พืชสมุนไพรใดเป็นยาระบายอ่อนๆได้

เปลือกรากของต้นจำปานั้นมีสรรพคุณออกฤทธิ์เป็นยาถ่ายอ่อนๆ สำหรับช่วยคนที่มีอาการท้องผูก สำหรับผู้หญิงก็ยังทำให้ประจำเดือนมาปกติ รักษาโรคปวดตามข้อ วิธีใช้ก็คือให้นำเปลือกรากจำปาไปตากแดดให้แห้ง จากนั้นเอามาต้มกับน้ำเดือด และดื่มกินเพื่อเป็นยาระบายแบบธรรมชาติ

ยาระบาย คือ ยาบรรเทาอาการท้องผูก กระตุ้นลำไส้ให้บีบตัวและเคลื่อนไหว และลดการดูดน้ำกลับเข้าสู่ร่างกาย เพื่อทำให้อุจจาระอ่อนตัวลง ถ่ายคล่องไม่มีอาการท้องผูก และปวดเบ่งถ่ายไม่ออก

ปัจจุบันกระแสการกินสมุนไพรเป็นยาระบายในสังคมไทยยังมีความเข้าใจผิด คลาดเคลื่อนกันอยู่มากเกี่ยวกับยาสมุนไพรที่มีฤทธิ์เป็นยาระบาย

โดยเฉพาะกินสมุนไพรยาระบายเพื่อใช้ลดความอ้วน แทนที่จะกินเพื่อรักษาอาการท้องผูก อันที่จริงแล้วสมุนไพรยาระบายส่วนมากแทบไม่ได้ส่งผลต่อการลดลงของน้ำหนัก เพียงแต่เป็นการช่วยกระตุ้นให้ผนังลำไส้บีบตัว เพื่อไล่อุจจาระออกมา จึงอาจทำให้น้ำหนักตัวเปลี่ยนแปลงเล็กน้อย ไม่ได้ช่วยเรื่องการดูดซึมอาหารหรือไขมันหน้าท้องลดลงอย่างที่เข้าใจผิด

ดังนั้น การกินสมุนไพรเป็นยาระบาย ควรจะต้องกินให้เหมาะสม และใช้เฉพาะที่จำเป็น คือกินเมื่อมีอาการท้องผูก  ไม่ควรกินต่อเนื่องเป็นเวลานาน เพื่อหวังผลในการลดน้ำหนัก อาจทำให้เกิดการทำลายระบบประสาทที่ใช้ควบคุมการบีบตัวของลำไส้ผิดปกติ ส่งผลให้ลำไส้เกิดการดื้อยาได้เช่นกัน

ครั้งนี้ผมได้รวบรวมสมุนไพรยาระบายที่ใช้บ่อย หาได้ง่าย มาแนะนำข้อบ่งใช้ วิธีการกิน และข้อควรระวัง โดยการเรียงเป็นลำดับให้เห็นชัดเจน ตั้งแต่สมุนไพรที่ออกฤทธิ์แบบระบายอ่อนๆ จนถึงใช้เป็น ยาระบาย อย่างแรง ทั้งในกลุ่มที่เป็นใยอาหารเพิ่มกากใยให้กับอุจจาระ และกลุ่มที่กระตุ้นการบีบตัวของลำไส้ ที่มีสารในกลุ่มแอนทราควิโนน (Anthraquinone)   มีดังนี้

  1. แมงลัก

ใช้เมล็ด ซึ่งมีคุณสมบัติเด่นสำคัญ คือ มีเปลือกด้านนอกของเมล็ดสามารถพองตัว กลายเป็นเมือกนุ่มๆ สีใส ช่วยในการระบาย เพิ่มกากใยและช่วยหล่อลื่นทำให้อุจจาระนุ่ม อ่อนตัวกว่าปกติ ทำให้การขับถ่ายสะดวกขึ้น

วิธีกิน

แช่เมล็ดแมงลักในน้ำให้พองตัวเต็มที่ก่อนกิน หากเมล็ดแมงลักพองตัวไม่เต็มที่จะทำให้มีการดูดน้ำในลำไส้ เกิดอาการขาดน้ำ และลำไส้อุดตันได้ ซึ่งเป็นอีกทางเลือกสำรับคนที่มีอาการท้องผูกที่ขอแนะนำเลย เพราะถือได้ว่ามีผลข้างเคียงน้อย

 

  1. ฝักคูน

ใช้เนื้อในฝักแก่ มีลักษณะเป็นสีน้ำตาลดำ รสหวานเอียน เหมาะกับการใช้ในเด็ก และหญิงมีครรภ์ที่มีปัญหาท้องผูก เพราะมีฤทธิ์ ยาระบาย แบบอ่อนๆ รสชาติดีจึงเหมาะกับเด็ก แถมไม่มีอาการมวนท้องหรือไซร้ท้องเหมือนสมุนไพรตัวอื่น

วิธีกิน

ต้มเนื้อใน 5 กรัม กับน้ำ 250 มิลลิลิตร เติมเกลือ หรือน้ำตาลเล็กน้อย แล้วดื่มก่อนนอน

 

  1. ส้มแขก

ใช้ผลหั่นบางๆ แล้วตากแห้ง จนเป็นสีน้ำตาล จนเป็นดำคล้ำ รสเปรี้ยว เป็นยาระบายอ่อนๆ มีมากในภาคใต้ นิยมนำมาทำอาหารใช้เป็นสารแทนความเปรี้ยว เช่น ต้มส้มปลา แกงขนมจีนน้ำยา แกงส้ม

วิธีกิน

ก่อนประกอบอาหารให้นำส้มแขกแห้ง มาแช่น้ำให้พองนุ่มก่อน หรือ ใช้ชงในน้ำร้อน ดื่มก่อนนอน หรือก่อนอาหาร

 

  1. มะขามแขก

ใช้ได้ทั้งใบและฝัก  เหมาะสำหรับคนที่ธาตุอ่อน มีกำลังน้อย เช่น เด็ก คนไข้โรคริดสีดวงทวาร  เพราะมีสารเสนโนไซด์ (Sennoside) ออกฤทธิ์กระตุ้นผนังลำไส้ เป็นยาระบายท้อง ขับลมในลำไส้

วิธีกิน

ใช้ใบหรือฝัก ประมาณ 3- 5 กรัม ชงหรือต้ม ดื่มก่อนนอน หรือในรูปแบบแคปซูลใบมะขามแขกวันละ 2-4 แคปซูลๆละ 500 มิลลิกรัม

อย่างไรก็ตามเลือกกินฝักดีกว่าใบ เพราะส่งผลให้มีอาการมวนท้องน้อยกว่า หรือสามารถให้กินคู่กับยาขับลม เช่น ลูกกระวาน อบเชย กานพลู เพื่อลดอาการไซ้ท้องได้

สมุนไพรตัวนี้มีฤทธิ์กระตุนการบีบตัวของลำไส้ใหญ่ ช่วยในเรื่องการขับถ่ายได้ดี สำหรับคนที่ท้องผูกเป็นประจำ โดยการนำดอกขี้เหล็กมาต้ม และนำไปประกอบอาหาร ทำเป็นแกง หรือถ้าจะดื่มง่ายๆ ก็ให้นำใบอ่อนหรือดอกขี้เหล็ก มาต้มแล้วกรองเอาแต่น้ำมาดื่มก่อนนอน

ท้องผูก หมายถึง ภาวะที่มีความถี่ในการถ่ายอุจจาระน้อยกว่าปกติ ในคนปกติจะถ่ายอุจจาระตั้งแต่วันละ 3 ครั้งถึง 3 ครั้งต่อสัปดาห์ ดังนั้นถ้าผู้ใดถ่ายอุจจาระน้อยกว่า 3 ครั้งต่อสัปดาห์ ก็จะถือว่าผิดปกติ ทำให้ธาตุเปลี่ยนไป อาการท้องผูกอาจสัมพันธ์กับการถ่ายอุจจาระลําบาก ต้องใช้เวลาเบ่งนานมากกว่าปกติหรือมีอาการ เจ็บทวารหนักเวลาถ่าย คนที่มีอาการท้องผูกเกิดขึ้นนานติดต่อกันเกิน 3 เดือน จะถือว่ามีอาการท้องผูกเรื้อรัง 


หลักการบรรเทาอาการท้องผูก ในทางการแพทย์แผนไทย

1. จ่ายยาสมุนไพรที่มีฤทธิ์ร้อนสุขุม ​ไม่ควรจ่ายรสร้อนมากเกินไป

เพื่อช่วยกระจายลมไม่ให้เกิดการคั่งอั้นของลมในท้อง ทำให้อุจจาระถูกขับออกมาได้ดีขึ้น การเบ่งถ่ายลดลง

2. จ่ายยาสมุนไพรที่มีฤทธิ์ในการระบาย หรือช่วยในการขับถ่าย สำหรับผู้ที่มีปัญหาท้องผูกเรื้อรัง

เพื่อเสริมกำลังของธาตุน้ำ ทำให้อุจจาระนิ่มขึ้น ช่วยกัดเอาอุจจาระที่ติดคล้ายตะกรันในลำไส้

3. การทำหัตถการ เช่น การนวดแบบราชสำนัก การประคบสมุนไพร

ช่วยให้เลือดลมในร่างกายไหลเวียนได้ดี อาจจะช่วยกระตุ้นการขับถ่าย โดยเฉพาะการกดนวดบริเวณหลังส่วนล่างและท้อง

4. ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่ทำให้เกิดสาเหตุอาการท้องผูก

เพื่อฝึกทำให้ร่างกายและระบบลำไส้กลับมาทำงานได้ตามปกติ โดยไม่ต้องพึ่งพาการใช้ยาในการรักษา ส่งเสริมให้ระบบต่าง ๆ ทำงานอย่างสมดุล


สมุนไพรพื้นบ้านแก้อาการท้องผูก

1. ​มะขามแขก

สรรพคุณ:  ยาระบาย แก้อาการท้องผูก

วิธีใช้: โดยใช้ใบแห้ง ๑ – ๒ กำมือครึ่ง (๓ – ๑๐ กรัม) ต้มกับน้ำดื่ม หรือบดเป็นผงชงน้ำดื่ม หรือใช้ฝัก ๔ – ๕ ฝักต้มกับน้ำรับประทาน บางคนกินแล้วอาจจะเกิดอาการไซ้ท้อง แก้ไขได้โดยใช้ร่วมกับยาขับลมจำนวนเล็กน้อย ( เช่น กระวาน กานพูล ) 

2. ชุมเห็ดเทศ

สรรพคุณ: เป็นยาระบาย แก้อาการท้องผูก

วิธีใช้: ใช้ดอกชุมเห็ดเทศสด 1-3 ช่อดอก (หรือแล้วแต่คนที่ธาตุเบาธาตุหนัก ช่อดอกใหญ่หรือเล็ก) ต้มรับประทานจิ้มกับน้ำพริก หรือ ใช้ใบสด 8-12 ใบ ล้างให้สะอาด หั่นตากแห้ง หรือปิ้งไฟให้เหลือง หั่น ใช้ต้มหรือชงน้ำดื่ม ครั้งละ 1 ถ้วยแก้ว เติมเกลือเล็กน้อย ดื่มให้หมด

ใช้ใบแห้งบดเป็นผง ปั้นกับน้ำผึ้งเป็นลูกกลอนขนาดเท่าปลายนิ้วก้อย รับประทานครั้งละ 3 เม็ด ก่อนนอน หรือเมื่อมีอาการท้องผูก

3. ใบขี้เหล็กและแก่นขี้เหล็ก

สรรพคุณ: เป็นยาระบาย แก้อาการท้องผูก

วิธีใช้: ใช้ใบอ่อน 2-3 กำมือ หรือแก่นขนาดประมาณ 2 องคุลี ใช้ 3-4 ชิ้น ใช้ใบอ่อนหรือแก่ต้มกับน้ำ 1-1½ ถ้วยแก้ว เติมเกลือเล็กน้อย ดื่มเมื่อตื่นนอนเช้า หรือก่อนอาหารเช้าครั้งเดียว

นอกจากนี้ยังมีสมุนไพรอื่นๆ อีกมากมายที่ช่วยบรรเทาอาการท้องผูกได้ แต่เราควรตระหนักไว้เสมอว่า "สมุนไพรทุกชนิดเปรียบเสมือนดาบ 2 คม มีทั้งคุณและโทษ แนะนำให้ศึกษาอย่างละเอียดก่อนรับประทาน หรือปรึกษาผู้เชี่ยวชาญด้านยาสมุนไพรเพื่อรับคำแนะนำที่ดีที่สุด"  

อีกประการหนึ่ง ที่ควรตระหนักไว้เช่นกันคือการทานยาสมุนไพรให้ได้ผลการรักษาที่ดีนั้น ตามหลักการแพทย์แผนไทยท่านกล่าวไว้ว่าจะต้องเป็นยาตำรับ (คือยาสมุนไพรตั้งแต่ 2 ชนิดขึ้นไป บางตำรับมีมากถึง 30 ชนิด ยิ่งมากยิ่งดี เพื่อให้ตัวช่วยเสริมฤทธิ์กันรักษาอย่างมีประสิทธิภาพ)

ตำรับยาสมุนไพรแก้อาการท้องผูก ของปุณรดา ยาไทย 

1. พริกไทยล่อน ที่มีรสเผ็ดร้อน แก้ลมอัมพฤกษ์ ลดลมในท้อง บำรุงธาตุ


2. ยาดำ ซึ่งช่วยการขับถ่าย ถ่ายลมเบื้องสูง ลงสู่เบื้องต่ำ

นอกจากนี้ยังมีสมุนไพรที่ทำหน้าที่ช่วยในด้านต่างๆ อีก เช่น


3. กลุ่มบำรุงโลหิต บำรุงธาตุ บำรุงลม ได้แก่ ลูกจันทน์ ดอกจันทน์ ลูกกระวาน รากเจตมูลเพลิง


4. กลุ่มแก้เถาดาน เช่น หัวบุก หัวกลอย หัวกระดาดขาว หัวกระดาดแดง


5. กลุ่มขับลม ได้แก่ ขิง เทียนดำ เทียนขาว ผักแพรวแดง และสมุนไพรอื่นๆ อย่าง


6. กานพลู แก้เสมหะเหนียว ช่วยกระจายเสมหะ


7. เนื้อลูกมะขามป้อม ระบายท้อง แก้ลม บำรุงหัวใจ ฟอกโลหิต


8. หัวดองดึง ขับผายลม แก้ปวดข้อ


9. โกฐกระดูก แก้ลมในกองเสมหะ


10. โกฐน้ำเต้า แก้ธาตุพิการ อาหารไม่ย่อย ระบายท้อง


11. ชะเอมเทศ แก้เสมหะเป็นพิษ แก้น้ำลายเหนียว


12. เนื้อลูกสมอไทย แก้ไข้เพื่อเสมหะ แก้โลหิตในอุทร แก้น้ำดี รู้ถ่ายใน


13. มหาหิงคุ์ แก้ท้องขึ้น อืดเฟ้อ แน่นจุกเสียด ขับลมในลำไส้


14. เกล็ดการบูร แก้ธาตุพิการ แก้ปวดตามเส้น ขับเสมหะและลม


15. รงทองสะตุ ถ่ายน้ำเหลือง ถ่ายลม ถ่ายเสมหะและโลหิต

*** ราคา 400 บาท พร้อมส่ง EMS ฟรี ทั่วประเทศไทย!!!

สั่งซื้อสินค้าโปรโมชั่นพิเศษติดต่อ 086-955-6366, 091-546-9415

1. แก้อาการท้องผูก ขับถ่ายยาก ถ่ายแข็ง


2. ช่วยในการขับเถาดาน พรรดึก ที่สะสมอยู่บริเวณผนังลำไส้


3. ลดอาการจุกเสียดแน่นท้อง ช่วยขับลม แก้อาการท้องอืด บวม


4. แก้กษัย ลดอาการปวดข้อ ปวดเมื่อยตามตัว ตามเส้น


5. ช่วยในการฟื้นฟูระบบขับถ่าย ปรับการขับถ่ายให้ดีขึ้นจนกลับสู่ภาวะปกติ

วิธีดูแลสุขภาพป้องกันอาการท้องผูก

1. ดื่มน้ำสะอาดให้เพียงพอในแต่ละวัน เพื่อให้ร่างกายได้รับน้ำเพียงพอ เพื่อช่วยให้ใยอาหารดูดซับน้ำได้ดี ทำให้อุจจาระพองตัว นุ่ม และเบ่งออกได้ง่าย รวมไปถึงลดการอุดตันของลำไส้ ป้องกันอาการท้องอืด จากการรับประทานใยอาหารมากเกินไป และป้องกันการเกิดภาวะขาดน้ำ เมื่อร่างกายขาดน้ำ ลำไส้จะมีการดูดน้ำจากอุจจาระที่ตกค้างกลับเข้าสู่ร่างกาย ทำให้อุจจาระแข็ง ถ่ายออกลำบาก

2. หลีกเลี่ยงการดื่มเครื่องดื่มคาเฟอีน แอลกอฮอล์ และน้ำอัดลมมากเกินไป เพราะจะทำให้ร่างกายขาดน้ำมากขึ้น

3. การรับประทานอาหารควรเลือกอาหารประเภทที่มีกากใยมากขึ้น โดยเฉพาะผักและผลไม้ โดยค่อย ๆ เพิ่มปริมาณการรับประทานขึ้นทีละน้อย เพื่อป้องกันไม่ให้ท้องอืด

4. ในบางรายอาจเกิดปัญหาท้องผูกจากการรับประทานผลิตภัณฑ์จากนม จึงควรหลีกเลี่ยงหรือรับประทานในปริมาณน้อย

5. ควรมีการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอประมาณ 30 นาทีต่อวัน หรือพยายามเคลื่อนไหวร่างกายในชีวิตประจำวันบ่อยๆ เพื่อช่วยเพิ่มการบีบตัวของลำไส้มากขึ้น ทำให้กล้ามเนื้อและระบบขับถ่ายทำงานเป็นปกติมากขึ้น

6. ปรับพฤติกรรมการขับถ่ายให้ตรงเวลา วิถีที่เร่งรีบของสภาพสังคมก็มีส่วนกระตุ้นให้เกิดอาการท้องผูกได้ง่าย ผู้ที่มีอาการท้องผูกบ่อยควรเริ่มปรับพฤติกรรมการขับถ่ายให้เป็นเวลาในแต่ละวัน ไม่กลั้นอุจจาระเมื่อเกิดอาการปวดโดยไม่จำเป็น นอกจากนี้ ท่านั่งในการถ่ายอุจจาระก็สำคัญ การนั่งถ่ายบนโถส้วมชักโครกควรโค้งตัวไปด้านหน้าเล็กน้อย อาจมีเก้าอี้ตัวเล็กรองบริเวณขา เพื่อชันเข่าขึ้นมาเล็กน้อย ทำให้หัวเข่าอยู่ในตำแหน่งที่สูงกว่าสะโพก ซึ่งเป็นท่าที่ช่วยให้สะดวกต่อการขับถ่าย

7. ไม่อั้นอุจจาระเมื่อเกิดอาการปวดโดยไม่จำเป็น หรือถ่ายด้วยความรีบเร่ง

8. เสริมการทำงานของลำไส้ด้วยโปรไบโอติกส์ การรับประทานโปรไบโอติกส์ที่พบในอาหารต่าง ๆ หรือผลิตภัณฑ์โปรไบโอติกส์ในรูปแบบอาหารเสริมอาจเป็นอีกตัวเลือกที่ช่วยบรรเทาอาการท้องผูกให้ดีขึ้นได้ โปรไบโอติกส์ (Probiotics) เป็นแบคทีเรียชนิดหนึ่งที่อาศัยอยู่ภายในลำไส้ของคนเราและไม่ก่อโรคให้ร่างกาย เช่น Lactobacillus Bifidobacterium หรือ Sacchromyces Boulardi และยังพบอยู่ในอาหารบางประเภท โดยเฉพาะโยเกิร์ต นมเปรี้ยว ซึ่งมีการศึกษาพบว่าแบคทีเรียเหล่านี้ช่วยสร้างความสมดุลของสภาวะในระบบการย่อยอาหาร โดยไปลดแบคทีเรียชนิดที่เป็นอันตรายต่อร่างกายไม่ให้มีมากเกินไป และช่วยปรับการทำงานของลำไส้ให้เป็นปกติ

สามารถปรึกษากับพวกเรา Poonrada Yathai ได้เสมอนะคะ (ปรึกษาฟรีไม่มีค่าใช้จ่ายค่ะ)
LINE ID: @Poonrada
TEL: 086-955-6366, 091-546-9415

ทีมแพทย์แผนไทยปุณรดา

ผู้เชี่ยวชาญด้านสมุนไพร

"สมุนไพร คือ ของขวัญจากธรรมชาติ เราจึงตั้งใจมอบสมุนไพรที่ดีที่สุด ให้ถึงมือคุณ"

ปุณรดา ยาไทย
แพทย์แผนไทยที่อยู่ใกล้คุณที่สุด

ท่านจะได้รับทราบโปรโมชั่นพิเศษก่อนใครทาง [email protected] พร้อมบริการปรึกษาแพทย์ออนไลน์แบบส่วนตัวฟรี ทุกวันตั้งแต่เวลา 10.00-20.00 น.

ผลไม้สมุนไพรใดเป็นยาระบายอ่อนๆได้

ลูกพรุนแห้ง เป็นยาระบาย ช่วยให้อุจจาระอ่อนนุ่ม และขับถ่ายออกง่าย กล้วยน้ำว้าสุก มีเมือกลื่นที่ช่วยให้การขับถ่ายสะดวกขึ้น มะละกอ มีน้ำย่อยธรรมชาติ ช่วยกำจัดโปรตีนเก่าที่ขัดขวางการขับถ่าย สับปะรด มีน้ำย่อยธรรมชาติคล้ายมะละกอ

ผลไม้อะไรเป็นยาระบาย

10 ผลไม้แก้ “ท้องผูก” อยากท้องแฟ่บเมื่อไร จัดเลย!.
1. มะละกอ ... .
2. แอปเปิ้ล ... .
3. กล้วย ... .
4. มะม่วงสุก ... .
5. ส้ม ... .
6. ลูกพรุน ... .
7. สัปปะรด ... .
8. ละมุด.

ผักอะไรเป็นยาระบาย

หลายคนอาจรู้อยู่แล้วว่าผักเป็นอาหารช่วยแก้ท้องผูกได้ แต่ผักชนิดไหนล่ะที่จะช่วยแก้อาการท้องผูกได้อย่างตรงจุดจริงๆ ขอแนะนำเป็นผักใบเขียวที่หาได้ง่ายในมื้ออาหาร เป็นผักที่แสนใกล้ตัวสุดๆ อย่าง ผักบุ้ง ผักกาดขาว และบวบ เพราะผักเหล่านี้มีปริมาณเส้นใยที่สูง ช่วยให้เกิดการขับถ่ายได้ดี

กินผลไม้อะไรท้องไม่ผูก

9 ผลไม้แก้ท้องผูก.
1. มะขามเปียก ... .
2. ลูกพรุนแห้ง ... .
3. กล้วยน้ำว้าสุก ... .
4. มะละกอ ... .
5. สับปะรด ... .
6. แอปเปิ้ลเขียว ... .
7. ส้ม ... .
8. แก้วมังกร.

กระทู้ที่เกี่ยวข้อง

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

แปลภาษาไทย ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน อาจารย์ ตจต ศัพท์ทหาร ภาษาอังกฤษ pdf lmyour แปลภาษา ชขภใ ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมฟรี 2566 ขขขขบบบยข ่ส ศัพท์ทางทหาร military words หนังสือราชการ ตัวอย่าง หยน แปลบาลีเป็นไทย ไทยแปลอังกฤษ ประโยค การไฟฟ้านครหลวง การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ข้อสอบโอเน็ต ม.3 ออกเรื่องอะไรบ้าง พจนานุกรมศัพท์ทหาร เมอร์ซี่ อาร์สยาม ล่าสุด แปลภาษามลายู ยาวี Bahasa Thailand กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมออนไลน์ การ์ดจอมือสอง ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย คะแนน o-net โรงเรียน ค้นหา ประวัติ นามสกุล บทที่ 1 ที่มาและความสําคัญของปัญหา ร. ต จ แบบฝึกหัดเคมี ม.5 พร้อมเฉลย แปลภาษาอาหรับ-ไทย ใบรับรอง กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน PEA Life login Terjemahan บบบย มือปราบผีพันธุ์ซาตาน ภาค2 สรุปการบริหารทรัพยากรมนุษย์ pdf สอบโอเน็ต ม.3 จําเป็นไหม เช็คยอดค่าไฟฟ้า แจ้งไฟฟ้าดับ แปลภาษา มาเลเซีย ไทย แผนที่ทวีปอเมริกาเหนือ ่้แปลภาษา Google Translate กระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ 8 ขั้นตอน ก่อนจะนิ่งก็ต้องกลิ้งมาก่อน เนื้อเพลง ข้อสอบโอเน็ตม.3 มีกี่ข้อ คะแนนโอเน็ต 65 ตม กรุงเทพ มีที่ไหนบ้าง