ขั้นตอนการตีความหลักฐานทางประวัติศาสตร์ประกอบด้วยอะไรบ้าง

การตีความหลักฐานทางประวัติศาสตร์

             การตีความหลักฐานทางประวัติศาสตร์ คือ การทำความเข้าใจว่าหลักฐานทางประวัติศาสตร์ให้ข้อมูลอะไร และข้อมูลนั้นมีความหมายว่าอย่างไร

การตีความขั้นต้น
          การตีความขั้นต้น เพื่อให้ได้ความหมายตามตัวอักษรหรือตามรูปแบบภายนอก ผู้ตีความควรมีพื้นฐานความรู้ในเรื่องนี้
          1. การใช้ถ้อยคำและสำนวนโวหาร ถ้อยคำและสำนวนโวหารเป็นสิ่งที่เปลี่ยนแปลงไปตามยุคสมัย เป็นหน้าที่ผู้ศึกษาประวัติศาสตร์ที่ต้องพยายามทำความเข้าใจให้ได้อย่างถูกต้อง
          2. อิทธิพลของทัศนคติ ค่านิยม และสภาพแวดล้อมในช่วงเวลาที่บันทึกหลักฐาน เช่น หลักฐานประเภทตำนาน
          3. จุดมุ่งหมายของหลักฐาน การรู้จุดมุ่งหมายของหลักฐานมีประโยชน์ในการตีความด้วย เช่น พระราชพงศาวดาร มักยกย่องสรรเสริญพระมหากษัตริย์มากเป็นพิเศษ

การตีความขั้นลึก
          การตีความขั้นลึก ค้นหาทัศนคติของผู้เขียน ที่ไม่เปิดเผยอย่างตรงไปตรงมาอาจมี   ข้อเท็จจริงบางอย่างแฝงอยู่ การตีความต้องตีความไปตามข้อเท็จจริง ห้ามตีความ ไปตามแนวคิดที่ตนเองเดาไว้ล้วงหน้า

ลักษณะของข้อมูลที่ได้จากการตีความหลักฐาน
          1. ความจริง คือ สิ่งที่มั่นคงไม่เปลี่ยนแปลง และ

เป็นที่ยอมรับของคนทั่วไป ไม่มีข้อโต้แย้ง เพราะมีหลักฐานยืนยันแน่นอนจนปราศจากข้อสงสัย          

2.

ข้อเท็จจริง คือ ความคิด ความเชื่อ หรือข้อมูลที่ต้องการหลักฐานมายืนยันเพื่อพิสูจน์หาความจริง ข้อเท็จจริงจึงต่างกับความจริง เพราะสิ่งที่เป็นความจริงไม่มีหลักฐานอื่นใดที่จะทำให้ความจริงนั้นเปลี่ยนแปลงไป แต่ข้อเท็จจริงเปลี่ยนแปลงได้เมื่อมีหลักฐานที่ดีกว่าหลักฐานเดิมมาสนับสนุน          

3. ความคิดเห็น เป็นสิ่งที่เกิดจากประสบการณ์ ทัศนคติ ค่านิยม อารมณ์ความรู้สึกของบุคคล แล้วแสดงออกมาให้ปรากฏเป็นคำพูดหรือข้อเขียน ซึ่งอาจมีหรือไม่มีหลักฐานประกอบก็ได้

การตรวจสอบและประเมินหลักฐาน

           การประเมินคุณค่าของหลักฐาน คือ การประเมินหลักฐานผู้ศึกษาประวัติศาสตร์จะใช้ในการตรวจหลักฐานว่ามีคุณค่าและความน่าเชื่อถือเพียงพอหรือไม่ก่อนที่จะนำมาใช้ศึกษาประวัติศาสตร์

          วิธีการประเมินความน่าเชื่อถือของหลักฐานแบ่งออกเป็น 2 ลักษณะ

1. การประเมินภายนอก
          การพิจารณาจากลักษณะภายนอกของหลักฐาน มีวัตถุประสงค์เพื่อให้รู้จักตัวหลักฐานนั้นเป็นอย่างดี รวมทั้งรู้ว่าเป็นหลักฐานจริงหรือปลอม สิ่งที่ควรพิจารณาได้แก่

          1. อายุของหลักฐาน การรู้ว่าหลักฐานสร้างหรือเขียนขึ้นเมื่อไร ทำให้เราตีความสำนวนภาษาที่ใช้ได้ถูกต้อง และเข้าใจสิ่งที่หลักฐานกล่าวถึงโดยอาศัยสภาพแวดล้อมทางประวัติศาสตร์ของยุคสมัยนั้นมาประกอบ
          2. ผู้สร้างหรือผู้เขียนหลักฐาน การรู้ว่าใครเป็นผู้สร้างหรือผู้เขียนหลักฐานทำให้เราสืบค้นได้ว่า ผู้นั้นมีภูมิหลังอย่างไร เกี่ยวข้องใกล้ชิดกับเหตุการณ์หรือไม่ มีอคติต่อสิ่งที่สร้างหรือเขียนหรือไม่
          3. จุดมุ่งหมายของหลักฐาน การรู้จุดมุ่งหมายของหลักฐานช่วยให้ประเมินความน่าเชื่อถือได้ เช่น โคลงที่แต่งขึ้นเพื่อเฉลิมพระเกียรติพระมหากษัตริย์ย่อมหลีกเลี่ยงที่จะไม่กล่าวถึงด้านลบของพระมหากษัตริย์องค์นั้น จากหลักฐานที่ยกตัวอย่างมานั้น เมื่อนำมาใช้จะต้องแยกแยะข้อเท็จจริงออกมาให้ได้
          4. รูปเดิมของหลักฐาน หลักฐานเป็นจำนวนมาไม่ใช่หลักฐานดั้งเดิม แต่ผ่านการคัดลอกต่อๆ กันมาจึงเกิดความคลาดเคลื่อนได้ หลักฐานประเภทพระราชพงศาวดารที่ผ่านการชำระมักมีการตัดทอนหรือเพิ่มเติมเนื้อความ แก้ไขสำนวนโวหาร รวมทั้งแทรกทัศนคติของยุคสมัยที่มีการชำระพระราชพงศาวดารนั้นลงไปด้วย ทำให้ผิดไปจากหลักฐานเดิม

2. การประเมินภายใน
           เป็นการประเมินสิ่งที่ปรากฏบนหลักฐาน อาทิ ตัวอักษร รูปภาพ ร่องจารึก ตำหนิ ว่ามีความน่าเชื่อถือเพียงใด มีข้อความใดที่น่าสงสัย หรือกล่าวไว้ไม่ถูกต้อง
           ตัวอย่าง ปีที่สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถทรงสร้างพระวิหารวัดจุฬามณี เมืองพิษณุโลก ในพระราชพงศาวดารฉบับต่างๆ ระบุไว้ตรงกันบ้างไม่ตรงกันบ้าง เช่น

          พระราชพงศาวดารกรุงสยามจากต้นฉบับของบริติช มิวเซียม และ พระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยาฉบับพันจันทนุมาศ (เจิม) ว่าสร้างเมื่อศักราช 810 ปีมะโรงสัมฤทธิศก (ตรงกับพ.ศ. 1991)
          พระราชพงศาวดารกรุงเก่าฉบับหลวงประเสริฐฯ ว่าสร้างเมื่อศักราช 826 วอกศก (ตรงกับพ.ศ. 2007)
          จะเห็นว่า หลักฐานชิ้นหลังระบุเวลาห่างจากหลักฐาน 2 ชิ้นแรก 16 ปี

          หลักฐานทั้งหมดที่ยกมาเป็นหลักฐานชั้นรอง ควรหาหลักฐานชั้นต้นมาเทียบ คือ ศิลาจารึกวัดจุฬามณี ปรากฏว่าจารึกระบุว่า พระวิหารวัดจุฬามณีสร้างเมื่อ “ศักราช 826 ปีวอกนักษัตร” ตรงกับพระราชพงศาวดารกรุงเก่าฉบับหลวงประเสริฐฯ
          หลักฐานที่ใช้ในการศึกษาประวัติศาสตร์ ต้องเป็นหลักฐานที่ให้ข้อมูลที่เป็นจริง หลักฐานที่ให้ข้อมูลจริงบ้างเท็จบ้าง นำส่วนที่เป็นจริงไปใช้ได้ ส่วนหลักฐานที่เป็นเท็จทั้งหมดไม่นำไปใช้ในการศึกษา

การประเมินภายนอกภายในเเบบภาษาง่ายๆ

การประเมินภายในจะดูว่าหลักฐานนั้นน่าเชื่อถือหรือไม่ เป็นการเจาะลึกถึงผู้สร้าง ว่าเกี่ยยวข้องกับหลักฐานนั้นมากน้อยเพียงใดมีจุดมุ่งหมายอะไร
ระยะเวลาของการเกิดหลักฐานเรื่องราวในหลักฐาน

การประเมินภายนอก ดูว่าของจริงหรือของปลอม
ดูจากอายุของหลักฐาน พิจารณาได้จาก ตัวอักษร สำนวนภาษา ผู้สร้างหลักฐาน

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

แปลภาษาไทย ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน อาจารย์ ตจต ศัพท์ทหาร ภาษาอังกฤษ pdf lmyour แปลภาษา ชขภใ ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมฟรี 2566 ขขขขบบบยข ่ส ศัพท์ทางทหาร military words หนังสือราชการ ตัวอย่าง หยน แปลบาลีเป็นไทย ไทยแปลอังกฤษ ประโยค การไฟฟ้านครหลวง การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ข้อสอบโอเน็ต ม.3 ออกเรื่องอะไรบ้าง พจนานุกรมศัพท์ทหาร เมอร์ซี่ อาร์สยาม ล่าสุด แปลภาษามลายู ยาวี Bahasa Thailand กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมออนไลน์ การ์ดจอมือสอง ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย คะแนน o-net โรงเรียน ค้นหา ประวัติ นามสกุล บทที่ 1 ที่มาและความสําคัญของปัญหา ร. ต จ แบบฝึกหัดเคมี ม.5 พร้อมเฉลย แปลภาษาอาหรับ-ไทย ใบรับรอง กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน PEA Life login Terjemahan บบบย มือปราบผีพันธุ์ซาตาน ภาค2 สรุปการบริหารทรัพยากรมนุษย์ pdf สอบโอเน็ต ม.3 จําเป็นไหม เช็คยอดค่าไฟฟ้า แจ้งไฟฟ้าดับ แปลภาษา มาเลเซีย ไทย แผนที่ทวีปอเมริกาเหนือ ่้แปลภาษา Google Translate กระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ 8 ขั้นตอน ก่อนจะนิ่งก็ต้องกลิ้งมาก่อน เนื้อเพลง ข้อสอบโอเน็ตม.3 มีกี่ข้อ คะแนนโอเน็ต 65 ตม กรุงเทพ มีที่ไหนบ้าง