การเคลื่อนที่แบบฮาร์มอนิกที่เราพิจารณามี 4 ลักษณะอะไรบ้าง เมื่อวัตถุเคลื่อนที่แบบฮาร์มอนิกอย่างง่าย ปริมาณใดมีทิศตรงข้ามกันเสมอ วัตถุในข้อใดเคลื่อนที่แบบฮาร์มอนิกส์อย่างง่าย การเคลื่อนที่แบบฮาร์มอนิก มีอะไรบ้าง โจทย์การเคลื่อนที่แบบฮาร์มอนิกอย่างง่าย ม.5 พร้อมเฉลย ข้อสอบ การเคลื่อนที่แบบฮาร์มอนิกอย่างง่าย พร้อมเฉลย ที่ตำแหน่งสมดุลของวัตถุที่เคลื่อนที่แบบฮาร์มอนิกอย่างง่าย ขนาดของความเร่งคือข้อใด ขณะที่วัตถุสั่นแบบฮาร์มอนิกอย่างง่าย ปริมาณใดที่มีทิศทางตรงข้ามกันเสมอ การเคลื่อนที่แบบฮาร์มอนิกอย่างง่าย สรุป แรงดึงกลับของสปริงคือแรงอะไร การเคลื่อนที่แบบฮาร์มอนิกอย่างง่าย สูตร

ข้อใดเป็นลักษณะเฉพาะของการเคลื่อนที่แบบฮาร์มอนิกอย่างง่าย

การเคลื่อนที่แบบฮาร์มอนิกอย่างง่าย

(Simple harmonic motion : SHM)

1. อธิบายลักษณะเฉพาะของการเคลื่อนที่แบบฮาร์มอนิกอย่างง่าย

2. อธิบายการกระจัด ความเร็ว และความเร่งของวัตถุที่เคลื่อนที่แบบฮาร์มอนิกอย่างง่าย

3. คำนวณปริมาณต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการเคลื่อนที่แบบฮาร์มอนิกอย่างง่าย

4. อธิบายผลของแรงกับการสั่นของมวลติดปลายสปริงและการแกว่งของลูกตุ้มอย่างง่าย

5. ทดลองการเคลื่อนที่แบบฮาร์มอนิกอย่างง่ายของรถทดลองติดปลายสปริง

6. ทดลองการแกว่งของลูกตุ้มอย่างง่าย

7. คำนวณปริมาณที่เกี่ยวข้องกับคาบการสั่นของมวลติดปลายสปริงและการแกว่งของลูกตุ้มอย่างง่าย

8. อธิบายความถี่ธรรมชาติของวัตถุและการเกิดการสั่นพ้อง

1.ลักษณะการเคลื่อนที่แบบฮาร์มอนิกอย่างง่าย

2.ปริมาณที่เกี่ยวข้องกับการเคลื่อนที่แบบฮาร์มอนิกอย่างง่าย

  • การกระจัดของการเคลื่อนที่แบบฮาร์มอนิกอย่างง่าย

  • ความเร็วและความเร่งของการเคลื่อนที่แบบฮาร์มอนิกอย่างง่าย

3.แรงกับการสั่นของมวลติดปลายสปริงและลูกตุ้มอย่างง่าย

  • การสั่นของมวลติดปลายสปริง

  • การแกว่งของลูกตุ้มอย่างง่าย

4.ความถี่ธรรมชาติและการสั่นพ้อง

ลักษณะการเคลื่อนที่แบบฮาร์มอนิกอย่างง่าย

ภาพที่ 1 การสั่นของมวลติดปลายสปริง

ภาพที่ 2 การแกว่งของลูกตุ้ม

ลักษณะการเคลื่อนที่แบบฮาร์มอนิกอย่างง่าย

การเคลื่อนที่แบบฮาร์มอนิกอย่างง่าย (Simple Harmonic Motion : SHM) คือ การเคลื่อนที่กลับไปมาซ้ำทางเดิมโดยผ่านตำแหน่งสมดุล (Equilibrium position) โดยไม่มีการสูญเสียพลังงาน (แอมพลิจูดและคาบของการเคลื่อนที่คงตัว) เช่น การเคลื่อนที่ของวัตถุติดปลายสปริง (ภาพที่ 1) การสั่นของสายเครื่องดนตรี การแกว่งของลูกตุ้มนาฬิกา (ภาพที่ 2) เป็นต้น

ภาพที่ 3 แสดงตำแหน่งสมดุล

Q : ตำแหน่งสมดุล (Equilibrium position) คือตำแหน่งใด

A : ตำแหน่งสมดุล คือ ตำแหน่งที่วัตถุอยู่ในสภาพสมดุล เมื่อวัตถุเคลื่อนที่แบบฮาร์มอนิกอย่างง่ายจะเป็นตำแหน่งที่มีความเร็วมากที่สุดและมีความเร่งเป็นศูนย์

ภาพที่ 4 แสดงวัตถุที่เคลื่อนที่แบบฮาร์มอนิกอย่างง่าย

เราจะศึกษาการเคลื่อนที่แบบฮาร์มอนิกอย่างง่ายจากภาพที่ 8.4 โดยกำหนดให้ทิศทางขวาเป็นบวก และทิศทางซ้ายเป็นลบ

  • ในภาพที่ 4 (a) วัตถุมวล m อยู่ที่ตำแหน่งสมดุล มีการกระจัด x = 0 ซึ่งเป็นตำแหน่งที่สปริงมีความยาวตามปกติ ณ ตำแหน่งนี้สปริงจะไม่ส่งแรงมากระทำต่อวัตถุ (F = 0)

  • ในภาพที่ 4 (b) วัตถุมวล m ผูกติดกับสปริง วางอยู่บนพื้นที่ซึ่งไม่มีแรงเสียดทาน ซึ่งสปริงถูกดึงด้วยแรง (F1) ให้ยืดออกจากความยาวปกติเป็นระยะกระจัด x = A สปริงจะออกแรงดึง (F) วัตถุมวล m กลับมา อยู่ในตำแหน่งสมดุล x = 0 เรียก แรงที่สปริงกระทำต่อวัตถุนี้ว่า แรงดึงกลับ (Restoring force, F) ถ้า F เป็นแรงดึงกลับนี้จะได้ว่า

และเนื่องจากวัตถุเริ่มเคลื่อนที่ที่ตำแหน่ง x = A ความเร็วของวัตถุจึงเป็นศูนย์

  • ในภาพที่ 4 (c) เมื่อปล่อยให้วัตถุเคลื่อนที่ตามแรงดึงกลับของสปริง วัตถุจะเคลื่อนที่มาทางซ้าย ขณะที่วัตถุผ่านตำแหน่ง x = 0 หรือตำแหน่งสมดุลนี้ แรงที่สปริงกระทำต่อวัตถุจะมีค่าเป็นศูนย์ แต่อัตราเร็วของวัตถุ (v) จะมากที่สุด โดยมีทิศจากขวาไปซ้าย ความเร็วจึงมีค่าเป็นลบ

เนื่องจากพื้นไม่มีแรงเสียดทาน และสปริงก็ไม่ออกแรงกระทำต่อวัตถุ ดังนั้นที่ตำแหน่ง x = 0 นี้ วัตถุจึงสามารถรักษาสภาพการเคลื่อนที่ตามกฎข้อที่ 1 ของนิวตันไว้ได้ วัตถุจึงยังคงสามารถเคลื่อนที่ต่อไปทางซ้ายได้

  • ในภาพที่ 4 (d) ขณะที่วัตถุเคลื่อนที่ไปทางซ้ายนั้น วัตถุก็จะผลักให้สปริงหดสั้นไปจากความยาวเดิมด้วย ดังนั้น สปริงจะพยายามออกแรงดันกลับ (ดึงกลับ) ไปกระทำต่อวัตถุ เพื่อให้ตัวเองกลับไปสู่ความยาวปกติอีก โดยขณะที่วัตถุเคลื่อนที่ไปทางซ้ายมากที่สุด ความเร็วของวัตถุจะเป็นศูนย์ มีทิศของแรงดึงกลับจากซ้ายไปขวาหรือเป็นบวก เวกเตอร์ของการกระจัดของวัตถุมีทิศจากขวาไปซ้าย และมีขนาดเป็น A ดังนั้น ตำแหน่งของวัตถุขณะนี้จึงเป็น x = -A

มีข้อน่าสังเกตว่า ขนาดของการกระจัดมากที่สุดของวัตถุไม่ว่าจะเป็นทางซ้ายหรือขวาจะเท่ากัน คือ เป็น A เนื่องจากมีแรงมากระทำต่อวัตถุเพียงแรงเดียว คือ แรงจากสปริง ซึ่งมีทิศไปทางขวา วัตถุจึงเคลื่อนที่กลับไปทางขวาด้วยอิทธิพลของแรงนี้

  • ในภาพที่ 4 (e) วัตถุกลับมาที่ตำแหน่งสมดุลของสปริงอีกครั้งหนึ่ง เช่นเดียวกับในภาพที่ 4 (c) แต่ในขณะนี้วัตถุมีความเร็วมากที่สุดมีทิศไปทางขวาหรือมีค่าเป็นบวก วัตถุจึงยืดสปริงออกไป โดยยืดได้มากที่สุดถึงตำแหน่ง x = A ดังแสดงในภาพที่ 4 (f)ซึ่งเป็นตำแหน่งเดียวกันกับในภาพที่ 4 (b)

ดังนั้น การเคลื่อนที่ของวัตถุจึงกลับไปกลับมาซ้ำทางเดิม คือ จาก 4 (b) 4 (c) 4 (d) 4 (e) 4 (b) (ตำแหน่งเดียวกับ 4 (f)) เป็นอย่างนี้เรื่อยไป จึงเป็นการเคลื่อนที่แบบฮาร์มอนิกอย่างง่าย หรือSHM.

เนื่องจากการเคลื่อนที่แบบฮาร์มอนิกอย่างง่ายเป็นการเคลื่อนที่ที่มีการเปลี่ยนแปลงความเร็วของวัตถุที่ตำแหน่งต่าง ๆ แสดงว่ามีความเร่ง วัตถุจึงมีการเคลื่อนที่เป็นไปตามกฎข้อที่ 2 ของนิวตัน ƩF = ma....(1) และแรงที่ทำให้วัตถุเคลื่อนที่ คือ แรงดึงกลับของสปริง F = -kx แทนค่า F ใน (1) จะได้ว่า -kx = ma จัดรูปสมการได้เป็น a = -(k/m)x จะเห็นได้ว่า ความเร่งมีขนาดแปรผันตรงกับการกระจัดแต่มีทิศตรงกันข้าม (มีค่าเป็นลบ)

สรุปลักษณะการเคลื่อนที่แบบฮาร์มอนิกอย่างง่าย

ปริมาณที่เกี่ยวข้องกับการเคลื่อนที่แบบฮาร์มอนิกอย่างง่าย

ภาพที่ 5 แสดงตำแหน่งสมดุล การกระจัดและแอมพลิจูดของมวลติดปลายสปริง

ภาพที่ 6 แสดงตำแหน่งสมดุล การกระจัดและแอมพลิจูดของลูกตุ้ม

1.การกระจัด (displacement) คือ ระยะที่วัตถุเคลื่อนที่ไปได้โดยวัดจากตำแหน่งสมดุลไปจนถึงตำแหน่งของวัตถุ ในกรณีที่วัตถุเคลื่อนที่ในแนวระดับแทนด้วยสัญลักษณ์ x และเมื่อวัตถุเคลื่อนที่ในแนวดิ่งแทนด้วยสัญลักษณ์ y มีหน่วยเป็นเมตร (m)

2.แอมลิจูด (amplitude) คือ ระยะมากที่สุดที่วัตถุจะสามารถเคลื่อนที่ไปได้ โดยวัดจากตำแหน่งสมดุลไปจนถึงจุดปลาย มีค่าคงที่เสมอ แทนด้วยสัญลักษณ์ A มีหน่วยเป็นเมตร (m)

อาจจะพิจารณาได้ว่า แอมพลิจูด ก็คือ การกระจัดที่มีค่ามากที่สุดนั่นเอง

3. คาบ (period) คือ ช่วงเวลาที่วัตถุเคลื่อนที่ครบหนึ่งรอบ แทนด้วยสัญลักษณ์ T มีหน่วยเป็นวินาทีต่อรอบหรือวินาที (s)

4. ความถี่ (frequency ) คือ จำนวนรอบที่วัตถุเคลื่อนที่ได้ในหนึ่งหน่วยเวลา แทนด้วยสัญลักษณ์ f มีหน่วยเป็นรอบต่อวินาที (s-1, 1/s ) หรือเฮิรตซ์ (Hz)

ความสัมพันธ์ระหว่างคาบและความถี่ เป็นไปดังสมการ

ภาพที่ 7 แสดงตำแหน่งการเคลื่อนที่ของมวลติดปลายสปริง

ภาพที่ 8 แสดงตำแหน่งการเคลื่อนที่ของลูกตุ้ม

Q : เราสามารถนับรอบของวัตถุที่มีการเคลื่อนที่แบบฮาร์มอนิกอย่างง่ายได้อย่างไร

A : วิธีการนับรอบการเคลื่อนที่แบบฮาร์มอนิกอย่างง่ายของวัตถุ หากวัตถุเริ่มเคลื่อนที่จากตำแหน่ง A B C B A หรือหากวัตถุเริ่มเคลื่อนจากตำแหน่ง C B A B C จึงถือว่าครบหนึ่งรอบ

การเคลื่อนที่แบบฮาร์มอนิกอย่างง่ายเทียบกับการเคลื่อนที่แบบวงกลม

คลิปวิดีโอแสดงการเคลื่อนที่แบบฮาร์มอนิกอย่างง่ายเทียบกับการเคลื่อนที่แบบวงกลม

การเคลื่อนที่แบบฮาร์มอนิกอย่างง่าย มีลักษณะคล้ายกับการเคลื่อนที่แบบวงกลม กล่าวคือ มีการเคลื่อนที่กลับไปกลับมาซ้ำรอยเดิม มีการเคลื่อนที่แบบครบรอบ (Periodic motion) ดังนั้น การศึกษาปริมาณที่เกี่ยวข้องกับการเคลื่อนที่แบบฮาร์มอนิกอย่างง่ายจึงสามารถศึกษาได้จากเงาของวัตถุที่เคลื่อนที่แบบวงกลมในระนาบดิ่งที่ตกกระทบไปยังระนาบในแนวดิ่งและในแนวระดับ กราฟการกระจัด กับเวลาอยู่ในรูปของฟังก์ชันไซน์ หรือโคไซน์ ดังภาพ

ภาพที่ 9 แสดงเงาของการเคลื่อนที่แบบวงกลม

การกระจัดของการเคลื่อนที่แบบฮาร์มอนิกอย่างง่าย

ภาพที่ 10 แสดงการกระจัดของการเคลื่อนที่แบบฮาร์มอนิกอย่างง่ายเทียบกับการเคลื่อนที่แบบวงกลม

จากภาพที่ 10 วัตถุ Q เคลื่อนที่เป็นวงกลมรัศมี A ด้วยอัตราเร็วเชิงมุม ω เมื่อวัตถุ Q อยู่ที่ตำแหน่งหนึ่งซึ่งทำมุม θ กับแกน +x หากมีแสงฉายมาตามแนวแกน +y จะเกิดเงาของวัตถุ Q ที่ตำแหน่ง P โดยการกระจัดจากจุด O ถึงจุด P มีค่าเท่ากับ x = Acosθ หรือ x = Acosωt เนื่องจาก θ = ωt ในทำนองเดียวกัน หากมีแสงฉายมาตามแนวแกน +x จะเกิดเงาของวัตถุ Q ในแนวแกน y โดยการกระจัดจากจุด O ถึงเงาของวัตถุ Q มีค่าเท่ากับ y = Asinθ หรือ y = Asinωt ถ้าวัตถุ Q ยังเคลื่อนที่เป็นวงกลมต่อไป เงาของวัตถุ Q จะมีการเคลื่อนที่กลับไปกลับมาแบบฮาร์มอนิกอย่างง่าย

ความเร็วและความเร่งของการเคลื่อนที่แบบฮาร์มอนิกอย่างง่าย

ภาพที่ 11 แสดงความเร็วของการเคลื่อนที่แบบฮาร์มอนิกอย่างง่ายเทียบกับการเคลื่อนที่แบบวงกลม

จากภาพที่ 11 พิจารณาความเร็ว v ของวัตถุ Q ที่ตำแหน่งหนึ่งซึ่งทำมุม θ กับแกน +x เนื่องจาก Q มีการเคลื่อนที่เป็นวงกลม ความเร็ว v จึงอยู่ในแนวเส้นสัมผัสวงกลม (ลูกศรสีแดง) ซึ่งความเร็ว v เป็นความเร็วเชิงเส้นมีความสัมพันธ์กับความเร็วเชิงมุม ω ดังสมการ v = ωR ซึ่งในภาพ R = A ดังนั้น v = ωA เนื่องจาก A เป็นค่าการกระจัดที่มากที่สุด ค่าความเร็ว v = ωA จึงเป็นความเร็วสูงสุด vmax เมื่อพิจารณาความเร็วในแนวแกน x และแกน y โดยกำหนดให้ ทิศขึ้นและขวาเป็นบวก ส่วนทิศลงและซ้ายเป็นลบ จะได้ว่า vx = - vmaxsinθ และ vy = vmaxcosθ ตามลำดับ เมื่อแทนค่า vmax และ θ จะได้เป็น vx = - ωAsinωtและ vy = ωAcosωt ซึ่งสมการทั้งสองเป็นสมการความเร็วที่เป็นฟังก์ชันของเวลา

หากต้องการเปลี่ยนสมการฟังก์ชันของเวลา ให้เป็นสมการที่ขึ้นกับตำแหน่ง (การกระจัด) สามารถทำได้โดยใช้อัตราส่วนตรีโกณมิติมาพิจารณาดังในภาพที่ 11

ภาพที่ 12 แสดงความเร่งของการเคลื่อนที่แบบฮาร์มอนิกอย่างง่ายเทียบกับการเคลื่อนที่แบบวงกลม

จากภาพที่ 12 พิจารณาความเร่ง a ของวัตถุ Q ที่ตำแหน่งหนึ่งซึ่งทำมุม θ กับแกน +x เนื่องจาก Q มีการเคลื่อนที่เป็นวงกลม ความเร่ง a จึงอยู่ในแนวรัศมีของวงกลมโดยมีทิศเข้าหาจุดศูนย์กลางของวงกลม (ลูกศรสีแดง) ซึ่งความเร่ง a มีความสัมพันธ์กับความเร็วเชิงมุม ω ดังสมการ a = ω2R ซึ่งในภาพ R = A ดังนั้น a = ω2A เนื่องจาก A เป็นค่าการกระจัดที่มากที่สุด (แอมพลิจูด) ค่าความเร่ง a = ω2A จึงเป็นความเร่งสูงสุด amax เมื่อพิจารณาความเร่งในแนวแกน x และแกน y โดยกำหนดให้ ทิศขึ้นและขวาเป็นบวก ส่วนทิศลงและซ้ายเป็นลบ จะได้ว่า ax = - amaxcosθ และ ay = - amaxsinθ ตามลำดับ เมื่อแทนค่า amax และ θ จะได้เป็น ax = - ω2Acosωtและay = -ω2Asinωt ซึ่งสมการทั้งสองเป็นสมการความเร็วที่เป็นฟังก์ชันของเวลา

หากต้องการเปลี่ยนสมการฟังก์ชันของเวลา ให้เป็นสมการที่ขึ้นกับตำแหน่ง (การกระจัด) สามารถแทนค่าการกระจัด x = Acosωt และ y = Asinωt ในสมการ axและ ay ดังในภาพที่ 12

กราฟแสดงความสัมพันธ์ของการเคลื่อนที่แบบฮาร์มอนิกอย่างง่าย

สรุป การกระจัด ความเร็วและความเร่งของการเคลื่อนที่แบบฮาร์มอนิกอย่างง่าย

การสั่นของมวลติดปลายสปริง

การแกว่งของลูกตุ้มอย่างง่าย

ความถี่ธรรมชาติและการสั่นพ้อง

ความถี่ธรรมชาติ (natural frequency )คือ ความถี่ในการแกว่งอย่างอิสระของวัตถุ

การสั่นพ้อง (resonance) เกิดขึ้นเมื่อวัตถุถูกกระทำด้วยแรงหรือสัญญาณที่มีความถี่เท่ากับหรือใกล้เคียงกับความถี่ธรรมชาติของวัตถุ วัตถุนั้นจะสั่นด้วยความถี่นั้นและด้วยแอมพลิจูดที่มีค่ามาก แต่ถ้าเป็นคลื่นเสียงก็จะทำให้เสียงดังมากขึ้น จนอาจทำให้วัตถุนั้นเสียหายหรืออาจเกิดความรำคาญได้

คลิปวิดีโอการทดลองเรื่องความถี่ธรรมชาติและการสั่นพ้อง

คลิปวิดีโอตัวอย่างเรื่องความถี่ธรรมชาติการสั่นพ้องของสะพานทาโคมานาร์โรว์ ประเทศสหรัฐอเมริกา

คลิปวิดีโอตัวอย่างเรื่องความถี่ธรรมชาติและการสั่นพ้องของแก้ว

คลิปวิดีโอตัวอย่างเรื่องความถี่ธรรมชาติและการสั่นพ้องในตึกสูง

การเคลื่อนที่แบบฮาร์มอนิกอย่างง่าย วิทยาศาสตร์ ม.4-6 (ฟิสิกส์)

จัดทำโดย :

อาจารย์ ดร.สันติพงศ์ บริบาล

ภาควิชาฟิสิกส์

คณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

แหล่งที่มา

//upload.wikimedia.org/wikipedia/commons/d/d5/Animated-mass-spring-faster.gif

//i.gifer.com/PwVF.gif

//web.ku.ac.th/schoolnet/snet3/supinya/harmonic-mot/harmonic.htm

//www.youtube.com/watch?v=0IaKcqRw_Ts

//www.youtube.com/watch?v=P-Umre5Np_0

//makephyeasier.blogspot.com/2016/12/simple-harmonic-motion.html

//www.atom.rmutphysics.com/charud/oldnews/0/289/21/SHM-1-54.pdf

การเคลื่อนที่แบบฮาร์มอนิกที่เราพิจารณามี 4 ลักษณะอะไรบ้าง

ปริมาณที่สำคัญในการเคลื่อนที่แบบฮาร์โมนิกอย่างง่าย คือ 1.ความถี่ (f) คือ จำหน่วยรอบของการเคลื่อนที่ใน 1 วินาที หน่วยเป็น เฮิรตซ์ 2.การขจัด คือระยะทางที่วัตถุเคลื่อนที่ไปโดยนับจากจุดสมดุล 3.คาบ (T) คือ เวลาในการเคลื่อนที่ครบ 1 รอบ หน่วยเป็นวินาที (s)

เมื่อวัตถุเคลื่อนที่แบบฮาร์มอนิกอย่างง่าย ปริมาณใดมีทิศตรงข้ามกันเสมอ

การเคลื่อนที่แบบสั่นหรือแกว่งกลับไปกลับมาซ้ำรอยเดิมโดยมีการกระจัดสูงสุดจากแนวสมดุล (แอมพลิจูด) คงที่และเป็นการเคลื่อนที่ที่มีความเร่งและแรงแปรผันโดยตรงกับขนาดของการกระจัด แต่มีทิศทางตรงข้ามกันเสมอ (แรงและความเร่งมีทิศเข้าหาจุดสมดุล แต่การกระจัดมีทิศพุ่งออกจากจุดสมดุล) เราจะพบการเคลื่อนที่แบบซ้ำไปซ้ำมามากมาย เช่น ชิงช้า ...

วัตถุในข้อใดเคลื่อนที่แบบฮาร์มอนิกส์อย่างง่าย

.)​การเคลื่อนที่ของลูกตุ้มนาฬิกาและการเคลื่อนที่ของวัตถุที่ติดกับสปริงเป็นการเคลื่อนที่แบบฮาร์มอนิกอย่างง่าย

การเคลื่อนที่แบบฮาร์มอนิก มีอะไรบ้าง

1,496 views Jul 20, 2021 มาเรียนรู้การเคลื่อนที่แบบฮาร์มอนิกอย่างง่าย (Simple Harmonic Motion : SHM) คือ การเคลื่อนที่กลับไปมาซ้ำทางเดิมโดยผ่านตำแหน่งสมดุล และมีคาบของการเคลื่อนที่คงตัว เช่น การเคลื่อนที่ของวัตถุติ …

กระทู้ที่เกี่ยวข้อง

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

แปลภาษาไทย ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน อาจารย์ ตจต ศัพท์ทหาร ภาษาอังกฤษ pdf lmyour แปลภาษา ชขภใ ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมฟรี 2566 ขขขขบบบยข ่ส ศัพท์ทางทหาร military words หนังสือราชการ ตัวอย่าง หยน แปลบาลีเป็นไทย ไทยแปลอังกฤษ ประโยค การไฟฟ้านครหลวง การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ข้อสอบโอเน็ต ม.3 ออกเรื่องอะไรบ้าง พจนานุกรมศัพท์ทหาร เมอร์ซี่ อาร์สยาม ล่าสุด แปลภาษามลายู ยาวี Bahasa Thailand กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมออนไลน์ การ์ดจอมือสอง ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย คะแนน o-net โรงเรียน ค้นหา ประวัติ นามสกุล บทที่ 1 ที่มาและความสําคัญของปัญหา ร. ต จ แบบฝึกหัดเคมี ม.5 พร้อมเฉลย แปลภาษาอาหรับ-ไทย ใบรับรอง กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน PEA Life login Terjemahan บบบย มือปราบผีพันธุ์ซาตาน ภาค2 สรุปการบริหารทรัพยากรมนุษย์ pdf สอบโอเน็ต ม.3 จําเป็นไหม เช็คยอดค่าไฟฟ้า แจ้งไฟฟ้าดับ แปลภาษา มาเลเซีย ไทย แผนที่ทวีปอเมริกาเหนือ ่้แปลภาษา Google Translate กระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ 8 ขั้นตอน ก่อนจะนิ่งก็ต้องกลิ้งมาก่อน เนื้อเพลง ข้อสอบโอเน็ตม.3 มีกี่ข้อ คะแนนโอเน็ต 65 ตม กรุงเทพ มีที่ไหนบ้าง