เทคโนโลยีด้านเศรษฐกิจ มีอะไรบ้าง

          สรุปได้ว่า เทคโนโลยีสารสนเทศกับงานทางด้านเศรษฐกิจจะส่งเสริมซึ่งกันและกัน นั่นคือความต้องการพัฒนาทางด้านเศรษฐกิจเป็นแรงผลักดันให้มีการพัฒนาทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ เช่น ต้องการส่งสินค้าให้ลูกค้าเร็วที่สุด ต้องการส่งข้อมูลให้บริษัทสาขาเร็วที่สุด เป็นต้น สิ่งเหล่านี้ทำให้มีการคิดค้นหรือพัฒนาทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศอย่างต่อเนื่อง นอกจากนี้เทคโนโลยีสารสนเทศมีผลกระทบด้านเศรษฐกิจหลายประการ เช่น ด้านการเงินเทคโนโลยีสารสนเทศสามารถเบิกถอนเงินได้ไม่จำกัดเวลาทำให้มีการซื้อขายตลอดเวลา เป็นต้น

อย่างที่หลายคนทราบกันดีว่า... การแพร่ระบาดของไวรัส COVID-19 ทำให้โลกหมุนช้าลง เพราะต้องจำกัดการเดินทาง การเคลื่อนย้าย หรือการพบเจอกัน แต่ในโลกของดิจิทัลนั้น ทุกอย่างกลับหมุนเร็วขึ้นกว่าเดิม และไม่ว่าเราจะรู้ตัวหรือไม่ก็ตาม ดิจิทัลก็ได้เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตเราไปแล้ว ตั้งแต่การใช้งาน Social Media การซื้อขายสินค้า เล่นเกม ดูหนัง สั่งอาหาร ท่องเที่ยว หรือแม้กระทั่งการศึกษา

โดยกลุ่มธุรกิจหรืออุตสาหกรรมที่ได้รับประโยชน์ก็คงหนีไม่พ้นกลุ่มเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับดิจิทัลหรือออนไลน์ ซึ่งเห็นได้จากการที่หุ้นกลุ่มเทคโนโลยีในตลาดหุ้นต่างประเทศได้ปรับตัวขึ้นไปสูงมากในช่วงปีที่ผ่านมา

เศรษฐกิจดิจิทัลคืออะไร?

เศรษฐกิจดิจิทัล หรือ Digital Economy เป็นเศรษฐกิจรูปแบบใหม่ที่ขับเคลื่อนด้วยเทคโนโลยีดิจิทัลอยู่บนโลกออนไลน์ ซึ่งเป็นการนำเทคโนโลยีมาช่วยเพิ่มประสิทธิภาพและสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับการดำเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจในด้านต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นภาคการผลิต การขนส่ง การขาย และการบริการ

ภาพรวมของเศรษฐกิจดิจิทัล ในปี 2020

จากรายงานการวิจัยเศรษฐกิจดิจิทัลในภูมิภาคอาเซียน (e-Conomy SEA 2020) โดย Google, Temasek and Bain & Company ซึ่งได้ศึกษาพฤติกรรมในโลกอินเทอร์เน็ตของผู้บริโภคจาก 6 ประเทศ ได้แก่ ไทย เวียดนาม ฟิลิปปินส์ อินโดนีเซีย มาเลเซีย และสิงคโปร์นั้น ได้คาดการณ์ว่า ในปี 2020 นี้ เศรษฐกิจดิจิทัลในภูมิภาคอาเซียนจะเติบโตมีมูลค่าเกิน 1 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐ และจะเติบโตถึง 3 แสนล้านดอลลาร์สหรัฐ ในปี 2025

ขณะที่คาดว่า ในปี 2020 เศรษฐกิจดิจิทัลของไทยจะเติบโตขึ้น 7% เมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา โดยจะมีมูลค่า 1.8 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งนับเป็นตลาดที่มีเศรษฐกิจดิจิทัลใหญ่เป็นอันดับ 2 ในภูมิภาคอาเซียนรองจากประเทศอินโดนีเซีย และคาดว่าเศรษฐกิจดิจิทัลจะเติบโตถึง 5.3 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ หรือเติบโตขึ้นประมาณ 25% ในปี 2025

นอกจากนี้ ยังพบว่า ในปี 2020 มีผู้ใช้งานอินเทอร์เน็ตหน้าใหม่ ทั้งในเวียดนาม ไทย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ มาเลเซีย และอินโดนีเซีย เพิ่มขึ้นกว่า 40 ล้านราย ส่งผลให้จำนวนผู้ใช้งานโดยรวมเพิ่มเป็น 400 ล้านราย คิดเป็น 70% ของประชากรในอาเซียนที่มีทั้งหมด 600 ล้านคน ขณะที่ประเทศไทยมีผู้ใช้งานอินเทอร์เน็ตหน้าใหม่เพิ่มขึ้น ประมาณ 30% จากผู้ใช้งานอินเทอร์เน็ตทั้งหมด สะท้อนให้เห็นว่าคนไทยได้เข้าถึงอินเทอร์เน็ตมากขึ้นเรื่อยๆ

โอกาสทางธุรกิจ

ในรายงานการวิจัยดังกล่าวยังพบว่า เกือบทุกวงการของเศรษฐกิจดิจิทัล ทั้งในไทยและภูมิภาคอาเซียนมี Penetration Rate ที่ยังต่ำมาก ส่งผลให้นักลงทุนหรือ Digital Platform จากต่างชาติหันมาสนใจลงทุนในภูมิภาคอาเซียนมากขึ้น

ตัวอย่างเช่น ธุรกิจอีคอมเมิร์ซ (e-Commerce) ในภูมิภาคอาเซียนมีสัดส่วนเพียง 3-5% ของธุรกิจค้าปลีกทั้งหมด ในขณะที่ธุรกิจอีคอมเมิร์ซของประเทศจีนมีสัดส่วนถึงเกือบ 30% ของธุรกิจค้าปลีกทั้งหมด ดังนั้น จึงไม่น่าแปลกใจที่ภูมิภาคอาเซียนจะเนื้อหอม เพราะหลายคนมองว่ายังมีโอกาสเติบโตได้อีกมาก

สำหรับประเทศไทยจะพบว่า อีคอมเมิร์ซเป็นธุรกิจดิจิทัลที่ขยายตัวมากที่สุดถึง 81% จากปีที่ผ่านมา มีมูลค่าประมาณ 9 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ และคาดว่าจะเพิ่มขึ้นเป็น 2.4 หมื่นล้านดอลลาร์ในปี 2025

หากมองเป็นกลุ่มอุตสาหกรรมที่มีโอกาสทางธุรกิจที่น่าสนใจ พบว่า มี 3 อุตสาหกรรมที่โดดเด่น ได้แก่ การบริการทางการเงินดิจิทัล (FinTech) (การชำระเงิน การโอนเงิน การให้กู้ยืม ประกันภัย และการลงทุน) เนื่องจากผู้บริโภคและธุรกิจ SMEs ในไทยได้หันมาใช้บริการทางการเงินดิจิทัลอย่างที่ไม่เคยเป็นมาก่อน และนอกเหนือจากบริการให้กู้ยืมแล้ว มูลค่าธุรกรรมรวมการชำระเงินดิจิทัล (Payment) ยังเติบโตสูงขึ้นอีกด้วย ดังนั้น ในปีหน้า คาดว่าจะได้เห็นการขยับที่สำคัญจากแบงก์ไทย รวมถึง FinTech ไทยด้วยเช่นกัน

นอกจากนี้ยังมีอีก 2 อุตสาหกรรมที่มีอัตราการเติบโตอย่างรวดเร็วในช่วง COVID-19 ได้แก่ เทคโนโลยีด้านสุขภาพ (HealthTech) และ เทคโนโลยีด้านการศึกษา (EdTech) ซึ่งก็มีความน่าสนใจและควรจับตามอง

ความสามารถในการแข่งขันในโลกดิจิทัลของไทย

จากข้อมูลที่กล่าวมาข้างต้น จะเห็นได้ว่า ภายใต้สภาพแวดล้อมใหม่ของโลก รูปแบบเศรษฐกิจได้เปลี่ยนไปแล้ว ดังนั้น ไม่ว่าประเทศนั้นๆ จะมีขนาดเศรษฐกิจที่เล็กหรือใหญ่ แต่หากมีความพร้อมทางด้านดิจิทัลและเทคโนโลยีที่สามารถเชื่อมต่อกันได้ทั้งระหว่างหน่วยงานของภาครัฐด้วยกันเอง และระหว่างภาครัฐกับภาคเอกชน และมีกำลังคนที่มีความสามารถในการใช้เทคโนโลยีจะมีศักยภาพในการแข่งขันด้านเศรษฐกิจในยุคต่อจากนี้ไปได้

หากดูความสามารถในการแข่งขันด้านดิจิทัลของไทย ซึ่งจัดอันดับโดย The IMD World Digital Competitiveness Ranking 2020 เพื่อประเมินความสามารถในการแข่งขันด้านดิจิทัลของเขตเศรษฐกิจทั่วโลก จากปัจจัยหลัก 3 ด้าน ได้แก่ 1. ด้านองค์ความรู้ (Knowledge) 2. ด้านเทคโนโลยี (Technology) และ 3. ด้านความพร้อมรองรับอนาคต (Future Readiness) ในปี 2020 นี้ ประเทศไทยอยู่ที่อันดับ 39 จาก 63 ประเทศ ขยับขึ้นมา 1 อันดับ จากปี 2019 ที่อยู่อันดับ 40 และปีก่อนหน้า คือ ปี 2018 อยู่อันดับที่ 39 ซึ่งเป็นสัญญาณสำคัญที่ประเทศไทยอาจต้องเร่งพัฒนาความสามารถในการแข่งขันด้านดิจิทัลมากยิ่งขึ้น เพื่อให้สามารถแข่งขันได้อย่างสวยงามในอนาคต

นอกจากนี้ หากขยับลงมาดูในระดับอุตสาหกรรม ที่กำลังเป็นอุตสาหกรรมใหม่ของประเทศ หรือ New S-Curve ซึ่งประกอบไปด้วย 5 อุตสาหกรรมหลัก ได้แก่ หุ่นยนต์เพื่ออุตสาหกรรม (Robotics), อุตสาหกรรมการบินและโลจิสติกส์ (Aviation and Logistics), อุตสาหกรรมดิจิทัล (Digital), อุตสาหกรรมเชื้อเพลิงชีวภาพและเคมีชีวภาพ (Biofuels and Biochemicals) และอุตสาหกรรมการแพทย์ครบวงจร (Medical Hub) จะพบว่า... อุตสาหกรรมดิจิทัล คือหนึ่งในอุตสาหกรรมใหม่ของประเทศที่คาดว่าจะเป็นกำลังสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศในอนาคต

โดยหากดูในเชิงโครงสร้างของอุตสาหกรรมดิจิทัล จะประกอบด้วย 5 อุตสาหกรรมย่อย ซึ่งเป็นอุตสาหกรรมที่ได้รับการส่งเสริมจากภาครัฐ และดูแลรับผิดชอบโดยสำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล หรือ DEPA ซึ่งได้เปิดเผย ผลการสำรวจอุตสาหกรรมดิจิทัล ปี 2561-2562 ออกมาว่า ในปีที่ผ่านมา อุตสาหกรรมดิจิทัลมีมูลค่ารวม 647,952 ล้านบาท ขยายตัวเฉลี่ย 1.61% และมีรายละเอียดในแต่ละอุตสาหกรรมย่อย ดังนี้

  1. อุตสาหกรรมซอฟต์แวร์และบริการซอฟต์แวร์ มีมูลค่า 134,817 ล้านบาท เติบโตเฉลี่ย 13.37% จากปีที่ผ่านมา
  2. อุตสาหกรรมฮาร์ดแวร์และอุปกรณ์อัจฉริยะ มีมูลค่า 299,343 ล้านบาท เติบโตลดลงเฉลี่ย 7.97% จากปีที่ผ่านมา เนื่องจากมูลค่าตลาดของคอมพิวเตอร์ลดลงต่อเนื่อง ทั้งในด้านจำนวนเครื่องและมูลค่า ขณะที่อุปกรณ์อัจฉริยะ (Smart Device) มีอัตราเติบโตดี แต่ก็ยังติดลบเพราะการนำเข้าที่ลดลง และการย้ายฐานการผลิตที่ส่งผลกระทบต่อรายได้ของบริษัทผู้จำหน่ายฮาร์ดแวร์ในประเทศไทย
  3. อุตสาหกรรมบริการดิจิทัล มีมูลค่า 169,536 ล้านบาท เติบโตเฉลี่ย 10.45% จากปีที่ผ่านมา
  4. อุตสาหกรรมดิจิทัลคอนเทนต์ มีมูลค่า 31,080 ล้านบาท เติบโตเฉลี่ย 11.51% จากปีที่ผ่านมา
  5. อุตสาหกรรมบิ๊กดาต้า มีมูลค่า 13,176 ล้านบาท เติบโตเฉลี่ย 8.63% จากปีที่ผ่านมา

เมื่อดูในแต่อุตสาหกรรมย่อยของอุตสาหกรรมดิจิทัลแล้ว จะเห็นว่า... อุตสาหกรรมต่างๆ มีการเติบโตมากขึ้น โดยเฉพาะอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์และบริการซอฟต์แวร์ ที่มีมูลค่าสูงและกำลังเติบโต ซึ่งหากภาครัฐส่งเสริมให้อุตสาหกรรมดิจิทัลเติบโตมากขึ้น ก็จะเป็นหนึ่งในแกนหลักในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศต่อไป ขณะที่ในแง่ของการลงทุน อุตสาหกรรมดิจิทัลกำลังเป็นธีมการลงทุนที่น่าสนใจและนักลงทุนควรจับตามอง และศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมอย่างละเอียด เพื่อที่จะได้ไม่พลาดหรือตกขบวนการลงทุนสายดิจิทัล

สำหรับใครที่สนใจด้านการลงทุนและอยากเรียนรู้เทคนิคการคัดเลือกหุ้นดีในอุตสาหกรรมที่น่าสนใจ พร้อมฝึกวิเคราะห์อุตสาหกรรม และการวิเคราะห์หุ้นรายตัว สามารถเรียนรู้เพิ่มเติมผ่าน e-Learning หลักสูตร “Advanced Sector Analysis เจาะลึกหุ้นดีในกลุ่มอุตสาหกรรม” ฟรี!!!>> คลิกที่นี่

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

แปลภาษาไทย ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน อาจารย์ ตจต ศัพท์ทหาร ภาษาอังกฤษ pdf lmyour แปลภาษา ชขภใ ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมฟรี 2566 ขขขขบบบยข ่ส ศัพท์ทางทหาร military words หนังสือราชการ ตัวอย่าง หยน แปลบาลีเป็นไทย ไทยแปลอังกฤษ ประโยค การไฟฟ้านครหลวง การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ข้อสอบโอเน็ต ม.3 ออกเรื่องอะไรบ้าง พจนานุกรมศัพท์ทหาร เมอร์ซี่ อาร์สยาม ล่าสุด แปลภาษามลายู ยาวี Bahasa Thailand กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมออนไลน์ การ์ดจอมือสอง ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย คะแนน o-net โรงเรียน ค้นหา ประวัติ นามสกุล บทที่ 1 ที่มาและความสําคัญของปัญหา ร. ต จ แบบฝึกหัดเคมี ม.5 พร้อมเฉลย แปลภาษาอาหรับ-ไทย ใบรับรอง กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน PEA Life login Terjemahan บบบย มือปราบผีพันธุ์ซาตาน ภาค2 สรุปการบริหารทรัพยากรมนุษย์ pdf สอบโอเน็ต ม.3 จําเป็นไหม เช็คยอดค่าไฟฟ้า แจ้งไฟฟ้าดับ แปลภาษา มาเลเซีย ไทย แผนที่ทวีปอเมริกาเหนือ ่้แปลภาษา Google Translate กระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ 8 ขั้นตอน ก่อนจะนิ่งก็ต้องกลิ้งมาก่อน เนื้อเพลง ข้อสอบโอเน็ตม.3 มีกี่ข้อ คะแนนโอเน็ต 65 ตม กรุงเทพ มีที่ไหนบ้าง