ประโยชน์ของดาวเทียมไทยโชต มีอะไรบ้าง

สยามรัฐออนไลน์ 1 ตุลาคม 2564 11:53 น. อวกาศ

GISTDA สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (องค์การมหาชน) โพสต์ผ่านเฟซบุ๊กระบุ 13 ปีไทยโชต 1 ตุลาคม 2551 ดาวเทียม THEOS หรือไทยโชต ขึ้นสู่วงโคจรในอวกาศ นับเป็นดาวเทียมสำรวจโลกระดับปฏิบัติการดวงแรกของประเทศไทย ซึ่งเป็นดาวเทียมขนาดเล็ก สามารถถ่ายพื้นโลกได้ครอบคลุม (เกือบ) ทั้งโลก ปัจจุบันมีการนำข้อมูลจากดาวเทียมดวงนี้ไปใช้ประโยชน์มากมาย ทั้งภารกิจด้านน้ำ การเกษตร ภัยพิบัติ และทรัพยากรธรรมชาติ เป็นต้น

ดาวเทียมธีออส ถูกออกแบบให้เป็นดาวเทียมขนาดเล็ก มีอายุการใช้งานอย่างน้อย 5 ปี ทำงานโดยอาศัย แหล่งพลังงาน จากดวงอาทิตย์ สามารถบันทึกภาพได้ครอบคลุมพื้นที่ทั่วโลก ติดตั้งอุปกรณ์ถ่ายภาพแบบ ออฟติคคอล (Optical Imagery) ทำให้สามารถบันทึกข้อมูลภาพ ในช่วงคลื่นแสงที่ตามองเห็น (Visible band) จนถึงช่วงคลื่นอินฟราเรดใกล้ (Near Infrared) ทั้งนี้เมื่อเปรียบเทียบช่วงคลื่นของดาวเทียมธีออสกับดาวเทียม อื่นๆ พบว่า 3 ช่วงคลื่นของดาวเทียมธีออส มีความคล้ายคลึงกับช่วงคลื่นของดาวเทียม SPOT ยกเว้นช่วงคลื่น สีน้ำเงิน ที่มีเพิ่มมากกว่าของดาวเทียม SPOT และมีความคล้ายคลึงกันกับช่วงคลื่นของดาวเทียม Landsat ระบบ TM

รายละเอียดเชิงเทคนิค

น้ำหนัก  เป็นดาวเทียมขนาดเล็ก (Small Satellite) น้ำหนัก ประมาณ 750 กิโลกรัม (น้ำหนักรวมกล้องถ่ายภาพ และเชื้อเพลิงขับดัน)

รูปทรง  รูปกล่องหกเหลี่ยมสูงประมาณ 2.4 เมตร กว้างประมาณ 2 เมตร (เมื่อพับแผงเซลแสงอาทิตย์)

วงโคจร  สัมพันธ์กับดวงอาทิตย์ ที่ความสูง 822 กิโลเมตร , มีทิศทางการโคจรจากเหนือลงใต้ ทำมุมเอียง 98 องศา กับระนาบเส้นศูนย์สูตร และจะผ่านเส้นศูนย์สูตร ที่ เวลาประมาณ 10:00 น.

รอบการโคจร  โคจรครบ 1 รอบ ใช้เวลาประมาณ 101.4 นาที ซึ่งใน 1 วันจะดาวเทียมจะมีรอบการโคจรทั้งสิ้น 14 +5/26 รอบ

Payload  กล้องบันทึกภาพขาว-ดำ (Panchromatic : PAN), และกล้องถ่ายภาพสีหลายช่วงคลื่น (Multispectral : MS) ซึ่งสามารถถ่ายภาพในช่วงคลื่นแสงที่ตามองเห็น (Blue, Green, Red) และช่วงคลื่นอินฟราเรดใกล้ (NIR)

รายละเอียดภาพ  ที่มุมเอียงไม่เกิน 30องศาจากแนวดิ่ง PAN ( ขาวดำ) 2 เมตร , MS ( สี) 15 เมตร

ความกว้างแนวบันทึกภาพ (Swath Width)  PAN 22 กิโลเมตร, MS 90 กิโลเมตร

พิกัดในการเอียงตัวของดาวเทียมเพื่อการบันทึกภาพ  ก้ม/เงย 45° ; ซ้าย/ขวา 50°

อายุการใช้งาน  อย่างน้อย 5 ปี

ดาวเทียมธีออสสามารถบันทึกภาพต่อเนื่อง มีความยาวแนวบันทึกภาพสูงสุดถึง 4,000 กม.

เมื่อบันทึกภาพในแนวดิ่ง ดาวเทียมธีออสจะบันทึกภาพขาว-ดำ ที่รายละเอียดภาพ 2 เมตร ที่ความกว้างแนวบันทึกภาพ 22 กิโลเมตร และภาพสีหลายช่วงคลื่น ที่รายละเอียดภาพ 15 เมตร ที่ความกว้างแนวบันทึกภาพ 90 กิโลเมตร

เพื่อให้สามารถบันทึกภาพซ้ำในตำแหน่งเดิมได้ในเวลาอันสั้น ดาวเทียมธีออสจะเอียงตัวบันทึกภาพได้ในแนวซ้าย-ขวา และ ก้ม-เงย โดยมีมุมเอียงปกติที่ 30° และมุมเอียงสูงสุด 50°

ความสามารถในการเอียงตัวบันทึกภาพ ทำให้เราสามารถสร้างภาพ 3 มิติได้ โดยการบันทึกภาพพื้นที่เดียวกัน 2 ภาพ จากแนวการโคจรเดียวกัน หรือจากแนวการโคจรต่างกัน

แนวการโคจรของดาวเทียมธีออส

ในช่วงกลางวัน ดาวเทียมจะโคจรจากมุมขวาบนโค้งลงมายังมุมซ้ายล่าง ส่วนในช่วงกลางคืน จะโคจรจากมุมซ้ายบนโค้งลงมายังมุมขวาล่าง

เผยแพร่: 27 มี.ค. 2557 23:27   โดย: MGR Online


ปฏิบัติหน้าที่มาเกือบ 6 ปี แต่หลายคนอาจยังไม่รู้จักดาวเทียมสำรวจทรัพยากรธรรมชาติดวงแรกและดวงเดียวของชาติที่ชื่อ “ไทยโชต” ที่เพิ่งพบวัตถุต้องสงสัยลอยในมหาสมุทรอินเดีย ท่ามกลางการตามเที่ยวบิน MH370 ของมาเลเซียที่หายไป

ดาวเทียมไทยโชตเป็นดาวเทียมสำรวจทรัพยากรธรรมชาติดวงแรกและดวงเดียวของไทย โดยอยู่ในการดูแลของสำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (สทอภ.) กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

เดิมดาวเทียมไทยโชตมีชื่อว่า “ธีออส” (THEOS) ย่อมาจาก Thailand Earth Observation System เป็นดาวเทียมสำรวจข้อมูลระยะไกล (Remote Sensing) น้ำหนัก 750 กก.ที่ออกแบบให้มีอายุการใช้งาน 5 ปี และทะยานขึ้นสู่วงโคจรจากฐานปล่อยจรวดยัสนี ประเทศรัสเซีย เมื่อ 1 ต.ค.51

ต่อมาเมื่อวันที่ 10 ธ.ค.54 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานชื่อดาวเทียมธีออสว่า “ดาวเทียมไทยโชต” มีความหมายว่า ดาวเทียมที่ทำให้ประเทศไทยรุ่งเรือง

ในการสร้างดาวเทียมดวงนี้ ไทยโดย สทอภ.ได้ว่าจ้าง บริษัท อีเอดีเอส แอสเทรียม (EADS Astrium) ประเทศฝรั่งเศส เป็นผู้ดำเนินการสร้างและส่งดาวเทียม ภายใต้ความร่วมมือด้านเทคโนโลยีอวกาศระหกว่างรัฐบาลไทยและรัฐบาลฝรั่งเศส เมื่อ 19 ก.ค.47

ไทยโชตสามารถบันทึกภาพขาวดำ (Panchromatic) ได้ที่รายละเอียด 2 เมตร โดยแต่ละภาพมีความกว้าง 22 กม. และบันทึกภาพสีหลายช่วงคลื่น (Multispectral) ได้ที่รายละเอียด 15 เมตร โดยแต่ละภาพมีความกว้าง 90 กม.ซึ่งบันทึกได้ 4 ช่วงคลื่นหรือแบนด์ ได้แก่

แบนด์ 1, 0.45-0.52 ไมครอน (น้ำเงิน)
แบนด์ 2, 0.53-0.62 ไมครอน (เขียว)
แบนด์ 3, 0.62-0.69 ไมครอน (แดง)
แบนด์ 4, 0.77-0.90 ไมครอน (อินฟาเรดใกล้)

การบันทึกภาพของดาวเทียมธีออสใช้ระบบถ่ายภาพเช่นเดียวกับกล้อง (Optical system) โดยใช้ “ซีซีดี” (Charge Coupled Devices: CCD) เป็นอุปกรณ์บันทึกภาพ ณ ระนาบรวมแสงของระบบ ซึ่งจะแปลงข้อมูลจากแสงที่สะท้อนจากพื้นโลกให้เป็นสัญญาณไฟฟ้า และตัวเลนส์ของกล้องผลิตจากซิลิกอนคาร์ไบด์ (Silicon Carbide)

ดาวเทียมธีออสมีวงโคจรสูงจากพื้นโลก 820 กม.จะโคจรมาที่จุดเดิมทุกๆ 26 วัน และโคจรรอบโลกทั้งสิ้น 369 วงโคจร ซึ่งระยะทางระหว่างวงโคจรแต่ละวงเท่ากับ 105 กม.สามารถถ่ายภาพได้ครอบคลุมทั่วโลกภายใน 35 เมื่อใช้ระบบถ่ายภาพสี และใช้เวลา 130 วันถ่ายได้ครอบคลุมทั่วโลกเมื่อใช้ระบบถ่ายภาพขาว-ดำ

ทั้งนี้ ภาพถ่ายดาวเทียมไทยโชตถูกนำไปใช้งานในภารกิจด้านภัยพิบัติหลายครั้ง เช่น เหตุการณ์น้ำท่วมภาคกลางเมื่อปี 2553 เหตุการณ์น้ำมันรั่วในอ่าวไทยเมื่อปี 2556 และเหตุการณ์ไฟไหม้บ่อขยะแพรกษา จ.สมุทรปราการเมื่อ 17 มี.ค.57 เป็นต้น

นอกจากนี้เมื่อต้นปี 2555 ดร.อานนท์ สนิทวงศ์ ณ อยุธยา ผู้อำนวยการ สทอภ.ยังเชิญชวนให้ผู้สนใจทั่วไปขอใช่งานภาพถ่ายดาวเทียมไทยโชตระหว่างปี 2552-2554 โดยไม่คิดค่าใช้จ่ายภายใต้โครงการ “7 ปี 70,000 ภาพธีออสดาวเทียมไทยรับใช้สังคม”

ล่าสุดเมื่อวันที่ 24 มี.ค.57 สทอภ.ได้โปรแกรมรับภาพถ่ายดาวเทียมไทยโชตเพื่อติดตามเที่ยวบิน MH370 ของมาเลเซีย แอร์ไลน์ส และได้พบวัตถุต้องสงสัยลอยน้ำในมหาสมุทรอินเดียเป็นพื้นที่กว่า 450 ตารางกิโลเมตร ห่างจากชายฝั่งเมืองเพิร์ธ ประเทศออสเตรเลีย 2,700 กิโลเมตร แต่ระบุไม่ได้ว่าเป็นชิ้นส่วนเครื่องบินที่หายไปหรือไม่



ดาวเทียมไทยโชตมีประโยชน์ทางด้านใด

ใช้สำรวจทรัพยากรทั้งภายในประเทศ ซึ่งมีหน่วยงานทั้งภาครัฐ และเอกชน แสดงความประสงค์นำข้อมูลดาวเทียมธีออสไปใช้ประโยชน์ในการสำรวจหาข้อมูล และใช้ทำแผนที่ในภารกิจที่รับผิดชอบ เช่น เช่น การสำรวจหาชนิดของพืชผลการเกษตร, การประเมินหาผลผลิตการเกษตร, การสำรวจหาพื้นที่ป่าไม้, การสำรวจหาพื้นที่ป่าถูกบุกรุกทำลาย, การสำรวจหาพื้นที่ป่า ...

ดาวเทียมธีออสมีประโยชน์ในด้านใด

ดาวเทียมธีออส (THEOS : Thailand Earth Observation Satellite) เป็นดาวเทียมสำรวจข้อมูลระยะไกล (Remote Sensing) เพื่อใช้สำรวจทรัพยากรธรรมชาติของประเทศไทย โดยความร่วมมือระหว่างรัฐบาลไทยและรัฐบาลฝรั่งเศส ดำเนินงานโดย สำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ (ทอภ. หรือ GISTDA) กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ร่วมกับ บริษัท ...

ดาวเทียม Theos มีความสำคัญในด้านใดมากที่สุด

ประโยชน์ของดาวเทียมธีออส 1. ภาพจากดาวเทียมสามารถให้ข้อมูลเกี่ยวกับแหล่งน้ำ และสามารถนำไปใช้ในการติดตามและประเมินความเสียหายจากอุทกภัยได้อย่างมีประสิทธิภาพ 2. ใช้ในการสำรวจศึกษาหาพื้นที่ป่าไม้ หาพื้นที่ป่าถูกบุกรุกทำลาย ถูกไฟไหม้ การสำรวจหาพื้นที่สวนป่าและหาชนิดป่า

ใครเป็นผู้ตั้งชื่อดาวเทียมไทยโชต

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานชื่อดาวเทียมสำรวจทรัพยากร THEOS ว่า “ดาวเทียมไทยโชตชื่อภาษาอังกฤษว่า “Thaichote” ซึ่งแปลว่า ดาวเทียมที่ทำให้ประเทศไทยรุ่งเรือง กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี คณะผู้บริหารสำนักงานพัฒนาเทคโนโลยีอวกาศและภูมิสารสนเทศ ตลอดจนเจ้าหน้าที่และลูกจ้าง สทอภ. ล้วนปลาบปลื้ม ...

กระทู้ที่เกี่ยวข้อง

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

แปลภาษาไทย ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน อาจารย์ ตจต ศัพท์ทหาร ภาษาอังกฤษ pdf lmyour แปลภาษา ชขภใ ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมฟรี 2566 ขขขขบบบยข ่ส ศัพท์ทางทหาร military words หนังสือราชการ ตัวอย่าง หยน แปลบาลีเป็นไทย ไทยแปลอังกฤษ ประโยค การไฟฟ้านครหลวง การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ข้อสอบโอเน็ต ม.3 ออกเรื่องอะไรบ้าง พจนานุกรมศัพท์ทหาร เมอร์ซี่ อาร์สยาม ล่าสุด แปลภาษามลายู ยาวี Bahasa Thailand กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมออนไลน์ การ์ดจอมือสอง ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย คะแนน o-net โรงเรียน ค้นหา ประวัติ นามสกุล บทที่ 1 ที่มาและความสําคัญของปัญหา ร. ต จ แบบฝึกหัดเคมี ม.5 พร้อมเฉลย แปลภาษาอาหรับ-ไทย ใบรับรอง กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน PEA Life login Terjemahan บบบย มือปราบผีพันธุ์ซาตาน ภาค2 สรุปการบริหารทรัพยากรมนุษย์ pdf สอบโอเน็ต ม.3 จําเป็นไหม เช็คยอดค่าไฟฟ้า แจ้งไฟฟ้าดับ แปลภาษา มาเลเซีย ไทย แผนที่ทวีปอเมริกาเหนือ ่้แปลภาษา Google Translate กระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ 8 ขั้นตอน ก่อนจะนิ่งก็ต้องกลิ้งมาก่อน เนื้อเพลง ข้อสอบโอเน็ตม.3 มีกี่ข้อ คะแนนโอเน็ต 65 ตม กรุงเทพ มีที่ไหนบ้าง