Myocardial infarction คืออะไร

โรคกล้ามเนื้อหัวใจตาย ชนิดหลอดเลือดหัวใจอุดตันเฉียบพลัน (STEMI) เป็นภาวะที่หลอดเลือดหัวใจมีการอุดตันแบบสมบูรณ์ ทำให้กล้ามเนื้อหัวใจส่วนที่รับเลือดอยู่เกิดการขาดเลือดแบบเฉียบพลัน โดยจะเกิดขึ้นภายในระยะเวลาเป็นนาทีหรือไม่เกินชั่วโมง กลไกการเกิดโรคส่วนใหญ่เกิดจากการปริแตกของตะกรันไขมันที่เกาะในหลอดเลือด เมื่อมีการปริแตกร่างกายจะระดมเกร็ดเลือดและสร้างลิ่มเลือดขึ้นมาอุดหลอดเลือดส่วนนั้น จนส่งผลให้หลอดเลือดมีการอุดตันโดยสมบูรณ์ ผู้ป่วยมักจะมีอาการเจ็บแน่นกลางอกหรือหน้ามืดเป็นลม บางรายอาจถึงขั้นหัวใจหยุดเต้นเฉียบพลัน ภาวะนี้เป็นภาวะฉุกเฉินมีอันตรายถึงชีวิต อัตราการเสียชีวิตของโรคนี้อยู่ที่ร้อยละ 5-10 การรักษาคือการเปิดหลอดเลือดที่อุดตันให้เร็วที่สุด “เพราะทุกนาทีที่เสียไป หมายถึงกล้ามเนื้อหัวใจที่เสียหายขาดเลือดตามไปด้วย”

ศูนย์หัวใจโรงพยาบาลกรุงเทพภูเก็ต ได้พัฒนาแนวทางปฏิบัติและการดูแลรักษาผู้ป่วยโรคนี้โดยอ้างอิงจากแนวทางปฏิบัติระดับสากลในต่างประเทศ ตั้งแต่ปี พ.ศ.2560 เพื่อให้ผู้ป่วยได้รับการรักษาอย่างมีประสิทธิภาพ รวดเร็ว ทันเวลา โดยปัจจุบัน วิธีการเปิดหลอดเลือดนั้นทำได้ 2 วิธี คือ

  1. การให้ยาสลายลิ่มเลือด (Fibrinolytics)
  2. การสวนหัวใจเพื่อทำการเปิดหลอดเลือดด้วยบอลลูนหรือขดลวด (Percutaneous Coronary Intervention, PCI)

การเปิดหลอดเลือดด้วยวิธีการสวนหัวใจเป็นวิธีที่มีประสิทธิภาพมากที่สุดในปัจจุบัน โดยอัตราความสำเร็จในการเปิดหลอดเลือดได้อยู่ที่ร้อยละ 95 เมื่อเทียบกับวิธีการให้ยาสลายลิ่มเลือดที่ร้อยละ 60-70 ดังนั้นศูนย์หัวใจโรงพยาบาลกรุงเทพภูเก็ตจึงเลือกวิธีการสวนหัวใจเป็นวิธีแรก แพทย์และทีมงานต้องทำงานแข่งกับเวลาเพื่อเปิดหลอดเลือดให้เร็วที่สุด ตามมาตรฐานสากลผู้ป่วยควรจะได้รับการเปิดหลอดเลือดหัวใจภายในเวลา 24 ชั่วโมงนับตั้งแต่มีอาการ และภายใน 90 นาทีนับตั้งแต่พบบุคลากรทางการแพทย์

ศูนย์หัวใจโรงพยาบาลกรุงเทพภูเก็ตมีห้องสวนหัวใจที่ได้มาตรฐาน ทีมแพทย์ศูนย์หัวใจและบุคลากรมีความพร้อมตลอด 24 ชั่วโมง การตรวจวินิจฉัยที่รวดเร็วและมีระบบการรับผู้ป่วยที่มีประสิทธิภาพ ทำให้สามารถเปิดหลอดเลือดได้ภายใน 90 นาที

อัตราการเปิดหลอดเลือดหัวใจโดยวิธีการสวนหัวใจ นับตั้งแต่ผู้ป่วยพบบุคลากรทางการแพทย์ภายใน 90 นาที

ในปี พ.ศ.2562 ผู้ป่วยกล้ามเนื้อหัวใจตายชนิดหลอดเลือดหัวใจอุดตันเฉียบพลันของโรงพยาบาลกรุงเทพภูเก็ต มีอัตราการเปิดหลอดเลือดหัวใจภายในระยะเวลา 90 นาที นับตั้งแต่ผู้ป่วยพบบุคลากรทางการแพทย์ ที่ร้อยละ 93.75 โดยเพิ่มขึ้นจากปี พ.ศ.2561 ถึงร้อยละ 4.75 ซึ่งเป็นสถิติที่ดีเมื่อเทียบกับผลลัพธ์การรักษาของโรงพยาบาลในสหรัฐอเมริกา ในอันดับที่ 50 เปอร์เซ็นต์ไทล์ ที่มีอัตราการเปิดหลอดเลือดหัวใจภายในระยะเวลา 90 นาที นับตั้งแต่ผู้ป่วยพบบุคลากรทางการแพทย์ ร้อยละ 85.1

*อ้างอิง: ACC-NCDR Registry. Percentage of STEMI patients receiving Primary PCI with In 90 minutes. A Data Form The NCDR Chest Pain-MI Registry. J Am Coll Cardiol [Internet]. 2018 [cited 2019 Apr 12]. Available from: //cvquality.acc.org/NCDR-Home/registries/hospital-registries/chest-pain-mi-registry

1. ภาวะกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน เกิดขึ้นได้อย่างไร ?
เกิดเนื่องจากมีการตีบตันเฉียบพลันของหลอดเลือดหัวใจนั่นเอง โดยมีกลไกอันเนื่องมาจากไขมันที่เคยสะสมในหลอดเลือดมาช้านาน เกิดมีการปริแตกขึ้น หลังจากนั้นจะไปกระตุ้นให้เกิดการก่อตัวของลิ่มเลือดจนทำให้หลอดเลือดเส้นนั้นเกิดการตีบตันขึ้น ส่งผลให้กล้ามเนื้อหัวใจบริเวณที่เคยรับเลือดเกิดการขาดเลือดไปเลี้ยงอย่างทันทีทันใด กระบวนการทั้งหมดนี้เกิดขึ้นภายใน เวลาไม่เกินชั่วโมง

2.อาการแสดงเป็นอย่างไร ?
ส่วนใหญ่จะมีอาการ เจ็บแน่นอกเหมือนมีของหนักกดทับ เป็นได้ตั้งแต่บริเวณกลางอกจนถึงลิ้นปี บางครั้งอาการเจ็บอาจร้าวขึ้นกรามและแขนทั้งสองข้างได้ นอกจากนั้นอาการอื่นที่เกิดขึ้นได้ก็เช่น อาการวูบหรือหมดสติ และอาการเหนื่อยง่ายเวลาออกแรง

3.การรักษาทำได้อย่างไร ?
หลักการคือต้องทำการเปิดหลอดเลือดหัวใจที่ตีบให้เร็วที่สุด เพราะยิ่งช้า กล้ามเนื้อหัวใจยิ่งได้รับความเสียหายหรือเกิดการตายอย่างถาวรได้ โดยวิธีการในปัจจุบันแบ่งออกเป็นสองวิธี คือ 1. การให้ยาสลายลิ่มเลือด ( Fibrinolytic) และ 2. การฉีดสีสวนหัวใจ (PCI) การรักษาโดยวิธีการสวนหัวใจนั้น ณ ปัจจุบัน ถือเป็นวิธีรักษาหลักที่ให้ผลดีที่สุด มีโอกาสเปิดหลอดเลือดหัวใจได้สำเร็จมากกว่าร้อยละ 90 ในขณะที่การให้ยาสลายลิ่มเลือดนั้นโอกาสที่ยาจะเปิดหลอดเลือดหัวใจได้เพียงร้อยละ 60-70

4. ภาวะนี้มีความเร่งด่วนในการรักษาแค่ไหน ?
ลักษณะการตีบตันของหลอดหัวใจนั้นจะมีอยู่ 2 ประเภท คือ 1. ตีบแบบสมบูรณ์ ( STEMI) และ 2. ตีบแบบไม่สมบูรณ์ (NSTEMI) ถ้าเป็นการตีบชนิดสมบูรณ์หรือตันไปเลยนั้น กล้ามเนื้อหัวใจจะขาดเลือดแบบรุนแรง ดังนั้นควรเปิดหลอดเลือดให้ได้ภายในสองชั่วโมงนับแต่วินิจฉัยได้ หรือเร็วที่สุดนับตั้งแต่มีอาการ ส่วนถ้าเป็นการตีบชนิดไม่สมบูรณ์ ซึ่งการตีบลักษณะนี้หลอดเลือดจะยังพอมีทางให้เลือดไหลผ่านได้บ้าง อย่างไรก็ตามควรทำการฉีดสีสวนหัวใจเพื่อเปิดหลอดเลือดภายใน 24 ชั่วโมงนับตั้งแต่วินิจฉัย

5. การสวนหัวใจมีวิธีการทำอย่างไร ?
แพทย์จะทำการแทงเข็มขนาดประมาณเข็มน้ำเกลือเข้าสู่หลอดเลือดแดงบริเวณข้อมือ หรือขาหนีบ ขึ้นอยู่กับความชำนาญของแพทย์แต่ละท่าน และร่อนสายลวดและอุปกรณ์ทุกอย่างผ่านเข็มนี้ขึ้นไปสู่หลอดเลือดหัวใจ หลังจากนั้นจะทำการฉีดสีเข้าสู่หลอดเลือดหัวใจเพื่อวินิจฉัยหาจุดตีบ และเมื่อเห็นจุดตีบ แพทย์จะพยายามเปิดเส้นเลือดด้วยสายลวดและบอลลูน เมื่อเส้นเลือดเปิดแล้วแพทย์จะต้องใส่ขดลวดหรือ stent เพื่อค้ำยันลอดเลือดบริเวณนั้นอีกครั้งเพื่อป้องกันการตีบซ้ำ

6. มีโรงพยาบาลแห่งใดในเขตอันดามันที่มีห้องสวนหัวใจ (cardiac cath lab) บ้าง?
ในเขตจังหวัดภูเก็ต กระบี่ พังงา ระนอง ศูนย์หัวใจที่มีห้องฉีดสีสวนหัวใจ มีเฉพาะที่รพ.กรุงเทพ ภูเก็ต และ รพ.วชิระ ภูเก็ต เพียงสองแห่งเท่านั้น โดย ศูนย์หัวใจ รพ.กรุงเทพภูเก็ต เป็นที่ที่มีความพร้อมในการดูแลรักษาผู้ป่วยโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน ได้ทุกวันตลอด 24 ชั่วโมง

  • Facebook iconFacebook
  • Twitter iconTwitter
  • LINE iconLine

Acute myocardial infarctionคืออะไร

กล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน (Acute myocardial infarction) คือ ภาวะที่หลอดหัวใจเสื่อมสภาพ มีการปริแตกบริเวณผนังหลอดเลือดด้านใน ซึ่งกระตุ้นให้เกิดลิ่มเลือดอุดตันขึ้นบริเวณของหลอดเลือดหัวใจ ส่งผลให้กล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดและขาดออกซิเจน และสามารถนำมาสู่ภาวะหัวใจวาย หรือหัวใจหยุดเต้นเฉียบพลันได้

Infarction มีสาเหตุจากอะไร

เป็นความผิดปกติที่เกิดจากกล้ามเนื้อหัวใจถูกทำลายเสียหายจากการที่เลือดและออกซิเจนไปเลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจส่วนนั้นไม่เพียงพอ ปัจจุบันพบว่าหัวใจเป็นสาเหตุการเสียชีวิตสูงสุด 3 อันดับแรกในคนไทย อันได้แก่ อุบัติเหตุมะเร็งและโรคหัวใจ สาเหตุใหญ่ของหลอดเลือดหัวใจตีบหรือตัน

กล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดรักษาอย่างไร

โรคหัวใจรักษาได้ วิธีการรักษาโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด.
การรักษาด้วยยาสลายลิ่มเลือด เพื่อละลายเลือดที่แข็งตัวและอุดตันอยู่ที่เส้นเลือดแดงหัวใจ.
การขยายหลอดเลือดหัวใจ (วิธีบอลลูน) เป็นวิธีที่นิยมมากและได้ผลการรักษาที่ดีกว่าการใช้ยาสลายลิ่มเลือด.

หัวใจขาดเลือด ร้ายแรงไหม

“โรคหัวใจขาดเลือด เป็นโรคที่ต้องเฝ้าระวัง เพราะหากเกิดอาการแล้ว นั่นหมายถึง ทุกวินาทีคือชีวิต หากรักษาไม่ทันก็อาจเสียชีวิตได้” นายแพทย์ธีรยุทธ เอกโรจนกุล แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านโรคหัวใจ

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

แปลภาษาไทย ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน อาจารย์ ตจต ศัพท์ทหาร ภาษาอังกฤษ pdf lmyour แปลภาษา ชขภใ ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมฟรี 2566 ขขขขบบบยข ่ส ศัพท์ทางทหาร military words หนังสือราชการ ตัวอย่าง หยน แปลบาลีเป็นไทย ไทยแปลอังกฤษ ประโยค การไฟฟ้านครหลวง การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ข้อสอบโอเน็ต ม.3 ออกเรื่องอะไรบ้าง พจนานุกรมศัพท์ทหาร เมอร์ซี่ อาร์สยาม ล่าสุด แปลภาษามลายู ยาวี Bahasa Thailand กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมออนไลน์ การ์ดจอมือสอง ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย คะแนน o-net โรงเรียน ค้นหา ประวัติ นามสกุล บทที่ 1 ที่มาและความสําคัญของปัญหา ร. ต จ แบบฝึกหัดเคมี ม.5 พร้อมเฉลย แปลภาษาอาหรับ-ไทย ใบรับรอง กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน PEA Life login Terjemahan บบบย มือปราบผีพันธุ์ซาตาน ภาค2 สรุปการบริหารทรัพยากรมนุษย์ pdf สอบโอเน็ต ม.3 จําเป็นไหม เช็คยอดค่าไฟฟ้า แจ้งไฟฟ้าดับ แปลภาษา มาเลเซีย ไทย แผนที่ทวีปอเมริกาเหนือ ่้แปลภาษา Google Translate กระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ 8 ขั้นตอน ก่อนจะนิ่งก็ต้องกลิ้งมาก่อน เนื้อเพลง ข้อสอบโอเน็ตม.3 มีกี่ข้อ คะแนนโอเน็ต 65 ตม กรุงเทพ มีที่ไหนบ้าง