จริยธรรมการวิจัยมีอะไรบ้าง

หลักการเคารพในบุคคล
แสดงโดยการเคารพในศักดิ์ศรีของคนหรือกลุ่มชน จาก

  • การขอคำยินยอมโดยบอกกล่าวและให้อิสระในการตัดสินใจเข้าร่วมโครงการวิจัย (Respect for free and informed consent)
  • การไม่รุกล้ำความเป็นส่วนตัว (Respect for privacy) เช่น ไม่รุกล้ำร่างกาย หรือไม่ถามเรื่องส่วนตัวโดยไม่จำเป็นต่อการวิจัย หรือไม่ขอคำยินยอม
  • การเก็บรักษาความลับผู้ป่วย/อาสาสมัคร (Respect for confidentiality)
  • การดูแลกลุ่มศึกษาที่เปราะบางอย่างเหมาะสมและดำเนินการด้วยความระมัดระวัง (Respect for vulnerable person) เช่น เด็กและผู้เยาว์ กลุ่มผู้ต้องขัง ผู้ป่วยวิกฤติ
  • ไม่มีส่วนลบหลู่ความเชื่อ ศาสนา ประเพณีและวัฒนธรรมใด ๆ ในโครงการวิจัย

หลักการให้คุณประโยชน์
แสดงโดยการปรับโครงการวิจัยให้เกิดประโยชน์สูงสุดและความเสี่ยงหรือภยันตรายน้อยที่สุด (Balancing risk and benefit: Minimizing risk, Maximizing benefit)

  • หลักการและเหตุผลที่ต้องทำวิจัย การออกแบบวิจัย ได้มาซึ่งคำตอบต่อคำถามการวิจัยได้อย่างถูกต้อง (Scientific merit)
  • ประโยชน์ที่ผู้ป่วยได้รับโดยตรงการรักษาหรือวิจัย ทั้งนี้ ไม่นับเงินตอบแทน รางวัล (remuneration) ที่ให้กับผู้ป่วย/อาสาสมัคร
  • ประโยชน์ที่ผู้ป่วยคนอื่น ๆ จะได้รับจากผลการศึกษา
  • ประโยชน์ที่วงการวิทยาศาสตร์ได้รับ
  • ประโยชน์เหนือว่าภยันตรายที่เกิดขึ้นต่อตัวผู้ป่วย/อาสาสมัคร และชุมชน
  • ผลเสียทางกาย (Physical harm) เช่น
    • เจ็บเล็กน้อยจากเข็มฉีดยา
    • อันตรายจากผลข้างเคียงของยา,
    • การบาดเจ็บจากการผ่าตัด, หรือ
    • ความไม่สะดวกสบาย (discomfort) จากการต้องลืมตาโดยไม่กระพริบนาน 10 นาที เป็นต้น
  • ผลเสียทางใจ (Psychological harm) ได้แก่
    • ความเครียด อารมณ์เปลี่ยนแปลง เกิดภาพหลอน ฯลฯ ซึ่งเป็นผลของยา
    • ความอับอาย เช่น การถามผู้ป่วย/อาสาสมัครเกี่ยวกับเพศสัมพันธ์ การใช้สารเสพติด
    • การวิจัยที่ทำให้ผู้ป่วยทราบว่าเป็นโรคร้ายแรง โรคทางพันธุกรรมที่ถ่ายทอดถึงบุตรหลาน เป็นต้น
  • ผลเสียต่อฐานะทางการเงินและสถานะทางสังคมของผู้ป่วย/อาสาสมัคร (Social and Economic harms) เช่น
    • การเข้าร่วมโครงการวิจัยทำให้ต้องเสียเงินเพิ่มขึ้นมากเกินจำเป็น
    • เสียเวลาโดยไม่มีค่าชดเชย เป็นต้น
  • ผลเสียต่อสถานะสังคม, การจ้างงาน ของผู้ป่วย/อาสาสมัคร, การรับโทษทางกฎหมาย การสูญเสียสิทธิด้านประกันชีวิต ฯลฯ
  • ผลการวิจัยไม่ทำลายความเชื่อ ประเพณีและวัฒนธรรมท้องถิ่น

หลักความยุติธรรม
แสดงโดย

  • ไม่แบ่งแยกกลุ่มตัวอย่างตามเพศ ฐานะ เชื้อชาติ สีผิว เพื่อให้การกระจายประโยชน์และความเสี่ยงเป็นไปอย่างเที่ยงธรรม (Distributive justice)
  • การให้ยารักษาฟรีแก่กลุ่มตัวอย่างต่อไปอีกระยะหนึ่งหลังเสร็จสิ้นการวิจัยไปแล้ว
  • กระบวนการพิจารณาเชิงจริยธรรมที่มีมาตรฐานและโปร่งใส เช่น การแสดงผลประโยชน์ขัดกัน (conflict of interest) ขั้นตอนการพิจารณาที่เที่ยงธรรม 

Skip to content

จริยธรรมการวิจัย

การเสริมสร้างการวิจัยและพัฒนา เป็นหนึ่งในภารกิจหลักของสำนักงานวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) การวิจัยและพัฒนาอย่างมีคุณภาพและเป็นไปตามแนวทางจริยธรรมการวิจัยและกฏหมายที่เกี่ยวข้องจึงเป็นสิ่งที่พึงตระหนัก สวทช. ได้จัดตั้งฝ่ายส่งเสริมจริยธรรมการวิจัย (The Office of Research Integrity, ORI) เพื่อทำหน้าที่ส่งเสริมการวิจัยให้ถูกต้อง สอดคล้องตามหลักจริยธรรมการวิจัยและกฎหมายที่เกี่ยวข้อง อีกทั้งรับผิดชอบในการรับแจ้งเบาะแสและข้อร้องเรียนทางด้านพฤติกรรมมิชอบทางการวิจัย (Research Misconduct) เพื่อนำเรื่องร้องเรียนเข้าสู่กระบวนการสืบสวนและพิจารณาต่อไป

Research integrity หมายถึง ความซื่อสัตย์สุจริตในการวิจัย โดยการปฏิบัติตามกฎระเบียบ ข้อบังคับ แนวทาง มาตรฐานวิชาชีพ และหลักจริยธรรมการวิจัย ซึ่งในทางปฏิบัติ คือ การทำวิจัยในลักษณะที่ทำให้ผู้อื่นมีความไว้วางใจและความเชื่อมั่นในวิธีการทดลองที่ใช้และผลการวิจัยที่เกิดขึ้น โดยมีองค์ประกอบที่สำคัญ ได้แก่

  • ความซื่อสัตย์สุจริตและเป็นธรรม ในการนำเสนองานวิจัย การทำวิจัย และการรายงานผลวิจัย
  • การแจ้งหรือประกาศการขัดกันของผลประโยชน์ (Conflicts of Interest)
  • ความถูกต้องและเป็นธรรม ในการมีส่วนร่วมต่อข้อเสนอโครงการวิจัยและการรายงานผล
  • การปกป้องคุ้มครองอาสาสมัครตามหลักจรรยาบรรณการวิจัยในมนุษย์
  • การประชุม World Conference on Research Integrity (WCRI) ครั้งที่ 6
    • เอกสารแนบ
    • รับชมย้อนหลัง
  • การดูแลและปฏิบัติต่อสัตว์อย่างมีมนุษยธรรมตามหลักจรรยาบรรณการใช้สัตว์เพื่องานทางวิทยาศาสตร์
  • การมีปฏิสัมพันธ์กันระหว่างกลุ่มวิจัยในเชิงวิชาการ การสื่อสาร และการแบ่งปันข้อมูลหรือทรัพยากร
  • ความยึดมั่นต่อการรับผิดชอบร่วมกันระหว่างที่นักวิจัยที่ปรึกษาหรือพี่เลี้ยงและผู้ฝึกปฏิบัติงาน
  • ความเชี่ยวชาญและเป็นธรรมในการตรวจทานงานวิจัย

แจ้งเบาะแสและร้องเรียนพฤติกรรมมิชอบทางการวิจัยที่เกี่ยวข้องกับ สวทช.

เพื่อเป็นการพัฒนาและส่งเสริมงานวิจัยและผลงานทางวิชาการของ สวทช. ให้มีคุณภาพ มาตรฐาน และเชื่อถือได้สอดคล้องกับหลักจริยธรรมการวิจัยและกฎหมายที่เกี่ยวข้อง ดังนั้น ในกรณีที่มีข้อสงสัย หรือพบเห็นการกระทำ/พฤติกรรมที่อาจมิชอบทางการวิจัย (Research misconduct) ที่เกี่ยวข้องกับ สวทช. ได้แก่

1. Fabrication การสร้างข้อมูลเท็จหรือการปั้นแต่งข้อมูลวิจัย
2. Falsification การปลอมแปลงข้อมูลหรือผลการวิจัย
3. Plagiarism การคัดลอกงานวิจัยของตนเองและผู้อื่น โดยไม่มีการอ้างถึง แหล่งข้อมูลที่ได้มา
4. อื่นๆ

ท่านสามารถแจ้งเบาะแสและร้องเรียนพฤติกรรมที่อาจมิชอบทางการวิจัยที่เกี่ยวข้องกับ สวทช. ผ่านทางช่องทางที่ให้ไว้ด้านล่าง

ทั้งนี้:

1. สวทช. จะรักษาข้อมูลที่ได้รับเป็นความลับ จะไม่มีการเปิดเผยข้อมูลและตัวตนของผู้แจ้งเบาะแสหรือผู้ร้องเรียน และผู้ถูกร้องเรียนต่อสาธารณชน
2. ข้อมูลการแจ้งเบาะแสและข้อร้องเรียนที่ระบุต้องเป็นความจริง
3. หากข้อมูลไม่เพียงพอที่จะดำเนินการตรวจสอบและสืบหาข้อเท็จจริงได้ สวทช. จะยุติเรื่อง และเก็บบันทึกเป็นข้อมูลในระบบฐานข้อมูล
4. ผู้แจ้งเบาะแสหรือผู้ร้องเรียนสามารถเลือกเปิดเผยหรือไม่เปิดเผยข้อมูลส่วนตัว เช่น ระบุชื่อ-สกุล หรือ อีเมล์ของท่าน อย่างไรก็ตาม การให้ชื่อและอีเมล์จะเป็นประโยชน์ในการติดตามผลและการสืบหาข้อเท็จจริง รวมทั้งเพิ่มความน่าเชื่อถือของข้อมูล

ข้อมูลสำหรับแจ้งเบาะแสและข้อร้องเรียน

1. รายละเอียดเบาะแสหรือข้อร้องเรียนเกี่ยวกับการประพฤติมิชอบทางจริยธรรมการวิจัย (โปรดแนบหลักฐานเพิ่มเติม)*
2. อีเมล์
3. ชื่อ-สกุล

หมายเหตุ: ข้อมูลสำหรับแจ้งเบาะแสและข้อร้องเรียน ข้อ 2) อีเมล์ และ 3) ชื่อ-สกุล ผู้แจ้งเบาะแสสามารถละเว้นไว้หรือใช้อีเมล์แฝง/นามแฝงได้ อย่างไรก็ตาม การให้ข้อมูลในการติดต่อกลับ จะเป็นประโยชน์ในการติดตามผลและการสืบหาข้อเท็จจริง รวมทั้งเพิ่มความน่าเชื่อถือของข้อมูล

ท่านสามารถส่งเบาะแสหรือข้อร้องเรียนของท่านมาที่อีเมล์: [email protected]
หรือแจ้งเบาะแสผ่านทางระบบออนไลน์ คลิก

ติดต่อ-สอบถาม

ฝ่ายส่งเสริมจริยธรรมการวิจัย
สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (สวทช.)

Email: [email protected]
โทรศัพท์: 0-2564-7000 ต่อ 71842

จริยธรรมทางการวิจัยคืออะไร

จริยธรรมการวิจัย (research ethics) หมายถึง หลักเกณฑ์ที่ควรประพฤติปฏิบัติของ นักวิจัยเพื่อให้การด าเนินงานวิจัยตั้งอยู่บนพื้น ฐานของจริยธรรมและหลักวิชาการที่เหมาะสม (ส านักงานคณะกรรมการวิจัยแห่งชาติ, 2541 อ้างใน สินธะวา คามดิษฐ์, 2550: 262)

ทำไมต้องมีจริยธรรมในการทำวิจัย

เหตุที่ต้องมีการพิจารณาจริยธรรมในงานวิจัย มีกรอบแนวคิดว่าโดยปกติคนต้องอยู่ในกรอบของศีลธรรม นักวิจัยเองก็ต้องมีศีลธรรมเป็นพื้นฐาน นอกจากนั้นนักวิจัยเป็นผู้สรรหาความรู้ใหม่ และความรู้นี้ต้องถูกเผยแพร่ไปสู่บุคคลอื่นด้วย ดังนั้นนักวิจัยจึงจำเป็นต้องมีจรรยาบรรณนักวิจัยเพิ่มเติมจากศีลธรรมด้วย และโดยเฉพาะอย่างยิ่งนักวิจัยในคน ...

Informed Consent มีอะไรบ้าง

แบบฟอร์มการให้ความยินยอมโดยได้รับข้อมูล (Informed Consent Form หรือ ICF) ที่สมบูรณ์ต้อง ประกอบด้วย 2 ส่วน ได้แก่ 1) เอกสารข้อมูลค าอธิบายสาหรับผู้เข้าร่วมเป็นอาสาสมัครในการวิจัย (participant information sheet) 2) เอกสารแสดงความยินยอมเข้าร่วมการวิจัย (consent form)

ข้อใด คือ กฎเกณฑ์จริยธรรมการวิจัยในมนุษย์ฉบับแรก

ในปีค.ศ. 1964 แพทยสมาคมโลก (World Medical Association) ออกประกาศ Declaration of Helsinki (ปฏิญญาเฮลซิงกิ) ซึ่งถือว่าเป็นมาตรฐานจริยธรรมอันแรกของการวิจัยทางชีวเวชศาสตร์สาหรับ แพทย์ ในประกาศนี้ให้การวิจัยทางการแพทย์ที่เกี่ยวข้องกับมนุษย์หมายรวมถึงการศึกษาตัวอย่างหรือข้อมูลที่ สามารถบ่งชี้ตัวผู้ป่วยด้วย และยังกาหนดว่า ...

กระทู้ที่เกี่ยวข้อง

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

แปลภาษาไทย ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน อาจารย์ ตจต ศัพท์ทหาร ภาษาอังกฤษ pdf lmyour แปลภาษา ชขภใ ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมฟรี 2566 ขขขขบบบยข ่ส ศัพท์ทางทหาร military words หนังสือราชการ ตัวอย่าง หยน แปลบาลีเป็นไทย ไทยแปลอังกฤษ ประโยค การไฟฟ้านครหลวง การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ข้อสอบโอเน็ต ม.3 ออกเรื่องอะไรบ้าง พจนานุกรมศัพท์ทหาร เมอร์ซี่ อาร์สยาม ล่าสุด แปลภาษามลายู ยาวี Bahasa Thailand กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมออนไลน์ การ์ดจอมือสอง ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย คะแนน o-net โรงเรียน ค้นหา ประวัติ นามสกุล บทที่ 1 ที่มาและความสําคัญของปัญหา ร. ต จ แบบฝึกหัดเคมี ม.5 พร้อมเฉลย แปลภาษาอาหรับ-ไทย ใบรับรอง กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน PEA Life login Terjemahan บบบย มือปราบผีพันธุ์ซาตาน ภาค2 สรุปการบริหารทรัพยากรมนุษย์ pdf สอบโอเน็ต ม.3 จําเป็นไหม เช็คยอดค่าไฟฟ้า แจ้งไฟฟ้าดับ แปลภาษา มาเลเซีย ไทย แผนที่ทวีปอเมริกาเหนือ ่้แปลภาษา Google Translate กระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ 8 ขั้นตอน ก่อนจะนิ่งก็ต้องกลิ้งมาก่อน เนื้อเพลง ข้อสอบโอเน็ตม.3 มีกี่ข้อ คะแนนโอเน็ต 65 ตม กรุงเทพ มีที่ไหนบ้าง