คำว่า “ดึกดำบรรพ์” ในปี่พาทย์ดึกดำบรรพ์หมายถึงอะไร

ปี่พาทย์ หมายถึง วงดนตรีไทยประเภทหนึ่ง ที่มีเครื่องดนตรีประเภทเครื่องตีเป็นหลัก ได้แก่ ระนาดเอก ระนาดทุ้ม ระนาดเอกเหล็ก ระนาดทุ้มเหล็ก ฆ้องวงใหญ่ ฆ้องวงเล็ก มีเครื่องดนตรีประเภทเครื่องเป่า เช่น ปี่ ขลุ่ย และเครื่องกำกับจังหวะ เช่น ตะโพน กลองทัด เป็นต้น

ปี่พาทย์ครอบคลุมวัฒนธรรมด้านเครื่องดนตรี ความเชื่อ ค่านิยม ขนบนิยม ประเพณี และระเบียบปฏิบัติ วงปี่พาทย์ สามารถนำไปบรรเลง – ขับร้องในกิจกรรมต่างๆ ทั้งในส่วนของงานพระราชพิธี งานพิธีกรรมของราษฎร ประกอบการแสดงโขน หนังใหญ่ ละคร หุ่นกระบอก ลิเก และเป็นดนตรีเพื่อการฟัง นอกจากนี้ยังใช้บรรเลงในงานอวมงคล เช่น งานสวดพระอภิธรรมศพและงานฌาปนกิจศพฯลฯ วงปี่พาทย์แบ่งออกได้เป็น ๖ ประเภท ดังนี้

๑. วงปี่พาทย์ไม้แข็ง

วงปี่พาทย์ไม้แข็ง เป็นวงปี่พาทย์ประเภทหนี่ง ที่เป็นต้นแบบของวงปี่พาทย์ประเภทอื่นๆ โดยทั่วไปนิยมเรียกว่า “วงปี่พาทย์” เดิมเรียกชื่อว่า “วงพิณพาทย์” ต่อมาสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอเจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ ทรงเปลี่ยนเป็นคำว่า “ปี่พาทย์” สำหรับวงปี่พาทย์ ที่ระบุคำว่า “ไม้แข็ง” เนื่องจากไม้ที่ใช้ตีระนาดเอกจะใช้ไม้แข็งบรรเลง วงปี่พาทย์ไม้แข็ง ใช้บรรเลงในงานพระราชพิธี งานพิธีกรรมของราษฎร เช่นงานทำบุญขึ้นบ้านใหม่ งานบวชนาค งานเทศกาลบุญ รวมทั้งใช้ประกอบการแสดงต่างๆ ปัจจุบันยังนิยมนำมาบรรเลง – ขับร้องบทเพลงต่างๆ เพื่อการฟังด้วย

๒. วงปี่พาทย์เสภา

วงปี่พาทย์เสภา เป็นวงดนตรีที่เกิดขึ้นครั้งแรกในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย มีการนำเอาลูกเปิง หรือกลองสองหน้า เข้ามาตีในวงปี่พาทย์เครื่องห้า โดยทำหน้าที่ตีประกอบจังหวะหน้าทับ วงปี่พาทย์เสภาใช้บรรเลงประกอบการเล่นเสภา ประกอบละครเสภา และบรรเลง – ขับร้องบทเพลงต่างๆ เพื่อการฟัง

๓. วงปี่พาทย์ไม้นวม

วงปี่พาทย์ไม้นวม เป็นวงปี่พาทย์ประเภทหนึ่งที่เกิดขึ้น ในสมัยรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเจ้าพระยาเทเวศร์วงศ์วิวัฒน์ (หม่อมราชวงศ์หลาน กุญชร) เป็นผู้ริเริ่มปรับปรุงวงและบรรเลงรับ-ร้องก่อน ในการประสมวงดนตรี ท่านใช้ขลุ่ยเพียงออและขลุ่ยหลิบแทนปี่ในและปี่นอก และได้เพิ่มซออู้ ส่วนระนาดเอกก็เปลี่ยนมาใช้ไม้นวมตีแทนไม้แข็ง เพื่อลดระดับเสียง เนื่องจากใช้บรรเลงประกอบการแสดงโขน ละครที่แสดงในโรงละครหรือในอาคาร

๔. วงปี่พาทย์ดึกดำบรรพ์

วงปี่พาทย์ดึกดำบรรพ์ เป็นวงดนตรีที่มีขึ้นครั้งแรกในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โดยสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ทรงปรับปรุงขึ้น เมื่อ พ.ศ. ๒๔๔๑ เพื่อใช้บรรเลงประกอบการแสดงละครแนวใหม่ ซึ่งเจ้าพระยาเทเวศร์วงศ์วิวัฒน์ (หม่อมราชวงศ์หลาน กุญชร) เป็นผู้ริเริ่มปรับปรุงรูปแบบด้วยการผสมผสานระหว่างละครในกับละครอุปรากร เจ้าพระยาเทเวศร์วงศ์วิวัฒน์ได้สร้างโรงละครขึ้นใหม่ ตั้งชื่อว่า “โรงละครดึกดำบรรพ์” จึงส่งผลให้ชื่อ “ดึกดำบรรพ์” เป็นชื่อของละครรูปแบบใหม่และวงดนตรีด้วย เครื่องดนตรีที่ประสมในวงปี่พาทย์ดึกดำบรรพ์ ประกอบด้วย ระนาดเอก ระนาดทุ้ม ฆ้องวงใหญ่ระนาดทุ้มเหล็ก ขลุ่ยเพียงออ ขลุ่ยอู้ ซออู้ ตะโพน กลองตะโพน ฆ้องหุ่ย ๗ ใบ และฉิ่ง 

๕. วงปี่พาทย์นางหงส์

วงปี่พาทย์นางหงส์1 เป็นวงปี่พาทย์ที่ประสมวงขึ้นเพื่อใช้ประโคมในงานอวมงคลโดยเฉพาะ เป็นการประสมระหว่างวงปี่พาทย์กับวงบัวลอยซึ่งมีเครื่องดนตรี คือ ปี่ชวา ๑ เลา กลองมลายู ๒ ใบ และฆ้องเหม่ง ๑ ใบ การเรียกว่า วงบัวลอยเพราะเมื่อบรรเลงเพลงในชุดเพลงประโคมหลังจากเพลงรัว ๓ ลาแล้วจึงบรรเลงต่อด้วยเพลงบัวลอย จากนั้นจึงบรรเลงเพลงอื่นๆ การประสมวงของวงปี่พาทย์นางหงส์จึงมี ปี่ชวา กลองมลายูของวงบัวลอย ไม่ใช้ฆ้องเหม่ง ส่วนในวงปี่พาทย์ได้ปรับเปลี่ยนเครื่องดนตรีบางชนิดออกไป คือ ปี่ใน ตะโพน กระนั้นวงปี่พาทย์นางหงส์ในหลายพื้นที่ยังคงใช้กลองทัดอยู่
การที่เรียกว่า “นางหงส์” นั้น เพราะมีแบบแผนการบรรเลงที่ต้องใช้เพลงเรื่องนางหงส์ จึงเป็นแนวให้เรียกชื่อวงดนตรีนี้ว่า วงปี่พาทย์นางหงส์

๖. วงปี่พาทย์มอญ

วงปี่พาทย์มอญ2 เป็นวงดนตรีไทยประเภทหนึ่งที่นำเครื่องดนตรีในวงปี่พาทย์ไม้แข็งประสมกับเครื่องดนตรีมอญคือ ในวงปี่พาทย์ไม้แข็งมี ระนาดเอก ระนาดทุ้ม ระนาดเอกเหล็ก ระนาดทุ้มเหล็ก ส่วนเครื่องดนตรีมอญมี ปี่มอญ ฆ้องมอญวงใหญ่ ฆ้องมอญวงเล็ก ตะโพนมอญ เปิงมางคอก โหม่ง ๓ ใบ และมีเครื่องประกอบจังหวะ คือ ฉิ่ง ฉาบเล็ก ฉาบใหญ่ กรับ ในด้านแบบแผน การบรรเลงของวงปี่พาทย์มอญเป็นไปตามแนววิธีของดนตรีไทย
วงดนตรีนี้ใช้บรรเลงในหลายโอกาส เช่น ในงานพิธีมงคลต่างๆ ของชาวไทยเชื้อสายมอญ ใช้บรรเลง – ขับร้อง บทเพลงต่างๆ เพื่อการฟัง ใช้ประกอบการแสดงลิเก ใช้บรรเลงในงานอวมงคล เช่น งานสวดพระอภิธรรมศพในวัฒนธรรมของชาวไทยพุทธ และงานฌาปนกิจศพ

ปัจจุบัน บทบาทการบรรเลงของวงปี่พาทย์แต่ละประเภทมีปริมาณลดลง เพราะประชาชนเปลี่ยนค่านิยมในการหาจ้างไปบรรเลง ทำให้ปี่พาทย์บางลักษณะ เช่น วงปี่พาทย์ไม้แข็ง วงปี่พาทย์เสภา วงปี่พาทย์ดึกดำบรรพ์ วงปี่พาทย์นางหงส์ เริ่มหาฟังได้ยาก บางสถานการณ์หน่วยงานของทางราชการและเอกชนสนับสนุนให้เกิดขึ้น หลายแห่งจัดสาธิตเพื่อการศึกษา มิใช่เกิดขึ้นตามกระบวนการทางวัฒนธรรมและวิถีชน จึงนับเป็นประเด็นที่ต้องให้ความสำคัญต่อการจัดการมรดกวัฒนธรรมปี่พาทย์อย่างเร่งด่วนต่อไป

วงปี่พาทย์ดึกดำบรรพ์   

               เป็นวงดนตรีที่ปรับปรุงขึ้นใหม่ จากความคิดริเริ่มของเจ้าพระยาเทเวศร์วงวิวัฒน์เมื่อครั้งไปยุโรป   ทรงเห็นการแสดง “ โอเปร่า “ ที่ฝรั่งเล่นเกิดชอบใจ  กลับมาทูลชวนให้สมเด็จฯ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัติวงศ์    ให้ทรงช่วยร่วมมือกันคิดขยายการเล่นละคอนโอเปร่าอย่างไทย  สมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระยานริศ ฯ ทรงเห็นด้วย  เจ้าพระยาเทเวศน์ฯจึงได้สร้างโรงละคอนขึ้นใหม่ในวังของท่านที่ถนนอัษฎางค์ ริมคลองหลอด  และให้เรียกชื่อว่า “ โรงละคอนดึกดำบรรพ์ “  โดยประสงค์จะให้คำว่า “ ดึกดำบรรพ์ “ นั้น เป็นชื่อเรียกของละคอนที่คิดขึ้นใหม่  มิให้เรียกกันว่า “ ละคอนเจ้าพระยาเทเวศร์ “  อย่างแต่ก่อน ( เพราะแต่ก่อนใครก็เรียกกันว่า ละคอนเจ้าพระยาเทเวศร์ และโรงละคอนเจ้าพระยาเทเวศน์ )  แต่ชื่อนั้นเกิดขึ้นพร้อมกับการเล่นละคอนอย่างใหม่  คนทั่วไปจึงเอาชื่อคณะและชื่อโรงละคอนไปเรียกละคอนอย่างใหม่ (โอเปร่า) ว่า“ ละคอนดึกดำบรรพ์ “
               ละคอนดึกดำบรรพ์เริ่มแสดงเป็นครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ. ๒๔๔๒  ในการรับแขกเมือง  และตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา  การรับแขกเมืองที่สูงศักดิ์ที่เข้ามาเฝ้าและเยี่ยมเมืองไทย  ก็จะโปรดให้ไปดูละคอนดึกดำบรรพ์แทนการดูคอนเสิร์ทอย่างแต่ก่อน   ในเวลาปรกติเจ้าพระยาเทเวศร์ฯ  จัดแสดงละคอนดึกดำบรรพ์ให้คนดู  ( เก็บค่าผ่านประตู ) ที่โรงละคอนริมถนนอัษฎางค์เหมือนกับโรงละคอนอื่นๆ  จนถึง พ.ศ.๒๔๕๒  นับได้ ๑๐ ปี   เมื่อเจ้าพระยาเทเวศร์ฯเกิดอาการป่วยเจ็บทุพพลภาพ  ออกจากราชการ  จึงเลิกแสดงละคอนดึกดำบรรพ์นับแต่นั้นเป็นต้นมา
               สำหรับเครื่องดนตรีได้ทรงปรับปรุงเครื่องใหม่  โดยเอาเครื่องดนตรีที่มีเสียงเล็กแหลมในวงปี่พาทย์ออก เช่น ฆ้องวงเล็ก  ระนาดเอกเหล็ก  และทรงนำเครื่องดนตรีที่มีเสียงนุ่มนวลเพิ่มเติมเข้ามา เช่น นำฆ้องหุ่ย ๗ ใบ ๗ เสียง มาแขวนขา ตั้งโดยรอบ และใช้ตีเป็นทำนองห่างๆ  นำขลุ่ยอู้ซึ่งมีเสียงทุ้มใหญ่มาเป่าเพิ่ม  และเปลี่ยนกลองทัดทั้งคู่ซึ่งดังมากออก  นำเอากลองตะโพน ( มีลักษณะคล้ายตะโพนแต่ใช้ไม้ตั้งตีเหมือนกลองทัด )  มาตีแทนกลองทัด   ให้ระนาดเอกตีด้วยไม้นวม เพื่อให้เสียงดังนุ่มนวล  ไพเราะ     ต่อมาภายหลังเพิ่มซออู้เข้ามาสีรวมวงด้วย  โดยสีคลอไปกับเสียงร้อง  เรียกชื่อวงปี่พาทย์ที่ปรับปรุงขึ้นใหม่นี้ว่า “ วงปี่พาทย์ดึกดำบรรพ์ “  ตามชื่อโรงละคอน  ใช้บรรเลงและขับร้องประกอบการแสดงละคอนดึกดำบรรพ์โดยเฉพาะ  ประกอบด้วยเครื่องดนตรีดังนี้
    1.  ระนาดเอก  ( ตีด้วยไม้นวม )     
    2.  ระนาดทุ้ม                  
    3.  ระนาดทุ้มเหล็ก             
    4.  ฆ้องวงใหญ่                 
    5.  ขลุ่ยเพียงออ               
    6.  ขลุ่ยอู้                   
    7.  ฆ้องหุ่ย ๗ ใบ              
    8.  ซออู้                
    9.  ตะโพน                
  10.  กลองตะโพน               
  11.  ฉิ่ง                    
  12.  กรับพวง                

              แต่เดิมเมื่อได้ทรงปรับปรุงวงปี่พาทย์ดึกดำบรรพ์ในปี พ.ศ๒๔๔๒ เป็นที่เรียบร้อย   เจ้าพระยาเทเวศร์ซึ่งขณะนั้นดำรงตำแหน่งเป็นเจ้ากรมมหรสพ  ได้รับพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้จัดการบรรเลงดนตรีรับแขกเมือง  เจ้าพระยาเทเวศร์ได้เคยฟังการบรรเลงและขับร้องเพลงไทยอย่างคอนเสิร์ต  ซึ่งสมเด็จฯ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศฯ ทรงคิดจัดให้ทหารบรรเลงเล่น  ก็กราบทูลให้ทรงช่วยอำนวยการจัดเล่นดนตรีในกรมมหรสพ ให้เป็นไปตามพระราชประสงค์  ในครั้งนั้นสมเด็จฯ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศฯ ได้ทรงจัดบทร้อง และเพลงดนตรีขึ้นบรรเลงในลักษณะแบบคอนเสิร์ตหลายบท  เช่น บทตับนางลอย  บทตับพรหมาสตร์  บทตับนาคบาศ  เป็นต้น  ซึ่งจัดแสดงเป็นครั้งแรกเมื่อวันที่ ๑๓   ธันวาคม พ.ศ.๒๔๔๑  ในการต้อนรับ เคาวน์ ออฟ ตูริน  แห่งอิตาลี่  ณ พระที่นั่งจักรีมหาประสาท  และอีกหลายครั้งเมื่อมีการบรรเลงรับแขกเมือง  ซึ่งแต่ละครั้งได้ทรงปรับปรุงบทร้องและเพลงดนตรีขึ้นใหม่เสมอ  เช่น บทละคอนอิเหนา ตอนบวงสรวง  ตอนตัดดอกไม้ฉายกริซ ฯ
               สำหรับวงปี่พาทย์ดึกดำบรรพ์  นอกจากจะใช้บรรเลงและขับร้องในประเภทเพลงเกร็ด และเพลงตับในงานต่างๆแล้ว  ยังใช้บรรเลงร่วมในการแสดงละคอนภาพนิ่ง  ( tableaux vivants ) คือการบรรเลงและขับร้องโดยมีผู้แสดงประกอบตามบท แต่อยู่ในลักษณะท่านิ่ง เช่น ในเรื่องสามก๊ก
               ปัจจุบันการบรรเลงและการแสดงละคอนดึกดำบรรพ์ยังคงมีการแสดงอยู่ปีละ ๒ ครั้ง คือ ที่บ้านปลายเนิน  ในวันที่ ๒๘ เมษายน ของทุกๆปี  อันเป็นวันเกิดของสมเด็จเจ้าฟ้า  กรมพระยานริศรานุวัติวงศ์ โดยศิลปินของบ้านปลายเนิน  และที่มหาวิทยาลัยจุฬาลงกรณ์  จัดแสดง ณ หอประชุมฯ  อันเป็นผลงานของนักศึกษาปีสุดท้าย

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

แปลภาษาไทย ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน อาจารย์ ตจต ศัพท์ทหาร ภาษาอังกฤษ pdf lmyour แปลภาษา ชขภใ ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมฟรี 2566 ขขขขบบบยข ่ส ศัพท์ทางทหาร military words หนังสือราชการ ตัวอย่าง หยน แปลบาลีเป็นไทย ไทยแปลอังกฤษ ประโยค การไฟฟ้านครหลวง การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ข้อสอบโอเน็ต ม.3 ออกเรื่องอะไรบ้าง พจนานุกรมศัพท์ทหาร เมอร์ซี่ อาร์สยาม ล่าสุด แปลภาษามลายู ยาวี Bahasa Thailand กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมออนไลน์ การ์ดจอมือสอง ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย คะแนน o-net โรงเรียน ค้นหา ประวัติ นามสกุล บทที่ 1 ที่มาและความสําคัญของปัญหา ร. ต จ แบบฝึกหัดเคมี ม.5 พร้อมเฉลย แปลภาษาอาหรับ-ไทย ใบรับรอง กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน PEA Life login Terjemahan บบบย มือปราบผีพันธุ์ซาตาน ภาค2 สรุปการบริหารทรัพยากรมนุษย์ pdf สอบโอเน็ต ม.3 จําเป็นไหม เช็คยอดค่าไฟฟ้า แจ้งไฟฟ้าดับ แปลภาษา มาเลเซีย ไทย แผนที่ทวีปอเมริกาเหนือ ่้แปลภาษา Google Translate กระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ 8 ขั้นตอน ก่อนจะนิ่งก็ต้องกลิ้งมาก่อน เนื้อเพลง ข้อสอบโอเน็ตม.3 มีกี่ข้อ คะแนนโอเน็ต 65 ตม กรุงเทพ มีที่ไหนบ้าง