ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเป็นชุมชนที่มีสุขภาพดีคืออะไร

       มนุษย์เป็นสิ่งมีชีวิตที่เป็นระบบเปิด การมีสุขภาพดีจะต้องอาศัยปัจจัยหลายอย่างประกอบกัน การเข้าใจเกี่ยวกับปัจจัยที่มีผลกระทบต่อสุขภาพ จะช่วยให้คนรู้จักปรับปรุงให้ตนเองมีสุขภาพที่ดีที่สุด โดยหลีกเลี่ยงปัจจัยเสี่ยงต่างๆ และมีส่วนร่วมในการดูแลและปรับปรุงสิ่งแวดล้อมให้เหมาะสมกับการดำรงชีวิตเพื่อการมีสุขภาพดีตลอดไป

ระบบสังคม เช่น ระบบเศรษฐกิจ ระบบการศึกษา ระบบสวัสดิการ ระบบการคมนาคม โดยชุมที่มีระบบสังคมที่ดีย่อมส่งผลให้ชุมชนมีสุขภาพดี   

นอกจากนั้นการที่จะทำให้ชุมชนมีสุขภาพดี ยังต้องอาศัยความสามารถจากผู้พัฒนาชุมชน และความร่วมมือร่วมใจกันของสมาชิกในชุมชน จึงจะทำให้ชุมชนมีสุขภาพดีและมีความสุข


แนวทางในการสร้างเสริมสุขภาพ

-ดูแลรักษาความสะอาดของร่างกาย 

-ดูแลการโภชนาการ ทั้งอาหารและน้ำ 

-ดูแลการออกกำลังกาย อย่างน้อยสัปดาห์ละ 3 วัน ครั้งละ 30-60 นาที ควรเลือกกิจกรรมให้เหมาะสมกับวัยและสุขภาพ

-พักผ่อนให้เพียงพอ

- ส่งเสริมสุขภาพจิต ผ่อนคลายความตึงเครียด มองโลกในแง่ดี ยอมรับความแตกต่างระหว่างบุคคล มีอารมณ์ขัน

-ตรวจสุขภาพเป็นประจำทุกปี 

2. ความเชื่อและศาสนา

- การทำสมาธิ สวดมนต์ และภาวนาเพื่อการรักษาโรค เป็นวิถีชีวิต และความเชื่อ จัดว่าเป็นภูมิปัญญาทางการแพทย์แผนไทยซึ่งมีผลต่อสภาพจิตใจเป็นอย่างดี เพราะการนั่งสมาธิ สวดมนต์และการภาวนาช่วยให้มีจิตใจที่บริสุทธิ์ และทำให้จิตใจเกิดความสงบกายบริหารแบบไทย หรือกายบริหารท่าฤาษีดัดตน เป็นภูมิปัญญาเกิดขึ้นจากการเล่าต่อๆกันมาของผู้ที่นิยมนั่งสมาธิ เมื่อปฏิบัติอย่างถูกต้องจะช่วยรักษาอาการปวดเมื่อย ทำให้เลือดหมุนเวียนได้ดี สร้างสมาธิ และผ่อนคลายความเครียดได้     โรคที่เป็นปัญหาในชุมชนและหลักการป้องกันโรค    -โรคต่างๆที่เกิดขึ้นในชุมชนมักจะส่งผลกระทบต่อผู้คนที่อยู่อาศัยในชุมชน เพราะฉะนั้นความรู้ความเข้าใจในเรื่องโรคต่างๆและหลักการป้องกันจึงเป็นอีกสิ่งหนึ่งที่ควรศึกษาและทำความเข้าใจ     โรคที่เป็นปัญหาในขุมชน หมายถึง โรคติดต่อหรือโรคไม่ติดต่อที่พบได้บ่อยในชุมชน การที่แต่ละชุมชนมีลักษณะทางสภาพแวดล้อม และมีลักษณะการดำรงชีวิตที่แตกต่างกันออกไป ส่งผลให้โรคที่เป็นปัญหาในชุมชนแตกต่างกันออกไปด้วยเช่นกัน



หลักในการป้องกันโรคแบ่งได้เป็น 3 ระดับ

1.การป้องกันโรคล่วงหน้า

     วิธีนี้ได้ผลในการป้องกันโรคดีที่สุด  โดยการปรับปรุงความเป็นอยู่หรือสภาพแวดล้อมในชุมชนให้ดีขึ้น

2.การป้องกันโรคในระยะที่เกิดขึ้นแล้ว

     โดยกำหนดแนวทางในการระงับกระบวนการเกิดโรค  ป้องกันการแพร่เชื้อในชุมชนเพื่อลดการเจ็บป่วย

3. การป้องกันภายหลังการเกิดโรค

    เพื่อป้องกันการเกิดความพิการหรือการไร้สมรรถภาพที่จะประกอบอาชีพได้ตามปกติ   หรือเพื่อลดผลเสียจากโรคแทรกซ้อน


วิธีการทำให้สมาชิกในชุมชนมีส่วนร่วมกับการดำเนินงาน

1.  การมีส่วนร่วมในการกำหนดปัญหาและความต้องการของชุมชน

2.   การมีส่วนร่วมในการวางแผน โดยสมาชิกของชุมชนร่วมกันคิดและตัดสินใจ

3.  การมีส่วนร่วมในการจัดทำโครงการหรือกิจกรรมสุขภาพ โดยสมาชิกต้องร่วมกันทำกิจกรรมตามขั้นตอนที่ได้กำหนดไว้ 

4.  การมีส่วนร่วมในการประเมินผล

5.  การมีส่วนร่วมในการบำรุงรักษาผลประโยชน์ที่ได้รับ โดยสมาขิกต้องนำผลการจัดทำกิจกรรมไปใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อชุมชนการสร้างแนวร่วมของสมาชิกในชุมชนเป็นสิ่งที่จำเป็นต่อการเสริมสร้างสุขภาพและการป้องกันโรคของชุมชน เพราะการทำงานร่วมกันของสมาขิกในชุมชนจะทำให้สิ่งต่างๆดีและง่ายขึ้น นอกจากนี้การสร้างแนวร่วมในชุมชนยังก่อให้เกิดความเข้มแข็งของคนในชุมชนอีกด้วย 

1.2      ความสำคัญของการสร้างเสริมสุขภาพและการป้องกันโรคในชุมชน

  สุขภาพเป็นเรื่องของทุกคน อาศัยการบูรณาการเชื่อมโยงด้านความร่วมมือของทุกๆหน่วยของสังคม ตั้งแต่ระดับของปัจเจกบุคคล ครอบครัว ชุมชน สังคม และประเทศชาติ

  ชุมชนเป็นหน่วยหนึ่งของสังคมที่กำหนดรูปแบบการดำเนินชีวิต ความเป็นอยู่ รวมทั้งเรื่องของสุขภาพอนามัยและคุณภาพชีวิตของคนในชุมชนนั้นๆ เช่นชุมชนเมืองมีประชากรอาศัยอยู่

อย่างแออัดหนาแน่น มีการแก่งแย่ง แข่งขันประกอบอาชีพ พึ่งพาเทคโนโลยี จึงทำให้ชีวิตของคนในชุมชนเมืองมีความเร่งรีบ แข่งขันกับเวลา และเกิดความเครียดง่าย ส่วนชุมชนบทเป็นชุมชนที่ผู้คนอยู่กันอย่างพึ่งพาอาศัย ดำรงชีวิตอย่างเรียบง่าย พึ่งพาธรรมชาติ อยู่ในสภาพแวดล้อมที่ดีซึ่งส่งเสริมการมีสุขภาพที่ดี แต่มีทางเลือกในการรับบริการทางการแพทย์และสาธารณสุขน้อยกว่าคนในชุมชนเมือง เป็นต้น

                ถึงแม้ว่าชุมชนแต่ละชุมชนจะมีความแตกต่างกันในเรื่องของลักษณะสภาพแวดล้อม และวิถีการดำรงชีวิตของผู้คนก็ตาม แต่ทุกชุมชนก็สามารถเป็น ชุมชนสุขภาพดีได้ตามศักยภาพของตนโดยมุ่งเน้นการสร้างเสริมสุขภาพ และการป้องกันโรคเป็นสำคัญ

                ก่อนที่จะทำความเข้าใจเรื่องความสำคัญของการสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรคในชุมชน ควรทราบปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเป็นชุมชนที่มีสุขภาพดี ดังที่ วรรณี จันทร์สว่าง ได้อ้างถึงฮันท์และซูเล็ก(Hunt&Zurek) ซึ่งได้กล่าวถึงปัจจัยที่ทำให้ชุมชนมีสุขภาพดีว่ามี 3 ประการ ดังนี้

                1.คน เป็นปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับภาวะสุขภาพของสมาชิก และความเข้มแข็งของครอบครัวในชุมชน รวมทั้งความสามารถและระบบจัดการของชุมชน ซึ่งปัจจัยเหล่านี้จะส่งผลต่อภาวะสุขภาพของชุมชน โดยชุมชนที่สมาชิกมีสถานะทางสุขภาพดี ครอบครัวมีความเข้มแข็ง ชุมชนมีความสามารถและมีระบบการจัดการที่ดี ย่อมส่งผลให้ชุมชนมีสุขภาพที่ดี

                2.สถานที่ เป็นปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับสิ่งแวดล้อมในชุมชน ซึ่งสิ่งแวดล้อมภายในชุมชนมีทั้งสิ่งแวดล้อมที่ส่งเสริมและทำลายสุขภาพ ชุมชนที่มีสิ่งแวดล้อมที่ดีจะช่วยให้สมาชิกมีสุขภาพดี ซึ่งส่งผลให้ชุมชนมีสุขภาพดี

                3.ระบบสังคม ได้แก่ ระบบเศรษฐกิจ ระบบการศึกษา ระบบสวัสดิการ ระบบนันทนาการ ระบบการติดต่อสื่อสาร ระบบศาสนา ระบบการเมือง ระบบการคมนาคม ระบบกฎหมาย ระบบบริการสุขภาพ โดยชุมชนที่มีประสิทธิภาพย่อมส่งผลให้ชุมชนมีสุขภาพที่ดี

                การสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรคมีความสำคัญต่อสุขภาพ และการมีชีวิตที่สมบูรณ์ของบุคคล ทั้งทางด้านร่างกาย จิตใจ สังคม และจิตวิญญาณ รวมทั้งสนับสนุนการมีสภาพสังคมและสิ่งแวดล้อมที่เหมาะสม เอื้อต่อการมีสุขภาพที่ดีของชุมชน โดยเฉพาะแนวคิดเรื่องการสร้างเสริมสุขภาพ ได้เป็นที่ยอมรับไปทั่วโลกว่า เป็นวิธีการที่ส่งผลให้คนในชุมชนและสังคมมีสุขภาพชีวิตที่ดี ซึ่งรัฐบาลไทยได้ให้ความสำคัญในเรื่องดังกล่าว จังได้ออกพระราชบัญญัติสุขภาพแห่งชาติที่ได้วางทิศทางและนโยบายในเรื่องของการสร้างเสริมสุขภาพไว้หลายๆแนวทาง

และได้นำเสนอรูปแบบของการจัดโครงการจัดกิจกรรมรณรงค์ในเรื่องต่างๆแก่ประชาชน เช่น ประกาศให้ปี พ.ศ. 2545-2546 เป็น “ปีรณรงค์การสร้างสุขภาพ”มีการออกสัญลักษณ์”รวมพลังสร้างสุขภาพ”ให้หน่วยงานหรือชุมชนต่างๆได้นำไปใช้เป็นสัญลักษณ์ในการจัดงานสร้างเสริมสุขภาพในชุมชนของตนเอง และในปี พ.ศ. 2550 มีการประกาศใช้นโยบายสุขภาพ 6 อ. (ออกกำลังกาย อาหารปลอดภัย อารมณ์ อนามัยสิ่งแวดล้อม อโรคยา อบายมุข)

                นอกจากนี้ยังได้ประกาศให้วันที่ 27 พฤศจิกายน ของทุกปีเป็น “วันสร้างสุขภาพแห่งชาติ” และประกาศยุทธศาสตร์แห่งชาติ “ รวมพลังสร้างสุขภาพ เพื่อคนไทยแข็งแรงเมืองไทยแข็งแรง “

   โดยสรุปแล้วการสร้างเสริมสุขภาพและการป้องกันโรค เป็นกลยุทธ์สำคัญของงานพัฒนาสุขภาพของชุมชน ที่ต้องอาศัยความร่วมมือของประชาชนในการดูแลสุขภาพของชุมชนให้อยู่ในสภาพที่ดี เพื่อการมีสุขภาวะที่สมบรูณ์ของทุกคนในชุมชน

รู้ไหมว่า

. วันที่ 27 พฤศจิกายน นอกจากเป็นวัน “สร้างสุขภาพแห่งชาติ” แล้วยังเป็นวันที่ตรงกับการสถาปนากระทรวงสาธารณสุขอีกด้วย

. หน่วยงานหลักที่มีหน้าที่ดำเนินงานตามยุทธศาสตร์การสร้างสุขภาพเป็นหลักของประเทศไทย คือ ศูนย์อำนวยการบริหารยุทธศาสตร์เมืองไทยแข็งแรง (The Healthy Thailand Strategic Management Center : HTSMC )

                ที่มา : //www.thaihealth.or.th

เรียนรู้...สู่...ปฏิบัติ

1.แบ่งกลุ่ม กลุ่มละ 3-4 คน ร่วมกันอภิปรายเรื่อง ความสำคัญของการสร้างเสริมสุขภาพและการป้องกันโรคของคนในชุมชน

2.จับคู่กับเพื่อนศึกษาค้นคว้าความรู้เรื่อง บทบาทของวัยรุ่นต่อการสร้างเสริมสุขภาพและป้องกันโรคในชุมชน แล้วจัดทำเป็นรายงานนำเสนอหน้าชั้นเรียน

ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการเป็นชุมชนที่มีสุขภาพที่ดีคืออะไร

1. คน เป็นปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับภาวะสุขภาพของสมาชิก และความเข้มแข็งของครอบครัวใน ชุมชน รวมทั้งความสามารถและระบบจัดการของชุมชน ซึ่งปัจจัยเหล่านี้จะส่งผลต่อภาวะสุขภาพของ ชุมชนโดยชุมชนที่สมาชิกมีสภานะทางสุขภาพดีครอบครัวมีความเข้มแข็ง ชุมชนมีความสามารถและ มีระบบการจัดการที่ดีย่อมส่งผลให้ชุมชนมีสุขภาพที่ดี

ชุมชนที่มีสุขภาพดีคืออะไร

ชุมชนสุขภาพดี คือสังคมที่ร่วมกันสร้างสรรค์สิ่งแวดล้อมที่เอื้อต่อการส่งเสริมสุขภาพ และลดปัจจัยเสี่ยงที่อาจจะนำไปสู่การทำลายสุขภาพ ทั้งทางตรง และทางอ้อม โดยเกิดจากความร่วมมือของทั้งผู้นำชุมชน และสมาชิกในชุมชนเอง

ปัจจัยที่มีผลต่อสุขภาพมีอะไรบ้าง

ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อสุขภาพ 1. องค์ประกอบด้านปัจเจกบุคคล ได้แก่ อายุ เพศ สถานะสุขภาพ อาชีพ ถิ่นที่อยู่ กรรมพันธุ์ ความเชื่อ พฤติกรรม จิตวิญญานของแต่ละบุคคล 2. องค์ประกอบด้านสภาวะแวดล้อม ได้แก่ ปัจจัยด้านกายภาพ ชีวภาพ เศรษฐกิจ สังคม และอื่นๆ

สุขภาพในชุมชนมีความสำคัญอย่างไร

งานสุขภาพชุมชน เป็นงานพัฒนาชุมชนท้องถิ่นที่เอาชุมชนหรือพื้นที่เป็นตัวตั้ง โดยมีกลุ่มประชากรสำคัญเป็นเป้าหมาย จุดมุ่งหมายสำคัญสูงสุดของการทำงานดูแลสุขภาพชุมชนคือการมุ่งให้ผู้คนในชุมชนแข็งแรงขึ้น อายุยืนขึ้น และมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น ปัจจุบันมีกรณีศึกษามากมายเกี่ยวกับงานสุขภาพชุมชนที่มีนวัตกรรรม และรูปแบบการพัฒนาที่ ...

กระทู้ที่เกี่ยวข้อง

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

แปลภาษาไทย ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน อาจารย์ ตจต ศัพท์ทหาร ภาษาอังกฤษ pdf lmyour แปลภาษา ชขภใ ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมฟรี 2566 ขขขขบบบยข ่ส ศัพท์ทางทหาร military words หนังสือราชการ ตัวอย่าง หยน แปลบาลีเป็นไทย ไทยแปลอังกฤษ ประโยค การไฟฟ้านครหลวง การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ข้อสอบโอเน็ต ม.3 ออกเรื่องอะไรบ้าง พจนานุกรมศัพท์ทหาร เมอร์ซี่ อาร์สยาม ล่าสุด แปลภาษามลายู ยาวี Bahasa Thailand กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมออนไลน์ การ์ดจอมือสอง ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย คะแนน o-net โรงเรียน ค้นหา ประวัติ นามสกุล บทที่ 1 ที่มาและความสําคัญของปัญหา ร. ต จ แบบฝึกหัดเคมี ม.5 พร้อมเฉลย แปลภาษาอาหรับ-ไทย ใบรับรอง กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน PEA Life login Terjemahan บบบย มือปราบผีพันธุ์ซาตาน ภาค2 สรุปการบริหารทรัพยากรมนุษย์ pdf สอบโอเน็ต ม.3 จําเป็นไหม เช็คยอดค่าไฟฟ้า แจ้งไฟฟ้าดับ แปลภาษา มาเลเซีย ไทย แผนที่ทวีปอเมริกาเหนือ ่้แปลภาษา Google Translate กระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ 8 ขั้นตอน ก่อนจะนิ่งก็ต้องกลิ้งมาก่อน เนื้อเพลง ข้อสอบโอเน็ตม.3 มีกี่ข้อ คะแนนโอเน็ต 65 ตม กรุงเทพ มีที่ไหนบ้าง