โทษของการประพฤติผิดจรรยาบรรณวิชาชีพบัญชีมีอย่างไรบ้าง

เนื่องจากวิชาชีพบัญชีเป็นวิชาชีพที่เกี่ยวข้องข้อมูลทางการเงินของกิจการ นักบัญชีจะเก็บรวบรวมข้อมูล บันทึกรายการ สรุปข้อมูลต่างๆ ในรูปแบบของรายงานทางการเงินรวมไปถึงงานตรวจสอบและแสดงความเห็นต่อรายงานทางการเงิน ผู้ใช้ข้อมูลมีหลากหลายกลุ่มไม่ว่าจะเป็นผู้ใช้ข้อมูลภายในองค์กรและภายนอกองค์กรเพื่อนำข้อมูลrไปใช้ในการตัดสินใจที่แตกต่างกันไป ดังนั้นผู้ประกอบวิชาชีพบัญชีจะต้องปฏิบัติหน้าที่ไม่ว่าจะเป็นผู้ทำบัญชีหรือผู้สอบบัญชีบนพื้นฐานของจรรยาบรรณสำหรับผู้ประกอบวิชาชีพบัญชี

ตามจรรยาบรรณของผู้ประกอบวิชาชีพบัญชีปี 2561 ได้อธิบายถึงหลักการพื้นฐานที่ผู้ประกอบวิชาชีพบัญชีต้องปฏิบัติตามทั้งหมด 6 หลักการ ประกอบด้วย

1.ความซื่อสัตย์สุจริต

ผู้ประกอบวิชาชีพบัญชีต้องปฏิบัติตนอย่างตรงไปตรงมาทางวิชาชีพและทางธุรกิจ หากผู้ประกอบวิชาชีพบัญชีจัดทำบัญชีหรือนำเสนอรายงานที่ไม่ตรงกับข้อเท็จจริงที่ได้จากการปฏิบัติงานจะถือว่าผิดจรรยาบรรณในเรื่องความซื่อสัตย์สุจริต อีกทั้งในกรณีที่ผู้ทำบัญชีหรือผู้สอบบัญชีตรวจพบว่างบการเงินของลูกค้าเป็นกิจการที่ทำผิดกฏหมาย เช่น เป็นกิจการค้าไม้เถื่อนหรือประกอบธุรกิจเกี่ยวกับการพนัน หากผู้ประกอบวิชาชีพบัญชียังคงปฏิบัติหน้าที่การทำบัญชีหรือตรวจสอบบัญชีให้ลูกค้าต่อ การกระทำเช่นนี้ถือว่าเป็นการผิดจรรยาบรรณในเรื่องความซื่อสัตย์สุจริต

2.ความเที่ยงธรรมและความเป็นอิสระ

ในการปฏิบัติหน้าที่ของผู้ประกอบวิชาชีพบัญชีจะต้องไม่ยอมให้อคติหรืออิทธิพลใดๆมาอยู่เหนือการใช้ดุลยพินิจในการที่จะปฏิบัติงานตามมาตรฐานวิชาชีพ เช่น นาย วินัย ผู้สอบบัญชีรับอนุญาต รับงานสอบบัญชีจากสำนักงานบัญชีแห่งหนึ่งจำนวน 190 งบการเงิน กรณีดังกล่าวอาจแสดงให้เห็นว่ารายได้ของ นาย วินัย จะขึ้นอยู่กับสำนักงานบัญชีแห่งนี้เท่านั้น สำนักงานบัญชีจะมีอิทธิพลต่อการแสดงความเห็นของ นาย วินัย ต่องบการเงิน นาย วินัย จะสูญเสียความเป็นอิสระในการใช้ดุลยพินิจตามมาตรฐานวิชาชีพตามที่ควรจะเป็นได้ ลักษณะเช่นนี้ถือว่าเป็นการผิดจรรยาบรรณในเรื่องความเที่ยงธรรมและความเป็นอิสระ

3.ความรู้ ความสามารถ ความเอาใจใส่ และการรักษามาตรฐานในการปฏิบัติงาน

ในการปฏิบัติหน้าที่ไม่ว่าจะเป็นผู้ทำบัญชีหรือผู้สอบบัญชีจะต้องปฏิบัติหน้าที่ตามความรู้ความสามารถ ความชำนาญทางวิชาชีพ ความรอบคอบ เอาใจใส่ และปฏิบัติงานตามมาตรฐานวิชาชีพ ผู้ประกอบวิชาชีพบัญชีจะไม่รับงานเกินกว่าความรู้ความสามารถและความเชี่ยวชาญของตน ตัวอย่างในกรณีของผู้สอบบัญชี รับงานสอบบัญชีมาจาก บริษัท ABC สอบบัญชีจำกัด แต่ไม่ได้ทำจดหมายตอบรับงานตามมาตรฐานการสอบบัญชีที่กำหนดไว้ เพราะเนื่องจากเป็นคนรู้จักคุ้นเคยกัน หรือ การรับงานสอบบัญชีในธุรกิจที่มีลักษณะเฉพาะและผู้สอบบัญชีไม่มีความเชี่ยวชาญในธุรกิจดังกล่าว การกระทำเช่นนี้ถือว่าผิดจรรยาบรรณในเรื่องความรู้ ความสามารถ ความเอาใจใส่ และการรักษามาตรฐานในการปฏิบัติงานเป็นต้น

4.การรักษาความลับ

ผู้ประกอบวิชาชีพบัญชีจะต้องรักษาความลับของลูกค้าทั้งก่อนรับงาน ระหว่างปฏิบัติงาน และหลังการรับงานเรียบร้อย โดยไม่เปิดเผยข้อมูลลูกค้าโดยไม่ได้รับอนุมัติจากผู้มีอำนาจ หรือไม่นำข้อมูลไปใช้เพื่อประโยชน์ส่วนตนหรือบุคคลที่สาม ตัวอย่างเช่น น.ส.รักดี ผู้สอบบัญชี นำข้อมูลร่างงบการเงินของบริษัทลูกค้าที่ผ่านการสอบบัญชีแล้วแต่ยังไม่ได้เปิดเผย ไปใช้ซื้อขายหลักทรัพย์และสัญญาซื้อขายล่วงหน้า การกระทำดังกล่าว น.ส.รักดี นำข้อมูลภายในของลูกค้าไปใช้ในการซื้อขายหุ้นเพื่อประโยชน์ส่วนตน ถือว่าผิดจรรยาบรรณในเรื่องการรักษาความลับ เป็นต้น

5.พฤติกรรมทางวิชาชีพ

ผู้ประกอบวิชาชีพบัญชีต้องปฏิบัติตามกฎหมายและข้อบังคับที่เกี่ยวข้อง และหลีกเลี่ยงการกระทำที่จะทำให้เกิดความเสื่อมเสียต่อความน่าเชื่อถือของวิชาชีพบัญชี รับผิดชอบต่อผู้รับบริการและผู้ที่ตนปฏิบัติหน้าให้ เช่น สำนักงาน นิติบุคคล ผู้เป็นหุ้นส่วนเป็นต้น เช่น การที่ผู้สอบบัญชีลงลายมือชื่อรับรองงบการเงินโดยไม่ได้ตรวจสอบงบการเงินจริง หรือ บริษัท AAA การบัญชี จำกัด ลงโฆษณาว่าหากให้บริษัททำบัญชี จะเสียภาษีเงินได้น้อยมาก การกระทำเช่นนี้ถือว่าเป็นการผิดจรรยาบรรณในเรื่องพฤติกรรมทางวิชาชีพ เป็นต้น

6.ความโปร่งใส

ผู้ประกอบวิชาชีพบัญชีต้องปฏิบัติงานตามกฎหมาย ข้อบังคับ ระเบียบต่าง ๆ ตามมาตรฐานวิชาชีพที่กำหนดและไม่ปกปิดข้อเท็จจริงหรือบิดเบือนความจริงที่เป็นสาระสำคัญที่จะส่งผลกระทบต่อการตัดสินใจของผู้ใช้งบการเงินได้ การละเว้นไม่แสดงหรือแสดงข้อมูลที่ไม่ตรงกับข้อเท็จจริงที่เป็นสาระสำคัญ จะถือว่าเป็นการผิดจรรยาบรรณในเรื่องความโปร่งใส

ทั้งนี้หากผู้ประกอบวิชาชีพบัญชีอยู่ภายใต้เหตุการณ์แวดล้อมที่ประเมินแล้วเกิดอุปสรรคต่อการปฏิบัติงานตามมาตรฐานวิชาชีพบัญชี ผู้ประกอบวิชาชีพบัญชีต้องขจัดหรือลดอุปสรรคดังกล่าวให้อยู่ในระดับที่ยอมรับได้

โดยอุปสรรคตามที่จรรยาบรรณสำหรับผู้ประกอบวิชาชีพบัญชีปี 2561 อธิบายไว้มี 5 ประเภท

1.อุปสรรคที่เกิดจากผลประโยชน์ส่วนตน

อุปสรรคที่เกิดจากผลประโยชน์ทางการเงินหรือผลประโยชน์อื่นที่มีอิทธิพลอย่างไม่เหมาะสมต่อการใช้ดุลยพินิจหรือพฤติกรรมของผู้ประกอบวิชาชีพ เช่น การรับงานสอบบัญชีจากสำนักงานบัญชีแห่งเดียวจำนวน 190 งบการเงิน โดยสำนักงานบัญชีแจ้งว่าค่าสอบบัญชีจะขึ้นกับรูปแบบการแสดงความเห็นในงบการเงิน การรับงานสอบบัญชีดังกล่าวจะกระทบต่อการปฏิบัติงานของประกอบวิชาชีพบัญชีเนื่องจากอุปสรรคที่เกิดจากผลประโยชน์ส่วนตน เป็นต้น

2.อุปสรรคที่เกิดจากการสอบทานผลงานตนเอง

อุปสรรคที่ผู้ประกอบวิชาชีพบัญชีไม่สามารถประเมินได้อย่างเหมาะสมเกี่ยวกับผลของการใช้ดุลยพินิจที่ผ่านมาของตน เช่น น.ส.จิตรา ผู้สอบบัญชีบริษัท AAA จำกัด ได้จ้างผู้ทำบัญชีของบริษัท AAA จำกัดมาเป็นผู้ช่วยผู้ตรวจสอบบัญชีบริษัทดังกล่าวเพราะเห็นว่ามีความเข้าใจในธุรกิจดังกล่าวเป็นอย่างดี กรณีดังกล่าวจะกระทบต่อการปฏิบัติงานของประกอบวิชาชีพบัญชีเนื่องจากมีอุปสรรคที่เกิดจากการสอบทานผลงานตนเอง เป็นต้น

3.อุปสรรคที่เกิดจากการเป็นผู้ให้การสนับสนุน

อุปสรรคที่ผู้ประกอบวิชาชีพบัญชีเป็นผู้ให้การสนับสนุนสถานภาพของลูกค้าหรือผู้ว่าจ้างรายใดรายหนึ่งจนไม่ สามารถอยู่ในฐานะที่สามารถปฏิบัติงานได้ด้วยความเที่ยงธรรม เช่น ผู้สอบบัญชีเป็นผู้ถือหุ้นรายใหญ่ของบริษัทผู้ว่าจ้าง กรณีดังกล่าวจะกระทบต่อการใช้ดุลพินิจในการปฏิบัติหน้าที่ของผู้ประกอบวิชาชีพเนื่องจากอุปสรรคที่เกิดจากการเป็นผู้ให้การสนับสนุน เป็นต้น

4.อุปสรรคที่เกิดจากความคุ้นเคย

อุปสรรคที่เกิดจากความสัมพันธ์หรือใกล้ชิดกับลูกค้าหรือผู้ว่าจ้าง เกิดความเห็นอกเห็นใจจนเกินไปในผลประโยชน์หรือง่ายต่อการยอมรับในผลงานของบุคคลดังกล่าว เช่น การรับงานสอบบัญชีแต่ไม่ได้ทำจดหมายตอบรับงานตามมาตรฐานการสอบบัญชีที่กำหนดไว้เพราะเป็นคนรู้จักคุ้นเคยกัน ซึ่งไม่เป็นไปตามมาตรฐานวิชาชีพของผู้ประกอบวิชาชีพบัญชี เนื่องจากอุปสรรคที่เกิดจากความคุ้นเคย เป็นต้น

5.อุปสรรคที่เกิดจากการถูกข่มขู่

อุปสรรคที่ผู้ประกอบวิชาชีพบัญชีถูกยับยั้งจากการปฏิบัติงานอย่างเที่ยงธรรม เนื่องจากแรงกดดันบางอย่างที่เกิดขึ้นจริงหรือซึ่งเข้าใจไปได้ เช่น ผู้ทำบัญชีถูกเจ้าของกิจการสั่งให้ทำบัญชีโดยรับรู้รายการตามที่เจ้าของกิจการต้องการ หากไม่ทำจะไล่ออก กรณีดังกล่าวกระทบการปฏิบัติหน้าที่ของผู้ประกอบวิชาชีพเนื่องจากอุปสรรคที่เกิดจากการถูกข่มขู่ เป็นต้น

ในการปฏิบัติงานของผู้ประกอบวิชาชีพบัญชีหากผู้ประกอบวิชาชีพบัญชีอยู่ภายใต้สถานการณ์ที่ก่อให้เกิดอุปสรรคในการปฏิบัติงานจะต้องขจัดหรือลดอุปสรรคดังกล่าวให้อยู่ในระดับที่ยอมรับได้ โดยการขอคำปรึกษาจากบุคคลอื่นที่เหมาะสมภายในสำนักงาน องค์กรผู้ว่าจ้าง ผู้มีหน้าที่กำกับดูแลขององค์กร หรือองค์กรทางวิชาชีพที่เกี่ยวข้อง เป็นต้นเพื่อให้การปฏิบัติงานในวิชาชีพบัญชีสอดคล้องกับหลักการพื้นฐานของจรรยาบรรณสำหรับผู้ประกอบวิชาชีพบัญชีทั้ง 6 หลักการ ทั้งนี้เพื่อรักษาเกียรติแห่งวิชาชีพบัญชีและเพื่อข้อมูลทางการบัญชีที่ถูกต้องครบถ้วนและเป็นประโยชน์ต่อผู้ใช้งบการเงิน

บทความ โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์ รองเอก วรรณพฤกษ์  ผู้ช่วยผู้อำนวยการหลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบัญชี  คณะบัญชี มหาวิทยาลัยศรีปทุม

บรรณานุกรม

สภาวิชาชีพบัญชีในพระบรมราชูปถัมภ์. คำอธิบายข้อบังคับสภาวิชาชีพบัญชีว่าด้วยจรรยาบรรณของผู้ประกอบวิชาชีพบัญชี พ.ศ.2561.สืบค้นวันที่ วันที่ 5 สิงหาคม 2564  จาก //chanthaburi.cad.go.th/download/Sheet/4_fap%20Ethics%20Booklet%20[46%20pages]%20(25-5-62).pdf

ข้อใดคือโทษของการประพฤติผิดจรรยาบรรณของผู้ประกอบวิชาชีพบัญชี

(๑) ตักเตือนเป็นหนังสือ (๒) ภาคทัณฑ์ (๓) พักใช้ใบอนุญาต พักการขึ้นทะเบียน หรือห้ามการประกอบวิชาชีพบัญชีด้านที่ประพฤติผิดจรรยาบรรณโดยมีกำหนดเวลา แต่ไม่เกินสามปี (๔) เพิกถอนใบอนุญาต เพิกถอนการขึ้นทะเบียนหรือสั่งให้พ้นจากการเป็นสมาชิกสภาวิชาชีพบัญชี

ผู้ประพฤติผิดจรรยาบรรณวิชาชีพจะได้รับโทษที่หนักที่สุดคืออะไร

- สาหรับผู้ประกอบวิชาชีพบัญชีเมื่อประพฤติผิดจรรยาบรรณ นอกจากจะได้รับโทษหนักเบาตามเหตุของ การประพฤติผิด ซึ่งร้ายแรงที่สุดก็คือการเพิกถอนใบอนุญาตหรือเพิกถอนการขึ้นทะเบียนหรือสั่งให้พ้นจากการเป็น

ผู้ออกคําสั่งลงโทษผู้ประกอบวิชาชีพบัญชีที่ประพฤติผิดจรรยาบรรณคือใคร

วิชาชีพบัญชีประพฤติผิดจรรยาบรรณ คณะกรรมการจรรยาบรรณจะดำเนินการสอบสวนพิจารณาโดยเร็ว หากผลการสอบสวนปรากฏว่าผู้นั้นประพฤติผิด จรรยาบรรณคณะกรรมการจรรยาบรรณ จะมีคำสั่งลงโทษตามข้อ 7.2 ทั้งนี้การออกคำสั่งลงโทษหรือออกคำสั่งยกคำกล่าวหาต้องแจ้งให้ผู้ถูกกล่าวหา หรือผู้กล่าวหาทราบเป็นหนังสือโดยเร็วด้วย

บทลงโทษการไม่ปฏิบัติตามจรรยาบรรณได้แก่ อะไรบ้าง

หากไม่ปฏิบัติตามจรรยาบรรณนี้แล้วกฎหมายจะถือว่าเป็นผู้ประพฤติผิดจรรยาบรรณ และมีการกำหนดโทษของการประพฤติผิดจรรยาบรรณ แบ่งเป็น 4 ระดับ คือ 1.ตักเตือนเป็นหนังสือ 2.ภาคทัณฑ์ 3.พักใช้ใบอนุญาตพักการขึ้นทะเบียนหรือห้ามการประกอบวิชาชีพด้านที่ประพฤติผิดจรรยาบรรณ โดยมีกำหนดเวลา แต่ไม่เกินสามปี

กระทู้ที่เกี่ยวข้อง

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

แปลภาษาไทย ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน อาจารย์ ตจต ศัพท์ทหาร ภาษาอังกฤษ pdf lmyour แปลภาษา ชขภใ ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมฟรี 2566 ขขขขบบบยข ่ส ศัพท์ทางทหาร military words หนังสือราชการ ตัวอย่าง หยน แปลบาลีเป็นไทย ไทยแปลอังกฤษ ประโยค การไฟฟ้านครหลวง การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ข้อสอบโอเน็ต ม.3 ออกเรื่องอะไรบ้าง พจนานุกรมศัพท์ทหาร เมอร์ซี่ อาร์สยาม ล่าสุด แปลภาษามลายู ยาวี Bahasa Thailand กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมออนไลน์ การ์ดจอมือสอง ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย คะแนน o-net โรงเรียน ค้นหา ประวัติ นามสกุล บทที่ 1 ที่มาและความสําคัญของปัญหา ร. ต จ แบบฝึกหัดเคมี ม.5 พร้อมเฉลย แปลภาษาอาหรับ-ไทย ใบรับรอง กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน PEA Life login Terjemahan บบบย มือปราบผีพันธุ์ซาตาน ภาค2 สรุปการบริหารทรัพยากรมนุษย์ pdf สอบโอเน็ต ม.3 จําเป็นไหม เช็คยอดค่าไฟฟ้า แจ้งไฟฟ้าดับ แปลภาษา มาเลเซีย ไทย แผนที่ทวีปอเมริกาเหนือ ่้แปลภาษา Google Translate กระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ 8 ขั้นตอน ก่อนจะนิ่งก็ต้องกลิ้งมาก่อน เนื้อเพลง ข้อสอบโอเน็ตม.3 มีกี่ข้อ คะแนนโอเน็ต 65 ตม กรุงเทพ มีที่ไหนบ้าง