องค์ประกอบที่ใช้ในการสร้างสรรค์บทเพลงไทยมีอะไรบ้าง

‘องค์ประกอบของดนตรี’ คือ ส่วนสำคัญซึ่งก่อเกิดเป็นดนตรีขึ้นมา สำหรับวันนี้เราจะกล่าวถึงองค์ประกอบของดนตรีในภาพรวม ได้แก่ปัจจัยเหล่านี้ เสียง, ทำนอง, เสียงประสาน, จังหวะ รวมทั้งรูปแบบของดนตรี

เสียง (Tone)

สำหรับเสียง หรือ Tone นั้น จะมีความแตกต่างกันไปจากเสียง ซึ่งเรียกว่า Noise โดยลักษณะของการเกิดเสียงในลักษณะนี้ เกิดจากการสั่นสะเทือนอย่างสม่ำเสมอ หากแต่ Noise เกิดมาจากการสั่นสะเทือนที่ไม่สม่ำเสมอ เพราะฉะนั้นเสียงดนตรี ที่ได้มาจากการเป่า/ร้อง/ดีด/สี จะมาในลักษณะ Tone เนื่องจากการสั่นสะเทือนดำเนินอย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอนั่นเอง

ระดับเสียง (Pitch)

คือ ความสูง – ต่ำของเสียง ถ้าความถี่ของการสั่นสะเทือนเกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว ก็จะก่อให้เกิดเสียงสูง หากแต่ถ้าความถี่ของการสั่นสะเทือนช้า ก็จะทำให้เกิดเสียงต่ำ ซึ่งภายในหูของมนุษย์สามารถแยกเสียงได้ ตั้งแต่ระดับความถี่สั่นสะเทือน 16 ครั้ง / วินาที ถึง 20,000 ครั้ง / วินาที

สีสันของเสียง (Tone Color)

คือ ความแตกต่างของเสียง ที่มาจากแหล่งกำเนิดแตกต่างกัน ทางด้านการดนตรีแล้วก็มาจากการใช้เครื่องดนตรีประเภทต่างๆ ซึ่งมีมากมายหลายประเภท อีกทั้งยังรวมไปถึงเสียงร้องของมนุษย์อีกด้วย ยกตัวอย่างให้เห็นภาพ ในบทเพลงหนึ่ง ถ้าขับร้องโดยผู้ชาย ผู้ฟังก็จะได้รับรู้ถึงความรู้สึกแตกต่างจากการขับร้องโดยผู้หญิง เป็นต้น หรือ ทางด้านการบรรเลงดนตรี ถ้าเป็นการบรรเลงเพลงเดี่ยว ก็จะมีความแตกต่างกันออกไปจากการบรรเลงเป็นวง หรือ มีความแตกต่างจากการบรรเลงโดยเครื่องดนตรีต่างชนิดกัน สำหรับลักษณะที่มีความแตกต่างกันนี้ ถูกเรียกว่าสีสันของเสียง โดยคุณสมบัติจำนวน 4 ประการของเสียง ที่นำมารวมกันก่อให้เกิดเสียงดนตรีที่มีความหลากหลาย จนกระทั่งก่อให้เกิดการสร้างสรรค์ทำให้ดนตรีเป็นศิลปะประเภทหนึ่ง สามารถสรุปได้ว่าเสียงดนตรีประกอบด้วย ต่ำ/สูง/สั้น/ยาว/เบา/ดัง นอกจากนี้ก็ยังมีเสียงที่แตกต่างกันไป ตามแต่เครื่องดนตรีแต่ละชนิด

ท่วงทำนอง (Melody)

สำหรับท่วงทำนอง คือ การจัดเรียงของเสียงซึ่งมีความแตกต่างกันไป ตามแต่ระดับของเสียง รวมทั้งความยาวของเสียง ตามปกติทั่วไปแล้ว ดนตรีจะประกอบไปด้วยท่วงทำนอง โดยเป็นองค์ประกอบที่ง่ายต่อการจดจำมาก นอกจากนี้ท่วงทำนองต่างมีหลากหลายคุณลักษณะตามองค์ประกอบของทำนองนั้นๆ

เสียงประสาน (Harmony)

จัดเป็นองค์ประกอบของดนตรีประเภทหนึ่ง ซึ่งเกิดขึ้นจากการผสมผสานของเสียง มากกว่า 1 เสียง สำหรับเสียงประสานจัดเป็นองค์ประกอบทางดนตรี ที่มีความซับซ้อนมากกว่าจังหวะหรือทำนองเสียอีก ทำให้ผู้ฟังสัมผัสได้ถึงความประณีตในการประพันธ์ หากแต่ถึงกระนั้นในบางวัฒนธรรม ก็อาจไม่พบการประสานเสียงของดนตรีเลยก็ได้ เช่น ดนตรีประจำท้องถิ่นหรือดนตรีพื้นบ้าน ซึ่งเน้นในเรื่องของความเรียบง่าย และเป็นดนตรีที่แสดงออกถึงความเป็นเอกลักษณ์ของตนเอง

จังหวะ (Rhythm)

ดนตรีทุกประเภทในโลกนี้ จะต้องประกอบด้วยความช้า – เร็ว ของจังหวะเพลง เช่น เพลงที่ใช้ในการประกอบการเต้นรำเพื่อสร้างความสนุกสนาน ก็จะมีจังหวะที่กระชับ รวดเร็ว ซึ่งแน่นอนว่ามีความตรงกันข้ามกับเพลงที่ใช้ในการกล่อมเด็ก ซึ่งมีจังหวะค่อนข้างช้า เป็นต้น ด้วยเหตุนี้ปัจจัยเรื่องเวลา จึงเป็นอีกปัจจัยส่วนหนึ่งที่มีความสำคัญ ซึ่งต้องประกอบไปด้วยรายละเอียดยิบย่อย เช่น ความเร็วของจังหวะ / อัตราจังหวะ และจังหวะ

อย่างไรก็ตามสำหรับในวัฒนธรรมพื้นบ้าน ก็ไม่ได้มีการแสดงเป็นลายลักษณ์อักษร หรือไม่ได้มีการระบุไว้ว่าจะต้องบรรเลงบทเพลงอย่างไร หากแต่ผู้บรรเลงก็สามารถกระทำอย่างสอดประสานกันได้ดี อันเนื่องมาจากมีความเข้าใจร่วมกัน ยกตัวอย่าง เช่น ในบทเพลงเถาของประเทศไทย ผู้บรรเลงจะทราบว่าจะต้องมีการบรรเลงให้ช้าหรือเร็วอย่างไรนั้น ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับการกำกับจังหวะของฉิ่งในแต่ละท่อนเพลงนั่นเอง จากความแตกต่างขององค์ประกอบทางดนตรีนี่เอง ที่ทำให้เกิดเอกลักษณ์มากมายขึ้นมา เมื่อฟังได้ฟังก็ทราบได้ทันทีว่าบทเพลงในลักษณะนี้เป็นแนวใด

เป็นเทคนิคที่สำคัญประการหนึ่งในการสื่อให้เกิดอารมณ์ต่างๆ เช่น บทเพลงที่ต้องการแสดงออกถึงความสนุกสนาน ปลุกใจ ผู้ประพันธ์จะเลือกใช้เสียงที่อยู่ในระดับปานกลาง ไม่สูง หรือต่ำจนเกินไป มีการสลับเสียงสูง - ต่ำ เพื่อให้เกิดสีสันของบทเพลง  รวมทั้งเป็นกระตุ้นอารมณ์ ความรู้สึกของผู้ฟังให้รู้สึกคึกคักและสนุกสนานตามไปด้วย  บทเพลงที่เกียวข้องกับความรัก ความงาม ความสุข ความโศกเศร้า การสูญเสีย  หรือการพลัดพราก  ผู้ประพันธ์จะเลือกใช้เสียงในระดับเสียงเดียวกัน ไม่สลับเสียงสูง - ต่ำ โลดโผนดังบทเพลงที่ให้อารมณ์สนุกสนาน บทเพลงที่ต้องการสื่อถึงความสวยงามและเสียงของธรรมชาติ  ผู้ประพันธ์ยังจำเป็นต้องคัดสรรเสียงให้ใกล้เคียงกับเสียงธรรมชาติ  ผู้ประพันธ์ยังจำเป็นต้องคัดสรรเสียงให้ใกล้เคียงกับเสียงธรรมชาติที่ต้องการถ่ายทอด เช่นเสียงนกร้อง  เสียงน้ำตก เสียงคลื่น
   5. อย่าพยายามวาดมโนภาพตามเสียงเพลงบรรเลงทุกบท โดยเฮพาะอย่างยิ่งสังคีตนิพนธ์ในกลุ่มดนตรีที่มีความงามเป็นเลิศ หรือเพลงคลาสสิก ซึ่งจะไม่มีภาพ หรือเรื่องราวใดๆ แทรกอยู่ แต่จะงามด้วยองค์ประกอบที่เหมาะสมลงตัวของธาตุต่างๆของศิลปะดนตรี

เสียงดนตรีไทยประกอบด้วยระดับเสียง 7 เสียง แต่ละเสียงมีช่วงห่างเท่ากันทุกเสียง เสียงดนตรีไทย แต่ละเสียงเรียกชื่อแตกต่างกันไป ในดนตรีไทยเรียกระดับเสียงว่า “ทาง” ในที่นี้ ก็คือ ระดับเสียงของเพลงที่บรรเลงซึ่งกำหนดชื่อเรียกเป็นที่หมายรู้กันทุกๆเสียง  จำแนกเรียงลำดับขึ้นไปทีละเสียง

“จังหวะ”   มีความหมายถึงมาตราส่วนของระบบดนตรีที่ดำเนินไปในช่วงของการ

บรรเลงเพลงอย่างสม่ำเสมอ เป็นตัวกำหนดให้ผู้บรรเลงจะต้องใช้เป็นหลักในการ    บรรเลงเพลง

จังหวะของดนตรีไทยจำแนกได้   3 ประเภท คือ    

1. จังหวะสามัญ หมายถึงจังหวะทั่วไปที่นักดนตรียึดเป็นหลักสำคัญในการบรรเลง

และขับร้องโดยปกติจังหวะสามัญที่ใช้กันในวงดนตรีจะมี  3 ระดับ คือ 

จังหวะช้า                 ใช้กับเพลงที่มีอัตราจังหวะ   สามชั้น 

จังหวะปานกลาง     ใช้กับเพลงที่มีอัตราจังหวะ   สองชั้น 

จังหวะเร็ว                ใช้กับเพลงที่มีอัตราจังหวะ   ชั้นเดียว

2. จังหวะฉิ่ง หมายถึง  จังหวะที่ใช้ฉิ่งเป็นหลักในการตี โดยปกติจังหวะฉิ่งจะตี “ฉิ่ง…ฉับ”

สลับกันไปตลอดทั้งเพลง แต่จะมีเพลงบางประเภทตีเฉพาะ “ฉิ่ง” ตลอดเพลง

บางเพลงตี “ฉิ่ง  ฉิ่ง  ฉับ” ตลอดทั้งเพลง หรืออาจจะตีแบบอื่นๆ ก็ได้  จังหวะฉิ่งนี้

นักฟังเพลงจะใช้เป็นแนวในการพิจารณาว่าช่วงใดเป็นอัตราจังหวะสามชั้น สองชั้น 

หรือ ชั้นเดียวก็ได้ เพราะฉิ่งจะตีเพลงสามชั้นให้มีช่วงห่างตามอัตราจังหวะของเพลง  หรือ ตีเร็วกระชั้นจังหวะ ในเพลงชั้นเดียว

1 2 3 4

1 2 3 4

1 2 3 4

1 2 3 4

สามชั้น

 -  -  -  -

 - - - ฉิ่ง

 - - - -

 - - - ฉับ

สองชั้น

 -  -  - ฉิ่ง

 - - - ฉับ

- - - ฉิ่ง

 - - - ฉับ

ชั้นเดียว

 - ฉิ่ง- ฉับ

- ฉิ่ง- ฉับ

- ฉิ่ง- ฉับ

- ฉิ่ง- ฉับ

3. จังหวะหน้าทับ หมายถึงเกณฑ์การนับจังหวะที่ใช้เครื่องดนตรีประเภทเครื่องตี

ประเภทหนังซึ่งเลียนเสียงการตีมาจาก “ทับ”  เป็นเครื่องกำหนดจังหวะ

เครื่องดนตรีเหล่านี้ ได้แก่ ตะโพน กลองแขก สองหน้า โทน - รำมะนา หน้าทับ

ลักษณะทำนองเพลงที่มีเสียงสูงๆ ต่ำๆ สั้นๆ ยาวๆ สลับ คละเคล้ากันไป ตามจินตนาการ

ของคีตกวีที่ประพันธ์  บทเพลงซึ่งลักษณะดังกล่าวนี้เหมือนกันทุกชาติภาษา 

จะมีความแตกต่างกันตรงลักษณะประจำชาติที่มีพื้นฐานทางสังคม วัฒนธรรม ไม่เหมือนกัน

เช่น เพลงของอเมริกัน อินโดนีเซีย อินเดีย จีน ไทย  ย่อมมีโครงสร้างของทำนองที่ แตกต่างกัน  ทำนองของดนตรีไทยประกอบด้วยระบบของเสียง  การเคลื่อนที่ของเสียง

องค์ประกอบของเพลงมีอะไรบ้าง

องค์ประกอบดนตรี‎ คืออะไรและมีอะไรบ้าง.
เสียง (Tone) ... .
ระดับเสียง (Pitch) ... .
สีสันของเสียง (Tone Color) ... .
ท่วงทำนอง (Melody) ... .
เสียงประสาน (Harmony) ... .
จังหวะ (Rhythm).

องค์ประกอบในการเขียนโน๊ตเพลงไทยมีอะไรบ้าง

องค์ประกอบของดนตรี - ตัวโน้ตดนตรีหรือสัญลักษณ์ที่ใช้แทนเสียงดนตรี.
1 ตัวโน้ตดนตรี ... .
2 ตัวหยุด หรือเครื่องหมายพักเสียง (Rest) ... .
3 การเพิ่มอัตราจังหวะตัวโน้ตและตัวหยุด ... .
4 เครื่องหมายแปลงเสียง (Accidentals) ... .
5 กุญแจประจำหลัก (Clef).

องค์ประกอบของบทเพลงมีความสําคัญอย่างไร

องค์ประกอบของดนตรี คือ ส่วนสำคัญพื้นฐานที่ทำให้เกิดเป็นดนตรีขึ้น ทั้งนี้โดยจะกล่าวถึงองค์ประกอบของดนตรีโดยรวม มิได้ยึดเอาหลักเกณฑ์ของดนตรีใดเป็นมาตราฐาน องค์ประกอบของดนตรีที่สำคัญประกอบไปด้วยปัจจัยเหล่านี้คือ เสียง ทำนอง เสียงประสาน จังหวะ และรูปแบบของดนตรี

เทคนิคที่ใช้ในการสร้างสรรค์งานดนตรีประกอบด้วยอะไรบ้าง

การสร้างสรรค์งานดนตรี.
ขีดเขียนระบายสีตามจังหวะของดนตรี ซึ่งจะทำให้ได้ภาพเขียนที่แปลกตา ตามลีลาของจังหวะดนตรี.
ประดิษฐ์เครื่องดนตรีจากวัสดุท้องถิ่น ซึ่งจะได้เครื่องดนตรีที่ให้เสียงแปลก ๆ เช่น การนำเอาฝาน้ำอัดลมมาทำเป็นเครื่องเคาะจังหวะ เป็นต้น.

กระทู้ที่เกี่ยวข้อง

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

แปลภาษาไทย ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน อาจารย์ ตจต ศัพท์ทหาร ภาษาอังกฤษ pdf lmyour แปลภาษา ชขภใ ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมฟรี 2566 ขขขขบบบยข ่ส ศัพท์ทางทหาร military words หนังสือราชการ ตัวอย่าง หยน แปลบาลีเป็นไทย ไทยแปลอังกฤษ ประโยค การไฟฟ้านครหลวง การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ข้อสอบโอเน็ต ม.3 ออกเรื่องอะไรบ้าง พจนานุกรมศัพท์ทหาร เมอร์ซี่ อาร์สยาม ล่าสุด แปลภาษามลายู ยาวี Bahasa Thailand กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมออนไลน์ การ์ดจอมือสอง ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย คะแนน o-net โรงเรียน ค้นหา ประวัติ นามสกุล บทที่ 1 ที่มาและความสําคัญของปัญหา ร. ต จ แบบฝึกหัดเคมี ม.5 พร้อมเฉลย แปลภาษาอาหรับ-ไทย ใบรับรอง กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน PEA Life login Terjemahan บบบย มือปราบผีพันธุ์ซาตาน ภาค2 สรุปการบริหารทรัพยากรมนุษย์ pdf สอบโอเน็ต ม.3 จําเป็นไหม เช็คยอดค่าไฟฟ้า แจ้งไฟฟ้าดับ แปลภาษา มาเลเซีย ไทย แผนที่ทวีปอเมริกาเหนือ ่้แปลภาษา Google Translate กระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ 8 ขั้นตอน ก่อนจะนิ่งก็ต้องกลิ้งมาก่อน เนื้อเพลง ข้อสอบโอเน็ตม.3 มีกี่ข้อ คะแนนโอเน็ต 65 ตม กรุงเทพ มีที่ไหนบ้าง