แผนที่ดาวประกอบด้วยอะไรบ้าง

แผนที่ดาวแบบหมุน แผนที่ฟ้า (Planisphere)

[1]. แผนที่ดาว แผนที่ฟ้า แบบหมุน (Planisphere) มีส่วนประกอบหลัก 2 ส่วน คือ

แผ่นแผนที่ดาว แผ่นล่างหมุนได้ ขอบด้านนอกมีสเกลวันที่และเดือน ตรงกลางแสดงแผนที่ดาวพร้อมรายละเอียด เช่น

● เส้นสุริยวิถี/รวิมรรค (Ecliptic) เส้นสีแดงมีวันที่และเดือน พร้อม จุดเริ่มต้นจักรราศี โดยสัญลักษณ์ราศีสีเขียว จักราศีสายนะ (Tropical Zodiac) และสัญลักษณ์ราศีสีน้ำเงิน จักราศีนิรายนะ (Sidereal Zodiac)

● เส้นศูนย์สูตรฟ้า (Celestrial Equator) เส้นสีน้ำเงินใกล้เส้นสุริยวิถี

● จุดดาว ขนาดใหญ่เล็กตามโชติมาตร จุดใหญ่ดวงดาวมีความสว่างมากกว่าจุดเล็ก , โชติมาตร (Star Magnitude)

● กลุ่มดาวจักรราศี กลุ่มดาว 12 ราศีอยู่ใกล้เส้นสุริยวิถี

● กลุ่มดาวสำคัญ ๆ ทั้ง 88 กลุ่มตามสหพันธ์ดาราศาสตร์สากล (The International Astronomical Union - IAU)

● ทางช้างเผือก แถบสีเทาพาดผ่านกลุ่มดาวต่าง ๆ โดยจุดศูนย์กลางอยู่บริเวณกลุ่มดาวแมงป่อง

แผ่นขอบฟ้า แผ่นบน ขอบด้านนอกมีสเกลเวลาชั่วโมงและนาที ตรงกลางแสดงเส้นและจุดสำคัญต่าง ๆ เช่น

● เส้นขอบฟ้า (Horizon) แนวเส้นขอบท้องฟ้าที่จรดพื้นราบ ในแผนที่ดาว คือขอบกรอบตรงกลางด้านล่าง

● เส้นมุมทิศ (Azimuth) ในแผนที่ดาว คือเส้นแนวตั้งสีเขียว ด้านล่างมี องศาและทิศ

มุมทิศ (Azimuth) มุมในระบบพิกัดขอบฟ้า (Horizontal Coordinates) มุมทิศเป็นมุมในแนวราบขนานกับเส้นขอบฟ้า (Horizon) มีค่าระหว่าง 0 - 360° นับ 0° จากทิศเหนือ ตามเข็มนาฬิกา ไปยังทิศตะวันออก ทิศใต้ ทิศตะวันตก และกลับมายังทิศเหนืออีกครั้งตามลำดับ เช่น ทิศเหนือ 0° , ทิศตะวันออก 90° , ทิศใต้ 180° , ทิศตะวันตก 270° , ทิศตะวันออกเฉียงเหนือ 45°

● เส้นมุมเงย (Altitude) ในแผนที่ดาว คือเส้นแนวนอนสีเขียว มุมเงย 0° เป็นเส้นขอบฟ้า แผนที่แสดงเส้นมุมเงย 15°, 30°, 45°, 60°, 75°

มุมเงย (Altitude) มุมในระบบพิกัดขอบฟ้า (Horizontal Coordinates) มุมเงยเป็นมุมในแนวดิ่งที่ใช้บอกความสูงของวัตถุบนท้องฟ้า มีค่าระหว่าง 0 - 90° นับ 0° ที่เส้นขอบฟ้า (Horizon) จนถึงจุดจอมฟ้า (Zenith) หรือ 90° ในกรณีที่มุมเงยมีค่า น้อยกว่า 0° หรืออยู่ระหว่าง 0° ถึง - 90° หมายถึง ณ เวลานั้น ๆ วัตถุบนท้องฟ้า ดวงดาวยังไม่ขึ้น ยังอยู่ต่ำกว่าเส้นขอบฟ้า (0°) และไม่สามารถมองเห็นได้

● จุดจอมฟ้า (Zenith) จุดเหนือศีรษะ ในแผนที่ดาว คือจุดมุมเงย 90° จุดรวมของเส้นมุมทิศ

● เส้นเมอริเดียน (Zenith) ในแผนที่ดาว คือเส้นสีเขียว ลากจากขอบฟ้า ทิศเหนือ 0° ผ่านจุดจอมฟ้า ไปยังขอบฟ้าทิศใต้ 180°

[2]. แผนที่ดาวชุดนี้มี 2 หน้า คือ หน้าขั้วฟ้าเหนือ (Northern Hemisphere / North Celestial Pole) และ ซีกฟ้าใต้ (Southern Hemisphere) สามารถตั้งค่าได้ (หากเป็นแผนที่ดาวจริงให้พลิกอีกด้าน) การใช้งานอาจเรียกแผนที่ดาวตามลักษณะของเส้นขอบฟ้า ที่โค้งต่างกัน เช่น เรียกหน้าขั้วฟ้าเหนือว่า "หน้ายิ้ม" และเรียกหน้าซีกฟ้าใต้ว่า "หน้าบึ้ง"

[3]. การเลือกใช้แผนที่ดาว ให้เลือกตามละติจูดที่สังเกตุการณ์ เช่น กรุงเทพฯ ตั้งอยู่ที่ละติจูด 13.75° N ให้ตั้งค่าละติจูดให้ตรงกันหรือใกล้เคียง เช่น 13-14° N หากเป็นแผนที่ดาวที่มีวางจำหน่ายให้เลือกละติจูดที่ใกล้เคียงที่สุด เช่น 14 - 15° N , การดูว่าแผนที่ดาวเหมาะกับละติจูดที่ใช้สังเกตุการณ์หรือไม่นั้น ให้สังเกตหมุดหมุนตรงกลางแผนที่ดาว (North Celestial Pole) ตรงกับเส้นมุมเงย เช่น แผนที่ดาว ละติจูด 15° N ในหน้าขั้วฟ้าเหนือ หมุดตรงกลางอยู่ตรงกับเส้นมุมเงย 15° พอดี

[4]. แผนที่ดาวหรือแผนที่ฟ้าชุดนี้ คำนวณตำแหน่งดาวจริง ตำแหน่งอาทิตย์จริง (J2020) , การสร้างแผนที่ดาวใช้วิธีการคำนวณโปรเจคชั่นจากทรงกลมฟ้า (Celestial Sphere Projection) มีข้อที่ควรทราบคือ ดาวที่อยู่ใกล้ขั้วฟ้าเหนือ (ในแผนที่ดาวขั้วฟ้าเหนือ) อยู่ใกล้กันกว่าระยะจริง ส่วนดาวซีกฟ้าใต้ หรือที่อยู่เลยเส้นมุมทิศ 90°-270° ห่างเกินระยะจริง ในแผนที่ดาวซีกฟ้าใต้ก็คล้ายกัน

วิธีการใช้แผนที่ดาวแบบหมุน แผนที่ฟ้า เบื้องต้น

[1]. ก่อนอื่นต้องทราบ วันที่ เดือน และ เวลาที่สังเกตุการณ์ รวมถึงทิศทางท้องฟ้าว่าเป็นขั้วฟ้าเหนือ หรือ ซีกฟ้าใต้

[2]. ตัวอย่าง ดูดาวขั้วฟ้าเหนือ วันที่ 1 กุมภาพันธ์ เวลา 21:00น. ใช้แผนที่หน้ายิ้ม ขั้วฟ้าเหนือ (Northern Hemisphere) โดยมองหาขีดวันที่ 1 กุมภาพันธ์ ในแผนที่ดาวแผ่นล่าง และ มองหาขีดเวลา 21:00น. ในแผ่นขอบฟ้าแผ่นบน เมื่อไดตำแหน่งขีดแล้วให้หมุนขีดวันที่ 1 กุมภาพันธ์ ( คลิ๊ก

❮❮

หรือ

❯❯

 

) ให้ตรงกับขีดเวลา 21:00น. ก็ได้แผนที่ดาว ณ. วันเวลานั้น ๆ

[3]. หันหน้าไปทางทิศเหนือ ยกแผนที่ดาวไว้ตรงหน้า ให้ทิศเหนือ (0°) ในแผนที่ตรงกับ ทิศเหนือตามสถานที่สังเกตุการณ์ โดยทิศตะวันออกอยู่ด้านขวามือ และทิศตะวันตกอยู่ด้านซ้ายมือ ด้านหลังเป็นทิศใต้

[4]. การสังเกตการณ์ให้เริ่มจากดาวที่สว่างมาก เปรียบเทียบตำแหน่งกับจุดดาวสีดำใหญ่ในแผนที่ดาว เมื่อหาดาวหลักได้แล้ว ค่อยเปรียบเทียบหาตำแหน่งดาวอื่น ๆ , การหาตำแหน่งดาวอาจต้องมีการวัดมุมดาว มุมทิศ มุมเงย เปรียบเทียบตำแหน่งในแผนที่ดาว ให้ดู

วิธีการวัดมุมดาวด้วยมือ

[5]. ระหว่างใช้แผนที่ขั้วฟ้าเหนือ หากต้องการดูดาวทาง ทิศตะวันออก 90° และ ทิศตะวันตก 270° ให้ห้นหน้าไปทางขวามือทิศตะวันออก หรือทางซ้ายมือตะวันตก หาตำแหน่งดาววัดมุมดาว มุมทิศ มุมเงย เปรียบเทียบตำแหน่งในแผนที่ดาว

[6]. ดูดาวซีกฟ้าใต้ ใช้แผนที่หน้าบึ้ง ซีกฟ้าใต้ (Southern Hemisphere) หมุนวันเวลาตามข้อ [2] (กรณีวันเวลาเดียวกันกับขั้วฟ้าเหนือให้พลิกแผนที่อีกด้าน) หันหน้าไปทางทิศใต้ ยกแผนที่ดาวไว้ตรงหน้า ให้ทิศใต้ (180°) ในแผนที่ตรงกับ ทิศใต้ตามสถานที่สังเกตุการณ์ หาตำแหน่งดาวแบบเดียวกับดูดาวขั้วฟ้าเหนือ , เรียกแผนที่ดาวซีกฟ้าใต้ (Southern Hemisphere) เพราะละติจูดที่สังเกตุการณ์เหนือเส้นศูนย์โลก จึงไม่สามารถมองเห็นขั้วฟ้าใต้ (South Celestial Pole)

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

แปลภาษาไทย ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน อาจารย์ ตจต ศัพท์ทหาร ภาษาอังกฤษ pdf lmyour แปลภาษา ชขภใ ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมฟรี 2566 ขขขขบบบยข ่ส ศัพท์ทางทหาร military words หนังสือราชการ ตัวอย่าง หยน แปลบาลีเป็นไทย ไทยแปลอังกฤษ ประโยค การไฟฟ้านครหลวง การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ข้อสอบโอเน็ต ม.3 ออกเรื่องอะไรบ้าง พจนานุกรมศัพท์ทหาร เมอร์ซี่ อาร์สยาม ล่าสุด แปลภาษามลายู ยาวี Bahasa Thailand กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมออนไลน์ การ์ดจอมือสอง ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย คะแนน o-net โรงเรียน ค้นหา ประวัติ นามสกุล บทที่ 1 ที่มาและความสําคัญของปัญหา ร. ต จ แบบฝึกหัดเคมี ม.5 พร้อมเฉลย แปลภาษาอาหรับ-ไทย ใบรับรอง กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน PEA Life login Terjemahan บบบย มือปราบผีพันธุ์ซาตาน ภาค2 สรุปการบริหารทรัพยากรมนุษย์ pdf สอบโอเน็ต ม.3 จําเป็นไหม เช็คยอดค่าไฟฟ้า แจ้งไฟฟ้าดับ แปลภาษา มาเลเซีย ไทย แผนที่ทวีปอเมริกาเหนือ ่้แปลภาษา Google Translate กระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ 8 ขั้นตอน ก่อนจะนิ่งก็ต้องกลิ้งมาก่อน เนื้อเพลง ข้อสอบโอเน็ตม.3 มีกี่ข้อ คะแนนโอเน็ต 65 ตม กรุงเทพ มีที่ไหนบ้าง