จำนวนเม็ดเลือดขาวต่ำ เกิดจากอะไร

ภาวะเกล็ดเลือดต่ำ คือภาวะที่เลือดมีจำนวนของเกล็ดเลือดน้อยกว่าปกติไม่นับว่าเป็นโรค แต่เป็นภาวะที่เกิดจากโรค ควรต้องตรวจหาสาเหตุของการเกิดภาวะดังกล่าวก่อนทำการรักษา

อาการ

มีเลือดออกง่ายและห้ามเลือดได้ยากกว่าปกติ มักพบตามเยื่อบุต่าง ๆ เช่น เลือดออกตามไรฟัน เลือดกำเดา รวมทั้งมีจุดจ้ำเลือดใต้ชั้นผิวหนังหรือรอยฟกช้ำตื้น ๆ แม้ไม่มีการกระแทก

สาเหตุ

  1. โรคที่มีความผิดปกติของไขกระดูก ได้แก่
    • กลุ่มโรคไขกระดูกผ่อ ทั้งเป็นตั้งแต่กำเนิด เป็นภายหลัง หรือเป็นในผู้สูงอายุ เกิดจากการสัมผัสสารเคมี ยาฆ่าแมลง หรือติดเชื้อไวรัสบางชนิดกลุ่มโรคที่มีความผิดปกติในไขกระดูก เช่น มะเร็งเม็ดเลือดขาว
    • สาเหตุอื่น ๆ ที่ทำให้ไขกระดูกสร้างเกล็ดเลือดได้ลดลง เช่น ผลของยาบางชนิดและการติดเชื้อไวรัส
  2. เกล็ดเลือดถูกทำลายหรือใช้เกล็ดเลือดมากกว่าปกติ ได้แก่
    • เกล็ดเลือดถูกภูมิคุ้มกันทำลายเมื่อร่างกายติดเชื้อไวรัส หรือได้รับวัคซีน
    • โรคความผิดปกติของระบบภูมิคุ้มกัน
    • เกล็ดเลือดถูกใช้เพื่อการหยุดเลือดจากการที่มีเลือดออกรุนแรงหรือเมื่อร่างกายเกิดการติดเชื้ออย่างรุนแรง
    • เนื้องอกหลอดเลือดบางชนิด โดยพบก้อนสีแดงช้ำร่วมด้วย

คำแนะนำจากแพทย์

หากพบอาการของภาวะเกล็ดเลือดต่ำ ควรรีบพบแพทย์เพื่อตรวจวินิจฉัยหาสาเหตุของโรคและเข้ารับการรักษาอย่างถูกต้อง

จำนวนเม็ดเลือดขาวปกติขึ้นกับอายุและภาวะมีครรภ์ ยังไม่มีตัวเลขตรงกันของแต่ละสถาบันว่าจำนวนเม็ดเลือดขาวรวมที่ปกติเป็นเท่าไร บ้างก็ใช้ตัวเลข 5,000-10,000 cells/μL (5-10 x 109/L) เพราะจำง่าย ห้องแล็บของโรงพยาบาลศิริราชใช้ตัวเลข 4,400-10,300 cells/μL (4.4-10.3 x 109/L) แต่บางคนก็มีเม็ดเลือดขาวเพียง 3,300 cells/μL มานานหลายสิบปีโดยที่ไม่มีอาการอะไร แบบนี้ถือเป็นความหลากหลายที่ปกติ (normal variation) เหมือนความสูงของคน

และเนื่องจากเม็ดเลือดขาวมีหลายชนิด ภาวะเม็ดเลือดขาวน้อยจึงต้องแยกว่าเป็นชนิดใดน้อย เม็ดเลือดขาวที่มีความสำคัญทางคลินิกเมื่อมันลดลงคือนิวโตรฟิลและลิมโฟไซต์ เรียกว่า ภาวะ neutropenia และ lymphopenia ตามลำดับ ดังนั้นเมื่อตรวจสุขภาพพบจำนวนเม็ดเลือดขาวทั้งหมดน้อย จึงต้องเอาเปอร์เซนต์ของนิวโตรฟิลและลิมโฟไซต์มาคำนวณหาจำนวนสัมบูรณ์ของมัน นิยามของภาวะเม็ดเลือดขาวน้อยจะเป็นดังนี้

Neutropenia

หมายถึง จำนวนนิวโตรฟิลสัมบูรณ์ (absolute neutrophil count, ANC) ต่ำกว่า 1,500 cells/μL ถ้าน้อยกว่า 100 cells/μL จะเรียกว่า Agranulocytosis สาเหตุอาจมาจาก

  1. การติดเชื้อไวรัส
  2. การติดเชื้อแบคทีเรียบางชนิด เช่น Brucellosis, Typhoid, Lyme
  3. ติดเชื้อมาลาเรีย
  4. ติดเชื้อวัณโรค, เชื้อรา
  5. จากยา ได้แก่
    • ยาเคมีบำบัด เช่น กลุ่ม Alkylating agents, Anthracyclines, Antimetabolites, Camptothecins, Epipodophyllotoxins, Hydroxyurea, Mitomycin C, Taxanes
    • ยาพุ่งเป้า เช่น Infliximab, Rituximab
    • ยากดภูมิต้านทาน เช่น Tacrolimus
    • ยาปฏิชีวนะ เช่น Vancomycin, Bactrim, Penicillin, Oxacillin, Cefotaxime, Ceftriaxone, Cefipime, Meropenem, Metronidazole, Tazocin, Ciprofloxacin, Clindamycin, Tobramycin, Linezolid, Teicoplanin, Dapsone, Quinine
    • ยาต้านไวรัส เช่น Valganciclovir
    • ยารักษาไทรอยด์เป็นพิษ เช่น Methimazole, Carbimazole, Propylthiouracil (PTU)
    • ยากันชักและยากดประสาท เช่น Lamotrigine, Levetiracetam, Clozapine, Quetiapine
    • ยาต้านซึมเศร้า เช่น Venlafaxine (Effexor®)
    • ยารักษาโรคข้ออักเสบเรื้อรัง เช่น Sulfasalazine, Hydroxychloroquine
    • ยาแก้ปวด เช่น Dipyrone, ยากลุ่มเอนเสดบางตัว เช่น Ibuprofen
    • ยารักษาแผลในกระเพาะอาหาร เช่น กลุ่ม H2-blockers
    • ยาต้านเกล็ดเลือด เช่น Ticlopidine
    • ยาลดความดันโลหิต เช่น กลุ่ม ACEI
    • ยารักษาหัวใจเต้นผิดปกติ เช่น Quinidine, Procainamide
    • ยาขับปัสสาวะ เช่น Torsemide
  6. โรคของไขกระดูก เช่น โรคไขกระดูกฝ่อ, กลุ่มอาการเอ็มดีเอส, มะเร็งอวัยวะอื่นลุกลามเข้าไขกระดูก (เหล่านี้มักมีโลหิตจาง และ/หรือ เกล็ดเลือดต่ำด้วย)
  7. ได้รับการฉายรังสีรักษา
  8. ขาดวิตามินบี 12 และโฟเลต (ต้องมีโลหิตจางด้วย) มักพบในผู้ติดสุราเรื้อรัง
  9. ขาดธาตุทองแดง (copper)
  10. ถูกม้ามที่โตกิน
  11. โรคทางภูมิคุ้มกัน เช่น SLE
  12. โรคทางเมตาบอลิก เช่น Pearson syndrome, Gaucher syndrome, Acidemias
  13. โรค Sarcoidosis
  14. ไม่ทราบสาเหตุ

ยิ่งจำนวนนิวโตรฟิลลดลงมากเท่าไหร่ก็ยิ่งติดเชื้อต่าง ๆ ง่ายขึ้นเท่านั้น

Lymphopenia หรือ Lymphocytopenia

หมายถึง จำนวนลิมโฟไซต์ ต่ำกว่า 1,000 cells/μL ส่วนใหญ่พบในผู้ป่วยเอดส์ระยะท้าย ๆ ที่ CD4 ถูกทำลายไปมาก ในคนปกติทั่วไปพบได้น้อย แต่ถ้าพบให้มองหาสาเหตุเหล่านี้

  1. จากยา เช่น สเตียรอยด์ ยาเคมีบำบัด
  2. มะเร็งลุกลามเข้าไขกระดูก
  3. ได้รับการฉายรังสีรักษาในขนาดสูง หรือได้รับกัมมันตรังสีจากอุบัติเหตุ

ส่วน Eosinophil, Basophil, Monocyte มีเปอร์เซนต์น้อยอยู่แล้ว ทำให้ประเมินจำนวนที่ลดลงยาก และไม่มีความสำคัญทางคลินิก

รู้หรือไม่ว่าหากมีภาวะเม็ดเลือดขาวต่ำ อาจส่งผลต่อระบบภูมิคุ้มกัน รวมทั้งเสี่ยงต่อความรุนแรงจากการติดเชื้อโรคต่างๆ ได้ง่าย และอาการเม็ดเลือดขาวต่ำมักไม่แสดงอาการ


พญ.หรรษมน โพธิ์ผ่าน ฝ่ายกุมารเวชศาสตร์ รพ.จุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย กล่าวว่า เม็ดเลือดในร่างกายนั้น ประกอบด้วย เม็ดเลือดแดง เกล็ดเลือด และเม็ดเลือดขาว โดยเม็ดเลือดขาวจะทำหน้าที่เป็นภูมิคุ้มกันของร่างกาย เพื่อกำจัดเชื้อโรค หรือสิ่งแปลกปลอมต่างๆ ที่เข้ามาในร่างกาย ซึ่งหากมีภาวะเม็ดเลือดขาวต่ำ อาจส่งผลต่อระบบภูมิคุ้มกัน รวมทั้งเสี่ยงต่อความรุนแรงจากการติดเชื้อโรคต่างๆ ได้ง่าย


สำหรับสาเหตุของภาวะเม็ดเลือดขาวต่ำ ได้แก่ 1.การติดเชื้อโรคต่าง เช่น ไวรัส มักทำให้เม็ดเลือดขาวต่ำ แต่การติดเชื้อแบคทีเรีย โดยส่วนใหญ่มักทำให้เม็ดเลือดขาวสูงขึ้น   2.การได้รับยา สารเคมีบางชนิด หรือได้รับรังสี 3.ภาวะภูมิคุ้มกันบกพร่อง ทั้งเป็นแต่กำเนิด หรือเป็นภายหลัง 4.โรคภูมิคุ้มกันทำลายตนเอง 5.โรคมะเร็งเม็ดเลือดขาว หรือมะเร็งอื่นๆ ที่แพร่กระจายในไขกระดูก 6.โรคไขกระดูกฝ่อ ทั้งชนิดที่เป็นแต่กำเนิดและเป็นภายหลัง 7.โรคที่มีความผิดปกติของการสร้างเม็ดเลือดขาวแต่กำเนิด 8.ภาวะขาดสารอาหารบางอย่าง เช่น วิตามินบี 12 โฟลิก ส่วนอาการเม็ดเลือดขาวต่ำนั้น มักไม่แสดงอาการ จะทราบได้จากการที่ต้องไปตรวจเจาะเม็ดเลือด หรือจะแสดงอาการก็ต่อเมื่อผู้ป่วยมีโรคที่เป็นเหตุ หรือมีอาการจากการติดเชื้อที่ตามมาจากการที่มีเม็ดเลือดขาวต่ำ เช่น 1.มีไข้ 2.คลำพบก้อนต่อมน้ำเหลืองโต ตับ ม้าม ไต ในโรคมะเร็งเม็ดเลือด 3.ผื่นแพ้แสง ปวดข้อ ในโรคภูมิคุ้มกันทำลายตนเอง


ทั้งนี้ ในการดูแลผู้ป่วยที่มีภาวะเม็ดเลือดขาวต่ำ ได้แก่ 1.การรักษาโรคที่เป็นสาเหตุ 2.ฉีดยากระตุ้นเพิ่ม จำนวนเม็ดเลือดขาวในบางโรค ขึ้นกับสาเหตุ 3.รักษาความสะอาดร่างกาย 4.หลีกเลี่ยงการสัมผัสผู้ป่วยติดเชื้อ 5.รับประทานอาหารที่สุกสะอาด ผ่านความร้อน เพื่อป้องกันการติดเชื้อ อย่างไรก็ตาม มีคำแนะนำจากแพทย์ คือ ผู้ป่วยที่มีโรคประจำตัวควรตรวจร่างกายเป็นประจำทุกปี เพื่อตรวจหาโรคที่อาจก่อให้เกิดภาวะเม็ดเลือดขาวต่ำ หากพบว่าตนเองมีภาวะเม็ดเลือดขาวต่ำควรตรวจหาสาเหตุ ปฏิบัติตามคำแนะนำต่อการรักษาอย่างสม่ำเสมอ รวมทั้งดูแลสุขภาพร่างกายให้แข็งแรง เพื่อลดความเสี่ยงต่อความรุนแรงจากติดเชื้อโรคต่างๆ

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

แปลภาษาไทย ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน อาจารย์ ตจต ศัพท์ทหาร ภาษาอังกฤษ pdf lmyour แปลภาษา ชขภใ ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมฟรี 2566 ขขขขบบบยข ่ส ศัพท์ทางทหาร military words หนังสือราชการ ตัวอย่าง หยน แปลบาลีเป็นไทย ไทยแปลอังกฤษ ประโยค การไฟฟ้านครหลวง การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ข้อสอบโอเน็ต ม.3 ออกเรื่องอะไรบ้าง พจนานุกรมศัพท์ทหาร เมอร์ซี่ อาร์สยาม ล่าสุด แปลภาษามลายู ยาวี Bahasa Thailand กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมออนไลน์ การ์ดจอมือสอง ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย คะแนน o-net โรงเรียน ค้นหา ประวัติ นามสกุล บทที่ 1 ที่มาและความสําคัญของปัญหา ร. ต จ แบบฝึกหัดเคมี ม.5 พร้อมเฉลย แปลภาษาอาหรับ-ไทย ใบรับรอง กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน PEA Life login Terjemahan บบบย มือปราบผีพันธุ์ซาตาน ภาค2 สรุปการบริหารทรัพยากรมนุษย์ pdf สอบโอเน็ต ม.3 จําเป็นไหม เช็คยอดค่าไฟฟ้า แจ้งไฟฟ้าดับ แปลภาษา มาเลเซีย ไทย แผนที่ทวีปอเมริกาเหนือ ่้แปลภาษา Google Translate กระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ 8 ขั้นตอน ก่อนจะนิ่งก็ต้องกลิ้งมาก่อน เนื้อเพลง ข้อสอบโอเน็ตม.3 มีกี่ข้อ คะแนนโอเน็ต 65 ตม กรุงเทพ มีที่ไหนบ้าง