สุโข ปุญฺญสฺส อุจฺจโย แปลว่าอะไร



ปุญญะกะถา

นโม  ตสฺส  ภควโต  อรหโต  สมฺมาสมฺพุทฺธสฺสฯ

สุโข  ปุญฺญสฺส  อุจฺจโย

ความสั่งสมซึ่งบุญนำสุขมาให้.

            บัดนี้จักได้อธิบายขยายความแห่งกระทู้ธรรมสุภาษิตที่ลิขิตไว้เบื้องต้นพอเป็นแนวทางแห่งการศึกษา  และนำไปปฏิบัติสืบต่อไป

          คำว่า บุญ  แปลว่า  ธรรมชาติที่ชำระล้างหมายถึง ชำระล้างกิเลส  หมายถึงชำระล้างกิเลสทางกาย  วาจา  และใจ  บ่อเกิดบุญเรียกว่า “บุญกิริยาวัตถุ” มี 3 อย่าง คือ

          1.  ทานมัย  บุญสำเร็จด้วยการให้ทาน  การให้มี 3 อย่าง คือให้ข้าว น้ำ  โภชนาหาร  ที่อยู่อาศัย  ยารักษาโรค  เรียกว่า  อามิสทาน  การอบรมแนะนำสั่งสอนให้รู้จักสิ่งที่ดีหรือไม่ดี

          2.  สีลมัย  บุญสำเร็จด้วยการรักษาศีล  รักษากาย  วาจา  ใจ  ให้เรียบร้อย

          3.  ภาวนามัย  บุญสำเร็จด้วยการเจริญภาวนา  คำว่า ภาวนา  แปลว่าการทำให้มี  ให้เป็น มี 2 อย่าง คือ  ทำใจให้สงบนิ่งด้วยยึดนิมิตอย่างใดอย่างใดอย่างหนึ่ง  เป็นอารมณ์เรียกว่า สมถภาวนา  หรือสมถกรรมฐานก็ได้  ถ้าพิจารณารูปนามเป็นอารมณ์  รูปและนามไม่เที่ยงแท้แน่นอน  ย่อมเปลี่ยนแปรผันอยู่ตลอดเวลา  มีสภาพเป็นทุกข์ทนอยู่ได้ยาก  ยึดถือเป็นตัวตนมิได้  เป็นต้น  เรียกว่า  วิปัสสนาภาวนา  หรือ  วิปัสสนากรรมฐานก็ได้

          ทาน  ศีล  ภาวนา  ทั้ง 3 ทานมีหน้าที่กำจัดกิเลส  ศีลมีหน้าที่กำจัดความโกรธ ภาวนามีหน้าที่กำจัดโมหะความโง่เขลา

          ฉะนั้น  ทาน  ศีล  ภาวนา  จึงเป็นเครื่องชำระล้างกิเลส 3 อย่าง  กล่าวคือท่าน  ชำระล้างความโลภ  ศีล  ชำระล้างความโกรธ  และภาวนา  ชำระล้างความหลง  ชำระล้างกิเลสออกจากจิตใจทุกวัน  จิตใจก็บริสุทธิ์สะอาด  จิตใจก็มั่นคงไม่หวาดระแวงต่อภัยต่างๆ ความสุขก็จะบังเกิด  มีแก่จิตใจอยู่ตลอดเวลา  เพราะบุญอยู่ที่ใจ  บุญเป็นสมบัติส่วนบุคคล  ถ้าใครทำไว้คนนั้นก็มีสิทธิ์เป็นเจ้าของบุญนั้น  ไม่ฉิบหายด้วยภัยนานาประการ  สมดังพุทธสุภาษิตที่มาในสังยุตตนิกาย  สคาถวรรคว่า

ปุญฺญํ  โจเรหิ  ทูหรํ

บุญอันโจรนำไปไม่ได้.

          ถ้าใครทำบุญไว้แล้วเปรียบเสมือนมีขุมทรัพย์อันประเสริฐ ทรัพย์คือบุญจะติดตัวตามไปเหมือนเงาติดตามตัว  เพื่อไปเกิดในภพที่ดีเป็นคนมั่งมีศรีสุขในชาติหน้า

          สรุปความว่า  คนทุกคนควรทำบุญไว้บุญนำสุขมาให้ทั้งในโลกนี้และโลกหน้า  ผู้มีบุญมีอายุยืนยาว  มีสุขกายสุขใจ  สมดังกระทู้สุภาษิตที่ลิขิตไว้ ณ เบื้องต้นว่า

สุโข  ปุญฺญสฺส  อุจฺจโย

ความสั่งสมซึ่งบุญนำสุขมาให้

ดังอรรถาธิบายมา  เอวํ  ก็มีด้วยประการฉะนี้ฯ


     [1] พระธนทร  วรธมฺโม/อมรธำรงโชติ (เพ็ง). อายุ 33 พรรษา 1 น.ธ.ตรี, ม.6 (ชาวกรุงเทพฯ)

- บุญส่วนที่เป็นผล คือ ความสุข บุญที่เป็นส่วนเหตุ คือ ความดีเกิดจากการกระทำ ถ้าอยู่เฉยๆไม่ทำก็ไม่เกิดเป็นบุญขึ้น

@@@@@@

การทำบุญนี้เรียกว่า บุญกิริยา จำต้องมีวัตถุ คือ สิ่งเป็นที่ตั้ง และสิ่งเป็นที่ตั้งแห่งการทำบุญ ทางพุทธศาสนาแสดง โดยย่อ 3 อย่างคือ

สุขโข บุญญสฺสฺ อุจจฺโย มีความหมายตรงกับข้อใด

[คำอ่าน : สุ-โข, ปุน-ยัด-สะ, อุด-จะ-โย] “ความสั่งสมขึ้นซึ่งบุญ นำสุขมาให้” (ขุ.ธ. ๒๕/๓๐) บุญ คือ สภาวะที่เป็นสุข เป็นสภาวะที่ชำระจิตใจของคนให้สะอาดจากบาป เมื่อไม่มีบาปอันเป็นเหตุแห่งทุกข์ จิตใจก็เป็นสุข

การสะสมบุญคืออะไร

- การสะสมบุญ ด้วยการหมั่นให้ทานอยู่เป็นนิตย์ ย่อมช่วยลดช่วยผ่อนคลายวิบากกรรมชั่วได้ ในขณะเมื่อทำให้ตั้งอยู่ในองค์ประกอบของการให้ทานที่ครบถ้วน คือ จิตเจตนาที่บริสุทธิ์ วัตถุทานที่ทำนั้นบริสุทธิ์ ผู้รับที่รับทานนั้นบริสุทธิ์ และมีเนื้อนาบุญสูง

กระทู้ที่เกี่ยวข้อง

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

แปลภาษาไทย ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน อาจารย์ ตจต ศัพท์ทหาร ภาษาอังกฤษ pdf lmyour แปลภาษา ชขภใ ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมฟรี 2566 ขขขขบบบยข ่ส ศัพท์ทางทหาร military words หนังสือราชการ ตัวอย่าง หยน แปลบาลีเป็นไทย ไทยแปลอังกฤษ ประโยค การไฟฟ้านครหลวง การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ข้อสอบโอเน็ต ม.3 ออกเรื่องอะไรบ้าง พจนานุกรมศัพท์ทหาร เมอร์ซี่ อาร์สยาม ล่าสุด แปลภาษามลายู ยาวี Bahasa Thailand กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมออนไลน์ การ์ดจอมือสอง ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย คะแนน o-net โรงเรียน ค้นหา ประวัติ นามสกุล บทที่ 1 ที่มาและความสําคัญของปัญหา ร. ต จ แบบฝึกหัดเคมี ม.5 พร้อมเฉลย แปลภาษาอาหรับ-ไทย ใบรับรอง กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน PEA Life login Terjemahan บบบย มือปราบผีพันธุ์ซาตาน ภาค2 สรุปการบริหารทรัพยากรมนุษย์ pdf สอบโอเน็ต ม.3 จําเป็นไหม เช็คยอดค่าไฟฟ้า แจ้งไฟฟ้าดับ แปลภาษา มาเลเซีย ไทย แผนที่ทวีปอเมริกาเหนือ ่้แปลภาษา Google Translate กระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ 8 ขั้นตอน ก่อนจะนิ่งก็ต้องกลิ้งมาก่อน เนื้อเพลง ข้อสอบโอเน็ตม.3 มีกี่ข้อ คะแนนโอเน็ต 65 ตม กรุงเทพ มีที่ไหนบ้าง