อํานาจอธิปไตยคืออะไร มีอะไรบ้าง

ผู้เขียนได้เริ่มอ่านร่างเบื้องต้นของรัฐธรรมนูญฉบับคุณมีชัย ฤชุพันธุ์ และคณะ ที่เผยแพร่เมื่อวันศุกร์ที่ 29 มกราคมนี้ ซึ่งอ่านได้แค่มาตรา 3 ที่ว่า

Advertisment

“อํานาจอธิปไตยเป็นของปวงชนชาวไทย พระมหากษัตริย์ ผู้ทรงเป็นประมุขทรงใช้อํานาจนั้นทางรัฐสภา คณะรัฐมนตรี และศาล ตามบทบัญญัติ แห่งรัฐธรรมนูญ รัฐสภา คณะรัฐมนตรี ศาล องค์กรอิสระ และหน่วยงานของรัฐ ต้องปฏิบัติ หน้าที่ให้เป็นไปตามรัฐธรรมนูญ กฎหมาย และหลักนิติธรรม เพื่อประโยชน์ส่วนรวม ของประเทศชาติและความผาสุกของประชาชนโดยรวม” ก็ชะงักแล้วรำพึงกับตัวเองว่า ปวงชนชาวไทยที่เป็นเจ้าของอำนาจอธิปไตยที่เป็นคำดาดๆ จนดูเหมือนคนจะรู้จักโดยทั่วไปว่าอำนาจอธิปไตยคืออำนาจสูงสุดที่ใช้ในการปกครองปกครองประเทศ แต่เป็นของปวงชนหรือประชาชนคนไทยจริงหรือไม่ทั้งๆ ที่รัฐธรรมนูญทุกฉบับก็เขียนไว้อย่างนี้

แต่ “อำนาจอธิปไตย” คืออะไร? เพราะว่าการที่จะเขียนไว้ในรัฐธรรมนูญทุกฉบับว่า “อำนาจสูงสุดที่ใช้ในการปกครองประเทศนั้นเป็นของประชาชน” ดูออกจะเป็นตลกฝืดๆ ที่โกหกพกลมไปเรื่อยๆ เพราะประชาชนส่วนใหญ่ดูจะไม่มีอำนาจในการปกครองประเทศเลยนอกจากประชาชนส่วนน้อยจำนวนไม่ถึง 1% ของประชาชนชาวไทยทั้งหมดซึ่งส่วนใหญ่ก็เป็นนายทหารระดับสูงทั้งนั้นที่มีอำนาจสูงสุดในการปกครองประเทศ นี่ว่ากันตามประวัติศาสตร์ตั้งแต่มีการเปลี่ยนแปลงการปกครองเมื่อ พ.ศ.2475 กันมาเลยทีเดียว

Advertisement

ทีนี้เรามาว่ากันถึงความเป็นมาเป็นไปของ “อำนาจอธิปไตย” กันดีกว่า แบบว่ารู้ประวัติความเป็นมาของอำนาจอธิปไตยแล้วจะได้เข้าใจจริงๆ กันเสียทีว่าทำไมรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยถึงตะบี้ตะบันเขียนลงไปทุกฉบับว่า “อํานาจอธิปไตยเป็นของปวงชนชาวไทย”

เนื่องจากความรู้ทางวิชาการของภูมิภาคยุโรปตะวันตกมีอิทธิพลต่อความเชื่อและความรู้สึกนึกคิดของชาวโลกปัจจุบันโดยเฉพาะเรื่องอำนาจอธิปไตย (Sovereignty) นี้บัญญัติขึ้นโดยนายฌอง โบแดง (Jean Bodin) ชาวฝรั่งเศสเมื่อประมาณ พ.ศ.2100 และเป็นคนแรกที่ริเริ่มใช้คำว่า “อำนาจอธิปไตย” เนื่องจากในช่วงนั้นยุโรปตะวันตกได้มีการพัฒนาทางการเมืองขึ้นเป็นรัฐชาติ (nation state) แล้วตั้งแต่ในช่วงนั้นพระสันตะปาปาแห่งศาสนาคริสต์นิกายโรมันคาทอลิกได้อ้างอำนาจของพระผู้เป็นเจ้าผ่านทางนักบุญปีเตอร์มาสู่พระสันตะปาปาเพื่ออ้างความชอบธรรมที่จะมีอำนาจเหนือรัฐชาติต่างๆ ในยุโรปตะวันตก ทำให้ ฌอง โบแดงได้บัญญัติคำว่า “อำนาจอธิปไตย” ขึ้นเพื่อลบล้างอิทธิพลของพระสันตะปาปา โดยเขียนเผยแพร่ว่า อำนาจอธิปไตยนั้นเป็นอำนาจสูงสุดในการปกครองประเทศ ฌอง โบแดง ได้เสนอทฤษฎีอำนาจอธิปไตยในหนังสือเรื่อง “Six Books” ไว้ว่า อำนาจอธิปไตยเป็นเครื่องหมายที่บอกถึงความแตกต่างระหว่างรัฐกับสังคมอื่นๆ ที่ครอบครัวหลายครอบครัวอยู่ร่วมกัน ว่าครอบครัวเป็นพลเมืองของรัฐ ซึ่งต้องยอม

อยู่ภายใต้อำนาจขององค์อธิปัตย์ หรือผู้ปกครองที่มีอำนาจสูงสุด

Advertisement

โดยหลักการนี้ รัฐจึงประกอบด้วยผู้ปกครองและผู้ใต้อำนาจปกครอง และการยอมรับในอำนาจปกครองของพลเมืองผู้อยู่ใต้การปกครองนี่เอง จะทำให้มนุษย์เป็นพลเมืองได้เป็นประการสำคัญ นอกจากรัฐจะมีอธิปัตย์หรือมีอำนาจอธิปไตยแล้ว รัฐจะมีพลเมืองที่อยู่ภายใต้การปกครองของผู้ปกครองอันเดียวกัน แม้พลเมืองจะมีขนบธรรมเนียมภาษากฎหมายที่ยอมรับบังคับใช้ หรือศาสนาที่ต่างจากผู้ปกครองก็ตาม เนื่องจากอำนาจอธิปไตยเป็นอำนาจสูงสุดในการปกครองประเทศ ซึ่งขณะนั้นเป็นช่วงเวลาที่รัฐทั้งหลายในโลกปกครองโดยระบอบที่มีกษัตริย์มีอำนาจเด็ดขาดหรือสมบูรณาญาสิทธิราชย์ ภายใต้คติความเชื่อทางการปกครองอันไม่แตกต่างกันมากนักว่ากษัตริย์เป็นผู้ได้รับอาณัติอำนาจจากสวรรค์ หรือจุติจากสวรรค์ลงมาปกครองโลก (Divine Rights of King)

พูดง่ายๆ ก็คือการเสนอเรื่องอำนาจอธิปไตยนั้นคือความพยายามที่จะปลดแอกของอำนาจของสันตะปาปามาให้กษัตริย์หรือผู้ปกครองรัฐต่างๆ ในภูมิภาคยุโรปตะวันตกนั่นเอง

ทฤษฎีอำนาจอธิปไตยของนายฌอง โบแดงได้รับการยอมรับและบัญญัติลงในสนธิสัญญาสันติภาพเวสต์ฟาเลียซึ่งยุติสงคราม 30 ปีซึ่งเป็นสงครามศาสนาระหว่างพวกคาทอลิกกับพวกโปรเตสแตนต์ในเยอรมนี โดยทำให้องค์ประกอบของรัฐสมัยใหม่มี 4 ประการอย่างที่นักเรียน นักศึกษาท่องกันอยู่ปัจจุบันนี้ว่า “รัฐประกอบด้วย 1) ประชาชน 2) ดินแดนที่มีอาณาเขตแน่นอน 3) รัฐบาล 4) อำนาจอธิปไตย” นั่นเอง

ครับ! หลังจากนั้นก็เกิดนักคิดขึ้นอีก 3 คนที่ผู้ที่ศึกษาวิชารัฐศาสตร์ต้องเรียนแนวความคิดของทั้ง 3 คนนี้กันทุกคนคือ โธมัส ฮอบส์ (Thomas Hobbes) จอห์น ล็อค (John Locke) และจัง จ๊าคส์ รุสโซ (Jean Jacques Rousseau) ที่เรียกรวมกันว่าเป็นทฤษฎีสัญญาประชาคม (The Social Contract Theory) ซึ่งสรุปเรื่องประชาชนเป็นเจ้าของอำนาจอธิปไตยแทนกษัตริย์หรือผู้เผด็จการโดยเปลี่ยนระบอบการปกครองจากแบบสมบูรณาญาสิทธิราชย์หรือคณาธิปไตยมาเป็นประชาธิปไตยด้วยแนวความคิดทั้ง 3 คนนี้ โดยโธมัส ฮอบส์ ถือว่าประชาชนได้มอบอำนาจสิทธิธรรมชาติของตนทั้งหมดให้ผู้ปกครอง ประชาชนจะเรียกคืนหรือทวงถามคืนซึ่งอำนาจและสิทธิธรรมชาตินั้นมิได้โดยประการทั้งปวง

แต่จอห์น ล็อค ถือว่ารัฐบาลเป็นรัฐบาลแบบประชาธิปไตยจะต้องรับผิดชอบต่อคู่สัญญา คือ ประชาชน และประชาชนสามารถที่จะทวงถามเรียกอำนาจและสิทธิธรรมชาติคืนได้

ส่วนจัง จ๊าคส์ รุสโซ เชื่อว่ารัฐบาลจะต้องเป็นรัฐบาลแบบประชาธิปไตยโดยตรง และรัฐบาลจะต้องปฏิบัติตามหน้าที่ให้สอดคล้องกับความประสงค์ส่วนใหญ่ (General Will)

แต่ในปัจจุบันนี้แนวความคิดที่ว่า รัฐบาลเกิดจากการทำสัญญาของประชาชนนั้นจะมีไม่มากนัก แต่กลับจะเห็นไปว่ารัฐบาลเกิดจากความยินยอมของประชาชนยกอำนาจการปกครองให้อันจะนำไปสู่รากฐานการปกครองในระบอบประชาธิปไตย

โปรดสังเกตว่าแม้ว่าโธมัส ฮอบส์ จะสนับสนุนการปกครองแบบสมบูรณาญาสิทธิราชย์แต่เขาเป็นผู้เริ่มต้นทฤษฎีสัญญาประชาคม แต่จอห์น ล็อค และจัง จ๊าคส์ รุสโซ นั้นเน้นเรื่องประชาธิปไตยและระบอบประชาธิปไตยที่มีประชาชนเป็นเจ้าของอำนาจอธิปไตยก็ได้รับการยอมรับอย่างเป็นทางการเมื่อเกิดมีการปฏิวัติใหญ่ของฝรั่งเศสเมื่อ พ.ศ.2332 (สมัย ร.1 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์) และระบอบประชาธิปไตยที่ว่านี้ก็ขยายไปเป็นที่ยอมรับกันทั่วโลกซึ่งเป็นที่มาของการที่ประชาชนเป็นเจ้าของอำนาจอธิปไตยอย่างแจ้งชัดตามที่รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยทุกฉบับได้เขียนไว้

แต่ผู้เขียนอ่านร่างเบื้องต้นของรัฐธรรมนูญฉบับคุณมีชัย ฤชุพันธุ์ และคณะ จนจบแล้ว รู้สึกว่าเนื้อหาโดยเอาเฉพาะมาตราที่ 3 ที่คัดลอกมาแต่ต้นก็จะเห็นว่าทั้ง “รัฐสภา คณะรัฐมนตรี ศาล องค์กรอิสระ และหน่วยงานของรัฐ” ที่อ้างมานั้นว่าเป็นผู้ใช้อำนาจอธิปไตย ดูจะไม่ได้ยึดโยงอะไรกับประชาชนเลย อาทิ วุฒิสภาก็เลือกกันเองในกลุ่มคนกลุ่มเล็กๆ นายกรัฐมนตรีก็มาจากคนนอก ศาลและองค์กรอิสระรวมทั้งหน่วยงานของรัฐก็ไม่ได้ให้ประชาชนเลือก

อํานาจตุลาการมีอะไรบ้าง

อำนาจตุลาการ เป็นระบบศาลซึ่งทำหน้าที่ตีความและใช้บังคับกฎหมาย (apply the law) ในนามของรัฐ ตุลาการยังเป็นกลไกสำหรับระงับข้อพิพาท ภายใต้ลัทธิการแยกใช้อำนาจ ฝ่ายตุลาการมักไม่สร้างกฎหมาย (ซึ่งเป็นความรับผิดชอบของฝ่ายนิติบัญญัติ) หรือบังคับใช้กฎหมาย (enforce the law) (ซึ่งเป็นความรับผิดชอบของฝ่ายบริหาร) แต่ตีความกฎหมายและ ...

อํานาจอธิปไตยมาจากไหน

อำนาจอธิปไตยของปวงชน (อังกฤษ: popular sovereignty) หมายถึงแนวคิดที่ว่าแหล่งที่มาของอำนาจสูงสุดของรัฐ หรือ อำนาจอธิปไตยมีที่มาจากพลเมืองทุกคนภายในรัฐ

อำนาจบริหารหมายถึงอะไร

อำนาจบริหาร (อังกฤษ: Executive) มีหน้าที่ในการบริหารราชการแผ่นดินให้เป็นไปตามตัวบทกฎหมาย โดยยึดตามอำนาจนิติบัญญัติ โดยหากปราศจากตัวบทกฎหมายที่นิติบัญญัติได้กำหนดไว้ ฝ่ายบริหารจะไม่สามารถดำเนินการใด ๆ ได้ทั้งสิ้น

พระมหากษัตริย์ทรงใช้อำนาจอธิปไตย ทางใดบ้าง

พระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุขแห่งรัฐ ทรงใช้อำนาจอธิปไตยผ่านคณะรัฐมนตรี รัฐสภา และศาล ทรงเป็นจอมทัพไทย พุทธมามกะ และอัครศาสนูปถัมภก มีพระราชอำนาจสถาปนาและพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์กับฐานันดรศักดิ์ พระราชทานอภัยโทษ ประกาศสงครามและสงบศึก รวมตลอดถึงพระราชอำนาจอื่น ๆ ซึ่งจะทรงใช้ได้ก็แต่โดยหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่ ...

กระทู้ที่เกี่ยวข้อง

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

แปลภาษาไทย ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน อาจารย์ ตจต ศัพท์ทหาร ภาษาอังกฤษ pdf lmyour แปลภาษา ชขภใ ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมฟรี 2566 ขขขขบบบยข ่ส ศัพท์ทางทหาร military words หนังสือราชการ ตัวอย่าง หยน แปลบาลีเป็นไทย ไทยแปลอังกฤษ ประโยค การไฟฟ้านครหลวง การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ข้อสอบโอเน็ต ม.3 ออกเรื่องอะไรบ้าง พจนานุกรมศัพท์ทหาร เมอร์ซี่ อาร์สยาม ล่าสุด แปลภาษามลายู ยาวี Bahasa Thailand กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมออนไลน์ การ์ดจอมือสอง ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย คะแนน o-net โรงเรียน ค้นหา ประวัติ นามสกุล บทที่ 1 ที่มาและความสําคัญของปัญหา ร. ต จ แบบฝึกหัดเคมี ม.5 พร้อมเฉลย แปลภาษาอาหรับ-ไทย ใบรับรอง กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน PEA Life login Terjemahan บบบย มือปราบผีพันธุ์ซาตาน ภาค2 สรุปการบริหารทรัพยากรมนุษย์ pdf สอบโอเน็ต ม.3 จําเป็นไหม เช็คยอดค่าไฟฟ้า แจ้งไฟฟ้าดับ แปลภาษา มาเลเซีย ไทย แผนที่ทวีปอเมริกาเหนือ ่้แปลภาษา Google Translate กระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ 8 ขั้นตอน ก่อนจะนิ่งก็ต้องกลิ้งมาก่อน เนื้อเพลง ข้อสอบโอเน็ตม.3 มีกี่ข้อ คะแนนโอเน็ต 65 ตม กรุงเทพ มีที่ไหนบ้าง