เป็นข้าราชการได้สิทธิอะไรบ้าง

  • บทความการศึกษา
สวัสดิการและสิทธิประโยชน์ของ ข้าราชการ หลังเกษียณอายุราชการ

โดย

สุทัศน์ ภูมิภาค

-

มิถุนายน 20, 2019

14472

Facebook

Twitter

Pinterest

LINE

“ข้าราชการ” คือ บุคคลซึ่งรับการบรรจุแต่งตั้งให้รับราชการปฏิบัติหน้าที่ และรับเงินเดือนในกระทรวง ทบวง กรมต่างๆ ของประเทศไทย ผู้ที่เป็น ”ข้าราชการ” ถือว่ามี “อาชีพรับราชการ” ซึ่งเป็นอาชีพ ๆ หนึ่ง ในประเทศไทยและเกือบทุกประเทศทั่วโลก ถึงเป็นอาชีพที่มีรายได้ไม่สูงนัก แต่ก็เป็นอาชีพที่มีความมั่นคง มีสวัสดิการและสิทธิประโยชน์ดี มีเกียรติในสังคม และที่สำคัญได้ทำหน้าที่สร้างประโยชน์ให้กับประเทศชาติและประชาชน

“ข้าราชการ” ในประเทศไทย มีหลายประเภท ได้แก่ ข้าราชการพลเรือนสามัญ ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ข้าราชการทหาร ข้าราชการตำรวจ ข้าราชการฝ่ายตุลาการศาลยุติธรรมข้าราชการฝ่ายอัยการ ข้าราชการรัฐสภา ข้าราชการฝ่ายศาลปกครอง ข้าราชการสำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ ข้าราชการสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ ข้าราชการสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน ข้าราชการกรุงเทพมหานครและบุคลากรกรุงเทพมหานคร ข้าราชการองค์การบริหารส่วนจังหวัด ข้าราชการการเมือง หรือข้าราชการส่วนท้องถิ่น เป็นต้น ซึ่งข้าราชการแต่ละประเภทก็จะได้รับสิทธิและประโยชน์จากทางราชการไปในแนวเดียวกัน

สิทธิและประโยชน์ตอบแทนจากทางราชการมีอะไรบ้าง?

“ข้าราชการ” ไม่ว่าจะเป็นข้าราชการตำแหน่ง ประเภทใด หรือทำงานที่ส่วนราชการใด ก็จะได้รับสิทธิและประโยชน์ตอบแทนจากทางราชการมากมาย ทั้งในระหว่างรับราชการอยู่ เมื่อออกจากราชการแล้ว และการช่วยเหลือเมื่อเสียชีวิต ได้แก่

1. สิทธิและประโยชน์ตอบแทนระหว่างรับราชการ ได้แก่ เงินเดือน เงินวิทยฐานะ เงินประจำตำแหน่ง เงินค่าตอบแทนตำแหน่ง เงินค่าเช่าบ้าน เงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาล เงินสวัสดิการเกี่ยวกับการศึกษาของบุตร เงินค่าทดแทน การสงเคราะห์เนื่องจากได้รับอันตรายหรือการป่วยเจ็บเพราะเหตุปฏิบัติราชการ สิทธิเกี่ยวกับการลา เครื่องราชอิสริยาภรณ์ หรืออายุราชการทวีคูณ เป็นต้น

2. สิทธิและประโยชน์ตอบแทนในการปฏิบัติราชการพิเศษหรือเพิ่มขึ้นจากปกติ ได้แก่ ค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปราชการและการฝึกอบรม ค่าเบี้ยเลี้ยงเดินทาง ค่าเช่าที่พัก ค่าพาหนะ เงินตอบแทนการปฏิบัติงานนอกเวลาราชการ เงินตอบแทนการเป็นกรรมการหรือปฏิบัติหน้าที่ต่าง ๆ เป็นต้น

3. สิทธิและประโยชน์ตอบแทนเมื่อพ้นจากราชการแล้ว ได้แก่ เงินบำเหน็จ เงินบำนาญ เงินกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ เงินสวัสดิการเกี่ยวกับการศึกษาของบุตร หรือเงินสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาล เป็นต้น

4.สวัสดิการและสิทธิประโยชน์กรณีเสียชีวิต ได้แก่ เงินฌาปนกิจสงเคราะห์ เงินบำเหน็จตกทอด การขอพระราชทานเพลิงศพ การขอพระราชทานน้ำหลวงอาบศพ เป็นต้น

สิทธิและประโยชน์ตอบแทนอะไรบ้างเมื่อพ้นจากราชการกรณีเกษียณอายุราชการ?

การพ้นจากราชการของข้าราชการมีหลายกรณี เช่น ลาออก ปลดออก ให้ออก แต่ข้อเขียนนี้จะกล่าวถึงเฉพาะการพ้นจากราชการกรณีเกษียณอายุราชการเท่านั้น มีประเด็นสำคัญดังนี้

1. กฎหมายใดที่กำหนดการเกษียณอายุราชการของข้าราชการเอาไว้?

“เจ้าหน้าที่ภาครัฐ” ทุกประเภทตำแหน่ง มีกฎหมายกำหนดการเกษียณอายุราชการไว้เป็นการเฉพาะ สำหรับ “ข้าราชการ”การเกษียณอายุราชการ กำหนดไว้ใน มาตรา 19 ของพระราชบัญญัติบำเหน็จบำนาญข้าราชการ พ.ศ. 2494 ที่กำหนดว่า “ข้าราชการซึ่งมีอายุครบหกสิบปีบริบูรณ์แล้ว เป็นอันพ้นจากราชการ เมื่อสิ้นปีงบประมาณที่ข้าราชการนั้นมีอายุครบหกสิบปีบริบูรณ์” และในกฎหมายของการบริหารงานบุคคลของข้าราชการแต่ละประเภทก็จะกำหนดไว้อีกชั้นหนึ่งถึงการเกษียณอายุราชการ ตัวอย่างเช่น ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา กำหนดไว้ใน มาตรา 107(2) ของพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ. 2547และแก้ไขเพิ่มเติมว่า “ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาออกจากราชการเมื่อพ้นจากราชการตามกฎหมายว่าด้วยบำเหน็จบำนาญข้าราชการ” ดังนั้น “ข้าราชการซึ่งมีอายุครบหกสิบปีบริบูรณ์แล้วต้องเป็นอันพ้นจากงานเมื่อสิ้นปีงบประมาณที่อายุครบหกสิบปีบริบูรณ์นั้น” (ผู้เกษียณอายุราชการปีงบประมาณ 2559 คือ ผู้ที่เกิดระหว่างวันที่ 2 ตุลาคม 2489- วันที่ 1 ตุลาคม 2499 หรือผู้เกษียณอายุราชการปีงบประมาณ 2560 คือ ผู้ที่เกิดระหว่างวันที่ 2 ตุลาคม 2499- วันที่ 1 ตุลาคม 2500)

2. ค่าตอบแทน สิทธิประโยชน์ที่ผู้รับบำนาญจะได้รับจากราชการมีอะไรบ้าง?

ข้าราชการที่เกษียณอายุราชการ คนทั่วไปเรียกว่า “ข้าราชการบำนาญ” ภาษากฎหมายใช้คำว่า “ผู้รับบำนาญ” จะได้รับค่าตอบแทน สิทธิและประโยชน์จากทางราชการหลายอย่าง เพื่อเป็นการตอบแทนที่ทำงานให้กับราชการจวบจนเกษียณอายุราชการ เพื่อให้มีความมั่นคง มีคุณภาพชีวิตหลังเกษียณที่ดี ดังนี้

2.1 เงินบำเหน็จบำนาญ สำหรับผู้ที่ไม่ได้เป็นสมาชิก กบข.

ผู้รับบำนาญ ที่ไม่ได้เป็นสมาชิกกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (กบข.) ตามพระราชบัญญัติกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ พ.ศ. 2539 หรือ เคยเป็นสมาชิก กบข. แต่กลับมารับบำเหน็จบำนาญ(UNDO) ตามพระราชบัญญัติการกลับไปใช้สิทธิในบำเหน็จบำนาญตามพระราชบัญญัติบำเหน็จบำนาญข้าราชการ พ.ศ. 2494 พ.ศ. 2557

อาชีพข้าราชการ เป็นอีกอาชีพที่หลาย ๆ คน ให้ความสนใจ โดยจะปฏิบัติงานในหน่วยงานภาครัฐ อย่างกระทรวง ทบวง กรม หรือหน่วยงานท้องถิ่นของภาครัฐ ซึ่งสามารถรับราชการไปจนถึงเกษียณหากไม่ทำผิดวินัย

ถึงแม้เงินเดือนเมื่อเทียบกับเอกชนอาจจะดูน้อยกว่า แต่ในทางด้านสวัสดิการและความมั่นคง ก็ทำให้หลาย ๆ คนเลือกที่จะทำอาชีพสายนี้ ในบทความนี้มีข้อมูลเกี่ยวกับสวัสดิการ สิ่งที่คุณจะได้เมื่อทำงานข้าราชการ

สวัสดิการอาชีพข้าราชการ – ครอบคลุมถึงครอบครัว

สวัสดิการสิ่งที่จะได้ เมื่อทำงานเป็นข้าราชการแล้ว สามารถแบ่งออกเป็น 3 ประเภทใหญ่ ๆ ดังต่อไปนี้

1. ค่าตอบแทนในระบบราชการ

– เงินเดือน
– เงินประจำตำแหน่ง
– เงินเพิ่ม
– สวัสดิการและประโยชน์เกื้อกูล

2. สวัสดิการครอบคลุมไปถึงครอบครัว

– ค่าเล่าเรียนบุตร โดยที่บุตรจะได้สิทธิ์นี้ถึง 3 คน
– สิทธิ์การลางาน
– ค่ารักษาพยาบาล ( ครอบคลุมไปถึง พ่อแม่ คู่สมรส และบุตร )
– สิทธิ์ในการลา
– เครื่องราชอิสริยาภรณ์
– บำเหน็จบำนาญ สามารถเลือกได้ว่าจะรับบำเหน็จเป็นเงินก้อน หรือจะเป็นบำนาญที่ได้รับรายเดือนไปจนตลอดชีวิต หากเลือกรับเป็นเงินบำนาญสวัสดิการในการรักษาพยาบาลก็ยังคงอยู่ไปตลอดชีวิต

3. ประโยชน์เกื้อกูล

– ค่าใช้จ่ายในการเดินทาง
– ค่าเช่าบ้าน
– เงินตอบแทนการปฏิบัติงานนอกเวลาราชการ (โอที)
– รถประจำตำแหน่ง (ตามระดับตำแหน่ง)
– โทรศัพท์ของราชการ (ตามลักษณะงานและระดับตำแหน่ง)

อาชีพข้าราชการมีตำแหน่งอะไรบ้าง?

จะแบ่งเป็นกลุ่ม ๆ และแบ่งออกเป็นสายงาน ยกตัวอย่างดังต่อไปนี้

– ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา ผู้สอนในหน่วยงานการศึกษา เช่น ครูผู้ช่วย, ครู, อาจารย์, ผู้ช่วยศาสตราจารย์, รองศาสตราจารย์ และ ศาสตราจารย์ ฯลฯ

– ข้าราชการฝ่ายทหาร สังกัดกระทรวงกลาโหมหรือกองทัพไทย แบ่งเป็น กองบัญชาการกองทัพไทย,กองทัพบก,กองทัพเรือ และกองทัพอากาศ)

– ข้าราชการพลเรือนสามัญ คือ ข้าราชการที่ปฏิบัติหน้าที่ราชการในกระทรวง ทบวง กรมฝ่ายพลเรือน

– นักวิชาการต่าง ๆ เช่น นักวิชาการส่งเสริมการเกษตร, นักวิชาการพัฒนาชุมชน, นักวิชาการประมง, นักวิชาการป่าไม้, นักวิชาการส่งเสริมการเกษตร เป็นต้น

– กลุ่มงานการศึกษา ศิลป สังคม และการพัฒนาชุมชน เช่น นักผังเมือง, นักจดหมายเหตุ, บรรณารักษ์, นักโบราณคดี, นักประเมินราคาทรัพย์สิน, นักพัฒนาการกีฬา ฯลฯ

– กลุ่มอาชีพการคลัง การเศรษฐกิจ การพาณิชย์และอุตสาหกรรม เช่น เจ้าพนักงานการพาณิชย์, เจ้าพนักงานการคลัง, เจ้าพนักงานทรัพยากรธรณี, เจ้าพนักงานศุลกากร, เจ้าพนักงานชั่งตวงวัด, เจ้าพนักงานการเงินและบัญชี ฯลฯ

– กลุ่มอาชีพวิทยาศาสตร์ เช่น เจ้าพนักงานวิทยาศาสตร์, เจ้าพนักงานอุตุนิยมวิทยา, เจ้าพนักงานอุทกวิทยา เป็นต้น

– กลุ่มอาชีพแพทย์ พยาบาลและสาธารณสุข เช่น เจ้าพนักงานทันตสาธารณสุข, เจ้าพนักงานสาธารณสุข, เจ้าพนักงานวิทยาศาสตร์การแพทย์, เจ้าพนักงานเวชกรรมฟื้นฟู, เจ้าพนักงานเภสัชกรรม ฯลฯ

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

แปลภาษาไทย ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน อาจารย์ ตจต ศัพท์ทหาร ภาษาอังกฤษ pdf lmyour แปลภาษา ชขภใ ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมฟรี 2566 ขขขขบบบยข ่ส ศัพท์ทางทหาร military words หนังสือราชการ ตัวอย่าง หยน แปลบาลีเป็นไทย ไทยแปลอังกฤษ ประโยค การไฟฟ้านครหลวง การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ข้อสอบโอเน็ต ม.3 ออกเรื่องอะไรบ้าง พจนานุกรมศัพท์ทหาร เมอร์ซี่ อาร์สยาม ล่าสุด แปลภาษามลายู ยาวี Bahasa Thailand กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมออนไลน์ การ์ดจอมือสอง ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย คะแนน o-net โรงเรียน ค้นหา ประวัติ นามสกุล บทที่ 1 ที่มาและความสําคัญของปัญหา ร. ต จ แบบฝึกหัดเคมี ม.5 พร้อมเฉลย แปลภาษาอาหรับ-ไทย ใบรับรอง กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน PEA Life login Terjemahan บบบย มือปราบผีพันธุ์ซาตาน ภาค2 สรุปการบริหารทรัพยากรมนุษย์ pdf สอบโอเน็ต ม.3 จําเป็นไหม เช็คยอดค่าไฟฟ้า แจ้งไฟฟ้าดับ แปลภาษา มาเลเซีย ไทย แผนที่ทวีปอเมริกาเหนือ ่้แปลภาษา Google Translate กระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ 8 ขั้นตอน ก่อนจะนิ่งก็ต้องกลิ้งมาก่อน เนื้อเพลง ข้อสอบโอเน็ตม.3 มีกี่ข้อ คะแนนโอเน็ต 65 ตม กรุงเทพ มีที่ไหนบ้าง