พิพิธภัณฑ์ให้ความรู้ในเรื่องใด

โค้งสุดท้ายของการเลือกตั้งซึ่งเป็นวาระแห่งชาติกำลังใกล้เข้ามา หลายพรรคมีนโยบายที่เน้นการกู้เศรษฐกิจ ปรับโครงสร้าง แก้จน สร้างชาติ โดยใช้วิธีการต่าง ๆ นานา วิธีการหนึ่งคือใช้การท่องเที่ยวเพื่อสร้างเม็ดเงินจากนักท่องเที่ยว เครื่องมือที่คิดจะใช้มีหลากหลาย แต่ไม่มีพรรคใดเอ่ยถึงการใช้พิพิธภัณฑ์เป็นเครื่องมือในการช่วยสร้างเศรษฐกิจสร้างชาติอย่างจริงจังเลย

ขณะที่ในหลาย ๆ ประเทศย่อมมีพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ (National Museum)  ซึ่งชื่อก็บ่งบอกอยู่ว่ามันคือ ‘แห่งชาติ’ ดังนั้นมันคือของชาติ มันจึงควรมีหน้าที่สร้างชาติ แต่สร้างชาติในที่นี้คืออะไร แล้วถ้าเป็นพิพิธภัณฑ์เอกชนท้องถิ่นของชาวบ้านธรรมดามันช่วยสร้างชาติไม่ได้หรืออย่างไร เราจะมาว่าด้วยเรื่องนี้กัน  

ชาติ คืออะไร และอะไรคือ ความเป็นชาติ

ถ้าให้สรุปความหมายของคำว่า ‘ชาติ’ หรือ Nation (ที่ไม่ได้หมายถึงชื่อหนังสือพิมพ์เนาะ) จะกล่าวได้ว่า ชาติ หมายถึงประเทศซึ่งเกิดจากการรวมตัวกันของกลุ่มคนขนาดใหญ่ที่อาจจะมีความเชื่อมโยงกันทางเชื้อชาติหรือไม่มีก็ได้ ตัดสินใจที่จะมาอยู่ร่วมกัน ทำข้อตกลงที่จะสร้างอาณาเขต กฎหมายข้อบังคับ ภาษา และวัฒนธรรมร่วมกัน และสิ่งเหล่านี้คือปัจจัยที่ดำรงสืบอยู่นานเท่านานจนเกิดเป็นอัตลักษณ์และประวัติศาสตร์ของชาติ

Peter Ravn Rasmussen นักเขียนและนักประวัติศาสตร์ชาวเดนมาร์ก กล่าวว่า ความเป็นชาตินั้นจะเกิดขึ้นได้เมื่อมีปัจจัยสำคัญ 4 อย่างคือ ความสัมพันธ์ภายในประเทศ (Interrelationship) ความเชื่อมโยงทางภาษา (Linguistic Coherence) การมีวัฒนธรรมร่วมกัน (Shared Cultural Heritage) และ อัตลักษณ์ (Sense of Identification) กล่าวคือ ความเป็นชาติคือความสัมพันธ์ภายในประเทศโดยประชาชน ถึงแม้ประชาชนทุกคนจะไม่ได้มาจากครอบครัวเดียวกันแต่มีการสร้างอัตลักษณ์ของตัวเองร่วมกันและมีความภูมิใจในอัตลักษณ์นั้น ซึ่ง Rasmussen เน้นว่า ถ้าประเทศใดประชาชนปราศจากความภูมิใจในอัตลักษณ์ของชาติตนเองนั้น ถึงแม้ให้มีสามปัจจัยแรกครบ ความเป็นชาตินั้นก็ไร้ความหมาย

พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติและหน้าที่ในการสร้างชาติ

พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติมีไว้เพื่อสะท้อนให้เห็นสถานะของประเทศนั้นโดยว่าด้วยเรื่องชาตินิยม อัตลักษณ์ วัฒนธรรม ความสัมพันธ์และการแข่งขันกันกับประเทศอื่นๆ รวมไปถึงเรื่องการเมือง เศรษฐกิจ ฯลฯ แล้วหน้าที่ของมันคืออะไร? จริงๆ แล้วตามหลักสากลพิพิธภัณฑ์โดยทั่วๆ ไปมีหน้าที่หลักคือ ให้ความรู้ควบคู่ไปกับความสนุกสนาน แต่เมื่อมีคำว่า ‘แห่งชาติ’ เป็นข้อแม้อยู่ จึงสามารถตีความว่าพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติก็ต้องทำหน้าที่สร้างชาติ ซึ่งบทบาทการสร้างชาติคือส่งเสริมสังคม วัฒนธรรม และ เศรษฐกิจ ซึ่งในความเป็นจริงแล้วนั้นไม่ว่าพิพิธภัณฑ์ไหนๆ ก็สามารถมีบทบาทในการส่งเสริมประเทศในทั้งสามแง่นี้ได้

แต่ศาสตราจารย์ Simon Knell ปรมาจารย์ด้านพิพิธภัณฑ์ศึกษากล่าวว่าจุดสำคัญที่ทำให้พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติแตกต่างไปจากพิพิธภัณฑ์ทั่วๆ ไปคือความสัมพันธ์ระหว่างตัวพิพิธภัณฑ์เองกับประวัติศาสตร์ของชาติ เพราะพิพิธภัณฑสถานแห่งชาตินั้นมีหน้าที่ดูแลอดีต มีหน้าที่เป็นเครื่องมือในการเก็บบันทึกประวัติศาสตร์ของชาติจากอดีตจนปัจจุบัน ดังนั้นหน้าที่ของพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติคือการมีหน้าที่ส่งเสริมสังคม วัฒนธรรม และเศรษฐกิจ และรับใช้ชาติด้วยการเป็นตัวแทนของประเทศในการนำเสนอประวัติศาสตร์ชาติผ่านความคิดและอัตลักษณ์ของความเป็นชาติเพื่อให้ความรู้สำหรับประชาชนในชาติและชาวต่างชาติ และเพื่อให้เกิดผลประโยชน์ทั้งในด้านเศรษฐกิจและสังคม

ตัวอย่างของพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติที่ทำหน้าที่นี้ได้อย่างครบถ้วนชัดเจนคือ British Museum (BM) อันโด่งดังของประเทศอังกฤษ ในเชิงสังคม BM ทำหน้าที่เป็นผู้ให้ความรู้ ในเชิงวัฒนธรรม BM ทำหน้าที่ดูแลและอนุรักษ์โบราณวัตถุที่มาจากประเทศต่างๆ ที่แสดงให้เห็นถึงวัฒนธรรมที่หลากหลายถึงแม้จะมีข้อโต้แย้งว่าคอลเลคชั่นของพิพิธภัณฑ์นี้เป็นของประเทศอื่นๆ ที่ได้มาในช่วงล่าอาณานิคมเสียมากกว่าของในประเทศตัวเองแต่มันก็คือการเล่าถึงประวัติศาสตร์ทางสถานะของประเทศอังกฤษในอดีต ส่วนด้านเศรษฐกิจแน่นอนว่า BM สร้างรายได้ให้กับประเทศมากมายเพราะปฏิเสธไม่ได้ว่านักท่องเที่ยวจากทั่วโลกมาเที่ยวลอนดอนเพราะอยากมาดูโบราณวัตถุที่สำคัญๆ ที่จัดแสดงอยู่ที่พิพิธภัณฑ์แห่งนี้ ดังนั้น British Museum จึงตอบโจทย์ของการเป็นพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ ที่สร้างชาติได้ครบถ้วนทุกแง่มุม ทั้งสังคม วัฒนธรรม เศรษฐกิจ และประวัติศาสตร์

ในขณะเดียวกันอีกหนึ่งหน้าที่ของพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติคือสร้างความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันในชาติโดยคำนึงถึงความแตกต่างกันทางวัฒนธรรม สร้างแรงบันดาลใจให้คนในชาติมีความภาคภูมิใจในอัตลักษณ์ถึงแม้จะมาจากเชื้อชาติวัฒนธรรมที่ต่างกันในแต่ละท้องที่ของประเทศ ตัวอย่างเช่นที่ National Museum of the America Indian (NMAI) ที่วอชิงตัน ดี.ซี. ที่เปิดเป็นทางการเมื่อปี 2004 เพื่อทำหน้าที่เป็นตัวแทนของชนเผ่าพื้นเมืองอเมริกันดั้งเดิมและเป็นเวทีให้พวกเขาได้แสดงอัตลักษณ์ของตัวเองในระดับสากล เนื่องจากที่ผ่านมาการนำเสนอเรื่องราวชองชนเผ่าอินเดียนแดงในพิพิธภัณฑ์นั้น มักเป็นการนำเสนอโดยมุมมองของคนขาวเพื่อให้เกิดผลประโยชน์อย่างมีนัยแฝง ส่งผลให้ชนเผ่าอินเดียนแดงกับพิพิธภัณฑ์นั้นมีความสัมพันธ์ที่ไม่กินเส้นกัน NMAI จึงได้พยายามทำหน้าที่ส่งเสริมความเข้าใจเรื่องชนเผ่าพื้นเมืองอเมริกันดั้งเดิมให้กับคนขาว ถึงแม้ว่าผลลัพธ์จะยังไม่สำเร็จเต็มร้อยแต่ก็ถือว่า NMAI ได้พยายามทำหน้าที่ของความเป็นพิพิธภัณฑ์แห่งชาติแล้วในเชิงของการคำนึงถึงความแตกต่างทางวัฒนธรรมนอกเหนือจากเรื่องประวัติศาสตร์    

ถ้าไม่ใช่พิพิธภัณฑสถาน ‘แห่งชาติ’ จะช่วยสร้างชาติได้ไหม?

ในการตอบคำถามนี้จะขอยกกรณีตัวอย่างพิพิธภัณฑ์ Telekom Muzium ในกรุงกัวลาลัมเปอร์ ประเทศมาเลเซียมาเป็นคำตอบ พิพิธภัณฑ์นี้ไม่ได้เป็นพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ แต่เป็นขององค์กรเอกชนด้านการโทรคมนาคม ถึงแม้เนื้อหาของนิทรรศการจะเกี่ยวกับการโทรคมนาคมของประเทศ แต่ส่วนหนึ่งของนิทรรศการนำเสนอความเป็นชาติของมาเลเซีย โดยใช้การจัดแสดงในรูปแบบร่วมสมัย ที่เน้นการให้ผู้ชมมีส่วนร่วมในนิทรรศการเพื่อให้เข้าใจความเป็นชาติผ่านเรื่องราวที่นำเสนอ คือตำนานที่เกี่ยวกับความเป็นชาติว่าด้วยเรื่องความแตกต่างทางเชื้อชาติ เพื่อให้ผู้ชมซึ่งเป็นคนมาเลเซียและนักท่องเที่ยวเข้าใจถึงของความหลากหลายทางเชื้อชาติ (Multiracial) ซึ่งเป็นบริบททางสังคมของประเทศมาเลเซียที่มีความหลากหลายทางวัฒนธรรมทั้งจีน อินเดีย และมาเลย์

นอกจากจะช่วยสร้างสังคมและส่งเสริมวัฒนธรรมจากความรู้ที่นำเสนอแล้ว ที่สำคัญพิพิธภัณฑ์นี้ยังเป็นแหล่งท่องเที่ยวสำคัญแห่งหนึ่งในกัวลาลัมเปอร์อีกด้วย ดังนั้นจากตัวอย่างนี้อาจเป็นคำตอบที่ชัดเจนว่าถึงแม้ไม่ได้มีคำว่า ‘แห่งชาติ’ กำกับ แต่ก็สามารถช่วยสร้างชาติได้ และความเป็นจริงแล้วเมื่อมองย้อนไปคำว่า National Museum นั้น อาจหมายถึงพิพิธภัณฑ์ใดๆ ก็ตามที่ตั้งอยู่ในประเทศนั้นๆ และทำหน้าที่ที่คำนึงถึงปัจจัยในการสร้างชาติทั้งสี่ประการที่กล่าวมาข้างต้นก็เป็นได้   

ดังนั้นเมื่อกลับมามองย้อนดูพิพิธภัณฑ์ในประเทศไทยเองซึ่งมีทั้งหมดมากกว่า 1,500 แห่ง และเป็นพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ 42 แห่ง ที่จริงแล้ว พิพิธภัณฑ์ทุกแห่งในประเทศไทยสามารถเป็นส่วนหนึ่งในการสร้างชาติได้ทั้งสิ้น โดยเฉพาะการเป็นส่วนหนึ่งในการช่วยสร้างเศรษฐกิจ ในฐานะที่เป็นแหล่งท่องเที่ยวที่จะช่วยนำเสนอวัฒนธรรมของประเทศ เพียงแต่ขอให้รัฐบาลไม่ว่าจะชุดไหนก็ตามช่วยหันมาสนใจ สนับสนุน ให้ความสำคัญกับการพัฒนาพิพิธภัณฑ์ ไม่ใช่เฉพาะพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติเท่านั้นแต่ทุกระดับ

เพราะแน่นอนว่าพิพิธภัณฑ์ทุกแห่งอยากจะเป็นส่วนหนึ่งที่จะช่วยสร้างชาติในเชิงสังคม วัฒนธรรม และเศรษฐกิจทั้งนั้นถ้าเป็นไปได้ ในทางกลับกันตัวพิพิธภัณฑ์เองก็ต้องคอยใส่ใจ ประเมินตัวเอง คำนึงถึงว่าเราได้สร้างความตระหนักรู้ให้คนไทยเองได้หันมาสนใจประวัติศาสตร์ วัฒนธรรม และอัตลักษณ์ของความเป็นชาติจนเกิดเป็นความภาคภูมิใจเพียงพอแล้วหรือยัง เมื่อใดที่ทำได้ แน่นอนว่าเมื่อนั้นความเป็นชาติของไทยจะแข็งแรงขึ้นและจะสามารถพูดได้อย่างเต็มภาคภูมิว่า ไม่ว่าพิพิธภัณฑ์ใด ๆ ก็เป็นพิพิธภัณฑ์ ‘แห่งชาติ’ ได้ เพราะเราได้ทำหน้าที่สร้างชาติอย่างสมบูรณ์แล้ว

พิพิธภัณฑ์ให้ความรู้เกี่ยวกับเรื่องใด

วัตถุประสงค์ของการศึกษาในพิพิธภัณฑสถาน คือ ให้ความรู้โดยอาศัยหลักฐานข้อเท็จจริงต่างๆ ให้ความคิดความอยากรู้อยากเห็น สร้างแรงจูงใจสร้างความประทับใจให้เห็นคุณค่า สร้างทัศนคติที่ดีและถูกต้องแก่ผู้ชม ความสำคัญของพิพิธภัณฑ์กับการเรียนรู้ของนักเรียน

พิพิธภัณฑ์ เป็นแหล่งเรียนรู้ประเภทใด

พิพิธภัณฑ์ (Museum) เป็นสถาบันเพื่อการเรียนรู้ตามอัธยาศัย จัดตั้งขึ้นโดยไม่หวังผลก าไร ท า หน้าที่รวบรวม สงวนรักษา ศึกษาวิจัย และจัดแสดงสิ่งของเครื่องใช้ต่าง ๆ เช่น โบราณวัตถุศิลปวัตถุ เป็น ต้น ซึ่งเป็นหลักฐานทางวัฒนธรรมที่มีความสาคัญต่อมนุษย์และสิ่งแวดล้อมของมนุษย์มีภารกิจในด้านการ สนับสนุนและส่งเสริมการอนุรักษ์ ...

พิพิธภัณฑ์มีความสําคัญอย่างไร

พิพิธภัณฑ์มีเป้าหมายในการเก็บรักษาและดูแลสิ่งของที่สำคัญทั้งในด้านประวัติศาสตร์ วิทยาศาสตร์ วัฒนธรรม และศิลปะ เพื่อจัดแสดงต่อสาธารณชน พิพิธภัณฑ์ขนาดใหญ่มักจะตั้งอยู่ภายในเมืองใหญ่ที่สำคัญของโลกซึ่งมักจะมีผลงานแสดงที่หลากหลาย ในขณะที่พิพิธภัณฑ์ขนาดย่อมที่กระจายอยู่ตามทั่วโลกมักจะจัดแสดงผลงานของท้องถิ่นนั้น หรือเฉพาะ ...

พิพิธภัณฑ์สถานเกิดขึ้นเนื่องจากอะไร

สมัยแรกเริ่ม พิพิธภัณฑสถานเกิดขึ้นด้วยการรวบรวมของแปลกหรือหายาก ทั้งศิลปวัตถุ วัตถุที่เกิดตามธรรมชาติ หรือวัตถุที่ได้จากต่างแดน ซึ่งได้มาด้วยวิธีการต่างๆ ทั้งจากการรวบรวม บริจาค หรือเป็นของที่ระลึก ดังนั้น จึงมีวัตถุพิพิธภัณฑ์หลากหลายประเภทจัดแสดง เรียกพิพิธภัณฑสถานประเภทนี้ว่า พิพิธภัณฑสถานแบบทั่วไป หรือพิพิธภัณฑสถาน ...

กระทู้ที่เกี่ยวข้อง

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

แปลภาษาไทย ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน อาจารย์ ตจต ศัพท์ทหาร ภาษาอังกฤษ pdf lmyour แปลภาษา ชขภใ ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมฟรี 2566 ขขขขบบบยข ่ส ศัพท์ทางทหาร military words หนังสือราชการ ตัวอย่าง หยน แปลบาลีเป็นไทย ไทยแปลอังกฤษ ประโยค การไฟฟ้านครหลวง การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ข้อสอบโอเน็ต ม.3 ออกเรื่องอะไรบ้าง พจนานุกรมศัพท์ทหาร เมอร์ซี่ อาร์สยาม ล่าสุด แปลภาษามลายู ยาวี Bahasa Thailand กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมออนไลน์ การ์ดจอมือสอง ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย คะแนน o-net โรงเรียน ค้นหา ประวัติ นามสกุล บทที่ 1 ที่มาและความสําคัญของปัญหา ร. ต จ แบบฝึกหัดเคมี ม.5 พร้อมเฉลย แปลภาษาอาหรับ-ไทย ใบรับรอง กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน PEA Life login Terjemahan บบบย มือปราบผีพันธุ์ซาตาน ภาค2 สรุปการบริหารทรัพยากรมนุษย์ pdf สอบโอเน็ต ม.3 จําเป็นไหม เช็คยอดค่าไฟฟ้า แจ้งไฟฟ้าดับ แปลภาษา มาเลเซีย ไทย แผนที่ทวีปอเมริกาเหนือ ่้แปลภาษา Google Translate กระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ 8 ขั้นตอน ก่อนจะนิ่งก็ต้องกลิ้งมาก่อน เนื้อเพลง ข้อสอบโอเน็ตม.3 มีกี่ข้อ คะแนนโอเน็ต 65 ตม กรุงเทพ มีที่ไหนบ้าง