สภาพการจ้างงานหมายถึงข้อใด

อธิบายกฎหมายแรงงานสัมพันธ์-สภาพการจ้าง มาตรา 5 - *สภาพการจ้าง มาตรา 5 - พระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518 มาตรา 5 “สภาพการจ้าง” หมายความว่า เงื่อนไขการจ้างหรือการทํางาน กําหนดวันและเวลาทํางาน ค่าจ้าง สวัสดิการ การเลิกจ้าง หรือประโยชน์อื่นของนายจ้างหรือลูกจ้างอันเกี่ยวกับการจ้างหรือการทํางาน - ข้อสังเกต 1. สภาพการจ้าง คือ นิติสัมพันธ์ระหว่างนายจ้างกับลูกจ้าง อันเกี่ยวกับการ จ้างหรือ การทํางาน ได้แก่ - เงื่อนไขการจ้าง - เงื่อนไขการทํางาน - กําหนดวันและเวลาทํางาน - กําหนดค่าจ้าง สวัสดิการ การเลิกจ้าง หรือประโยชน์อื่นของนายจ้าง 2. กรณีถือเป็นสภาพการจ้าง เช่น - ค่าจ้าง ดังนั้นการย้ายตําแหน่งโดยตําแหน่งใหม่ไม่ได้เงินประจํา ตําแหน่ง จึงเป็นการเปลี่ยนแปลงสภาพการจ้าง (คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7106/2547) - การที่นายจ้างจัดให้มีพยาบาลประจําเรือเพื่อความปลอดภัยในการ ทํางาน ของลูกจ้าง ซึ่งเป็นสวัสดิการถือเป็นสภาพการจ้าง - การเรียกร้องให้นายจ้างจ่ายค่าครองชีพ เป็นการเรียกร้องเอาค่าจ้าง หรือผล ประโยชน์อันเกี่ยวกับการจ้าง เป็นการเรียกร้องเกี่ยวกับสภาพการจ้าง 3. กรณีไม่ถือเป็นสภาพการจ้าง - การจัดที่พักให้ลูกจ้าง - การจ่ายค่าเช่าบ้านให้ - บันทึกของลูกจ้างที่ยอมให้หักเงินค่าจ้างเป็นค่าบํารุง และค่าฌาปนกิจ เป็นข้อตกลงที่ไม่เกี่ยวกับสภาพการจ้างของนายจ้าง - - กรณีศึกษาจากคำพิพากษาศาลฎีกา - - กรณีมิใช่สภาพการจ้าง คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4503/2545 ข้อตกลงระหว่างนายจ้างกับสหภาพแรงงาน ในเรื่องที่ นายจ้างอนุญาตให้สหภาพแรงงานได้มีที่ทําการของสหภาพแรงงานอยู่ในบริเวณบริษัท นายจ้างเช่น เดิมต่อไปเป็นกรณีที่นายจ้างให้ความสะดวกเพื่อประโยชน์ของสหภาพแรงงาน โดยเฉพาะมิใช่เรื่อง อันเป็น “สภาพการจ้าง” จึงไม่ใช่ข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้าง คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 55/2543 สัญญาจ้างกําหนดให้จําเลยจ่ายค่าจ้างให้โจทก์เป็นเงิน ดอลลาร์สหรัฐโดยไม่มีข้อตกลงเรื่องอัตราแลกเปลี่ยนไว้ ฉะนั้น อัตราแลกเปลี่ยนเป็นเงิน ไทยจึง ต้องคิดตามอัตราแลกเปลี่ยนของทางราชการในวันถึงกําหนดจ่ายค่าจ้าง ตาม ประกาศ กระทรวง มหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงานฯ ข้อ 27 วรรคสอง เมื่ออัตรา แลกเปลี่ยนในวันที่ 24 ตุลาคม 2540 ซึ่งเป็นวันจ่ายค่าจ้างกําหนดให้ 1 ดอลลาร์สหรัฐ เท่ากับ 38.40 บาท จําเลยจะประกาศกําหน ดอัตราแลกเปลี่ยนขึ้นใหม่โดยกําหนดให้ 1 ดอลลาร์สหรัฐเท่ากับ 26 บาท ไม่ได้ เพราะสัญญาจ้างใน ส่วนที่เกี่ยวกับการจ่ายค่าจ้าง เป็นสภาพการจ้างตาม พ.ร.บ. แรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518 มาตรา 5 การที่จําเลยประกาศ กําหนดอัตราแลกเปลี่ยนขึ้นใหม่นี้ จึงเป็นการเปลี่ยนแปลงสภาพการจ้างที่ไม่ เป็นคุณ แก่โจทก์เมื่อโจทก์มิได้ให้ความยินยอม ประกาศของจําเลยที่กําหนดอัตราแลกเปลี่ยน เงินขึ้น ใหม่จึงไม่มีผลใช้บังคับ คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7920/2543 โจทก์เป็นลูกจ้างของจําเลย แม้ไม่ปรากฏว่าได้มีการ ตกลงทําสัญญาจ้างเป็นหนังสือก็ตาม แต่ข้อตกลงการจ้างก็มีลักษณะเป็นสภาพการจ้าง ตาม พ.ร.บ. แรงงานสัมพันธ์ฯ มาตรา 5 แล้ว นอกจากนี้ยังมีบันทึกข้อตกลงเกี่ยวกับ สภาพการจ้างระหว่างจําเลย กับผู้แทนสหภาพแรงงานระบุว่าสภาพการจ้างอื่นที่ไม่ใช่ เรื่องผลต่างค่าจ้างขั้นต่ำกับเรื่องการปรับค่า จ้างประจําปีและโบนัสทั้งสองฝ่ายตกลง ให้คงเดิมด้วย ข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างดังกล่าวมีผล ผูกพันโจทก์ และจําเลยตาม พ.ร.บ. แรงงานสัมพันธ์ฯ มาตรา 19 วรรคสองแล้ว แม้จําเลยซึ่งเป็นนายจ้างจะมีอํานาจสั่งให้โจทก์ซึ่งเป็นลูกจ้างไปทํางานใน ตําแหน่งใดได้ ก็ตาม แต่การสั่งดังกล่าวก็ต้องอยู่ภายใต้บังคับบทบัญญัติแห่ง พ.ร.บ. แรงงาน สัมพันธ์ฯ มาตรา 20 การที่จําเลยย้ายโจทก์จากตําแหน่งหัวหน้าห้องเครื่องไปเป็นพนักงาน ธรรมดาในแผนกตัดเม็ด กระสวยซึ่งเป็นการย้ายโจทก์ไปทํางานในตําแหน่งที่ต่ำกว่าเดิม ทั้งต้องทํางานเป็นกะหมุนเวียนสับ เปลี่ยนเวลาเข้าทํางานและออกจากงานตลอดเวลา ไม่มีเวลาทํางานที่แน่นอนเช่นเดิม จึงเป็นการ เปลี่ยนแปลงสภาพการจ้างที่ไม่เป็นคุณ แก่โจทก์ยิ่งกว่า คําสั่งของจําเลยที่ให้ย้ายโจทก์ไปทํางานที่ แผนกตัดเม็ดกระสวยจึงเป็น คําสั่งที่ไม่ชอบ คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8003/2543 ระเบียบข้อบังคับของนายจ้างกําหนดไว้แต่เพียงว่า จ่าย โบนัสปีละ 2 ครั้ง งวดมิถุนายนและธันวาคมเท่านั้น ส่วนจะจ่ายโบนัสให้แก่ลูกจ้าง จํานวนเท่าใดไม่ ได้กําหนดไว้ ที่นายจ้างจ่ายโบนัสให้ลูกจ้างปีละ 4.5 ของเงินเดือน ตลอดมา (ระหว่างปี 2534 ถึง 2539 ซึ่งมีกําไร) ไม่เป็นสภาพการจ้างอันมีผลผูกพันให้ นายจ้างต้องจ่ายโบนัสให้จํานวนดังกล่าวตลอดไป การที่นายจ้างจ่ายโบนัสให้ลูกจ้าง ในปี 2541 (ระหว่างปี 2540 2541 ซึ่งขาดทุน) เท่ากับเงินเดือน 1 เดือน จึงเป็นการ ปฏิบัติตามระเบียบข้อบังคับของนายจ้างแล้ว คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3680/2532 ข้อตกลงที่ให้นายจ้างหักค่าจ้างลูกจ้างที่เป็นสมาชิก สหภาพแรงงานตามลายมือชื่อลูกจ้างซึ่งยินยอมให้หักค่าจ้างไม่เกินคนละ 75 บาท ต่อเดือนแล้วส่ง ให้ประธานหรือเหรัญญิกของสหภาพแรงงานเพื่อเป็นค่าบํารุงและ ค่าฌาปนกิจ ถือเป็นข้อตกลงอย่าง อื่นไม่เกี่ยวกับสภาพการจ้างของนายจ้างและลูกจ้าง อันเกี่ยวกับการจ้างหรือการทํางานแต่อย่างใด บันทึกข้อตกลงในเรื่องการหักค่าจ้าง ดังกล่าวจึงไม่ใช่ข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้าง ไม่อยู่ใน บังคับของพระราชบัญญัติ แรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518 มาตรา 5 และมาตรา 12 ที่นายจ้างจะต้อง ปฏิบัติตาม - - กรณีเป็นสภาพการจ้าง คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9488/2551 การที่จําเลยจ่ายเงินรางวัลพนักงานดีเด่นและหัวหน้า ดีเด่นประจําเดือนแก่ลูกจ้างเป็นประจําตลอดมาทุกเดือน นับแต่ปี 2541 จนถึงวันที่ 16 สิงหาคม 2545 เงินรางวัลพนักงานดีเด่นและหัวหน้างานดีเด่น ประจําเดือนจึงเป็นประโยชน์อื่นของลูกจ้างอันเกี่ยว กับการจ้างงานหรือการทํางานและเป็นสภาพการจ้าง ตาม พ.ร.บ. แรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518 มาตรา 5 แม้ว่าเรื่องของการจ่ายเงินรางวัล พนักงานดีเด่นและหัวหน้าดีเด่นประจําเดือน เป็นสภาพการจ้างอื่น ใดที่ไม่อยู่ในข้อ เรียกร้องตามบันทึกข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้าง แต่ก็เป็นสภาพการจ้างที่ปฏิบัติ สืบกันมาจึงเป็นสภาพการจ้างที่บันทึกข้อตกลงดังกล่าวระบุให้ต้องคงไว้เช่นเดิม และ ยังเป็นข้อ ตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างโดยปริยายการยกเลิกรางวัลพนักงานดีเด่น และหัวหน้างานดีเด่นประจํา เดือนเป็นการเปลี่ยนแปลงสภาพการจ้างโดยไม่ได้รับ ความยินยอมจากลูกจ้างและเป็นการเปลี่ยน แปลงที่ไม่เป็นคุณแก่ลูกจ้าง จึงเป็นการ ไม่ชอบ คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5200/2543 ประกาศว่าด้วยการให้เงินบําเหน็จแก่เจ้าหน้าที่เป็นข้อ ตกลง เกี่ยวกับสภาพการจ้าง ซึ่งมีผลผูกพันให้จําเลยต้องปฏิบัติตามนับแต่วันที่จําเลยประกาศ ใช้ เป็นต้นไป แม้ต่อมาในปี 2540 จําเลยจะประกาศใช้ข้อบังคับเกี่ยวกับการทํางาน โดย มีบทเฉพาะการ ว่าพนักงานที่ครบเกษียณอายุแล้วจะได้รับเงินที่จําเลยจ่ายสมทบให้ พร้อมผลประโยชน์จากกองทุน สํารองเลี้ยงชีพ ซึ่งหากคํานวณแล้วยอดเงินที่จะได้รับเมื่อ รวมค่าชดเชยแล้วได้น้อยกว่าเงินบําเหน็จ ที่ได้กําหนดไว้ในประกาศเดิม และมิใช่เป็น ข้อตกลง เกี่ยวกับสภาพการจ้างที่เป็นคุณยิ่งกว่า เมื่อ โจทก์ไม่ได้ตกลงยินยอมให้จําเลย แก้ไขเปลี่ยนแปลงในเรื่องการให้เงินบําเหน็จ ข้อบังคับเกี่ยวกับ การทํางานจึงไม่มีผล ผูกพันโจทก์ คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6515/2543 การที่จําเลยซึ่งเป็นนายจ้างจัดให้มีพยาบาลประจําเรือ อันเป็นการกําหนดขึ้นเพื่อความปลอดภัยในการทํางานของพนักงานก็เป็นการจัดสวัสดิการ ซึ่งเป็น สภาพการจ้าง ตามมาตรา 5 แห่ง พ.ร.บ. แรงงานสัมพันธ์ฯ ก็ไม่ได้บังคับให้ต้อง ทําข้อตกลงเป็น หนังสือ แม้จําเลยกระทําแต่ฝ่ายเดียวและไม่ได้ทําเป็นหนังสือก็ถือได้ว่า เป็นสภาพการจ้างโดยปริยาย แล้ว จําเลยมีหน้าที่ต้องปฏิบัติตาม แต่การจัดพยาบาล ประจําเรือดังกล่าวเป็นสวัสดิการที่จําเลยจัดให้ แก่พนักงานนอกเหนือที่กฎหมายกําหนด ไว้ เมื่อจําเลยมีระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทํางานเกี่ยว กับสิทธิและหน้าที่ในการบริหาร กิจการของจําเลยและเกี่ยวกับสวัสดิการและผลประโยชน์อื่น จําเลยย่อมอาศัยระเบียบ ข้อบังคับเกี่ยวกับการทํางานดังกล่าวเปลี่ยนแปลงปรับปรุงสวัสดิการที่ได้ ให้แก่พนักงานนั้นได้ เมื่อการเปลี่ยนแปลงสวัสดิการในการรักษาพยาบาลที่จําเลยจัดให้ใหม่นี้ มิได้ ทําให้พนักงานของจําเลยได้รับสวัสดิการเกี่ยวกับการรักษาพยาบาลน้อยลงกว่าเดิม จําเลย จึงมี อํานาจกระทําได้ตามระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทํางานข้างต้น คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5790-5822/2543 แม้ข้อบังคับเกี่ยวกับการทํางานของจําเลย จะกําหนดจ่ายค่าจ้างให้แก่ลูกจ้างในวันสิ้นเดือนของทุกเดือนก็ตาม แต่การที่จําเลยจ่าย ค่าจ้างให้แก่ ลูกจ้างก่อนวันสิ้นเดือน 1 วัน เป็นประจําตลอดมาย่อมถือได้ว่าจําเลย ตกลงกับลูกจ้างให้มีการ เปลี่ยนแปลงข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างในเรื่องกําหนดการ จ่ายค่าจ้างโดยปริยาย การที่โจทก์ ได้รับการบอกกล่าวเลิกจ้างล่วงหน้า ณ วันสิ้นเดือน จึงมิใช่เป็นการบอกกล่าวเมื่อถึงหรือก่อนถึง กําหนดจ่ายสินจ้าง อันจะมีผลเป็นการเลิกจ้าง โดยชอบด้วยกฎหมายเมื่อถึงกําหนดจ่ายสินจ้างใน คราวถัดไป คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4139/2530 การจัดที่พักให้ลูกจ้างหรือการจ่ายค่าเช่าบ้านให้แก่ ลูกจ้าง นั้น เป็นสวัสดิการอย่างหนึ่ง สวัสดิการประเภทนี้มิใช่สวัสดิการที่กฎหมายคุ้มครอง แรงงาน ฉบับหนึ่งฉบับใดบังคับให้นายจ้างต้องจัดให้แก่ลูกจ้าง จึงเป็นไปตามข้อตกลง เกี่ยวกับสภาพการ จ้างของสถานประกอบการแต่ละราย คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 416/2524 ลูกจ้างเรียกร้องให้ผู้เป็นนายจ้างจ่ายค่าครองชีพ เป็นการ เรียกร้องเอาค่าจ้างหรือผลประโยชน์อันเกี่ยวกับการจ้างหรือการทํางาน ถือว่าเป็นการ เรียกร้องเกี่ยว กับสภาพการจ้าง -

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

แปลภาษาไทย ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน อาจารย์ ตจต ศัพท์ทหาร ภาษาอังกฤษ pdf lmyour แปลภาษา ชขภใ ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมฟรี 2566 ขขขขบบบยข ่ส ศัพท์ทางทหาร military words หนังสือราชการ ตัวอย่าง หยน แปลบาลีเป็นไทย ไทยแปลอังกฤษ ประโยค การไฟฟ้านครหลวง การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ข้อสอบโอเน็ต ม.3 ออกเรื่องอะไรบ้าง พจนานุกรมศัพท์ทหาร เมอร์ซี่ อาร์สยาม ล่าสุด แปลภาษามลายู ยาวี Bahasa Thailand กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมออนไลน์ การ์ดจอมือสอง ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย คะแนน o-net โรงเรียน ค้นหา ประวัติ นามสกุล บทที่ 1 ที่มาและความสําคัญของปัญหา ร. ต จ แบบฝึกหัดเคมี ม.5 พร้อมเฉลย แปลภาษาอาหรับ-ไทย ใบรับรอง กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน PEA Life login Terjemahan บบบย มือปราบผีพันธุ์ซาตาน ภาค2 สรุปการบริหารทรัพยากรมนุษย์ pdf สอบโอเน็ต ม.3 จําเป็นไหม เช็คยอดค่าไฟฟ้า แจ้งไฟฟ้าดับ แปลภาษา มาเลเซีย ไทย แผนที่ทวีปอเมริกาเหนือ ่้แปลภาษา Google Translate กระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ 8 ขั้นตอน ก่อนจะนิ่งก็ต้องกลิ้งมาก่อน เนื้อเพลง ข้อสอบโอเน็ตม.3 มีกี่ข้อ คะแนนโอเน็ต 65 ตม กรุงเทพ มีที่ไหนบ้าง