เป็นผู้จัดการร้านอาหารต้องทำอะไรบ้าง

บทความตอนนี้เรียบเรียงมาจากบทความ  7 Skills of Effective Restaurant Managers ของ Runningrestaurants.com

จากคราวที่แล้วที่เราพูดเรื่อง การประเมินพนักงานประจำปี ไป วันนี้มาต่อกันอีกสักหน่อยเกี่ยวกับการทำงานของหนึ่งในตำแหน่งที่สำคัญที่สุดของร้าน นั่นก็คือ ผู้จัดการร้าน  มาดูกันว่าผู้จัดการร้านที่ดีควรมีทักษะอะไรบ้าง เผื่อใครกำลังหาผู้จัดการร้านใหม่ หรือต้องการพัฒนาผู้จัดการร้านที่มีอยู่ 

Proactive Planing

ผู้จัดการร้านที่ดีต้องมีการวางแผนล่วงหน้าในการทำงานให้กับทีม ไม่ว่าจะเป็นเรื่องกำลังคน หรือแม้แต่การสต็อกอาหาร เครื่องดื่ม อุปกรณ์ต่างๆให้เพียงพอต่อการทำงานของทีม ยกตัวอย่างที่เห็นได้ง่ายที่สุดตอนนี้คือรัฐบาลมีมาตรการลดหย่อนภาษี 15,000 บาท ระหว่างวันที่ 14-31 ธันวาคมนี้ ผู้จัดการที่ดีควรวางแผนเรื่องการออกใบกำกับภาษีอย่างไรให้รวดเร็ว ลูกค้าไม่ต้องรอนาน อีกทั้งไม่ทำให้การทำงานของทีมสะดุด

Passion for Customer Service

อาหารที่ดีเพียงอย่างเดียว ไม่ทำให้ร้านอาหารของคุณอยู่รอดถ้าการบริการไม่สามารถทำได้ตามที่ลูกค้าคาดหวัง ผู้จัดการร้านควรเป็นตัวอย่างที่ดีให้กับทีมในการดูแลและสร้างความสัมพันธ์อันดีกับลูกค้าเพื่อให้ลูกค้าพอใจและกลับมาใช้บริการอีกในอนาคต

Time Management

งานของผู้จัดการร้านเป็นงานทึ่ต้องการเวลาแทบจะตลอด ดังนั้นผู้จัดการร้านที่ดีต้องรู้จักแบ่งเวลาในการทำงานให้เหมาะสม การใช้เวลาในออฟฟิศเพื่อวางแผนการทำงานเป็นสิ่งจำเป็นเพื่อให้ได้ยอดขายตามเป้า แต่การคอยดูแลลูกค้าในร้านในขณะที่ร้านเปิดบริการก็เป็นสิ่งจำเป็นไม่แพ้กัน การแบ่งเวลาที่เหมาะสมระหว่างงานเอกสาร การวางแผน และ การอยู่หน้างานเพื่อดูแลลูกค้า เป็นตัวอย่างให้ทีม และช่วยทีมแก้ปัญหาจึงเป็นส่ิงที่ขาดไม่ได้ในการเป็นผู้จัดการร้านที่ดี  จากประสบการณ์ที่ผ่านมา ผู้จัดการร้านส่วนใหญ่จะเก่งเรื่องการดูแลลูกค้าอยู่หน้างานคอยให้บริการ แนะนำอาหาร พูดคุย แต่อ่อนเรื่องงานเอกสาร การวางแผนการขาย เนื่องจากเป็นการเติบโตทางสายงานจากพนักงานบริการขึ้นมา ดังนั้นในฐานะเจ้าของร้าน คุณควรจะหาผู้เชี่ยวชาญมาช่วยเรื่องการอบรม การวางแผน และงานเอกสารเพื่อทำให้ผู้จัดการร้านของคุณเข้าใจความสำคัญของงานทั้งสองส่วนและแบ่งเวลาได้อย่างเหมาะสม

Communication

การสื่อสารเป็นอีกทักษะที่สำคัญในการเป็นผู้จัดการร้านที่ดี เนื่องจากเป็นงานที่ต้องดูแลทั้งลูกค้าและพนักงานที่หลากหลาย มาจากพื้นฐานแตกต่างกัน การสื่อสารที่ดีเป็นเรื่องสองทางคือทั้งพูดและรับฟัง เวลาพูดจึงควรชัดเจน ตรงไปตรงมา มีความแน่นอนไม่กลับไปกลับมา ในขณะที่ก็ควรฟังอย่างตั้งใจเมื่ออีกฝ่ายเป็นคนพูด รวมถึงการให้ feedback เพื่อพัฒนา ซึ่งนอกจากจะเน้นเรื่องที่ต้องปรับปรุงเพิ่มแล้ว ก็ขอให้เน้นเรื่องดีๆที่มีอยู่ด้วยเช่นกัน ทักษะการพูดเพื่อสร้างแรงบันดาลใจ หรือสร้างกำลังใจก็เป็นสิ่งจำเป็น

ในการมอบหมายงาน ผู้จัดการร้านก็ควรแจ้งพนักงานอย่างชัดเจน เข้าใจง่าย เหมาะสมกับลักษณะของพนักงานของตน เรื่องอะไรควรทำ เรื่องอะไรไม่ควรทำ อยากให้ทำอย่างไรควรจะชัดเจน เป็นมืออาชีพ อย่าคาดหวังกับ common sense ของพนักงาน เพราะอย่างที่กล่าวไว้ว่าพนักงานมีความหลากหลายอาจจะตัดสินในเรื่องต่าง ๆ ในแบบที่ต่างกัน ยกตัวอย่างเช่น เมื่อเกิดปัญหากับอาหารที่นำไปเสิรฟ ถ้าพนักงานเสิรฟไม่เหมาะที่จะเป็นคนแก้ปัญหาเอง ควรมีการกำหนดให้ชัดเจนว่าพนักงานต้องตามผู้จัดการร้าน หรือ ซุปเปอร์ไวเซอร์เท่านั้น

Problem Solving

จากข้อที่แล้วที่กล่าวว่าถ้ามีปัญหาให้พนักงานแจ้งผู้จัดการร้าน ดังนั้นผู้จัดการร้านจึงควรมีทักษะในการแก้ปัญหาทีดี เนื่องจากปัญหาเกิดได้ตลอดเวลาตั้งแต่พนักงานไม่มาทำงานโดยไม่แจ้งให้ทราบล่วงหน้า ลูกค้าไม่พอใจอาหาร ไฟดับ หรือเกิดอุบัติเหตุในร้าน ผู้จัดการร้านที่ดีจึงควรมีสติ ใจเย็น มีความว่องไวในการเข้าถึงปัญหา ฉลาดมีไหวพริบ กล้าตัดสินใจ สามารถรักษาสถานการณ์ให้การให้บริการเป็นไปต่อเนื่องได้อย่างดีและปลอดภัย

Consistency

คุณสมบัติหรือทักษะข้อนี้สำคัญสำหรับผู้จัดการร้าน เนื่องจากผู้จัดการร้านต้องเป็นเหมือนศูนย์กลางของการให้บริการ ต้องพูดคุยกับทั้งลูกค้า และ พนักงาน ดังนั้นการควบคุมอารมณ์ และ การแสดงออกที่เหมือนกันไม่ว่าสถานการณ์จะตึงเครียดหรือผ่อนคลาย  จะเป็นวันที่งานยุ่งหรือวันที่สบาย ๆ  พนักงานก็สามารถคาดเดาการแสดงออกหรือปฏิกริยาตอบสนองของผู้จัดการร้านได้ ทำให้สะดวกใจที่จะเข้าหา ปรึกษาเวลามีปัญหา

ในส่วนนี้ผมขอเพิ่มเติมเรื่อง Consistency อีกเล็กน้อยในมุมของการเป็นผู้จัดการร้านที่ต้องดูแลทีมงานหลายคน บางร้านอาจจะต้องดูแลพนักงานครัวด้วย การมีหลักการที่ชัดเจน ไม่เปลี่ยนไปมา ไม่ว่าจะเป็นการให้บริการลูกค้า หรือ กติกาในการทำงานร่วมกันของทีม เช่น การลาหยุด การจัดตารางเวลาทำงาน หรือการลงโทษพนักงานที่ทำผิด เป็นไปตามหลักการที่ชัดเจน ไม่มีการเลือกที่รักมักที่ชัง หรือแล้วแต่อารมณ์ของผู้จัดการร้าน

Business Awareness

ทักษะที่สำคัญอันดับสุดท้ายแต่สำคัญไม่แพ้ข้ออื่นคือความรู้และเข้าใจในผลประกอบการของร้าน ผู้จัดการร้านหลายคนนิยมให้ส่วนลดลูกค้า หรือ compliment ขนม เครื่องดื่ม อาหาร ให้ลูกค้าโดยไม่ได้คำนึงถึงผลประกอบการของร้าน ผู้จัดการร้านจึงควรจะอ่านงบกำไรขาดทุนของร้านเป็น เข้าใจว่ายอดขาย ต้นทุน กำไร มาจากไหน และตนมีส่วนร่วมต่อผลประกอบการได้อย่างไรบ้าง ยกตัวอย่างการจัดกะการทำงานของพนักงานในร้านก็สำคัญกับผลประกอบการ การจ้างพนักงานรายวันในจำนวน หรือ วันที่ไม่เหมาะสมกับยอดขาย ก็มีผลต่อผลกำไรของร้าน

วิธีที่ดีที่สุดวิธีหนึ่งในการจูงใจให้พนักงานของเราให้บริการลูกค้าที่ดีที่สุดคือการแสดงให้พวกเขาเห็นว่าเราให้เกียรติพวกเขา เมื่อพนักงานรับรู้ถึงรู้สึกจากผู้จัดการ พวกเขาจะทำงานได้ดีขึ้นและมีความภักดีมากขึ้น

2. เป็นนักสื่อสารที่ยอดเยี่ยม

ผู้จัดการร้านอาหารมืออาชีพจะสื่อสารเชิงบวกกับพนักงาน พวกเขารู้จักใช้คำวิจารณ์ที่สร้างสรรค์เพื่อปรับปรุงงานของทีม

การสื่อสารเป็นสิ่งที่จำเป็นมากสำหรับผู้จัดการร้านอาหาร ซึ่งวิธีพัฒนาทักษะการสื่อสาร ได้แก่

  • รับฟังอย่างใจกว้าง เพื่อส่งเสริมความโปร่งใสไม่ว่าจะเป็น คำถาม ข้อคิดเห็น ข้อกังวล และข้อเสนอแนะ
  • ประชุมพนักงานอย่างต่อเนื่อง เพื่อตรวจสอบให้แน่ใจว่าพนักงานแต่ละคนรู้ว่าพวกเขาคาดหวังอะไรบ้าง และพูดให้กำลังใจสั้น ๆ แก่พนักงาน

    ผู้จัดการร้านอาหารต้องทำอะไรบ้าง

    ผู้จัดการร้าน สำหรับตำแหน่งนี้เจ้าของร้านสามารถทำหน้าที่นี้เองก็ได้เช่นกัน ผู้จัดการถือว่ามีความสำคัญกับร้าน เพราะจะต้องคอยช่วยดูแลความเรียบร้อยของร้าน ดูแลให้ทีมงานทำงานให้เป็นไปตามเป้าหมายที่กำหนด ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการวางแผน และการแก้ปัญหารวมถึงการบริหารจัดการยอดขายให้เป็นไปได้ตามเป้าหมายที่วางไว้อีกด้วย

    ตำแหน่งผู้จัดการร้าน ต้องจบอะไร

    พวกผู้จัดการฯ เขาเรียนจบอะไรกันมา ส่วนใหญ่คือด้านบริหารธุรกิจและการจัดการครับ นอกจากนี้กว่า 56% ของบรรดาผู้จัดการเรียนจบปริญญาตรี และกว่า 35% ที่เรียนจบปริญญาโท อย่างไรก็ตามผู้เลือกเส้นทางนี้ดูเหมือนจะไม่นิยมเรียนต่อปริญญาเอกกันสักเท่าไร

    งานผู้จัดการร้าน ทําอะไรบ้าง

    - ผู้จัดการร้านมีหน้าที่บริหาร ร้าน ดูแลการจัดวาง(ดิสเพลย์)สินค้าให้อยู่ในสภาพที่เหมาะสม สวยงามทันสมัย - ดูแลความเป็นระเบียบและสวยงามในร้านและหน้าร้านให้เป็นไปตามมาตรฐานของ บริษัทฯ และสามารถดึงดูดลูกค้าได้ตลอดเวลา - ประสานงานกับศูนย์การค้า สื่อสารข้อมูล นโยบาย คำสั่ง ระเบียบไปยังผู้ใต้บังคับบัญชา

    ผู้จัดการ ร้านอาหาร เรียกว่าอะไร

    ผู้จัดการร้านอาหาร.

กระทู้ที่เกี่ยวข้อง

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

แปลภาษาไทย ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน อาจารย์ ตจต ศัพท์ทหาร ภาษาอังกฤษ pdf lmyour แปลภาษา ชขภใ ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมฟรี 2566 ขขขขบบบยข ่ส ศัพท์ทางทหาร military words หนังสือราชการ ตัวอย่าง หยน แปลบาลีเป็นไทย ไทยแปลอังกฤษ ประโยค การไฟฟ้านครหลวง การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ข้อสอบโอเน็ต ม.3 ออกเรื่องอะไรบ้าง พจนานุกรมศัพท์ทหาร เมอร์ซี่ อาร์สยาม ล่าสุด แปลภาษามลายู ยาวี Bahasa Thailand กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมออนไลน์ การ์ดจอมือสอง ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย คะแนน o-net โรงเรียน ค้นหา ประวัติ นามสกุล บทที่ 1 ที่มาและความสําคัญของปัญหา ร. ต จ แบบฝึกหัดเคมี ม.5 พร้อมเฉลย แปลภาษาอาหรับ-ไทย ใบรับรอง กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน PEA Life login Terjemahan บบบย มือปราบผีพันธุ์ซาตาน ภาค2 สรุปการบริหารทรัพยากรมนุษย์ pdf สอบโอเน็ต ม.3 จําเป็นไหม เช็คยอดค่าไฟฟ้า แจ้งไฟฟ้าดับ แปลภาษา มาเลเซีย ไทย แผนที่ทวีปอเมริกาเหนือ ่้แปลภาษา Google Translate กระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ 8 ขั้นตอน ก่อนจะนิ่งก็ต้องกลิ้งมาก่อน เนื้อเพลง ข้อสอบโอเน็ตม.3 มีกี่ข้อ คะแนนโอเน็ต 65 ตม กรุงเทพ มีที่ไหนบ้าง