คณะวิทยาศาสตร์ สาขาเคมี สอบ อะไรบ้าง

_____________________________________________________________________________________________________________________

ถาม : เรียนคณะวิทยาศาสตร์ดียังไง?

ตอบ : ข้อดีหลัก ๆ ของคณะวิทยาศาสตร์ คือ มีสาขาให้เลือกหลากหลายมาก ๆ ซึ่งมันดีมาก ๆ กับการเรียนเฉพาะเจาะจง สำหรับใครที่รู้ว่าตัวเองชอบอะไร สนใจด้านไหนเป็นพิเศษและอยากทำงานเกี่ยวกับอะไร ซึ่งแต่ละสาขาของวิทยาศาสตร์ที่มีความหางานง่ายและยากต่างกันไป ดังนั้นจะบอกว่าคณะนี้ตกงานไม่ใช่จะว่าหางานง่ายก็ไม่เชิง

_____________________________________________________________________________________________________________________

ถาม : คณะวิทยาศาสตร์เรียนอะไร?

ตอบ : เรียนเกี่ยวกับเทคนิคในการสังเกตการตั้งสมมติฐาน และ การทดลองโดยใช้หลักปรัชญาและตรรกวิทยาพยายามสังเกตและวัดปริมาณเป็นตัวเลขออกมาเพื่อความแม่นยำบวกกับอาศัยหลักทางคณิตศาสตร์

_____________________________________________________________________________________________________________________

ถาม : เรียนต่อคณะวิทยาศาสตร์ต้องจบมัธยมปลายสายอะไร

ตอบ : เรียนต่อมัธยมปลายสายวิทย์-คณิต เพราะพื้นฐานจากมัธยมปลายสายวิทย์จะถูกนำมาใช้มากที่สุด

_____________________________________________________________________________________________________________________

ถาม : เรียนคณะวิทยาศาสตร์จบมาทำงานอะไร?

ตอบ : เรียนคณะวิทยาศาสตร์ จบมาสามารถทำงานได้หลากหลาย เช่น เป็นอาจารย์สอนวิชาวิทยาศาสตร์เป็นนักวิจัยหรือนักวิทยาศาสตร์ ในสถาบันการศึกษาหรือกระทรวงต่าง ๆ ประกอบอาชีพในธุรกิจเอกชน รวมไปถึงโรงงานอุตสาหกรรมจะทำหน้าที่เป็นนักเคมี นักวิจัยสาขาวิทยาศาสตร์ นักวิเคราะห์ระบบ นักวิชาการคอมพิวเตอร์ เป็นต้น

_____________________________________________________________________________________________________________________

ถาม : คณะวิทยาศาสตร์เรียนกี่ปี ?

ตอบ : สำหรับคณะวิทยาศาสตร์จะเรียน 4 ปี ส่วนใหญ่จะมีสาขาวิชาคณิตศาสตร์และสถิติ สาขาวิชาเคมี เหมาะกับน้อง ๆ ที่ชอบวิทยาศาสตร์กับเทคโนโลยีเป็นทุนเดิม ชอบค้นคว้าหาสิ่งใหม่ ๆ ช่างตั้งคำถามและหาคำตอบ และไม่หยุดพัฒนาตัวเอง

_______________________________________________________________________________________________________________________

ถาม : อยากเข้าคณะวิทยาศาสตร์ควรเน้นวิชาอะไร?

ตอบ : คณะนี้จะเน้นวิชาหลักๆเลย คือ ฟิสิกส์, เคมี, ชีววิทยา, ภาษาอังกฤษ, คณิตศาสตร์ น้องๆที่อยากเรียนคณะนี้ขยันอ่านหนังสือเพื่อเตรีมตัวให้พร้อมนะ

_____________________________________________________________________________________________________________________

ถาม : คนที่เป็นนักวิทยาศาสตร์ต้องเรียนคณะวิทยาศาสตร์อย่างเดียวใช่ไหม?

ตอบ : ไม่จำเป็นว่าต้องเรียนคณะวิทยาศาสตร์เท่านั้นนักวิทยาศาสตร์ ไม่จำเป็นต้องมาจากคณะวิทยาศาสตร์เสมอไป หลายคนก็มาจากวิศวะ เภสัช เกษตร หรือ เทคนิคการแพทย์

_____________________________________________________________________________________________________________________

สาขาของคณะวิทยาศาสตร์มีสาขาไหนบ้าง ?

            สำหรับคณะวิทยาศาสตร์ มีสาขาเฉพาะทางซึ่งจะมีสาขาต่าง ๆ ดังนี้

1. สาขาวิชาคณิตศาสตร์ 

            สาขานี้จะศึกษาเกี่ยวกับคณิตศาสตร์บริสุทธิ์และคณิตศาสตร์ประยุกต์ เน้นทั้งในด้านทฤษฎีและการนำไปใช้ และเน้นหนักที่การศึกษาเพื่อให้รู้คุณค่าของคณิตศาสตร์ในการคิด มีเหตุผลทั้งในแง่ของวิทยาศาสตร์ และศิลปศาสตร์

2. สาขาวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์ 

            สาขานี้จะศึกษาในส่วนของหลักการเขียนโปรแกรมและการประมวลผลข้อมูลด้วยคอมพิวเตอร์ ระบบสารสนเทศ การวิเคราะห์และออกแบบ ระบบการจัดการฐานข้อมูล ระบบควบคุมการดำเนินงานสถาปัตยกรรมคอมพิวเตอร์ การสื่อสารข้อมูลและข่ายงานคอมพิวเตอร์

3. สาขาวิชาเคมี 

            จะเน้นศึกษาด้านความรู้พื้นฐานสมบัติทางกายภาพทางเคมีของสารอนินทรีย์และสารอินทรีย์ ตั้งแต่ระดับอะตอมถึงระดับโมเลกุล เพื่อให้ผู้เรียนเคมีสามารถศึกษาขั้นสูงต่อไป

4. สาขาวิชาฟิสิกส์ 

            สาขาวิชาฟิสิกส์จะเรียนเป็นวิชาพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์สำคัญวิชาหนึ่งที่หยั่งลึกลงไปในธรรมชาติของสสาร และพลังงาน

5. สาขาวิชาชีววิทยา 

            จะศึกษาเน้นทางด้านที่เกี่ยวกับสิ่งมีชีวิตตั้งแต่ระดับเซลล์จนถึงระดับชีวิตรวมไปถึงสภาพแวดล้อมที่มีสิ่งมีชีวิตอาศัยอยู่

6. สาขาวิชาสัตววิทยา 

            สำหรับการศึกษาเน้นหนักไปทางสัตววิทยาทั่วไป อนุกรมวิธานสัตว์ วิวัฒนาการของสัตว์ สัตว์ภูมิศาสตร์ กายวิภาคเปรียบเทียบสัตว์คอร์เดท สัตว์มีและไม่มีกระดูกสันหลัง สัตว์เลื้อยคลาน สัตว์ปีก สัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม และวิชาเฉพาะเกี่ยวกับพฤติกรรมของสัตว์และสรีรวิทยาสัตว์ จุลกายวิภาคศาสตร์ การพัฒนาตัวอ่อน ฮอร์โมน พยาธิของสัตว์ รวมทั้งวิธีการเก็บรักษาตัวอย่างสัตว์ด้วย

7. สาขาวิชาพฤกษศาสตร์

            จะเรียนเกี่ยวกับรูปร่างลักษณะการเจริญเติบโต การดำรงชีวิต การสืบพันธุ์ การขยายพันธุ์ ความสัมพันธ์ของพืชกับสิ่งแวดล้อม วิวัฒนาการของพืช การจัดจำแนกหมวดหมู่พันธุ์ไม้ ตลอดจนการใช้ประโยชน์ทางเกษตรกรรม อุตสาหกรรม เภสัชกรรม

8. สาขาวิชาเทคโนโลยีชนบท 

            สาขานี้จะศึกษาในด้านเทคโนโลยีชนบท เพื่อช่วยส่งเสริม พัฒนา ดัดแปลง เสริมสร้างเครือข่ายและขบวนการถ่ายทอดเทคโนโลยีที่เหมาะสม อีกทั้งมีความรู้ที่จะนำเทคโนโลยีไปใช้ประโยชน์ในการพัฒนาสังคมอย่างเหมาะสม

9. สาขาวิชารังสีประยุกต์และไอโซโทป 

            สาขาวิชารังสีประยุกต์และไอโซโทปจะศึกษาเกี่ยวกับความรู้พื้นฐานทางนิวเคลียร์ รังสีสุขภาพ และการป้องกัน เทคนิคการวัดรังสี ชีววิทยารังสี รังสีชีวิตและสิ่งแวดล้อม เทคนิคการถ่ายภาพด้วยรังสี รังสีและการกลายพันธุ์ การวิเคราะห์โดยวิธีทางนิวเคลียร์ การใช้รังสีและไอโซโทปในการเกษตร เวชศาสตร์นิวเคลียร์ เป็นต้น

10. สาขาวิชาพันธุศาสตร์ 

            เน้นหนักเกี่ยวกับการถ่ายทอดกรรมพันธุ์ ความแตกต่างของลักษณะที่มีสาเหตุเนื่องมาจากสารพันธุกรรมทั้งในคน สัตว์ และ พืช ตลอดจนศึกษาเชิงพฤติกรรมของสารพันธุกรรมระดับโมเลกุล และโครงสร้างของสารเหล่านั้น

11. สาขาวิชาเคมีวิศวกรรม 

            สำหรับสาขานี้เน้นหนักใน 2 สาย คือ สายเคมีวิศวกรรม ซึ่งเรียนเกี่ยวกับการควบคุมการผลิตเคมีภัณฑ์ และเครื่องอุปโภคบริโภค ที่ต้องใช้กระบวนการเคมี ตลอดจนการออกแบบและการควบคุมการทำงานของเครื่องจักรกลในโรงงานอุตสาหกรรม และ สายเทคโนโลยีทางเชื้อเพลิง ศึกษาด้านอุตสาหกรรมน้ำมันก๊าชธรรมชาติ เชื้อเพลิงแข็ง และพลังงานในรูปแบบอื่น ๆ การประหยัดพลังงานในโรงงานอุตสาหกรรมและเทคโนโลยีต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับเชื้อเพลิงและพลังงาน เป็นต้น

12. สาขาวิชาธรณีวิทยา 

            จะเรียนเกี่ยวกับทรัพยากรธรณี พวก แร่ หิน เชื้อเพลิงธรรมชาติ น้ำ ตลอดจนวัสดุก่อสร้างทั้งการสำรวจ และพัฒนาทรัพยากรธรรมชาติ และศึกษาเกี่ยวกับโลกทั้งทางเคมีและภายภาพ

13. สาขาวิชาวิทยาศาสตร์ทั่วไป 

            จะเป็นการศึกษาเพื่อให้มีความรู้ทางวิทยาศาสตร์หลายสาขาวิชา เป็นการศึกษาแบบบูรณาการ

14. สาขาวิทยาศาสตร์ทางทะเล

             สาขานี้จะเรียนในเรื่องธรรมชาติ สภาพแวดล้อมของท้องทะเลและมหาสมุทร รวมไปถึงการนำทรัพยากรจากท้องทะเลมาใช้อย่างมีประสิทธิภาพ

15. สาขาวิชาชีวเคมี 

            ศึกษาเกี่ยวกับชีวเคมีพืช ชีวเคมีสัตว์ ชีวเคมีสิ่งแวดล้อม ชีวเคมีประยุกต์ในการเกษตรและอุตสาหกรรม และชีวเคมีทั่วไป

16. สาขาวิทยาศาสตร์สุขภาพ 

            จะศึกษาในเรื่องสุขภาพอนามัยและการสาธารณสุขทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติ ทำและผู้ประสานงานด้านสุขภาพอนามัยและการสาธารณสุข จะเน้นในเรื่องโครงสร้างและระบบการทำงานของร่างกายมนุษย์ กระบวนการเกิดโรค การระบาดของโรค และปัจจัยทางด้านสิ่งแวดล้อมที่มีผลกระทบต่อสุขภาพอนามัยของมนุษย์ ชุมชน และอุตสาหกรรม

17. สาขาวิชาเทคโนโลยีทางอาหาร 

            สำหรับสาขานี้จะมี 2 สายได้แก่ สายเทคโนโลยีทางอาหาร ศึกษาเกี่ยวกับกระบวนการแปรรูปและการถนอมอาหาร โดยให้มีคุณภาพและประสิทธิภาพสูง และ สายเทคโนโลยีทางชีวภาพ ศึกษาเกี่ยวกับการผลิตสารชีวเคมี ซึ่งได้จากสิ่งมีชีวิต และการนำเอาชีวเคมีไปประกอบในอุตสาหกรรมอาหาร การผลิตเอนไซม์ และการผลิตสารปฏิชีวนะ

18. สาขาวิชาวิทยาศาสตร์ทางภายถ่าย 

            คือเทคโนโลยีทางการพิมพ์ ศึกษาทั้งภาคทฤษฎีและปฏิบัติในการถ่ายภาพ และเทคโนโลยีการพิมพ์

19. สาขาวิชาวัสดุศาสตร์ 

            สาขานี้ศึกษา 2 ทาง คือ ทางเซรามิกส์และทางโพลีเมอร์  ซึ่งทางเซรามิกส์จะเรียนเกี่ยวกับกระบวนการผลิตวัสดุภัณฑ์ ตลอดจนการใช้งานของผลิตภัณฑ์และอุตสาหกรรมด้านวัสดุคาบเกี่ยว ในส่วนทางโพลีเมอร์ จะเรียนเกี่ยวกับกระบวนการในอุตสาหกรรมด้านโพลีเมอร์ เส้นใย สิ่งทอ พลาสติก สี และวัสดุเคลือบผิวต่าง ๆ

20. สาขาวิชาสถิติ 

            จะศึกษาเกี่ยวกับสถิติทั้งทฤษฎีและประยุกต์ในสาขาอาชีพต่าง ๆ และศึกษาเกี่ยวกับการวางแผนการทดลอง การสุ่มตัวอย่าง สถิติควบคุมคุณภาพ

21. สาขาวิชาจุลชีววิทยา 

            สาขาวิชาจุลชีววิทยาศึกษาเกี่ยวกับจุลินทรีย์ จำพวกรา แบคทีเรีย และไวรัส โดยนำไปประยุกต์ใช้ในทางอุตสาหกรรม การเกษตร การอาหาร การแพทย์ และการสาธารณสุข ตลอดจนปรับปรุงมลภาวะและสภาพแวดล้อม

คณะนี้เรียนอะไรในแต่ละปี ?

ปี 1

เรียนวิชาพื้นฐาน

ปี 1 สำหรับการเรียนในปีนี้ยังไม่มีการแยกสาขาและจะได้ทำแล็บ  ในบางครั้งก็จะมีคณะอื่น ๆ เข้ามาเรียนด้วย ก็จะเรียนวิชาพื้นฐานเหมือนกันทุกสาขา เช่น แคลคูลัส ฟิสิกส์ เคมี ชีวะ สถิติ จิตวิทยา ภาษาอังกฤษ ภาษาไทย ในด้านภาษาและการสื่อสารเน้นการ ฟัง พูด อ่าน เขียน

ปี 2

เริ่มเรียนในหมวดวิชาเฉพาะ

สำหรับปี 2 จะได้เรียนในส่วนภาควิชาที่เราเลือกอย่างเข้มข้นขึ้นมากจะเรียนหมวดวิชาเฉพาะตามสาขาที่เราเลือก เช่น ถ้าเราเลือกเรียนสาขาวิทยาการคอมพิวเตอร์ก็จะได้เริ่มเรียนการเขียนโปรแกรม การพัฒนาเว็บเป็นต้น

ปี 3

เรียนเจาะลึกในวิชาเอก

พอเข้าสู่ช่วงปีที่ 3 หลาย ๆ คนก็จะเริ่มเลือกแล็บหรือวิชาเอกของตัวเอง โดยการติดต่ออาจารย์เพื่อฝึกงานขอทำแล็บในเรื่องที่เราสนใจนั้นเอง เป็นการเรียนลึกลงไปเกี่ยวกับวิชาเอก

ปี 4

ช่วงสุดท้ายก่อนจบ

สำหรับปี 4 เป็นปีสุดท้ายแล้วสำหรับการเรียนในปีนี้น้อง ๆ ก็จะต้องทำ Project จบนั่นเองและฝึกงานในหน่วยงานภาคอุตสาหกรรม หน่วยงานวิจัย สถาบัน หรืองานอื่นที่เทียบเท่าต้องเขียนรายงานและนำเสนอผลงาน ซึ่งแต่ละมหาวิทยาลัยอาจจะแตกต่างกันไป

คณะวิทยาศาสตร์ สาขาเคมี ต้องสอบอะไร

กลุ่มคณะวิทยาศาสตร์ วิชา GAT/PATที่ต้องสอบ : GAT / PAT1 / PAT2. วิชาสามัญที่ต้องสอบ : ภาษาไทย / สังคม / คณิตศาสตร์ 1 / ภาษาอังกฤษ / ฟิสิกส์ / เคมี /ชีววิทยา

คณะวิทยาศาสตร์ สาขา เคมีเรียนเกี่ยวกับอะไรบ้าง

สาขาเคมีเป็นวิทยาศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับสสาร สารประกอบ โครงสร้าง ลักษณะ และปฏิกิริยาทางเคมี มันเกี่ยวข้องกับทุกอย่างที่เราเห็น เราใช้ และเราทำ ตั้งแต่อากาศที่เราหายใจไปจนถึงอาหารมื้อค่ำที่เราทำอยู่ทุกวัน สิ่งเดียวที่แตกต่าง คือ ในทางเคมีแล้ว คุณไม่ควรเลียช้อนของคุณเด็ดขาด!

คณะวิทยาศาสตร์เรียนเกี่ยวกับอะไรบ้าง

คณะวิทยาศาสตร์ประกอบด้วย 14 ภาควิชา ได้แก่.
คณิตศาสตร์และวิทยาการคอมพิวเตอร์ (Mathematics and Computer Science).
เคมี (Chemistry).
ชีววิทยา (Biology).
ฟิสิกส์ (Physics).
พฤกษศาสตร์ (Botany).
เคมีเทคนิค (Chemical Technology).
ธรณีวิทยา (Geology).
วิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม (Enviromental Science).

คณะวิทยาศาสตร์ สาขาฟิสิกส์ สอบอะไรบ้าง

ใช้ GAT 20% | วิชาสามัญ 4 วิชา คณิต 1 20% | เคมี 20% | ชีววิทยา 20% | ฟิสิกส์ 20% รอบที่ 4 Admissions. ใช้ GPAX 20% | O-NET 30% | GAT 10% | PAT 1 10% | PAT 2 30%

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

แปลภาษาไทย ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน อาจารย์ ตจต ศัพท์ทหาร ภาษาอังกฤษ pdf lmyour แปลภาษา ชขภใ ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมฟรี 2566 ขขขขบบบยข ่ส ศัพท์ทางทหาร military words หนังสือราชการ ตัวอย่าง หยน แปลบาลีเป็นไทย ไทยแปลอังกฤษ ประโยค การไฟฟ้านครหลวง การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ข้อสอบโอเน็ต ม.3 ออกเรื่องอะไรบ้าง พจนานุกรมศัพท์ทหาร เมอร์ซี่ อาร์สยาม ล่าสุด แปลภาษามลายู ยาวี Bahasa Thailand กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมออนไลน์ การ์ดจอมือสอง ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย คะแนน o-net โรงเรียน ค้นหา ประวัติ นามสกุล บทที่ 1 ที่มาและความสําคัญของปัญหา ร. ต จ แบบฝึกหัดเคมี ม.5 พร้อมเฉลย แปลภาษาอาหรับ-ไทย ใบรับรอง กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน PEA Life login Terjemahan บบบย มือปราบผีพันธุ์ซาตาน ภาค2 สรุปการบริหารทรัพยากรมนุษย์ pdf สอบโอเน็ต ม.3 จําเป็นไหม เช็คยอดค่าไฟฟ้า แจ้งไฟฟ้าดับ แปลภาษา มาเลเซีย ไทย แผนที่ทวีปอเมริกาเหนือ ่้แปลภาษา Google Translate กระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ 8 ขั้นตอน ก่อนจะนิ่งก็ต้องกลิ้งมาก่อน เนื้อเพลง ข้อสอบโอเน็ตม.3 มีกี่ข้อ คะแนนโอเน็ต 65 ตม กรุงเทพ มีที่ไหนบ้าง