การพิจารณารูปแบบหมายถึงอะไร

การคิดเชิงคำนวณ (Computational Thinking) คืออะไร

                  วิชาวิทยาการคำนวณ (computing science) เป็นที่แพร่หลายในหลายประเทศทั่วโลก รวมถึงประเทศไทยด้วย ซึ่งปัจจุบันนี้ได้ถูกบรรจุอยู่ในหลักสูตรการเรียนการสอนขั้นพื้นฐานสำหรับโรงเรียนทั่วประเทศเรียบร้อยแล้ว นอกจากวิชานี้จะสอนเรื่องการประยุกต์ใช้เทคโนโลยี และการเข้าใจสื่อสมัยใหม่แล้ว องค์ประกอบที่สำคัญที่สุดอันหนึ่งคือการสอนเรื่องของ การคิดเชิงคำนวณ (computational thinking) ที่จะพัฒนาให้เด็กๆ เกิดกระบวนการคิดเชิงวิเคราะห์ คิดอย่างเป็นระบบด้วยเหตุผลอย่างเป็นขั้นเป็นตอนเพื่อแก้ปัญหาเป็นกระบวนการในหลากหลายลักษณะ เช่น การจัดลำดับเชิงตรรกศาสตร์  การวิเคราะห์ข้อมูล และการสร้างสรรค์วิธีแก้ปัญหาไปทีละขั้นทีละตอน ซึ่งมีความจำเป็นในการพัฒนาทักษะภาษาคอมพิวเตอร์ หรือโค๊ดดิ้งในอนาคตได้ ทั้งนี้การบูรณาการวิธีคิดเชิงคำนวณก็ยังสามารถใช้กับสาระวิชาต่างเช่น  คณิตศาสตร์ สังคมศาสตร์ มนุษยศาสตร์ หรือวิชาอื่นๆ โดยกระบวนการคิดเชิงคำนวณ (Computational Thinking) มี 4 กระบวนการดังนี้ 

 

Decomposition (การย่อยปัญหา) หมายถึงการย่อยปัญหาหรือระบบที่ซับซ้อนออกเป็นส่วนเล็กๆ เพื่อให้ง่ายต่อการจัดการและแก้ปัญหา เช่น หากต้องการเข้าใจว่าระบบของจักรยานทำงานอย่างไร ทำได้โดยการแยกจักรยานออกเป็นส่วนๆ แล้วสังเกตและทดสอบการทำงานของแต่ละองค์ประกอบ จะเข้าใจได้ง่ายกว่าวิเคราะห์จากระบบใหญ่ที่ซับซ้อน

Pattern Recognition (การจดจำรูปแบบ) เมื่อเราย่อยปัญหาออกเป็นส่วนเล็กๆ ขั้นตอนต่อไปคือการหารูปแบบหรือลักษณะที่เหมือนกันของปัญหาเล็กๆ ที่ถูกย่อยออกมา เช่น หากต้องวาดซีรี่ส์รูปแมว แมวทั้งหลายย่อมมีลักษณะบางอย่างที่เหมือนกัน พวกมันมีตา หาง ขน และชอบกินปลา และร้องเหมียวๆ ลักษณะที่มีร่วมกันนี้ เราเรียกว่ารูปแบบ เมื่อเราสามารถอธิบายแมวตัวหนึ่งได้ เราจะอธิบายลักษณะของแมวตัวอื่นๆ ได้ ตามรูปแบบที่เหมือนกันนั่นเอง

Abstraction (ความคิดด้านนามธรรม) คือการมุ่งความคิดไปที่ข้อมูลสำคัญ และคัดกรองส่วนที่ไม่เกี่ยวข้องออกไป เพื่อให้จดจ่อเฉพาะสิ่งที่เราต้องการจะทำ เช่น แม้ว่าแมวแต่ละตัวจะมีลักษณะเหมือนกัน แต่มันก็มีลักษณะเฉพาะตัวที่ต่างกัน เช่น มีตาสีเขียว ขนสีดำ ชอบกินปลาทู  ความคิดด้านนามธรรมจะคัดกรองลักษณะที่ไม่ได้ร่วมกันกับแมวตัวอื่นๆ เหล่านี้ ออกไป เพราะรายละเอียดที่ไม่เกี่ยวข้องเหล่านี้ ไม่ได้ช่วยให้เราอธิบายลักษณะพื้นฐานของแมวในการวาดภาพมันออกมาได้ กระบวนการคัดกรองสิ่งที่ไม่เกี่ยวข้องออกไป และมุ่งที่รูปแบบซึ่งช่วยให้เราแก้ปัญหาได้เรียกว่าแบบจำลอง(model) เมื่อเรามีความคิดด้านนามธรรม มันจะช่วยให้เรารู้ว่าไม่จำเป็นที่แมวทุกตัวต้องหางยาวและมีขนสั้น หรือทำให้เรามีโมเดลความคิดที่ชัดเจนขึ้นนั่นเอง

Algorithm Design (การออกแบบอัลกอริทึ่ม) คือการพัฒนาแนวทางแก้ปัญหาอย่างเป็นขั้นเป็นตอน หรือสร้างหลักเกณฑ์ขึ้นมาเพื่อดำเนินตามทีละขั้นตอนในการแก้ไขปัญหา เช่น เมื่อเราต้องการสั่งคอมพิวเตอร์ให้ทำงานบางอย่าง เราต้องเขียนโปรแกรมคำสั่งเพื่อให้มันทำงานไปตามขั้นตอน การวางแผนเพื่อให้คอมพิวเตอร์ทำงานตอบสนองความต้องการของเรานี้เอง ที่เรียกว่าวิธีคิดแบบอัลกอริทึ่ม คอมพิวเตอร์จะทำงานได้ดีเพียงใด ขึ้นอยู่กับชุดคำสั่งอัลกอริทึ่มที่เราสั่งให้มันทำงานนั่นเอง การออกแบบอัลกอริทึ่มยังเป็นประโยชน์ต่อการคำนวณ การประมวลผลข้อมูลและการวางระบบอัตโนมัติต่างๆ

วิชาวิทยาการคำนวณ (computing science)

วิชาวิทยาการคำนวณ (computing science) เป็นหนึ่งในวิชา STEM ที่จะสอนเรื่องการประยุกต์ใช้เทคโนโลยี และการเข้าใจสื่อสมัยใหม่ โดยมีการสอนโดยใช้แนวคิดเชิงคํานวณซึ่งเป็นองค์ประกอบที่สำคัญที่สุดอย่างหนึ่ง ที่จะพัฒนาให้เด็ก ๆ เกิดกระบวนการคิดเชิงวิเคราะห์ คิดอย่างเป็นระบบด้วยเหตุผลอย่างเป็นขั้นเป็นตอนเพื่อแก้ปัญหาเป็นกระบวนการในหลากหลายลักษณะ

ซึ่งในปัจจุบันนี้การสอนแบบแนวคิดเชิงคำนวณ (Computational Thinking) เป็นที่แพร่หลายทั่วโลก และได้ถูกบรรจุอยู่ในหลักสูตรการเรียนการสอนขั้นพื้นฐานสำหรับโรงเรียนทั่วประเทศไทยแล้ว เพื่อให้นักเรียนในแต่ละโรงเรียนได้เรียนรู้ทักษะการคิดวิเคราะห์ที่มีประสิทธิภาพ โดยอยู่ในพื้นฐานหลักการของแนวคิดเชิงคำนวณ

แนวคิดเชิงคำนวณ (computational thinking) คืออะไร

แนวคิดเชิงคำนวณ คืออะไร?

วิทยาการคำนวณ (computing science) หรือการสอนที่ใช้รูปแบบแนวคิดเชิงคำนวณ (Computational Thinking) คือ การสอนที่เน้นกระบวนการแก้ปัญหาในหลากหลายลักษณะ เช่น การจัดลำดับเชิงตรรกศาสตร์ การวิเคราะห์ข้อมูล โค้ดดิ้ง และการสร้างสรรค์วิธีแก้ปัญหาไปทีละขั้นทีละตอน(อัลกอริทึ่ม) รวมทั้งการย่อยปัญหาที่ช่วยให้รับมือกับปัญหาที่ซับซ้อนหรือมีลักษณะเป็นคำถามปลายเปิดได้อย่างเหมาะสม อีกทั้งยังรวมไปถึงการบูรณาการแนวคิดหรือทักษะแนวคิดเชิงคำนวณกับสาขาวิชาต่าง ๆเพื่อให้ผู้เรียนสามารถนำไปใช้แก้ปัญหาในสถานการณ์ต่าง ๆ ในชีวิตประจำวันได้

แนวคิดเชิงคำนวณ (Computational Thinking)  มีประโยชน์อย่างไร

แนวคิดเชิงคำนวณมีประโยชน์อย่างไร

ประโยชน์ของการสอนโดยใช้แนวคิดเชิงคํานวณคือ การให้ผู้เรียนมีวิธีคิดที่เกิดกระบวนการแก้ปัญหาโดยสามารถวิเคราะห์และคิดอย่างมีตรรกะ เป็นระบบและสร้างสรรค์ รวมทั้งสามารถนำวิธีคิดเชิงคำนวณไปปรับใช้แก้ไขปัญหาในสาขาวิชาต่าง ๆ ได้อย่างกว้างขวาง เป็นประโยชน์ในการต่อยอดองค์ความรู้ต่างๆต่อไป

คำจำกัดความของแนวคิดเชิงคำนวณ

การเรียนการสอนในศาสตร์วิทยาการคำนวณซึ่งใช้องค์ประกอบแนวคิดเชิงคํานวณนี้ ไม่ได้จำกัดอยู่เพียงการคิดให้เหมือนคอมพิวเตอร์แต่เป็นกระบวนการคิดแก้ปัญหาอย่างมีประสิทธิภาพของมนุษย์ เพื่อสั่งคอมพิวเตอร์ให้ทำงานและช่วยแก้ปัญหาตามที่เราต้องการได้อย่างมีประสิทธิภาพ เพราะการเรียนรู้แนวคิดเชิงคำนวณคือการเรียนรู้ทักษะที่ช่วยทำให้ปัญหาที่ซับซ้อนเข้าใจได้ง่ายขึ้น อีกทั้งยังเป็นทักษะที่เป็นประโยชน์อย่างยิ่งต่อทุกๆ สาขาวิชา และสามารถประยุกต์ใช้กับทุกเรื่องในชีวิตประจำวันได้

4 เสาหลัก กระบวนแนวคิดเชิงคำนวณ (Computational Thinking)

องค์ประกอบแนวคิดเชิงคํานวณที่สำคัญมีอยู่ 4 ส่วนที่สำคัญและเป็นหลักการพื้นฐานในการเรียนรู้แนวคิดเชิงคํานวณเพื่อให้เกิดการเข้าใจปัญหาและนำไปวิเคราะห์ด้วยวิธีที่เหมาะสม ซึ่งองค์ประกอบต่าง ๆ ที่สามารถกระตุ้นให้ผู้ศึกษาเกิดแนวคิดเชิงคำนวณได้มี ดังนี้

Decomposition (การย่อยปัญหา) 

การย่อยปัญหา หรือ decomposition คือ การทำให้ปัญหาที่ซับซ้อนย่อยออกเป็นส่วนเล็กๆ เพื่อให้ง่ายต่อการจัดการและแก้ปัญหา เช่น การเขียนโปรแกรมแยกเป็นส่วน ๆ แยกเป็นแพ็กเกจ แยกเป็นโมดูล หรือมองเป็น layer หรือการแบ่งปัญหาเมื่อจะแก้ไขอุปกรณ์ด้วยการแยกการทำงานแต่ละส่วนออกแล้วสังเกตและทดสอบการทำงานของแต่ละองค์ประกอบ จะทำให้เข้าใจได้ง่ายกว่าการวิเคราะห์จากระบบใหญ่ที่ซับซ้อน

ตัวอย่างเช่น ปัญหาคือ เราได้รับมอบหมายให้สร้างบ้าน 1 หลัง เมื่อฟังปัญหาแล้วมองว่า ยากมาก สร้างบ้านต้องทำยังไง จับต้นชนปลายไม่ถูก เมื่อเราวิเคราะห์ปัญหานี้แล้วว่าสามารถแยกออกเป็นส่วนย่อยได้ว่า บ้าน ประกอบด้วย ห้องนอน ห้องน้ำ ห้องนั่งเล่น ห้องครัว ฯลฯ แล้วเราแบ่งงานออกแบบและสร้างไปทีละห้อง เมื่อทำเสร็จแล้วจะเห็นว่าเราได้ทำการสร้างบ้านได้แล้วนั่นเอง การบอกให้สร้างห้องนอน (และห้องอื่น ๆ) ฟังดูแล้วเรียบง่ายและซับซ้อนน้อยกว่าสร้างบ้านอย่างมาก

Pattern Recognition (การจดจำรูปแบบ)

การจดจำรูปแบบ หรือ pattern recognition คือ เมื่อเราย่อยปัญหาออกเป็นส่วนเล็ก ๆ ขั้นตอนต่อไปคือการหารูปแบบหรือลักษณะที่เหมือนกันของปัญหาเล็ก ๆ เหล่านั้นที่ถูกย่อยออกมา หากมีรูปแบบของปัญหาที่คล้ายกันสามารถนำวิธีการแก้ปัญหานั้นมาประยุกต์ใช้ และพิจารณารูปแบบปัญหาย่อยซึ่งอยู่ภายในปัญหาเดียวกันว่ามีส่วนใดที่เหมือนกัน เพื่อใช้วิธีการแก้ปัญหาเดียวกันได้ ทำให้จัดการกับปัญหาได้ง่ายขึ้น และส่งผลให้การทำงานมีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้น

Abstraction (ความคิดด้านนามธรรม)

การคิดเชิงนามธรรม หรือ Abstraction คือ องค์ประกอบแนวคิดเชิงคํานวณที่เป็นกระบวนการคัดแยกคุณลักษณะที่สำคัญออกจากรายละเอียดปลีกย่อย ในปัญหาหรืองานที่กำลังพิจารณา เพื่อให้ได้ข้อมูลที่จำเป็นและเพียงพอในการแก้ปัญหา กล่าวอีกอย่างก็คือการแยกรายละเอียดที่สำคัญและจำเป็นต่อการแก้ปัญหาออกจากรายละเอียดที่ไม่จำเป็น ซึ่งรวมไปถึงการแทนกลุ่มของปัญหา ขั้นตอน หรือกระบวนการที่มีรายละเอียดปลีกย่อยหลายขั้นตอนด้วยขั้นตอนใหม่เพียงขั้นตอนเดียว

Algorithm Design (การออกแบบอัลกอริทึ่ม)

การออกแบบอัลกอริทึ่ม หรือ Algorithm Design คือ การพัฒนากระบวนการหาคำตอบให้เป็นขั้นตอนที่บุคคลหรือคอมพิวเตอร์สามารถนำไปปฏิบัติตามเพื่อแก้ปัญหาได้ อีกทั้งยังเป็นการพัฒนาแนวทางแก้ปัญหาอย่างเป็นขั้นเป็นตอน และจากนั้นดำเนินตามทีละขั้นตอนในการแก้ไขปัญหาอย่างเป็นระบบตามแผนที่วางไว้ 

ในการแก้ปัญหาแต่ละอย่างอาจไม่จำเป็นที่จะต้องใช้องค์ประกอบแนวคิดเชิงคำนวณอย่างใดอย่างหนึ่ง หรือไม่จำเป็นที่จะต้องใช้องค์ประกอบทั้งหมด ทั้งนี้ทั้งนั้นอยู่ที่ปัญหาที่เราได้พบว่าควรจะแก้อย่างไร ควรใช้องค์ประกอบใดบ้างในการแก้ไขจึงจะเหมาะสมที่สุด เช่น หากเราประสบปัญหาว่ารถมีปัญหากลางทางขณะกำลังเดินทางไกล 

เราสามารถใช้องค์ประกอบการจดจำรูปแบบ เพื่อเทียบว่ารถของเราเคยเป็นแบบนี้มั้ย ถ้าเคยเป็นแล้วแก้ปัญหาอย่างไร หรือหากไม่เคยประสบด้วยตัวเองก็ต้องหาข้อมูลว่ามีใครเคยมีปัญหาแบบนี้และหาวิธีแก้ไขด้วยตนเองเบื้องต้น 

นอกจากนี้ยังสามารถใช้องค์ประกอบความคิดด้านนามธรรมได้โดยหาข้อมูลว่ารถของเรามีอาการแบบนี้เกิดจาก ส่วนไหนของรถมีปัญหา เราจึงจะได้ไม่ต้องเสียเวลาไปกับส่วนอื่นๆที่ไม่มีปัญหา

4 เสาหลัก Computational Thinking สู่ 5 ทักษะย่อยของแนวคิดเชิงคำนวณเพื่อให้ง่ายต่อการประยุกต์

เมื่อผู้สอนในช่วงวัยประถมนำแนวคิดเชิงคํานวณ มีองค์ประกอบ 4 ส่วน ได้แก่ Decomposition (การย่อยปัญหา) Pattern Recognition (การจดจำรูปแบบ) Abstraction (ความคิดด้านนามธรรม) Algorithm Design (การออกแบบอัลกอริทึ่ม) ไปทำการสอนก็ได้พบว่าเนื้อหาและหลักการมีความซับซ้อนมากเกินกว่าที่เด็กประถมจะเข้าใจได้ 

จึงมีการสร้างแนวคิดการออกแบบขั้นตอนวิธีขึ้นมาใหม่เพื่อให้เหมาะสมกับพื้นฐานของเด็กเล็กที่เพิ่งเริ่มเรียนรู้มากขึ้น รวมทั้งเหมาะกับครูหรือผู้ปกครองในการประยุกต์คำจำกัดความเหล่านี้ไปใช้เพื่อกระตุ้นแนวคิดเชิงคำนวณในเด็กๆโดยได้แบ่งออกมาเป็นทักษะย่อยของแนวคิดเชิงคำนวณซึ่ง แบ่งออกมาได้ 5 ทักษะ ได้แก่

– Tinkering (สร้างความชำนาญ) เป็นการฝึกทักษะของแนวคิดเชิงคำนวณผ่านการเล่น การสำรวจ โดยครูผู้สอนไม่ได้มีเป้าหมายแน่ชัด เป็นการเปิดโอกาสให้นักเรียนได้ทดลองสิ่งใหม่ ๆ โดยเด็ก ๆ จะฝีกความชำนาญผ่านการทำซ้ำ ๆ หรือลองวิธีการใหม่ ๆ ในแต่ละสถานการณ์ที่ต้องเผชิญ

– Collaborating (สร้างความสามัคคี, ทำงานร่วมกัน) เป็นการฝึกให้ผู้เรียนได้ฝึกทักษะการทำงานร่วมกับผู้อื่น ไม่ว่าจะเป็นกิจกรรมใด ๆ หรืองานอดิเรกในยามว่าง และยังเป็นวิธีการฝึกทักษะแนวคิดเชิงคำนวณโดยใช้การร่วมมือกันเพื่อให้งานที่ทำนั้นได้ผลลัพธ์ที่ดีที่สุด และผู้เรียนยังได้มีปฏิสัมพันธ์และรู้จักการช่วยเหลือซึ่งกันและกันอีกด้วย

– Creating (สร้างความคิดสร้างสรรค์) เป็นการคิดค้นสิ่งที่เป็นต้นแบบ หรือสร้างสรรค์ให้กับกิจกรรมต่าง ๆ เป็นการฝึกทักษะแนวคิดเชิงคำนวณ ที่เปิดโอกาสให้เด็กได้มีส่วนร่วมในการออกแบบและสร้างสิ่งต่าง ๆ แทนการเรียนรู้รูปแบบเดิม ๆ 

– Debugging (สร้างวิธีการแก้ไขจุดบกพร่อง) เป็นการเรียนรู้ที่จะทำให้ผู้เรียนได้รู้จักการแก้ไขข้อผิดพลาดต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น โดยเฉพาะกิจกรรมที่ต้องทำแบบเป็นขั้นเป็นตอน เมื่อเจอจุดที่ผิดพลาด ต้องคิดวิเคราะห์อย่างเป็นเหตุเป็นผล เพื่อแก้ไขและไม่ให้เกิดสิ่งนั้นขึ้นอีก

– Persevering (สร้างความอดทน, ความพยายาม) เป็นการฝึกทักษะจากการที่ผู้ศึกษาจะต้องเจอกับความท้าทายในการทำกิจกรรมที่ยากและซับซ้อน ที่ถึงแม้การทดลองหรือการตรวจสอบจะล้มเหลวแต่ต้องไม่ล้มเลิก ผู้ศึกษาจะต้องใช้ความพากเพียรในการทำงานชิ้นนั้น ๆ แม้จะต้องรับมือกับสิ่งที่ยากและสร้างความสับสนให้ในบางครั้ง เพื่อผลลัพธ์ที่ดีตามที่ต้องการ

สรุปแนวคิดเชิงคำนวณ หลักการเรียนรู้รูปแบบใหม่

จากทั้งหมดที่กล่าวมาข้างต้นสามารถสรุปแนวคิดเชิงคำนวณ (Computational thinking) ได้ว่า เป็นพื้นฐานของการคิดแก้ปัญหาต่าง ๆ ที่สามารถนำไปประยุกต์ในการแก้ปัญหาในชีวิตประจำวัน โดยความท้าทายหลักของแนวคิดเชิงคำนวณอยู่ที่การออกแบบกระบวนการแก้ปัญหาที่คลุมเครือให้เป็นขั้นตอนที่ชัดเจนมากพอที่จะนำไปแก้ปัญหาได้ โดยส่วนใหญ่มักจะนำไปบูรณาการกับวิชา วิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และเทคโนโลยี

โดยแนวคิดเชิงคํานวณ มีองค์ประกอบ 4 ส่วน ได้แก่ Decomposition (การย่อยปัญหา) Pattern Recognition (การจดจำรูปแบบ) Abstraction (ความคิดด้านนามธรรม) Algorithm Design (การออกแบบอัลกอริทึ่ม) ที่เป็นองค์ประกอบหลักในการแก้ไขปัญหาตามหลักการวิทยาการคำนวณ เพื่อให้ผู้เรียนสามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้กับปัญหาต่างๆที่เกิดขึ้นในชีวิตประจำวัน

คำถามชวนคิด การเขียนโปรแกรมใช้หลักการใดของแนวคิดเชิงคำนวณ

หากเราจะมาตั้งคำถามให้ชวนคิดกันเล่นๆว่าการเขียนโปรแกรมใช้หลักการใดของแนวคิดเชิงคำนวณบ้าง ซึ่งการเขียนโปรแกรมนั้นเป็นตัวเลือกที่คนในยุคใหม่นี้เลือกที่จะฝึกให้เป็นทักษะติดตัวเพิ่มเติม เรียกได้ว่าเป็นตัวเลือกที่มาควบคู่กับการฝึกภาษาที่สามกันเลยทีเดียว เนื่องจากโลกในปัจจุบันมีนวัตกรรมและเทคโนโลยีที่เติบโตอย่างก้าวกระโดด ผู้คนยุคใหม่จึงเลือกที่จะฝึกการเรียนเขียนโปรแกรมหรือฝึกภาษาคอมพิวเตอร์กันนั่นเอง
ในคำตอบของคำถามที่ว่า การเขียนโปรแกรมใช้หลักการใดของแนวคิดเชิงคำนวณ? นั่นก็คือ การเขียนโปรแกรมนั้นใช้หลักการทุกอย่างของแนวคิดเชิงคำนวณ อีกทั้งยังจำเป็นที่จะต้องใช้องค์ประกอบต่างๆอย่างเป็นขั้นเป็นตอนเมื่อระบุปัญหาหรือตั้งโจทย์ได้แล้วนั้น ก็จะเริ่มเข้าสู่วิธีคิดโดยใช้แนวคิดเชิงคำนวณทันที

โดยเริ่มตั้งแต่การย่อยปัญหาต่าง ๆ จากปัญหาใหญ่ออกมา จากนั้นจึงมาวิเคราะห์ลักษณะและหาความเหมือนและต่างกันของแต่ละปัญหาย่อยซึ่งอยู่ในขั้นตอนของการจดจำรูปแบบ นำมาแยกรายละเอียดที่สำคัญและจำเป็นต่อการแก้ปัญหาออกจากรายละเอียดที่ไม่จำเป็นซึ่งเป็นขั้นตอนของการคิดเชิงนามธรรม และสุดท้ายคือการออกแบบอัลกอริทึ่ม หรือ Algorithm Design คือ การหาคำตอบให้เป็นขั้นตอนที่สามารถนำไปปฏิบัติตามเพื่อแก้ปัญหาได้

การประยุกต์แนวคิดเชิงคำนวณ กับ หลักสูตรการเรียนการสอนของ Code Genius

การเรียนแนวคิดเชิงคำนวณเป็นการเรียนรู้ที่ฝึกทักษะที่จะพัฒนาให้เด็ก ๆ ได้เกิดกระบวนการคิดเชิงวิเคราะห์ อย่างเป็นเหตุเป็นผล ซึ่งการฝึกเขียนโปรแกรมและภาษาคอมพิวเตอร์นั้นเรียกได้ว่าเป็นการเรียนรู้ที่สอดคล้องและเหมาะสมที่สามารถดึงประสิทธิภาพการเรียนรู้โดยใช้แนวคิดเชิงคำนวณได้มากที่สุด

Code Genius เป็นสถาบันสอน Coding สำหรับเด็ก ที่ได้นำองค์ประกอบของแนวคิดเชิงคำนวณ (Computational Thinking) มาปรับใช้ในหลักสูตรการเรียนการสอน โดยนำทักษะย่อยของแนวคิดเชิงคำนวณซึ่งเป็นรูปแบบการสอนในลักษณะที่ได้ย่อยเนื้อหาออกมาไม่ให้ซับซ้อนจนเกินไปและเหมาะสมกับเด็ก ๆ มาอยู่ในหลักสูตร Coding ทั้งหมดของเรา

นอกจาก Code Genius จะบูรณาการหลักสูตรต่าง ๆ ให้เข้ากับแนวคิดเชิงคำนวณแล้ว เรายังเป็น Coding Academy ที่เน้นการเรียนการสอนแบบเชิงรุก หรือ Active Learning ที่เน้นให้ผู้เรียนได้ลงมือทำโดยมีคุณครูเป็นผู้ชี้แนะอย่างใกล้ชิด เรามีหลักสูตรอย่าง Makerspace ที่ให้น้องๆได้ลงมือออกแบบแก้ไขปัญหาไปจนถึงได้ต่อวงจรและจัดการกับอุปกรณ์ต่างๆด้วยตัวเอง

และไม่ว่าน้องๆจะมีพื้นฐานในการเรียน Coding มาแล้ว หรือต้องการที่จะมาเริ่มต้นเรียนรู้ใหม่ที่นี่ Coding Academy อย่างเราก็มีหลักสูตร Core course ที่เหมาะสมกับน้องๆตั้งแต่วัย 4-11 ปี ซึ่งเป็นช่วงวัยที่เหมาะกับการเรียนรู้แบบ Active Learning มากที่สุด โดยเราได้บูรณาการหลาย ๆ หลักสูตรที่ใช้แนวคิดเชิงคำนวณ ร่วมกับกิจกรรม STEM Education เข้าด้วยกันเพื่อดึงประสิทธิภาพการเรียนรู้ของน้อง ๆ ออกมาให้ดีที่สุด

คุณครู Code Genius Academy

สถาบัน Code Genius คือ Coding Academy สำหรับเด็กที่มีหลักสูตรนานาชาติและเป็นเพียงที่เดียวที่มีหลักสูตรแบบต่อเนื่อง ตั้งแต่การเรียนแบบกิจกรรมสำหรับน้องๆ 4 ขวบ ไปจนถึงการเขียนโปรแกรมระดับสูง

การคิดเชิงนามธรรม หมายถึงอะไร

แนวคิดเชิงนามธรรม (abstract thinking หรือ abstraction) เป็นองค์ประกอบหนึ่งของแนวคิดเชิงคำนวณ (computational thinking) ซึ่งใช้ในกระบวนการคัดแยกคุณลักษณะที่สำคัญออกจากรายละเอียดปลีกย่อยในปัญหา หรืองานที่กำลังพิจารณา เพื่อให้ได้ข้อมูลที่จำเป็นและเพียงพอในก + ดูเพิ่มเติม

ข้อใดเป็นความหมายของการรู้จำแบบ

การรู้จำแบบ (pattern recognition) เป็นสาขาย่อยหนึ่งของ วิทยาการคอมพิวเตอร์ เป็นศาสตร์ที่มีจุดประสงค์ในเพื่อการจำแนก วัตถุ (objects) ออกเป็นประเภท (classes) ตาม รูปแบบของวัตถุ โดยในการคำนวณจะมีการใช้เทคนิคจากสาขาอื่น ๆ มากมาย เช่น การประมวลผลสัญญาณ ปัญญาประดิษฐ์ และสถิติ

Pattern Recognition มีอะไรบ้าง

การรู้จำแบบ (Pattern Recognition) เป็นการให้คอมพิวเตอร์แยกแยะสิ่งต่างๆ ยกตัวอย่างง่ายๆ เช่น แยกแยะได้ว่า สิ่งไหนคือ วงกลม สิ่งไหนคือสี่เหลี่ยม สี่เหลี่ยมจัตุรัส หรือสี่เหลี่ยมผืนผ้า ก็นับเป็นสี่เหลี่ยมเหมือนกัน จากตัวอย่างข้างต้น จะเห็นได้ว่าสิ่งต่างๆ ที่จะนำ

ข้อใดคือความหมายของการคิดเชิงคำนวณ

แนวคิดเชิงคำนวณ (Computational Thinking) เป็นกระบวนการวิเคราะห์ปัญหา เพื่อให้ได้แนวทางหาคำตอบอย่างเป็นขั้นตอนที่สามารถนำไปปฏิบัติได้โดยบุคคลหรือคอมพิวเตอร์อย่างถูกต้อง การคิดเชิงคำนวณ เป็นกระบวนการแก้ปัญหาในหลากหลายลักษณะ เช่น การจัดลำดับเชิงตรรกศาสตร์ การวิเคราะห์ข้อมูล และการสร้างสรรค์วิธีแก้ปัญหาไปทีละขั้น รวมทั้ง ...

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

แปลภาษาไทย ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน อาจารย์ ตจต ศัพท์ทหาร ภาษาอังกฤษ pdf lmyour แปลภาษา ชขภใ ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมฟรี 2566 ขขขขบบบยข ่ส ศัพท์ทางทหาร military words หนังสือราชการ ตัวอย่าง หยน แปลบาลีเป็นไทย ไทยแปลอังกฤษ ประโยค การไฟฟ้านครหลวง การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ข้อสอบโอเน็ต ม.3 ออกเรื่องอะไรบ้าง พจนานุกรมศัพท์ทหาร เมอร์ซี่ อาร์สยาม ล่าสุด แปลภาษามลายู ยาวี Bahasa Thailand กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมออนไลน์ การ์ดจอมือสอง ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย คะแนน o-net โรงเรียน ค้นหา ประวัติ นามสกุล บทที่ 1 ที่มาและความสําคัญของปัญหา ร. ต จ แบบฝึกหัดเคมี ม.5 พร้อมเฉลย แปลภาษาอาหรับ-ไทย ใบรับรอง กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน PEA Life login Terjemahan บบบย มือปราบผีพันธุ์ซาตาน ภาค2 สรุปการบริหารทรัพยากรมนุษย์ pdf สอบโอเน็ต ม.3 จําเป็นไหม เช็คยอดค่าไฟฟ้า แจ้งไฟฟ้าดับ แปลภาษา มาเลเซีย ไทย แผนที่ทวีปอเมริกาเหนือ ่้แปลภาษา Google Translate กระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ 8 ขั้นตอน ก่อนจะนิ่งก็ต้องกลิ้งมาก่อน เนื้อเพลง ข้อสอบโอเน็ตม.3 มีกี่ข้อ คะแนนโอเน็ต 65 ตม กรุงเทพ มีที่ไหนบ้าง