กระบวนการฟิวชันหมายถึงข้อใด

“พลังงานฟิวชั่น” ทางออกปัญหาพลังงานที่สะอาดและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม

วิกฤติการขาดแคลนพลังงานและราคาน้ำมันที่พุ่งสูงกำลังส่งผลกระทบต่อผู้คนมากมายทั่วโลก ในบทความนี้ InnoHub เลยขอพาไปทำความรู้จักกับพลังงานฟิวชั่น (Fusion Power) ที่มีศักยภาพในการกลายเป็นพลังงานทางเลือกใหม่ที่ทั้งสะอาดและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม

พลังงานฟิวชั่นคืออะไร  

เมื่อพูดถึง “พลังงานนิวเคลียร์” ภาพแรกที่หลายคนนึกถึงอาจเป็นโรงไฟฟ้าขนาดใหญ่พร้อมสารกัมมันตภาพรังสีที่มีอันตรายร้ายแรงต่อร่างกาย แต่แท้จริงแล้วการผลิตไฟฟ้าด้วย “ปฏิกิริยานิวเคลียร์ฟิวชั่น” นั้นแตกต่างจาก “ปฏิกิริยาฟิสชั่น (Nuclear Fission)” แบบดั้งเดิมอย่างสิ้นเชิง

ปฏิกิริยาฟิวชั่น (Fusion Power) เกิดจากการที่นิวเคลียสของอะตอม 2 หน่วยของธาตุมวลเบา เช่น ไฮโดรเจน และ ฮีเลียม อยู่ท่ามกลางอุณภูมิที่สูงกว่า 100 ล้านองศาเซลเซียสจนสามารถควบรวมกันกลายเป็นธาตุที่หนักขึ้น จากนั้น จะก่อให้เกิดการปล่อยพลังงานมหาศาลออกมาโดยไม่มีสารกัมมันตรังสีเลย 

ทั้งนี้ หนึ่งในตัวอย่างของกระบวนการผลิตพลังงานฟิวชั่นที่ชัดเจนที่สุด คือ ดวงอาทิตย์ ดาวฤกษ์ของเราที่มีแรงดันและอุณหภูมิสูงเกิน 10 ล้านองศาเซลเซียส จนสามารถทำให้นิวเคลียสมาหลอมรวมกันแล้วเกิดปฏิกิริยานิวเคลียร์ฟิวชั่นได้นั่นเอง 

“พลังงานฟิวชั่น” ต่างกับ “พลังงานฟิสชั่น” อย่างไร

ด้านพลังงานฟิสชั่น หรือ ปฏิกิริยาฟิสชั่น เกิดขึ้นเมื่อนิวตรอนชนกันกับอะตอมที่มีขนาดใหญ่กว่า ทำให้อะตอมแตกออกเป็น 2 หน่วยที่มีขนาดเล็กลง และปล่อยพลังงานออกมาเป็นจำนวนมหาศาล นอกจากนี้ กระบวนการฟิสชั่นยังทำให้นิวตรอนตัวอื่น ๆ วิ่งไปชนกับอะตอมอื่น ๆ จนเกิดปฏิกิริยาลูกโซ่ (Chain Reaction) ต่อเนื่องไม่สิ้นสุด ปัจจุบัน โรงไฟฟ้านิวเคลียร์หลายแห่งเลือกใช้วิธีนี้เพื่อผลิตพลังงาน

แม้ว่าโรงไฟฟ้าพลังงานฟิสชั่นจะถูกมองว่าเป็นการผลิตไฟฟ้าที่ต้นทุนต่ำและไม่สร้างมลภาวะจากการใช้พลังงานคาร์บอน แต่สารตั้งต้นที่เลือกใช้ในการผลิตไฟฟ้ามักเป็นธาตุหนัก เช่น พลูโตเนียมและยูเรเนียม ซึ่งก่อให้เกิดกากพลังงานเหลือทิ้งที่สามารถปล่อยสารกัมมันตภาพรังสีจนอาจเป็นอันตรายต่อชุมชนและระบบนิเวศ รวมทั้งยังไม่มีวิธีการกำจัดอย่างยั่งยืนอีกด้วย

โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ฟิสชั่น Chernobyl เกิดอุบัติเหตุระเบิดครั้งใหญ่เมื่อวันที่ 26 เมษายน 2529 ส่งผลให้มีผู้เสียชีวิตหลายพันราย

เครดิต: //www.livescience.com/39961-chernobyl.html 

โปรเจกต์นำร่องเพื่อสร้าง “โรงไฟฟ้าพลังงานฟิวชั่น”

ตั้งแต่ปี 2007 เป็นต้นมา หลายประเทศทั่วโลกกว่า 35 ประเทศ เช่น จีน สหรัฐอเมริกา รัสเซีย และ สหภาพยุโรป (EU) ได้ร่วมมือกันค้นคว้าและพัฒนาการสร้างโรงไฟฟ้าด้วยพลังงานฟิวชั่นจนเกิดเป็นโครงการยักษ์ใหญ่ชื่อว่า ITER(International Thermonuclear Experimental Reactor) โดยประดิษฐ์เครื่อง TOKAMAK ที่อาศัยสนามแม่เหล็กในการควบคุมให้สาร (พลาสมา) เกิดปฏิกิริยาฟิวชั่นท่ามกลางอุณหภูมิอันร้อนระอุเหมือนดวงอาทิตย์ ก่อนจะนำพลังงานเหล่านั้นไปผลิตเป็นกระแสไฟฟ้าหล่อเลี้ยงผู้คนต่อไป

เทคโนโลยีด้านวิศวกรรมนี้กำลังพัฒนาอย่างก้าวกระโดดและมีประสิทธิภาพมากขึ้นเรื่อย ๆ ล่าสุด ITER คาดการณ์ว่าในเดือนธันวาคม ปี 2025จะสามารถใช้ธาตุไฮโดรเจน (Hydrogen) สร้างสถานะพลาสมา (Plasma) ซึ่งเป็นกลุ่มก๊าซร้อนของอนุภาคต่าง ๆ ในเตาปฏิกรณ์นิวเคลียร์ ให้มีความร้อนสูงมากพอสำหรับการเกิดปฏิกิริยาฟิวชั่นได้เป็นครั้งแรก ก่อนจะทดลองใช้ธาตุอื่น ๆ อีกในภายหลัง

ภาพจำลองเครื่อง TOKAMAK ซึ่งมีน้ำหนักสูงถึง 23,000 ตัน

เครดิต: //fusionforenergy.europa.eu/the-device/ 

4 ข้อดีของนิวเคลียร์ฟิวชั่น ทางออกวิกฤติพลังงานและมลพิษของประเทศไทย

ประเทศไทยเผชิญกับปัญหามลพิษ PM2.5 จากการคมนาคมรวมถึงโรงงานอุตสาหกรรมต่าง ๆ อย่างต่อเนื่องในช่วง 5-10 ปีที่ผ่านมา โดย Greenpeace องค์กร NGO ด้านสิ่งแวดล้อมระดับโลก ระบุว่า ค่า PM 2.5 โดยเฉลี่ยในประเทศไทยนั้นสูงถึง 25 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร ซึ่งมากกว่าค่ามาตรฐานที่ 10 ไมโครลูกบาศก์เมตรตามคำแนะนำขององค์การอนามัยโลก (WHO) ซึ่งเพิ่มความเสี่ยงในการเจ็บป่วย เช่น โรคหลอดลมอักเสบเฉียบพลันเรื้อรัง โรคหอบหืด รวมถึงโรคหัวใจและปอด

นอกจากนี้ กระแสไฟฟ้าในประเทศไทยยังผลิตขึ้นจากก๊าซธรรมชาติในอัตราส่วนสูงถึง 69% ซึ่งนับว่ายังไม่หลากหลายมากพอและค่อนข้างเสี่ยงที่จะเผชิญกับปัญหาการขาดแคลนก๊าซธรรมชาติและต้นทุนที่พุ่งสูงขึ้นในอนาคตหากยังคงไม่สามารถจัดหาวิธีการผลิตพลังงานจากแหล่งอื่น ๆ ได้

ดังนั้น การผลิตไฟฟ้าด้วยพลังงานใหม่อย่างนิวเคลียร์ฟิวชั่นจึงเป็นหนึ่งในทางเลือกที่น่าสนใจเป็นอย่างยิ่งสำหรับประเทศไทย มาดูกันว่า 4 จุดเด่นหลัก ๆ ของเทคโนโลยีดังกล่าวมีอะไรบ้าง

  • Thermoelectric การแปลงความร้อนเป็นพลังงานไฟฟ้า เทคโนโลยีสีเขียวเพื่อสิ่งแวดล้อม

4 ข้อดีหลัก ๆ ของพลังงานฟิวชั่น

1. เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม เพราะพลังงานจากนิวเคลียร์ฟิวชั่นไม่มีการเผาผลาญเชื้อเพลิงคาร์บอน เป็นพลังงานที่สะอาด ไม่ก่อให้เกิดฝุ่นควันและมลพิษที่เป็นอันตรายต่อผู้คน รวมถึงไม่ปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่เป็นสาเหตุของภาวะโลกร้อนอีกด้วย

2. ขุมพลังงานที่ยั่งยืน เพราะหากมนุษย์สามารถประดิษฐ์เทคโนโลยีนิวเคลียร์ฟิวชั่นได้อย่างสมบูรณ์แบบจนเหมือนกับ “ดวงอาทิตย์” ที่จะเผาไหม้และปลดปล่อยพลังงานต่อเนื่องได้อีกเป็นระยะเวลากว่า 1 พันล้านปีต่อจากนี้ นั่นหมายความว่า เราจะมีพลังงานไฟฟ้าใช้อย่างเหลือเฟือ และสามารถนำไปแบ่งปันให้กับผู้คนทั่วโลกได้อย่างมีประสิทธิภาพ 

3. มีความปลอดภัยสูง ปฏิกิริยาฟิวชั่นนั้นแตกต่างจากปฏิกิริยาฟิสชั่นอย่างสิ้นเชิง โดยหากอุณหภูมิหลายล้านองศาเซลเซียสลดลง เกิดเหตุฉุกเฉิน หรือภัยพิบัติกับอุปกรณ์ ปฏิกิริยาฟิวชั่นก็จะหยุดลงด้วยตัวเอง นอกจากนี้ ยังไม่ก่อให้เกิดสารกัมมันตภาพรังสีที่เป็นอันตรายต่อสิ่งมีชีวิตและระบบนิเวศ ซึ่งจะช่วยลดความเสี่ยงและบรรเทาความกังวลของภาคประชาชนที่มักมีภาพจำในแง่ลบต่อการสร้างโรงไฟฟ้านิวเคลียร์

4. ประสิทธิภาพสูงกว่า เพราะเชื้อเพลิงนิวเคลียร์ฟิวชั่นเพียง 1 กิโลกรัมสามารถให้พลังงานในปริมาณเทียบเท่ากับเชื้อเพลิงฟอสซิล 10 ล้านกิโลกรัม และเมื่อนำไปเปรียบกับขั้วตรงข้ามอย่างปฏิกิริยานิวเคลียร์ฟิสชั่นแล้ว ฟิวชั่นผลิตพลังงานได้สูงกว่าถึง 4 เท่าเลยทีเดียว

วิกฤติพลังงานและภาวะโลกร้อนที่ทุก ๆ ประเทศต่างต้องเผชิญนั้นสามารถบรรเทาลงได้ด้วยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของการผลิตพลังงานไฟฟ้าด้วยนิวเคลียร์ฟิวชัน ล่าสุด ประเทศไทยเองก็ได้เริ่มปูทางสู่การใช้พลังงานฟิวชั่นแล้ว เช่น การพัฒนาเครื่อง TOKAMAK เครื่องแรกที่ จ.นครนายก ในอนาคต เราคงได้เห็นโลกที่มีพลังงานสะอาดให้ทุกคนใช้อย่างแน่นอน

กระบวนการฟิวชันหมายถึงข้อใด *

ในทางฟิสิกส์ ฟิชชันเป็นกระบวนการทางนิวเคลียร์ หมายถึงมีการเกิดขึ้นที่นิวเคลียสของอะตอม ฟิชชันเกิดขึ้นเมื่อนิวเคลียสแบ่งออกเป็นนิวเคลียสที่เล็กลง 2 หรือ 3 นิวเคลียส โดยทำให้เกิดผลพลอยได้ (by-product ) ในรูปอนุภาคหรือรังสีออกมาด้วย ฟิชชันจะมีการปลดปล่อยพลังงานปริมาณมากออกมา โดยได้มาจากพลังงานยึดเหนี่ยว (binding energy) ...

ปฏิกิริยาลูกโซ่มีความหมายตรงกับข้อใด

ปฏิกิริยาลูกโซ่, ปฏิกิริยาที่ 1 ที่เกิดขึ้น ทำให้เกิดปฏิกิริยาที่ 2 และจากปฏิกิริยาที่ 2 ทำให้เกิดปฏิกิริยาที่ 3 เป็นดังนี้เรื่อย ๆ ไป เช่น ปฏิกิริยานิวเคลียร์ซึ่งเกิดจากนิวตรอนวิ่งไปชนนิวเคลียสทำให้นิวเคลียสแตกตัว และเกิดนิวตรอนใหม่ และนิวตรอนใหม่นี้จะทำให้นิวเคลียสอื่น [พจนานุกรมศัพท์ สสวท.]

ข้อใดคือความหมายของปฏิกิริยาลูกโซ่ในปฏิกิริยาฟิชชัน

ปฏิกิริยาลูกโซ่นิวเคลียร์ (อังกฤษ: nuclear chain reaction) เกิดขึ้นเมื่อปฏิกิริยานิวเคลียร์หนึ่งทำให้เกิดปฏิกิริยานิวเคลียร์อื่นต่อไปอีก นำไปสู่การเพิ่มจำนวนตนเองของปฏิกิริยาเหล่านี้อย่างต่อเนื่อง ปฏิกิริยานิวเคลียร์หนึ่ง ๆ อาจเป็นฟิชชันของไอโซโทปหนัก (เช่น ยูเรเนียม 235) หรือฟิวชั่นของไอโซโทปเบา (เช่น ดิวทีเรียมหรือท ...

ข้อใดเป็นปฏิกิริยานิวเคลียร์ฟิชชัน

ปฏิกิริยานิวเคลียร์ - นิวเคลียร์ฟิชันเป็นกระบวนการเกิดขึ้นที่นิวเคลียสของอะตอม ฟิชันเกิดขึ้นเมื่อนิวเคลียส แบ่งออกเป็นนิวเคลียสที่เล็กลง2 หรือ3 นิวเคลียส โดยท าให้เกิดผลพลอยได้ (by-product ) ในรูปอนุภาคหรือรังสีออกมาด้วย ฟิชันจะมีการปลดปล่อย พลังงานปริมาณมากออกมา”

กระทู้ที่เกี่ยวข้อง

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

แปลภาษาไทย ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน อาจารย์ ตจต ศัพท์ทหาร ภาษาอังกฤษ pdf lmyour แปลภาษา ชขภใ ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมฟรี 2566 ขขขขบบบยข ่ส ศัพท์ทางทหาร military words หนังสือราชการ ตัวอย่าง หยน แปลบาลีเป็นไทย ไทยแปลอังกฤษ ประโยค การไฟฟ้านครหลวง การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ข้อสอบโอเน็ต ม.3 ออกเรื่องอะไรบ้าง พจนานุกรมศัพท์ทหาร เมอร์ซี่ อาร์สยาม ล่าสุด แปลภาษามลายู ยาวี Bahasa Thailand กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมออนไลน์ การ์ดจอมือสอง ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย คะแนน o-net โรงเรียน ค้นหา ประวัติ นามสกุล บทที่ 1 ที่มาและความสําคัญของปัญหา ร. ต จ แบบฝึกหัดเคมี ม.5 พร้อมเฉลย แปลภาษาอาหรับ-ไทย ใบรับรอง กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน PEA Life login Terjemahan บบบย มือปราบผีพันธุ์ซาตาน ภาค2 สรุปการบริหารทรัพยากรมนุษย์ pdf สอบโอเน็ต ม.3 จําเป็นไหม เช็คยอดค่าไฟฟ้า แจ้งไฟฟ้าดับ แปลภาษา มาเลเซีย ไทย แผนที่ทวีปอเมริกาเหนือ ่้แปลภาษา Google Translate กระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ 8 ขั้นตอน ก่อนจะนิ่งก็ต้องกลิ้งมาก่อน เนื้อเพลง ข้อสอบโอเน็ตม.3 มีกี่ข้อ คะแนนโอเน็ต 65 ตม กรุงเทพ มีที่ไหนบ้าง