ความน่าเชื่อถือของข่าวมีอะไรบ้าง

ข่าวปลอมมากมาย ที่เผยแพร่ออกไปสร้างความบิดเบือน ความเข้าใจผิด และความตื่นตระหนักให้แก่ประชาชนทั่วไปนั้น เราสามารถจำแนกกว้างๆได้ถึง 10 ประเภทด้วยกันเลยนะคะ  แล้วแต่ละประเภททำขึ้นมาเพื่ออะไร? มีเจตนาแอบแฝงร้ายแรงแค่ไหน? มาทำความรู้จักและรู้เท่าทันข่าวปลอมไปพร้อม ๆ กันได้ที่นี่เลยค่า

1.ข่าวพาดหัวยั่วให้คลิก (Clickbait) : เป็นข่าวที่ใช้คำหรือรูปภาพพาดหัวที่ทำให้ดูชวนสงสัยใคร่รู้ หรือดึงดูดใจให้ผู้ใช้งานอินเทอร์เน็ตทั่วไปคลิกเข้าไปอ่าน. ผู้สร้างข่าวอาศัยประโยชน์จากความสงสัย

โดยให้ข้อมูลเล็ก ๆ น้อย ๆ พอชวนให้ผู้อ่านสงสัย แต่ไม่พอจะขจัดความสงสัยนั้น จนต้องคลิกเข้าไปดูเนื้อหานั้น ๆ ทั้งที่เนื้อข่าวอาจไม่คำนึงถึงคุณภาพหรือ ความถูกต้องของข้อมูล แต่การพาดหัวทำให้คนหลงกลดลึกเข้าไปเพื่อเรียกยอดวิวในเว็บไซต์นั่นเอง

2.โฆษณาชวนเชื่อ (Propaganda) : เป็นการนำเสนอข้อมูลข่าวสารที่มุ่งชักจูงทัศนคติของผู้รับสารต่ออุดมการณ์หรือมุมมองบางอย่างโดยการนำเสนอการให้เหตุผลเพียงข้างเดียว การโมษณาชวนเชื่อ มักทำซ้ำและกระจายในสื่อหลายชนิด เพื่อหวังผลให้ผู้รับสารเชื่อและคล้อยตามอุดมการณ์ที่ผู้ส่งสารต้องการสื่อ

3.ข่าวแฝงการโมษณา (Sponsored content , Native Advertsing) : รูปแบบโฆษณาที่ใช้รูปแบบเนื้อหาแนบเนียนกับเนื้อหาปกติในเว็บไชต์นั้น ๆ พร้อมทำหน้าที่ให้เนื้อหาที่คนต้องการรับรู้ หรือรับชม โดยไม่ทราบว่าเป็นโฆษณาจนกว่าจะได้อ่าน/ดูจบ ข่าวแฝงการโฆษณานี้จะทำการแฝง (Tie-in) เรื่องราวของแบรนด์และสินค้าไม่มากเกินไป ทำให้คนอ่านหรือคนเสพสื่อนั้น รู้สึกว่าไม่ไต้อ่านโฆษณาอยู่

4.ข่าวล้อเลียนและเสียดสี (Satire and Hoax) : ข่าวที่ดัดแปลงข้อมูลเพื่อมุ่งสร้างอารมณ์ขันให้กับผู้อ่าน ใช้เนื้อหาที่ตลกขบขัน เพื่อแสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับเหตุการณ์ข่าวในโลกแห่งความเป็นจริงผ่านการล้อเลียนหรือเสียดสี

5.ข่าวที่ผิดพลาด (Error) : บางครั้งแม้แต่ข่าวที่เผยแพร่จากสำนักข่าวออนไลน์ที่เชื่อถือได้ ก็อาจมีความผิดพลาดได้เช่นกัน เช่น การเขียนข้อความที่ผิด ชื่อบุคคลหรือรูปภาพผิดจากเนื้อข่าวจริง ๆ ซึ่งทำให้ผู้รับสารเข้าใจไปในทิศทางอื่น หรือไม่เข้าใจในข่าวนั้น

6.ข่าวเอนเอียงเลือกข้าง (Partisan) : เป็นข่าวบิดเบือนข่าวสาร มักจะเลือกข้างโดยนำเสนอข่าววิพากษ์วิจารณ์ในทางลบต่อฝ่ายที่ตนเองไม่ชอบ ในขณะที่ฝ่ายที่ตนเองสนับสนุน จะเสนอข่าวชื่นชมเกินจริง โดยเฉพาะด้านการเมือง

7.ทฤษฎีสมคบคิด (Conspiracy theory) : เป็นเรื่องเล่าหรือบทความที่สร้างขึ้นมาจากความคิดของคน หรือกลุ่มคนที่นำเหตุการณ์ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นมาปะติดปะต่อเข้าด้วยกัน. โดยอาศัยข้อมูลที่ไม่มีความเชื่อมโยงกัน และอาจมีวัตถุประสงค์ซ่อนเร้น เพื่อให้ประโยชน์ ให้โทษต่อบุคคลหรือกลุ่มบุคคลหนึ่งใด เช่น เครื่องบินที่หายไปนั้นโดน CIA ยึดไว้ เพราะต้องการของสำคัญที่อยู่ในเครื่องบิน เป็นต้น

8.วิทยาศาสตร์ลวงโลก (Pseudoscience) : คือ ข้อเขียนที่อ้างว่าเป็นทั้งวิทยาศาสตร์และข้อเท็จจริง แต่จริง ๆ แล้วขัดแย้งหรือเข้ากันไม่ได้กับกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ หรือไม่มีหลักฐานหรือความเป็นไปได้ใด ๆมาสนับสนุน มักจะมาในรูปแบบของบทความทางการแพทย์หรือบทความสุขภาพที่แฝงโฆษณายารักษาหรือ อุปกรณ์เพื่อสุขภาพ โดยแอบอ้างว่าได้ผ่านการวิจัยทางวิทยาศาสตร์แล้ว มีการสร้างภาพผู้เชี่ยวชาญขึ้นมา เพื่อให้ดูน่าเชื่อถือ

9.ข่าวที่ให้ข้อมูลผิด ๆ (Misinformation) : คือ ข่าวที่ไม่ได้ตรวจสอบให้แน่ชัดเสียก่อน ข้อมูลอาจมีทั้งจริงและเท็จผสมกัน ผู้ส่งสารตั้งใจจะส่งข่าวออกไป แต่อาจจะไม่ได้ตระหนักว่าข่าวนั้นมีข้อมูลที่ผิดพลาดอยู่ เช่น ข่าวลือต่างๆ

10.ข่าวหลอกลวง (Bogus) : คือ ข่าวปลอมที่เจตนาในการสร้างขึ้นมาและจงใจให้แพร่กระจาย มีวัตถุประสงค์เพื่อหลอกลวง อาจมีเนื้อเรื่อง ภาพ หรือข้อมูลต่าง ๆ ที่เป็นเท็จมาประกอบกัน อาจรวมถึงการแอบอ้างเป็นแหล่งข่าวหรือบุคคลที่อยู่ในเหตุการณ์ทุกวิธีการที่จะทำให้ข่าวนั้นดูเป็นข่าวปลอมที่สมบูรณ์มากขึ้น

การเสพสื่ออย่างสร้างสรรค์ บนโลกโซเซียล  มีทั้งข่าวจริงและข่าวปลอม บางครั้งเรายังไม่สามารถแยกแยะได้มากนัก  จึงขอแนะนำทุกท่านให้รู้จักสังเกตข่าวด้วยตัวเองได้อย่างไรบ้าง  เราต้องตั้งคำถามเสมอที่จะไม่แชร์อะไรที่ไม่ตั้งคำถาม หรือคิดก่อนว่าสิ่งนี้เป็นจริงหรือไม่

1. อย่าหลงเชื่อหัวข้อข่าว ข่าวปลอมมักมีข้อความพาดหัวที่สะดุดตาที่ใช้ตัวหนาและเครื่องหมายอัคเจรีย์ (!) หากหัวข้อข่าวฟังดูหวือหวาและไม่น่าเป็นไปได้ ข่าวนั้นก็น่าจะเป็นข่าวปลอม

2. พิจารณาลิงก์อย่างถี่ถ้วน ลิงก์ปลอมหรือลิงก์ที่ดูคล้ายลิงก์จริง อาจเป็นสัญญาณเตือนของข่าวปลอม เว็บไซต์ข่าวปลอมจำนวนมากปรับเปลี่ยนลิงก์เล็กๆ น้อยๆ เพื่อเลียนแบบแหล่งข่าวจริง คุณสามารถไปที่เว็บไซต์และเปรียบเทียบลิงก์นั้นกับลิงก์ของแหล่งข่าวที่ได้รับการยอมรับและน่าเชื่อถือได้

3. ตรวจสอบแหล่งข่าว ตรวจสอบให้แน่ใจว่าเรื่องราวนั้นเขียนขึ้นโดยแหล่งข่าวที่คุณเชื่อถือและมีชื่อเสียงด้านการให้ข้อมูลที่ถูกต้อง หากเรื่องราวนั้นมาจากแหล่งข่าวที่คุณไม่รู้จัก ให้ตรวจสอบที่ส่วน “เกี่ยวกับ” ของเพจแหล่งข่าวนั้นเพื่อเรียนรู้เพิ่มเติม

4. สังเกตสิ่งที่ผิดปกติ เว็บไซต์ข่าวปลอมหลายแห่งมักสะกดคำผิดหรือมีการจัดวางรูปแบบที่ดูไม่เป็นมืออาชีพ หากคุณเห็นลักษณะเหล่านี้ควรอ่านข่าวอย่างระมัดระวัง

5. พิจารณารูปภาพ ข่าวปลอมมักมีรูปภาพหรือวีดีโอที่ถูกบิดเบือน บางครั้งรูปภาพอาจเป็นรูปจริงแต่ไม่เกี่ยวข้องกับบริบทของเรื่องราว คุณสามารถค้นหารูปภาพนั้นเพื่อตรวจสอบยืนยันแหล่งที่มาของรูปภาพได้ 

6. ตรวจสอบวันที่ ข่าวปลอมอาจมีลำดับเหตุการณ์ที่ไม่สมเหตุสมผลหรือมีการเปลี่ยนแปลงวันที่ของเหตุการณ์

7. ตรวจสอบหลักฐาน ตรวจสอบแหล่งข้อมูลของผู้เขียนเพื่อยืนยันว่าแหล่งข้อมูลนั้นถูกต้อง ข่าวที่ไม่มีหลักฐานหรืออ้างอิงผู้เชี่ยวชาญที่ไม่ระบุชื่ออาจชี้ให้เห็นว่าข่าวดังกล่าวเป็นข่าวปลอม

8. เปรียบเทียบข่าวจากแหล่งอื่นๆ หากไม่มีแหล่งข่าวอื่นที่รายงานเรื่องเดียวกัน ก็อาจเป็นสัญญาณบ่งชี้ว่าข่าวนั้นอาจเป็นข่าวปลอม ถ้าข่าวนั้นมีการรายงานจากหลายแหล่งข่าวที่คุณเชื่อถือก็เป็นไปได้ว่าข่าวนั้นจะเป็นข่าวจริง

9. ข่าวนั้นเป็นมุกตลกหรือไม่ บางครั้งเราก็แยกข่าวปลอมออกจากมุกตลกหรือข่าวเสียดสีได้ยาก ตรวจสอบดูว่าเรื่องนั้นมาจากแหล่งที่มาที่ขึ้นชื่อเรื่องล้อเลียนและเสียดสีข่าวหรือไม่ และพิจารณาว่ารายละเอียด ตลอดจนน้ำเสียงในการเล่าเรื่องฟังดูเป็นไปเพื่อความสนุกสนานหรือไม่

10. บางเรื่องก็จงใจสร้างขึ้นให้เป็นข่าวปลอม ใช้วิจารณญาณในการอ่าน และแชร์เฉพาะข่าวที่คุณแน่ใจว่าเชื่อถือได้เท่านั้น

ความน่าเชื่อถือของข่าวคืออะไร

มีเนื้อหาที่สมเหตุสมผล มีแหล่งอ้างอิงชัดเจนสามารถตรวจสอบได้ เป็นสื่อที่มีความทันสมัย ควรระบุว่ามีการเผยแพร่เมื่อใด มีการแก้ไข หรือเปลี่ยนแปลงอะไรหรือไม่ สำนวนภาษาที่ใช้ต้องมีความเข้าใจง่าย ให้ข้อมูลชัดเจนไม่ได้มีลักษณะไปในทางชวนเชื่อหรือ ทำให้ผู้รับสารเข้าใจคลาดเคลื่อน

การรับสารจากสื่อใดน่าเชื่อถือมากที่สุด

1. ความน่าเชื่อถือของประเภทสื่อ ปัจจุบันเรารับสารจากอินเทอร์เน็ต หรือสื่อสังคมออนไลน์มากกว่าจากสื่อเดิม ทั้งโทรทัศน์ วิทยุ หนังสือ วารสาร นิตยสาร แต่ถ้าพูดถึงความน่าเชื่อถือแล้ว สื่อเดิมๆ อย่างโทรทัศน์ หรือหนังสือพิมพ์นั้น มีความน่าเชื่อสูงกว่า เพราะผู้เผยแพร่มีความรับผิดชอบในทางกฎหมาย ในขณะที่ผู้เขียนตามสื่อสังคม ...

เราจะประเมินความน่าเชื่อถือของเว็บไซต์ได้อย่างไรบ้างมีกี่ข้อ

เพื่อเป็นการตรวจสอบความน่าเชื่อของแหล่งข้อมูลสารสนเทศที่สืบค้นมาได้ผู้สืบค้นสามารถประเมินความน่าเชื่อถือของแหล่งข้อมูลได้ ดังนี้ 1. บอกวัตถุประสงค์ในการสร้างหรือเผยแพร่ข้อมูลไว้ในเว็บไซต์ 2. การเสนอเนื้อหาตรงตามวัตถุประสงค์ในการสร้างหรือเผยแพร่ข้อมูลของเว็บไซต์ 3. เนื้อหาเว็บไซต์ไม่ขัดต่อกฎหมาย ศีลธรรม และจริยธรรม

ความน่าเชื่อถือของข้อมูลคืออะไร

ความน่าเชื่อถือของแหล่งข้อมูล (authority) พิจารณาความน่าเชื่อถือของแหล่งข้อมูล ผู้เผยแพร่มีความชำนาญพอที่จะให้ข้อมูลในเรื่องดังกล่าวหรือไม่สามารถติดต่อผู้เผยแพร่ได้หรือไม่

กระทู้ที่เกี่ยวข้อง

Toplist

โพสต์ล่าสุด

แท็ก

แปลภาษาไทย ไทยแปลอังกฤษ แปลภาษาอังกฤษเป็นไทย pantip โปรแกรม-แปล-ภาษา-อังกฤษ พร้อม-คำ-อ่าน อาจารย์ ตจต ศัพท์ทหาร ภาษาอังกฤษ pdf lmyour แปลภาษา ชขภใ ห่อหมกฮวกไปฝากป้าmv กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมฟรี 2566 ขขขขบบบยข ่ส ศัพท์ทางทหาร military words หนังสือราชการ ตัวอย่าง หยน แปลบาลีเป็นไทย ไทยแปลอังกฤษ ประโยค การไฟฟ้านครหลวง การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ข้อสอบโอเน็ต ม.3 ออกเรื่องอะไรบ้าง พจนานุกรมศัพท์ทหาร เมอร์ซี่ อาร์สยาม ล่าสุด แปลภาษามลายู ยาวี Bahasa Thailand กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน อบรมออนไลน์ การ์ดจอมือสอง ข้อสอบคณิตศาสตร์ พร้อมเฉลย คะแนน o-net โรงเรียน ค้นหา ประวัติ นามสกุล บทที่ 1 ที่มาและความสําคัญของปัญหา ร. ต จ แบบฝึกหัดเคมี ม.5 พร้อมเฉลย แปลภาษาอาหรับ-ไทย ใบรับรอง กรมพัฒนาฝีมือแรงงาน PEA Life login Terjemahan บบบย มือปราบผีพันธุ์ซาตาน ภาค2 สรุปการบริหารทรัพยากรมนุษย์ pdf สอบโอเน็ต ม.3 จําเป็นไหม เช็คยอดค่าไฟฟ้า แจ้งไฟฟ้าดับ แปลภาษา มาเลเซีย ไทย แผนที่ทวีปอเมริกาเหนือ ่้แปลภาษา Google Translate กระบวนการบริหารทรัพยากรมนุษย์ 8 ขั้นตอน ก่อนจะนิ่งก็ต้องกลิ้งมาก่อน เนื้อเพลง ข้อสอบโอเน็ตม.3 มีกี่ข้อ คะแนนโอเน็ต 65 ตม กรุงเทพ มีที่ไหนบ้าง