ธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์คืออะไร

การพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (Electronic commerce) หมายถึง การทำธุรกรรมผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ ในทุกๆ ช่องทางที่เป็นอิเล็กทรอนิกส์ ได้แก่ อินเทอร์เน็ต และระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์

การพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์สามารถกระทำผ่านโทรศัพท์เคลื่อนที่ ตัวอย่างการทำธุรกรรมเช่น การโอนเงินอิเล็กทรอนิกส์ การโฆษณาในอินเทอร์เน็ต รวมทั้งการซื้อขายสินค้าแบบออนไลน์ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเพิ่มช่องทางการกระจายสินค้า ลดค่าใช้จ่าย และเพิ่มประสิทธิภาพขององค์กร โดยการลดบทบาทของความสำคัญขององค์ประกอบทางธุรกิจในรูปแบบดั่งเดิมลง เช่น ตำแหน่งที่ตั้ง อาคารประกอบการ โกดังเก็บสินค้า ห้องแสดงสินค้า รวมถึงพนักงานขาย พนักงานแนะนำสินค้า พนักงานต้อนรับลูกค้าเป็นต้น ลดข้อจำกัดของระยะทางและเวลา ในการทำธุรกรรมลงได้

คนไทยสามารถสั่งชื้อของที่ประเทศอเมริกาโดยผ่านระบบอินเตอร์เน็ต
เนื่องจากปัจจุบันเป็นยุคที่ต้องใช้เทคโนโลยีและการสื่อสารเข้ามาช่วยในการทำธุรกิจ ดังนั้นผู้ประกอบการรุ่นใหม่จึงจำเป็นต้องมีความรู้ทางด้านวิทยาการคอมพิวเตอร์ โดยเฉพาะความรู้ทางด้านอินเทอร์เน็ต และต้องมีกลยุทธ์ในการทำธุรกิจอย่างรอบด้าน ตัวอย่างเช่น ถ้าต้องการผลิตสินค้าเพื่อจำหน่าย ผู้ผลิตจะต้องเรียนรู้วิธีการสร้างตราสินค้าเพื่อทำให้ลูกค้ารู้จัก ถ้าไม่เช่นนั้นสินค้าก็จะเป็นสินค้าประเภท Commodity ทำให้ต้องสู้กับผู้ผลิตรายอื่นเฉพาะค่าแรงและราคาเท่านั้น เพราะว่าผู้คนส่วนมากจะยึดติดกับตราสินค้า และจ่ายเงินซื้อสินค้าจากตราสินค้ามากกว่าการคำนึงถึงราคา ดังนั้นการสร้างตราสินค้า จึงกลายเป็นสิ่งสำคัญในการแข่งขันในตลาดในยุคปัจจุบัน
เพื่อการทำธุรกิจให้อยู่รอด เรื่องของการตลาดจะเป็นหนทางทำให้เงินเข้าสู่บริษัท และนักการตลาดในปัจจุบันนี้จำเป็นต้องเป็นพวกรู้มากและรู้ทุกอย่าง หรืออย่างที่ภาษาอังกฤษเขาเรียกว่า Jack of All Trade มีกฎของการบริการง่ายๆ 2 ข้อเท่านั้น คือ ลูกค้าถูกเสมอ และ ถ้าลูกค้าทำผิดให้กลับไปดูกฎข้อแรกใหม่ ดังนั้นถ้าผู้ประกอบธุรกิจในโลกไร้พรมแดนต้องการจะประสบความสำเร็จ ต้องเน้นที่ 4C คือ  Consumer Cost Convenience และ Communication
จากเหตุผลดังกล่าวมาข้างต้น นักการตลาดส่วนใหญ่จึงหันมาให้ความสำคัญเรื่อง Customer Relationship Management

นอกเหนือจากส่วนการผลิตสินค้าที่ต้องคำนึงถึงการลดต้นทุนให้ได้ เพราะการขึ้นราคาสินค้าต้องคำนึงถึงคู่แข่งที่อยู่ในตลาดระดับเดียวกันที่มีเป็นจำนวนมาก เพราะทันทีที่ราคาสินค้าของเราเพิ่มขึ้น ลูกค้าอาจหันไปหาผู้ผลิตรายอื่นได้ ฉะนั้นยุคปัจจุบันผู้ผลิตจึงให้ความสำคัญเรื่อง การจัดการโซ่อุปทาน หรือ Supply Chain Management เพราะกระบวนการจัดการโซ่อุปทานนั้น สามารถทำให้ผู้ผลิตสามารถลดต้นทุนการผลิตได้
การจัดจำหน่ายสินค้านั้น แต่เดิมเราก็ขายสินค้าผ่านร้านค้าส่ง และร้านค้าปลีก

ปัจจุบันมีการจัดจำหน่ายแบบ Modern Trades เกิดขึ้นมากมาย เพราะคำนึงถึงการให้ความสะดวกสบายแก่ผู้บริโภค ตัวอย่างเช่น Home Delivery หรือการทำธุรกรรมทางธนาคารที่บ้าน ผ่านทางอินเทอร์เน็ต เป็นต้น และสุดท้ายการทำโปรโมชั่น ต้องเป็นแบบการสื่อสารครบวงจรเพื่อทำให้ลูกค้าเข้าถึงสินค้าได้อย่างสะดวกและรวดเร็ว ดังนั้น  การพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ จึงเข้ามามีบทบาทในการทำธุรกิจในปัจจุบันเป็นอย่างมาก

ผู้เขียนมักได้รับคำถามบ่อยครั้งเกี่ยวกับประเด็นที่ว่า กฎหมายธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์ (กฎหมายธุรกรรมฯ) ใช้อย่างไร และใช้กับธุรกรรมทุกประเภทหรือไม่ บทความฉบับนี้จึงถือโอกาสเล่าถึงทางปฏิบัติในเบื้องต้นในเรื่องดังกล่าว

  • “ธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์” คืออะไร

ธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ คือกิจกรรมใดๆ ที่กระทำขึ้นระหว่างภาครัฐหรือภาคเอกชน ไม่ว่าจะเพื่อวัตถุประสงค์ในทางการค้า หรือเพื่อติดต่องานราชการ โดยปรับใช้วิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ไม่ว่าทั้งหมดหรือบางส่วน เช่น การพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ (e-Commerce) การโอนเงินผ่านระบบอินเทอร์เน็ต และการสื่อสารรับส่งข้อมูลหรือข้อความอิเล็กทรอนิกส์ระหว่างกัน ซึ่งวิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ดังกล่าวนี้ในทางปฏิบัติสามารถทำได้หลายรูปแบบตามแต่ประเภทของเทคโนโลยีที่เลือกใช้ เช่น การประยุกต์ใช้วิธีการทางอิเล็กตรอน คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า การส่งข้อมูลผ่านสายไฟเบอร์ ผ่านดาวเทียม หรือสาย LAN เป็นต้น

ที่มาของกฎหมายเกิดจากความจำเป็น เพราะหากย้อนเวลากลับไปเมื่อมีการเริ่มต้นร่างประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ในเวลานั้นธุรกรรมต่างๆ มีรูปแบบในการจัดทำโดยไม่พึ่งพาเทคโนโลยีอย่างเช่นในปัจจุบัน หรืออาจกล่าวได้ว่า รูปแบบการทำ “ธุรกรรม” อันเป็นจุดก่อให้เกิดความสัมพันธ์ในอดีตมักมีความยึดโยงในทางกายภาพเป็นหลัก หรืออาจกล่าวได้ว่า “สัญญา” อยู่ในรูปกระดาษและการลงลายมือชื่อ อาจกระทำโดยใช้ตราประทับแกงได หรือปากกา

อย่างไรก็ดี ตามกฎหมายไทย แม้ว่าสัญญาทุกประเภทไม่จำเป็นต้องทำเป็นหนังสือและลงลายมือชื่อกำกับก็สามารถมีผลทางกฎหมาย แต่ก็มีสัญญาอีกจำนวนไม่น้อยที่กฎหมายกำหนดให้ “ทำเป็นลายลักษณ์อักษร เป็นหนังสือ หรือมีหลักฐานเป็นหนังสือมาแสดง” พร้อมทั้งมีการ “ลงลายมือชื่อ” กำกับไว้เท่านั้น ถึงจะสามารถฟ้องร้องบังคับคดีกันได้ ยกตัวอย่างเช่นสัญญากู้ยืมเงินเกินกว่า 2,000 บาท และการทำสัญญาประกันภัย “ถ้ามิได้มีหลักฐานเป็นหนังสือ” และ “ไม่มีการลงลายมือ” คู่สัญญาจะไม่สามารถฟ้องร้องให้บังคับคดีกันได้ (ม.653 และ ม.867 ปพพ.)

  • โลกเปลี่ยนรูปแบบของสัญญาเปลี่ยน

อย่างไรก็ดี ในปัจจุบันการทำ “ธุรกรรม” อันเป็นจุดก่อให้เกิดความสัมพันธ์ในทางกฎหมายมีความซับซ้อนและแตกต่างไปจากเดิม เช่นจากกระดาษเป็นเอกสารอิเล็กทรอนิกส์ (e-Document) จากลายเซ็นด้วยปากกาเป็นลายเซ็นอิเล็กทรอนิกส์ (e-Signature) จากการซื้อขายผ่านหน้าร้านเป็นร้านค้าออนไลน์ และจากการชำระด้วยเงินสดเป็นการชำระเงินผ่าน Mobile Banking เป็นต้น ประกอบกับหน่วยงานกำกับดูแลต่างๆ (เช่น ธปท. กลต. และ คปภ.) ก็ต่างยอมรับการทำสัญญาผ่านช่องทางอิเล็กทรอนิกส์ และการทำธุรกรรมแบบ Non-Face-to-face ที่ผู้ให้บริการและผู้รับบริการไม่จำเป็นต้องเดินทางมาพบกัน

  • กฎหมายธุรกรรมฯ เป็นกฎหมายที่ใช้ “เสริม”

ดังนั้น เพื่อแก้ไขปัญหาในข้างต้น กฎหมายธุรกรรมฯ จึงได้ถูกบัญญัติมาเพื่อใช้เสริมกฎหมายเดิมที่มีอยู่ กล่าวคือกฎหมายเดิมหากมีการกำหนดให้ต้องจัดทำข้อมูลหรือบันทึกข้อความเป็น “หนังสือ มีหลักฐานเป็นหนังสือ หรือมีเอกสารมาแสดง” แต่ด้วยยุคสมัยที่เปลี่ยนไป คู่สัญญาได้บันทึกข้อความหรือข้อมูลต่างๆ ในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์แทนกฎหมาย จะยอมรับความสมบูรณ์ของข้อความอิเล็กทรอนิกส์และรับรองให้มีสถานะเป็นหนังสือที่มีผลทางกฎหมาย หากเข้าองค์ประกอบในการจัดทำเอกสารอิเล็กทรอนิกส์ตามที่ได้กำหนดไว้ใน ม.8 ของ พ.ร.บ.ธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์

นอกจากนี้ การลงลายมือชื่อในกรณีของเอกสารอิเล็กทรอนิกส์ในข้างต้นนั้น ก็จะต้องทำให้ถูกต้องและสอดคล้องกับหลักการใน พ.ร.บ.ธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์เช่นกัน (ม.9, 26 และ 28 ตามแต่กรณี) โดยในปัจจุบันได้มีการพัฒนาระบบลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ หรือ e-Signature เพื่อใช้กับเอกสารอิเล็กทรอนิกส์ในรูปแบบต่างๆ

หากพิจารณาประกอบกับหลักการที่ได้บัญญัติไว้ในกฎหมายธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์แล้ว อาจสรุปได้ว่า e-Signature คือการใช้เทคโนโลยีในการสร้างเครื่องยืนยันตัวตนของบุคคลในรูปแบบดิจิทัล เพื่อใช้เชื่อมโยงและแสดงความสัมพันธ์กับบุคคลผู้เป็นเจ้าของชุดข้อมูลดังกล่าว (เจ้าของลายมือชื่อ) ซึ่งให้ผลไม่ต่างจากการยืนยันตัวบุคคลโดยการจับปากกาลงมาเซ็นในกระดาษ

ดังนั้น อาจกล่าวได้ว่ากฎหมายธุรกรรมฯ ได้บัญญัติเพื่อรับรองสถานะทางกฎหมายของข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ และลายมือชื่ออิเล็กทรอนิกส์ให้เท่าเทียมกับธุรกรรมที่ทำบนกระดาษและการลงลายมือชื่อไว้แล้ว

  • “ครอบครัว” และ “มรดก” ไม่ปรับใช้กฎหมายธุรกรรมฯ

ในทางปฏิบัติ อาจกล่าวได้ว่า ธุรกรรมเกือบทุกประเภท ไม่ว่าจะเป็นธุรกรรมภาครัฐหรือเอกชนต่างปรับใช้กฎหมายธุรกรรมฯ ได้ทั้งสิ้นหากคู่สัญญาประสงค์จะจัดทำผ่านช่องทางอิเล็กทรอนิกส์ อย่างไรก็ดี มีธุรกรรมสองประเภทที่ไม่อยู่ภายใต้หลักเกณฑ์ของกฎหมายธุรกรรม อันได้แก่ ธุรกรรมที่เกี่ยวกับ “ครอบครัว” และ “มรดก” ซึ่งสาเหตุที่กฎหมายบัญญัติยกเว้นก็ด้วยเหตุที่ว่าธุรกรรมทั้งสองประเภทเป็นเรื่องส่วนบุคคลโดยแท้ การทำธุรกรรมที่เกี่ยวข้องจึงพึ่งกระทำตามรูปแบบที่ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ได้กำหนดไว้

ยกตัวอย่างเช่น การทำพินัยกรรมตามกฎหมายจะต้องทำเป็นหนังสือ ซึ่งกฎหมายได้กำหนดให้กระทำได้หลายรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็นแบบเขียนเองทั้งฉบับ หรือแบบเอกสารฝ่ายเมือง (ทำต่อหน้าเจ้าหน้าที่ของรัฐ) ซึ่งทุกแบบที่กฎหมายกำหนดไว้นั้น จะต้องทำโดยใช้ “เอกสารหรือหนังสือ” ในแบบเดิมเท่านั้น ไม่สามารถใช้กระบวนการทางอิเล็กทรอนิกส์เพื่อทำพินัยกรรมให้มีผลสมบูรณ์ในทางกฎหมายได้ ซึ่งหากเจ้ามรดกได้ทำพินัยกรรมผ่านช่องทางอิเล็กทรอนิกส์ อาจส่งผลให้พินัยกรรมฉบับนั้นไม่มีผลทางกฎหมาย และทำให้การแบ่งมรดกต้องกลับไปสู่หลักทายาทโดยธรรมแทน

  • เมื่อทำถูกต้อง “ธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์” ย่อมมีผลตามกฎหมาย

ท้ายที่สุด อาจสรุปได้ว่าหลักการที่สำคัญของกฎหมายธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์ คือการห้ามปฏิเสธความสมบูรณ์ของข้อมูลเพียงเพราะอยู่ในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งกฎหมายมีเจตนารมณ์ในการเคารพสิทธิและเสรีภาพในการแสดงเจตนาของบุคคลที่กระทำลงผ่านช่องทางอิเล็กทรอนิกส์ หรืออาจกล่าวได้ว่าการบัญญัติกฎหมายธุรกรรมฯ ก็เพื่อให้มีหน้าที่รองรับสถานะของข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์นั้นเอง ซึ่งกฎหมายจะต้องยึดหลักความเป็นกลางทางเทคโนโลยี (Technology Neutrality) โดยไม่เลือกเทคโนโลยีใดเป็นการเฉพาะ หากเทคโนโลยีที่ใช้นั้นสามารถสร้างมาตรฐานทางเทคโนโลยีได้ตามเงื่อนไขที่กฎหมายกำหนด

ดังนั้น ไม่ว่าบุคคลจะจัดทำข้อมูลโดยบันทึกลงบนกระดาษ หรือบันทึกผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ หากคู่สัญญาได้ทำตามเงื่อนไขที่กฎหมายกำหนดแล้ว ย่อมมีผลในทางกฎหมายไม่ต่างกัน

ข้อใดคือธุรกรรมอิเล็กทรอนิกส์

ธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Transaction) หมายถึง กิจกรรมใด ๆ ที่กระทำขึ้นระหว่างหน่วยธุรกิจ บุคคล รัฐ ตลอดจนองค์กรเอกชนหรือองค์กรของรัฐใด ๆ เพื่อวัตถุประสงค์ทางธุรกิจ การค้า และการติดต่องานราชการ โดยใช้วิธีการทางอิเล็กทรอนิกส์ทั้งหมดหรือแต่บางส่วน ยกตัวอย่าง เช่น การซื้อ-ขายสินค้าผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต, การ ...

ธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ และ การพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ คืออะไร

e-Commerce (Electronic Commerce) คือ อีคอมเมิร์ซ, พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ หรือ การพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ เป็นการทำธุรกรรมซื้อขาย หรือแลกเปลี่ยนสินค้าและบริการบนอินเทอร์เน็ต โดยใช้เว็บไซต์หรือแอปพลิเคชันเป็นสื่อในการนำเสนอสินค้าและบริการต่าง ๆ รวมถึงการติดต่อกันระหว่างผู้ซื้อและผู้ขาย ทำให้ผู้เข้าใช้บริการจากทุกที่ทุก ...

กฎหมายเกี่ยวกับธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์มีอะไรบ้าง

พ.ร.บ.ว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. 2544. พ.ร.บ.ว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2551. พ.ร.บ.ว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2562. พ.ร.บ.ว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2562.

ทำไมต้องมีการตรากฎหมายธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์

เหตุผล: ตามที่ได้มีการตราพระราชบัญญัติว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ. 2544 ขึ้น เพื่อรองรับสถานะทางกฎหมายของข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ให้มีผลเช่นเดียวกับการทำธุรกรรมโดยวิธีการทั่วไป ซึ่งต่อมาได้มีการปรับปรุงแก้ไขโดยพระราชบัญญัติว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2551.

กระทู้ที่เกี่ยวข้อง

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

แปลภาษาไทย ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน อาจารย์ ตจต ศัพท์ทหาร ภาษาอังกฤษ pdf lmyour แปลภาษา ชขภใ ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมฟรี 2566 ขขขขบบบยข ่ส ศัพท์ทางทหาร military words หนังสือราชการ ตัวอย่าง หยน แปลบาลีเป็นไทย ไทยแปลอังกฤษ ประโยค การไฟฟ้านครหลวง การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ข้อสอบโอเน็ต ม.3 ออกเรื่องอะไรบ้าง พจนานุกรมศัพท์ทหาร เมอร์ซี่ อาร์สยาม ล่าสุด แปลภาษามลายู ยาวี Bahasa Thailand กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมออนไลน์ การ์ดจอมือสอง ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย คะแนน o-net โรงเรียน ค้นหา ประวัติ นามสกุล บทที่ 1 ที่มาและความสําคัญของปัญหา ร. ต จ แบบฝึกหัดเคมี ม.5 พร้อมเฉลย แปลภาษาอาหรับ-ไทย ใบรับรอง กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน PEA Life login Terjemahan บบบย มือปราบผีพันธุ์ซาตาน ภาค2 สรุปการบริหารทรัพยากรมนุษย์ pdf สอบโอเน็ต ม.3 จําเป็นไหม เช็คยอดค่าไฟฟ้า แจ้งไฟฟ้าดับ แปลภาษา มาเลเซีย ไทย แผนที่ทวีปอเมริกาเหนือ ่้แปลภาษา Google Translate กระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ 8 ขั้นตอน ก่อนจะนิ่งก็ต้องกลิ้งมาก่อน เนื้อเพลง ข้อสอบโอเน็ตม.3 มีกี่ข้อ คะแนนโอเน็ต 65 ตม กรุงเทพ มีที่ไหนบ้าง