นักเรียนคิดว่าบุคคลในข้อใดปฏิบัติตนได้เหมาะสมขณะสนทนากับผู้ใหญ่หรือผู้อาวุโส

                   

เรื่องที่ 1 มารยาทไท

                  มารยาทไทย เป็นเอกลักษณ์ที่แสดงถึงความเป็นไทย ได้อย่างชัดเจน เพราะเป็นพฤติกรรมที่คนไทยปฏิบัติต่อกันด้วยความเคารพ อ่อนน้อม สุภาพ เรียบร้อย เเละถูกต้องตามเกลเทศะ ไม่ว่าจะเป็นการแสดงความเคารพ การสนทนา การเเต่งกาย รวมถึงการปฏิบัติตามมารยาทไทยได้อย่างถูกต้อง ย่อมแสดงถึงการมีสมบัติผู้ดี และย่อมได้รับการยอมรับจากสังคมทั่วไป เพราะเป็นผู้รุ้จักปกิบัติและวางตนได้เหมาะสม

               1 มารยาทในการเเสดงความเคารพ

                  การแสดงความเคารพ เป้นการเเสดงออกถึงการให้เกียรติเเละความอ่อนน้อม โยเฉพาะอย่างยิ่งในสังคมไทยที่ให้ความสำคัญต่อการเคารพ การแสดงความเคารพตามมารยาทไทย มีหลายลักษณะ เช่น การไหว้ การกราบ การคำนับ ทั้งนี้ขึ้นอยุ่กับ โอกาส สถานที่ และระดับอาวุโสของผู้ที่เราแสดงเคารพ ดังนั้น เราจะต้องปฏิบัติได้อย่างถูกต้องเหมาะสม

                  1.1 การแสดงความเคารพโดยการกราบ

                  การกราบเป็นการแสดงความเคารพผู้ใหญ่ ผู้ที่มีอาวุโสมาก หรือผู้ที่เราให้ความเคารพนับถืออย่างสูง ถือเป็นการเเสดงความเคารพต่อผู้รับอย่างสูงสุด โดยการกราบจะมีระดับที่แตกต่างกันออกไปขึ้นอยู่กับบุคคลที่เรากราบ

               การกราบบุคคลทั่วไป  

                 - นั่งพับเพียบต่อหน้าผู้ที่เราจะกราบ เก็บปลายเท้าให้เรียบร้อย

                 - ค่อย ๆ ค้อมตัวหมอบลงกับพื้น

                 - วางแขนท่อนล่างทั้งสองข้างราบไปกับพื้น

                 - ประนมมือตั้งบนพื้นแบบไม่แบมือ

                 - ค่อยๆก้มศีรษะโดยให้หน้าผากแตะสันมือ

                 - กราบเพียงครั้งเดียวไม่แบมือ

                 - ทรงตัวกลับเข้าสู่ท่านั่งพับเพียบอย่างสงบ

               การกราบผู้อาวุโส  

                 - นั่งพับเพียบต่อหน้าผู้ที่เราจะกราบ เก็บปลายเท้าให้เรียบร้อย

                 - ค่อย ๆ ค้อมตัวหมอบลงกับพื้น

                 - ทอดแขนและมือทั้งสองข้างราบไปกับพื้น

                 - ประนมมือตั้งบนพื้นแบบไม่แบมือ

                 - ค่อยๆ ก้มศีรษะโดยให้หน้าผากแตะส่วนบนของมือ

                 - กราบเพียงครั้งเดียวไม่แบมือ

                 - ทรงตัวขึ้นกลับเข้าสู่ท่านั้งพับเพียบ

                  1.2 การปฏิบัติเป็นแบบอย่างที่ดีในการแสดงความเคารพ

               เมื่อเราแสดงความเคารพตามมารยาทไทยได้ถูกต้องแล้ว เราก็ควรปฏิบัติตนเป็นแบบอย่างที่ดีเพื่อให้คนทั่วไปในสังคมเห็นความสำคัญ เเละสามารถแสดงความเคารพต่อกันได้อย่างเหมาะสม การเป็นแบบอย่างที่ดีในการเเสดงความเคารพ ทำได้ ดังนี้

                    1. แสดงความเคารพผุ้อื่นทุกครั้งเมื่อพบเจอกัน

                    2. แสดงความเคารพโดยปฏิบัติได้ถูกต้องตามแบบแผนมารยาทไทย

                    3. แสดงความเคารพให้เหมาะสมกับโอกาส สถานที่ และกาลเทศะ

                    4.แสดงความเตารพด้วยวิธีต่างๆ อยู่เสมอจนเป้นนิสัย

                  1.3 การมีส่วนร่วมและเเนะนำผู้อื่นให้อนุรักษืการแสดงความเคารพ

                แนวทางที่จะช่วยอนุรักษืการแสดงความเคารพตามมารยาทไทย ทำได้ ดังนี้

                    1. บอกเล่าถึงความสำคัญของการแสดงความเคารพตามมารยาทไทยให้คนทั่วไป รับทราบ และนำไปปฏิบัติอย่างถูกต้อง

                    2. บอกเล่าถึงความภาคภูมิใจในการแสดงความเคารพให้คนรอบข้างรับฟัง

                    3. แนะนำวิธีการแสดงความเคารพที่ถูกต้องเพื่อให้คนอื่นนำไปปฏิบัติ

                    4. เผยแผ่ความรู้ในการแสดงความเคารพตามมรายาทไทยผ่านสื่อต่างๆ

                    5. เข้าร่วมกิจกรรมต่างๆ ที่ส่งเสริมการอนุรักษ์มารยาทไทยในการแสดงความเคารพรวมึงชักชวนบุคคลรอบข้างร่วมในกิจกรรมด้วย

               2 มารยาทในการสนทนา

                  การสนทนา เป็นสิ่งสำคัญอย่างหนึ่งต่อการดำเนินชีวิตประจำวัน เพราะเราจะต้องติดต่อสื่อสารกับคนรอบข้างเพื่อถ่ายทอดความรู้สึกนึกคิดต่างๆ การรสนทนาที่ดีนั้น จะต้องคำนึมารยาทในการสทนาเป้นสิ่งสำคัญ เพราะจะช่วยให้การสทนาดำเนินไปอย่างราบรื่น ช่วยสร้างความรู้สึกอันดีต่อกัน และเป็นการแสดงถึงการให้เกียรคู่สนทนา 

                   2.1 มรายาทในการสนทนาที่ถูกต้อง

                   การปฏิบัติตนเป้นผุ้มารยาทในการสนทนา สามารถทำได้ ดังนี้         

                   - เริ่มบทสนทนาด้วยการกล่าวคำทักทายที่สุภาพ

                   - ใช้ภาษาสุภาพในการสนทนาทุกครั้ง

                   - พูดในสิ่งที่เป็นความจริง มีเนื้อหาสาระที่เป็นประโยชน์

                   - พูดสนทนากันโดยอยู่บนพื้นฐานของเหตุและผล

                   - เปิดโอกาสให้ผู้อื่นได้พูดสนทนาแสดงความคิดเห็นบ้าง

                   - ใช้น้ำเสียงในการพูดไม่ดังหรือเบากินไป                   

                   - เปิดใจรับฟังความคิดเห้นผู้อื่นอย่างไม่มีอคติ

                   - ไม่พูดสอดแทรกในขณะที่คู่สนทนากำลังพูดอยู่        

                   - ไม่พูดนินทา หรือพูดในสิ่งที่ทำให้คุ่สนทนาเสียความรู้สึก

                  2.2 การมีส่วนร่วมและแนะนำผู้อื่นในการสนทนาอย่างเหมาะสม

                   เมื่อเราปฏิบัติตนเป็นผู้มีมารยาทในการสนทนาได้อย่างถูกต้อง เราควรเเนะนำผู้อื่นให้ปฏิบัติตามด้วยวิธีการที่เหมาะสม ดังนี้

                   - บอกเล่าผลดีที่เกิดจากการเป็นผู้มีมารยาทในการสนทนา

                   - แนะนำผู้อื่นให้ปฏิบัติเป็นผู้มีมารยาทในการสนทนาได้อย่างถูกต้ฮง

                   - บอกเล่าประสบการณ์ของตนเองในการมีมารยาทการสนทนาอย่างสม่ำเสมอ

                   - เผยแผ่ข้อมูลที่เป็นประโยชน์ในเรื่องมารยาทในการสนทนาให้สังคมได้รับทราบ     

               3 มารยาทในการแต่งกาย

                  การแต่งกาย เป็นสิ่งที่แสดงถึงบุคคลิกภาพของแต่ละคนได้อย่างชัดเจน เพราะเป็นสิ่งที่สามารถมองเห็นได่้เป็นลำดับแรก ผู้ที่แต่งกายได้ถูกต้องตามมารยาทย่อมได้รับการยอมรับจากคนในสังคม เพราะแสดงถึงการเป็นผู้มีความเคารพต่อบุคคลและสถานที่ รวมถึงมีความน่าเชื่อถือ

                    3.1 มารยาทในการแต่งกายที่ถูกต้อง

                    การเเต่งกายไปยังสถานที่ต่างๆ จะต้องคำนึกถึงความเหมาะสมกับโอกาส บุคคลที่ต้องพบเจอกิจกรรมที่ทำ ถือเป็นมารยาททางสังคมอย่างหนึ่ง การแต่งกายที่ถูกต้องสามารถทำได้ ดังนี้

               1 แต่งกายด้วยเสื้อผ้าที่สะอาด

เราควรดูเเลเสื้อผ้าของเราให้สะอาดและสะอาดและมีสภาพดีอยู่เสมอ หากพบร่องรอยชำรุดก็ควรซ่อมแซมให้กลับสู่สภาพเดิม ทั้งนี้ เสื้อผ้าที่สวมใส่ไม่จำเป็นต้องมีราคาเเพง แต่ควรเป็นชุดที่ดูดี เรียบร้อย

               2 แต่งกายให้เหมาะสมตามโอกาส

                  เราควรพิจารณาว่างานที่เราไปเข้าร่วมนั้นมีลักษณะอย่างไร เช่น เมื่อเราต้องไปในงานเเต่งงาน ซึ่งถือเป้นงานมงคล เราควรเเต่งกายด้วยชุดสุภาพ ไม่ใส่สีเข้ม เพื่อเป็นการให้เกียรติและแสดงความยินดีต่อเจ้าของงาน หรือถ้าหากไปร่วมในงานศพ ฏ้ไม่ควรเเต่งกายด้วยชุดสีฉูดฉาด ควณแต่งกาย ด้วยชูดไว้ทุกข์สีดำ หรือสีขาว

               3 แต่งกายให้เหมาะสมกับสถานที่ 

                  ก่อนการแต่งกายทุกครํ้ง เราควรคำนึกถึงสถานที่ที่จะไป เช่น หากไปทำบุณที่วัด ก็ควรแต่งกายด้วยชุดสุภาพเรียบร้อย มิดชิด เพื่อความเหมาะสมและแสดงความเคารพต่อศาสนสถาน

               4 แต่งกายให้เหมาะสมกับวัยของตนเอง

                  การแต่งกายที่ดี จะต้องมีความเหมาะสมกับวัยของตนเอง เช่น วัยเด็กควรใส่เสื้อผ้าที่มีสีสันสดใสวัยรุ่นก็สามารถแต่งตัวตามสมัยนิยมได้ แต่ไม่ต้องไม่ล่อแหลมจนเกินไป ส่วนวัยทำงานก็ควรแต่งกายด้วยชุดที่ดุดี สุภาพ เรียบร้อย มีความภูมิฐาน

                    3.2 การปฏิบัติแบบอย่างที่ดีในการแต่งกาย

                  การเป็นแบบอย่างที่ดีในการเเต่งกาย เป้นการช่วยส่งเสริมมารยาทการเเต่งกายแก่ผู้อื่นในทางหนึ่ง ซึ่งเราสามารถปฏิบัติได้ ดังนี้

การเป็นแบบอย่างที่ดีในการแต่งตัว

                  การเเต่งกายชุดนักเรียน

                  ชุดนักเรียนเป็นเครืองแบบที่มีเกียรติและสวยงามเราจึงควรเเต่งชุดนักเรียนให้ถูกต้องตามระเบียบ ดังนั้

  • เสื้อ กระโปรงหรือกางเกง ต้องมีสีหรือความยาวตามที่โรงเรียนกำหนด
  • ไม่ใส่เครื่องประดับที่มีความแวววาวหรือตามกระเเสแฟชั่น

                  การเเต่งกายชุดลำลอง

                  ชุดลำลอง แม้ว่าใช้สวมใส่ในโอกาสส่วนตัว เช่น ไปท่องเที่ยวพักผ่อนหย่อนใจก็ควรเลือกเเต่งกายให้เหมือนสม ดังนี

  • เลือกเสื้อผ้าที่สวมใส่สบาย
  • ควรเป็นชุดที่มีความคล่องตัว
  • ไม่ควรสวมใส่เสื้อที่ล่อแหลมมากเกินไป
  • เสื้อผ้ามีความสะอาดเรียบร้อย

                    3.3 การมีส่วนร่วมแนะนำผู้อื่นให้อนุรักษ์มารยาทการเเต่งกาย

                  การมีส่นร่วมเเละเเนะนำผู้อื่นให้อนุรักษ์มารยาทการแต่งกาย ทำได้ ดังนี้

                  1. ศึกษาค้นคว้าข้อมูลเกี่ยวกับมารยาทการเเต่งกายที่ถูกต้องในโอกาสต่างๆ

                  2. แต่งกายให้ถูกต้องตามมารยาท เหมาะสมกับกาลเทศะ โอกาส สถานที่อยู่เสมอจนเป็นนิสัย

                  3. อธิบายถึงความสัำคัญของการมีมารยาทในการเเต่งกาย เเละผลดีที่เกิดจากการเเต่งกายอย่างเหมาะสมให้ผุ้อื่นได้รับทราบ                            4. แนะนำวิธีการแต่งกายที่เหมาะสม ถูกต้องตามมารยาทให้คนทั่วไปได้นำไปปฏิบัติ

                  5. เผยแผ่ข้อมูลที่ถูกต้องเกี่ยวกับการปฏิบัติตนเป็นผู้มีมารยาทในการเเต่งกายโดยใช้สื่อต่างๆ อย่างเหมาะสม

               4 การมีสัมมาคารวะ  

                  สัมมาคารวะ เป็นการแสดงออกทั้งทางด้านกาย วาจาและใจ อย่างสุภาพอ่อนน้อม และความเคารพต่อผุ้อื่น ซึ่งถือเป็นมารยาทไทยสำคัญที่คนไทยควรยึดถือปฏิบัติต่อกัน เพราะเป็นสิ่งที่แสดงถึงความดีงามตามวิถีไทยที่สืบทอดกันมาช้านาน ผู้ที่มีสัมมาคารวะ ย่อมเป็นที่รักของบุคคลรอบข้าง        

                    4.1 ลักษณะของผู้ทีมีสัมมาคารวะ

                  ผู้ที่ถือได้ว่าปฏิบัติอย่างมีสัมมาคารวะ ย่อมมีลักษระสำคํญ ดังนี้

               1 ให้ความเค่ารพผู้อื่น

                  เป็นผู้ที่ปฏิบัติต่อผู้อื่นด้วยความเคารพ โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ที่มีความอาวุโส จะต้องมีความเคารพนับถือ เเละเชื่อฟังคำสั่งสอน เพื่อนำมาเป็นข้อคิดในการดำเนินชีวิต

               2 มีกิริยามารยาทเรียบร้อย 

                  ไม่ว่าจะยืน เดิน นั่ง หรือ สนทนาก็ทำอย่างสุภาพตามมารยาทไทย มีความสำรวมทั้งกายและวาจา เเละใจอยุ่เสมอทั้งต่อหน้า เเละลับหลัง

               3 พูดจาสุภาพ

                  ใช้ถ้อยคำในการพูดสนทนาด้วยภาษาสุภาพ   มีน้ำเสียงอ่อนโยน ไม่ใช่คำหยาบคาย หรือให้ร้ายดูหมิ่นผุ้อื่น สร้างบรรยากาสที่ดีในการสนทนาอยู่เสมอ     

               4 อ่อนน้อมถ่อมตน

                  ปฏิบัติต่อผุ้อื่นด้วยความเคารพ ให้เกียรติ ไม่ยึดถือเอาตนเป็นใหญ่

                    4.2 การปฏิบัติตนเป้นแบบอย่างที่ดีของการมีสัมมาคารวะ

                  เราควรควรเป็นแบบอย่างที่ดีแก่ผู้อื่นในการปฏิบัติตนเป็นผู้มีสัมมาคารวะ   

               1 ปฏิบัติด้วยตวามอ่อนน้อม

                  โดยกระทำเป็นนิสัยเตยชินอยู่เสมอ เพื่อให้ผู้อื่นได้เห็นเป็นแบบอย่างและสามารถนำไปปฏิบัติตามได้อย่างถูกต้อง                                   2 มีสัมมาคารวะอยู่เสมอ

                  ปฏิบัติต่อผุ้อื่นด้วยความเคารพ ทั้งกาย วาจา ใจ ทั้งต่อหน้าเเละลับหลัง

               3 ปฏิบัติตนด้วยความอ่อนน้อม

                  มีความมเคารพนบนอบต่อผู้อื่น โโยเฉพาะผู้อาวุโสมากกว่า

               4 ปฏิบัติอย่างสุภาพ

                  มีกิริยามารยาทสำรวม คอยระมัดระวังและหลีกเลี่ยงการกระทำที่ไม่เหมาะสมต่อผู้อื่น 

                    4.3 การมีส่วนร่วมและเเนะนำผู้อื่นให้ปฏิบัติตมีสัมมาคารวะ

                  เราสามารถแนะนำผู้อื่นให้ปฏิบัติตนเป็นผู้สัมมาคารวะได้ ดังนี้

               1 ปฏิบัติตนเป็นแบบอย่างที่ดี

                  แสดงออกถึงความเป็นผู้มีสัมมาคารวะด้วยวิธีต่างๆ อย่างเปิดเผยและภาคภูมิ เพื่อให้ผู้อื่นได้เห็นและนำเอาไปปฏิบัติ

               2 บอกเล่าภึงความสำคัญ

                 อธิบายความสำคัญและผลดีที่เกิดจากการปฏิบัติตนเป็นผู้มีสัมมาคารวะให้ผู้อื่นรับทราบเพื่อเกิดการนำไปปฏิบัติโดยทั่วกัน

               3 ชักชวนผู้อื่นให้ปฏิบัติตน

                  พูดชักชวนบุคคลไปร่วมกันปฏิบัติต่อผู้อื่นอย่างมีสัมมาคารวะ โดยอาจเริ่มจากบุคคลที่อยู่ใกล้ตัว เช่น เพื่อนในโรงเรียน

               4 แนะนำการปฏิบัติตนเป็นผู้มีสัมมาคารวะ

                  อธิบายวิธีการปฏิบัติตนเป็นผู้มีสัมมาคารวะในลักษณะต่างๆโดยอาจยกตัวอย่างสถานการ์ณแล้วบอกวิธีปฏิบัติตนที่ถูกต้อง

               5 เผยแพร่ความรู้เรื่องการมีสัมมาคารวะ

                   ศึกษาข้อมูล เกี่ยวกับการมีสัมมาคารวะอย่างถูกต้องแล้วนำความรู้ที่ได้ไปเผยแพร่ให้บุคคลอื่น โดยใช้วิธีต่างๆ อย่างเหมาะสม                   6 เข้าร่วมกิจกรรมส่งเสริมการมีสัมมาคารวะ

                   ให้ความสนใจโดยเข้าร้วมในกิจกรรมต่างๆ ที่ช่วยส่งเสริมการปฏิบัติตนเป็นผู้มีสัมมาคารวะ       

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

แปลภาษาไทย ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน อาจารย์ ตจต ศัพท์ทหาร ภาษาอังกฤษ pdf lmyour แปลภาษา ชขภใ ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมฟรี 2566 ขขขขบบบยข ่ส ศัพท์ทางทหาร military words หนังสือราชการ ตัวอย่าง หยน แปลบาลีเป็นไทย ไทยแปลอังกฤษ ประโยค การไฟฟ้านครหลวง การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ข้อสอบโอเน็ต ม.3 ออกเรื่องอะไรบ้าง พจนานุกรมศัพท์ทหาร เมอร์ซี่ อาร์สยาม ล่าสุด แปลภาษามลายู ยาวี Bahasa Thailand กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมออนไลน์ การ์ดจอมือสอง ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย คะแนน o-net โรงเรียน ค้นหา ประวัติ นามสกุล บทที่ 1 ที่มาและความสําคัญของปัญหา ร. ต จ แบบฝึกหัดเคมี ม.5 พร้อมเฉลย แปลภาษาอาหรับ-ไทย ใบรับรอง กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน PEA Life login Terjemahan บบบย มือปราบผีพันธุ์ซาตาน ภาค2 สรุปการบริหารทรัพยากรมนุษย์ pdf สอบโอเน็ต ม.3 จําเป็นไหม เช็คยอดค่าไฟฟ้า แจ้งไฟฟ้าดับ แปลภาษา มาเลเซีย ไทย แผนที่ทวีปอเมริกาเหนือ ่้แปลภาษา Google Translate กระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ 8 ขั้นตอน ก่อนจะนิ่งก็ต้องกลิ้งมาก่อน เนื้อเพลง ข้อสอบโอเน็ตม.3 มีกี่ข้อ คะแนนโอเน็ต 65 ตม กรุงเทพ มีที่ไหนบ้าง