การละเมิดความเป็นส่วนตัวของผู้อื่นมีอะไรบ้าง

สิทธิในความเป็นส่วนตัว เป็นหลักขั้นพื้นฐานของกฎหมายไทย อันจะเห็นได้จากการบัญญัติไว้ในกฎหมายรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550ซึ่งได้ถูกยอมรับจากนานาประเทศ จึงถือได้ว่า สิทธิในความเป็นส่วนตัวนี้ ถือได้ว่าสำคัญ

 ปัจจุบันมีการละเมิดสิทธิความเป็นส่วนตัวมากขึ้นเรื่อยๆ โดยเฉพาะการละเมิดสิทธิความเป็นส่วนตัวในส่วนของการใช้ เทคโนโลยีสารสนเทศ หรือ IT และการสื่อสารเป็นอย่างมากทั่วทุกมุมโลก โดยเน้นหนักไปในส่วนของข้อมูลทางอินเทอร์เน็ตและการสื่อสารแบบไร้สาย การละเมิดสิทธิเหล่านี้นับวันจะยิ่งมีความรุนแรงเพิ่มขึ้นอยู่ตลอดเวลา

สิทธิ หมายถึงอำนาจหรือประโยชน์ที่กฎหมายให้ความคุ้มครองให้ การได้รับสิทธิตามกฎหมายนั้นย่อมไม่ก่อให้เกิดความยุติธรรมกับผู้มีส่วนได้เสียนั้นๆในทางกฎหมาย, สิทธิ หมายถึง สิทธิตามกฎหมายหรือศีลธรรม ที่จะทำหรือไม่ทำบางอย่าง หรือที่จะได้รับหรือไม่ได้รับบางอย่างในสังคมอารยะ (civil society) สิทธิทำหน้าที่เหมือนกฎในการปฏิสัมพันธ์ระหว่างบุคคล นอกจากคำว่า สิทธิแล้ว ใน ราชบัณฑิตยสถาน ยังสามารถใช้ได้อีกคำหนึ่งว่า สิทธิ์ ซึงมีความหมายอย่างเดียวกันแต่เขียนต่างกันความเป็นส่วนตัว หรือ สิทธิส่วนบุคคล คือ การกระทำทั้งหลายที่เป็น การกระทำเฉพาะตัว เฉพาะบุคคล

สิทธิในความเป็นส่วนตัวหรือ สิทธิส่วนบุคคล  ภาษาอังกฤษใช้คำว่า Privacy means หมายถึงสิทธิของบุคคลที่ประกอบไปด้วยสิทธิของบุคคลในครอบครัว เกียรติยศ ชื่อเสียง หรือความเป็นอยู่ส่วนตัว ในเรื่องดังกล่าวน่าจะจัดอยู่ในเรื่องของความเป็นอยู่ส่วนตัวซึ่งหมายความว่า สถานะที่บุคคลจะรอดพ้นจากการสังเกต การรู้เห็น การสืบความลับ การรบกวนต่างๆ และความมีสันโดษ ไม่ติดต่อสัมพันธ์กับสังคม โดยทั้งนี้ ขอบเขตที่บุคคลควรได้รับการคุ้มครองและการเคารพในสิทธิส่วนบุคคลก็คือการดำรงชีวิตอย่างเป็นอิสระ ตามที่ต้องการ ตามวิถีทางที่อาจเป็นไปได้และเป็นความพอใจตราบเท่าที่ไม่ขัดต่อกฎหมาย ไม่ขัดต่อความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดีของประชาชนและไม่เป็นการล่วงละเมิดสิทธิเสรีภาพของผู้อื่น

สิทธิในความเป็นส่วนตัว หรือ สิทธิส่วนบุคคล นี้นับวัน จะยิ่งถูกละเมิดสิทธินี้มากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นจาก ฝ่ายรัฐเอง หรือ เอกชนก็ตาม ซึ่งมีตัวอย่างของการกระทำอันเป็นการละเมิดสิทธิความเป็นส่วนตัว เช่น

1.ห้ามไม่ให้มีการสื่อสารผ่านทางเครือข่าย Blackberry Messenger

2.การเข้าไปดูข้อความในจดหมายอิเล็กทรอนิกส์และการบันทึกข้อมูลในเครื่องคอมพิวเตอร์ รวมทั้งการบันทึก-แลกเปลี่ยนข้อมูลที่บุคคลเข้าไปใช้บริการเว็บไซต์และกลุ่มข่าวสาร

3.การใช้เทคโนโลยีในการติดตามความเคลื่อนไหวหรือพฤติกรรมของบุคคล เช่น บริษัทใช้คอมพิวเตอร์ในการตรวจจับหรือเฝ้าดูการปฏิบัติงาน/การใช้บริการของพนักงาน ถึงแม้ว่าจะเป็นการติดตามการทำงานเพื่อการพัฒนาคุณภาพการใช้บริการ แต่กิจกรรมหลายอย่างของพนักงานก็ถูกเฝ้าดูด้วย พนักงานสูญเสียความเป็นส่วนตัว ซึ่งการกระทำเช่นนี้ถือเป็นการผิดจริยธรรม

4.การใช้ข้อมูลของลูกค้าจากแหล่งต่างๆ เพื่อผลประโยชน์ในการขยายตลาด

5.การรวบรวมหมายเลขโทรศัพท์ ที่อยู่อีเมล์ หมายเลขบัตรเครดิต และข้อมูลส่วนตัวอื่นๆ เพื่อนำไปสร้างฐานข้อมูลประวัติลูกค้าขึ้นมาใหม่แล้วนำไปขายให้กับบริษัทอื่น

สิ่งเหล่านี้เป็นเพียงบางส่วนซึ่งแสดงให้เห็นได้อย่างชัดเจนต่อการละเมิดสิทธิความเป็นส่วนตัวที่เกิดขึ้นในสังคมปัจจุบันทุกพื้นที่ของโลกเลยก็ว่าได้ และเป็นเรื่องใกล้ตัวของทุก ๆ คน อาจไม่ดูไม่สร้างความเสียหายหรือเดือดร้อนกับเรามากนักไป แต่สิ่งที่เกิดขึ้นคือความรำคาญจากการเข้ามาละเมิดสิทธิความเป็นส่วนตัวของเรา

แน่นอนที่ทุกคนต้องได้พบ เช่น Message ต่าง ๆ  ที่ได้รับทางมือถือที่แต่ละวันส่งเข้ามาเป็นจำนวนมาก รวมทั้ง E-mail ต่าง ๆ ที่เป็น Forward Email ต่าง ๆ ที่สร้างความรำคาญให้กับเรา ในบางครั้งนอกจากต้องเสียหายเวลาในการเปิดอ่านแล้ว บางครั้ง E-mail เหล่านี้อาจมีการแนบ File ที่มีไวรัส ทำให้เกิดความเสียหายต่อคอมพิวเตอร์  แม้ในปัจจุบันยังไม่มีกฎหมายเฉพาะในการให้ความคุ้มครองสิทธิในความเป็นส่วนตัวก็ตาม แต่เราเองก็มีหน้าที่ในการระมัดระวังไม่ให้ตนเองเป็นผู้ละเมิดความเป็นส่วนตัวของผู้อื่นเองเช่นกัน

การละเมิดสิทธิส่วนบุคคลถือว่าเป็นการกระทำผิดทางกฎหมายในปี 2550 มาตราที่ 4 ในพระราชบัญญัตินี้ การโฆษณา หมานความหรือรวมการกระทำใดๆทั้งสิ้นที่ให้ผู้อื่นเห็น หรือเป็นการแจ้งให้เกิดประโยชน์ต่อตนเอง และทางการค้า แต่ในที่นี้ไม่ได้รวมถึงในหนังสือทางด้านวิชาการ หรือตำราที่ใช้ในการเรียนการสอน มาตราที่ 35 สิทธิส่วนบุคคลภายในครอบครัว

เกียรติยศ หรือชื่อเสียง หรือตลอดการเป็นส่วนตัวย่อมได้รับการคุ้มครองหรือด้วยวิธีอื่นๆต่อสาธารณะชน เป็นการละเมิดสิทธิ หรือกระทบถึงสิทธิของบุคคลภายในครอบครัว ฉะนั้น บุคคลควรได้รับการคุ้มครองจากการแสวงหาผลประโยชน์จากผู้มิชอบ หรือบุคคลอื่น มาตราที่ 36 บุคคลจะต้องมีเสรีภาพในการสื่อสาร โดยทางที่ถูกต้องตามกฎหมาย เช่นการตรวจสอบการกัก หรือการเปิดเผยสิ่งที่บุคคลอื่นสื่อสารกันให้ผู้อื่นนั้นได้รับรู้ด้วย จะกระทำมิได้ แต่หากอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติ แห่งกฎหมายของประเทศไทย เพื่อเป็นการรักษาความสงบแห่งรัฐ และประชาชน


สิ่งที่กล่าวมา เป็นกฎหมายที่อธิบายถึงเรื่องการละเมิดสิทธิของบุคคลทั่วไป เป็นความรู้เบื้องต้นที่เราควรรู้ และสื่อก็ต้องรู้เช่นกัน การละเมิดสิทธิของผู้อื่นกฎหมายระบุไว้ชัดเจน มีครอบคลุมไปจนถึงทั่วโลก ควรให้พื้นที่ส่วนบุคคลแก่ผู้อื่น ไม่ควรละเมิดพื้นที่ หรือความคิดของคนอื่นอย่างมิชอบทางกฎหมาย ในปัจจุบันการละเมิดพื้นที่ส่วนบุคลเริ่มมีมากขึ้น เช่นการกระทำของนักข่าว ที่ละเมิดสิทธิของเหล่าดารา ตามที่เราได้เห็นข่าวกันทุกวัน สิ่งที่เกิดขึ้นหากเหล่าดารานั้นยอมได้ก็จะมีการไกล่เกลี่ยกัน หากยอมความมิได้ต้องไปพูดคุย และใช้ข้อกฎหมายเพื่อเป็นการตัดสินอีกครั้ง

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

แปลภาษาไทย ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน อาจารย์ ตจต ศัพท์ทหาร ภาษาอังกฤษ pdf lmyour แปลภาษา ชขภใ ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมฟรี 2566 ขขขขบบบยข ่ส ศัพท์ทางทหาร military words หนังสือราชการ ตัวอย่าง หยน แปลบาลีเป็นไทย ไทยแปลอังกฤษ ประโยค การไฟฟ้านครหลวง การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ข้อสอบโอเน็ต ม.3 ออกเรื่องอะไรบ้าง พจนานุกรมศัพท์ทหาร เมอร์ซี่ อาร์สยาม ล่าสุด แปลภาษามลายู ยาวี Bahasa Thailand กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมออนไลน์ การ์ดจอมือสอง ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย คะแนน o-net โรงเรียน ค้นหา ประวัติ นามสกุล บทที่ 1 ที่มาและความสําคัญของปัญหา ร. ต จ แบบฝึกหัดเคมี ม.5 พร้อมเฉลย แปลภาษาอาหรับ-ไทย ใบรับรอง กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน PEA Life login Terjemahan บบบย มือปราบผีพันธุ์ซาตาน ภาค2 สรุปการบริหารทรัพยากรมนุษย์ pdf สอบโอเน็ต ม.3 จําเป็นไหม เช็คยอดค่าไฟฟ้า แจ้งไฟฟ้าดับ แปลภาษา มาเลเซีย ไทย แผนที่ทวีปอเมริกาเหนือ ่้แปลภาษา Google Translate กระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ 8 ขั้นตอน ก่อนจะนิ่งก็ต้องกลิ้งมาก่อน เนื้อเพลง ข้อสอบโอเน็ตม.3 มีกี่ข้อ คะแนนโอเน็ต 65 ตม กรุงเทพ มีที่ไหนบ้าง