ส่วนประกอบของจรวดมีอะไรบ้าง

จรวดเอสแอลเอส จอมพลังรุ่นใหม่ของนาซา

14 พฤศจิกายน 2565 โดย: วิมุติ วสะหลาย (wimut@hotmail.com)
ปรับปรุงครั้งล่าสุด 30 พฤศจิกายน 2565

ภารกิจอาร์เทมิส 1 ได้ทะยานขึ้นสู่อวกาศแล้วเมื่อเวลา 13:47 น. ของวันที่ 16 พฤจิกายน 2565 เป้าหมายคือ มุ่งหน้าสู่ดวงจันทร์ตามก้าวแรกในภารกิจนำมนุษย์กลับไปดวงจันทร์อีกครั้งขององค์การนาซา

เมื่อเรามองภาพการส่งจรวดของอาร์เทมิส 1 สิ่งหนึ่งที่เห็นโดดเด่นเป็นสง่าบนฐานส่งจรวดคือ จรวดลำยักษ์สูงเสียดฟ้าที่มีชื่อว่า เอสแอลเอส (Space Launch System) ซึ่งได้ชื่อว่าเป็นจรวดที่ทรงพลังที่สุดในโลกที่ยังประจำการอยู่ 

จรวดเอสแอลเอส 


ทายาทของกระสวยอวกาศ


จรวดเอสแอลเอสในภารกิจอาร์เทมิส 1 มีความสูง 98.1 เมตร มีจรวดใหญ่สีส้มเข้มเป็นลำแกน และมีจรวดเล็กสองลำสีขาวขนาบข้าง เมื่อมองเผิน ๆ อาจรู้สึกว่าจรวดรุ่นนี้มีความละม้ายคล้ายคลึงกับกระสวยอวกาศ ซึ่งเป็นระบบขนส่งอวกาศของนาซาที่ปลดระวางไปแล้ว ต่างเพียงแค่เอายานโคจรที่มีรูปร่างคล้ายเครื่องบินออกเท่านั้นเอง หากใครคิดว่าเอสแอลเอสคือกระสวยอวกาศที่ถอดยานโคจรออกก็เกือบถูกเลยทีเดียว เพราะวิศวกรออกแบบจรวดเอสแอลเอสโดยใช้ระบบขับดันของกระสวยอวกาศเป็นพื้นฐานจริง ๆ

ไม่เพียงแต่พัฒนาขึ้นมาจากกระสวยอวกาศเท่านั้น แม้แต่ชิ้นส่วนจรวดบางชิ้นรวมถึงเครื่องยนต์ก็ถอดเอาจากกระสวยอวกาศมาใช้ ดังนั้นจะกล่าวว่าเอสแอลเอสเป็นทายาทสายตรงของกระสวยอวกาศก็ไม่ผิดนัก

มาทบทวนความหลังกันสักนิด กระสวยอวกาศ คือยานขนส่งอวกาศของนาซาที่เป็นที่คุ้นตากันมากที่สุด มีทั้งสิ้นห้าลำ ได้แก่ แชลเลนเจอร์ ดิสคัฟเวอรี โคลัมเบีย แอตแลนติส และเอนเดฟเวอร์ มีลักษณะเหมือนจรวดมัดติดกับเครื่องบิน ส่วนประกอบหลักของกระสวยอวกาศมีสามส่วน ได้แก่ จรวดเชื้อเพลิงแข็ง ถังเชื้อเพลิงภายนอก และ ยานโคจร จรวดเชื้อเพลิงแข็งคือจรวดลำผอมสีขาวสองลำที่อยู่ด้านข้าง เป็นจรวดขับดันที่ใช้เชื้อเพลิงแข็ง เป็นส่วนที่ให้กำลังหลักในการยกยานขึ้นสู่ท้องฟ้า ส่วนชิ้นส่วนทรงกระบอกใหญ่สีส้มเข้มลำกลางที่ดูคล้ายจรวดคือถังเชื้อเพลิงภายนอก ไม่มีเครื่องยนต์ที่ด้านท้าย จึงไม่ใช่จรวด ภายในมีถังบรรจุไฮโดรเจนเหลวและออกซิเจนเหลวซึ่งใช้เป็นเชื้อเพลิงและออกซิไดเซอร์สำหรับยานโคจร ยานโคจรคือส่วนที่ดูเหมือนเครื่องบิน เป็นส่วนที่ลูกเรืออาศัยอยู่และเป็นยานสำหรับบรรทุกสัมภาระขึ้นสู่อวกาศ เช่นดาวเทียมหรือมอดูลสถานีอวกาศต่าง ๆ ท้ายยานโคจรคือเครื่องยนต์หลัก ที่มีท่อลำเลียงเชื้อเพลิงมาจากถังเชื้อเพลิงภายนอก

ส่วนประกอบของกระสวยอวกาศ 


การเดินทางของกระสวยอวกาศในช่วงขาขึ้นจะขึ้นแบบจรวด นั่นคือจะพุ่งขึ้นจากแท่นส่งจรวดในแนวดิ่ง ส่วนขากลับโลกจะลงแบบเครื่องบิน โดยยานโคจรจะร่อนลงบนรันเวย์เหมือนเครื่องบินทั่วไป เมื่อเริ่มออกเดินทาง จรวดเชื้อเพลิงแข็งและเครื่องยนต์หลักในยานโคจรจะจุดขึ้นเกือบพร้อมกันเพื่อผลักดันกระสวยอวกาศทั้งหมดขึ้นจากฐานส่ง หลังจากทะยานขึ้นสู่ท้องฟ้าได้ราว 2 นาที เมื่อเชื้อเพลิงในจรวดเชื้อเพลิงแข็งหมดก็จะปลดตัวเองออกไป ตัวถังเปล่าของจรวดเชื้อเพลิงแข็งจะตกลงสู่มหาสมุทรโดยมีร่มชูชีพประคอง รอให้เรือมาลากกลับเข้าฝั่งเพื่อชำระชะล้างและแยกส่วนเพื่อรอการนำไปประกอบใช้ซ้ำในเที่ยวบินอื่นต่อไป 

หลังจากที่ปลดจรวดเชื้อเพลิงแข็งออกไปแล้ว ส่วนที่เหลือได้แก่ยานโคจรและถังเชื้อเพลิงภายนอกจะมุ่งหน้าต่อไปโดยแรงขับของเครื่องยนต์หลัก เมื่อกระสวยอวกาศใกล้เข้าสู่วงโคจรรอบโลก ก็จะปลดถังเชื้อเพลิงภายนอกทิ้งไป เครื่องยนต์หลักก็ไม่ได้ใช้งานอีกต่อไป การดันยานเข้าสู่วงโคจรจะเป็นหน้าที่ของเครื่องยนต์ชุดเล็กอีกชุดหนึ่งที่อยู่ด้านท้ายยานโคจร

เมื่อจะกลับเข้าสู่โลก ยานโคจรจะกลับตัวแล้วเดินเครื่องท้ายยานเพื่อลดความเร็วลง ทำให้ระดับวงโคจรลดต่ำลงอย่างช้า ๆ จนในที่สุดก็เข้าสู่บรรยากาศโลก หลังจากนั้นยานโคจรก็จะกลายเป็นเครื่องร่อนที่จะประคองตัวจนมาลงจอดบนรันเวย์ เป็นอันเสร็จสิ้นการเดินทาง

ในแต่ละเที่ยวบินของกระสวยอวกาศมีเพียงถังเชื้อเพลิงภายนอกเท่านั้นที่ต้องทิ้งไป ส่วนจรวดเชื้อเพลิงแข็งและยานโคจรจะนำไปใช้งานซ้ำได้ในภายหลัง กระสวยอวกาศจึงเป็นอวกาศยานแบบใช้ซ้ำบางส่วน 

คืนสู่สามัญ


ส่วนประกอบหลักของเอสแอลเอสคือ จรวดเชื้อเพลิงแข็ง จรวดแกน และจรวดตอนที่สอง

การวางตำแหน่งสัมภาระของเอสแอลเอสได้หวนกลับไปใช้แบบดั้งเดิม นั่นคือนำสัมภาระทั้งหมดของจรวดไปไว้ที่ส่วนยอดจรวด ไม่ใช้ยานโคจรแบบเครื่องบินอีกต่อไป นอกจากนี้ยังละทิ้งแนวคิดการเป็นอวกาศยานใช้ซ้ำของกระสวยอวกาศไปจนหมดสิ้น ชิ้นส่วนทุกชิ้นของจรวดเอสแอลเอสจะถูกใช้เพียงครั้งเดียว ไม่มีการนำกลับมาใช้ซ้ำ 

จรวดสีขาวผอมเพรียวสองลำด้านข้างเป็นจรวดเชื้อเพลิงแข็ง ใช้ชิ้นส่วนแบบเดียวกับจรวดเชื้อเพลิงแข็งของกระสวยอวกาศ แต่เพิ่มจำนวนปล้องจาก 4 ปล้องเป็น 5 ปล้อง จรวดเชื้อเพลิงแข็งของเอสแอลเอสจึงดูผอมเพรียว เพราะยาวกว่า ส่งแรงขับได้นานกว่า มีความสูง 53.8 เมตร เส้นผ่านศูนย์กลาง 3.6 เมตร หนัก 727 ตัน
เชื้อเพลิงคือผงอะลูมินัมผสมแอมโมเนียมเพอร์คลอเรตประสานด้วยอะคริโลโนไตรล์โพลีบิวทาไดอีน ให้แรงยก 16,000 กิโลนิวตันต่อท่อน 

จรวดเชื้อเพลิงแข็งนี้มีเวลาทำงานสั้นที่สุดเพียง 126 วินาที แต่เป็นส่วนสำคัญที่สุดในการพาเอสแอลเอสขึ้นสู่ท้องฟ้า เพราะข้อดีสำคัญของจรวดเชื้อเพลิงแข็งคือให้แรงขับสูงมาก แรงขับ 75 เปอร์เซ็นต์ของเอสแอลเอสมาจากจรวดเชื้อเพลิงแข็งนี้

ส่วนประกอบหลักของเอสแอลเอสในภารกิจอาร์เทมิส 1 


ส่วนจรวดสีส้มเข้มลำกลางเป็นจรวดจริง ๆ ด้านใต้ติดเครื่องยนต์อาร์เอส-25 สี่เครื่องที่ถอดมาจากยานโคจรของกระสวยอวกาศ มีความสูง 64.6 เมตร เส้นผ่านศูนย์กลาง 8.4 เมตรเท่ากับถังเชื้อเพลิงภายนอกของกระสวยอวกาศ ใช้ไฮโดรเจนเหลว 2 ล้านลิตรเป็นเชื้อเพลิง และออกซิเจนเหลว 741,941 ลิตรเป็นออกซิไดเซอร์ เครื่องยนต์อาร์เอส-25 แต่ละเครื่องให้แรงขับ 2,278 กิโลนิวตันในสุญญากาศ หรือ 1,852 กิโลนิวตันที่ระดับน้ำทะเล

สีส้มเข้มของจรวดแกนของเอสแอลเอสไม่ใช่สีที่ทาตกแต่งจรวด แต่เป็นสีของโฟมที่เคลือบตัวถังจรวดเพื่อเป็นฉนวนกันความเย็นรั่วไหล จรวดลำแกนของเอสแอลเอสใช้ออกซิเจนเหลวและไฮโดรเจนเหลวซึ่งเย็นจัด เมื่อมีการถ่ายของเหลวทั้งสองมายังถังเก็บภายในจรวด จะเสียความเย็นผ่านถังไป จึงต้องมีการฉีดพ่นโฟมเคลือบเพื่อเป็นฉนวนกันความเย็นรั่วไหล โฟมนี้เดิมมีสีเหลือง แต่เมื่อตากแดดสีจึงคล้ำลงกลายเป็นสีส้มเข้ม ถังเชื้อเพลิงภายนอกของกระสวยอวกาศและตัวจรวดของจรวดตระกูลเดลตาก็เคลือบด้วยโฟมฉนวนชนิดนี้เหมือนกันจึงดูมีสีส้มเข้มเหมือนกัน

โฟมฉนวนนี้เองที่เป็นต้นเหตุของปัญหาจนนำมาสู่โศกนาฏกรรมของกระสวยอวกาศโคลัมเบียในปี 2546 เนื่องจากขณะส่งจรวด โฟมชิ้นใหญ่ชิ้นหนึ่งได้หลุดจากถังเชื้อเพลิงภายนอกมากระแทกเข้าใส่ขอบปีกของยานโคจร ชิ้นส่วนที่ขอบปีกทำจากคาร์บอน-คาร์บอนเสริมแรงที่ทนความร้อนสูงได้ดีแต่เปราะบางมาก เมื่อถูกชนจึงแตกหักและเกิดรอยรั่วที่ปีก รอยรั่วนี้ไม่ก่อปัญหาขณะขึ้นสู่อวกาศและขณะยังอยู่ในวงโคจร แต่ในขากลับโลก ความร้อนจากการปะทะบรรยากาศได้รั่วไหลผ่านรอยรั่วเข้าไปทำลายตัวยานจนแหลกสลาย มนุษย์อวกาศทั้งเจ็ดคนเสียชีวิต อย่างไรก็ตามปัญหานี้จะไม่เกิดกับเอสแอลเอสเพราะไม่มียานโคจรที่เปราะบางเกาะอยู่ด้านข้าง 

เปรียบเทียบขนาดและระวางบรรทุกของจรวดรุ่นใหญ่ตั้งแต่อดีต ปัจจุบัน และอนาคต 




ถัดจากท่อนแรกของลำแกนขึ้นไป คือจรวดตอนบนที่มีชื่อว่า ไอซีพีเอส (ICPS--Interim Cryogenic Propulsion Stage) มีความสูง 13 เมตร ใช้เครื่องยนต์เครื่องเดียว เป็นเครื่องยนต์อาร์แอล 10 เครื่องยนต์ชนิดนี้เป็นแบบเดียวกับที่ใช้ในเครื่องยนต์ท่อนที่สองในจรวดเดลตา 4 ของยูไนเต็ตลอนช์อัลไลอันซ์ ให้แรงขับดัน 110 กิโลนิวตัน ใช้ไฮโดรเจนเหลวเป็นเชื้อเพลิง

เมื่อขึ้นจากฐานส่ง จรวดเชื้อเพลิงแข็งและจรวดแกนจะจุดขึ้นเกือบพร้อมกัน ทั้งสามท่อนให้แรงขับรวม 39 ล้านนิวตัน ซึ่งมากกว่าจรวดแซตเทิร์น 5 ถึง 15 เปอร์เซ็นต์ 

หลังจากขึ้นพ้นพื้นโลกไปได้สองนาทีเศษ เชื้อเพลิงในจรวดเชื้อพลิงแข็งก็หมดไปและถูกปลดออกไปก่อน ขณะนั้นจรวดมีความเร็วประมาณ 6,400 กิโลเมตรต่อชั่วโมง สูงจากพื้นดิน 43 กิโลเมตร จรวดแกนที่ยังเดินเครื่องอยู่จะทำหน้าที่ต่อไปอีกจนเวลาผ่านไป 8 นาทีเศษ เมื่อจรวดมีความเร็วใกล้ถึงความเร็วที่ต้องใช้ในวงโคจรรอบโลก จรวดแกนจะถูกปลดออกไป หลังจากนั้นจรวดตอนบนจะทำหน้าที่ต่อ ตั้งแต่ดันยานเข้าสู่วงโคจรรอบโลก ซึ่งมีความเร็วประมาณ 28,000 กิโลเมตรต่อชั่วโมง  จากนั้นก็จะผลักดันให้มีความเร็วสูงขึ้นถึง 36,200 กิโลเมตรต่อชั่วโมงเพื่อให้พ้นจากวงโคจรและมุ่งหน้าสู่ดวงจันทร์ จรวดตอนบนของเอสแอลเอสจึงมีระยะเวลาทำงานนานที่สุด 

เมื่อพ้นวงโคจรโลกไปแล้ว จรวดตอนบนก็จะถูกสลัดทิ้งไป เป็นอันหมดหน้าที่ของจรวดเอสแอลเอส พลังขับเคลื่อนต่อจากนี้ไปจะใช้เครื่องยนต์หลักของยานโอไรอันแทน 

จรวดเอสแอลเอสจึงนับเป็นจรวดสองตอน ตอนที่หนึ่งคือจรวดเชื้อเพลิงแข็งและจรวดแกน เนื่องจากเครื่องยนต์ทั้งสามลำนี้จุดขึ้นพร้อมกัน จึงนับเป็นตอนเดียวกัน และตอนที่สองคือจรวดตอนบน

จรวดเอสแอลเอสจะใช้ไอซีพีเอสเป็นจรวดตอนบนเพียงในอาร์เทมิส 1-3 เท่านั้น นับจากอาร์เทมิส 4 จะใช้จรวดตอนบนอีกแบบหนึ่ง คือ อียูเอส (EUS--Exploration Upper Stagte) ซึ่งมีแรงขับสูงกว่า ใช้เครื่องยนต์อาร์แอล 10 ซี-3 (RL10C-3) สี่เครื่อง 

จรวดเอสแอลเอสรุ่นต่าง ๆ  


จรวดเอสแอลเอสมิได้มีเพียงรุ่นเดียวเท่านั้น นาซาได้วางแผนที่จะสร้างเอสแอลเอสขึ้นมาสามรุ่น รุ่นแรก หรือที่เรียกว่า บล็อก 1 คือรุ่นที่พาอาร์เทมิส 1-3 ไปดวงจันทร์  ส่วนในอาร์เทมิส 4-8 จะใช้รุ่น 1 บี ซึ่งมีการปรับปรุงในส่วนของจรวดตอนบนให้มีแรงขับสูงกว่าเดิม หลังจากนั้นเอสแอลเอสก็จะปรับปรุงครั้งใหญ่อีกครั้งเป็นรุ่น 2 ซึ่งมีการออกแบบจรวดเชื้อเพลิงแข็งใหม่ มีพลังมากกว่าเดิม ในรุ่น 2 นี้จะเป็นรุ่นที่มีแรงขับมากที่สุด มีระวางบรรทุกที่วงโคจรระดับต่ำถึง 130 ตัน 


เอสแอลเอสไม่ได้สร้างมาเพื่ออาร์เทมิสอย่างเดียวเท่านั้น ในอนาคตเราอาจเห็นมีการใช้จรวดยักษ์รุ่นนี้ในการส่งยานอวกาศขนาดใหญ่ขึ้นสู่อวกาศ ตัวอย่างโครงการที่อาจได้เดินทางไปกับเอสแอลเอส เช่น เนปจูนโอดิสซียส์ ยูโรปาแลนเดอร์  เอนเซลาดัสออร์บิแลนเดอร์ 

อนาคตที่ไม่แน่นอน


ด้วยระวางบรรทุกสูงสุดถึง 95 ตันที่วงโคจรใกล้โลก หรือ 27 ตันไปดวงจันทร์ ทำให้เอสแอลเอสครองความเป็นจ้าวพลังแห่งห้วงอวกาศได้อย่างไม่ต้องสงสัย อย่างน้อยก็ในขณะนี้ เมื่อพิจารณาตัวเลขต่าง ๆ เช่นความสูง ขนาด ระวางบรรทุกสูงสุด หรือแรงขับของเครื่องยนต์ จะรู้สึกถึงพละกำลังอันมหัศจรรย์ของสิ่งประดิษฐ์ยักษ์นี้ 

แต่ทราบหรือไม่ว่า จรวดแซตเทิร์น 5 ที่เคยนำมนุษย์ไปเดินบนดวงจันทร์ในโครงการอะพอลโลมีระวางบรรทุกสูงสุดถึง 140 ตันที่วงโคจรใกล้โลกทั้งที่มีแรงขับของเครื่องยนต์เป็นรองเอสแอลเอส ยิ่งกว่านั้น ค่าใช้จ่ายในการส่งจรวดแซตเทิร์น 5 แต่ละครั้งยังถูกกว่าเอสแอลเอสถึงเท่าตัว ผู้เชี่ยวชาญประเมินว่าเอสแอลเอสมีค่าใช้จ่ายในการส่งจรวดต่อครั้งไม่ต่ำกว่าสองพันล้านดอลลาร์หรืออาจพุ่งสูงถึงสี่พันล้านดอลลาร์เลยทีเดียว

เป็นเรื่องน่าขันที่เทคโนโลยีที่ก้าวหน้ากว่าถึงครึ่งศตวรรษกลับช่วยให้นาซาทำได้เพียงสร้างจรวดที่แพงขึ้นแต่ประสิทธิภาพด้อยลง เอสแอลเอสใช้แนวคิดโบราณอย่างไม่น่าเชื่อ แม้การนำสัมภาระขึ้นไปอยู่บนยอดจรวดตามแบบเดิมมีเหตุผลที่ดี เพราะเป็นการปิดจุดอ่อนที่เคยมีในระบบกระสวยอวกาศทิ้งไป แต่สิ่งหนึ่งที่ไม่น่าเชื่อว่าโบอิ้งซึ่งเป็นผู้รับงานจากนาซาให้พัฒนาเอสแอลเอสเลือกทำก็คือ การพาระบบเอสแอลเอสกลับไปสู่ระบบใช้ครั้งเดียวทิ้งซึ่งเป็นแนวคิดการออกแบบจรวดที่กำลังจะกลายเป็นอดีต แนวคิดการออกแบบจรวดที่กำลังจะเป็นแนวทางหลักของการขนส่งอวกาศในอนาคตคือการเป็นระบบใช้ซ้ำ หลายองค์กรหลายชาติก็เลือกที่จะเดินตามแนวทางนี้ เช่นจีนก็ประกาศว่ากำลังจะพัฒนาระบบอวกาศยานใช้ซ้ำแบบสมบูรณ์อยู่ แม้แต่รัสเซียที่เคยเมินเฉยต่อระบบใช้ซ้ำมาตลอดก็ยังยอมรับว่าจะปฏิเสธแนวทางนี้ไม่ได้เสียแล้ว และเมื่อไม่นานมานี้ก็ประกาศว่าจะพัฒนาจรวดใช้ซ้ำบ้าง แต่เอสแอลเอสกลับสวนกระแสด้วยการย้อนกลับไปเป็นระบบจรวดใช้ทิ้งแบบเดิมซึ่งเป็นการสิ้นเปลืองอย่างมาก ด้วยเหตุนี้ทำให้นักวิเคราะห์หลายคนเรียกเอสแอลเอสว่า เป็นระบบจรวดไดโนเสาร์

ขณะนี้มีหลายเสียงในสหรัฐอเมริกาเรียกร้องให้นาซาทบทวนการเลือกใช้เอสแอลเอสเป็นระบบขนส่งหลักในการสำรวจอวกาศในอนาคตแล้วหันไปใช้ระบบอื่นที่ราคาถูกกว่าแทน

ระบบอื่นที่กล่าวถึงมีหลายตัวเลือก ตัวเลือกที่น่าจับตามองที่สุดในขณะนี้คือ สเปซเอกซ์ ซึ่งเป็นผู้พัฒนาระบบขนส่งอวกาศที่ประสบความสำเร็จอย่างมาก ปัจจุบันเป็นผู้ให้บริการจรวดฟัลคอน 9 จรวดฟัลคอนเฮฟวี ยานดรากอน ยานครูว์ดรากอน และขณะนี้กำลังพัฒนาจรวดซูเปอร์เฮฟวีกับยานสตาร์ชิปอย่างแข็งขันซึ่งกำลังก้าวหน้าไปอย่างมาก ระบบของสเปซเอกซ์มีจุดเด่นคือเป็นระบบที่ค่าใช้จ่ายถูกมาก ฟัลคอนเฮฟวีมีระวางบรรทุกสูงสุด 64 ตันที่วงโคจรใกล้โลก แม้จะยังต่ำกว่าเอสแอลเอส แต่ฟัลคอนเฮฟวีมีต้นทุนในการส่งจรวดครั้งละประมาณ 100 ล้านดอลลาร์ ยิ่งกว่านั้น หากจรวดซูเปอร์เฮฟวีพัฒนาขึ้นสำเร็จและทำได้ดังที่กล่าวอ้างไว้ ก็จะเรียกได้ว่า ซูเปอร์เฮฟวี-สตาร์ชิปเหนือกว่าเอสแอลเอสทุกด้าน เพราะจะมีระวางบรรทุกสูงสุดราว 150 ตันซึ่งสูงกว่าเอสแอลเอส แต่มีค่าใช้จ่ายถูกกว่านับร้อยเท่า สเปซเอกซ์เคยอ้างถึงตัวเลขประเมินที่ดูน่าเหลือเชื่อว่า ซูเปอร์เฮฟวีมีค่าใช้จ่ายในการส่งจรวดครั้งละไม่ถึง 10 ล้านดอลลาร์เท่านั้น 

จรวดซูเปอร์เฮฟวี-สตาร์ชิป (ซ้าย) และจรวดฟัลคอนเฮฟวี (ขวา) 


ปัจจัยสำคัญที่ทำให้ระบบของสเปซเอกซ์มีค่าใช้จ่ายถูกมากก็คือการเป็นระบบใช้ซ้ำที่เอสแอลเอสเมินหนีนั่นเอง


อย่างไรก็ตาม ณ ขณะนี้องค์การนาซาก็ยังไม่มีท่าทีจะเปลี่ยนใจ ยังคงเลือกเอาเอสแอลเอสเป็นพาหนะหลักอันดับหนึ่งต่อไป อย่างน้อยก็ไม่ต่ำกว่า 5 ภารกิจแรกของอาร์เทมิสที่จะใช้เอสแอลเอส แต่ในอนาคตข้างหน้า เมื่อถึงวันที่จรวดซูเปอร์เฮฟวีและยานสตาร์ชิปพร้อมประจำการ เราอาจเห็นสเปซเอกซ์พานักท่องเที่ยวไปชมดวงจันทร์ปีละสามสี่เที่ยวบิน ในขณะที่เอสแอลเอสพามนุษย์อวกาศของนาซาไปดวงจันทร์ได้ไม่เกินปีละหนึ่งเที่ยวบินในราคาที่แพงกว่าหลายร้อยเท่า เมื่อนั้นการเปรียบเทียบก็จะชัดเจนเป็นรูปธรรมขึ้น และอาจทำให้นาซาตัดสินใจได้ง่ายขึ้นด้วย



สถิติและตัวเลขที่น่าสนใจเกี่ยวกับเอสแอลเอส


เอสแอลเอสเมื่อเติมเชื้อเพลิงเต็ม มีน้ำหนัก 2,600 ตัน หรือหนักเท่ากับเครื่องบินจัมโบเจ็ต 777 บรรทุกน้ำหนักเต็มเจ็ดลำ 
เมื่อตั้งอยู่บนฐานส่งจรวด น้ำหนักทั้งหมดของเอสแอลเอสถ่ายลงบนบ่ารับ 8 ตัวที่อยู่ที่ฐานของจรวดเชื้อเพลิงแข็ง มีหมุดยึดอย่างแน่นหนา หมุดทั้งแปดนี้จะถูกดีดออกในวินาทีที่จรวดจะทะยานขึ้น
เครื่องยนต์อาร์เอส-25 บางเครื่องที่ติดที่จรวดแกนในภารกิจอาร์เทมิส 1 เคยผ่านการนำกระสวยอวกาศขึ้นสู่อวกาศมาแล้ว 25 ครั้ง 
ไอร้อนที่พุ่งออกจากหัวฉีดของเครื่องยนต์อาร์เอส-25 มีความเร็วมากกว่าเสียง 13 เท่า
จรวดแกนของเอสแอลเอสมีความสูง 65 เมตร เป็นท่อนจรวดที่ยาวที่สุดในบรรดาจรวดทั้งหมดที่เคยสร้างกันมา 
ภายในเอสแอลเอสมีห่วงรัดสายไฟราว 100,000 ตัว มีสายไฟยาวรวม 72.5 กิโลเมตร และมีเซนเซอร์ตรวจวัดเกือบ 800  ตัว 
ในจรวดแกนมีคอมพิวเตอร์ควบคุมการบินสามเครื่อง ใช้พาวเวอร์พีซี จี 3 เป็นชิปประมวลผลกลาง
จรวดเชื้อเพลิงแข็งเผาผลาญเชื้อเพลิงวินาทีละ 5.5 ตัน 
จรวดแกนเผาผลาญเชื้อเพลิงวินาทีละ 1,500 แกลลอน
เอสแอลเอสสามารถเร่งความเร็วได้สูงสุด 34,500 กิโลเมตรต่อชั่วโมง
เอสแอลเอสจะถูกนำจากโรงประกอบไปยังแท่นปล่อยโดยรถบรรทุกเคลื่อนที่ที่วิ่งได้เร็วที่สุดไม่เกิน 1.6 กิโลเมตรต่อวินาที ซึ่งช้ากว่าความเร็วมนุษย์เดินถึงสองเท่า
เอสแอลเอสเป็นระบบที่แพงมาก การส่งจรวดเอสแอลเอสแต่ละครั้งมีค่าใช้จ่ายไม่น้อยกว่า 2 พันล้านดอลลาร์ (ประมาณ 70,000 ล้านบาท)


ข้อมูลอ้างอิง


Space Launch System - Nasa
Space Launch System - Boeing
By the numbers: The Space Launch System, NASA’s next Moon rocket - astronomy.com
Bigger Than Saturn, Bound for Deep Space - smithsonianmag.com


บทความที่เกี่ยวข้อง

  • อาร์เทมิส บันไดสามขั้นสู่การนำมนุษย์กลับไปเดินบนดวงจันทร์

  • ชุมนุมจรวดยักษ์

  • อาร์เทมิส 1 ทำอะไร

  • แมวเหมียวเที่ยวอวกาศ

  • เรื่องที่คุณอาจยังไม่รู้เกี่ยวกับอะพอลโล 11

  • รู้จักพลูโต ก่อนจะไปถึงขอบฟ้าใหม่

  • ยานแคสซีนี-ไฮเกนส์เข้าสู่วงโคจรรอบดาวเสาร์

  • อาหารอวกาศ

  • มังกรจีนผงาดฟ้า

  • 2001 มาร์สโอดิสซีย์

จรวดเอสแอลเอส จอมพลังรุ่นใหม่ของนาซา

14 พฤศจิกายน 2565 โดย: วิมุติ วสะหลาย (wimut@hotmail.com)
ปรับปรุงครั้งล่าสุด 30 พฤศจิกายน 2565

ภารกิจอาร์เทมิส 1 ได้ทะยานขึ้นสู่อวกาศแล้วเมื่อเวลา 13:47 น. ของวันที่ 16 พฤจิกายน 2565 เป้าหมายคือ มุ่งหน้าสู่ดวงจันทร์ตามก้าวแรกในภารกิจนำมนุษย์กลับไปดวงจันทร์อีกครั้งขององค์การนาซา

เมื่อเรามองภาพการส่งจรวดของอาร์เทมิส 1 สิ่งหนึ่งที่เห็นโดดเด่นเป็นสง่าบนฐานส่งจรวดคือ จรวดลำยักษ์สูงเสียดฟ้าที่มีชื่อว่า เอสแอลเอส (Space Launch System) ซึ่งได้ชื่อว่าเป็นจรวดที่ทรงพลังที่สุดในโลกที่ยังประจำการอยู่ 

จรวดเอสแอลเอส 


ทายาทของกระสวยอวกาศ


จรวดเอสแอลเอสในภารกิจอาร์เทมิส 1 มีความสูง 98.1 เมตร มีจรวดใหญ่สีส้มเข้มเป็นลำแกน และมีจรวดเล็กสองลำสีขาวขนาบข้าง เมื่อมองเผิน ๆ อาจรู้สึกว่าจรวดรุ่นนี้มีความละม้ายคล้ายคลึงกับกระสวยอวกาศ ซึ่งเป็นระบบขนส่งอวกาศของนาซาที่ปลดระวางไปแล้ว ต่างเพียงแค่เอายานโคจรที่มีรูปร่างคล้ายเครื่องบินออกเท่านั้นเอง หากใครคิดว่าเอสแอลเอสคือกระสวยอวกาศที่ถอดยานโคจรออกก็เกือบถูกเลยทีเดียว เพราะวิศวกรออกแบบจรวดเอสแอลเอสโดยใช้ระบบขับดันของกระสวยอวกาศเป็นพื้นฐานจริง ๆ

ไม่เพียงแต่พัฒนาขึ้นมาจากกระสวยอวกาศเท่านั้น แม้แต่ชิ้นส่วนจรวดบางชิ้นรวมถึงเครื่องยนต์ก็ถอดเอาจากกระสวยอวกาศมาใช้ ดังนั้นจะกล่าวว่าเอสแอลเอสเป็นทายาทสายตรงของกระสวยอวกาศก็ไม่ผิดนัก

มาทบทวนความหลังกันสักนิด กระสวยอวกาศ คือยานขนส่งอวกาศของนาซาที่เป็นที่คุ้นตากันมากที่สุด มีทั้งสิ้นห้าลำ ได้แก่ แชลเลนเจอร์ ดิสคัฟเวอรี โคลัมเบีย แอตแลนติส และเอนเดฟเวอร์ มีลักษณะเหมือนจรวดมัดติดกับเครื่องบิน ส่วนประกอบหลักของกระสวยอวกาศมีสามส่วน ได้แก่ จรวดเชื้อเพลิงแข็ง ถังเชื้อเพลิงภายนอก และ ยานโคจร จรวดเชื้อเพลิงแข็งคือจรวดลำผอมสีขาวสองลำที่อยู่ด้านข้าง เป็นจรวดขับดันที่ใช้เชื้อเพลิงแข็ง เป็นส่วนที่ให้กำลังหลักในการยกยานขึ้นสู่ท้องฟ้า ส่วนชิ้นส่วนทรงกระบอกใหญ่สีส้มเข้มลำกลางที่ดูคล้ายจรวดคือถังเชื้อเพลิงภายนอก ไม่มีเครื่องยนต์ที่ด้านท้าย จึงไม่ใช่จรวด ภายในมีถังบรรจุไฮโดรเจนเหลวและออกซิเจนเหลวซึ่งใช้เป็นเชื้อเพลิงและออกซิไดเซอร์สำหรับยานโคจร ยานโคจรคือส่วนที่ดูเหมือนเครื่องบิน เป็นส่วนที่ลูกเรืออาศัยอยู่และเป็นยานสำหรับบรรทุกสัมภาระขึ้นสู่อวกาศ เช่นดาวเทียมหรือมอดูลสถานีอวกาศต่าง ๆ ท้ายยานโคจรคือเครื่องยนต์หลัก ที่มีท่อลำเลียงเชื้อเพลิงมาจากถังเชื้อเพลิงภายนอก

ส่วนประกอบของกระสวยอวกาศ 


การเดินทางของกระสวยอวกาศในช่วงขาขึ้นจะขึ้นแบบจรวด นั่นคือจะพุ่งขึ้นจากแท่นส่งจรวดในแนวดิ่ง ส่วนขากลับโลกจะลงแบบเครื่องบิน โดยยานโคจรจะร่อนลงบนรันเวย์เหมือนเครื่องบินทั่วไป เมื่อเริ่มออกเดินทาง จรวดเชื้อเพลิงแข็งและเครื่องยนต์หลักในยานโคจรจะจุดขึ้นเกือบพร้อมกันเพื่อผลักดันกระสวยอวกาศทั้งหมดขึ้นจากฐานส่ง หลังจากทะยานขึ้นสู่ท้องฟ้าได้ราว 2 นาที เมื่อเชื้อเพลิงในจรวดเชื้อเพลิงแข็งหมดก็จะปลดตัวเองออกไป ตัวถังเปล่าของจรวดเชื้อเพลิงแข็งจะตกลงสู่มหาสมุทรโดยมีร่มชูชีพประคอง รอให้เรือมาลากกลับเข้าฝั่งเพื่อชำระชะล้างและแยกส่วนเพื่อรอการนำไปประกอบใช้ซ้ำในเที่ยวบินอื่นต่อไป 

หลังจากที่ปลดจรวดเชื้อเพลิงแข็งออกไปแล้ว ส่วนที่เหลือได้แก่ยานโคจรและถังเชื้อเพลิงภายนอกจะมุ่งหน้าต่อไปโดยแรงขับของเครื่องยนต์หลัก เมื่อกระสวยอวกาศใกล้เข้าสู่วงโคจรรอบโลก ก็จะปลดถังเชื้อเพลิงภายนอกทิ้งไป เครื่องยนต์หลักก็ไม่ได้ใช้งานอีกต่อไป การดันยานเข้าสู่วงโคจรจะเป็นหน้าที่ของเครื่องยนต์ชุดเล็กอีกชุดหนึ่งที่อยู่ด้านท้ายยานโคจร

เมื่อจะกลับเข้าสู่โลก ยานโคจรจะกลับตัวแล้วเดินเครื่องท้ายยานเพื่อลดความเร็วลง ทำให้ระดับวงโคจรลดต่ำลงอย่างช้า ๆ จนในที่สุดก็เข้าสู่บรรยากาศโลก หลังจากนั้นยานโคจรก็จะกลายเป็นเครื่องร่อนที่จะประคองตัวจนมาลงจอดบนรันเวย์ เป็นอันเสร็จสิ้นการเดินทาง

ในแต่ละเที่ยวบินของกระสวยอวกาศมีเพียงถังเชื้อเพลิงภายนอกเท่านั้นที่ต้องทิ้งไป ส่วนจรวดเชื้อเพลิงแข็งและยานโคจรจะนำไปใช้งานซ้ำได้ในภายหลัง กระสวยอวกาศจึงเป็นอวกาศยานแบบใช้ซ้ำบางส่วน 

คืนสู่สามัญ


ส่วนประกอบหลักของเอสแอลเอสคือ จรวดเชื้อเพลิงแข็ง จรวดแกน และจรวดตอนที่สอง

การวางตำแหน่งสัมภาระของเอสแอลเอสได้หวนกลับไปใช้แบบดั้งเดิม นั่นคือนำสัมภาระทั้งหมดของจรวดไปไว้ที่ส่วนยอดจรวด ไม่ใช้ยานโคจรแบบเครื่องบินอีกต่อไป นอกจากนี้ยังละทิ้งแนวคิดการเป็นอวกาศยานใช้ซ้ำของกระสวยอวกาศไปจนหมดสิ้น ชิ้นส่วนทุกชิ้นของจรวดเอสแอลเอสจะถูกใช้เพียงครั้งเดียว ไม่มีการนำกลับมาใช้ซ้ำ 

จรวดสีขาวผอมเพรียวสองลำด้านข้างเป็นจรวดเชื้อเพลิงแข็ง ใช้ชิ้นส่วนแบบเดียวกับจรวดเชื้อเพลิงแข็งของกระสวยอวกาศ แต่เพิ่มจำนวนปล้องจาก 4 ปล้องเป็น 5 ปล้อง จรวดเชื้อเพลิงแข็งของเอสแอลเอสจึงดูผอมเพรียว เพราะยาวกว่า ส่งแรงขับได้นานกว่า มีความสูง 53.8 เมตร เส้นผ่านศูนย์กลาง 3.6 เมตร หนัก 727 ตัน
เชื้อเพลิงคือผงอะลูมินัมผสมแอมโมเนียมเพอร์คลอเรตประสานด้วยอะคริโลโนไตรล์โพลีบิวทาไดอีน ให้แรงยก 16,000 กิโลนิวตันต่อท่อน 

จรวดเชื้อเพลิงแข็งนี้มีเวลาทำงานสั้นที่สุดเพียง 126 วินาที แต่เป็นส่วนสำคัญที่สุดในการพาเอสแอลเอสขึ้นสู่ท้องฟ้า เพราะข้อดีสำคัญของจรวดเชื้อเพลิงแข็งคือให้แรงขับสูงมาก แรงขับ 75 เปอร์เซ็นต์ของเอสแอลเอสมาจากจรวดเชื้อเพลิงแข็งนี้

ส่วนประกอบหลักของเอสแอลเอสในภารกิจอาร์เทมิส 1 


ส่วนจรวดสีส้มเข้มลำกลางเป็นจรวดจริง ๆ ด้านใต้ติดเครื่องยนต์อาร์เอส-25 สี่เครื่องที่ถอดมาจากยานโคจรของกระสวยอวกาศ มีความสูง 64.6 เมตร เส้นผ่านศูนย์กลาง 8.4 เมตรเท่ากับถังเชื้อเพลิงภายนอกของกระสวยอวกาศ ใช้ไฮโดรเจนเหลว 2 ล้านลิตรเป็นเชื้อเพลิง และออกซิเจนเหลว 741,941 ลิตรเป็นออกซิไดเซอร์ เครื่องยนต์อาร์เอส-25 แต่ละเครื่องให้แรงขับ 2,278 กิโลนิวตันในสุญญากาศ หรือ 1,852 กิโลนิวตันที่ระดับน้ำทะเล

สีส้มเข้มของจรวดแกนของเอสแอลเอสไม่ใช่สีที่ทาตกแต่งจรวด แต่เป็นสีของโฟมที่เคลือบตัวถังจรวดเพื่อเป็นฉนวนกันความเย็นรั่วไหล จรวดลำแกนของเอสแอลเอสใช้ออกซิเจนเหลวและไฮโดรเจนเหลวซึ่งเย็นจัด เมื่อมีการถ่ายของเหลวทั้งสองมายังถังเก็บภายในจรวด จะเสียความเย็นผ่านถังไป จึงต้องมีการฉีดพ่นโฟมเคลือบเพื่อเป็นฉนวนกันความเย็นรั่วไหล โฟมนี้เดิมมีสีเหลือง แต่เมื่อตากแดดสีจึงคล้ำลงกลายเป็นสีส้มเข้ม ถังเชื้อเพลิงภายนอกของกระสวยอวกาศและตัวจรวดของจรวดตระกูลเดลตาก็เคลือบด้วยโฟมฉนวนชนิดนี้เหมือนกันจึงดูมีสีส้มเข้มเหมือนกัน

โฟมฉนวนนี้เองที่เป็นต้นเหตุของปัญหาจนนำมาสู่โศกนาฏกรรมของกระสวยอวกาศโคลัมเบียในปี 2546 เนื่องจากขณะส่งจรวด โฟมชิ้นใหญ่ชิ้นหนึ่งได้หลุดจากถังเชื้อเพลิงภายนอกมากระแทกเข้าใส่ขอบปีกของยานโคจร ชิ้นส่วนที่ขอบปีกทำจากคาร์บอน-คาร์บอนเสริมแรงที่ทนความร้อนสูงได้ดีแต่เปราะบางมาก เมื่อถูกชนจึงแตกหักและเกิดรอยรั่วที่ปีก รอยรั่วนี้ไม่ก่อปัญหาขณะขึ้นสู่อวกาศและขณะยังอยู่ในวงโคจร แต่ในขากลับโลก ความร้อนจากการปะทะบรรยากาศได้รั่วไหลผ่านรอยรั่วเข้าไปทำลายตัวยานจนแหลกสลาย มนุษย์อวกาศทั้งเจ็ดคนเสียชีวิต อย่างไรก็ตามปัญหานี้จะไม่เกิดกับเอสแอลเอสเพราะไม่มียานโคจรที่เปราะบางเกาะอยู่ด้านข้าง 

เปรียบเทียบขนาดและระวางบรรทุกของจรวดรุ่นใหญ่ตั้งแต่อดีต ปัจจุบัน และอนาคต 




ถัดจากท่อนแรกของลำแกนขึ้นไป คือจรวดตอนบนที่มีชื่อว่า ไอซีพีเอส (ICPS--Interim Cryogenic Propulsion Stage) มีความสูง 13 เมตร ใช้เครื่องยนต์เครื่องเดียว เป็นเครื่องยนต์อาร์แอล 10 เครื่องยนต์ชนิดนี้เป็นแบบเดียวกับที่ใช้ในเครื่องยนต์ท่อนที่สองในจรวดเดลตา 4 ของยูไนเต็ตลอนช์อัลไลอันซ์ ให้แรงขับดัน 110 กิโลนิวตัน ใช้ไฮโดรเจนเหลวเป็นเชื้อเพลิง

เมื่อขึ้นจากฐานส่ง จรวดเชื้อเพลิงแข็งและจรวดแกนจะจุดขึ้นเกือบพร้อมกัน ทั้งสามท่อนให้แรงขับรวม 39 ล้านนิวตัน ซึ่งมากกว่าจรวดแซตเทิร์น 5 ถึง 15 เปอร์เซ็นต์ 

หลังจากขึ้นพ้นพื้นโลกไปได้สองนาทีเศษ เชื้อเพลิงในจรวดเชื้อพลิงแข็งก็หมดไปและถูกปลดออกไปก่อน ขณะนั้นจรวดมีความเร็วประมาณ 6,400 กิโลเมตรต่อชั่วโมง สูงจากพื้นดิน 43 กิโลเมตร จรวดแกนที่ยังเดินเครื่องอยู่จะทำหน้าที่ต่อไปอีกจนเวลาผ่านไป 8 นาทีเศษ เมื่อจรวดมีความเร็วใกล้ถึงความเร็วที่ต้องใช้ในวงโคจรรอบโลก จรวดแกนจะถูกปลดออกไป หลังจากนั้นจรวดตอนบนจะทำหน้าที่ต่อ ตั้งแต่ดันยานเข้าสู่วงโคจรรอบโลก ซึ่งมีความเร็วประมาณ 28,000 กิโลเมตรต่อชั่วโมง  จากนั้นก็จะผลักดันให้มีความเร็วสูงขึ้นถึง 36,200 กิโลเมตรต่อชั่วโมงเพื่อให้พ้นจากวงโคจรและมุ่งหน้าสู่ดวงจันทร์ จรวดตอนบนของเอสแอลเอสจึงมีระยะเวลาทำงานนานที่สุด 

เมื่อพ้นวงโคจรโลกไปแล้ว จรวดตอนบนก็จะถูกสลัดทิ้งไป เป็นอันหมดหน้าที่ของจรวดเอสแอลเอส พลังขับเคลื่อนต่อจากนี้ไปจะใช้เครื่องยนต์หลักของยานโอไรอันแทน 

จรวดเอสแอลเอสจึงนับเป็นจรวดสองตอน ตอนที่หนึ่งคือจรวดเชื้อเพลิงแข็งและจรวดแกน เนื่องจากเครื่องยนต์ทั้งสามลำนี้จุดขึ้นพร้อมกัน จึงนับเป็นตอนเดียวกัน และตอนที่สองคือจรวดตอนบน

จรวดเอสแอลเอสจะใช้ไอซีพีเอสเป็นจรวดตอนบนเพียงในอาร์เทมิส 1-3 เท่านั้น นับจากอาร์เทมิส 4 จะใช้จรวดตอนบนอีกแบบหนึ่ง คือ อียูเอส (EUS--Exploration Upper Stagte) ซึ่งมีแรงขับสูงกว่า ใช้เครื่องยนต์อาร์แอล 10 ซี-3 (RL10C-3) สี่เครื่อง 

จรวดเอสแอลเอสรุ่นต่าง ๆ  


จรวดเอสแอลเอสมิได้มีเพียงรุ่นเดียวเท่านั้น นาซาได้วางแผนที่จะสร้างเอสแอลเอสขึ้นมาสามรุ่น รุ่นแรก หรือที่เรียกว่า บล็อก 1 คือรุ่นที่พาอาร์เทมิส 1-3 ไปดวงจันทร์  ส่วนในอาร์เทมิส 4-8 จะใช้รุ่น 1 บี ซึ่งมีการปรับปรุงในส่วนของจรวดตอนบนให้มีแรงขับสูงกว่าเดิม หลังจากนั้นเอสแอลเอสก็จะปรับปรุงครั้งใหญ่อีกครั้งเป็นรุ่น 2 ซึ่งมีการออกแบบจรวดเชื้อเพลิงแข็งใหม่ มีพลังมากกว่าเดิม ในรุ่น 2 นี้จะเป็นรุ่นที่มีแรงขับมากที่สุด มีระวางบรรทุกที่วงโคจรระดับต่ำถึง 130 ตัน 


เอสแอลเอสไม่ได้สร้างมาเพื่ออาร์เทมิสอย่างเดียวเท่านั้น ในอนาคตเราอาจเห็นมีการใช้จรวดยักษ์รุ่นนี้ในการส่งยานอวกาศขนาดใหญ่ขึ้นสู่อวกาศ ตัวอย่างโครงการที่อาจได้เดินทางไปกับเอสแอลเอส เช่น เนปจูนโอดิสซียส์ ยูโรปาแลนเดอร์  เอนเซลาดัสออร์บิแลนเดอร์ 

อนาคตที่ไม่แน่นอน


ด้วยระวางบรรทุกสูงสุดถึง 95 ตันที่วงโคจรใกล้โลก หรือ 27 ตันไปดวงจันทร์ ทำให้เอสแอลเอสครองความเป็นจ้าวพลังแห่งห้วงอวกาศได้อย่างไม่ต้องสงสัย อย่างน้อยก็ในขณะนี้ เมื่อพิจารณาตัวเลขต่าง ๆ เช่นความสูง ขนาด ระวางบรรทุกสูงสุด หรือแรงขับของเครื่องยนต์ จะรู้สึกถึงพละกำลังอันมหัศจรรย์ของสิ่งประดิษฐ์ยักษ์นี้ 

แต่ทราบหรือไม่ว่า จรวดแซตเทิร์น 5 ที่เคยนำมนุษย์ไปเดินบนดวงจันทร์ในโครงการอะพอลโลมีระวางบรรทุกสูงสุดถึง 140 ตันที่วงโคจรใกล้โลกทั้งที่มีแรงขับของเครื่องยนต์เป็นรองเอสแอลเอส ยิ่งกว่านั้น ค่าใช้จ่ายในการส่งจรวดแซตเทิร์น 5 แต่ละครั้งยังถูกกว่าเอสแอลเอสถึงเท่าตัว ผู้เชี่ยวชาญประเมินว่าเอสแอลเอสมีค่าใช้จ่ายในการส่งจรวดต่อครั้งไม่ต่ำกว่าสองพันล้านดอลลาร์หรืออาจพุ่งสูงถึงสี่พันล้านดอลลาร์เลยทีเดียว

เป็นเรื่องน่าขันที่เทคโนโลยีที่ก้าวหน้ากว่าถึงครึ่งศตวรรษกลับช่วยให้นาซาทำได้เพียงสร้างจรวดที่แพงขึ้นแต่ประสิทธิภาพด้อยลง เอสแอลเอสใช้แนวคิดโบราณอย่างไม่น่าเชื่อ แม้การนำสัมภาระขึ้นไปอยู่บนยอดจรวดตามแบบเดิมมีเหตุผลที่ดี เพราะเป็นการปิดจุดอ่อนที่เคยมีในระบบกระสวยอวกาศทิ้งไป แต่สิ่งหนึ่งที่ไม่น่าเชื่อว่าโบอิ้งซึ่งเป็นผู้รับงานจากนาซาให้พัฒนาเอสแอลเอสเลือกทำก็คือ การพาระบบเอสแอลเอสกลับไปสู่ระบบใช้ครั้งเดียวทิ้งซึ่งเป็นแนวคิดการออกแบบจรวดที่กำลังจะกลายเป็นอดีต แนวคิดการออกแบบจรวดที่กำลังจะเป็นแนวทางหลักของการขนส่งอวกาศในอนาคตคือการเป็นระบบใช้ซ้ำ หลายองค์กรหลายชาติก็เลือกที่จะเดินตามแนวทางนี้ เช่นจีนก็ประกาศว่ากำลังจะพัฒนาระบบอวกาศยานใช้ซ้ำแบบสมบูรณ์อยู่ แม้แต่รัสเซียที่เคยเมินเฉยต่อระบบใช้ซ้ำมาตลอดก็ยังยอมรับว่าจะปฏิเสธแนวทางนี้ไม่ได้เสียแล้ว และเมื่อไม่นานมานี้ก็ประกาศว่าจะพัฒนาจรวดใช้ซ้ำบ้าง แต่เอสแอลเอสกลับสวนกระแสด้วยการย้อนกลับไปเป็นระบบจรวดใช้ทิ้งแบบเดิมซึ่งเป็นการสิ้นเปลืองอย่างมาก ด้วยเหตุนี้ทำให้นักวิเคราะห์หลายคนเรียกเอสแอลเอสว่า เป็นระบบจรวดไดโนเสาร์

ขณะนี้มีหลายเสียงในสหรัฐอเมริกาเรียกร้องให้นาซาทบทวนการเลือกใช้เอสแอลเอสเป็นระบบขนส่งหลักในการสำรวจอวกาศในอนาคตแล้วหันไปใช้ระบบอื่นที่ราคาถูกกว่าแทน

ระบบอื่นที่กล่าวถึงมีหลายตัวเลือก ตัวเลือกที่น่าจับตามองที่สุดในขณะนี้คือ สเปซเอกซ์ ซึ่งเป็นผู้พัฒนาระบบขนส่งอวกาศที่ประสบความสำเร็จอย่างมาก ปัจจุบันเป็นผู้ให้บริการจรวดฟัลคอน 9 จรวดฟัลคอนเฮฟวี ยานดรากอน ยานครูว์ดรากอน และขณะนี้กำลังพัฒนาจรวดซูเปอร์เฮฟวีกับยานสตาร์ชิปอย่างแข็งขันซึ่งกำลังก้าวหน้าไปอย่างมาก ระบบของสเปซเอกซ์มีจุดเด่นคือเป็นระบบที่ค่าใช้จ่ายถูกมาก ฟัลคอนเฮฟวีมีระวางบรรทุกสูงสุด 64 ตันที่วงโคจรใกล้โลก แม้จะยังต่ำกว่าเอสแอลเอส แต่ฟัลคอนเฮฟวีมีต้นทุนในการส่งจรวดครั้งละประมาณ 100 ล้านดอลลาร์ ยิ่งกว่านั้น หากจรวดซูเปอร์เฮฟวีพัฒนาขึ้นสำเร็จและทำได้ดังที่กล่าวอ้างไว้ ก็จะเรียกได้ว่า ซูเปอร์เฮฟวี-สตาร์ชิปเหนือกว่าเอสแอลเอสทุกด้าน เพราะจะมีระวางบรรทุกสูงสุดราว 150 ตันซึ่งสูงกว่าเอสแอลเอส แต่มีค่าใช้จ่ายถูกกว่านับร้อยเท่า สเปซเอกซ์เคยอ้างถึงตัวเลขประเมินที่ดูน่าเหลือเชื่อว่า ซูเปอร์เฮฟวีมีค่าใช้จ่ายในการส่งจรวดครั้งละไม่ถึง 10 ล้านดอลลาร์เท่านั้น 

จรวดซูเปอร์เฮฟวี-สตาร์ชิป (ซ้าย) และจรวดฟัลคอนเฮฟวี (ขวา) 


ปัจจัยสำคัญที่ทำให้ระบบของสเปซเอกซ์มีค่าใช้จ่ายถูกมากก็คือการเป็นระบบใช้ซ้ำที่เอสแอลเอสเมินหนีนั่นเอง


อย่างไรก็ตาม ณ ขณะนี้องค์การนาซาก็ยังไม่มีท่าทีจะเปลี่ยนใจ ยังคงเลือกเอาเอสแอลเอสเป็นพาหนะหลักอันดับหนึ่งต่อไป อย่างน้อยก็ไม่ต่ำกว่า 5 ภารกิจแรกของอาร์เทมิสที่จะใช้เอสแอลเอส แต่ในอนาคตข้างหน้า เมื่อถึงวันที่จรวดซูเปอร์เฮฟวีและยานสตาร์ชิปพร้อมประจำการ เราอาจเห็นสเปซเอกซ์พานักท่องเที่ยวไปชมดวงจันทร์ปีละสามสี่เที่ยวบิน ในขณะที่เอสแอลเอสพามนุษย์อวกาศของนาซาไปดวงจันทร์ได้ไม่เกินปีละหนึ่งเที่ยวบินในราคาที่แพงกว่าหลายร้อยเท่า เมื่อนั้นการเปรียบเทียบก็จะชัดเจนเป็นรูปธรรมขึ้น และอาจทำให้นาซาตัดสินใจได้ง่ายขึ้นด้วย



สถิติและตัวเลขที่น่าสนใจเกี่ยวกับเอสแอลเอส


เอสแอลเอสเมื่อเติมเชื้อเพลิงเต็ม มีน้ำหนัก 2,600 ตัน หรือหนักเท่ากับเครื่องบินจัมโบเจ็ต 777 บรรทุกน้ำหนักเต็มเจ็ดลำ 
เมื่อตั้งอยู่บนฐานส่งจรวด น้ำหนักทั้งหมดของเอสแอลเอสถ่ายลงบนบ่ารับ 8 ตัวที่อยู่ที่ฐานของจรวดเชื้อเพลิงแข็ง มีหมุดยึดอย่างแน่นหนา หมุดทั้งแปดนี้จะถูกดีดออกในวินาทีที่จรวดจะทะยานขึ้น
เครื่องยนต์อาร์เอส-25 บางเครื่องที่ติดที่จรวดแกนในภารกิจอาร์เทมิส 1 เคยผ่านการนำกระสวยอวกาศขึ้นสู่อวกาศมาแล้ว 25 ครั้ง 
ไอร้อนที่พุ่งออกจากหัวฉีดของเครื่องยนต์อาร์เอส-25 มีความเร็วมากกว่าเสียง 13 เท่า
จรวดแกนของเอสแอลเอสมีความสูง 65 เมตร เป็นท่อนจรวดที่ยาวที่สุดในบรรดาจรวดทั้งหมดที่เคยสร้างกันมา 
ภายในเอสแอลเอสมีห่วงรัดสายไฟราว 100,000 ตัว มีสายไฟยาวรวม 72.5 กิโลเมตร และมีเซนเซอร์ตรวจวัดเกือบ 800  ตัว 
ในจรวดแกนมีคอมพิวเตอร์ควบคุมการบินสามเครื่อง ใช้พาวเวอร์พีซี จี 3 เป็นชิปประมวลผลกลาง
จรวดเชื้อเพลิงแข็งเผาผลาญเชื้อเพลิงวินาทีละ 5.5 ตัน 
จรวดแกนเผาผลาญเชื้อเพลิงวินาทีละ 1,500 แกลลอน
เอสแอลเอสสามารถเร่งความเร็วได้สูงสุด 34,500 กิโลเมตรต่อชั่วโมง
เอสแอลเอสจะถูกนำจากโรงประกอบไปยังแท่นปล่อยโดยรถบรรทุกเคลื่อนที่ที่วิ่งได้เร็วที่สุดไม่เกิน 1.6 กิโลเมตรต่อวินาที ซึ่งช้ากว่าความเร็วมนุษย์เดินถึงสองเท่า
เอสแอลเอสเป็นระบบที่แพงมาก การส่งจรวดเอสแอลเอสแต่ละครั้งมีค่าใช้จ่ายไม่น้อยกว่า 2 พันล้านดอลลาร์ (ประมาณ 70,000 ล้านบาท)


ข้อมูลอ้างอิง


Space Launch System - Nasa
Space Launch System - Boeing
By the numbers: The Space Launch System, NASA’s next Moon rocket - astronomy.com
Bigger Than Saturn, Bound for Deep Space - smithsonianmag.com


ยานอวกาศมีส่วนประกอบอะไรบ้าง

การเคลื่อนที่ในวงโคจร กระสวยอวกาศประกอบด้วย 3 ส่วน ได้แก่ จรวดเชื้อเพลิงแข็ง (Solid rocket booster) ถังเชื้อเพลิงภายนอก (external tank) และยานขนส่งอวกาศ (orbiter) กระบวนการขนส่งดาวเทียม เริ่มจากการส่งกระสวยอวกาศให้ทะยานจากพื้นโดยมีจรวดเชื้อเพลิงแข็งทำหน้าที่ขับดันกระสวยอวกาศ และ เมื่อเชื้อเพลิงแข็งสันดาปหมด กระสวยอวกาศ ...

จรวดทำมาจากอะไร

1.จรวดเชื้อเพลิงแข็ง (Solid-propellant rockets) เป็นจรวดที่เรียบง่าย แต่เมื่อจุดระเบิดแล้วจะไม่สามารถหยุดกลางคันได้ โดยทั่วไปจะใช้สารประกอบเปอร์คลอเรตเป็นตัวออกซิไดซ์(70%) และใช้ผงอะลูมิเนียมเป็นเชื้อเพลิง (16%) สารอื่นๆโดยมากจะเป็นสารที่ทำหน้าที่ยึดประสาน และมีตัวเร่งปฏิกิริยาอีกเล็กน้อย

ใดคือส่วนประกอบสำคัญของกระสวยอวกาศ

ส่วนสำคัญของกระสวยอวกาศ เรียกว่า ออร์บิเตอร์ (orbiter หมายถึง ยานโคจร) จะพาลูกเรือและสัมภาระไปยังอวกาศในขณะที่จะส่งกระสวยอวกาศขึ้นไป กระสวยจะอยู่ที่ฐานส่งโดยจะตั้งชี้ขึ้นไปคล้ายจรวด ข้าง ๆ ออร์บิเตอร์จะมีแทงค์น้ำมันขนาดใหญ่ ซึ่งเรียกว่า แทงค์ด้านนอก (External Tank) ซึ่งมันจะเก็บออกซิเจนและไฮโดรเจนในขณะที่มันขึ้น ...

องค์ประกอบหลักของระบบยานขนส่งอวกาศ มีอะไรบ้าง

ระบบการขนส่งอวกาศเป็นโครงการที่ถูกออกแบบให้สามารถนำชิ้นส่วนบางส่วนที่ใช้ไปแล้วกลับมาใช้ใหม่อีกเพื่อเป็นการประหยัดและมีประสิทธิภาพมากที่สุด ประกอบด้วย 3 ส่วนหลัก คือ จรวดเชื้อเพลิงแข็ง ถังเชื้อเพลิงภายนอก (สำรองไฮโดรเจนเหลวและออกซิเจนเหลว) และยานอวกาศ

กระทู้ที่เกี่ยวข้อง

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

แปลภาษาไทย ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน อาจารย์ ตจต ศัพท์ทหาร ภาษาอังกฤษ pdf lmyour แปลภาษา ชขภใ ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมฟรี 2566 ขขขขบบบยข ่ส ศัพท์ทางทหาร military words หนังสือราชการ ตัวอย่าง หยน แปลบาลีเป็นไทย ไทยแปลอังกฤษ ประโยค การไฟฟ้านครหลวง การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ข้อสอบโอเน็ต ม.3 ออกเรื่องอะไรบ้าง พจนานุกรมศัพท์ทหาร เมอร์ซี่ อาร์สยาม ล่าสุด แปลภาษามลายู ยาวี Bahasa Thailand กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมออนไลน์ การ์ดจอมือสอง ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย คะแนน o-net โรงเรียน ค้นหา ประวัติ นามสกุล บทที่ 1 ที่มาและความสําคัญของปัญหา ร. ต จ แบบฝึกหัดเคมี ม.5 พร้อมเฉลย แปลภาษาอาหรับ-ไทย ใบรับรอง กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน PEA Life login Terjemahan บบบย มือปราบผีพันธุ์ซาตาน ภาค2 สรุปการบริหารทรัพยากรมนุษย์ pdf สอบโอเน็ต ม.3 จําเป็นไหม เช็คยอดค่าไฟฟ้า แจ้งไฟฟ้าดับ แปลภาษา มาเลเซีย ไทย แผนที่ทวีปอเมริกาเหนือ ่้แปลภาษา Google Translate กระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ 8 ขั้นตอน ก่อนจะนิ่งก็ต้องกลิ้งมาก่อน เนื้อเพลง ข้อสอบโอเน็ตม.3 มีกี่ข้อ คะแนนโอเน็ต 65 ตม กรุงเทพ มีที่ไหนบ้าง