การขับร้องหมายความว่าอย่างไร

1111.  การขับร้องเพลงไทยเดิม


เทคนิคการขับร้องเพลงไทย
ๅๅๅๅๅๅๅๅๅการขับร้องเพลงไทย เป็นศิลปะที่มีความประณีตมากแขนงหนึ่ง มีเทคนิคต่าง ๆ มากมายที่ผู้ร้องจะต้องเรียนรู้และฝึกปฏิบัติ เพื่อให้เสียงเพลงที่ออกมามีความไพเราะ น่าฟัง และสามารถถ่ายทอดความรู้สึกและอารมณ์ได้ถูกต้องตามบทเพลง อันจะทำให้ผู้ฟังเกิดอารมณ์คล้อยตามไปกับเสียงเพลงนั้น ในที่นี้จะขอกล่าวถึงเพียงเทคนิคบางอย่างที่ใช้กันมากในการขับร้อง ดังนี้
ๅๅๅๅๅๅๅๅ1.   เอื้อน หมายถึง การออกเสียงเป็นทำนองโดยไม่มีเนื้อร้อง เสียงเอื้อนเป็นเสียงที่ผ่านออกมาจากลำคอโดยตรง มีอยู่มากมายหลายเสียง และมีที่ใช้ต่างกัน ในที่นี้จะขอกล่าวถึงเพียงบางเสียงที่ใช้กันมาก ได้แก่

                   1)   เสียงเออ เป็นเสียงสำคัญมาก มีหน้าที่เป็นเสียงนำ วิธีทำเสียง “เออ” เผยอริมฝีปาก
เล็กน้อย แล้วเปล่งเสียงออกจากคอให้ดังพอสมควร บังคับเสียงให้มีน้ำหนักที่คอแรงหน่อยโดยไม่ต้องขยับคาง

2)   เสียงเอย มีที่ใช้ในตอนสุดวรรคหรือหมดเอื้อน หรือหมดวรรคของเอื้อน จะขึ้นบทร้องวิธีทำเสียง “เอย” มีวิธีทำเช่นเดียวกับเสียง “เออ” แต่เมื่อจะให้เป็นเสียง “เอย” ก็ให้เน้นที่มุมปาก ออกเสียงท้ายให้เป็นเช่นเดียวกับตัวสะกดแม่เกยในภาษาไทยโดยให้ปลายลิ้นแตะฟันล่าง

                  3)   เสียงเอ๋ย เสียง “เอ๋ย” นี้ใช้ในการขับร้องที่มีลักษณะของบทร้องเป็นบทชมหรือบทเกี้ยว หรือบทเพลงที่แต่งเป็นสร้อย เช่น ดอกเอ๋ย อกเอ๋ย น้องเอ๋ย ฯลฯ วิธีทำเสียง “เอ๋ย” เหมือนกับการทำเสียง “เอย” แต่ผันเสียงให้สูงขึ้นโดยไม่หุบปาก เปลี่ยนน้ำเสียงในช่วงหางเสียงให้ไปทางนาสิกอย่างช้า ๆพร้อมกับทำเสียง “หือ” ต่อท้าย

4)   เสียงหือ เสียง “หือ” จะใช้เฉพาะขับร้องในทางเสียงสูง มักจะใช้ในตอนสุดท้ายของวรรค หรือตอนของทำนองเพลง หรือตามความต้องการของผู้ขับร้องที่จะใช้หางเสียงเพื่อให้เกิดความไพเราะตามความเหมาะสม วิธีทำเสียง “หือ” ให้เผยอริมฝีปากเล็กน้อย แล้วเปล่งเสียงออกมาจากคอเบา ๆ พร้อมกับผันเสียงขึ้นในทางสูงเรื่อยไป ให้เสียงออกมาทางจมูกอย่างช้า ๆ จนสุดหางเสียง

      5)   เสียงอือ ใช้ในระหว่างรอจังหวะ หรือสุดวรรคหรือลงสุดท้ายของเพลง วิธีทำเสียง “อือ” เผยอริมฝีปากออกเล็กน้อย เปล่งเสียงออกจากลำคอแรงมาก ๆ โดยไม่ต้องขยับคาง ยกโคนลิ้นขึ้นเล็กน้อยเพื่อให้เสียงออกมาทั้งทางจมูกและทางปาก

            2.   ครั่น เป็นวิธีทำให้เสียงสะดุดสะเทือนเพื่อความเหมาะสมกับทำนองเพลงบางตอน วิธีทำเสียง “ครั่น” เปล่งเสียงออกจากลำคอให้แรงมาก ๆ จนเสียงที่คอเกิดความสะเทือนเป็นระยะ ๆ จะมากหรือน้อยขึ้นอยู่กับผู้ขับร้องที่เห็นว่าไพเราะ น่าฟัง

            3. โปรย เสียง “โปรย” ใช้ได้ทั้งการขับร้องและการดนตรี คือ เมื่อร้องจวนจะจบท่อนก็โปรยเสียงให้ดนตรีสวมรับและเมื่อดนตรีรับจนจะจบท่อนก็จะโปรยให้ร้องรับช่วงไป คำว่า “โปรย” นี้คล้ายกับศัพท์ทางดนตรีว่า “ทอด” นั่นเอง เป็นการผ่อนจังหวะให้ช้าลงเมื่อจะจบเพลง หรือเมื่อจะให้ผู้ขับร้องร้อง

            4.   ปริบ เสียง “ปริบ” วิธีทำเหมือนเสียง “ครั่น” แต่เบากว่า

            5.   เสียงกรอก เสียง “กรอก” เป็นลักษณะที่เกิดจากการทำเสียงที่คอให้คล่องกลับไปกลับมา เพื่อความเหมาะสมกับทำนองเพลงบางตอน วิธีทำเสียง “กรอก” เผยอริมฝีปากเล็กน้อย เปล่งเสียงจากคอให้แรงพอสมควรสลับกับเสียงทางจมูก ทำเสียงให้กลับไปกลับมาระหว่างคอกับจมูก 2–3 ครั้ง หรือมากกว่าตามความเหมาะสม

            6.   เสียงกลืน ใช้ในการร้องลงต่ำ คือ เมื่อต้องการให้เสียงต่ำก็กลืนเสียงลงในลำคอ วิธีทำเสียง “กลืน” เผยอริมฝีปากเล็กน้อย เปล่งเสียงออกจากลำคอให้แรงพอสมควร ขยับคอเล็กน้อย เพื่อให้กลืนเสียงลงไปในลำคอได้สะดวก จะกลืนเสียงมากน้อยขึ้นอยู่กับผู้ขับร้องจะเห็นสมควร

            7.   หลบเสียง หลบเสียง หมายถึง การร้องที่ดำเนินทำนองเปลี่ยนจากเสียงสูงลงมาเป็นเสียงต่ำ หรือจากเสียงต่ำเป็นเสียงสูงในทันทีทันใดการร้องเพลงตอนใดที่เสียงไม่สามารถจะร้องให้สูงขึ้นไปได้อีกแล้ว ก็ให้หลบเสียงเป็นเสียงต่ำ (เสียงคู่แปด) โดยการผ่อนเสียงเดิมให้ค่อย ๆ เบาลงมาหาเสียงต่ำ หรือถ้าตอนใดเสียงร้องนั้นจะต้องลงต่ำต่อไปอีก แต่เสียงร้องไม่สามารถจะต่ำลงไปได้อีก ก็ร้องหักเสียงให้สูงขึ้นด้วยวีธีการเช่นเดียวกัน

เนื่องจากการขับร้องเพลงไทยมีเทคนิคในการขับร้องที่สูงมาก ดังนั้นเทคนิคต่าง ๆ ในการร้องเพื่อตบแต่งทำนองให้ไพเราะ น่าฟัง ดังกล่าวแล้วนี้ อาจแตกต่างกันไปบ้างตามสติปัญญา ความสามารถที่เห็นว่าไพเราะของแต่ละบุคคลซึ่งลักษณะอย่างนี้เป็นการแสดงออกถึงความสามารถด้านความคิดสร้างสรรค์ของนักร้องเพลงไทยที่สามารถประดิษฐ์ทำนองหรือทางในการร้องได้ โดยยึดแกนร่วมเดียวกัน
ในส่วนของเพลงพื้นบ้านนั้น เทคนิคต่าง ๆ ในการร้องก็เช่นเดียวกัน เพียงแต่ว่าการร้องกลอนเพลงพื้นบ้าน จะมีการร้องเอื้อน หรือร้องคำซ้ำ ๆ เพื่อช่วยยืดเวลาให้คิดกลอนได้ทัน สำหรับการร้องประกอบวงดนตรี การเอื้อนหรือเทคนิคต่าง ๆ ดังกล่าวจะเป็นแบบแผนมากขึ้น

ที่มา ; //krutongmusic.wordpress.com/wp-admin/post.php?post=1924&action=edit

          2. หลักการขับร้องเพลงสากล

การขับร้องเพลงไทยสากลและเพลงสากล

การขับร้องเพลงต้องร้องให้ถูกต้องชัดเจนทั้งเนื้อร้อง จังหวะและทำนองแล้วยังต้องคำนึงถึงความไพเราะ ต้องพยายามร้องให้มีความไพเราะน่าฟัง โดยเฉพาะการปฏิบัติตามเครื่องหมายต่าง ๆ ที่กำหนดไว้ในโน้ตเพลง การแบ่งวรรคตอนของเนื้อร้อง นอกจากนี้ที่สำคัญอีกประการหนึ่ง คือ การหายใจ ต้องหายใจให้เหมาะสม การแสดงอารมณ์ต้องเหมาะสมกับลีลาและความหมายของเพลงและต้องมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับวิธีปฏิบัติต่าง ๆ ในการขับร้อง

หลักการปฏิบัติในการขับร้องเพลง มีดังนี้

1.   การหายใจ ต้องหายใจให้ลึกเต็มที่ เงียบและเร็ว เวลาหายใจออกค่อย ๆ ผ่อนหายใจออกมาพร้อมกับการออกเสียง การถอนหายใจต้องถอนตรงกับท้ายวรรคเพลงหรือท้ายประโยคเพลง เพื่อไม่ให้ความหมายของเพลงเปลี่ยนไป ทำให้เพลงขาดความไพเราะและอารมณ์หรือความรู้สึก

2.   การออกเสียง เวลาออกเสียงควรอ้าปากให้กว้างแต่พอเหมาะพอควรออกเสียงพยัญชนะเสียงสระให้ชัดเจนชัดถ้อยชัดคำ โดยเฉพาะเสียง อา เอ อี โอ อู และคำอื่นที่ประกอบเป็นคำ ประโยคในเนื้อเพลง

3.   ลักษณะท่าทาง ควรฝึกร้องในท่ายืนตั้งลำตัวและศีรษะให้ตรงพอสมควรไม่ต้องฝืนให้เป็นไปตามธรรมชาติ อย่าก้มหน้าหรือห่อไหล่ ยืดอกให้เหยียดตรงพองาม ให้น้ำหนักตัวอยู่บนขาทั้งสองข้างเท่า ๆ กัน

การฝึกร้องในท่านั่งต้องนั่งตัวตรงยืดอกพองาม มองดูแล้วสุภาพเรียบร้อย มีสง่า การแต่งกายเหมาะสมกับโอกาสและความสำคัญของงาน การเคลื่อนไหวลีลาท่าทางให้เหมาะกับจังหวะ เนื้อร้องและทำนอง

ที่มา : //nawin.org.a27.readyplanet.net/index.php?lay=show&ac=article&Id=539410801&Ntype=1

ๅๅๅๅๅๅๅๅ การร้องเพลงให้มีความไพเราะน่าฟังนั้น นอกจากจะต้องอาศัยเสียงที่มีความไพเราะแล้ว ยังต้องมีความรู้พื้นฐานในการขับร้องอีกด้วย ได้แก่

             1.   อวัยวะที่เกี่ยวข้องกับการเปล่งเสียง

                   1.1   หลอดคอ นับเป็นส่วนสำคัญส่วนหนึ่งในการเกิดเสียงบริเวณหลอดคอจะแบ่งออกเป็น 3 ส่วน คือ

ส่วนที่ 1    บริเวณหลังช่องจมูกเหนือเพดาน เป็นทางผ่านของอากาศ

ส่วนที่ 2    บริเวณหลังช่องปาก เริ่มจากเพดานอ่อนถึงกระดูกโคนลิ้น เป็นทางผ่านของ                                                                     อาหารและอากาศ

ส่วนที่ 3    บริเวณล่างสุดของหลอดคอ เริ่มจากกระดูกโคนลิ้นถึงตอนบนของหลอด
อาหาร อยู่หลังกล่องเสียง

                   1.2   กล่องเสียง เป็นอวัยวะสำคัญในการเกิดเสียง ส่วนหน้าถูกห่อหุ้มด้วยแผ่นกระดูกอ่อนตรงแนวกลางจะเป็นสันนูนแหลมขึ้นมา เรียกว่า “ลูกกระเดือก” ตอนบนกล่องเสียงมีกระดูกอ่อนชิ้นหนึ่งพับเปิดปิดรูกล่องเสียง เวลาหายใจ แผ่นกระดูกอ่อนจะยกขึ้นเพื่อให้ลมผ่านเข้าออกทางกล่องเสียงและกระดูกอ่อนนี้จะปิดรูกล่องเสียงเวลากลืนน้ำ อาหาร เพื่อไม่ให้ตกลงไปในหลอดลม อาหารและน้ำจะผ่านเข้าทางหลอดอาหาร

             2.   การเกิดเสียง

ที่ปากช่องทางกล่องเสียงมีแผ่นเยื่อบาง ๆ คู่หนึ่งขึงปิดอยู่ มีความยืดหยุ่นตึงหรือหย่อนได้เรียกว่า “สายเสียง” (Vocal Cords) เสียงเกิดจากอากาศหรือลมผ่านเข้ามา ทำให้สายเสียงเกิดการพลิ้วสั่นสะเทือน เวลาหายใจออกเป็นเสียงที่เปล่งออกมา เสียงเกิดจากการสั่นสะเทือนของสายเสียงและได้รับการปรับแต่งเป็นคำพูดหรือเสียงร้อง โดยอาศัยโพรงอากาศของจมูก ช่องปาก เพดาน ลำคอริมฝีปาก ลิ้น และฟัน

             3.   อวัยวะที่ช่วยในการก้องกังวาน

อวัยวะต่าง ๆ ที่กล่าวมาทั้งหมด นอกจากจะช่วยในการเปล่งเสียง ยังเป็นบริเวณที่ช่วยให้เสียงเกิดการกังวาน บริเวณที่เกิดการก้องกังวานมี 3 บริเวณ คือ

1.   บริเวณลำคอและทรวงอก สำหรับระดับเสียงต่ำ

2.   บริเวณลำคอและโพรงจมูก สำหรับระดับเสียงกลาง

3.   บริเวณหน้าผากและโพรงกะโหลกศีรษะ สำหรับระดับเสียงสูง

             4.   ปัจจัยสำคัญในการขับร้อง

1.   รู้จักใช้และควบคุมลมหายใจทั้ง 3 ระดับ คือ ระดับไหปลาร้า ระดับทรวงอก และระดับกะบังลม

2.   รู้จักการใช้เสียงอย่างถูกวิธี

3.   รู้จักประเภทของเสียงร้อง เช่น เด็กชาย เด็กหญิง เสียงไม่แตกต่างกัน ในวัยรุ่นเด็กชาย
เสียงจะแตก ต่ำ ห้าว เด็กหญิงจะทุ้ม สูง และแหลม

4.   รู้จักบทเพลงประเภทต่าง ๆ เช่น เพลงพื้นเมือง เพลงลูกทุ่ง เพลงไทยสากล และเพลงสากล เป็นต้น

5.   มีความรู้ด้านทฤษฎีโน้ต

6.   มีวิธีออกเสียงคำร้องให้ชัดเจน เช่น สระ พยัญชนะ คำควบกล้ำ เป็นต้น

7. รู้จักรักษาสุขภาพที่ดี เช่น คอ ปาก ฟัน จมูก ตลอดจนสุขภาพทั่วไป

ที่มา : //nawin.org.a27.readyplanet.net/index.php?lay=show&ac=article&Id=539413336&Ntype=3

การเอื้อนจะนิยมขับร้องในเพลงประเภทใด

ในส่วนของเพลงพื้นบ้านนั้น เทคนิคต่าง ๆ ในการร้องก็เช่นเดียวกัน เพียงแต่ว่าการร้องกลอนเพลงพื้นบ้าน จะมีการร้องเอื้อน หรือร้องคำซ้ำ ๆ เพื่อช่วยยืดเวลาให้คิดกลอนได้ทัน สำหรับการร้องประกอบวงดนตรี การเอื้อนหรือเทคนิคต่าง ๆ ดังกล่าวจะเป็นแบบแผนมากขึ้น

การขับร้องเพลงในข้อใดถูกต้อง

1. ต้องขับร้องเพลงให้มีระดับเสียงสูงต ่าตามและการเอื้อนให้ถูกต้องตามที่ผู้ประพันธ์ได้ประพันธ์ไว้ 2. จังหวะต้องถูกต้องและแม่นย า 3. ออกเสียงให้ถูกต้องตามอักขรวิธี 4. แบ่งวรรคตอนของเนื้อร้องให้ถูกต้องได้ความหมาย 5. ใส่อารมณ์ไปตามเนื้อร้องและท านองของเพลง 6. แสดงบุคลิกภาพและท่าทางให้เหมาะสม

การร้องเพลงแบ่งออกเป็นกี่ประเภท

การขับร้องเพลง เป็นกิจกรรมสร้างสรรรค์ทางดนตรีวิธีหนึ่ง ที่ทำให้เกิดความสนุกสนานเพลิดเพลินแก่ผู้ร้องและผู้ฟัง ซึ่งการขับร้องอาจจะแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ การขับร้องเดี่ยวและการขับร้องหมู่

ข้อใดหมายถึงการร้องรับ

(3) การร้องส่ง หรือการร้องรับ หมายถึง ผู้ขับร้องร้องขึ้นก่อน เมื่ออจบแล้ว ดนตรีจึงรับด้วยลูกฆ้องเดียวกัน เพียงแต่ว่าการร้องนั้น ผู้ร้องถอดลูกฆ้องออกมาเป็นเอื้อน แต่ดนตรีถอดลูกฆ้องอออกมาเป็นทำนองเต็ม (Full Melody) การร้องส่งหรือการร้องรับนี้ ดนตรีจะต้องมีการสวมร้องด้วย เพื่อเป็นสะพานเชื่อมระหว่างการร้องที่ช้า และการ ...

กระทู้ที่เกี่ยวข้อง

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

แปลภาษาไทย ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน อาจารย์ ตจต ศัพท์ทหาร ภาษาอังกฤษ pdf lmyour แปลภาษา ชขภใ ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมฟรี 2566 ขขขขบบบยข ่ส ศัพท์ทางทหาร military words หนังสือราชการ ตัวอย่าง หยน แปลบาลีเป็นไทย ไทยแปลอังกฤษ ประโยค การไฟฟ้านครหลวง การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ข้อสอบโอเน็ต ม.3 ออกเรื่องอะไรบ้าง พจนานุกรมศัพท์ทหาร เมอร์ซี่ อาร์สยาม ล่าสุด แปลภาษามลายู ยาวี Bahasa Thailand กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมออนไลน์ การ์ดจอมือสอง ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย คะแนน o-net โรงเรียน ค้นหา ประวัติ นามสกุล บทที่ 1 ที่มาและความสําคัญของปัญหา ร. ต จ แบบฝึกหัดเคมี ม.5 พร้อมเฉลย แปลภาษาอาหรับ-ไทย ใบรับรอง กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน PEA Life login Terjemahan บบบย มือปราบผีพันธุ์ซาตาน ภาค2 สรุปการบริหารทรัพยากรมนุษย์ pdf สอบโอเน็ต ม.3 จําเป็นไหม เช็คยอดค่าไฟฟ้า แจ้งไฟฟ้าดับ แปลภาษา มาเลเซีย ไทย แผนที่ทวีปอเมริกาเหนือ ่้แปลภาษา Google Translate กระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ 8 ขั้นตอน ก่อนจะนิ่งก็ต้องกลิ้งมาก่อน เนื้อเพลง ข้อสอบโอเน็ตม.3 มีกี่ข้อ คะแนนโอเน็ต 65 ตม กรุงเทพ มีที่ไหนบ้าง