ข้อใดคือพระราชกรณียกิจที่สำคัญของพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยด้านนาฏกรรม

พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย  มีพระนามเดิมว่า  “ฉิม”  ทรงเป็นพระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชและสมเด็จพระอม รินทราบรมราชินี  เมื่อพระชนมายุได้ 16 พรรษา  ทรงได้รับการสถาปนาขึ้นเป็นสมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ  เจ้าฟ้ากรมหลวงอิศรสุนทรในคราวที่สมเด็จพระราชบิดาทรงสถาปนาขึ้นเป็นสมเด็จ พระเจ้าลูกยาเธอ  เจ้าฟ้ากรมหลวงอิศรสุนทรในคราวที่สมเด็จพระราชบิดาทรงปราบดาภิเษกขึ้นเป็น ปฐมกษัตริย์แห่งกรุงรัตนโกสินทร์เมื่อ พ.ศ. 2325

พระราชกรณียกิจสำคัญที่มีต่อการสร้างสรรค์ชาติไทยสามารถสรุปได้ดังนี้

1.ด้านการเมืองการปกครอง 

1.1)  ทรงตรากฎหมายห้ามสูบซื้อขายฝิ่นใน พ.ศ. 2354  และ พ.ศ.2362  โดยกำหนดบทลงโทษแก่ผู้สูบฝิ่นไว้อย่างหนัก

1.2)  ทรงปรับปรุงกฎหมายพระราชกำหนดสักเลกเมื่อ พ.ศ. 2353 เพื่อเรียกเกณฑ์ไพร่พลเข้ารับราชการ  โดยลดเวลาให้ไพร่มารับราชการเพียง 3 เดือน ทำให้ไพร่มีเวลาทำมาหากินส่วนตัวมากขึ้น

2.ด้านสังคมและวัฒนธรรม

2.1)  โปรดเกล้า ฯ ให้มีการบูรณปฏิสังขรณ์วัดแจ้งด้วยการสถาปนาโบสถ์และวิหารใหม่  เสริมพระปรางค์องค์เดิมให้ใหญ่ขึ้น  และพระราชทานนามใหม่ว่า  “วัดอรุณราชวราราม”  ทรงให้แปลบทสวดมนต์จากภาษาบาลีเป็นภาษาไทย  เพื่อให้คนทั่วไปเข้าใจคำสอนต่าง ๆ ได้ง่ายขึ้น

2.2)  ทรงฟื้นฟูพระราชพิธีวิสาขบูชาขึ้นมาใหม่เมื่อ พ.ศ. 2360 ตามที่เคยปฏิบัติกันมาในสมัยสุโขทัย

3.ด้านศิลปกรรมและวรรณกรรม

3.1)  ทรงปรับปรุงท่ารำต่าง ๆ ทั้งโขนและละคร  ซึ่งกลายเป็นต้นแบบมาถึงปัจจุบัน  ทรงประพันธ์เพลง  “บุหลันลอยเลื่อน”  หรือ  “บุหลันลอยฟ้า”

3.2)  ทรงพระราชนิพนธ์วรรณกรรมมากมาย  เช่น  ขุนช้างขุนแผน  คาวี  สังข์ทอง  อิเหนา

3.3)  ทรงแกะสลักบานประตูวิหารพระศรีศากยมุนี  ที่วัดสุทัศนเทพวราราม  ปัจจุบันเก็บรักษาไว้ ณ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ  พระนคร

ที่มา //saowaboonks.blogspot.com/2012/09/blog-post.html

เหตุการณ์สำคัญ

พระราชกรณียกิจ

พระราชกรณียกิจด้านการทำนุบำรุงประเทศ และป้อมปราการ

ระยะแรกของการก่อตั้งกรุงรัตนโกสินทร์ พม่าก็ยังคงรุกรานประเทศไทยอย่างต่อเนื่อง พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย จึงทรงโปรดเกล้าฯ ให้สร้างเมืองและป้อมปราการต่างๆ ขึ้นเพื่อให้เป็นเมืองหน้าด่านคอยป้อมป้องกันข้าศึกที่จะยกเข้ามาทางทะเลที่เมืองสมุทรปราการ และที่เมือง ปากลัด (ปัจจุบันคือ อ.พระประแดง จ.สมุทรปราการ) โดยมีพระราชบัญชาให้กรมพระราชวังบวรมหาเสนานุรักษ์ เป็นแม่กองก่อสร้างเมืองนครเขื่อนขันธ์ขึ้นที่ปากลัด พร้อมป้อมปีศาจผีสิง ป้อมราหู และป้อมศัตรูพินาศแล้วโปรดเกล้าฯให้อพยพครอบครัวชาวมอญจากปทุมธานีมาอยู่ที่นครเขื่อนขันธ์

นอกจากนี้ พระองค์ยังทรงให้กรมหมื่นเจษฎาบดินทร์เป็นแม่กองจัดสร้างป้อมผีเสื้อสมุทร ป้อมประโคนชัย ป้อมนารายณ์ปราบศึก ป้อมปราการ ป้อมกายสิทธ์ ขึ้นที่เมืองสมุทรปราการ และโปรดเกล้าฯ ให้พระเจ้าน้องยาเธอ กรมหมื่นศักดิพลเสพย์ไปคุมงานก่อสร้างป้อมเพชรหึงส์เพิ่มเติมที่เมือง นครเขื่อนขันธ์ การสร้างเมืองหน้าด่านและป้อมปราการต่าง ๆ ขึ้นมามากมาย เพื่อป้องกันไม่ให้ข้าศึกเข้ามาถึงพระนครได้โดยง่าย ถือว่าพระองค์มีสายพระเนตรที่ยาวไกลยิ่งนัก

พระราชกรณียกิจด้านการป้องกันประเทศ

ในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย พม่าได้ยกทัพเข้ามาตีไทยอยู่หลายครั้งด้วยกันตั้งแต่พระองค์ครองราชย์ได้ เพียง ๒ เดือน พระเจ้าปดุง กษัตริย์พม่าก็ได้ทรงแต่งตั้งแม่ทัพพม่า ๒ นาย คืออะเติ้งหงุ่นและสุเรียงสาระกะยอ โดยให้แม่ทัพอะเติ้งหงุ่นยกทัพเรือเข้ามาตีทางหัวเมืองชายทะเลตะวันตก และสามารถตีเมืองตะกั่วทุ่งตะกั่วป่า รวมถึงล้อมเมืองถลางไว้ ก่อนที่กอง ทัพไทยจะยกลงไปช่วยและตีทัพพม่าจนแตกพ่ายไป ส่วนแม่ทัพสุเรียงสาระกะยอได้ยกกำลังมาทางบกเพื่อเข้าตีหัวเมืองด้านทิศใต้ ของไทย และสามารถตีได้เมืองมะลิวัน ระนอง และกระบี่ พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยจึงทรงส่งกองทัพลงไปช่วยเหลือทหารพม่าสู้ กำลังฝ่ายไทยไม่ได้ก็ถอยทัพหนีกลับไป

ต่อมาในปี พ.ศ. ๒๓๖๓ พระเจ้าปดุงเสด็จสวรรคต พระ เจ้าจักกายแมงได้สืบราชสมบัติต่อจากพระเจ้าปดุง และคิดจะยกทัพมาตีไทยอีก โดยสมคบกับพระยาไทรบุรีซึ่งเปลี่ยนใจไปเข้ากับฝ่ายพม่า แต่เมื่อทราบว่าฝ่ายไทยจัดกำลังทัพเตรียมรับศึกอย่างเข้มแข็ง พม่าก็เกิดเกรงกลัวว่าจะรบแพ้ไทยอีก จึงยุติไม่ยกทัพเข้ามา จนอีก ๓ ปีต่อมา พระเจ้าจักกายแมงก็ทรงชักชวนพระเจ้าเวียดนาม มินมางกษัตริย์ญวนให้มาช่วยตีไทย แต่ฝ่ายญวนไม่ยอมร่วมด้วย พอดีกับที่ขณะนั้นเกิดสงครามกับอังกฤษจึงหมดโอกาสที่จะมาตีไทยอีกต่อไป

พระราชกรณียกิจด้านการปกครอง

พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ทรงบริหารบ้านเมืองโดยให้เจ้านายรับหน้าที่ในการบริหารงานราชการในกรมกองต่างๆ เท่ากับเป็นการให้เสนาบดีได้มีการปรึกษาข้อราชการก่อนจะนำความขึ้นกราบบังคมทูล ทั้งยังโปรดเกล้าฯ ให้ผ่อนผันการเข้ารับราชการของพลเมืองชายเหลือเพียงปีละ ๓ เดือน (เข้ารับราชการ ๑ เดือน แล้วไปพักประกอบอาชีพส่วนตัวอีก ๓ เดือน สลับกันไป) นอกจากนี้ยังทรงรวบรวมพลเมืองให้เป็นปึกแผ่นมีหน่วยราชการสังกัดแน่นอน โดยพระราชทานโอกาสให้ประชาชนสามารถเลือกหน่วยราชการที่สังกัดได้

พระองค์ได้ทรงส่งเสริมข้าราชการที่มีความรู้ความสามารถให้มีโอกาสปฏิบัติหน้าที่ตนถนัด ในรัชกาลนี้จึงปรากฏพระนามและนามข้าราชการที่มีชื่อเสียงหลายท่าน เช่น สมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาเสนานุรักษ์ เจ้าฟ้ากรมหลวงพิทักษ์มนตรี กรมหมื่นเจษฎาบดินทร์ เจ้าพระยาศรีธรรมาโศกราช (น้อย ณ นคร) ขุนสุนทรโวหาร (ภู่) เป็นต้น และด้วยความที่พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยมีพระราชประสงค์ให้พลเรือนของพระองค์เป็นคนดี จึงได้ทรงออกพระราชบัญญัติเรื่อง ห้ามเลี้ยงไก่ นก ปลากัด ไว้ชน กัด หรือทำการอื่นๆ เพื่อการพนัน และออกพระราชกำหนดห้ามสูบฝิ่น ขายฝิ่น ซื้อฝิ่น พร้อมทรงกำหนดบทลงโทษสำหรับผู้ฝ่าฝืน ทำให้ประเทศไทยไม่เกิดสงครามฝิ่นแบบต่างชาติ

พระราชกรณียกิจด้านการทำนุบำรุงพระศาสนา

พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยได้ ทรงฟื้นฟู พระพุทธศาสนาอย่างมากมายหลายด้าน โดยเฉพาะด้านการก่อสร้างศาสนสถาน ทรงโปรดฯให้สร้างวัดขึ้นใหม่หลายวัด ได้แก่ วัดสุทัศนเทพวราราม วัดชัยพฤกษมาลา วัดโมลีโลกยาราม วัดหงสาราม และวัดพระพุทธบาทที่ สระบุรี ซึ่งสร้างค้างไว้ตั้งแต่สมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช รวมทั้งโปรดเกล้าฯให้ทำการบูรณปฏิสังขรณ์วัดอรุณราชวราราม โดยสร้างพระอุโบสถพระปรางค์ พร้อมทั้งพระวิหารขึ้นใหม่ เพื่อเป็นพระอารามประจำรัชกาล

การศึกษาพระปริยัติธรรมของพระสงฆ์ในยุคนี้ก็รุ่งเรืองเป็นอย่างมาก โดยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ทรงโปรดเกล้าฯ ให้แก้ไขหลักสูตรจากปริญญาตรี โท เอก มาเป็นเปรียญธรรม ๓ ประโยคถึง ๙ประโยค ทำให้พระภิกษุ สามเณร มีความรู้ภาษาบาลีแตกฉานยิ่งขึ้น นอกจากนี้พระองค์ยังทรงออกพระราชกำหนดให้ประกอบพิธีในวันวิสาขบูชา โดยห้ามล่าสัตว์ ๓วัน และรักษาศีล ถวายอาหารบิณฑบาต ทำทาน ปล่อยสัตว์ สดับฟังพระธรรมเทศนาเป็นเวลา 3 วัน 3 คืน ซึ่งนับเป็นครั้งแรกที่ประเทศไทยประกอบพิธีในวันวิสาขบูชา

พระราชกรณียกิจด้านศิลปวัฒนธรรม

ในด้านการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมของชาติพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ทรงมีพระอัจฉริยภาพในงานศิลปะหลายสาขา ทั้งทางด้านประติมากรรม ด้านการดนตรี แต่ที่โดด เด่นที่สุดเห็นจะเป็นในด้านวรรณคดี จนอาจเรียกได้ว่ายุคนี้เป็นยุคทองของวรรณคดีไทยสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ ละครรำรุ่งเรืองถึงขีดสุด ด้วยพระองค์ทรงเป็นกวีเอก และทรงพระราชนิพนธ์วรรณคดีไว้หลายเล่มด้วยกัน เช่น รามเกียรติ์ตอนลักสีดา วานรถวายพล พิเภกสวามิภักดิ์ สีดาลุยไฟ นอกจากนี้ยังมีพระราชนิพนธ์เรื่องอิเหนาที่ได้รับการยกย่องจากวรรณคดีสโมสรในสมัยรัชกาลที่ ๖ ว่าเป็นยอดกลอนบทละครรำ

ส่วนบทละครนอก พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยทรงพระราชนิพนธ์ขึ้นมา ๕ เรื่องด้วยกัน ได้แก่ ไชยเชษฐ์ สังข์ทอง มณีพิชัย ไกรทอง และคาวี พระองค์ยังได้ทรงพระราชนิพนธ์บทเห่เรือ เรื่องกาพย์เห่ชมเครื่องคาว หวาน ซึ่งมีความไพเราะและแปลกใหม่ไม่ซ้ำแบบกวีท่านใด เนื้อเรื่องแบ่งออกเป็น ๕ ตอน คือ เห่ชมเครื่องคาว เห่ชมผลไม้ เห่ชมเครื่องคาวหวาน เห่ครวญเข้ากับนักขัตฤกษ์ และบทเจ้าเซ็น ซึ่งบทเห่นี้เข้าใจกันว่าเป็นการชมฝีพระหัตถ์ในด้านการทำอาหารของสมเด็จพระศรีสุริเยนทราบรมราชินีนั่นเอง นอกจากพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยที่ทรงเป็นยอดกวีเอกแล้วในยุคสมัยนี้ยังมียอดกวีที่มี ชื่อเสียงอีกลายคน เช่น สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระปรมานุชิตชิโนรส, สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาเดชาดิศร, นายนริทร์ธิเบศ, และสุนทรภู่ เป็นต้น

องค์การศึกษาวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ ได้ยกย่องพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยว่าทรงเป็นบุคคลสำคัญของโลก เนื่องด้วยทรงสร้างสรรค์วรรณคดีที่ทรง คุณค่าทางวัฒนธรรมไว้เป็นมรดกของชาติจำนวนมากรวมถึงทรงปกครองบ้านเมืองให้ ราษฎรได้อยู่เย็นเป็นสุขภายใต้พระบรมโพธิสมภาร และเนื่องด้วยในรัชกาลนี้มีละครนอกช้างเผือกคู่พระบารมีถึง ๓ เชือก พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย จึงมีพระราชดำริให้แก้ไขธงชาติไทยจากที่เคยใช้ธงแดงมาตั้งแต่รัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช มาเป็นรูปช้างเผือกอยู่ในวงจักรติดในธงพื้นแดง และใช้เป็นธงชาติสืบต่อกันมาจนถึงรัชกาลที่ ๖

พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ครองราชย์สมบัติถึงปี พ.ศ. ๒๓๖๗ รวมอยู่ในสิริราชสมบัตินาน ๑๕ ปี ก็ทรงพระประชวรด้วยพิษไข้ มิได้รู้สึกพระองค์ จึงไม่ได้พระราชทานราชสมบัติให้แก่ผู้ใด และทรงพระประชวรด้วยพิษไข้อยู่ ๓ วันก็เสด็จสวรรคตในแผ่นดินพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ถือว่าเป็นแผ่นดินทองแห่งวรรณกรรม ด้วยพระองค์มีพระปรีชาสามารถอย่างยิ่งในด้านศิลปะ ไม่ว่าจะเป็นทางด้านสถาปัตยกรรม วรรณกรรม รวมถึงนาฏกรรม เห็นได้จากมรดกทางวัฒนธรรมที่พระองค์ทรงเป็นผู้สร้างไว้ให้กับอนุชนรุ่นหลัง อุทยานพระบรมราชานุสรณ์รัชกาลที่ ๒ ที่ อ.อัมพวา จ.สมุทรสงคราม ถือเป็นสถานที่ที่แสดง ให้เห็นถึงพระปรีชาสามารถในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยได้อย่าง ชัดเจนที่สุดและในอุทยานแห่งนี้ก็ได้ประดิษฐานพระบรมราชานุสาวรีย์ของพระองค์เพื่อให้ประชาชนได้เคารพสักการะด้วย

อุทยานพระบรมราชานุสรณ์พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย เป็นโครงการเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยของมูลนิธิพระบรมราชานุสรณ์พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ในพระบรมราชูปถัมภ์ โดยมีสมเด็จ พระเทพรัตนราชสุดาฯสยามบรมราชกุมารีเป็นองค์ประธาน เพื่อเป็นการสนองพระมหากรุณาธิคุณของพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย พระมหากษัตริย์ผู้ทรงเป็นทั้งนักรบ นักปกครอง ศิลปิน กวีและช่าง ซึ่งได้พระราชทานศิลปวัฒนธรรมอันงดงามประณีตไว้เป็นมงคลแก่ชาติ และปรากฏพระเกียรติคุณแพร่หลายไปในนานาประเทศ จนได้รับการยกย่องจากองค์การศึกษาวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ หรือยูเนสโก (UNESCO) ให้ทรงเป็นบุคคลสำคัญของโลก และได้ส่งเสริมให้มีการจัดงานเฉลิมพระเกียรติฉลองพระบรมราชสมภพครบรอบ ๒๐๐ ปี เมื่อพ.ศ. ๒๕๑๑ พร้อมจัดสร้างอุทยานพระบรมราชานุสรณ์ฯ ของพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย โดยมีจุดประสงค์ให้เป็นศูนย์กลางศิลปวัฒนธรรมไทยในรัชสมัยของพระองค์ และเพื่อให้เป็นที่พักผ่อนหย่อนใจของประชาชนในท้องถิ่นและจังหวัดใกล้เคียงนั้นด้วย

สถานที่ตั้งของอุทยานร.๒ อยู่ที่ อ.อัมพวา จ.สมุทรสงคราม ติดกับวัดอัมพวันเจติยาราม ที่เชื่อกันว่าเคยเป็นที่ตั้ง นิวาสถานดั้งเดิมของพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย เนื้อที่ ๑๑ ไร่ของอุทยาน ร.๒ แห่งนี้ พระราชสมุทรเมธี อดีตเจ้าอาวาสวัดอัมพวันเจติยาราม เป็นผู้น้อมเกล้าฯ ถวายที่ดินของบริเวณพระอารามให้ (เดิมเป็นนิวาสถานของสมเด็จพระอมรินทราบรมราชชนนี ภายหลังพระราชทานให้เป็นสมบัติของวัด) โดยที่ดินดังกล่าวอยู่ติดกับวัดอัมพวันเจติยาราม ด้านหนึ่งติดกับถนนแม่กลอง-บางนกแขวก ส่วนอีกด้านหนึ่งติดริมแม่น้ำแม่กลอง

สุนทรภู่ กวีเอกในสมัยรัชกาลที่ ๒

สุนทรภู่ เกิดเมื่อวันจันทร์ เดือน ๘ ขึ้น ๑ ค่ำ ปีมะเมีย จุลศักราช ๑๑๔๘ ตรงกับวันที่ ๒๖ มิถุนายน ๒๓๒๙ ในรัชกาลที่ ๑ บิดามารดาชื่อใดไม่ปรากฏ ทราบเพียงว่ามารดามีเชื้อสายผู้ดี และทำหน้าที่แม่นมของพระธิดาในกรมพระราชวังหลัง ส่วนบิดานั้นบวชเป็นพระอยู่ที่วัดบ้านกร่ำ อำเภอแกลง จังหวัดระยอง เรียนหนังสือที่วัดชีปะขาวหรือวัดศรีสุดารามในปัจจุบัน ครั้นมีความรู้ดีแล้ว มารดานำไปฝากเป็นข้าในกรมพระราชวังหลัง แต่อยู่ได้ไม่นานก็ลาออกไปเป็นเสมียน สุนทรภู่รับราชการไม่ก้าวหน้านัก เพราะติดนิสัยรักกาพย์กลอน กระทั่งในสมัยรัชกาลที่ ๒ จึงเป็นที่โปรดปรานให้เป็น “ขุนสุนทรโวหาร” (ภู่) เรียกสั้นๆ ว่า “สุนทรภู่” ต่อมาในสมัยรัชกาลที่ ๔ ได้รับบรรดาศักดิ์เป็น “พระสุนทรโวหาร” ถึงแก่กรรมเมื่อปีเถาะ พ.ศ. ๒๓๙๘ อายุได้ ๗๐ ปี

หนังสือบทกลอน ที่สุนทรภู่แต่งมีมากมาย ที่ได้ยินแต่ชื่อเรื่องยังหาฉบับไม่พบก็มี ที่หายสาบสูญไปแล้วไม่ได้ยินชื่อเรื่องก็มี แต่เรื่องที่ยังมีต้นฉบับอยู่ในปัจจุบันมี ๒๔ เรื่องคือ

- นิราศ ๙ เรื่อง ได้แก่ นิราศเมืองแกลง นิราศพระบาท นิราศภูเขาทอง นิราศเมืองสุพรรณ นิราศวัดเจ้าฟ้า นิราศอิเหนา นิราศพระแท่นดงรัง นิราศพระปฐม และนิราศเมืองเพชรบุรี

- นิทาน ๕ เรื่อง ได้แก่ โคบุตร พระอภัยมณี พระไชยสุริยา ลักษณวงศ์ และ สิงหไกรภพ

- สุภาษิต ๓ เรื่อง ได้แก่ สวัสดิรักษา เพลงยาวถวายโอวาท และสุภาษิตสอนหญิง

- บทละคร ๑ เรื่อง คือ เรื่องอภัยนุราช

- บทเสภา ๒ เรื่อง ได้แก่ ขุนช้างขุนแผน ตอนกำเนิดพลายงาม และเรื่องพระราชพงศาวดาร

- บทเห่กล่อม ๔ เรื่อง ได้แก่ เห่เรื่องจับระบำ เห่เรื่องกากี เห่เรื่องพระอภัยมณี และเห่เรื่องโคบุตร

พระราชกรณียกิจที่สำคัญของสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยมีอะไรบ้าง

พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยได้ ทรงฟื้นฟู พระพุทธศาสนาอย่างมากมายหลายด้าน โดยเฉพาะด้านการก่อสร้างศาสนสถาน ทรงโปรดฯให้สร้างวัดขึ้นใหม่หลายวัด ได้แก่ วัดสุทัศนเทพวราราม วัดชัยพฤกษมาลา วัดโมลีโลกยาราม วัดหงสาราม และวัดพระพุทธบาทที่ สระบุรี ซึ่งสร้างค้างไว้ตั้งแต่สมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช รวมทั้งโปรด ...

พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยทรงมีพระอัจฉริยภาพเป็นพิเศษในด้านใด

ในด้านการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมของชาติ พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ทรงมีพระอัจฉริยภาพในงานศิลปะหลายสาขา ทั้งทางด้านประติมากรรม ด้านการดนตรี แต่ที่โดด เด่นที่สุดเห็นจะเป็นในด้านวรรณคดี จนอาจเรียกได้ว่ายุคนี้เป็นยุคทองของวรรณคดีไทยสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ ละครรำรุ่งเรืองถึงขีดสุด ด้วยพระองค์ทรงเป็นกวีเอก และทรงพระราช ...

ข้อใดคือบทบาทสำคัญของบาทหลวง

บาทหลวง คือ 'ศาสนบริกร' ผู้ได้รับเจิมจากองค์พระผู้เป็นเจ้า มีหน้าที่ถวายบูชามิสซาและประกอบพิธีกรรมต่าง ๆ เช่น โปรดศีลล้างบาป ศีลอภัยบาป การแต่งงาน งานศพ ฯลฯ ซึ่งเป็นผู้แทนขององค์พระผู้เป็นเจ้าในพิธีกรรมนั้นๆ

ข้อใดคือบทบาทของการปกครองที่สำคัญของพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช

พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ทรงสถาปนากรุงเทพมหานคร (หรือกรุงรัตนโกสินทร์) เป็นราชธานี และทรงสถาปนาราชวงศ์จักรีปกครองราชอาณาจักรไทยเมื่อ 6 เมษายน พ.ศ. 2325 (วันจักรี) ภายหลังการเสด็จเสวยราชย์แล้ว พระองค์ทรงมีพระราชกรณีกิจที่สำคัญยิ่ง คือ การป้องกันราชอาณาจักรให้ปลอดภัยและทรงฟื้นฟูวัฒนธรรมไทยอันเป็นมรดกตกทอดมา ...

กระทู้ที่เกี่ยวข้อง

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

แปลภาษาไทย ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน อาจารย์ ตจต ศัพท์ทหาร ภาษาอังกฤษ pdf lmyour แปลภาษา ชขภใ ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมฟรี 2566 ขขขขบบบยข ่ส ศัพท์ทางทหาร military words หนังสือราชการ ตัวอย่าง หยน แปลบาลีเป็นไทย ไทยแปลอังกฤษ ประโยค การไฟฟ้านครหลวง การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ข้อสอบโอเน็ต ม.3 ออกเรื่องอะไรบ้าง พจนานุกรมศัพท์ทหาร เมอร์ซี่ อาร์สยาม ล่าสุด แปลภาษามลายู ยาวี Bahasa Thailand กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมออนไลน์ การ์ดจอมือสอง ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย คะแนน o-net โรงเรียน ค้นหา ประวัติ นามสกุล บทที่ 1 ที่มาและความสําคัญของปัญหา ร. ต จ แบบฝึกหัดเคมี ม.5 พร้อมเฉลย แปลภาษาอาหรับ-ไทย ใบรับรอง กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน PEA Life login Terjemahan บบบย มือปราบผีพันธุ์ซาตาน ภาค2 สรุปการบริหารทรัพยากรมนุษย์ pdf สอบโอเน็ต ม.3 จําเป็นไหม เช็คยอดค่าไฟฟ้า แจ้งไฟฟ้าดับ แปลภาษา มาเลเซีย ไทย แผนที่ทวีปอเมริกาเหนือ ่้แปลภาษา Google Translate กระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ 8 ขั้นตอน ก่อนจะนิ่งก็ต้องกลิ้งมาก่อน เนื้อเพลง ข้อสอบโอเน็ตม.3 มีกี่ข้อ คะแนนโอเน็ต 65 ตม กรุงเทพ มีที่ไหนบ้าง