ประจำเดือนมาก่อนกำหนดเกิดจากอะไร

ความผิดปกติของประจำเดือน ไม่ว่าจะมามากเกินไป มากระปริดกระปรอย มาขาดๆ หายๆ หรือการปวดท้องประจำเดือนที่มากจนต้องหยุดงาน อาจเป็นสัญญาณเตือนโรคร้าย จึงควรรีบปรึกษาแพทย์

20 ข้อควรรู้เกี่ยวกับประจำเดือน

  1. ปกติผู้หญิงจะมีประจำเดือนเมื่อย่างเข้าสู่วัยรุ่น คืออายุประมาณ 12-13 ปี แต่ก็เคยพบว่าเด็กผู้หญิงอายุ 8 ปีก็มีประจำเดือนแล้ว และในปัจจุบันเด็กผู้หญิงมีแนวโน้วการมีประจำเดือนในอายุที่น้อยลง
  2. ปัจจัยหนึ่งที่ทำให้มีประจำเดือนเร็วคือ...โรคอ้วน
  3. ในช่วง 2 ปีแรกของการมีประจำเดือน มักจะมีมาไม่สม่ำเสมอ เพราะการผลิตฮอร์โมนยังไม่สมดุล
  4. โดยปกติรอบเดือนจะมีทุกๆ 28 วัน ทั้งนี้จะขึ้นอยู่กับอายุด้วย ถ้าอายุยังไม่ถึง 21 ปี มักจะมีระยะห่างประมาณ 33 วัน พออายุ 21 ปีขึ้นไปมักจะมีระยะห่าง 28 วัน และเมื่ออายุ 40 ปีขึ้นไปจะมีระยะห่างลดลง คือประมาณ 26 วัน
  5. ผู้หญิงจะมีประจำเดือนเฉลี่ยคือ 6 วัน โดยพบว่า มีผู้หญิงประมาณ 5% ที่มีประจำเดือนมาน้อยกว่า 4 วัน
  6. หากมีประจำเดือนมามากกว่า 7 วัน จะเรียกว่า ประจำเดือนมามาก
  7. ผู้หญิง 9-14% จะมีประจำเดือนมามาก คือมามากกว่า 7 วัน
  8. หากถ้าประจำเดือนมานานเกิด 8 วัน จะถือว่ามามากผิดปกติ ซึ่งเกิดในผู้หญิงราว 4%
  9. สาเหตุที่ทำให้ประจำเดือนมามาก มักเกิดจากฮอร์โมนไม่สมดุล จึงเกิดการสร้างเยื่อบุโพรงมดลูกมากเกินไปหรือหนาเกินไป ทำให้กระบวนการลอกตัวของเยื่อบุโพรงมดลูกเพื่อกลายเป็นเลือดประจำเดือนมากตามไปด้วยนั่นเอง
  10. ประจำเดือนมามากผิดปกติ อาจเป็นผลข้างเคียงจากการใช้ยาฮอร์โมน การให้เคมีบำบัด การใส่ห่วงคุมกำเนิด ยาต้านเกล็ดเลือดหรือยาละลายลิ่มเลือด หรือการกินยาคุมกำเนิด
  11. ประจำเดือนมามากและหลายวันเกินไป อาจทำให้เป็นโรคโลหิตจางได้ อาการที่เด่นชัดคือ เพลีย เหนื่อยง่าย มีเสียงในหู ใจสั่น
  12. ผู้หญิงที่ไม่มีประจำเดือนมักจะมีฮอร์โมนเอสโตเจนต่ำ ซึ่งเป็นสาเหตุให้เกิดโรคกระดูกพรุนในอนาคต การได้รับฮอร์โมนจะช่วยได้
  13. เมื่ออายุ 50 ปีขึ้นไป หรือใกล้เข้าวัยทอง แทนที่ประจำเดือนจะมาน้อยลงกลับมามากกว่าปกติซะอีก
  14. อาการปวดประจำเดือนเกิดจากมดลูกมีการบีบตัวและคลายตัวอย่างแรงเพื่อไล่เลือดที่อยู่ในมดลูกออกมา
  15. การปวดท้องอาจจะปวดก่อนมีประจำเดือนหลายวัน เมื่อประจำเดือนมาแล้วอาการปวดจะดีขึ้นได้เอง
  16. ผู้หญิงที่ปวดประจำเดือนมาก หรือประจำเดือนมาผิดปกติบ่อยๆ อาจจะมีเนื้องอกในมดลูก และเป็นหมัน
  17. ผู้หญิงราว 10-15% จะมีอาการปวดประจำเดือนมากจนถึงขั้นต้องหยุดงาน
  18. ยาที่นิยมใช้บรรเทาปวดประจำเดือนได้แก่ aspirin, ibuprofen
  19. ความผิดปกติเกี่ยวกับประจำเดือนที่พบบ่อยๆ คือ ไม่มีประจำเดือนหรือประจำเดือนไม่มา กับประจำเดือนมามากเกินไป
  20. หากประจำเดือนมามากเกินไป อาจเกิดจากความผิดปกติของระบบอวัยวะสืบพันธุ์ จึงควรพบแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเพื่อตรวจดูช่องคลอด ปากมดลูก ว่ามีก้อน แผล หรือติ่งเนื้อหรือไม่ ทำการเก็บเซลล์จากปากมดลูกเพื่อตรวจว่าติดเชื้อหรือมีการอักเสบหรือไม่ แพทย์จะคลำตรวจมดลูกและรังไข่ว่ามีขนาดปกติหรือไม่ กดแล้วเจ็บไหม หรือพบก้อนผิดปกติหรือเปล่า

เพราะมดลูกมีความเกี่ยวโยงกับประจำเดือน หากเกิดความผิดปกติขึ้นที่มดลูก ไม่ว่าจะเป็นเนื้องอกในมดลูก เยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ หรือมะเร็งบางประเภท เช่น มะเร็งปากมดลูก มะเร็งมดลูก หรือมะเร็งรังไข่ ประจำเดือนก็จะผิดปกติไปด้วย ดังนั้น หากมีประจำเดือนมามากผิดปกติ ประจำเดือนไม่มา หรือมาๆ หายๆ รวมถึงอาการปวดประจำเดือนที่มากขึ้น หรือมีตกขาวมามาก ควรเข้าพบแพทย์เพื่อตรวจวินิจฉัยอย่างละเอียด

รอบเดือนของสาว ๆ ส่วนใหญ่จะมาแค่เดือนละครั้ง แต่จู่ ๆ ก็มีเลือดคล้ายประจำเดือนไหลออกมาอีกครั้ง ลักษณะเหมือนเป็นประจำเดือน 2 ครั้งต่อเดือนผิดปกติหรือไม่ การที่ประจำเดือนมา 2 ครั้งต่อเดือน ถือเป็นความผิดปกติของร่างกาย ที่เกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุด้วยกัน ดังนี้

1.ฮอร์โมนไม่คงที่

สำหรับวัยรุ่นที่เพิ่งจะเป็นประจำเดือนในช่วงแรก ๆ ร่างกายอาจยังผลิตฮอร์โมนและรังไข่ยังมีการตกไข่ที่ไม่เต็มที่ ดังนั้นก็อาจทำให้ประจำเดือนมา 2ครั้งต่อเดือน หรือมีภาวะประจำเดือนผิดปกติได้ ซึ่งเมื่อเวลาผ่านไป 1-2 ปี ฮอร์โมนและการตกไข่จะเริ่มคงที่ อาการประจำเดือนมา 2 ครั้งต่อเดือน หรืออาการประจำเดือนมาไม่ปกติก็น่าจะหายไป หากยังคงเป็นประจำเดือน 2 รอบต่อเดือน หรือยังคงมีอาการประจำเดือนผิดปกติในช่วงปีที่ 4-5 ตั้งแต่เป็นประจำเดือนครั้งแรก ก็ควรปรึกษาสูตินรีแพทย์เพื่อหาสาเหตุต่อไป

2.ระยะรอบเดือนสั้น

ปกติแล้วผู้หญิงจะมีระยะรอบเดือนประมาณ 21-35 วัน หรือ 28 วันโดยเฉลี่ย แต่ในบางคนอาจมีระยะรอบเดือนสั้นกว่านั้น คือ 14-15 วัน ดังนั้นจึงอาจเป็นไปได้ที่รอบเดือนจะมา 2 ครั้ง ใน 1 เดือน ซึ่งถ้ารอบเดือนมา 2 ครั้งต่อเดือนโดยไม่มีอาการผิดปกติอะไร เช่น ปวดท้องหนักมาก ประจำเดือนมามาก(เปลี่ยนผ้าอนามัยเกิน 5 แผ่นต่อวัน) ก็ถือว่าไม่ผิดปกติ

3.ไข่ไม่ตก

ภาวะไข่ไม่ตกจะส่งผลให้ร่างกายไม่สร้างฮอร์โมนเพศมาเปลี่ยนผนังเยื่อบุมดลูก ทำให้เยื่อบุมดลูกลอกออกมาเป็นประจำเดือนได้ไม่หมดในครั้งเดียวเลือดประจำเดือนซึ่งมาจากเยื่อบุโพรงมดลูกลอกตัวก็จะไหลออกมา 2 ครั้งใน 1 เดือนได้ โดยจะห่างกันประมาณ 2 สัปดาห์ ซึ่งช่วงที่เยื่อบุโพรงมดลูกลอกตัวจะมีเลือดออกมาเล็กน้อย ประมาณ 1-2 วัน แต่ไม่ถือว่าผิดปกติ สาเหตุที่ไข่ไม่ตกอาจจะมาจากภาวะเครียด การนอนหลับพักผ่อนไม่เพียงพอหรือภาวะอ้วนเกินไป ผอมเกินไป ออกกำลังกายหนักมากเกินไป ก็เป็นปัจจัยทำให้ฮอร์โมนในร่างกายผิดปกติจนส่งผลให้ไข่ไม่ตกนั่นเอง

4.วัยทอง

ไม่ใช่แค่ช่วงวัยรุ่นเท่านั้นที่ฮอร์โมนยังไม่คงที่ แต่ผู้หญิงวัยใกล้หมดประจำเดือนก็มีภาวะฮอร์โมนแกว่ง ๆ เหมือนกัน โดยจะเป็นช่วงที่ฮอร์โมนเพศถูกผลิตน้อยลง ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อการมีประจำเดือนได้ โดยอาจทำให้ประจำเดือนไม่มา ประจำเดือนมามาก หรือประจำเดือนมา 2 ครั้งต่อเดือนก็ได้

5.ยาเม็ดคุมกำเนิด

สำหรับคนที่กินยาคุมกำเนิดแผงแรก อาจมีอาการเลือดออกกะปริบกะปรอย หรือบางคนอาจมีภาวะฮอร์โมนไม่คงที่ จนทำให้เป็นประจำเดือน 2 ครั้งต่อเดือนได้ หรือคนที่กินยาคุมฉุกเฉินก็อาจมีเลือดออกกะปริบกะปรอยด้วยเช่นกัน แต่ทั้งนี้เพื่อความปลอดภัย ควรปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกรว่าอาการเลือดออกผิดปกติของเราอันตรายไหม

6.ความผิดปกติภายในของผู้หญิง

การที่มีเลือดออกผิดปกติ อย่างเป็นประจำเดือน 2 ครั้งต่อเดือน อาจเกิดจากเยื่อบุมดลูกผิดปกติ ปากมดลูกอักเสบ ช่องคลอดอักเสบ ภาวะท้องนอกมดลูกแท้งบุตร เนื้องอก หรือมะเร็งก็เป็นได้ โดยสาว ๆ ควรจะสังเกตอาการเลือดออกผิดปกติของตัวเองให้ดี หากเลือดที่ออกมาจากช่องคลอดมีกลิ่นเหม็นมากมีอาการเจ็บที่ปากมดลูกร่วมด้วย เป็นประจำเดือนนานเกิน 7 วัน หรือมีเลือดออกหลังมีเพศสัมพันธ์ เคสดังที่กล่าวมาควรไปพบสูตินรีแพทย์เพื่อให้แพทย์วินิจฉัยโดยเร็วที่สุด

อย่างไรก็ตาม หากสาว ๆ คนไหนมีประจำเดือนผิดปกติ ควรปรึกษาสูตินรีแพทย์เพื่อทำการตรวจรักษา จะได้ความสบายใจ สุขภาพร่างกายแข็งแรง

ข้อมูลจากรายการรั้วรอบครอบครัว โดยรศ.ร.อ.นพ.มานพชัย ธรรมคันโธ ร.น. facebook/PPATBANGKOK

ประจำเดือนมาก่อนกำหนดกี่วัน

รอบของประจำเดือนที่ปกติจะมีระยะเวลา 21-35 วัน ซึ่งในแต่ละรอบไม่จำเป็นต้องเท่ากันค่ะ บางรอบอาจห่าง 25 วัน บางรอบอาจห่าง 30 วัน เป็นต้นค่ะ ส่วนการนับระยะห่างของรอบเดือน ให้นับวันแรกของการมีประจำเดือนเป็นวันที่ 1 ของรอบเดือนค่ะ และนับไปจนถึงวันสุดท้ายก่อนที่จะมีประจำเดือนรอบใหม่ค่ะ

ประจำเดือนมาก่อน 1 อาทิตย์คืออะไร

PMS (Premenstrual Syndrome) คือ อาการผิดปกติที่จะเกิดขึ้นก่อนมีประจำเดือนราว 1 – 2 สัปดาห์ โดยสาเหตุของอาการนั้นมีปัจจัยสำคัญมาจากการเปลี่ยนแปลงของระดับฮอร์โมนเพศหญิงในช่วงก่อนมีประจำเดือน ซึ่งอาการ PMS นี้ เป็นตัวการที่รบกวนการใช้ชีวิตประจำวันของผู้หญิงหลายคนเป็นอย่างมาก เพราะส่งผลทั้งด้านสุขภาพกายและสุขภาพจิตใจ

ประจำเดือนมาน้อยมากเกิดจากอะไร

ประจำเดือนมาน้อยอาจเกิดจากความไม่สมดุลของฮอร์โมน ความเครียด หรือการขาดสารอาหารบางชนิด ซึ่งยังไม่มีอะไรต้องกังวลมาก ตราบใดที่ประจำเดือนยังมาทุกเดือน ไม่ได้หายไปไหน อ่าน: “ประจำเดือนมาน้อย” หรือ “เลือดออกกะปริบกะปรอย”

ประจำเดือนมาเกิน7วันผิดปกติไหม

หากมีประจำเดือนมามากกว่า 7 วัน จะเรียกว่า ประจำเดือนมามาก ผู้หญิง 9-14% จะมีประจำเดือนมามาก คือมามากกว่า 7 วัน หากถ้าประจำเดือนมานานเกิด 8 วัน จะถือว่ามามากผิดปกติ ซึ่งเกิดในผู้หญิงราว 4%

กระทู้ที่เกี่ยวข้อง

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

แปลภาษาไทย ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน อาจารย์ ตจต ศัพท์ทหาร ภาษาอังกฤษ pdf lmyour แปลภาษา ชขภใ ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมฟรี 2566 ขขขขบบบยข ่ส ศัพท์ทางทหาร military words หนังสือราชการ ตัวอย่าง หยน แปลบาลีเป็นไทย ไทยแปลอังกฤษ ประโยค การไฟฟ้านครหลวง การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ข้อสอบโอเน็ต ม.3 ออกเรื่องอะไรบ้าง พจนานุกรมศัพท์ทหาร เมอร์ซี่ อาร์สยาม ล่าสุด แปลภาษามลายู ยาวี Bahasa Thailand กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมออนไลน์ การ์ดจอมือสอง ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย คะแนน o-net โรงเรียน ค้นหา ประวัติ นามสกุล บทที่ 1 ที่มาและความสําคัญของปัญหา ร. ต จ แบบฝึกหัดเคมี ม.5 พร้อมเฉลย แปลภาษาอาหรับ-ไทย ใบรับรอง กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน PEA Life login Terjemahan บบบย มือปราบผีพันธุ์ซาตาน ภาค2 สรุปการบริหารทรัพยากรมนุษย์ pdf สอบโอเน็ต ม.3 จําเป็นไหม เช็คยอดค่าไฟฟ้า แจ้งไฟฟ้าดับ แปลภาษา มาเลเซีย ไทย แผนที่ทวีปอเมริกาเหนือ ่้แปลภาษา Google Translate กระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ 8 ขั้นตอน ก่อนจะนิ่งก็ต้องกลิ้งมาก่อน เนื้อเพลง ข้อสอบโอเน็ตม.3 มีกี่ข้อ คะแนนโอเน็ต 65 ตม กรุงเทพ มีที่ไหนบ้าง