เงินพดด้วงต้องมีตราใดปรากฏ

ไทยผลิตเงินตราขึ้นใช้ตั้งแต่สมัยสุโขทัย! เป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัว ไม่เหมือนใครในโลก!!

เผยแพร่: 7 ก.ค. 2563 17:31   โดย: โรม บุนนาค


ในสมัยโบราณกาลนานมา เมื่อเริ่มมีการซื้อขายแลกเปลี่ยนกัน คนยุคนั้นใช้ทั้ง ลูกปัด เปลือกหอย อัญมณี แม้แต่เมล็ดพืช เป็นสื่อกลาง และได้มีการพัฒนาขึ้นเป็นลำดับ สำหรับชนชาติไทย ข้อมูลของกองกษาปณ์กล่าวว่า มีการนำโลหะมาใช้เป็นเงินตราตั้งแต่สมัยสุโขทัย เรียกว่า “เงินพดด้วง” ซึ่งเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัว ไม่เหมือนเงินตราใดในโลก แสดงให้เห็นถึงความเจริญของชาติไทยที่ได้ผลิตเงินตราขึ้นใช้เอง และใช้ต่อมาเป็นเวลายาวนานราว ๖๐๐ปี จนถึงสมัยต้นกรุงรัตนโกสินทร์ จึงมีการนำเงินเหรียญและเงินกระดาษตามแบบตะวันตกมาใช้

เงินพดด้วง ทำขึ้นจากแท่งเงิน ทุบปลายงอเข้าหากัน แล้วตอกตราแผ่นดินประจำรัชกาลลงไป มีสัณฐานกลมคล้ายตัวด้วง จึงเรียกกันว่า “เงินพดด้วง” แต่ชาวต่างประเทศกลับเรียกว่า “เงินลูกปืน” (BULLET MONEY)
เงินพดด้วงในสมัยสุโขทัย มีตราประทับไว้มากกว่า ๒ ดวง เป็นสัตว์ชั้นสูง เช่น วัว กระต่าย หอยสังข์ และราชสีห์ เป็นต้น

ในสมัยกรุงศรีอยุธยา เงินพดด้วงก็ยังมีลักษณะคล้ายกับของกรุงสุโขทัย แต่ตรงปลายที่งอจรดกันไม่แหลมเหมือนพดด้วงสุโขทัย ตราที่ประทับเป็นตราจักรและตราประจำรัชกาล เช่น ครุฑ ช้าง ราชวัตร พุ่มข้าวบิณฑ์ เป็นต้น
ในสมัยกรุงธนบุรี ก็ยังใช้เงินพดด้วง ซึ่งผลิตขึ้นใช้เพียง ๒ ชนิด คือ ตราตรีศูล และตราทวิวุธ

ในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ เงินพดด้วงประทับตราจักร ซึ่งเป็นตราแผ่นดิน กับประทับตราประจำรัชกาล คือ รัชกาลที่ ๑ ตราบัวอุณาโลม รัชกาลที่ ๒ ตราครุฑ รัชกาลที่ ๓ ตราปราสาท รัชกาลที่ ๔ ตรามงกุฎ รัชกาลที่ ๕ ตราพระเกี้ยว
ส่วนเบี้ย ซึ่งใช้เป็นเงินตราในสมัยก่อนเหมือนกัน เป็นเปลือกหอยขนาดเล็ก พ่อค้าต่างชาติได้นำมาจากหมู่เกาะมัลดีฟส์ ใช้เป็นเงินตราซื้อสินค้าไทย และขายหอยเบี้ยให้ไทย ใช้แก้ความขัดสนที่ไม่มีเงินตราแลกเปลี่ยน แต่เงินเบี้ยเป็นเงินที่มีค่าต่ำสุดในระบบเงินตรา เหมือนเศษสตางค์ มีอัตราแลกเปลี่ยน ๑๐๐ เบี้ยต่อ ๑ อัฐ หรือ ๑ สตางค์ครึ่งเท่านั้น

ในสมัยรัชกาลที่ ๔ มีชาวต่างประเทศเข้ามาค้าขายกับไทยมากขึ้น จนเงินพดด้วงที่ทำด้วยมือไม่ทันกับความต้องการ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงโปรดเกล้าฯให้ผลิตเหรียญกษาปณ์เงินด้วยเครื่องจักรที่นำมาจากประเทศอังกฤษ ในปี ๒๔๐๑ จึงเริ่มผลิตเหรียญบาท สลึง และเฟื้อง ต่อมาเมื่อนำเครื่องจักรขนาดใหญ่เข้ามาจึงโปรดเกล้าฯให้สร้างโรงกษาปณ์ขึ้นในพระบรมมหาราชวัง พระราชทานนามว่า “โรงกษาปณ์สิทธิการ” ผลิตได้จำนวนมาก ทั้งยังผลิตเงินตราราคาต่ำด้วยดีบุกด้วยเพื่อใช้แทนเบี้ยหอย

สำหรับเงินกระดาษ หรือ ธนบัตร เพื่อใช้ชำระในมูลค่าสูงๆ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าฯได้โปรดเกล้าให้พิมพ์ออกมาใช้ตั้งแต่ปี ๒๓๙๖ เรียกว่า “หมาย” มีมูลค่าตั้งแต่ เฟื้อง สลึง บาท ตำลึง ชั่ง อีกทั้งยังโปรดเกล้าฯให้พิมพ์ใบพระราชทานเงินตรา หรือ “เช็ค” ขึ้นด้วย แต่ทว่าเงินกระดาษ รวมทั้งเช็คพระราชทานที่ไม่เคย “เด้ง” ก็ไม่ได้รับความนิยม จึงมีใช้เฉพาะในรัชกาลที่ ๔ เท่านั้น
ในสมัยรัชกาลที่ ๕ ได้มีการเปลี่ยนแปลงการเงินครั้งสำคัญ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวมีพระราชดำริว่ามาตราเงินของไทยที่ใช้อยู่ในขณะนั้น คือ ชั่ง ตำลึง บาท สลึง เฟื้อง เป็นระบบที่ยุ่งยาก ในปี ๒๔๔๑ จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้ปรับปรุงใหม่ โดยใช้เป็น บาท และสตางค์ เท่านั้น คือ ๑๐๐ สตางค์ เป็น ๑ บาท อันเป็นมาตราเงินไทยที่ใช้มาจนถึงปัจจุบัน

นอกจากนี้ยังมีการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญอีกอย่าง คือโปรดเกล้าฯให้นำพระบรมรูปของพระองค์ประทับลงบนเหรียญ ซึ่งเป็นครั้งแรกที่นำพระบรมรูปของพระมหากษัตริย์ประทับลงบนเหรียญกษาปณ์

ในสมัยรัชกาลที่ ๕ ทรงพยายามจะนำธนบัตรซึ่งตอนนั้นเรียกกันว่า “เงินกระดาษหลวง” ออกมาใช้ในปี ๒๔๓๖ แต่ก็ไม่ได้รับความนิยม จนในปี ๒๔๔๕ เมื่อมีระบบธนาคารพาณิชย์เกิดขึ้น มีการซื้อขายกันเป็นเงินจำนวนมาก การใช้เหรียญกษาปณ์จึงยุ่งยากในการนับ ธนบัตรได้รับความนิยม จึงโปรดเกล้าฯให้กระทรวงพระคลังมหาสมบัติประกาศเลิกใช้เงินพดด้วงทุกชนิด ตั้งแต่วันที่ ๒๘ ตุลาคม ๒๔๔๗ เป็นต้นมา

เราใช้เงินกระดาษกันอย่างจริงจังมาตั้งแต่รัชกาลที่ ๕ เป็นเวลา ๑๐๐ กว่าปีแล้ว แต่วันนี้เงินกระดาษก็ทำท่าว่าจะหมดอนาคต เพราะเงินอิเล็กทรอนิกส์กำลังแทรกเข้ามามีบทบาทมากขึ้นทุกที เห็นทีว่าจะมีการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่อีก ซึ่งก็เป็นธรรมดาของโลก ใครที่ตกขบวนตามไม่ทันความเปลี่ยนแปลง อย่างกดลงทะเบียนเวปคนไทยไม่ทิ้งกัน หรือเยียวยาเกษตรกรไม่เป็น ระวังถึงตอนนั้นแม้มีเงินก็อาจจะอดข้าวได้ เพราะกดไม่เป็น

เป็นสิ่งที่มนุษย์คิดประดิษฐ์ขึ้นมาเพื่อใช้เป็นสื่อกลางในการแลกเปลี่ยนสินค้า และเป็นเครื่องวัดมูลค่าของสิ่งของและการบริการ

บริเวณอันเป็นที่ตั้งของประเทศไทยในปัจจุบันนี้ ได้พบเงินตราโบราณที่ผลิตขึ้นตั้งแต่ยุคฟูนัน (พุทธศตวรรษที่ 6) ยุคทวารวดี (พุทธศตวรรษที่ 11) ยุคศรีวิชัย (พุทธศตวรรษที่ 13) และยุคลพบุรี (พุทธศตวรรษที่12) เมื่ออาณาจักรสุโขทัยก่อตั้งขึ้นในพุทธศตวรรษที่ 18 ได้มีการผลิตเงินตราพดด้วงขึ้นเป็นครั้งแรก และได้ใช้สืบต่อกันมาจนถึงสมัยรัตนโกสินทร์ สำหรับเงินพดด้วงนั้นถือได้ว่าเป็นเอกลักษณ์ทางเงินตราของไทย เนื่องจากมีรูปร่างไม่เหมือนเงินตราสกุลอื่นใดในโลก

นอกจากเงินพดด้วงยังมีเงินชนิดอื่น ได้แก่ "เบี้ย" ซึ่งเป็นเปลือกหอยน้ำเค็มชนิดหนึ่ง ที่ชาวต่างชาตินำเข้ามาจากหมู่เกาะมัลดีฟ และได้ใช้เป็นเงินตราในช่วงเดียวกับที่มีการใช้เงิน พดด้วง คือตั้งแต่สมัยสุโขทัยจนถึงสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น

ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวซึ่งในขณะนั้นประเทศไทยมีการติดต่อค้าขายกับต่างประเทศมากขึ้น การใช้เงินพดด้วงซึ่งผลิตด้วยมือไม่คล่องตัวจึงได้โปรดเกล้าฯ ให้ตั้งโรงงานผลิตเงินเหรียญแบบต่างประเทศเป็นครั้งแรก โดยใช้เครื่องจักรจากประเทศอังกฤษเพื่อใช้แทนการใช้เงินพดด้วง และยังใช้สืบต่อเนื่องมาจนถึงปัจจุบัน

กระทู้ที่เกี่ยวข้อง

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

แปลภาษาไทย ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน อาจารย์ ตจต ศัพท์ทหาร ภาษาอังกฤษ pdf lmyour แปลภาษา ชขภใ ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมฟรี 2566 ขขขขบบบยข ่ส ศัพท์ทางทหาร military words หนังสือราชการ ตัวอย่าง หยน แปลบาลีเป็นไทย ไทยแปลอังกฤษ ประโยค การไฟฟ้านครหลวง การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ข้อสอบโอเน็ต ม.3 ออกเรื่องอะไรบ้าง พจนานุกรมศัพท์ทหาร เมอร์ซี่ อาร์สยาม ล่าสุด แปลภาษามลายู ยาวี Bahasa Thailand กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมออนไลน์ การ์ดจอมือสอง ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย คะแนน o-net โรงเรียน ค้นหา ประวัติ นามสกุล บทที่ 1 ที่มาและความสําคัญของปัญหา ร. ต จ แบบฝึกหัดเคมี ม.5 พร้อมเฉลย แปลภาษาอาหรับ-ไทย ใบรับรอง กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน PEA Life login Terjemahan บบบย มือปราบผีพันธุ์ซาตาน ภาค2 สรุปการบริหารทรัพยากรมนุษย์ pdf สอบโอเน็ต ม.3 จําเป็นไหม เช็คยอดค่าไฟฟ้า แจ้งไฟฟ้าดับ แปลภาษา มาเลเซีย ไทย แผนที่ทวีปอเมริกาเหนือ ่้แปลภาษา Google Translate กระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ 8 ขั้นตอน ก่อนจะนิ่งก็ต้องกลิ้งมาก่อน เนื้อเพลง ข้อสอบโอเน็ตม.3 มีกี่ข้อ คะแนนโอเน็ต 65 ตม กรุงเทพ มีที่ไหนบ้าง