การฟังและการดูมีความหมายว่าอย่างไร


การฟัง การดู 

ใบความรู้  ครั้งที่ 1

เรื่อง  หลักการฟัง และดู

หลักและแนวทางการฟังและดูอย่างสร้างสรรค์


          1.  ต้องเข้าใจความหมาย  หลักเบื้องต้นจองการจับใจความของสารที่ฟังและดูนั้น  ต้องเข้าใจความหมายของคำ  สำนวนประโยคและข้อความที่บรรยายหรืออธิบาย

          2.  ต้องเข้าใจลักษณะของข้อความ  ข้อความแต่ละข้อความต้องมีใจความสำคัญของเรื่องและใจความสำคัญของเรื่องจะอยู่ที่ประโยคสำคัญ ซึ่งเรียกว่า ประโยคใจความ  ประโยคใจความจะปรากฏอยู่ในตอนใดตอนหนึ่งของข้อความ  โดยปกติจะปรากฏอยู่ในตอนต้น ตอนกลาง และตอนท้าย  หรืออยู่ตอนต้นและตอนท้ายของข้อความผู้รับสารต้องรู้จักสังเกต  และเข้าใจการปรากฏของประโยคใจความในตอนต่าง ๆ ของข้อความ  จึงจะช่วยให้จับใจความได้ดียิ่งขึ้น

          3.  ต้องเข้าใจในลักษณะประโยคใจความ  ประโยคใจความ คือข้อความที่เป็นความคิดหลัก  ซึ่งมักจะมีเนื้อหาตรงกับหัวข้อเรื่อง เช่น เรื่อง สุนัขความคิดหลักคือ สุนัขเป็นสัตว์เลี้ยงที่รักเจ้าของ  แต่การฟังเรื่องราวจากการพูดบางทีไม่มีหัวข้อ  แต่จะพูดตามลำดับของเนื้อหา  ดังนั้นการจับใจความสำคัญต้องฟังให้ตลอดเรื่องแล้วจับใจความว่า  พูดถึงเรื่องอะไร คือจับประเด็นหัวเรื่อง  และเรื่องเป็นอย่างไรคือ สาระสำคัญหรือใจความสำคัญของเรื่องนั่นเอง

         4.  ต้องรู้จักประเภทของสาร  สารที่ฟังและดูมีหลายประเภท  ต้องรู้จักและแยกประเภทสรุปของสารได้ว่า เป็นสารประเภทข้อเท็จจริง  ข้อคิดเห็นหรือเป็นคำทักทายปราศรัย ข่าว ละคร สารคดี จะได้ประเด็นหรือใจความสำคัญได้ง่าย

         5.  ต้องตีความในสารได้ตรงตามเจตนาของผู้ส่งสาร  ผู้ส่งสารมีเจตนาที่จะส่งสารต่าง ๆ กับบางคนต้องการให้ความรู้  บางคนต้องการโน้มน้าวใจ และบางคนอาจจะต้องการส่งสารเพื่อสื่อความหมายอื่น ๆ ผู้ฟังและดูต้องจับเจตนาให้ได้  เพื่อจะได้จับสารและใจความสำคัญได้

         6.  ตั้งใจฟังและดูให้ตลอดเรื่อง  พยายามทำความเข้าใจให้ตลอดเรื่อง  ยิ่งเรื่องยาวสลับซับซ้อนยิ่งต้องตั้งใจเป็นพิเศษและพยายามจับประเด็นหัวเรื่อง  กริยาอาการ ภาพและเครื่องหมายอื่น ๆ ด้วนความตั้งใจ

        7.  สรุปใจความสำคัญ  ขั้นสุดท้ายของการฟังและดูเพื่อจับใจความสำคัญก็คือสรุปให้ได้ว่า เรื่องอะไร ใคร ทำอะไร ที่ไหน เมื่อไร อย่างไรและทำไม หรือบางเรื่องอาจจะสรุปได้ไม่ครบทั้งหมดทั้งนี้ย่อมขึ้นกับสารที่ฟังจะมีใจความสำคัญครบถ้วนมากน้อยเพียงใด

วิจารณญาณในการฟังและดู

          พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถานได้ให้ความหมายของ วิจารณญาณไว้ว่า ปัญญาที่สามารถรู้หรือให้เหตุผลที่ถูกต้อง  คำนี้มาจากคำว่า พิจารณ์ หรือวิจารณ์ คำหนึ่ง ซึ่งแปลว่า การคิดใคร่ครวญโดยใช้เหตุผลและคำว่า ญาณ คำหนึ่ง ซึ่งแปลว่าปัญหาหรือ ความรู้ในชั้นสูง

          วิจารณญาณในการฟังและดู  คือการรับสารให้เข้าใจเนื้อหาสาระใช้ปัญญาคิดใคร่ครวญโดยอาศัยความรู้ ความคิด เหตุผล และประสบการณ์ประกอบแล้วสามารถนำไปใช้ได้อย่างเหมาะสม

          การฟังและดูให้เกิดวิจารณญาณนั้นมีขั้นตอนในการพัฒนาเป็นลำดับบางทีก็อาจเป็นไปอย่างรวดเร็ว  บางทีก็ต้องอาศัยเวลา  ทั้งนี้ย่อมขึ้นอยู่กับพื้นฐานความรู้  ประสบการณ์ของบุคคลและความยุ่งยากซับซ้อนของเรื่องหรือสารที่ฟัง

ขั้นตอนการฟังและดูอย่างมีวิจารณญาณมีดังนี้

          1.  ฟังและดูให้เข้าใจเรื่อง  เมื่อฟังเรื่องใดก็ตามผู้ฟังจะต้องตั้งใจฟังเรื่องนั้นให้เข้าใจตลอดเรื่อง  ให้รู้ว่าเนื้อเรื่องเป็นอย่างไร  มีสาระสำคัญอะไรบ้าง พยายามทำความเข้าใจรายละเอียดทั้งหมด

          2.  วิเคราะห์เรื่อง  จะต้องพิจารณาว่าเรื่องเป็นเรื่องประเภทใดเป็นข่าว  บทความ เรื่องสั้น นิทาน นิยาย บทสนทนา สารคดี ละคร และเป็นร้อยแก้วหรือร้อยกรอง เป็นเรื่องจริงหรือแต่งขึ้นต้องวิเคราะห์ลักษณะของตังละคร และกลวิธีในการเสนอสารของผู้ส่งสารให้เข้าใจ

          3.  วินิจฉัยเรื่อง  คือการพิจารณาเรื่องที่ฟังว่าเป็นข้อเท็จจริง  ความรู้สึกความคิดเห็นและผู้ส่งสารหรือผู้พูดผู้แสดงมีเจตนาอย่างไรในการพูดการแสดง  อาจจะมีเจตนาที่จะโน้มน้าวในจรรโลงหรือแสดงความคิดเห็น  เป็นเรื่องที่มีเหตุมีผลมีหลักฐานน่าเชื่อถือหรือไม่และมีคุณค่ามีประโยชน์เพียงใด

สารที่ให้ความรู้

          สารที่ให้ความรู้บางครั้งก็เข้าใจง่าย  แต่งบางครั้งที่เป็นเรื่องสลับซับซ้อนก็จะเข้าใจยาก  ต้องใช้การพินิจพิเคราะห์อย่างลึกซึ้ง  ทั้งนี้ย่อมขึ้นกับเรื่องที่เข้าใจง่ายหรือเข้าใจยาก  ผู้รับมีพื้นฐานในเรื่องที่ฟังเพียงใด  ถ้าเป็นข่าวหรือบทความเกี่ยวหับเกษตรกรผู้มีอาชีพเกษตรย่อมเข้าใจง่าย  ถ้าเป็นเรื่องเกี่ยวกับธุรกิจนักธุรกิจก็จะได้เข้าใจง่ายกว่าผู้มีอาชีพเกษตร  และผู้พูดหรือผู้ส่งสารก็มีส่วนสำคัญ  ถ้ามีความรู้ในเรื่องนั้นเป็นอย่างดีรู้วิธีเสนอ ก็จะเข้าใจได้ง่าย


ข้อแนะนำในการรับสารที่ให้ความรู้โดยใช้วิจารณญาณมีดังนี้

          1.  เมื่อได้รับสารที่ให้ความรู้เรื่องใดต้องพิจารณาว่าเรื่องนั้นมีคุณค่าหรือมีประโยชน์ควรแก่การใช้วิจารณญาณมากน้อยเพียงใด

          2.  ถ้าเรื่องที่ต้องใช้วิจารณญาณไม่ว่าจะเป็นข่าว บทความ สารคดี ข่าว หรือความรู้เรื่องใดก็ตาม  ต้องฟังด้วยความตั้งใจจับประเด็นสำคัญให้ได้  ต้องตีความหรือพินิจพิจารณาว่า ผู้ส่งสารต้องการส่งสารถึงผู้รับคืออะไร  และตรวจสอบหรือเปรียบเทียบกับเพื่อน ๆ ที่ฟังร่วมกันมาว่าพิจารณาได้ตรงกันหรือไม่อย่างไร  หากเห็นว่าการฟังและดูของเราต่างจากเพื่อนด้อยกว่าเพื่อนจะได้ปรับปรุงแก้ไขให้มีปะสิทธิภาพการฟังพัฒนาขึ้น

          3.  ฝึกการแยกแยะข้อเท็จจริง ข้อคิดเห็น เจตคติของผู้พูดหรือแสดงที่มีต่อเรื่องที่พุดหรือแสดงและฝึกพิจารณาตัดสินใจว่าสารที่ฟังและดูนั้นเชื่อถือได้หรือไม่  และเชื่อถือได้มากน้อยเพียงใด

          4.  ขณะที่ฟังควรบันทึกสาระสำคัญของเรื่องไว้  ตลอดทั้งประเด็นการอภิปรายไว้เพื่อนำไปใช้

          5.  ประเมินสารที่ให้ความรู้ว่า  มีความสำคัญมีคุณค่าและประโยชน์มากน้อยเพียงใด มีแง่คิดอะไรบ้าง และผู้ส่งสารมีกลวิธีในการถ่ายทอดที่ดีน่าสนใจอย่างไร

          6.  นำคุณค่าประโยชน์ข้อคิด ความรู้และกลวิธีต่าง ๆ ที่ได้จากการฟังไปใช้ในการดำเนินชีวิตประจำวัน การประกอบอาชีพและพัฒนาคุณภาพชีวิต  พัฒนาชุมชนและสังคมได้อย่างเหมาะสม

สารที่โน้มน้าวใจ

          สารที่โน้มน้าวใจเป็นสารที่เราพบเห็นประจำจากสื่อมวลชน  จากการบอกเล่าจากปากหนึ่งไปสู่ปากหนึ่ง ซึ่งผู้ส่งสารอาจจะมีจุดมุ่งหมายหลายอย่างทั้งที่ดี และไม่ดี มีประโยชน์หรือให้โทษจุดมุ่งหมายที่ให้ประโยชน์ก็คือ  โน้มน้าวใจให้รักชาติบ้านเมือง  ให้ใช้จ่ายอย่างประหยัด ให้รักษาสิ่งแวดล้อม ให้รักษาสาธารณสมบัติและประพฤติแต่สิ่งที่ดีงาม  ในทางตรงข้ามผู้ส่งสารอาจจะมีจุดมุ่งหมายให้เกิดความเสียหาย  มุ่งหมายที่จะโฆษณาชวนเชื่อหรือปลุกปั่น ยุยงให้เกิดการแตกแยก  ดังนั้นจึงต้องมีวิจารณญาณ คิดพิจารณาให้ดีกว่าสารนั้นเป็นไปในทางใด


หลักการฟังอย่างวิจารณญาณ การฟังอย่างวิจารณญาณมีหลักปฏิบัติดังนี้

          ผู้ฟังพิจารณาว่า ฟังเรื่องอะไรเป็นการฟังประเภทบทความ บทสัมภาษณ์การเล่าเรื่องสรุปเหตุการณ์ ใครเป็นคนพูดคนสัมภาษณ์ ใครเป็นคนเขียนบทความ และหัวข้อนั้นมีคุณค่าแก่การฟังหรือไม่

          1.1  พิจารณาผู้ส่งสารว่ามีจุดมุ่งหมาย และมีความจริงใจในการส่งสารนั้นเพียงใด

          1.2  พิจารณาผู้ส่งสารว่ามีความรู้ ประสบการณ์หรือความใกล้ชิดกับเรื่องราวในสารนั้นเพียงใด

          1.3  พิจารณาผู้ส่งสารว่าใช้กลวิธีในการส่งสารนั้นอย่างไร คือวิธีการธรรมดาหรือยอกย้อนซ่อนปมอย่างไร

          1.4  พิจารณาเนื้อหาของสารว่า ส่วนใดเป็นข้อเท็จจริง ส่วนใดเป็นข้อคิดเห็น

          1.5  พิจารณาสารว่าเป็นไปได้ และควรเชื่อเพียงใด

          1.6  ผู้ฟังควรประเมินว่าสิ่งที่ฟังมีประโยชน์และมีคุณค่ามากน้อยเพียงไร

          หลักการแยกข้อคิดเห็นและข้อเท็จจริง ในการรับฟังสาร นอกจากจะจับใจความสำคัญของเรื่องที่ฟังแล้ว นักเรียนจะต้องแยะแยะได้ว่า ใจความตอนใดเป็นข้อคิดเห็นส่วนตัวของผู้พูดซึ่งจะมีลักษณะเมื่อพิจารณาความถูกต้องได้ยาก และตอนใดเป็นข้อเท็จจริง ซึ่งเป็นเรื่องที่สามารถพิสูจน์ความถูกต้องได้ การแยกข้อเท็จจริงและข้อคิดเห็นมีดังนี้

          1. การแยกข้อเท็จจริง เป็นข้อมูลที่สามารถพิสูจน์ได้ เห็นว่าเป็นจริงหรือเป็นเท็จ ได้จากตัวเลขเชิงปริมาณต่างๆ ที่มีอยู่ซึ่งทำการตรวจสอบได้ดังนี้ เช่นประชา หนัก 50 กิโลกรัม ,โอภาสสูงกว่าเสกสรรค์

          2. ความคิดเห็นเป็นเรื่องของการคาดคะเนหรือการทำนายโดยอาศัยเหตุผลส่วนตัวซึ่งควรจะเปิดโอกาสให้มีการโต้แย้งหรือสนับสนุน เช่นของเก่าดีกว่าของใหม่ มีเงินดีกว่ามีเกียรติ

การฟังและการดูที่ดีมีลักษณะอย่างไร

หลักการฟังและการดู.
ตั้งจุดมุ่งหมายหรือจุดประสงค์ของการฟังและการดู.
วิเคราะห์จุดมุ่งหมายของผู้พูดและเรื่องที่ดู.
ฟังและดูสารนั้นตั้งแต่ต้นจนจบโดยไม่ขาดตอน.
จับประเด็นความหลักและสรุปสาระสำคัญให้.
หลีกเลี่ยงการจับผิดผู้พูด.
ต้องให้เกียรติและให้กำลังใจแก่ผู้พูด.

การฟังและการดูมีความสําคัญอย่างไร

การฟังและดูเป็นการรับสารเข้าสู่สมอง ทำให้มีความรู้เพิ่มขึ้น การฝึกรับสารด้วยการฟังและดูอย่างมีวิจารณญาณเป็นทักษะที่สำคัญ จะทำให้ผู้รับสารมีความรู้ที่ดี ถูกต้อง เหมาะสมและนำความรู้ที่ได้รับพูดนำเสนออกไปได้อย่างมีคุณค่า มีประสิทธิภาพ เกิดประโยชน์กับตนเองและผู้อื่น

การฟังและการดูอย่างมีวิจารณญาณมีความหมายว่าอย่างไร

วิจารณญาณในการฟังและดู คือการรับสารให้เข้าใจเนื้อหาสาระใช้ปัญญาคิดใคร่ครวญโดยอาศัยความรู้ ความคิด เหตุผล และประสบการณ์ประกอบแล้วสามารถนำไปใช้ได้อย่างเหมาะสม

การฟังและการดูแตกต่างกันอย่างไร

การฟัง หมายถึง การรับรู้แล้วแปลความหมายของเสียงที่ได้ยิน การดู หมายถึง การรับสารโดยผ่านประสาทตาหรืออาจเป็นการทางานประสานกันระหว่างประสาท ตาและหู องค์ประกอบของการสื่อสาร

กระทู้ที่เกี่ยวข้อง

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

แปลภาษาไทย ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน อาจารย์ ตจต ศัพท์ทหาร ภาษาอังกฤษ pdf lmyour แปลภาษา ชขภใ ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมฟรี 2566 ขขขขบบบยข ่ส ศัพท์ทางทหาร military words หนังสือราชการ ตัวอย่าง หยน แปลบาลีเป็นไทย ไทยแปลอังกฤษ ประโยค การไฟฟ้านครหลวง การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ข้อสอบโอเน็ต ม.3 ออกเรื่องอะไรบ้าง พจนานุกรมศัพท์ทหาร เมอร์ซี่ อาร์สยาม ล่าสุด แปลภาษามลายู ยาวี Bahasa Thailand กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมออนไลน์ การ์ดจอมือสอง ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย คะแนน o-net โรงเรียน ค้นหา ประวัติ นามสกุล บทที่ 1 ที่มาและความสําคัญของปัญหา ร. ต จ แบบฝึกหัดเคมี ม.5 พร้อมเฉลย แปลภาษาอาหรับ-ไทย ใบรับรอง กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน PEA Life login Terjemahan บบบย มือปราบผีพันธุ์ซาตาน ภาค2 สรุปการบริหารทรัพยากรมนุษย์ pdf สอบโอเน็ต ม.3 จําเป็นไหม เช็คยอดค่าไฟฟ้า แจ้งไฟฟ้าดับ แปลภาษา มาเลเซีย ไทย แผนที่ทวีปอเมริกาเหนือ ่้แปลภาษา Google Translate กระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ 8 ขั้นตอน ก่อนจะนิ่งก็ต้องกลิ้งมาก่อน เนื้อเพลง ข้อสอบโอเน็ตม.3 มีกี่ข้อ คะแนนโอเน็ต 65 ตม กรุงเทพ มีที่ไหนบ้าง