล็กตรอนหรือหมู่ดึงอิเล็กตรอน ซึ่งจะมีผลต่อความหนาแน่นของอิเล็กตรอนที่หมู่ไวนิล ของมอนอเมอร์ดังแสดงในตาราง 3.1 [4-5]

ตาราง 3.1 แนวโน้มของกลไกการเกิดปฏิกิริยาพอลิเมอไรเซชันโดยการพิจารณาจากหมู่แทนที่ ของมอนอเมอร์ไวนิล

4. ปฏิกิริยาพอลิเมอไรเซชันแบบลูกโซ่ไอออนิก

ปฏิกิริยาพอลิเมอไรเซชันแบบลูกโซ่ไอออนิก เป็นปฏิกิริยาที่มีพอลิเมอร์ว่องไวเป็นประจุลบหรือประจุบวกอยู่ที่ปลายโซ่ดังรูป 4.1 ดังนั้นปฏิกิริยาพอลิเมอไรเซชันแบบลูกโซ่ไอออนิก แบ่งเป็น 2 ประเภทตามชนิดของประจุที่ปลายโซ่ ดังนี้

รูป 4.1 พอลิเมอร์ที่มีปลายโซ่เป็นประจุลบและประจุบวก

5. ปฏิกิริยาพอลิเมอไรเซชันแบบลูกโซ่โคออร์ดิเนชัน

ปฏิกิริยาพอลิเมอไรเซชันแบบลูกโซ่โคออร์ดิเนชัน เป็นปฏิกิริยาที่มีตัวเร่งปฏิกิริยา เป็นโลหะทรานซิชันที่สามารถเกิดสารประกอบเชิงซ้อนกับไพอิเล็กตรอนของมอนอเมอร์ จุดเด่นของปฏิกิริยานี้คือเป็นปฏิกิริยาที่สามารถควบคุมการจัดเรียงโครงสร้างสามมิติ (stereoregularity) ของพอลิเมอร์ได้ ขณะที่ปฏิกิริยาพอลิเมอไรเซชันแบบอนุมูลอิสระและแบบไอออนิกไม่สามารถควบคุมการจัดเรียงโครงสร้างสามมิติของพอลิเมอร์ได้ แต่ข้อด้อยของปฏิกิริยาแบบลูกโซ่โคออร์ดิเนชัน คือ พอลิเมอร์ที่สังเคราะห์ได้จะมีค่า PDI อยู่ในช่วง 4-40 [6-7] ซึ่งแสดงถึงการกระจายของน้ำหนักโมเลกุลที่กว้างมากเมื่อเปรียบเทียบกับพอลิเมอร์ที่สังเคราะห์ได้จากปฏิกิริยาแบบอนุมูลอิสระและแบบไอออนิก นอกจากนี้พอลิเมอร์ที่เตรียมด้วยปฏิกิริยาแบบโคออร์ดิเนชัน ยังอาจมีโลหะทรานซิชันที่ปนเปื้อน ในผลิตภัณฑ์ จึงอาจไม่เหมาะในการนำพอลิเมอร์ที่สังเคราะห์ได้จากปฏิกิริยานี้ไปใช้ในงานที่เกี่ยวข้องกับสุขอนามัย เช่น วัสดุบรรจุอาหารหรือวัสดุที่เกี่ยวข้องกับทางการแพทย์ การสังเคราะห์พอลิเมอร์ด้วยปฏิกิริยาแบบลูกโซ่โคออร์ดิเนชันมีหลายประเภท ซึ่งใช้ตัวเร่งปฏิกิริยาที่แตกต่างกัน

6. ปฏิกิริยาพอลิเมอไรเซชันแบบเปิดวง

ปฏิกิริยาพอลิเมอไรเซชันแบบเปิดวง จัดเป็นปฏิกิริยาแบบลูกโซ่โดยการใช้มอนอเมอร์วงเป็นสารตั้งต้นและใช้ตัวเร่งปฏิกิริยาเพื่อกระตุ้นให้เกิดปฏิกิริยาการเปิดวง ซึ่งแตกต่างจากปฏิกิริยา แบบลูกโซ่ทั่วไปที่เป็นปฏิกิริยาการเพิ่มของมอนอเมอร์ไวนิล กลไกการเกิดปฏิกิริยาพอลิเมอไรเซชันแบบเปิดวงอาจเป็นได้ทั้งแบบแอนไอออนิก แคทไอออนิกหรือโคออร์ดิเนชัน ปัจจัยที่ทำให้มอนอเมอร์เกิดปฏิกิริยาพอลิเมอไรเซชันแบบเปิดวง ได้แก่ [8]

  1. ความเครียดภายในวงของมอนอเมอร์
  2. ความสามารถในการดึงอิเล็กตรอนของหมู่เฮทเทอโรอะตอมภายในวง

7. หัวข้อพิเศษทางเคมีอินทรีย์ของพอลิเมอร์

บทนี้จะกล่าวถึงหัวข้อทางเคมีอินทรีย์ของพอลิเมอร์ที่น่าสนใจ โดยมีเนื้อหาเกี่ยวกับ การประยุกต์ใช้ปฏิกิริยาทางเคมีอินทรีย์เพื่อเพิ่มและดัดแปรหมู่ฟังก์ชันบนโซ่พอลิเมอร์ เพื่อออกแบบโครงสร้างทางเคมีของพอลิเมอร์และเพื่อเชื่อมต่อโมเลกุลที่สนใจลงบนโซ่พอลิเมอร์ ซึ่งเป็นการประยุกต์ ใช้ความรู้ทางเคมีอินทรีย์ผนวกกับความรู้ทางด้านปฏิกิริยาพอลิเมอไรเซชันเพื่อสังเคราะห์พอลิเมอร์ ให้ได้สมบัติตามต้องการ โดยมีหัวข้อ ดังนี้

ปฏิกิริยาการเพิ่มหมู่ฟังก์ชันบนโซ่พอลิเมอร์ กล่าวถึง รายละเอียดเกี่ยวกับปฏิกิริยาเคมีเพื่อเพิ่มและดัดแปรหมู่ฟังก์ชันบนโซ่พอลิเมอร์ โดยหมู่ฟังก์ชันเหล่านี้จะมีประโยชน์ในการทำปฏิกิริยาต่อได้ เช่น ใช้ในการตรึงสารอินทรีย์หรือสารชีวโมเลกุลที่สนใจบนโซ่พอลิเมอร์ได้ หรือใช้ในปฏิกิริยาการเชื่อมโยงตาข่ายพอลิเมอร์ได้ เป็นต้น

การสังเคราะห์พอลิเมอร์ร่วมแบบกลุ่มและแบบต่อกิ่ง ซึ่งทำได้หลายแนวทางโดยแต่ละแนวทางจะมีประสิทธิภาพการสังเคราะห์ที่แตกต่างกัน

การเชื่อมต่อสารชีวโมเลกุลบนโซ่พอลิเมอร์ เป็นการเชื่อมต่อทั้งแบบพันธะโควาเลนต์ (covalent bonding) และแบบไม่ใช่พันธะโควาเลนต์ (non-covalent bonding) โดยผลิตภัณฑ์ที่เกิดจากการเชื่อมต่อสารชีวโมเลกุลนี้เรียกว่า ไบโอคอนจูเกต (bioconjugate)

เอกสารอ้างอิง

[1] Plastic life. (n.d.). Retrieved April 4, 2020, from //www.plasticgarbageproject.org/en/plastic-life

[2] Polymer properties database. (n.d.). Retrieved April 4, 2020, from //polymerdatabase.com/polymer%20classes/Polyphenylene type.html

[3] Engineered plastics for healthcare & medical applications. (n.d.). Retrieved April 4, 2020, from //www.tss.trelleborg.com/en/healthcare/ products-capabilities/materials/plastics

[4]    Odian, G. (1993). Principles of Polymerization (3rd ed.). New York: John Wiley & Sons.

[5]    Seymour, R.B., & Carraher, C.E. (1992). Polymer Chemistry: An Introduction (3rd ed.). New York: Marcel Dekker.

[6] Odian, G. (1993). Principles of Polymerization (3rd ed.). New York: John Wiley & Sons.

[7]    Rempp, P., & Merrill, E. W. (1986). Polymer Synthesis. Heidelburg: Huthing & Wepf Verlag.

[8] Allcock, H.A., Lampe, F.W., & Mark, J.E. (2003). Contemporary polymer chemistry (3rd ed.). New York: Pearson Education, International.

  • Facebook iconFacebook
  • Twitter iconTwitter
  • LINE iconLine

Summary

Article Name

เคมีอินทรีย์ของพอลิเมอร์

Description

พอลิเมอร์และมอนอเมอร์แตกต่างกันอย่างไร โดยทั่วไปนิยามของพอลิเมอร์ คือ โมเลกุลขนาดใหญ่ที่เกิดจากโมเลกุลขนาดเล็กต่อกันด้วยพันธะโควาเลนต์

Author

รองศาสตราจารย์ ดร.เมธา รัตนากรพิทักษ์

Publisher Name

สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยนเรศวร

Publisher Logo

พอลิเมอร์ เคมีอินทรีย์ เคมีอินทรีย์ของพอลิเมอร์

Soraya S.

Graphic Design และ Content Creator ที่หลงไหลในการเขียน Content และเชื่อว่า Content เป็นสิ่งสำคัญในการสื่อสารกับทุก ๆ คน

มอนอเมอร์และพอลิเมอร์มีความแตกต่างกันอย่างไร

พอลิเมอร์ (Polymer) คือ สารประกอบที่มีโมเลกุลขนาดใหญ่ และมีมวลโมเลกุลมากประกอบด้วย หน่วยเล็ก ๆ ของสารที่อาจจะเหมือนกันหรือต่างกันมาเชื่อมต่อกันด้วยพันธะโคเวเลนต์ มอนอเมอร์ (Monomer) คือ หน่วยเล็ก ๆ ของสารในพอลิเมอร์

มอนอเมอร์เกิดเป็นพอลิเมอร์ได้อย่างไร

Carbon Hydrogen. มอนอเมอร์ (Monomer)  พอลิเมอร์เกิดจากการท้าปฏิกิริยาของมอนอเมอร์(monomer)  มอนอเมอร์คือ สารตั้งต้นที่ใช้ท้าปฏิกิริยาเพื่อเกิดเป็นพอลิเมอร์  ปฏิกิริยาการสังเคราะห์พอลิเมอร์คือ ปฏิกิริยาพอลิเมอร์ไรเซชัน (Polymerization)

มอนอเมอร์ของพอลิเอทิลีนคืออะไร

2. ชนิดของมอนอเมอร์ที่เป็นองค์ประกอบในโมเลกุล แบ่งเป็น 2 ประเภท คือ โฮโมพอลิเมอร์ (homopolymer) คือ พอลิเมอร์ที่ประกอบด้วยมอนอเมอร์ชนิดเดียวกัน เช่น พอลิเอทิลีน เป็นพอลิเมอร์ที่มีมอนอเมอร์คือเอทิลีนเหมือนกันหมด และโคพอลิเมอร์ (copolymer) คือ พอลิเมอร์ที่ประกอบด้วยหน่วยเล็ก ๆ ของมอนอเมอร์ต่างชนิดกัน

มอนอเมอร์และพอลิเมอร์มีความสัมพันธ์กันอย่างไร

พอลิเมอร์และมอนอเมอร์แตกต่างกันอย่างไร โดยทั่วไปนิยามของ พอลิเมอร์ คือ โมเลกุลขนาดใหญ่ที่เกิดจากโมเลกุลขนาดเล็กต่อกันด้วยพันธะโควาเลนต์แบบซ้ำ ๆ จนเกิดเป็นโซ่พอลิเมอร์ โดยโมเลกุลขนาดเล็กที่เกิดปฏิกิริยาต่อกันเป็นโซ่นี้เรียกว่า มอนอเมอร์ การเขียนสูตรทั่วไปของพอลิเมอร์สามารถเขียนได้โดยการเขียนหน่วยซ้ำในวงเล็บ โดยส่วนใหญ่ ...

กระทู้ที่เกี่ยวข้อง

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

แปลภาษาไทย ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน อาจารย์ ตจต ศัพท์ทหาร ภาษาอังกฤษ pdf lmyour แปลภาษา ชขภใ ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมฟรี 2566 ขขขขบบบยข ่ส ศัพท์ทางทหาร military words หนังสือราชการ ตัวอย่าง หยน แปลบาลีเป็นไทย ไทยแปลอังกฤษ ประโยค การไฟฟ้านครหลวง การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ข้อสอบโอเน็ต ม.3 ออกเรื่องอะไรบ้าง พจนานุกรมศัพท์ทหาร เมอร์ซี่ อาร์สยาม ล่าสุด แปลภาษามลายู ยาวี Bahasa Thailand กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมออนไลน์ การ์ดจอมือสอง ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย คะแนน o-net โรงเรียน ค้นหา ประวัติ นามสกุล บทที่ 1 ที่มาและความสําคัญของปัญหา ร. ต จ แบบฝึกหัดเคมี ม.5 พร้อมเฉลย แปลภาษาอาหรับ-ไทย ใบรับรอง กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน PEA Life login Terjemahan บบบย มือปราบผีพันธุ์ซาตาน ภาค2 สรุปการบริหารทรัพยากรมนุษย์ pdf สอบโอเน็ต ม.3 จําเป็นไหม เช็คยอดค่าไฟฟ้า แจ้งไฟฟ้าดับ แปลภาษา มาเลเซีย ไทย แผนที่ทวีปอเมริกาเหนือ ่้แปลภาษา Google Translate กระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ 8 ขั้นตอน ก่อนจะนิ่งก็ต้องกลิ้งมาก่อน เนื้อเพลง ข้อสอบโอเน็ตม.3 มีกี่ข้อ คะแนนโอเน็ต 65 ตม กรุงเทพ มีที่ไหนบ้าง