การบริโภคทางเศรษฐศาสตร์หมายถึงข้อใด

การบริโภค

     การบริโภค หมายถึง การใช้ประโยชน์จากสินค้าและบริการเพื่อสนองความต้องการของมนุษย์ การบริโภคไม่ได้หมายความถึงการรับประทานอาหารอย่างที่คนทั่วไปเข้าใจแต่เพียงอย่างเดียว การใช้สินค้าอื่นๆ และการใช้บริการอย่างใดอย่างหนึ่ง ก็คือการบริโภคด้วยเช่นกัน เช่น การไปพบแพทย์เมื่อยามเจ็บป่วย การพักโรงแรม การท่องเที่ยว การขนส่ง การประกันภัย เป็นต้น ดังนั้นจึงสรุปได้ว่า การกระทำทั้งหลายอันทำให้สินค้าหรือบริการอย่างใดอย่างหนึ่งสิ้นเปลืองไปเพื่อเป็นประโยชน์แก่มนุษย์ ไม่ว่าจะโดยทางตรงหรือทางอ้อม ถือเป็นการบริโภคทั้งสิ้น

แบ่งตามลักษณะของสินค้าสามารถแบ่งเป็น 2 ประเภท คือ
1. การบริโภคสินค้าไม่คงทน (nondurable goods consumption) คือการบริโภคสิ่งของชนิดใดชนิดหนึ่งแล้วสิ่งของชนิดนั้นจะสิ้นเปลืองหรือใช้หมดไป การบริโภคลักษณะนี้เรียกว่า destruction เช่น การบริโภคน้ำ อาหาร ยารักษาโรค น้ำมันเชื้อเพลิง ฯลฯ
2. การบริโภคสินค้าคงทน (durable goods consumption) คือการบริโภคสิ่งของอย่างใด อย่างหนึ่งโดยสิ่งของนั้นยังคงใช้ได้อีก การบริโภคลักษณะนี้เรียกว่า diminution เช่น การอาศัยบ้านเรือน การใช้รถยนต์ พัดลม โทรทัศน์ ฯลฯ อย่างไรก็ตาม ถึงแม้ว่าสินค้าคงทนเหล่านี้จะใช้แล้วไม่หมดไปในทีเดียว แต่ก็จะค่อยๆสึกหรอไป จนในที่สุดจะไม่สามารถนำมาใช้ได้อีก ปัจจัยที่ใช้กำหนดการบริโภค

หลักในการเลือกซื้อสินค้าหรือบริการใดๆต้องคำนึงถึงความพึงพอใจสูงสุดที่ผู้บริโภคจะได้รับความพึงพอ ใจ ที่ผู้บริโภคจะได้รับ ได้แก่
1. ความประหยัด คือซื้อสินค้าในปริมาณที่เหมาะสมไม่มากเกินไปจนใช้ไม่หมดหรือเหลือทิ้ง และเป็น สินค้าที่จำเป็นต้องใช้ไม่ควรซื้อตามกระแสนิยม
2. ประโยชน์ คือ สินค้าหรือบริการนั้นซื้อมาแล้วให้ประโยชน์ ความสะดวกสบาย คุ้มค่า เช่น หม้อหุงข้าวไฟฟ้า
3. ราคายุติธรรม เป็นสินค้าหรือบริการที่มีราคาไม่แพงจนเกินไปผู้ผลิตไม่เอาเปรียบผู้บริโภค ในด้านราคา
4. คุณภาพ ต้องเป็นสินค้าที่มีคุณภาพดีได้มาตรฐานในปัจจุบันสินค้าและบริการส่วนใหญ่เป็นตลาด ของผู้บริโภค หมายถึง ผู้บริโภค ที่มีสิทธิ์เลือก ซื้อได้ตามราคาและคุณภาพได้ตามที่ตนพอใจ
5. ความปลอดภัย สินค้าหรือบริการนั้นๆ ต้องไม่เป็นอันตายแก่ผู้บริโภค เช่น อาหารสำเร็จรูปอาหาร กระป๋อง ต้องไม่มีสารเคมี หรือหมดอายุเสื่อคุณภาพแล้ว

ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการบริโภค

1. อาหารที่มีในท้องถิ่น หากท้องถิ่นใดมีอาหารบริบูรณ์ คนในท้องถิ่นนั้นย่อมมีโอกาสจะได้
บริโภคอาหารที่มีคุณค่าเพียงพอแก่ความต้องการของร่างกาย ท้องถิ่นใดขาดแคลนอาหาร คนในท้องถิ่นก็จำเป็นต้องกินอย่างจำกัด
2. ฐานะทางเศรษฐกิจ แต่ละครอบครัวจะสามารถซื้ออาหารที่มีขายในท้องตลาดมารับประทานได้มากน้อยเพียงไร และซื้ออาหารจำพวกใดบ้างนั้นส่วนหนึ่งขึ้นอยู่กับรายได้ของครอบครัว
3. ความเคยชินในการรับประทานของครอบครัว การรับประทานของแต่ละครอบครัวนั้นบางคราวมีเหตุผลเบื้องหลังที่เกี่ยวกับเชื้อชาติ ศาสนา และขนบธรรมเนียมประจำชาติ หรือความเชื่อของ
ครอบครัวนั้น ๆ รวมทั้งนิสัยที่สืบเนื่องกันมาหลายชั่วคน
4. ขนบธรรมเนียมประเพณี
5. ภาวะทางอารมณ์และจิตใจ เหตุการณ์ที่ก่อให้เกิดความสุขหรือทุกข์ หรือวุ่นวายใจ ความ
ชอบหรือไม่ชอบในอาหาร
6. ปฏิกิริยาต่อกลิ่นและรสอาหาร บุคคลแต่ละคนมีปฏิกิริยาต่อกลิ่นและรสของอาหารไม่
เหมือนกัน
7. อิทธิพลของการศึกษา ความรู้เรื่องคุณค่าของอาหาร อาจเป็นเหตุผลสำคัญในการตัดสินใจ
เลือกซื้อ การที่บุคคลนิยมรับประทานอาหาร เพราะรู้คุณค่าของอาหารนั้น แสดงให้เห็นความสำคัญของการให้ความรู้ทางโภชนาการแก่ประชาชน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในวัยเด็กอันเป็นวัยที่นิสัยในการรับประทานกำลังจะเกิดขึ้น

การวิเคราะห์พฤติกรรมผู้บริโภค

   

ผู้บริโภค คือ บุคคลที่ซื้อผลิตภัณฑ์เพื่อสนองความต้องการหรือความจำเป็ของตนเองตลอดจนบุคคลในครัวเรือน
ลักษณะของผู้บริโภค
1.เป็นบุคคลที่มีความต้องการ
2.เป็นผู้มีอำนาจซื้อ
3.มีพฤติกรรมในการซื้อ
4.มีพฤติกรรมการใช้

ปัจจัยที่เป็นตัวกำหนดการบริโภค

โดยปกติแล้วการบริโภคของคนเราทั้งในแง่ของจำนวนและคุณภาพของสินค้าและบริการจะขึ้นอยู่กับปัจจัยต่างๆ ดังนี้

1.รายได้ของผู้บริโภค

       ในที่นี้หมายถึง รายได้สุทธิของผู้บริโภค ซึ่งเป็นรายได้เมื่อหักภาษีออกแล้วรายได้ของผู้บริโภคนับว่าเป็นปัจจัยสำคัญที่สุดในการกำหนดการใช้จ่ายสำหรับการบริภค ตามปกติ ถ้าเรามีรายได้น้อยก็จ่ายเงินซื้อสินค้าและบริการมาบริโภคได้น้อย เมื่อมีรายได้เพิ่มขั้นเราก็ใช้จ่ายเงินเพิ่อการบริโภคเพิ่มขึ้นด้วย แต่จะเพิ่มในสัดส่วนที่น้อยกว่ารายได้ที่เพิ่มขึ้น ซึ่งจะทำให้มีเงินออมมากกว่าเดิม

2.นิสัยการใช้จ่ายของผู้บริโภค

      คนเรามีนิสัยการใช้เงินแตกต่างกัน คนที่มีนิสัยสุรุ่ยสุร่าย พอใจหรืออยากได้สิ่งใดก็รีบซื้อทันทีโดยไม่ได้พิจารณาถึงความจำเป็นและรายได้ของตนเอง และเก็บเงินส่วนที่เหลือไว้คนประเภทนี้จะมีความมั่นคงในการดำเนินชีวิตในอานาคต


3.ความสัมพันธ์ระหว่างการบริโภค รายได้ การออมและการลงทุน
     เราได้ทราบกันแล้วว่า การบริโภคของคนเรามีความสัมพันธ์กับรายได้โดยตรง ถ้ามีรายได้มากก็สามารถใช้จ่ายเพื่อซื้อสินค้ามาบริโภคได้มาก ตุถ้ามีรายได้น้อยก็สามารถบริโภคได้น้อย อย่างไรก็ตาม ประชาชนโดยทั่วๆไป มักจะไม่บริโภคเกินรายได้ที่เขามีอยู่ เขาจะออมเงินส่วนหนึ่งไว้เพื่อใช้จ่ายเมื่อถึงคราวจำเป็นในอนาคตโดยอาจจะนำเงินไปให้ผู้อื่นกู้ยืมหรือฝากธนาคารเพื่อได้รับผลตอบแทนในรูปดอกเบี้ย หรือนำไปลงทุนดำเนินธุรกิจด้วยตนเองในวันข้างหน้า ดังนั้น เงินที่ออมไว้ก็จะกลายเป็นเงินทุน

การใช้จ่ายเพื่ออุปโภคบริโภค (Corruption Expedition / C)

1.สินค้าประเภทถาวร (Durable goods) ได้แก่ค่าใช้จ่ายอุปโภคบริโภคสินค้าที่มีอายุการใช้งานนาน เช่น โต๊ะ เก้าอี้ เฟอร์นิเจอร์

2.สินค้าประเภทไม่ถาวร (Nondurable goods) ได้แก่ ค่าใช้จ่าย ในการบริโภคสินค้าในชีวิตประจำวัน เช่น การบริโภค อาหาร

3.บริการ (Services) ได้แก่ค่าใช้จ่ายเพื่อให้ได้มาซึ่งบริการต่าง ๆ เช่น การชมภาพยนต์ ดังนั้น C (เพิ่มขึ้น) > AD(เพิ่มขึ้น) > I (เพิ่มขึ้น) > จ้างงาน (เพิ่มขึ้น) > Y (เพิ่มขึ้น)

ปัจจัยที่กำหนดการบริโภคมวลรวมและการออมมวลรวม

1.รายได้ที่ใช้จ่ายได้จริง (Disposable Income / DI / Yd)
    Yd (เพิ่มขึ้น) > C (เพิ่มขึ้น) และ S (เพิ่มขึ้น) Yd (ลดลง) > C (ลดลง) และ S (ลดลง)
2 .การเปลี่ยนแปลงในอัตราภาษี (t)
    Dt (เพิ่มขึ้น) > Yd(เพิ่มขึ้น) > C (เพิ่มขึ้น) และ S (เพิ่มขึ้น) Dt (ลดลง) > Yd (ลดลง) > C (ลดลง) และ S (ลดลง)

3.อุปนิสัยของผู้บริโภค (h) 

นิสัยเป็นคนมัธยัสถ์ > C (ลดลง) นิสัยเป็นคนใช้จ่ายสุรุ่ยสุร่าย > C (เพิ่มขึ้น)
4.ภาวะแวดล้อมทางสังคม (So) สังคมใดเลียนแบบการบริโภคสูง > C (เพิ่มขึ้น)

สังคมใดรู้สึกว่าการประหยัดมัธยัสถ์เป็นสิ่งที่ดี

                   

S (เพิ่มขึ้น) 

C (ลดลง)

5.การคาดคะเนของผู้บริโภค (e)

Y e (เพิ่มขึ้น) > C (เพิ่มขึ้น) ปัจจุบัน และ S (ลดลง) 

P e (ลดลง) > C (ลดลง) ปัจจุบัน และ S (เพิ่มขึ้น)    

6. สินทรัพย์ของผู้บริโภค (A) ) ปัจจุบัน และ S (ลดลง)

Asset มีสภาพคล่องมาก > ฐานะการเงินมั่นคง > C (เพิ่มขึ้น) และ S (ลดลง) 

Asset มีสภาพคล่องน้อย > เปลี่ยนเป็นเงินสดได้ยาก > C (ลดลง) 

*** Asset มีสภาพคล่องมาก ได้แก่ ใบหุ้น, เงินสด, เงินฝากประจำ ***

สินค้าคงทนถาวร (Fixed Asset : FA) เช่น รถยนต์, ทีวี เป็นต้น 

- อาจซื้อ FA (ลดลง) ชั่วระยะเวลาหนึ่ง เนื่องจากมีใช้อยู่แล้ว 

- อาจซื้อ FA สินค้าและบริการที่ใช้ทดแทนกัน (Substitute goods) 

ลดลงก็ได้ เช่น การซื้อ T.V / การชมภาพยนต์ 

- อาจจำให้รายจ่ายในการซื้อสินค้าและบริการ ที่ใช้ประกอบกัน 

เพิ่มขึ้น เช่น การซื้อรถยนต์ > น้ำมัน (เพิ่มขึ้น) ค้าอัดฉีด 

(เพิ่มขึ้น) ค่าซ่อมแซม (เพิ่มขึ้น) แต่ทำให้ S (ลดลง)

7 สินเชื่อเพื่อการบริโภคและอัตราดอกเบี้ย (cr, I)

# ผ่อนต่ำ ดาวน์ต่ำ และ i ต่ำ > C (เพิ่มขึ้น) Q เป็นการเพิ่มอำนาจ 

ซื้อ แก่ผู้มีรายได้ต่ำ 

# i (กู้) ต่ำ > C (เพิ่มขึ้น) ; i (ฝาก) สูง > C (ลดลง) 

i (กู้) สูง > C (ลดลง) ; i (ฝาก) ต่ำ > C (เพิ่มขึ้น) 

8.การกระจายรายได้ในสังคม (d ) 

d ทั่วหน้าทุกคน > C (เพิ่มขึ้น)

9 จำนวนประชากรและโครงสร้างอายุของประชากร (Pop)

Pop (เพิ่มขึ้น) > C (เพิ่มขึ้น) 

ถ้า Pop วัยเรียน (เพิ่มขึ้น) > C เครื่องเขียนชุดนักเรียน (เพิ่มขึ้น) และ S (ลดลง) 

อุปนิสัย ของ Pop ก็ต่างกันเช่น คนกลางคนนิยมออม คนแก่ และเด็ก ชอบมีนิสัย 

ในการใช้จ่าย 

\ ถ้าประเทศไหนมีคนกลางคนมาก > S (เพิ่มขึ้น) และ C (ลดลง) ดังนั้น สรุป C = f (Yd , t, h, So, e, A, Cr, I, d, Pop…)

ฟังก์ชั่นการบริโภค (Consumption Function)

C = a + bY 

C = f (Yd) 

เราใช้คำว่า ฟังก์ชัน (function) เพราะว่าการใช้จ่ายในการอุปโภคบริโภคผันแปรไปตามระดับรายได้หลังจากหักภาษีแล้ว แสดงว่าเมื่อ C (ลดลง)

Yd (เพิ่ม) ® C (เพิ่ม) ; Yd (ลด) ®C (ลด)

C = ค่าใช้จ่ายเพื่อการอุปโภค

a = การใช้จ่ายบริโภคขณะที่รายได้เท่ากับศูนย์ เป็นอัตโนมัติ ซึ่งไม่ขึ้นอยู่กับรายได้ (มนุษย์เกิดความต้องการบริโภค แม้ขณะยังมิได้มี Y หรือ S = 0)

b = ความโน้มเอียงที่จะใช้จ่ายอุปโภค บริโภค เมื่อรายได้เพิ่มขึ้น 1 หน่วย 

(Marginal Propensity to Consume / MPC)

Y =รายได้ประชาชาติ (National Income)

ความโน้มเอียงเฉลี่ยในการบริโภค และความโน้มเอียงหน่วยสุดท้ายของการบริโภค

1 ความโน้มเอียงเฉลี่ยที่จะใช้จ่ายอุปโภคบริโภค

            (Average Propensity to Consume / APC) หมายถึง แนวโน้มที่ประชาชนจะใช้จ่ายเพื่อการบริโภคจากเงินได้ที่มีอยู่ ในแต่ละระดับ 

APC = C

Yd

2 ความโน้มเอียงหน่วยสุดท้ายในการบริโภค (Marginal Propensity to Consume / MPC)

       

หมายถึง ความสัมพันธ์ระหว่างรายได้กับการใช้จ่ายบริโภค เมื่อคนเรามีรายได้เปลี่ยนแปลงไป 1 หน่วยแล้ว การใช้จ่ายเพื่อการบริโภค บริโภค จะเปลี่ยนแปลงสักเท่าใด ซึ่งเป็นอัตราส่วนระหว่างการเปลี่ยนแปลงของการใช้จ่ายในการบริโภคกับการเปลี่ยนแปลงของรายได้

เนื่องจาก MPC = b = slope ของเส้นการบริโภค

ดังนั้น b ก็คือ ความโน้มเอียงหน่วยสุดท้ายในการบริโภคด้วย

** การออม (The Saving)**

เนื่องจาก การออม (Saving) เป็นส่วนที่เหลือจากการใช้จ่ายเพื่อบริโภคของ Pop เมื่อมี Yd จำนวนหนึ่ง

**ปัจจัยที่เป็นตัวกำหนดการออม**

1. รายได้ที่เป็นตัวเงิน (Yd) > Yd = Y – ty
      ถ้า t (เพิ่ม) > S (ลดลง)

ถ้า t (ลดลง) > S (เพิ่ม)

2. การคาดคะเนของผู้บริโภค
       Y e (เพิ่ม) >S (ลด)

Y e (ลด) >S (เพิ่ม)

3. ค่านิยมทางสังคม

ผู้บริโภคนิยมวัตถุ > C (เพิ่ม) > S (ลดลง)

**ฟังก์ชั่นการออม (The Saving Function)**

โดย –a คือ การออมในอดีตที่ถูกใช้ในการบริโภค เมื่อรายได้ที่อยู่ในมือบุคคล = 0

ความสัมพันธ์ระหว่าง S และ Yd ก็ เช่นเดียวกับ C นั้นคือ S a Yd

**ความโน้มเอียงเฉลี่ยที่จะออมทรัพย์ (The Average Propensity to save)

เป็นอัตราส่วนระหว่างเงินออมกับรายได้ 

APS = S

**ความโน้มเอียงหน่วยสุดท้ายในการออมเมื่อรายได้เพิ่มขึ้น 1 หน่วย **

(The Marginal Propensity to Save / MPS)

       

เป็นอัตราส่วนระหว่างเงินออมที่เปลี่ยนแปลงกับรายได้ที่เปลี่ยนแปลง ซึ่งจะให้คำตอบว่า เมื่อคนเรามีรายได้เปลี่ยนแปลง 1 หน่วยแล้ว การออมจะเปลี่ยนแปลงไปสักเท่าใด

การบริโภค

**ความสัมพันธ์ระหว่างความโน้มเอียงในการบริโภค กับความโน้มเอียงในการออม**

จากรูป (ก) และ (ข) มีข้อสังเกตดังต่อไปนี้

1. ณ จุด a Yd = C ; S = 0 (Break-evenpiont) จากตารางจุดนี้ Yd ที่ใช้จ่าย = 8000 บาท
2. ณ Yd1 < Yd2 มี C > Yd ดังนั้น จึ้งต้องกู้ยืมหรือนำเงินออมในอดีตมาใช้ \ S ติดลบ เท่ากับ d, f

3. ณ Yd1 > Yd2 > C ส่วนหนึ่งเหลือ S = bc

4. ณ Yd2 : APC = 1 , Yd1 : APC > 1

5. ณ Yd3 : APC < 1

จากการศึกษาถึงพฤติกรรมของผู้บริโภคตามกฎว่าด้วยการบริโภคในระยะสั้นของเคนส์ เท่าที่เราได้ศึกษามาตั้งแต่ต้น พอสรุปได้ดังนี้

1. APC และ MPC จะมีค่าเพิ่มในสัดส่วนลดลงเรื่อง ๆ เมื่อรายได้สูงขึ้น เพราะการบริโภคจะเพิ่มขึ้นในสัดส่วนที่น้อยกว่ารายได้ที่เพิ่มขึ้น ส่วน APS, MPS จะสูงขึ้นเรื่อย ๆ เมื่อรายได้เพิ่มขึ้น

2. APC + APS = 1 เสมอ หมายความว่า การที่เรามีรายได้อยู่ก้อนหนึ่งจะใช้บริโภคเสียส่วนหนึ่ง ที่เหลือจะเก็บออมไว้

3. MPC + MPS = 1 เสมอ หมายความว่า DY = DC + DS

4. MPC (ลดลง) (เส้นการบริโภคจะโค้งลง) และ MPS (เพิ่ม) เมื่อ Yd (เพิ่ม) Q DC < DY

5. 0 < MPC < 1

6. 0 < MPS < 1 

**การลงทุน (Investment)**

       

การลงทุนในความหมายทางเศรษฐกิจ “รายจ่ายในช่วงระยะเวลาหนึ่ง เพื่อซื้อสินค้าประเภทที่ผลิตขึ้นใหม่ (New fixed capital goods ) เช่น ที่อยู่อาศัย โรงงาน เครื่องจักรกล อาคารสำนักงาน ทั้งนี้รวมถึงการเปลี่ยนแปลงของปริมาณวัตถุดิบและสินค้าคงเหลือด้วย” \ การลงทุน เป็นการจัดหา หรือเพื่อการทดแทนมูลค่าของทุน ที่เสื่อมราคาไป อีกนัยหนึ่ง การลดทุนมวลรวม = การลงทุนสุทธิ + การลงทุนเพื่อทดแทน Gross Investment = Net Investment + Replacement Investment

It   =  I nt   +  I rt 

     

การซื้อหุ้นในตลาดหลักทรัพย์ การซื้อที่ดินเพื่อเกรงกำไร การซื้อสินทรัพย์และหลักทรัพย์มือสอง ในการคำนวณรายได้ประชาชาติไม่ถือเป็นรายจ่ายเพื่อการลงทุน แต่ถือเป็นการลงทุนทางการเงิน (Financial Investment ) เพราะการซื้อทรัพย์สินดังกล่าวไม่ได้ทำให้สินทรัพย์ประเภททุนในระบบเศรษฐกิจ มีจำนวนเพิ่มขึ้น ดังนั้นไม่มีผลต่อการเพิ่มผลผลิต โดยตรงระบบเศรษฐกิจ

**ปัจจัยที่กำหนดการลงทุน**

อัตราดอกเบี้ย (Rate of Interest)
i เป็น cost การผลิตรวม
i (เพิ่ม) > I (ลด); i(ลด) > I(เพิ่ม)
กำไรที่คาดว่าจะได้รับ (Expected Profit)
กำไร e มากกว่า ต้นทุน > I(เพิ่ม)
ราคาสินค้า
Pf > IRR > I(ลด)
Pc < IRR > I(เพิ่ม)
ความเจริญก้าวหน้าทางเทคโนโลยี
Tech ก้าวหน้า > ผู้นำผลิตภัณฑ์ใหม่ > ครองตลาดทำให้มี I ใหม่อยู่ตลอดเวลา
นโยบายของรัฐบาลและเสถียรภาพทางการเมือง
t (เพิ่ม) และ t ซ้ำซ้อน > cost (เพิ่ม) > ไม่สามารถแข่งขัน ในตลาดได้ทั้งตลาดในประเทศ และต่างประเทศ

ฟังก์ชั่นการลงทุน

I = f(Yd, A, B, C, D)
I = ปริมาณการลงทุน
Yd = รายได้ที่เป็นตัวเงิน
B = กำไรคาดว่าจะได้รับ
A = อัตราดอกเบี้ย
C = ความเจริญก้าวหน้าทางเทคโนโลยี

ลักษณะของการลงทุน แบ่งออกเป็น

การลงทุนโดยอิสระ (Autonomous Investment) 

เป็นการลงทุนไม่ D ตาม Yd เส้น I ขนานกับแกนนอนซึ่งวัดตาม Yd

การลงทุน

     

Ia ส่วนมากเป็นการลงทุนของรัฐบาล ซึ่งไม่หวังผลกำไรตอบแทนโดยตรง เช่น การลงทุนในทางด้านการศึกษา การลงทุนสร้างถนนหนทาง

การลงทุนโดยถูกจูงใจ (Induced Investment) จะแปรผันตามระดับเงินได้

**สิ่งที่กำหนดการลงทุน**

การตัดสินใจเพื่อการลงทุนจะต้องเปรียบเทียบกับดอกเบี้ยและผลตอบแทนเรียกว่า ประสิทธิภาพของเงินลงทุนหน่วยที่เพิ่มขึ้น (Marginal Efficiency of capital /MEC) 

ถ้า I < IRR หรือ MEC > ตัดสินใจลงทุน 

I > IRR หรือ MEC > ระงับการลงทุน 

เช่น S = R1 + R2 + … + Rn 

(1+i)n  (1+i)2  (1+i)  

S = (Supply Price) = สินทรัพย์ทุน 

R1, R2, …, Rn = รายรับของแต่ละปีอันเกิดจากใช้สินทรัพย์ทุน 

i = MEC 

ถ้า MEC > หรือ = ด/บ ตลาด ตัดสินใจลงทุน 

ถ้า MEC < ด/บ ตลาด ระงับการลงทุน 

**การซื้อสินทรัพย์ทุนหน่วยหลัง ๆ > MEC (ลดลง) **

-รายรับ (เพิ่ม) จากการใช้สินทรัพย์ หน่วยหลัง ๆ < รายรับ (เพิ่ม)จดการใช้สินทรัพย์หน่วยแรก ประสิทธิภาพการผลิตน้อยกว่า 

- P f หน่วยหลัง ๆ (เพิ่ม) > รายรับ (R) ลดลง 

- Pc หน่วยหลัง ๆ (เพิ่ม) > R (ลด) และ MEC (ลด) 

**ปัจจัยอื่น ๆ ที่มีอิทธิพลต่อการลงทุน**

การคาดคะเนของผู้ลงทุน (Expectation) 

D e (เพิ่ม) > MEC (เพิ่ม) D e (ลด) > MEC (ลด)

ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีและการประดิษฐ์คิดค้นใหม่ ๆ ขึ้นมา

จูงใจ I (เพิ่ม) 

ลด Cost > กำไร (เพิ่ม) 

การ DY หรือ NI 

D (เพิ่ม) > I (เพิ่ม) ผ่าน Inve หรือเครื่องจักรทางโรงงานเดิม 

ระดับรายได้ประชาชาติ 

Y (เพิ่ม) > I (เพิ่ม) 

Y (ลด) > I (ลด) 

ภาษี 

T (เพิ่ม) > IRR (ลด) 

T (ลด) > IRR (เพิ่ม)

กระทู้ที่เกี่ยวข้อง

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

แปลภาษาไทย ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน อาจารย์ ตจต ศัพท์ทหาร ภาษาอังกฤษ pdf lmyour แปลภาษา ชขภใ ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมฟรี 2566 ขขขขบบบยข ่ส ศัพท์ทางทหาร military words หนังสือราชการ ตัวอย่าง หยน แปลบาลีเป็นไทย ไทยแปลอังกฤษ ประโยค การไฟฟ้านครหลวง การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ข้อสอบโอเน็ต ม.3 ออกเรื่องอะไรบ้าง พจนานุกรมศัพท์ทหาร เมอร์ซี่ อาร์สยาม ล่าสุด แปลภาษามลายู ยาวี Bahasa Thailand กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมออนไลน์ การ์ดจอมือสอง ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย คะแนน o-net โรงเรียน ค้นหา ประวัติ นามสกุล บทที่ 1 ที่มาและความสําคัญของปัญหา ร. ต จ แบบฝึกหัดเคมี ม.5 พร้อมเฉลย แปลภาษาอาหรับ-ไทย ใบรับรอง กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน PEA Life login Terjemahan บบบย มือปราบผีพันธุ์ซาตาน ภาค2 สรุปการบริหารทรัพยากรมนุษย์ pdf สอบโอเน็ต ม.3 จําเป็นไหม เช็คยอดค่าไฟฟ้า แจ้งไฟฟ้าดับ แปลภาษา มาเลเซีย ไทย แผนที่ทวีปอเมริกาเหนือ ่้แปลภาษา Google Translate กระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ 8 ขั้นตอน ก่อนจะนิ่งก็ต้องกลิ้งมาก่อน เนื้อเพลง ข้อสอบโอเน็ตม.3 มีกี่ข้อ คะแนนโอเน็ต 65 ตม กรุงเทพ มีที่ไหนบ้าง