บทบาทพยาบาลชุมชน มีอะไรบ้าง

บทบาทหน้าที่ของพยาบาลวิชาชีพซึ่งเปรียบเสมือนเสาหลักในการดูแลสุขภาพของประชาชนโดยเฉพาะผู้ที่เจ็บป่วยนั้นมีความสำคัญมาก เพราะพยาบาลเป็นผู้ที่อยู่ใกล้ชิดผู้ป่วยมากที่สุดและผลัดเปลี่ยนหมุนเวียนดูแลผู้ป่วยอย่างต่อเนื่องตลอด 24 ชั่วโมง

บทบาทหน้าที่ในการปฏิบัติงานของพยาบาล รับผิดชอบอะไรบ้าง?

บทบาทหน้าที่ในการปฏิบัติงานของพยาบาล เริ่มตั้งแต่การประเมินปัญหาภาวะสุขภาพที่ต้องการการดูแลและให้การช่วยเหลือเพื่อให้ผู้ป่วยปรับตัวได้ นำแผนการรักษาของแพทย์สู่การปฏิบัติ ป้องกันการเกิดภาวะแทรกซ้อน และให้การฟื้นฟูและสร้างเสริมสุขภาพโดยคำนึงถึงความเป็นองค์รวมและความเป็นปัจเจกบุคคลที่มีความต้องการที่แตกต่างกันในผู้ป่วยแต่ละคน ทั้งนี้เพื่อให้ผู้ป่วยสามารถดูแลตนเองได้และกลับคืนสู่ครอบครัวและสังคมได้

แบ่งออกเป็น 2 ลักษณะใหญ่ ๆ ได้แก่

  1. บทบาทอิสระ หมายถึง พยาบาลปฎิบัติหน้าที่โดยใช้ความรู้จากศาสตร์ทั้งทางด้านการพยาบาลและความรู้ที่เกี่ยวข้องในศาสตร์สาขาอื่นๆ ตัดสินใจวางแผนเพื่อให้การดูแลผู้เจ็บป่วย ป้องกันการเกิดภาวะแทรกซ้อนต่าง ๆ ช่วยฟื้นฟูและสร้างเสริมสุขภาพ อย่างเป็นอิสระภายใต้ขอบเขตของการพยาบาล
  2. บทบาทร่วม หมายถึง พยาบาลปฎิบัติหน้าที่โดยทำงานร่วมกับแพทย์และทีมสหสาขา โดยนำแผนการรักษาของแพทย์สู่การปฏิบัติดูแลช่วยเหลือผู้ป่วยเพื่อให้หายจากโรค หรือควบคุมโรคได้

หน้าที่ของพยาบาลในการคัดกรองผู้ป่วย ในภาวะเร่งด่วน

เช่นการปฏิบัติหน้าที่ที่แผนกฉุกเฉิน การคัดกรองผู้ป่วยเป็นหน้าที่สำคัญของพยาบาลอีกด้านหนึ่ง ซึ่งมีประโยชน์ที่จะช่วยให้ผู้ป่วยได้รับความปลอดภัย โดยจะคัดกรองอาการของผู้ป่วยแต่ละราย ออกเป็น

  1. ต้องรีบพบแพทย์ทันที
  2. สามารถรอได้แต่ไม่นานนัก พยาบาลอาจต้องให้การช่วยเหลือเบื้องต้น เช่น การเช็ดตัวเพื่อลดไข้
  3. สามารถรอได้นานกว่า การปฏิบัติในส่วนนี้จะช่วยให้ผู้ป่วยได้รับความปลอดภัยอย่างมากระหว่างรอเพื่อพบแพทย์ ซึ่งเป็นหน้าที่ของพยาบาลที่จะต้องดูแลและรับผิดชอบ

หน้าที่ของพยาบาลในชุมชนที่ผู้ป่วยอาศัยอยู่

พยาบาลไม่ได้มีหน้าที่เฉพาะในโรงพยาบาลเท่านั้น แต่การดูแลผู้ป่วยยังต้องต่อเนื่องไปที่บ้านหรือในชุมชนที่ผู้ป่วยอาศัยอยู่ หน้าที่ของพยาบาลส่วนนี้คือการดูแลให้ผู้ป่วยดูแลตนเองได้อย่างต่อเนื่อง ควบคุมโรคไม่ให้กำเริบ ด้วยการดูแลวิธีปฏิบัติกิจวัตรประจำวันของผู้ป่วย และพฤติกรรมสุขภาพเพื่อให้สอดคล้องกับอาการและความเจ็บป่วยป่วยที่เป็นอยู่ ตลอดจนการรักษาโรคเบื้องต้น เพื่อให้เกิดผลลัพธ์ของการรักษาพยาบาลที่ดี หรือหายจากโรค

นอกจากนี้การดูแลสุขภาพที่บ้านหรือในชุมชนโดยพยาบาล ยังมุ่งดูแลชีวิตตั้งแต่แรกเกิด ดูแลสุขภาพมารดา และสุขภาพและพัฒนาการของเด็กวัยต่าง ๆ ซึ่งถือเป็นบทบาทที่สำคัญอีกด้านของพยาบาลในการสร้างเสริมสุขภาพประชาชนและผู้ที่เจ็บป่วยในชุมชน

บทบาทหน้าที่ของพยาบาลในยุคประเทศไทย 4.0 มีเป้าหมายอย่างไร?

สำหรับบทบาทหน้าที่ของพยาบาลวิชาชีพในยุคประเทศไทย 4.0 ซึ่งมุ่งเน้น

  • การมองหาการปฏิบัติที่ดีที่สุดทางด้านการพยาบาลเพื่อแก้ปัญหาให้แก่ผู้ป่วย
  • การจัดการระบบการดูแลสุขภาพผู้ป่วยให้มีประสิทธิภาพมากที่สุด
  • การดูแลการเข้าถึงบริการสุขภาพที่เท่าเทียมกันของผู้ป่วยให้ได้มากที่สุด
  • การมุ่งเน้นเรื่องความคุ้มค่าคุ้มประโยชน์ รวมถึงการใช้ทรัพยากรต่างๆ อย่างคุ้มค่ามากที่สุด

การพัฒนานวัตกรรมเพื่อให้เกิดประโยชน์ในด้านต่างๆ จึงเป็นคำตอบ และเพื่อให้เกิดการขยายผล นวัตกรรมที่พัฒนานอกจากพัฒนางานประจำที่รับผิดชอบแล้ว ยังต้องให้สามารถให้เกิดผลประโยชน์เชิงพานิชย์ด้วย เพื่อให้สามารถขยายผลการใช้งานและผลลัพธืที่ดีทางด้านเศรษฐกิจชาติด้วย จึงมีคำกล่าวที่ว่า ยุคประเทศไทย 4.0 นี้จะต้องพัฒนานวัตกรรมที่เข้าห้าง ไม่ใช่ขึ้นหิ้ง เหมือนที่ผ่านมา

โดยทุกหน้าที่ของพยาบาลยุคนี้ต้องสอดคล้องไปกับการขับเคลื่อนประเทศไทยในบริบทไทยแลนด์ 4.0 พยาบาลต้องรู้จักคิดนอกกรอบ คิดสร้างสรรค์ และรู้จักบูรณาการความรู้สู่การพัฒนานวัตกรรมต่าง ๆ เพื่อให้เกิดผลลัพธ์ทางการพยาบาลและผลลัพธ์ด้านสุขภาพผู้ป่วยที่ดีที่สุด

พยาบาลยุคประเทศไทย 4.0 ต้องเรียนรู้หรือมีทักษะความสามารถอะไรบ้าง?

เพื่อส่งเสริมให้พยาบาลวิชาชีพสามารถมองหาการปฏิบัติที่ดีที่สุดทางด้านการพยาบาลเพื่อแก้ปัญหาให้แก่ผู้ป่วย การจัดการระบบการดูแลสุขภาพผู้ป่วยให้มีประสิทธิภาพมากที่สุด การดูแลการเข้าถึงบริการสุขภาพที่เท่าเทียมกันของผู้ป่วยให้ได้มากที่สุด และการมุ่งเน้นเรื่องความคุ้มค่าคุ้มประโยชน์ รวมถึงการใช้ทรัพยากรต่างๆ อย่างคุ้มค่ามากที่สุด พยาบาลยุคประเทศไทย 4.0 จำเป็นต้องพัฒนาทักษะหรือความสามารถ ซึ่งได้แก่

คือ การพยาบาลสาขาหนึ่ง ซึ่งมีเป้าหมายเพื่อสุขภาพของชุมชน โดยนำความรู้ทางการพยาบาลศาสตร์ การสาธารณสุขศาสตร์ สังคมศาสตร์ พฤติกรรมศาสตร์ ฯลฯ มาใช้ในการปฏิบัตินำกระบวนการพยาบาล หรือกระบวนการแก้ปัญหามาใช้ในการปฏิบัติงานร่วมกับชุมชน และบุคคลากรอื่นในทีมสุขภาพ ในทุกขั้นตอนการวางแผนและดำเนินการด้านบริการเหมาะสมกับภาวะสุขภาพและความต้องการที่แท้จริงของชุมชนโดยนำทรัพยากรที่มีอยู่ในชุมชนมาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด

          การพยาบาลอนามัยชุมชน เป็นการดูแลสุขภาพของบุคคล ครอบครัวและชุมชนในเขตที่รับผิดชอบ ดูแลทั้งผู้ที่มีสุขภาพดี ผู้ที่ไม่เจ็บป่วย ผู้ที่อยู่ในภาวะเสี่ยงโรคและผู้ที่อยู่ในภาวะเจ็บป่วย ทั้งเรื้อรังและเฉียบพลัน โดยผสมผสานบริการครบถ้วนทั้ง 4 มิติ คือ ด้านการส่งเสริมสุขภาพ การป้องกันโรค การรักษาโรค และการฟื้นฟูสภาพ ขจัดสิ่งแวดล้อมที่เป็นสาเหตุของโรค และปัญหาสุขภาพ เสริมสร้างความเข้มแข็งของชุมชน เพิ่มศักยภาพและความสามารถดูแลสุขภาพตนเอง เพื่อให้มีสุขภาพดี ลดการป่วย การตาย ความพิการจากโรคหรือปัญหาสุขภาพที่มีวิธีป้องกันได้ (ไพเราะ ผ่องโชค และคณะ,2549:2)

          สถานที่ปฏิบัติงานของพยาบาลอนามัยชุมชน มีทั้งในสถานบริการและนอกสถานบริการทางสุขภาพดังนี้

          การปฏิบัติงานในสถานบริการ แก่ผู้มารับบริการเป็นกลุ่มหรือรายบุคคล ได้แก่ ในคลินิกผู้ป่วยนอก คลินิกตรวจรักษาโรคเบื้องต้น คลินิกตรวจสุขภาพเด็กดี คลินิกวางแผนครอบครัว คลินิกตรวจก่อนคลอดและคลินิกตรวจหลังคลอด เป็นงานบริการด้านส่งเสริมสุขภาพร่างกาย ส่งเสริมสขภาพจิต และส่งเสริมพัฒนาการ บริการด้านป้องกันโรคที่มีวัคซีนป้องกัน รวมถึงการให้สุขศึกษาและการให้คำปรึกษา การตรวจคัดกรองผู้ป่วย การรักษาโรคเบื้องต้นและการส่งต่อ

          การปฏิบัติงานนอกสถานบริการ ได้แก่ การดูแลสุขภาพแก่กลุ่มบุคคลในโรงงานโรงเรียน ในชุมชนสถานรับเลี้ยงเด็กวัยก่อนเรียน สถานดูแลผู้สูงอายุ สถานพักฟื้น การเยี่ยมครอบครัวและผู้ป่วยตามบ้าน การตรวจคัดกรองโรค การรักษาขั้นต้นและส่งต่อ การป้องกันโรคส่งเสริมสุขภาพกาย สุขภาพจิต รณรงค์ให้วัคซีน การให้สุขศึกษา การให้คำแนะนำ ปรึกษาและบริการฟื้นฟูสภาพที่บ้านแก่ผู้ป่วยที่กลับจากโรงพยาบาลมาพักฟื้นที่บ้าน ( ไพเราะ ผ่องโชค และคณะ,2549:3 )

บทบาทหน้าที่ของพยาบาลในงานอนามัยชุมชน

          การพยาบาลอนามัยชุมชน การพยาบาลสาธารณสุข การพยาบาลชุมชน หรือการพยาบาลสาธารณสุขมีความหมายเดียวกัน ต้องนำศาสตร์ทางการพยาบาล วิทยาศาสตร์ทางการแพทย์ การสาธารณสุข สังคมศาสตร์ พฤติกรรมศาสตร์ ฯลฯ มาประยุกต์ใช้ในการปฏิบัติงานเพื่อบรรลุเป้าหมาย สถานที่ปฏิบัติงานไม่จำกัด ว่าต้องปฏิบัติงานในสถานบริการสุขภาพ หรือนอกสถานบริการสุขภาพ หรือในชุมชน บริการในสถานบริการสุขภาพ พยาบาลอนามัยชุมชนทำงานแผนกผู้ป่วยนอก ซึ่งจะกล่าวถึงในเรื่องหน้าที่ของพยาบาลอนามัยชุมชน

          คุณสมบัติของผู้ปฏิบัติงานด้านการพยาบาลอนามัยชุมชน พยาบาลวิชาชีพ ทุกคนสามารถปฏิบัติงานพยาบาลอนามัยชุมชนได้ พยาบาลวิชาชีพที่ได้รับการศึกษาเฉพาะทางด้านการพยาบาลสาธารณสุขเพิ่มเติมหลังจากจบหลักสูตรพยาบาลวิชาชีพ และศึกษาต่อระดับมหาบัณฑิตพยาบาลเวชปฏิบัติชุมชน หรือพยาบาลสาธารณสุขสามารถรับผิดชอบงานที่มีความซับซ้อนมากขึ้น เป็นผู้บริหาร นิเทศงาน วางแผนงาน ควบคุมกำกับ ประเมินผลงาน ในระดับอำเภอ จังหวัด ระดับประเทศเป็นผู้นำทางการพยาบาลอนามัยชุมชน ผู้ชำนาญการ นักวิจัย นักวิชาการ ทำหน้าที่สอน ฝึกอบรม เป็นต้น

          ลักษณะการปฏิบัติงานด้านการพยาบาลอนามัยชุมชน


1.       เป็นบริการเพื่อสุขภาพ บริการพยาบาลอนามัยชุมชนเป็นบริการเพื่อสุขภาพของประชาชนที่อยู่ในความรับผิดชอบ ในประเทศไทยเป็นบริการที่จ่ายโดยรัฐหรือองค์กรอาสาสมัคร ประชาชนไม่ต้องจ่ายค่าบริการ ให้คำแนะนำให้การพยาบาลที่บ้าน การตรวจร่างกาย ตลอดจนการช่วยเหลือประชาชนอาจเสียค่าใช้จ่ายเป็นค่าตรวจทางห้องปฏิบัติ เอกซ์เรย์ ค่ายาหรือวัคซีน เฉพาะในส่วนที่รัฐไม่ได้จัดสรรงบประมาณไว้ให้


2.       เป็นการดูแลต่อเนื่อง แบบองค์รวม และผสมผสาน ให้การดูแลสุขภาพของบุคคล ครอบครัวและชุมชนในเขตที่รับผิดชอบอย่างต่อเนื่องตามภาวะสุขภาพและอายุ คำนึงถึงปัจจัยที่เกี่ยวข้องทุกด้านรวมทั้งวิถีการดำเนินชีวิต โดยผสมผสานบริการครบถ้วนทั้งด้านการส่งเสริมสุขภาพ การป้องกันโรคที่เป็นงานหลักและการรักษาโรค การฟื้นฟูสุขภาพ ขจัดสิ่งแวดล้อมที่เป็นสาเหตุของโรค และปัญหาสุขภาพ


3.       เป็นการเสริมสร้างความเข้มแข็งและความร่วมมือของชุมชน เพิ่มศักยภาพในการดูแลสุขภาพตนเองเพื่อให้มีสุขภาพดีลดการป่วย การตาย ความพิการที่ป้องกันได้ การเสริมความเข้มแข็งทางสุขภาพให้ชุมชน (Empowerment) พยาบาลทำหน้าที่เป็นผู้ให้คำปรึกษา (consultant)ให้ความรู้เพิ่มขีดความสามารถ (Enabling) ให้ความช่วยเหลือเป็นพี่เลี้ยง (Mentoring) แนะนำแหล่งประโยชน์อำนวยความสะดวก(Facilitating) เป็นปากเป็นเสียงและให้การสนับสนุน (supporting) รวมทั้งร่วมปฏิบัติงานที่ชุมชนเป็นเจ้าของโครงการ(collaborating)


4.       ให้ความสำคัญกับปัญหาที่เกิดกับคนส่วนใหญ่และกลุ่มเสี่ยงก่อน ในการลำดับความสำคัญของการบริการ พยาบาลอนามัยชุมชนต้องการบริการปัญหาที่มีผลกระทบต่อคนส่วนใหญ่ก่อน และมุ่งเน้นการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคมากกว่าการตามแก้ปัญหาท่เกิดขึ้นแล้ว(ไพเราะ ผ่องโชค และคณะ,2549:9)


มาตรฐานการพยาบาลอนามัยชุมชน

             สมาคมพยาบาลอเมริกา (American Association, 1986) กำหนดมาตรฐานการปฏิบัติงานพยาบาลอนามัยชุมชน ด้านต่างๆสรุปได้ดังนี้


1.       ด้านทฤษฏี พยาบาลอนามัยชุมชนต้องนำแนวคิด ทฤษฏีทางการพยาบาลมาประยุกต์ใช้ในการปฏิบัติงาน


2.       ด้านการรวบรวมข้อมูล ต้องมีการรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับผู้รับบริการอย่างมีระบบ ครบถ้วนถูกต้อง ใช้ได้สะดวก


3.       ด้านการวินิจฉัยทางการพยาบาลต้องได้จากการวิเคราะห์ข้อมูลที่รวบรวมไว้เกี่ยวกับภาวะสุขภาพของชุมชน ครอบครัวและบุคคล


4.       ด้านการวางแผนป้องกันทุกระดับ จากการวินิจฉัยทางการพยาบาล พยาบาลต้องวางแผนการปฏิบัติการพยาบาลที่สอดคล้องกับความต้องการของผู้รับบริการ ระบุแนวทางที่ชัดเจนที่จะดำเนินการให้บรรลุเป้าหมาย(ไพเราะ ผ่องโชค และคณะ, 2549 : 10)

5.       ด้านกิจกรรมบริการ ปฏิบัติการพยาบาลตามแผนเพื่อส่งเสริมสุขภาพ ป้องกัน รักษาและฟื้นฟูสภาพโดยให้ผู้รับบริการหรือชุมชนมีส่วนร่วม

6.       ด้านการประเมินผล ต้องมีการกำหนดเป้าหมายและประเมินผลร่วมกันระหว่างผู้รับบริการและพยาบาลเกี่ยวกับความก้าวหน้า และผลที่จะได้รับทางสุขภาพอนามัยของผู้รับบริการ

7.       ด้านการประกันคุณภาพและพัฒนาวิชาชีพ

8.       ด้านการร่วมงานในระหว่างทีมสุขภาพบุคคลากรอื่นๆในกระบวนการทำงานเพื่อสุขภาพชุมชน

9.       ด้านการวิจัย 


แนวทางปฏิบัติงานด้านการพยาบาลอนามัยชุมชน

1.       ใช้กระบวนการแก้ปัญหา หรือกระบวนการพยาบาล


2.       ให้ความสำคัญปัญหาที่มีผลกระทบต่อประชาชนส่วนใหญ่ก่อน


3.       พัฒนาศักยภาพในการช่วยตนเองครอบครัวและชุมชนได้


4.       ประชาชนเป็นคนสำคัญที่สุดในการตัดสินใจแก้ปัญหาของตนเอง ครอบครัวและชุมชน


5.       การดูแลต่อเนื่อง


6.       ดูแลทุกคนในชุมชนโดยเฉพาะอย่างยิ่งกลุ่มเสี่ยง(ไพเราะ ผ่องโชค และคณะ,2549:14)


หน้าที่ของพยาบาลอนามัยชุมชน

1.      หน้าที่ด้านบริการพยาบาลอนามัยชุมชน ให้บริการชุมชนตามขอบเขตความรับผิดชอบลักษณะบริการเป็นบริการครบถ้วน(comprehensive care) ผสมผสานและต่อเนื่อง( Integrative care )

ผสมผสานบริการ 4 ด้าน เน้นการส่งเสริมสุขภาพ และการป้องกันโรค


1.1บริการด้านการรักษา


1.2บริการด้านการป้องกันโรคและปัญหาสุขภาพ


1.3บริการด้านการส่งเสริมสุขภาพ


1.4บริการด้านการฟื้นฟูสุขภาพ


2.       ด้านการบริหารจัดการ พยาบาลอนามัยชุมชนเป็นผู้บริหารงานจัดการที่ดีในงานส่วนที่รับผิดชอบเพื่อให้การดำเนินงานบรรลุวัตถุประสงค์ได้อย่างราบรื่นอย่างประหยัดกำลังคน เวลา และงบประมาณ ได้แก่การประสานงาน การควบคุมกำกับ การนิเทศงาน การประเมินผลงานการประสานงานที่ดีจะทำให้ได้รับความร่วมมืออย่างดีจากผู้ร่วมงานและประชาชน


2.1   ในการบริหารงานด้านพยาบาลเป็นผู้วางแผนงาน จำเป็นต้องทราบนโยบายของหน่วยงานเพื่อวางแผนดำเนินงานได้สอดคล้องกัน


2.2   จัดระบบงาน กำลังคน จัดทรัพยากรจังบประมาณ หาแหล่งประโยชน์ เตรียมให้พร้อมสำหรับการปฏิบัติงานได้


2.3   ติดต่อประสานงานทั้งภายในและภายนอกองค์กรตรวจ ควบคุมงาน นิเทศน์งาน ให้ได้ผลงานที่มีคุณภาพ เสร็จตามกำหนดเวลา


2.4   ประเมินผลงาน และแก้ไขข้อบกพร่อง ปรับเปลี่ยนแผนให้เหมาะสมกับการดำเนินงานขั้นต่อไป


3.       ด้านวิชาการ


3.1   การวิจัย มีส่วนร่วมในการวิจัย หรือทำการวิจัยเพื่อให้ได้ความรู้ใหม่เพื่อพัฒนาการพยาบาล การบริการด้านสุขภาพ การสาธารณสุข ฯลฯ


3.2   การฝึกอบรมและเผยแพร่ความรู้แก่บุคคลากรสุขภาพ นักเรียน นักศึกษา อาสาสมัคร สาธารณสุขของชุมชนประชาชนทั่วไป กลุ่มผู้นำชุมชนหรือผู้ที่ประชาชนเชื่อถือมาปรึกษาเมื่อมีปัญหาสุขภาพ

บทบาทของพยาบาลอนามัยชุมชน มีดังนี้

1.       เป็นผู้บริการด้านสุขภาพ (Health care provider) ทั้งผู้ป่วยและผู้ที่ไม่ป่วยจึงเป็นการให้บริการ แบบครบถ้วนผสมผสานทั้งด้านการรักษา การฟื้นฟูสภาพ การป้องกันโรค การรักษาและการฟื้นฟูสภาพ แก่ ครอบครัว กลุ่มคน และชุมชน ทั้งในชุมชน ตามบ้าน โรงเรียน โรงงาน และในแผนกผู้ป่วยนอกของสถานบริการสาธารณสุข โดยเน้นการส่งเสริมสุขภาพและป้องกันโรคเป็นสำคัญ


2.       เป็นผู้ให้ความรู้ด้านสุขภาพ ( Health educator ) พยาบาลอนามัยชุมชนต้องมีคุณสมบัติเด่นในเรื่องการให้สุขศึกษาในรูปแบบต่างๆให้เหมาะสมกับกลุ่มเป้าหมายมากที่สุด


3.       เป็นผู้พิทักษ์ผลประโยชน์ ( Advocator ) ทำให้ประชาชนได้มีความรู้เกี่ยวกับสิทธิต่างๆของตนเองในด้านสุขภาพตามหลักสิทธิผู้ป่วย 


4.       เป็นผู้บริหารจัดการ (Manager)ให้การดำเนินงานต่างๆเป็นไปอย่างราบรื่น การจัดวางกำลังคน จัดเตรียมวัสดุอุปกรณ์เวชภัณฑ์พร้อมพอเพียงในการดำเนินงาน การประสานงานกับทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องกับการประชาสัมพันธ์กับทุกฝ่าย


5.       เป็นผู้ให้คำปรึกษา(Counselor) พยาบาลเป็นผู้ให้คำปรึกษากับผู้ที่มีปัญหากับทุกฝ่ายทั้งสุขภาพกายและสุขภาพจิต รวมทั้งให้คำปรึกษาทางสุขภาพกับทีมสหสาขาวิชาชีพอื่นๆด้วย เช่น เจ้าพนักงานสาธารณสุข เป็นต้น


6.       เป็นผู้วิจัย (Researcher) การทำวิจัยหรือร่วมวิจัยมีส่วนสำคัญในการพัฒนาวิชาชีพการพยาบาลให้มีความกก้าวหน้า เพื่อปรับปรุงการพยาบาลอนามัยชุมชนให้เป็นที่ยอมรับและเกิดประดยชน์สูงสุดสำหรับประชาชนผู้รับบริการ


7.       เป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลง(Chang agent) เป็นผู้กระตุ้นหรือทำให้ชุมชนเกิดการเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีขึ้นเนื่องจากพยาบาลเป็นผู้ทราบสถานะความเป็นอยู่ของชุมชน ปัจจัยที่เกี่ยวข้อง เช่น ทราบว่าชุมชนไม่ค่อยมีผู้สนใจออกกำลังกายจึงเป็นผู้จัดริเริ่มให้ชุมชนออกกำลังกายขึ้น


8.       เป็นผู้นำ (Leader) การมีความรู้ด้านการดูแลสุขภาพ พยาบาลเป็นผู้ที่ชุมชนเชื่อถือเป็นผู้นำในด้านสุขภาพที่ช่วยชี้แนะแนวทางให้ชุมชนในการตัดสินใจในโครงการต่างๆ ของชุมชนเพื่อส่งเสริมเพื่อส่งเสริมสุขภาพ ป้องกันและแก้ไขปัญหาสุขภาพชุมชน ครอบครัวหรือบุคคล


9.       เป็นผู้ประสานงาน (Co- ordinator) การพยาบาลอนามัยชุมชนเป็นงานที่ต้องประสานงานทุกระดับ ทั้งผู้ที่อยุในระดับที่ต่ำกว่า สูงกว่าหรือระดับเดียวกัน เพราะจำเป็นต้องอาศัยความร่วมมือจากหลายฝ่ายทั้งทีมสหสาขาวิชาชีพและนอกทีมสหสาขา เช่น อบต. กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ครุอาจารย์ เป็นต้น


10.   เป็นผู้ให้ความร่วมมือ (Collaborator) กับทุกฝ่ายที่จาช่วยกันพัฒนาชุมชน เช่น ทางการศึกษา ทางฝ่ายการเมือง การปกครอง เป็นต้น


พยาบาลอนามัยชุมชนแต่ละหน่วยงานอาจมีบทบาทที่เน้นหนักแตกต่างกันบ้าง ทั้งนี้ขึ้นอยุ่กับนโยบายของแต่ละหน่วยงาน

          บทบาทหน้าที่ของพยบาลอนามัยชุมชนในระบบสุขภาพใหม่


          ปัจจุบันระบบสุขภาพอยู่ในระยะปรับเปลี่ยน มีการพัฒนาระบบสุขภาพระดับปฐมภูมิ พยาบาลอนามัยชุมชนเป็นผู้ที่มีบทบาทสำคัญในการพัฒนาระบบสุขภาพชุมชนจากเดมที่มีบทบาทหน้าที่ให้บริการเชิงรุกบริการด้านการป้องกันโรคส่งเสริมสุขภาพ และการฟื้นฟูสภาพผู้พิการชั่วคราวหรือเรื้อรัง มีการให้บริการตามบ้าน บริการในชุมชน ในโรงเรียน ในคลีนิกป้องกันโรคส่งเสริมสุขภาพ เช่น คลีนิกตรวจสุขภาพเด็กดี  คลีนิกตรวจและรับฝากครรภ์ ตรวจและดูแลหลังคลอด บริการวางแผนครอบครัว เนื่องจากที่ผ่านมาไม่สามารถให้บริการได้ทั่วถึง  พยาบาลจำเป็นต้องมีการปรับบทบาทให้สามารถเพิ่มการพัฒนาศักยภาพของชุมชน อย่างจริงจังมากขึ้น ทำให้ประชาชนส่วนใหญ่ยอมรับความสำคัญและมีส่วนร่วมในการดูแลสุขภาพของตนเอง เพื่อลดปัญหาของสุขภาพให้เห็นผลชัดเจน ประชาชนยอมรับลดค่าใช้จ่ายด้านการรักษาของประชาชนและงบประมาณของประเทศ โดยรวม (ไพเราะ ผ่องโชค และคณะ,2549:21)


          งานรักษาเป็นอีกบทบาทหนึ่งที่ต้องปรับเปลี่ยนจากเดิมที่เป็นเพียงการรักษาพยาบาลเบื้องต้น ช่วยเหลือผู้ป่วยฉุกเฉิน คัดกรองโรคและส่งต่อแพทย์ เมื่อมีการพัฒนาระบบสุขภาพแนวใหม่พยาบาลอนามัยชุมชนต้องให้ บริการที่เรียกว่า ใกล้บ้าน ใกล้ใจ คือ บริการที่สะดวก รวดเร็ว มีคุณภาพ เป็นที่เชื่อถือยอมรับ และพอใของผ็ใช้บริการ เพื่อให้มารับบริการที่สถานบริการปฐมภูมิคือ โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลก่อน ไม่ข้ามขั้นไปรับบริการที่สถานพยาบาลตติยภูมิ เพื่อเป็นการตอบสนองนโยบายลดความแออัดได้อีกส่วนหนึ่ง


          พยาบาลที่จะให้บริการด้านการรักษาพยาบาลที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลต้องมีการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง เช่นต้องเข้ารับการอบรมหลักสูตรเฉพาะทาง(การรักษาโรคเบื้องต้น) เป็นต้น


          คุณสมบัติที่เหมาะสมของพยาบาลที่จะปฏิบัติงานอนามัยชุมชนได้


1.       ด้านความรู้ จำเป็นที่ต้องมีคุณสมบัติด้านความรู้และทักษะด้านการพยาบาลสาขาต่างๆ ได้แก่ การพยาบาลผู้ใหญ่และผู้สูงอายุ เด็ก สูตินรีเวช จิตเวช และสุขภาพจิต การตรวจคัดกรองและการรักษาโรคเบื้องต้นผู้ป่วยและผู้บาดเจ็บทั่วไปและเฉิน และนำมาประยุกต์ใช้ในกระบวนการพยาบาลอนามัยชุมชน มีความรู้ด้านการสารณสุข เช่น การอนามัยสิ่งแวดล้อม  วิทยาการระบาด การป้องกันโรค และการควบคุมโรค การอาชีวอนามัย ชีวสถิติ โภชนาการชุมชน  สุขศึกษาชุมชน  ความรู้ในสาขาเฉพาะพยาบาลที่ปฏิบัติงาน เช่น พยาบาลอาชีวอนามัย พยาบาลสังกัดศูนย์วัณโรค ต้องเป็นผู้ที่มีความรู้ความชำนาญเพิ่มจากพยาบาลวิชาชีพทั่วไป ความรู้ด้านสังคมศาสตร์และพฤติกรรมศาสตร์ เพื่อการเข้าถึงประชาชน ได้เข้าใจชีวิตความเป็นอยู่ ปัญหาและปัจจัยที่เกี่ยวข้องได้ดีขึ้น ช่วยชี้แนะแนวทางที่จะสามารถแก้ปัญหา สามารถให้สุขศึกษาให้ความรู้เพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมสุขภาพให้คำปรึกษาแก่ประชาชนได้อย่างเหมาะสม สามารถปฏิบัติงานร่วมกับบุคคลากรหลายฝ่าย รวมทั้งประชาชนที่ระดับพื้นฐานความรู้และสังคมต่างกัน


2.       ทักษะด้านการสื่อสาร นอกจากความรู้ดังกล่าว พยาบาลต้องพัฒนาทักษะที่จำเป็นด้านการสื่อสาร ทั้งการพูด และการเขียน ( Verbal communication ) และการแสดงท่าที ( Non - Verbal communication ) เพราะในการทำงานต้องมีการสื่อสารมากให้เข้าใจตรงกันมากที่สุด ทั้งการพูด ฟัง อ่าน เขียน สอน ถ้าการสื่อสารไม่ดีจะเป็นอุปสรรคในการสื่อสารมาก


3.       ทักษะการเป็นผู้นำ กรทำงานต้องมีการบริหารจัดการ การตัดสินใจ การประสานงานพยาบาลทุกคนได้เรียนรู้วิธีการมาแล้ว ในการพยาบาลพื้นฐาน เมื่อปฏิบัติงานอนามัยชุมชนต้องนำทักษะนี้มาใช้มากขึ้นเพราะมีการทำงานร่วมกับประชาชนและผู้ร่วมงานที่อยู่ในระดับรองลงมา


4.       ศึกษาหาความรู้ต่อเนื่อง เนื่องจากวิทยาการทางการพยาบาล การแพทย์ การสาธารณสุข มีความก้าวหน้า อย่างรวดเร็ว และสภาพสังคมมีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา สภาพปัญหามีการเปลี่นแปลง วิธีการแก้ไขปัญหาต้องพัฒนาอยู่เสมอ ผู้ที่ต้องปฏิบัติงานด้านนี้จำเป็นต้องศึกษาเพื่อพัฒนาความรู้ของตนเองตลอดเวลาเพื่อเป็นประโยชน์ในการวางแผนและดำเนินงานซึ่งจะมีผลสูงสุดต่อชุมชนที่รับผิดชอบ

พยาบาลชุมชนจะต้องมีบทบาทใดบ้าง

พยาบาลชุมชนมีบทบาทหน้าที่หลักในการ จัดบริการสุขภาพและให้การดูแลสุขภาพของ ประชาชน จัดกลุ่มประชากรเปูาหมายทั้งตาม อายุ ตามภาวะสุขภาพและปัญหาสุขภาพ ได้แก่ กลุ่มเสี่ยง กลุ่มสุขภาพดี กลุ่มเจ็บปุวย และตาม ความต้องการเฉพาะโดยเน้นบทบาทในการดูแล สุขภาพเชิงรุกมากกว่าเชิงรับ เน้นการให้บริการ ด้านการปูองกันโรคและส่งเสริมสุขภาพให้ ...

งานอนามัยชุมชนมีอะไรบ้าง

งานอนามัยชุมชน.
การสำรวจข้อมูลสุขภาพครอบครัว โดยพยาบาลวิชาชีพและพนักงานชุมชน เพื่อให้ทราบถึงลักษณะทางกายภาพของชุมชน และที่อยู่อาศัยรวมทั้งปัญหาสุขภาพ ของประชาชน.
การให้บริการเยี่ยมผู้ป่วย และครอบครัว เพื่อให้คำแนะนำสอนสาธิตให้การพยาบาลผู้ป่วยที่มีปัญหาสุขภาพ ผู้พิการ.

กระบวนการพยาบาลชุมชน มีอะไรบ้าง

กระบวนการพยาบาลอนามัยชุมชน และประกอบด้วย 5 ขั้นตอน - Coggle Diagram.
การประเมินภาวะสุขภาพชุมชน และการวินิจฉัยชุมชน ขั้นตอนการศึกษาชุมชน ... .
การวางแผนงานและโครงการ การวางแผน ... .
ขั้นการวินิจฉัยชุมชน 2.การจัดลำดับความสำคัญของปัญหา ... .
ประเมินผลโครงการ ... .
การปฏิบัติงาน.

สุขภาพชุมชน มีอะไรบ้าง

ดังนั้น สุขภาพชุมชน จึงหมายถึง การมองสุขภาพ ของทุกคนหรือประชากรของชุมชนโดยรวม โดยมี การตรวจสอบใน 3 ด้าน ได้แก่ 1) สภาวะ คือการวัดสุขภาพ ของคนในชุมชนทางด้านกายภาพ อารมณ์ และสังคม 2) โครงสร้างของชุมชน คือบริการสุขภาพหรือแหล่ง ประโยชน์ที่ช่วยในการดูแลสุขภาพของคนในชุมชน และ 3) กระบวนการ คือการท าหน้าที่ของชุมชนในการช่วยกัน ...

กระทู้ที่เกี่ยวข้อง

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

แปลภาษาไทย ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน อาจารย์ ตจต ศัพท์ทหาร ภาษาอังกฤษ pdf lmyour แปลภาษา ชขภใ ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมฟรี 2566 ขขขขบบบยข ่ส ศัพท์ทางทหาร military words หนังสือราชการ ตัวอย่าง หยน แปลบาลีเป็นไทย ไทยแปลอังกฤษ ประโยค การไฟฟ้านครหลวง การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ข้อสอบโอเน็ต ม.3 ออกเรื่องอะไรบ้าง พจนานุกรมศัพท์ทหาร เมอร์ซี่ อาร์สยาม ล่าสุด แปลภาษามลายู ยาวี Bahasa Thailand กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมออนไลน์ การ์ดจอมือสอง ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย คะแนน o-net โรงเรียน ค้นหา ประวัติ นามสกุล บทที่ 1 ที่มาและความสําคัญของปัญหา ร. ต จ แบบฝึกหัดเคมี ม.5 พร้อมเฉลย แปลภาษาอาหรับ-ไทย ใบรับรอง กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน PEA Life login Terjemahan บบบย มือปราบผีพันธุ์ซาตาน ภาค2 สรุปการบริหารทรัพยากรมนุษย์ pdf สอบโอเน็ต ม.3 จําเป็นไหม เช็คยอดค่าไฟฟ้า แจ้งไฟฟ้าดับ แปลภาษา มาเลเซีย ไทย แผนที่ทวีปอเมริกาเหนือ ่้แปลภาษา Google Translate กระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ 8 ขั้นตอน ก่อนจะนิ่งก็ต้องกลิ้งมาก่อน เนื้อเพลง ข้อสอบโอเน็ตม.3 มีกี่ข้อ คะแนนโอเน็ต 65 ตม กรุงเทพ มีที่ไหนบ้าง