ลดหย่อนภาษีลูกใช้เอกสารอะไรบ้าง

  • Facebook iconแชร์บทความ
  • Twitter iconทวีต
  • LINE iconส่งไลน์

28 ตุลาคม 2565

หลักเกณฑ์การหักลดหย่อนบุตร

• ลดหย่อนได้ ไม่เกิน 3 คน และบุตรที่ลดหย่อนต้องไม่มีเงินได้

• ถ้าบุตรเกิดก่อน ปี 2561 สามารถลดหย่อนได้คนละ 30,000 บาท ต่อปี

• ถ้าบุตรเกิดหลัง ปี 2561สามารถลดหย่อนได้คนละ 60,000 บาท* ต่อปี*แต่ต้องไม่ใช่บุตรคนแรก

บุตรที่มีสิทธิหักลดหย่อน มีเงื่อนไขใดบ้าง ?

• ต้องบุตรชอบด้วยกฎหมาย หรือบุตรบุญธรรมของผู้มีเงินได้

• เป็นผู้เยาว์ อายุไม่ถึง 20 ปียังไม่บรรลุนิติภาวะโดยการสมรส

• อายุไม่เกิน 25 ปี และยังศึกษาอยู่ในมหาวิทยาลัย หรือ ชั้นอุดมศึกษา

• ไม่มีเงินได้ และ ต้องอยู่ในความอุปการะเลี้ยงดูของผู้มีเงินได้

• บุตรที่ศาลสั่งให้เป็นคนไร้ความสามารถ หรือเสมือนไร้ความสามารถ

• บุตรชอบด้วยกฎหมายลดหย่อนได้ คนละ 30,000 บาท

• บุตรบุญธรรม ของผู้มีเงินได้ คนละ 30,000 บาทแต่รวมกันต้องไม่เกิน 3 คน

• ถ้ามีบุตรชอบด้วยกฎหมาย 3 คนขึ้นไปจะนำบุตรบุญธรรมมาหักไม่ได้

• ถ้ามีบุตรชอบด้วยกฎหมาย ไม่ถึง 3 คนนำบุตรบุญธรรมมาหักได้ แต่รวมแล้ว ต้องไม่เกิน 3 คน

ค่าลดหย่อนบุตร เป็น ค่าลดหย่อนแบบเหมาสำหรับคนที่มีลูกโดยเราสามารถลดหย่อนลูกได้ คนละ ฿30,000 ต่อปี แต่ถ้ามีลูกตั้งแต่คนที่สองเป็นต้นไปเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายที่เกิดในปี พ.ศ. 2561 หรือหลังจากนี้ จะสามารถลดหย่อนลูกตั้งแต่คนที่สองเป็นต้นไปได้ คนละ ฿60,000 ต่อปี และแม้บุตรจะเสียชีวิตระหว่างปีก็ยังสามารถใช้ลดหย่อนภาษีสำหรับ ปีภาษี ที่เสียชีวิตได้อยู่

ค่าลดหย่อนบุตรเป็นสิทธิประโยชน์สำหรับ ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา

วิธีกรอกค่าลดหย่อนบุตรบนแอป iTAX

แอป iTAX รองรับการคำนวณค่าลดหย่อนบุตรทั้งบุตรแท้ๆ และบุตรบุญธรรม

การใช้สิทธิค่าลดหย่อนบุตรแท้ๆ

หากคุณต้องการใช้สิทธิค่าลดหย่อนบุตรแท้ๆ สามารถนำมาคำนวณบนแอป iTAX ได้ดังนี้

  1. ในหน้าแรก (Home) กดที่
    »
     ค่าลดหย่อน
  2. เลือก ‘ค่าลดหย่อน – บุตรแท้ๆ’
  3. กรอก วัน เดือน ปีเกิด
  4. ตอบคำถามเกี่ยวกับสถานะพิการ/ทุพพลภาพ
  5. กด Done

แอปจะพากลับไปที่หน้า Home และแสดงผลการคำนวณภาษีหลังใช้สิทธิค่าลดหย่อนบุตรแท้ๆ แล้วให้อัตโนมัติ

การใช้สิทธิค่าลดหย่อนบุตรบุญธรรม

หากคุณต้องการใช้สิทธิค่าลดหย่อนบุตรแท้ๆ สามารถนำมาคำนวณบนแอป iTAX ได้ดังนี้

  1. ในหน้าแรก (Home) กดที่
    »
     ค่าลดหย่อน
  2. เลือก ‘ค่าลดหย่อน – บุตรบุญธรรม’
  3. กรอก วัน เดือน ปีเกิด
  4. ตอบคำถามเกี่ยวกับสถานะพิการ/ทุพพลภาพ
  5. กด Done

แอปจะพากลับไปที่หน้า Home และแสดงผลการคำนวณภาษีหลังใช้สิทธิค่าลดหย่อนบุตรบุญธรรมแล้วให้อัตโนมัติ

สิทธิประโยชน์ที่ได้รับ

  • คนที่มีลูกอยู่ในความดูแล สามารถนำลูกไปใช้เป็นค่าลดหย่อนได้แบบเหมาคนละ ฿30,000 ต่อปี ไม่ว่าจะยังอยู่ในวัยเรียนหรือไม่
  • แต่ถ้ามีลูกคนที่สองเป็นต้นไปที่เกิดในปี พ.ศ. 2561 หรือหลังจากนี้ และเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายด้วย จะสามารถนำลูกไปใช้เป็นค่าลดหย่อนได้เพิ่มเป็น คนละ ฿60,000 ต่อปี

ทั้งนี้ แม้บุตรจะเสียชีวิตระหว่างปีก็ยังสามารถใช้ลดหย่อนภาษีสำหรับ ปีภาษี ที่เสียชีวิตได้อยู่

กรณีมีเฉพาะบุตรชอบด้วยกฎหมาย

กรณีเป็นลูกที่ถูกต้องตามกฎหมายจะใช้สิทธิลดหย่อนบุตรกี่คนก็ได้เท่าจำนวนบุตรจริง

กรณีมีเฉพาะบุตรบุญธรรม

ในกรณีที่คุณมีแต่บุตรบุญธรรมเพียงอย่างเดียว จะใช้สิทธิลดหย่อนบุตรได้คนละ ฿30,000 สูงสุด 3 คน

กรณีมีทั้งบุตรชอบด้วยกฎหมายและบุตรบุญธรรม

แต่ถ้าเป็นกรณีที่มีทั้งลูกที่ถูกต้องตามกฎหมายและบุตรบุญธรรมด้วย การใช้สิทธิหักลดหย่อนจะดูจากลูกที่ถูกต้องตามกฎหมายที่ยังมีชีวิตอยู่ก่อน โดยการนับจํานวนบุตรให้นับเฉพาะบุตรที่มีชีวิตอยู่ตามลําดับอายุสูงสุดของบุตร โดยนับรวมทั้งบุตรที่ไม่อยู่ในเกณฑ์ได้รับการหักลดหย่อนด้วย หากครบ 3 คนไปแล้วจะใช้สิทธิลดหย่อนบุตรบุญธรรมไม่ได้ แต่ถ้ายังไม่ครบ 3 คน ก็จะสามารถใช้สิทธิลดหย่อนบุตรบุญธรรมได้อีกคนละ ฿30,000 จนคุณได้ใช้สิทธิลดหย่อนบุตรครบ 3 คน

การหักลดหย่อนบุตรเป็นกรณีเดียวที่กฎหมายอนุญาตให้ทั้งคุณและคู่สมรสสามารถใช้ลูกคนเดียวกันหักลดหย่อนบุตรซ้ำกันได้

เงื่อนไขการรับสิทธิ

การรับสิทธิหักลดหย่อนบุตร อย่างน้อยต้องมีเราหรือลูกเราคนใดคนหนึ่งที่อยู่ในประเทศไทยครบ 180 วันในปีภาษีนั้น และผ่านเกณฑ์ต่อไปนี้ทั้งหมดด้วย

เกณฑ์ความสัมพันธ์

ลูกที่เราจะใช้สิทธิหักลดหย่อนได้จะต้องเป็น

  • ลูกแท้ๆ ที่ถูกต้องตามกฎหมายของเราหรือคู่สมรส หรือ
  • ลูกบุญธรรมที่เราจดทะเบียนรับเป็นบุตรบุญธรรมแล้ว

เกณฑ์อายุ

ลูกที่เราจะใช้สิทธิหักลดหย่อนได้ยังต้องผ่านเกณฑ์อายุข้อใดข้อหนึ่งดังนี้ด้วย

  • อายุไม่ถึง 20 ปี หรือยังไม่บรรลุนิติภาวะ
  • อายุ 20 – 25 ปี หรือบรรลุนิติภาวะแล้ว แต่ต้องเรียนอยู่ระดับอนุปริญญา (ปวส. หรือ ปวท.) หรือปริญญาตรีขึ้นไป
  • อายุเท่าไหร่ก็ได้ แต่ต้องถูกศาลสั่งให้เป็นคนไร้ความสามารถหรือเสมือนไร้ความสามารถ

เกณฑ์รายได้

ลูกที่ใช้สิทธิหักลดหย่อนได้จะต้องไม่มีรายได้ หรือมีรายได้ตลอดทั้งปีได้ไม่ถึง ฿30,000 ด้วย (ถ้า ฿30,000 พอดีถือว่าผิดเงื่อนไข)

อย่างไรก็ดี หากเป็นกรณีที่บุตรยังไม่บรรลุนิติภาวะแล้วได้รับเงินปันผล กฎหมายให้ถือว่าเป็นเงินได้ของบิดาหรือมารดาผู้ใช้อำนาจปกครอง กรณีดังกล่าวแม้บุตรจะได้รับเงินปันผลถึง ฿30,000 ก็ยังใช้สิทธิลดหย่อนบุตรได้อยู่ดี เพราะเงินปันผลดังกล่าวถือเป็นเงินได้ของผู้ใช้อำนาจปกครอง ไม่ใช่เงินได้ของบุตร

คำถามที่พบบ่อย

Q. มีบุตรชอบด้วยกฎหมาย 4 คน และมีชีวิตอยู่ทั้งหมด จะนำบุตรมาหักลดหย่อนได้ทั้งหมดหรือไม่?
  • หักลดหย่อนบุตรได้ทั้งหมด 4 คน (จาก 4 คน) โดยหักบุตรได้คนละ ฿30,000 บาท

แต่ถ้าลูกตั้งแต่คนที่สองเป็นต้นไป เป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายที่เกิดในปี พ.ศ. 2561 หรือหลังจากนั้นจะสามารถลดหย่อนได้คนละ ฿60,000 บาท

Q. มีบุตร 4 คน และมีบุตรบุญธรรมอีก 1 คน จะนำบุตรมาหักลดหย่อนได้ทั้งหมดหรือไม่?
  • สามารถหักลดหย่อนบุตรได้แค่ 4 คน (จาก 5 คน) โดยสามารถหักลดหย่อนบุตรชอบด้วยกฎหมายได้ไม่จำกัดจำนวนได้คนละ ฿30,000 ส่วนบุตรบุญธรรมไม่สามารถหักลดหย่อนได้อีกเนื่องจากเมื่อนำบุตรบุญธรรมมารวมกับบุตรที่ชอบด้วยกฎหมายแล้วเกิน 3 คน

แต่ถ้าลูกตั้งแต่คนที่สองเป็นต้นไป เป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายที่เกิดในปี พ.ศ. 2561 หรือหลังจากนั้นจะสามารถลดหย่อนได้คนละ ฿60,000 บาท

Q. มีบุตร 2 คน และมีบุตรบุญธรรมอีก 1 คน จะนำบุตรมาหักลดหย่อนได้ทั้งหมดหรือไม่?
  • สามารถหักลดหย่อนบุตรได้ทั้งหมด 3 คน (จาก 3 คน) เนื่องจากเมื่อรวมบุตรบุญธรรมกับบุตรชอบด้วยกฎหมายแล้วไม่เกิน 3 คน ดังนั้น สามารถหักบุตรได้คนละ ฿30,000

แต่ถ้าลูกตั้งแต่คนที่สองเป็นต้นไป เป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายที่เกิดในปี พ.ศ. 2561 หรือหลังจากนั้น จะสามารถลดหย่อนได้คนละ ฿60,000 บาท ส่วนบุตรบุญธรรมยังคงหักลดหย่อนได้คนละ ฿30,000 เหมือนเดิมเนื่องจากไม่ใช่บุตรชอบด้วยกฎหมาย

Q. บุตรที่อยู่เนอร์สเซอรี่ สามารถนำมาหักลดหย่อนบุตรและการศึกษาบุตรได้หรือไม่?
  • บุตรที่อยู่เนอร์สเซอรี่ สามารถหักลดหย่อนในฐานะบุตรได้
Q. สามีภริยาสามารถนำบุตรที่ไม่มีเงินได้และจบการศึกษาระหว่างปีมาหักลดหย่อนได้หรือไม่?
  • การหักลดหย่อนบุตรให้หักได้ตลอดปีภาษี ไม่ว่ากรณีที่จะหักได้นั้นจะอยู่ตลอดปีภาษีหรือไม่ก็ตาม
Q. บุตรผู้เยาว์ของพ่อมีเงินได้พึงประเมินเป็นเงินปันผลจำนวน ฿2,000,000 พ่อมีสิทธิหักค่าลดหย่อนบุตรผู้เยาว์ ได้หรือไม่?
  • หากบุตรของพ่อเป็นบุตรผู้เยาว์มีเงินได้ประเภทเงินปันผลจำนวน ฿2,000,000 โดยไม่มีเงินได้ประเภทอื่นอีก ถือว่าเงินได้ของบุตรผู้เยาว์เป็นเงินได้พึงประเมินของพ่อ พ่อมีหน้าที่ต้องนำเงินปันผลดังกล่าวไปรวมคำนวณภาษีในนามของตน โดยนิตินัยเป็นผลเท่ากับบุตรผู้เยาว์ไม่มีเงินได้ ดังนั้น พ่อมีสิทธินำบุตรผู้เยาว์ดังกล่าวมาหักลดหย่อนได้
Q. บุตรบรรลุนิติภาระของพ่อมีเงินได้พึงประเมินเป็นเงินปันผลจำนวน ฿2,000,000 พ่อมีสิทธิหักค่าลดหย่อนบุตรได้หรือไม่?
  • หากบุตรของพ่อเป็นผู้ที่บรรลุนิติภาวะแล้ว (เนื่องจากอายุครบ 20 ปีบริบูรณ์แล้วหรือจดทะเบียนสมรสแล้วก็ได้) มีเงินปันผลจากหุ้นจำนวน ฿2,000,000 โดยไม่มีเงินได้ประเภทอื่นอีก เงินปันผลดังกล่าวเป็นเงินได้พึงประเมินของบุตร ดังนั้น บุตรผู้มีเงินได้มีหน้าที่ต้องยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา พ่อไม่มีสิทธินำบุตรดังกล่าวมาหักลดหย่อนได้
Q. บุตรชายของพ่อได้รับรางวัลทองคำหนัก 100 บาท พ่อพร้อมด้วยภริยาและบุตรได้เดินทางไปรับรางวัลที่บริษัทฯ มูลค่าของทองคำที่บุตรได้รับคิดเป็นเงินจำนวน ฿840,000 บริษัทฯ ได้หักภาษี ณ ที่จ่ายในอัตรา 5% ของมูลค่ารางวัลที่ได้รับเป็นเงินจำนวน ฿42,000 พ่อจะหักลดหย่อนบุตรได้หรือไม่?
  • พ่อไม่มีสิทธินำบุตรมาหักลดหย่อนภาษี เนื่องจากบุตรมีเงินได้ตั้งแต่ ฿30,000 ขึ้นไป สำหรับบุตรเป็นผู้มีเงินได้พึงประเมินจากเงินรางวัล จะต้องยื่นแบบแสดงรายการโดยเป็นหน้าที่ของผู้แทนโดยชอบธรรมเป็นตัวแทนในการชำระภาษีแทนผู้เยาว์
Q. พ่อและแม่มีสถานภาพสมรส มีบุตรเกิดเมื่อวันที่ 29 ธันวาคมของปีนี้ จึงมีอายุเพียง 3 วันในปีนี้ บิดามารดาจะนำบุตรมาหักลดหย่อนบุตรได้หรือไม่?
  • พ่อและแม่ในฐานะผู้มีเงินได้ สามารถหักลดหย่อนบุตรชอบด้วยกฎหมายให้หักได้ตลอดปี ไม่ว่ากรณีที่จะหักได้นั้นจะมีอยู่ตลอดปีภาษีหรือไม่ แม้ว่าบุตรจะเกิดปลายปี และมีอายุเพียง 3 วันก็ตาม
Q. บิดา/มารดาสามารถนำบุตรผู้เยาว์ที่เสียชีวิตระหว่างปีภาษีไปหักค่าลดหย่อนบุตรได้หรือไม่?
  • การหักลดหย่อนบุตรให้หักได้ตลอดปีภาษี ไม่ว่ากรณีที่จะหักได้นั้นจะอยู่ตลอดปีภาษีหรือไม่ก็ตาม บิดามารดาจึงหักลดหย่อนบุตรได้
Q. ชาวต่างชาติเข้ามาทำงานบริษัทในไทยเกิน 180 วัน มีเงินได้ประเภทเงินเดือน ภริยา บุตร บุพการี อยู่ต่างประเทศไม่มีเงินได้ บุตรเรียนหนังสือที่ต่างประเทศและบุพการีอายุเกิน 60 ปี มีสิทธิหักลดหย่อนภริยา บุตร และบุพการี ได้หรือไม่?
  • ชาวต่างชาติเข้ามาทำงานในไทยเกิน 180 วัน ถือว่าผู้มีเงินได้เป็นผู้อยู่ในไทย สามารถหักลดหย่อนภริยาได้ ไม่ว่าภริยาจะอยู่ในไทยหรืออยู่ต่างประเทศ โดยหักลดหย่อนภริยาได้จำนวน ฿60,000 และสามารถหักลดหย่อนบุตรได้ ไม่ว่าบุตรจะอยู่ในไทยหรืออยู่ต่างประเทศโดยหักลดหย่อนบุตรได้
Q. นาย A. จดทะเบียนสมรสกับนาง ก. มีบุตรร่วมกัน 1 คน (บุตรเกิด เดือนมกราคม 2561) ต่อมาเดือนมิถุนายน 2561 นาย A. และนาง ก. ได้จดทะเบียนหย่ากัน ภายหลังนาย A. ได้มาจดทะเบียนสมรสใหม่ กับนาง ข. เมื่อเดือนธันวาคม 2561 โดยนาง ข. มีลูกติดกับสามีเก่า 1 คน (บุตรเกิดในปี 2561) ดังนั้น ในกรณีต่างฝ่ายต่างมีลูกกับคู่สมรสเดิมมากันทั้ง 2 ฝ่าย จะสามารถลดหย่อนบุตรคนที่ 2 เป็นเงิน 60,000 บาท ได้หรือไม่
  • ไม่ได้ เนื่องจากบุตรที่เกิดจากคู่สมรสเดิมต่างก็เป็นบุตรคนแรกของทั้ง 2 ฝ่าย จึงไม่เข้าหลักเกณฑ์การลดหย่อนบุตรคนที่ 2
Q. นาย A. กับนาง ก. มี ด.ช. Z. บุตรคนที่ 2 ร่วมกัน (บุตรเกิด เดือนมกราคม 2561) ต่อมาได้มีการจดทะเบียนหย่าในเดือนมิถุนายน 2561 และนาย A. ได้จดทะเบียนสมรสใหม่กับ นาง ข. เมื่อเดือนธันวาคม 2561 (นาง ข. ไม่เคยมีบุตรมาก่อน) โดยต่างฝ่ายต่างมีเงินได้พึงประเมิน อยากทราบว่า นาย A. และนาง ข. สามารถใช้สิทธิลดหย่อนบุตรคนที่ 2 ได้หรือไม่
  • ด.ช. Z. เป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายของ นาย A. ดังนั้น นาย A และนาง ข. จึงสามารถใช้สิทธิลดหย่อนบุตรคนที่ 2 ได้ 60,000 บาท
Q. นาย A. กับนาง ข. มีบุตรคนที่ 2 ในปี 2561 และใช้สิทธิลดหย่อนบุตรคนที่ 2 ในปีภาษี 2561 แล้ว ต่อมาในปี 2562 มิได้มีบุตรเพิ่มแต่อย่างใด อยากทราบว่า ในปีภาษี 2562 ยังสามารถใช้สิทธิลดหย่อนบุตรคนที่ 2 ได้คนละ 60,000 บาทหรือไม่
  • ถือเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายของทั้ง 2 ฝ่าย ดังนั้น ในปีภาษี 2562 สามารถใช้สิทธิหักลดหย่อนบุตรคนที่ 2 ได้คนละ 60,000 บาท
Q. การใช้สิทธิลดหย่อนบุตรคนที่ 2 เป็นเงิน 60,000 บาท การรับบุตรบุญธรรม จะได้รับสิทธิหรือไม่
  • ไม่ได้รับสิทธิ เนื่องจากบุตรบุญธรรมมิได้เป็นบุตรโดยชอบด้วยกฎหมายของผู้มีเงินได้
Q. กรณีบุตรคนที่ 2 เกิดได้ 2 เดือนแล้วเสียชีวิตจะได้รับสิทธิลดหย่อนบุตร 60,000 บาทหรือไม่
  • ได้รับสิทธิ เนื่องจากการหักลดหย่อนบุตร ให้หักได้ตลอดปีภาษีไม่ว่ากรณีที่จะหักได้นั้นจะมีอยู่ตลอดปีภาษีหรือไม่
Q. กรณีคลอดบุตรครั้งแรกเป็นลูกแฝด จะได้รับสิทธิลดหย่อนบุตร 60,000 บาท หรือไม่
  • ได้รับสิทธิ จำนวน 1 คน เนื่องจากกฎหมายกำหนดให้สิทธิบุตรโดยชอบด้วยกฎหมายตั้งแต่คนที่ 2 เป็นต้นไป
Q. บุตรคนที่ 1 เสียชีวิตไปนานแล้ว ต่อมาปี 2561 ตั้งครรภ์และคลอดบุตรนับเป็นบุตรคนที่ 2 จะได้รับสิทธิลดหย่อนบุตร 60,000 บาท ใช่หรือไม่
  • ได้รับสิทธิ จำนวน 1 คน เนื่องจากกฎหมายกำหนดให้สิทธิบุตรโดยชอบด้วยกฎหมายตั้งแต่คนที่ 2 เป็นต้นไป
Q. กรณีจดทะเบียนสมรสและหย่าภรรยาคนแรก มีบุตร 1 คน ต่อมาได้จดทะเบียนสมรสใหม่และมีบุตรในปี 2561 บุตรที่เกิดในปี 2561 จะนับเป็นบุตรคนที่ 2 ได้สิทธิลดหย่อนบุตร 60,000 บาท หรือไม่
  • ได้
Q. กรณีมีบุตร 5 คน โดยบุตรคนที่ 1 เกิดปี 2557 บุตรคนที่ 2 เกิดปี 2558 บุตรคนที่ 3 เกิดปี 2559 บุตรคนที่ 4 เกิดปี 2560 และบุตรคนที่ 5 เกิดปี 2561 โดยบุตรคนที่ 1 – 3 เสียชีวิต บุตรคนที่ 5 สามารถใช้สิทธิหักลดหย่อนบุตร 60,000 บาท ได้หรือไม่
  • ได้ เนื่องจากบุตรคนที่ 5 เป็นบุตรในลำดับที่ 2 เป็นต้นไป และเกิดในปี 2561 จึงสามารถหักลดหย่อนบุตร 60,000 บาท ได้
Q. กรณีบุตรคนที่ 2 เกิดในปี 2562 จะใช้สิทธิลดหย่อนบุตร 60,000 บาทได้หรือไม่
  • ได้ เนื่องจากใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2561 เป็นต้นไป
Q. มีบุตรกับภริยาคนแรก ไม่ได้จดทะเบียนสมรส แต่มีการจ่ายค่าเลี้ยงดู 1 คน เกิดเมื่อวันที่ 1 ม.ค. 2561 ขณะนี้บุตรคนแรกมีอายุ 10 เดือนกว่าๆ และได้แต่งงานจดทะเบียนสมรสกับภริยาคนปัจจุบันมีบุตรด้วยกันอีก 1 คน เกิดเมื่อวันที 1 พ.ย. 2561 ภริยาทั้ง 2 คน ไม่มีเงินได้ จะใช้สิทธิลดหย่อนค่าฝากครรภ์และคลอดบุตร รวมถึงการใช้สิทธิลดหย่อนบุตร 60,000 บาท ได้หรือไม่
  • ใช้สิทธิลดหย่อนค่าฝากครรภ์และคลอดบุตรจากภริยาที่จดทะเบียนสมรส แต่ไม่ได้รับสิทธิลดหย่อนบุตร 60,000 บาท เนื่องจากมีบุตรชอบด้วยกฎหมายเพียงคนเดียว

นอกจาก ค่าลดหย่อนบุตรแล้วในฐานะผู้เสียภาษี คุณยังสามารถใช้สิทธิ์ลดหย่อนภาษีแบบอื่นๆ เพิ่มเติมได้อีก ไม่ว่าจะเป็น ประกันชีวิตลดหย่อนภาษี, ประกันสุขภาพลดหย่อนภาษี และ กองทุนลดหย่อนภาษี ซึ่งคุณสามารถเลือกใช้สิทธิ์ลดหย่อนภาษีได้ตามความต้องการและงบประมาณของตัวคุณเอง ได้ที่ iTAX shop เรารวมทุกความคุ้มค่ามาไว้ให้ที่นี่แล้ว

เรื่องที่มักเข้าใจผิดกันบ่อย

  • หลายคนยังเข้าใจผิดว่าถ้าเป็นลูกแท้ๆ แสดงว่าจะเป็นลูกที่ถูกต้องตามกฎหมายเสมอไป ซึ่งเป็นความเข้าใจที่ไม่ถูกต้อง เพราะบางกรณีพ่อแม่ไม่ได้จดทะเบียนสมรสกัน แม้จะเป็นลูกแท้ๆ แต่พ่อก็อาจไม่มีสิทธิหักลดหย่อนบุตรได้เพราะยังไม่ถือว่าเป็นลูกที่ชอบด้วยกฎหมายของตัวเองหรือของคู่สมรส จนกว่าจะมีการจดทะเบียนรับรองบุตร, ศาลพิพากษาให้เป็นบุตร หรือพ่อแม่ได้จดทะเบียนสมรสกันในภายหลัง
  • ในกรณีมีคู่สมรสที่ยื่นภาษีเองด้วย หลายคนยังเข้าใจผิดว่าการหักลดหย่อนบุตรจะต้องแบ่งกันคนละครึ่ง แต่ที่จริงแล้วกฎหมายอนุญาตให้ทั้งคุณและคู่สมรสสามารถใช้ลูกคนเดียวกันหักลดหย่อนบุตรซ้ำกันได้เต็มจำนวนโดยไม่ต้องแบ่งกัน (การแบ่งสิทธิ์ลดหย่อนบุตรคนละครึ่งเป็นเงื่อนไขในอดีตที่ยกเลิกไปแล้ว)
  • หลายคนเข้าใจผิดว่าบุตรชอบด้วยกฎหมายคนแรกเกิดในปี 2561 ก็นำไปหักค่าลดหย่อนบุตร ฿60,000 ได้เหมือนกัน แต่ความจริงแล้วลูกคนแรกนำไปลดหย่อนได้ ฿30,000 เท่านั้น เพราะ การได้สิทธิลดหย่อนบุตร ฿60,000 ต้องเป็นกรณีบุตรชอบด้วยกฎหมายตั้งแต่คนที่สองเป็นต้นไปที่เกิดในหรือหลังปี พ.ศ. 2561
  • นอกจากนี้ ถ้ามีลูกแฝดท้องแรกเกิดในหรือหลังปี พ.ศ. 2561 จะได้สิทธิลดหย่อนแฝดคนพี่ ฿30,000 และแฝดคนรอง ฿60,000
  • ในกรณีหย่าร้างกัน แม้บันทึกหลังทะเบียนหย่าจะระบุว่าให้บุตรอยู่กับแม่ แต่ข้อเท็จจริงปรากฏว่าทั้งพ่อและแม่ยังร่วมกันอุปการะเลี้ยงดูบุตรอยู่ พ่อก็สามารถใช้สิทธิลดหย่อนบุตรได้อยู่ เพราะต้องดูการอุปการะดูแลตามความเป็นจริงด้วย ไม่ได้ดูแค่ทะเบียนหย่าแต่เพียงอย่างเดียว

เรื่องอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง

  • ค่าลดหย่อนคู่สมรส
  • ค่าลดหย่อนบิดามารดา
  • ค่าฝากครรภ์และทำคลอด

อ้างอิง

  1. มาตรา 47(1)(ค) ประมวลรัษฎากร, พ.ร.บ. แก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 44) พ.ศ. 2560

  2. ร้อยเรื่องลดหย่อน ปีภาษี 2560 ศูนย์สารสนเทศสรรพากร www.rd.go.th, “ค่าฝากครรภ์ ค่าคลอดบุตร และบุตรคนที่ 2 ลดหย่อนอย่างไร ???” www.rd.go.th

    ลดหย่อนบิดามารดาใช้เอกสารอะไร

    สำหรับการหักลดหย่อนบิดามารดาของผู้มีเงินได้ชาวต่างชาติจะต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข ตามประกาศอธิบดีฯ เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 136) โดยบิดามารดาจะต้องมีเลขประจำตัวประชาชน ตามกฎหมายว่าด้วยการทะเบียนราษฎร ประกอบแบบหนังสือรับรองการหักลดหย่อนค่าอุปการะเลี้ยงดูบิดามารดา (แบบ ล.ย.

    ลดหย่อนบุตรต้องจดทะเบียนไหม

    คำตอบ : ไม่สามารถใช้สิทธิลดหย่อนได้ เพราะว่า พ่อกับแม่ถ้าไม่ได้จดทะเบียนสมรสกันบุตรที่เกิดมาจะไม่ใช่บุตรที่ชอบด้วยกฎหมายของพ่อ ดังนั้นพ่อจะไม่สามารถใช้สิทธิค่าลดหย่อนบุตรได้จนกว่าจะไปจดทะเบียนรับรองบุตร หรือศาลพิพากษาให้เป็นบุตร หรือพ่อและแม่ได้จดทะเบียนสมรสกับภายหลัง แม่สามารถใช้สิทธิลดหย่อนบุตรได้ทันทีแม่จะไม่ได้ ...

    ขอคืนภาษีต้องใช้เอกสารอะไรบ้าง

    เอกสารที่เราต้องเตรียมสำหรับการขอเงินคืนภาษีมีอะไรบ้าง ?.
    หนังสือรับรองเงินเดือนและการหักภาษี หรือใบทวิ 50 ซึ่งจะได้รับจากบริษัท.
    ประกันต่าง ๆ เช่น ประกันชีวิต, ประกันสุขภาพ เพื่อใช้ลดหย่อนภาษี.
    ลดหย่อนภาษีจากค่าใช้จ่ายของบุตรโดยใช้เอกสารรับรองบุตรและทะเบียนสมรส.

    ยื่นภาษี 2565 ใช้เอกสารอะไรบ้าง

    เอกสารที่เกี่ยวข้องกับการลดหย่อนภาษี 2565 เช่น หนังสือรับรองการจ่ายเบี้ยประกันชีวิต, หนังสือรับรองการจ่ายกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ, หนังสือรับรองการซื้อหน่วยลงทุนใน RMF, เอกสารยืนยันสิทธิ์ค่าลดหย่อนบิดามารดา (ใบ ล.ย. 03) หรือเอกสารยืนยันสิทธิ์ลดหย่อนค่าอุปการะเลี้ยงดูคนพิการหรือคนทุพพลภาพ (ใบ ล.ย. 04) ฯลฯ

กระทู้ที่เกี่ยวข้อง

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

แปลภาษาไทย ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน อาจารย์ ตจต ศัพท์ทหาร ภาษาอังกฤษ pdf lmyour แปลภาษา ชขภใ ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมฟรี 2566 ขขขขบบบยข ่ส ศัพท์ทางทหาร military words หนังสือราชการ ตัวอย่าง หยน แปลบาลีเป็นไทย ไทยแปลอังกฤษ ประโยค การไฟฟ้านครหลวง การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ข้อสอบโอเน็ต ม.3 ออกเรื่องอะไรบ้าง พจนานุกรมศัพท์ทหาร เมอร์ซี่ อาร์สยาม ล่าสุด แปลภาษามลายู ยาวี Bahasa Thailand กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมออนไลน์ การ์ดจอมือสอง ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย คะแนน o-net โรงเรียน ค้นหา ประวัติ นามสกุล บทที่ 1 ที่มาและความสําคัญของปัญหา ร. ต จ แบบฝึกหัดเคมี ม.5 พร้อมเฉลย แปลภาษาอาหรับ-ไทย ใบรับรอง กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน PEA Life login Terjemahan บบบย มือปราบผีพันธุ์ซาตาน ภาค2 สรุปการบริหารทรัพยากรมนุษย์ pdf สอบโอเน็ต ม.3 จําเป็นไหม เช็คยอดค่าไฟฟ้า แจ้งไฟฟ้าดับ แปลภาษา มาเลเซีย ไทย แผนที่ทวีปอเมริกาเหนือ ่้แปลภาษา Google Translate กระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ 8 ขั้นตอน ก่อนจะนิ่งก็ต้องกลิ้งมาก่อน เนื้อเพลง ข้อสอบโอเน็ตม.3 มีกี่ข้อ คะแนนโอเน็ต 65 ตม กรุงเทพ มีที่ไหนบ้าง