วงแชมเบอร์มิวสิคมีลักษณะอย่างไร

วาทยกร (Conductor) หรือ เรียกว่า ผู้อำนวยเพลง คือผู้ที่ทำหน้าที่ควบคุมวงดนตรี ต้องที่ด้านหน้าวงดนตรี เพื่อกำกับจังหวะ กำกับลีลา และกำกับความดังเบาของบทเพลงที่บรรเลงอยู่ เป็นผู้เชื่อมโยงอารมณ์ และความรู้สึกของผู้ประพันธ์เพลงไปสู่ผู้ฟังเพลง

เชมเบอร์มิวสิก


                            เชมเบอร์มิวสิกเป็นการบรรเลงเพลงโดยวงเล็กๆ จึงมีความแตกต่างจากออร์เคสตร้าโดยสิ้นเชิงสุนทรีย์ของเชมเบอร์มิวสิกมุ่งไปสู่ความเด่นชัดของสีสันของเครื่องดนตรีสำหรับวงเล็ก ๆ ประเภททริโอ ควอเทท ควินเทท จนถึงวงประเภท ๗-๘ คนเท่านั้น ดังนั้นความเด่นชัดของเครื่องดนตรีแต่ละประเภทจึงเป็นเอกลักษณะเฉพาะของเพลงประเภทนี้ นอกจากนั้น การประสานความสัมพันธ์ในการบรรเลงเพลงจนเป็นหนึ่งเดียวกันก็เป็นเสน่ห์ที่ผู้ฟังจะได้สัมผัสกับดนตรีประเภทเชมเบอร์มิวสิก เพราะแต่ละวงจะมีการการฟังเพลงประเภทเชมเบอร์มิวสิกต้องการความรู้ความเข้าใจเช่นเดียวกับการฟังเพลงคลาสสิกประเภทอื่น ๆ อย่างไรก็ตาม เนื่องจากเพลงประเภทนี้ใช้ผู้เล่นเพียงไม่กี่คน ย่อมไม่สามารถสร้างอารมณ์ความรู้สึกของดนตรีได้อย่างเพลงที่บรรเลงโดยวงออร์เคสตร้า เช่น ความมีพลัง สีสัน หรือเสียงของ วงประสานเสียงที่ร้องไปกับวงออร์เคสตร้า ทำให้รู้สึกยิ่งใหญ่ มโหฬาร แต่สิ่งที่จะได้รับจากเพลงประเภทเชมเบอร์มิวสิก จะเป็นในลักษณะลักษณะของเสียงดนตรีที่แท้จริง ในด้านคุณภาพของการเล่น เพราะถ้ามี ผู้เล่นผิดพลาดจะได้ยินอย่างเด่นชัด ฉะนั้น การบรรเลงประเภทนี้ ผู้บรรเลงต้องมีความถูกต้อง และสามารถถ่ายทอดอารมณ์ความรู้สึกของเพลงได้อย่างกระจ่างแจ่มชัดแจ้งจริง ๆ นอกจากนี้ ความเป็นหนึ่งในการบรรเลงเพลงซึ่งเป็นความหมายของคำว่า Ensemble คือ ความพร้อมเพียงของผู้บรรเลง เป็นสิ่งที่การบรรเลงเพลงประเภทนี้ต้องการเป็นอย่างยิ่ง ไม่ใช่เฉพาะความถูกต้องในการบรรเลงของแต่ละคนเท่านั้น ความถูกต้อง ความเป็นหนึ่งของทั้งวง ย่อมจะต้องมีอยู่อย่างครบครัน สิ่งเหล่านี้เป็นสิ่งที่ได้จาการฟังเพลงประเภทเชมเบอร์มิวสิก ซึ่งต่างไปจากเพลงที่บรรเลงโดยวงออร์เคสตร้าโดยปกติการผสมวงแบบเชมเบอร์มิวสิก จะมีนักดนตรีตั้งแต่ ๒ คนขึ้นไป จนถึง ๙ คน และวงดนตรีจะมีชื่อต่าง ๆ ตามจำนวนของผู้บรรเลง เช่น
ผู้บรรเลง ๒ คน เรียก ดูโอ (Duo) เช่น เล่น Violin กับ Piano ฯลฯ
ผู้บรรเลง ๓ คน เรียก ทริโอ(Trio) เช่น เล่น Piano ๓ หลัง หรือ Piano ๒ กับ Flute ฯลฯ
ผู้บรรเลง ๔ คน เรียกว่า ควอเทท (Quartet) เช่น String Quartet ประกอบด้วยไวโอลิน ๒ คัน
วิโอลา ๑ คัน และ เชลโล ๑ คัน
ผู้บรรเลง ๕ คน เรียกว่า ควินเทท (Quintet) เช่น บทบรรเลง Quintet For two Pianos, Cello and Violin, etc.
ผู้บรรเลง ๖ คน เรียกว่า เซ็กเทท (Sextet)
ผู้บรรเลง ๗ คน เรียกว่า เซ็พเทท (Septet)
ผู้บรรเลง ๘ คน เรียกว่า อ็อคเทท (Octet)
ผู้บรรเลง ๙ คน เรียกว่า โนเนท (Nonet)


สุนทรีย์ของเชมเบอร์มิวสิกซ้อมกันอย่างดี จนบรรเลงร่วมกันอย่างรู้ใจ คล้ายกับเป็นเครื่องดนตรีเพียงเครื่องเดียวที่มีความหลากหลาย ด้วยเหตุนี้สุนทรีย์ของเชมเบอร์มิวสิกจึงอยู่ที่ความเด่นชัด ยอดเยี่ยมของผู้บรรเลงซึ่งนำเสนอจากโสตศิลป์ อันเป็นการสร้างสรรค์ของผู้ประพันธ์เพลง แม้ความมีพลัง ความยิ่งใหญ่ เช่นวงออร์เคสตร้า จะหาไม่ได้จากวงเชมเบอร์มิวสิก แต่ความเด่นชัดเฉพาะตัวของเสียงเครื่องดนตรีแต่ละเครื่อง กลับเป็นความงดงามที่เชมเบอร์มิวสิก สามารถให้กับผู้ชมได้อย่างเต็มเปี่ยมการสอดประสานสัมพันธ์ และการบรรเลงเป็นผู้นำสอดสลับรับกันไปของเครื่องดนตรีแต่ละเครื่องในวงเชมเบอร์มิวสิกเป็นความสวยงามอีกประการหนึ่งที่ผู้ฟังเพลงประเภทนี้จะได้รับ ส่วนในการฟังเพลงเชมเบอร์มิวสิกประเภทสตริงควอเททมิได้นำเสนอสีสันที่แตกต่างมากนักเพราะเครื่องดนตรีแต่ละเครื่อง คือเครื่องสาย ลีลาของเพลง จังหวะ ท่วงทำนองเทคนิคของการบรรเลง และองค์ประกอบดนตรีอื่น ๆเป็นความเฉพาะตัว และเป็นสุนทรีย์ของสตริงควอเททสำหรับวงประเภทอื่นๆ ที่มีดนตรีประเภทอื่นเข้ามาผสม เช่น
เปียโนควินเทท คลาริเนทควินเทท เปียโนทริโอ เป็นต้น ย่อมให้สีสันเพิ่มขึ้นผู้ฟังจึงสามารถสรรเลือกฟังเพลงประเภทเชมเบอร์มิวสิกที่หลากหลายได้ส่วนวงดนตรีประเภท เชมเบอร์ออร์เคสตร้า ที่มักจะมีเฉพาะเครื่องสายเท่านั้น ได้แก่ ไวโอลิน วิโอลา เชลโล และดับเบิลเบส และมีผู้บรรเลงประมาณ ๑๖-๒๐ คน เป็นเชมเบอร์มิวสิกอีกประเภทหนึ่งที่น่าฟัง เพราะจะมีความมีพลังของออร์เคสตร้าปรากฏอยู่ แม้จะไม่มากเท่ากับวงออร์เคสตร้าโดยตรง ขณะเดียวกันก็มีความเด่นชัดของเครื่องดนตรีบ้าง แม้จะเทียบกับวงเชมเบอร์มิวสิกวงเล็ก ๆไม่ได้ แต่เป็นความลงตัวที่อยู่ระหว่างเพลงทั้งสองประเภท จึงมีความน่าสนใจและมีสุนทรีย์ในตัวเองอย่างเด่นชัดเช่นกันความเข้าใจในองค์ประกอบของดนตรี และความเข้าใจในเพลงเชมเบอร์มิวสิกประเภทวงเล็ก ๆ เป็นรากฐานสำคัญในการฟังเพลงประเภทนี้ให้เข้าถึงสุนทรีย์และความซาบซึ้ง ผู้ประสงค์จะฟังเพลงประเภทนี้ จึงควรศึกษาหาความรู้เรื่องเชมเบอร์มิวสิกมากพอสมควรในระยะเริ่มต้นของการฟัง เพื่อพัฒนาการรับรู้ของตนเองให้เข้าถึงสุนทรีย์ของเชมเบอร์มิวสิกอย่างถ่องแท้ต่อไป


เครื่องดนตรีที่ใช้



นิยมใช้บรรเลงที่ห้องโถงที่ไม่ใหญ่มากนักมีชื่อเรียกตามแบบต่างๆกันออกไปจามจำนวนผู้บรรเลงดังนี้

  1. ดูโอ ( duo ) มีผู้แสดงจำนวน 2 คน เช่น ผู้เล่นไวโอลิน 2 คน นักร้อง 2 คน หรือ กีตาร์ 1 คน กับขลุ่ยรีคอร์เดอร์ 1 คน

  2. ทรีโอ ( trio ) มีผู้แสดงจำนวน 3 คน เช่น ผู้เล่นไวโอลิน 2 คน วิโอลา 1 คน หรือ นักร้องประสานเสียง 3 คน

  3. ควอเต็ต ( quartet ) มีผู้แสดงจำนวน 4 คน เช่น เครื่องสาย 4 ชิ้น คือผู้เล่นไวโอลิน 2 คน วิโอลา 1 คน และ เชลโล 1 คน

  4. ควินเต็ต ( quintet ) มีผู้แสดงจำนวน 5 คน เช่น วงเครื่องเป่าทองเหลือง 5 ชิ้น คือ ผู้เล่นทรัมป็ด 2 คน ฮอร์น 1 คน ทรอมโบน 1 คน ทูบา 1 คน

  5. เซ็กเต็ต ( sextet ) มีผู้แสดงจำนวน 6 คน เช่น นักร้องประสานเสียง 6 คน

  6. เซ็ปเต็ต ( septet ) มีผู้แสดงจำนวน 7 คน เช่น ผู้เล่นไวโอลิน วิโอลา ฮอร์น คลาริเน็ต บาสซูน เชลโล และ ดับเบิลเบส อย่างละ 1 คน

  7. อ๊อกเต็ต ( octet ) มีผู้แสดงจำนวน 8 คน เช่น ประกอบด้วยผู้เล่น ไวโอลิน วิโอลา เชลโล ดับเบิลเบส คลาริเน็ต บาสซูน ฮอร์น อย่างละ 1 คน

  8. โนเน็ต ( nonet ) มีผู้แสดงจำนวน 9 คน ประกอบด้วย วงสตริงควอเต็ต ( 4 คน ) แล้วเพิ่ม ฟลุท โอโบ คลาริเน็ต บาสซูน ฮอร์น รวมเป็น 9 คน ( เปียโน 1 คน )

เพลงที่ใช้บรรเลงในวงนี้เป็นบทประพันธ์แบบสั้นๆ ต้องการแสดงความโดดเด่น เทคนิคต่างๆ ในการบรรเลงและการประสานเสียงของเครื่องดนตรีที่บรรเลงร่วมกัน ส่วนใหญ่นิยมใช้เครื่องดนตรีประเภทเครื่องสายเป็นสำคัญ


แหล่งที่มา //www.culture.go.th/subculture7/index.php?option=com_content&view=article&id=37:-chamber-music&catid=7:2010-09-01-10-08-02&Itemid=14

                  //th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%94%E0%B8%99%E0%B8%95%E0%B8%A3%E0%B8%B5%E0%B9%81%E0%B8%8A%E0%B8%A1%E0%B9%80%E0%B8%9A%E0%B8%AD%E0%B8%A3%E0%B9%8C

วงเชมเบอร์ มีลักษณะเป็นอย่างไร

ดนตรีเชมเบอร์ (อังกฤษ: chamber music) หมายถึง ดนตรีจากวงดนตรีขนาดเล็กที่เหมาะสำหรับบรรเลงในห้อง เป็นดนตรีที่มีผู้บรรเลงน้อยคนตั้งแต่ 2–3 คน หรืออย่างมาก 5–9 คน เพลงที่ใช้สำหรับวงดนตรีเชมเบอร์มักจะเป็นเพลงบรรเลง (instrumental music)

วงแชมเบอร์มิวสิคมีลักษณะเด่นชัดในการบรรเลงตามข้อใด

เนื่องจากดนตรีประเภทนี้ใช้ผู้เล่นเพียงไม่กี่คน ฉะนั้นเสียงที่ออกมาจะยิ่งใหญ่มโหฬารหรือความมีพลัง อย่างวงออร์เคสตราก็ทำไม่ได้ ลักษณะเด่นของวงดนตรีประเภทนี้ก็คือเสียงดนตรีที่แท้จริง สำหรับด้านคุณภาพของการเล่นนั้นผู้เล่นต้องใช้ความสามารถอย่างเต็มที่ผู้ใดเล่นผิดพลาดจะได้ยินอย่างเด่นชัด ความถูกต้องความเป็นอันหนึ่งอัน ...

วงแชมเบอร์มิวสิค" ที่มีชื่อเรียกว่าอย่างไร

ในกรณีที่กลุ่มนักดนตรีไม่ว่าชนิดที่มีเฉพาะผู้เล่นเครื่องสายล้วน ๆ และมีผู้เล่นเครื่องลมผสมอยู่บ้างแต่รวมแล้ว ไม่เกิน 30 คน โดยสัดส่วนของวงเช่นเดียวกับวงออร์เคสตรา กลุ่มนักดนตรีนี้ก็จะเรียกว่า " วงออร์เคสตราแชมเบอร์มิวสิค" (Chamber Orchestra)

วงแชมเบอร์มิวสิคใช้ในโอกาสใด

วงแชมเบอร์มิวสิคปัจจุบันนิยมใช้บรรเลงในงานที่เป็นทางการหรืองานเลี้ยงต่าง ๆ บทเพลงที่ใช้บรรเลงก็ไม่ใช้เฉพาะเพลงคลาสสิคเท่านั้น นิยมใช้บทเพลงง่าย ๆ ทั่วไป 4.วงแจ๊ส (Jazz Band)

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

แปลภาษาไทย ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน อาจารย์ ตจต ศัพท์ทหาร ภาษาอังกฤษ pdf lmyour แปลภาษา ชขภใ ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมฟรี 2566 ขขขขบบบยข ่ส ศัพท์ทางทหาร military words หนังสือราชการ ตัวอย่าง หยน แปลบาลีเป็นไทย ไทยแปลอังกฤษ ประโยค การไฟฟ้านครหลวง การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ข้อสอบโอเน็ต ม.3 ออกเรื่องอะไรบ้าง พจนานุกรมศัพท์ทหาร เมอร์ซี่ อาร์สยาม ล่าสุด แปลภาษามลายู ยาวี Bahasa Thailand กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมออนไลน์ การ์ดจอมือสอง ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย คะแนน o-net โรงเรียน ค้นหา ประวัติ นามสกุล บทที่ 1 ที่มาและความสําคัญของปัญหา ร. ต จ แบบฝึกหัดเคมี ม.5 พร้อมเฉลย แปลภาษาอาหรับ-ไทย ใบรับรอง กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน PEA Life login Terjemahan บบบย มือปราบผีพันธุ์ซาตาน ภาค2 สรุปการบริหารทรัพยากรมนุษย์ pdf สอบโอเน็ต ม.3 จําเป็นไหม เช็คยอดค่าไฟฟ้า แจ้งไฟฟ้าดับ แปลภาษา มาเลเซีย ไทย แผนที่ทวีปอเมริกาเหนือ ่้แปลภาษา Google Translate กระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ 8 ขั้นตอน ก่อนจะนิ่งก็ต้องกลิ้งมาก่อน เนื้อเพลง ข้อสอบโอเน็ตม.3 มีกี่ข้อ คะแนนโอเน็ต 65 ตม กรุงเทพ มีที่ไหนบ้าง